ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านโนนสูง
สังกัด สำนักงานการศีกษาขั้นพื้นฐาน สพป ศรีสะเกษ เขต 4
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 100,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวดนตรี บุญลี
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นางนงลักษณ์ มงคลศรีวิทยา
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นางเชาวณี อินวันนา
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นางอำไพไชยสงคราม
ที่ปรึกษาโครงการ 1 นายสิริดนย์ น้าวิไลเจริญ นายกเทศมนตรีตำบลขุนหาญ
ที่ปรึกษาโครงการ 2 นายถิรพุทธิ์ คานทอง เกษตรอำเภอขุนหาญ
ที่ปรึกษาโครงการ 3 นายเสียน ไชยสุวรรณ ผญบ.หมู่ 1 นายสมหมาย บุญทอง ผญบ
ผู้ประสานงานภาค นายธนา เวชากุล,นายสุชิน คเณสุข
หลักการและเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณะสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น

กรอบแนวคิด

โรงเรียนได้ดำเนินงานตามรอยพระยุคลบาทฯ โดยการน้อมนำองค์ความรู้และรูปแบบที่ดีด้านการจัดการอาหารโภชนาการ และสุขภาพนักเรียนอย่างครบวงจรสู่การปฏิบัติในระดับโรงเรียนและชุมชนครอบคลุม 8 องค์ประกอบที่เชื่อมโยงกัน ได้แก่ 1) เกษตรในโรงเรียน2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดบริการอาหาร 4) การติดตามภาวะโภชนาการและสมรรถภาพทางกาย 5) การพัฒนาสุขนิสัยนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเกษตร โภชนาการ และสุขภาพโดยยึดหลักการดำเนินงาน4ประการคือ 1) เด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง (learning by doing)2) สถานศึกษาเป็นฐานของการพัฒนา 3) การมีส่วนร่วมของชุมชน และ 4) ความพร้อมของหน่วยงานในการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีให้แก่ครูและชุมชน โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อพัฒนาให้เด็กมีคุณลักษณะใน6ประการ คือ 1) มีความรู้ด้านเกษตร สหกรณ์โภชนาการ และสุขภาพ 3) มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์เหมาะสมตามวัย 4ป มีโภชนาการสมวัย สุขภาพดี 5) มีผลการเรียนดี และ 6) มีจิตสาธารณะในการดูแลด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยมีการดำเนินการพัฒนาบูรณาการองค์ความรู้การพัฒนาด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพนักเรียนอย่างครบวงจร ตามรอยพระยุคลบาทฯ อย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของโรงเรียนกลมกลืนเป็นชีวิตของครูและนักเรียนอย่างเป็นธรรมชาติตามบริบทของโรงเรียนนั้น ดังนั้น โรงเรียนบ้านโนนสูง จึงได้เสนอแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสจากปีที่1โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องอย่างยั่งยืนตามผลที่คาดหวังของโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 121
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 12
ผู้ปกครอง 121
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 254254
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 9
อสม. 10
ชุมชน 37
ผู้นำศาสนา 1
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 2
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 12
อื่น ๆ 2
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 73
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กนักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัย มีอารมณ์และสติปัญญาที่ดีขึ้น รวมทั้งทักษะเพื่อการดำรงชีวิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง
  2. โรงเรียนมีรูปแบบลดปัญหาโภชนาการและสุขภาพของเด็กนักเรียนลงได้ มีความรู้และแนวทางในการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็กนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. พ่อแม่ผู้ปกครองและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาเด็กนักเรียนในด้านต่างๆ ช่วยสร้างเสริมความอบอุ่นความเข้มแข็งให้กับครอบครัวและชุมชน ตลอดจนเกิดความยั่งยืนในการดำเนินงาน
  4. ชุมชนมีความตระหนักรู้และตื่นตัวในการจัดการด้านอาหารโภชนาการ และสุขภาพของนักเรียน
เป้าหมายภาวะโภชนาการ

ก.นักเรียนเจริญเติบโตสมวัย ไม่น้อยกว่า 85 % ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกิน 5 % ภาวะผอม ไม่เกิน 5 % ภาวะเตี้ย ไม่เกิน 5 %

ข. นักเรียนได้กินผัก-ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้น ในมื้อกลางวัน เฉลี่ย ผักวันละ ประมาณ 40-100 กรัม อนุบาล 3 ช้อนโต๊ะ (50 กรัม)
ประถม 4 ช้อนโต๊ะ (70 กรัม) ผลไม้ (อนุบาล 0.5 ส่วน ประถม 1 ส่วน)ต่อมื้อต่อคน

ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล

1.เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จ จะมีการดำเนินการต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไร
เมื่อดำเนินการตามแผนงานเด็กไทยแก้มใสตามที่สสส.โรงเรียนจะมีการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง เพราะกิจกรรมที่โรงเรียนดำเนินการส่งเสริมเป็นกิจกรรมที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก และเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการต่อเนื่องบางกิจกรรมเป็นทุนหมุนเวียนโรงเรียนสามารถปฏิบัติต่อเนื่องได้จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และนำไปใช้ในการผลิตอาหารที่ปลอดภัยรับประทานในครอบครัวได้การดูแลสุขภาพของผู้เรียนเป็นหน้าที่สำคัญที่ครูหรือโรงเรียนต้องดำเนินการโดยเฉพาะ การจัดบริการอาหารที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ ครบทุกคนทุกวัน


2.ระบุวิธีการขยายผลจากการดำเนินโครงการ และชุมชน หรือผู้อื่นจะใช้ประโยชน์จากผลของโครงการนี้อย่างไร

  1. การสร้างความตระหนักแก่ครู ผู้ปกครองและชุมชนทำให้ผู้เกี่ยวข้องทุกคนรู้วิธีการและสามารถปฏิบัติตนและส่งเสริมพัฒนาสุขภาพของลูกหลานได้
  2. การประชาสัมพันธ์รูปแบบวิธีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตลอดจนการพานักเรียนปฏิบัติจะทำให้เกิดการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
  3. การจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา
  4. การเผยแพร่การจัดกิจกรรมต่างๆทางเว็บไซต์
พื้นที่ตั้งโรงเรียน โรงเรียนบ้านโนนสูง หมู่ 9 ตำบลโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ละติจูด-ลองจิจูด 14.605319543018,104.41149830818place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 40,000.00
2 1 ต.ค. 2559 28 ก.พ. 2560 1 ต.ค. 2559 30 เม.ย. 2560 55,000.00
3 1 มี.ค. 2560 30 เม.ย. 2560 5,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัย มีอารมณ์และสติปัญญาที่ดีขึ้น รวมทั้งทักษะเพื่อการดำรงชีวิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง

เด็กนักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัย มีอารมณ์และสติปัญญาที่ดีขึ้น รวมทั้งทักษะเพื่อการดำรงชีวิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง

2 เพื่อให้โรงเรียนมีรูปแบบลดปัญหาโภชนาการและสุขภาพของเด็กนักเรียนลงได้ มีความรู้และแนวทางในการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็กนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

โรงเรียนมีรูปแบบลดปัญหาโภชนาการและสุขภาพของเด็กนักเรียนลงได้ มีความรู้และแนวทางในการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็กนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

3 เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาเด็กนักเรียนในด้านต่างๆ ช่วยสร้างเสริมความอบอุ่นความเข้มแข็งให้กับครอบครัวและชุมชน ตลอดจนเกิดความยั่งยืนในการดำเนินงาน

พ่อแม่ผู้ปกครองและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาเด็กนักเรียนในด้านต่างๆ ช่วยสร้างเสริมความอบอุ่นความเข้มแข็งให้กับครอบครัวและชุมชน ตลอดจนเกิดความยั่งยืนในการดำเนินงาน

4 เพื่อให้ชุมชนมีความตระหนักรู้และตื่นตัวในการจัดการด้านอาหารโภชนาการ และสุขภาพของนักเรียน

ชุมชนมีความตระหนักรู้และตื่นตัวในการจัดการด้านอาหารโภชนาการ และสุขภาพของนักเรียน

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมหลัก

ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 59มิ.ย. 59ก.ค. 59ส.ค. 59ก.ย. 59ต.ค. 59พ.ย. 59ธ.ค. 59ม.ค. 60ก.พ. 60มี.ค. 60เม.ย. 60
1 การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง 38,240.00                         more_vert
2 เกษตรเพื่อหารกลางวัน 48,700.00                         more_vert
3 การติดตามภาวะโภชนาการ สมรรถภาพทางกายของนักเรียน 0.00                         more_vert
4 การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน 7,660.00                         more_vert
5 การจัดบริการสุขภาพนักเรียน 0.00                         more_vert
6 การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านเกษตร โภชนาการและสุขภาพ 5,400.00                         more_vert
7 การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 0.00                         more_vert
รวม 100,000.00

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
2 พ.ค. 59-30 มี.ค. 60 กิจกรรมเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ 46 4,600.00 4,600.00 more_vert
2 พ.ค. 59-31 มี.ค. 60 กิจกรรมเลี้ยงสุกรพื้นเมือง 46 6,600.00 6,600.00 more_vert
16 พ.ค. 59-28 พ.ย. 59 เลี้ยงปลาดุก 47 1,800.00 1,800.00 more_vert
22 ส.ค. 59-31 ม.ค. 60 การติดตามภาวะโภชนาการสมรรถภาพทางกายของนักเรียน 123 0.00 0.00 more_vert
24 ส.ค. 59 ตรวจสุขภาพนักเรียน 123 0.00 0.00 more_vert
13 ก.ย. 59-31 ม.ค. 60 การเพาะเห็ด 46 10,000.00 10,000.00 more_vert
30 ก.ย. 59 ศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบ (โรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์) 32 17,000.00 17,000.00 more_vert
2 พ.ย. 59 การปลูกพืชปลอดสารพิษ 236 0.00 0.00 more_vert
8 พ.ย. 59 การอบรมผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชนครูและนักเรียน เพื่อจัดกิจกรรมโรงเรียนประเมินตนเอง 180 23,830.00 23,897.00 more_vert
15 พ.ย. 59 การจัดการเรียนรู้บูรณาการเกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย 15 0.00 0.00 more_vert
19 ธ.ค. 59 การอบรมบุคลากรในการจัดจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ 12 5,400.00 5,400.00 more_vert
13 ก.พ. 60 การพัฒนาอนามัยและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 120 0.00 0.00 more_vert
6 มี.ค. 60 เลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ ครั้งที่ 2 44 23,500.00 23,500.00 more_vert
6 มี.ค. 60 เลี้ยงสุกร ครั้งที่ 2 44 5,070.00 5,070.00 more_vert
22 มี.ค. 60 เลี้ยงปลาดุก ครั้งที่ 2 44 2,200.00 2,200.00 more_vert
24 มี.ค. 60 จัดทำรายงานปิดโครงการ งวด 2 พร้อมคืนดอกเบี้ย 3 0.00 5.07 more_vert
รวม 372 100,000.00 16 100,072.07

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2559 12:22 น.