ชื่อโรงเรียน | โรงเรียนบ้านโนนสูง |
สังกัด | ?? |
หน่วยงานต้นสังกัด | ?? |
ที่อยู่โรงเรียน | โรงเรียนบ้านโนนสูง หมู่ที่ 9 ตำบลโนนสูง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ |
จำนวนนักเรียน | 121 คน |
ช่วงชั้น | อนุบาล,ประถม |
ผู้อำนวยการ | นางสาวดนตรี บุญลี |
ครูผู้รับผิดชอบ | นางนงลักษณ์ มงคลศรีวิทยา |

อบรมการปิดโครงการและการคืนดอกเบี้ย
ครูมีความรู้และสามารถปฏิบัติกิจกรรมได้

ดำเนินการซื้อพันธ์ุปลา และอาหารสำหรับเลี้ยงปลา ลูกปลาดุกจำนวน 700 ตัว อาหาร 3 กระสอบ
มีพันธุ์ปลาและอาหารตามที่ต้องการ มีปลาดุกไว้รับประทานเอง โดยจำหน่ายผ่านสหกรณ์อาหารกลางวัน

แบ่งหน้าที่ครูเวรประจำวัน รับผิดชอบ พร้อมกับนักเรียน วันเสาร์-อาทิตย์ ครูเวรและนักการภารโรง ดูแลการให้อาหาร สังเกตุการติดสัดหลังจากแม่สุกรคลอด พร้อมทั้งผสมพันธุ์แม่สุกรเป็นสัด
มีลูก หลังจากคลอด 10 ตัว จำหน่ายเป็นลูกสุกรให้แก่ผู้ที่สนใจ

เเบ่งเวรครูรับผิดชอบประจำวัน พร้อมนักเรียนเวร ประจำวัน มีหน้าที่ ให้อาหาร เช้าและเย็น เติมน้ำสำหรับไก่ไข่ 3 เวลา เช้า กลางวัน เเละเย็น ในวันเสาร์-อาทิตย์ ให้ครูเวรประจำวันและนักการภารโรงเป็นผู้ดูแล
มีแม่ไก่พันธุ์ จำนวน 40 ตัว ให้ไข่ประมาณวันละ 35-40 ฟอง จำหน่ายให้ทางสหกรณ์โรงเรียน และชุมชนใกล้เคียง

ดำเนินทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียน เป็นฐาน 4 ฐาน เพื่อวัดความสามารถการทำงานของร่างกาย
ครูอธิบาย สาธิตวิธีการปฏิบัติของแต่ละทักษะ รวมทั้งบอกให้นักเรียนปฏิบัติทักษะด้วยความระมัดระวัง เพื่อไม่ได้เกิดอันตราย
ครูอธิบาย ลักษณะของรางกายหลังจากที่ปฏิบัติเสร็จควรที่จะเดินไปมาเพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากกว่าการที่จะหยุดอยู่กับที่
ครูให้นักเรียนลงมือปฏิบัติที่ละชุด แบ่ง เป็น 4 กลุ่ม ชาย 2 กลุ่ม หญิง 2 กลุ่ม เพื่อง่ายต่อการปฏิบัติ
นักเรียนรักการออกกำลังกาย เนื่องจากนักเรียนทำกิจกรรม ออกกำลังกายหลังเลิกเรียนนั้น มี ฟูตบอล กรีฑา วิ่งมาราธอน วอลเลย์บอล เป็นกิจกรรมพื้นฐานที่ปฏิบัติ แต่ได้ทดสอบสมรรถภาพทางกาย โดย บอดี้ เวทเทรนนิ่ง นักเรียนรู้สึกตื่นเต้นกับกิจกรรมใหม่ๆ ทำให้นักเรียนรู้ว่าที่นักเรียนออกกำลังกายโดยใช้กิจกรรม เดิมๆนั้นบางครั้งอาจไม่ทำให้สมรรถภาพทางกายนั้นพัฒนาไปมากนัก หากนักเรียนยังไม่ปรับเพิ่มความหนัก ระยะเวลาบ่อยระยะเวลาความนาน และความมุ่งมั่นในการฝึกทักษะกีฬาที่เพิ่มมากขึ้น

เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองบัวตรวจสุขภาพนักเรียน ตั้งแต่เวลา 9.00 - 16.30 น. และได้ทำใบส่งตัวนักเรียนที่มีปัญหาด้านสุขภาพส่งต่อทางโรงพยาบาลขุนหาญรักษาสุขภาพนักเรียนต่อไป
พบนักเรียนเกิด ฝันผุ โรคผิวหนัง

แต่งตั้งคณะกรรมการ รับผิดชอบงานอาคารสถานที่ จัดครูนักเรียนร่วมกันทำความสะอาดในแต่ละวัน -จัดตั้งกรรมการตรวจห้องเรียนในแต่ละวัน -ดำเนินการตรวจห้องเรียนโดยมีครูเวรคอยกำกับดูแล -รายงานผลการตรวจห้องเรียนหน้าเสาธง -ครูเวรประจำวันมอบธงให้แต่ละห้องเรียน แต่งตั้งคณะครูโครงการอาหารกลางวันตรวจอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวให้ได้มาตรฐาน ดูแลอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆให้เรียบร้อยและปลอดภัย
ผลผลิต นักเรียนมีจิตสำนึกในความรับผิดชอบในหน้าที่ ครู แม่ครัวรักษาความสะอาดร่วมกัน ผลลัพธ์ อาคารสถานที่ ห้องครัว ห้องเรียนและห้องต่างๆมีความสะอาดเรียบร้อยถูกสุขลักษณะ นักเรียนมีความรับผิดชอบ

ดำเนินการอบรมการบูรณาการการเรียนการสอน กิจกรรมเด็กไทยแก้มใส กิจกรรมการเกษตร กิจกรรมอื่นๆที่มีได้โรงเรียนให้สัมพันธ์กับ สาระการเรียนรู้แกนกลางปีพุทธศักราช 2551 เพื่อเชื่อมโยงการเรียนรู้ให้เข้ากับสภาพจริง ครูได้ศึกษาตัวอย่างการบูรณาการเรื่อง ตะขบ ของสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดา ในการบูรณาการ เรื่องตะขบ ให้เข้ากับสาระการเรียนรู้
ครูตระหนักถึงการบูรณาการเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว ให้สามารถเข้ากับสาระการเรียนรู้ 8 วิชาหลักได้
จัดการเรียนรู้โดยบูรณาการ ให้สามารถเข้ากันได้ทุกเรื่อง

- ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆละ4-5คน
2.ครูแจกใบงานให้นักเรียนศึกษา
- ลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนครูคอยกำกับดูแลให้การเสนอแนะ
- นักเรียนส่งตัวแทนสรุปรายงาน
- ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจผลงานแล้วสรุปบทเรียน
นักเรียนทุกชั้นได้เรียนรู้ทุกกิจกรรมตามความเหมาะสม บางชั้นนำมาบูรณาการกับวิชาต่างๆได้เป็นอย่างดี นักเรียนสนุก เข้าใจบทเรียนได้ดี นักเรียนชั้นสูงสามารถอภิปรายสรุปนำเสนอได้ และสามารถวิเคราะห์นำไปสู่ความพอเพียงได้

- ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
- มีพิธีเปิดการอบรมโดยท่านปลัดอาวุโสอำเภอขุนหาญ นายทองแดง เกตหงษ์ โดยได้บรรยายพิเศษเกี่ยวกับเรื่องภาวะโภชนาการสำหรับชาวบ้าน
- วิทยากรจากทางสาธารณสุขอำเภอขุนหาญมาให้ความรู้ในเรื่องของ พยาธิใบไม้ในตับและการสร้างภูมิคุ้มกันในวันที่สอง
- ดำเนินกิจกรรม PLC การสร้างชุมชนการเรียนรู้ตามโครงการเด็กไทยแก้มใส
ผลผลิต กลุ่มเป้าหมายเกิดมีความรู้ความเข้าใจอย่างยั่งยืน
ผลลัพธ์ ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชนครูและนักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในโครงการเด็กไทยแก้มใส และมีแนวทางในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผลผลิต
นักเรียนได้ผักปลอดสารพิษ
ผลลัพธ์
1.นักเรียนปลูกพืชปลอดสารพิษ เพื่อสนับสนุนโครงการอาหารกลางวัน โดยจัดหมุนเวียนตามฤดูการ เช่น ผักกาด ผักบุ้ง กวางตุ้ง ผักชี ถั่ว บวบ ถั่วแปบ ตำลึง พริก มะเขือ ชะอม มะนาว
กล้วย มะละกอ
2. จัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการกับวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการคิดคำนวณ การชั่ง ตวง วัด
3. ส่งเสริมการจำหน่ายสู่สหกรณ์นักเรียน

เดินทางจากโรงเรียนบ้านโนนสูง เวลา 05.30 น. ถึงโรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง 8.30 น.
- ดูงานการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ได้แก่ การปลูกผักโดยใช้การจัดการน้ำด้วยแผงโซลาเซลล์ ฐานเรียนรู้ การเลี้ยงปลาดุกปลานิลในบ่อดิน เลี้ยงหมูป่า ปลูกผักกางมุ้ง การใช้พื้นหน้าอาคารเรียนปลุกผักสวนครัวแทนการปลูกไม้ประดับในพื้นที่จำกัด
- การบูรณาการกิจกรรมเกษตรกับการออกกำลังกายเช่น การสูบน้ำโดยใช้มือโยกเพื่อรดเเปลงผัก
- การนำระบบ ไอซีที มาใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน การส่งการบ้านของนักเรียนเพื่อลดภาระงานกระดาษ ซิ่งเป็นจุดเด่นของโรงเรียนนี้
- กองทุนข้าวเปลือกจากชุมชน
กลุ่มแกนนำคณะกรรมการสถานศึกษาได้เรียนรู้โรงเรียนต้นแบบที่สำคัญ
- กองทุนข้าวจากชุมชน
- การจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานโรงเรียน
- การส่งเสริมกิจกรรมสันทนาการในเวลากลางวัน เพื่อให้ง่ายต่อการดูเเลนักเรียน
- ผู้นำชุมชนมองเห็นความสำคัญกับโรงเรียนมากขึ้นและให้คำมั่นสัญญากับทางโรงเรียนว่าจะให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่ เช่น กองทุนข้าว การดูเเลความสะอาด เป็นต้น

นักเรียน ชั้น ป.4-6 เป็นผู้รับผิดชอบ เเบ่งเวรรับผิดชอบนักเรียนและครูเวรประจำวัน ในวันราชการปกติ วันหยุดราชการ ผู้รับผิดชอบครูเวรและพนักงานจ้างทั่วไป โดยมีหน้าที่รดน้ำในตอนเช้าและเย็น เมื่อเห็ดพร้อมที่จะเก็บได้ต้องเก็บดอกเห็ดก่อนที่จะรดเพื่อป้องกันเห็ดฉ่ำน้ำเพื่อที่จะเก็บรักษาให้เห็ดอยู่ได้นาน
นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี มีความรู้ในการดูแลเห็ดจากการค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตและปรับใช้ในการทำกิจกรรมของตนเองได้ นักเรียนรู้จักแบ่งหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมกับความสามารถส่วนบุคคล และรู้จักคิดคำนวณน้ำหนัก ราคา จำนวนผลผลลิตที่ได้ ประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์กับกิจกรรมของตนเองได้อย่างสมเหตุสมผล มีการแบ่งหน้าที่ไปจำหน่ายเห็ดแก่ชุมชนในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดในช่วงปิดเทอม และยังเป็นกันใช้เวลาว่างของนักเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ดำเนินการซื้อลูกปลาดุกจำนวน 1000 ตัว ราคาตัวละ 1 บาท รวมเป็นเงิน 1000 บาท และอาหาร ปลาดุกเล็กจำนวน 12 ก.ก. กิโลกรัมละ 30 บาท เป็นเงิน 360 บาทอาหารปลาใหญ่จำนวน 1 กระสอบ กระสอบละ 440 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1800 บาท โดยให้นักเรียนชั้น ป.4-6 แบ่งเวรให้นักเรียนรับผิดชอบ วันจันทร์-ศุกร์ และครูเวรในวัน เสาร์-อาทิตย์
2 คัดเลือกปลาดุกที่ได้ขนาด นำมาประกอบอาหาร และตัวที่ มีไม่ได้ขนาดก็ต้องเลี้ยงเป็นรุ่นๆต่อไป หากไม่นำปลาทีมีขนาดใหญ่ ออกก่อนก็จะทำให้ปลาดุกใหญ่เกินขนาดไม่น่ารับประทาน
3.นำปลาดุกรุ่นต่อไปลงในบ่อที่ 2 จำนวน 700 ตัว ตัวละ 1 บาท และซื้ออาหารปลาดุก จำนวน 3 กระสอบ กระสอบละ 500 บาท เป็นเงิน 1500 บาท รวมเงินทั้งสิ้น 2200 บาทซึ้งรวมเงินทั้งหมดตลอดโครงการ 4000 บาท ซึ้งเงินที่ได้จากการขายปลาดุก ก็จะไว้เป็นทุนหมุนเวียนในรอบการผลิดต่อไป
- นักเรียนแกนนำมีความรู้การปรับ กรด-ด่าง ในบ่อเลี้ยง การปล่อยปลาโดยต้องแช่ปลาในน้ำก่อนที่จะเปิดถุง การให้อาหารปลาตามขนาดอายุ การเปลี่ยนน้ำและรักษาน้ำให้มีคุณภาพดี
- นักเรียนรู้จักการคัดเลือกปลาดุกเป็นรุ่นๆ เพื่อจำหน่าย
- นักเรียนได้เรียนรู้การใช้ตาชั่ง
- นักเรียนได้ลงมือจับปลาดุกเเละเทคนิคการเลือกปลาที่มีขนาดพอดี

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 รับผิดชอบให้อาหารในวันราชการปกติ และครูเวรรับผิดชอบในวันเสาร์และอาทิตย์ โดยให้อาหารจากเศษอาหารจากอาหารกลางวัน เช่น เศษผัก เศษอาหาร รวมทั้ง เศษผักหญ้าจากแปลง สวนผักสวนครัว ผสมกับ ปลายข้่าวและรำเพื่อเพิ่มจำนวนอาหารเนื่องจากสุกรมีจำนวนมากขึ้นอายุมากขึ้นทำให้สุกรกินอาหารมากขึ้น
ได้รับลูกสุกรจาก ร้อยตำรวจโทประหยัด มงคลศรีวิทยา จำนวน 2 ตัว นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 รับผิดชอบให้อาหาร และดูแล สุกรคลอดลูกครอกแรกจำนวน 3 ตัว และครอกที่ 2 จำนวน 10 ตัว ตาย 1 ตัว จำหน่ายเป็นลูกสุกรชุดแรกจำนวน 8 ตัว ตัวละ 750 บาท เป็นเงิน 6000 บาท ขายชุดที่ 2 สุกรขุน จำนวน 2 ตัว ตัวละ 95 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 50 บาท เป็นเงิน 9500 บาท

-ซ่อมแซมโรงเรือนเพื่อใช้ในการเลี้ยงไก่สาวพันธ์ุไข่ (อายุ 16 สัปดาห์) จำนวน 20 ตัว
-ปรับปรุงซ่อมแซมเล้าไก่เพื่อรองรับไก่สาวพร้อมไข่ จำนวน 40 ตัว
- แบ่งเวรนักเรียนชั้นป.4-6 รับผิดชอบให้อาหาร ให้น้ำไก่ในแต่ละวัน ไข่ไก่ที่นักเรียนเก็บได้ในแต่ละวันเฉลี่ยที่ 35-40 ฟอง
นำไข่ที่ได้ไปเป็นประกอบอาหารกลางวันให้นักเรียนได้รับประทานโดยการจำหน่ายไข่ไก่ ผ่านกระบวนการสหกรณ์ของโรงเรียน
ผลผลิต
-นักเรียนเก็บไข่ไก่ได้เฉลี่ยวันละ 35-40 ฟอง
ผลลัพธ์
-นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
-นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
-นักเรียนได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย
-นักเรียนมีจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม รู้จักรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย