ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนแพรกษาวิเทศศึกษา
สังกัด เทศบาลตำบลแพรกษา จังหวัดสมุทรปราการ
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 120,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 120,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรัญญา พิสุทธากลุ
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 ว่าที่ร้อยตรีหญิงวัลลภา หงส์ทอง
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นางจิดาภา หรีดอุไร
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นางสาวอุรสา เดชพละ
ที่ปรึกษาโครงการ 1 ศูนย์อนามัยที่ 6
ที่ปรึกษาโครงการ 2
ที่ปรึกษาโครงการ 3
ผู้ประสานงานภาค นางสาวอุบลรัตน์ ขันธ์ทอง
หลักการและเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ

สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น

กรอบแนวคิด
  1. นักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้าสร้างความรู้ความสนใจจากประสบการณ์ตรงที่สอดคล้องกับชีวิตจริงอยู่บนพื้นฐานคุณธรรมจริยธรรม และมีค่านิยมที่ดีในด้านโภชนาการอย่างมีความสุขสนุกกับการเสาะแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
  2. สถานศึกษาจัดรูปแบบบริบทเพื่อตอบสนองความสนใจความสามารถและความถนัดของผู้เรียนโดยผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการอย่างมีศักยภาพ
  3. เปิดโอกาสให้ชุมชนเป็นส่วนหนึ่งในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่ความรู้ด้านความชำนาญของ ตัวบุคคลเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางด้านโภชนาการในท้องถิ่นให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
  4. โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานเทศบาลตำบลแพรกษาศูนย์ส่งเสริมสุขภาพชุมชนมังกรทองโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแพรกษาสาธารณสุขจังหวัดและพันธมิตรเครือข่ายอาทิเช่นเครือข่ายโรงเรียนเครือข่ายผู้ปกครอง และองค์กรอื่น ๆ ที่ช่วยสนับสนุนส่งเสริมความก้าวหน้าของโรงเรียน และร่วมผลักดันให้เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพและบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องอย่างยั่งยืน
กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 697
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 68
ผู้ปกครอง 697
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 14621462
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 13
อสม. 0
ชุมชน 11
ผู้นำศาสนา 1
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 1
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 2
อื่น ๆ 0
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 28
ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กิจกรรมพัฒนาที่ 1 เกษตรในโรงเรียน

  1. นักเรียนได้รับความรู้ด้านการเกษตรสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
  2. นักเรียนมีโภชนาการสมวัย สุขภาพแข็งแรงและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
  3. นักเรียนมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิต

กิจกรรมพัฒนาที่ 2 สหกรณ์นักเรียน

  1. เพื่อปลูกฝังความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสหกรณ์
  2. เพื่อส่งเสริมนักเรียนให้มีนิสัยรักการออม
  3. เพื่อให้นักเรียนนำความรู้เรื่องสหกรณ์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
  4. เพื่อให้นักเรียนมีวินัยในการใช้จ่ายเงิน

กิจกรรมพัฒนาที่ 3 การบริการอาหาร

  1. นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารกลางวันของโรงเรียน
  2. นักเรียนทุกคนได้รับการประเมินความพึงพอใจ
  3. ผู้ประกอบอาหารมีการพัฒนาความรู้ของตนเองอยู่เสมอ

กิจกรรมพัฒนาที่ 4 การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการและสมรรถภาพทางกายนักเรียน

  1. นักเรียนทุกคนได้รับการประเมินผลภาวะโภชนาการอย่างมีคุณภาพ
  2. นักเรียนทุกคนได้รับการทดสอบสมรรถภาพทางกายอย่างมีคุณภาพ
  3. นักเรียนทีมีปัญหาภาวะโภชนาการได้รับส่งต่อเพื่อได้รับการแก้ไขอย่างถูกวิธี

กิจกรรมพัฒนาที่ 5 การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยโรงเรียน

  1. นักเรียนได้รับความรู้ด้านสุขนิสัยและสุขอนามัย
  2. นักเรียนมีสุขนิสัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
  3. นักเรียนสามารถปฏิบัติตน ตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติ และดูแลสุขอนามัยของตนเองได้

กิจกรรมพัฒนาที่ 6 การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน

  1. นักเรียนทุกคนมีระเบียบในการจัดห้องเรียนที่ดี
  2. นักเรียนมีวินัยในการอยู่ร่วมกันภายในห้องเรียน
  3. สถานศึกษามีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

กิจกรรมพัฒนาองค์ประกอบที่ 7 การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

  1. นักเรียนได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยยาเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ในการปฐมพยาบาลตามหลักการแพทย์รวมทั้งการประสานส่งต่อที่ถูกต้อง
  2. นักเรียนในสถานศึกษามีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง
  3. นักเรียนในสถานศึกษามีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรคและนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้

กิจกรรมพัฒนาที่ 8 การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

  1. ผู้เรียนได้ความรู้จากประสบการณ์ตรงที่สอดคล้องกับชีวิตจริง
  2. ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่ม
  3. ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิด และแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
  4. ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้ารวบรวมข้อมูลทดลองหาความรู้ สร้างความรู้และทำกิจกรรมตามความสามารถ ความถนัดความสนใจ และทำอย่างมีความสุขได้ด้วยตนเอง
  5. ผู้เรียนได้รับการปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมการบริโภคที่ดีอย่างต่อเนื่อง
  6. ผู้เรียนได้ฝึกทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต เช่นทักษะการทำงาน การอยู่ร่วมกับผู้อื่น การตัดสินใจ ความมีประชาธิปไตย ความรับผิดชอบ
  7. สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้และเผยแพร่ความรู้ต่อเครือข่ายและผู้ที่เกี่ยวข้อง
เป้าหมายภาวะโภชนาการ

นักเรียนเจริญเติบโตสมวัยโดยมี
ภาวะเริ่มอ้วนไม่เกิน 5.11 %
ภาวะอ้วนไม่เกิน 7.25%
ภาวะค่อนข้างผอม ไม่เกิน 7.25 %
ภาวะผอมไม่เกิน 4.45%
ภาวะค่อนข้างเตี้ยไม่เกิน 2.80 %
ภาวะเตี้ยไม่เกิน 1.48%
นักเรียนได้กินผัก – ผลไม้ หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวันเฉลี่ย
ผักวันละประมาณ50 – 100กรัม
อนุบาล 2 ช้อน ( 20 กรัม ) ประถม4ช้อน ( 40กรัม )
ผลไม้ ( อนุบาล 0.5 ส่วน ประถม 1 ส่วน ) ต่อมื้อต่อคน

ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล

โรงเรียนแพรกษาวิเทศศึกษาเล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลและส่งเสริมภาวะโภชนาการของนักเรียนครูผู้ปกครองและชุมชนเป็นสำคัญและโรงเรียนยังมุ่งเน้นปฏิบัติตามรอยพระยุคลบาทเจ้าฟ้านักโภชนาการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีอย่างยั่งยืนต่อไป

วิธีการขยายผลจากการดำเนินโครงการ และชุมชน หรือผู้อื่นจะใช้ประโยชน์จากผลของโครงการ ปัจจัยความสำเร็จ

  • ด้านนักเรียน นักเรียนได้ดำเนินการในลักษณะโครงงานในการรับประทานอาหารประจำวันที่บ้าน รายการอาหารและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนในชั้นเรียน โดยเล่าถึงอาหารจานโปรดรวมทั้งสามารถบอกคุณค่าและประโยชน์ของอาหารจานโปรดข้อดี ข้อเสียได้ ซึ่งนักเรียนได้เรียนรู้กิจนิสัยในการรับประทานของตนเอง รวมทั้งได้วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อดี ข้อเสียและข้อเสนอแนะในการรับประทานอย่างมีคุณค่าด้วยตนเอง

  • ด้านโรงเรียน มีการสอดแทรกบูรณาการ การให้ความรู้คุณค่าและสุขนิสัยในการรับประทานอาหารในทุกรายวิชา รวมถึงสุขนิสัยการรับประทานอาหารและความสำคัญในการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมถึงการสร้างนิสัยในการรับประทานอาหารอย่างพอเพียงไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป ไม่ให้มีอาหารเหลือในจานข้าว โดยตักอาหารแต่น้อย เมื่อรับประทานอาหารหมดและไม่อิ่มสามารถมาเติมได้ เป็นต้น มีรายการอาหารกลางวันประจำเดือนเพื่อแจ้งให้ผู้ปกครองทราบเดือนละ 1 ครั้ง

  • ด้านชุมชนเปิดโอกาสให้ชุมชนเป็นส่วนหนึ่งในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่ความรู้ด้านความชำนาญของ ตัวบุคคลเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางด้านโภชนาการในท้องถิ่นให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
พื้นที่ตั้งโรงเรียน ตำบลแพรกษา อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
ละติจูด-ลองจิจูด 13.58192090053,100.64575195325place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 30 พ.ย. 2559 2 พ.ค. 2559 30 พ.ย. 2559 48,000.00
2 16 พ.ย. 2559 28 ก.พ. 2560 30 พ.ย. 2559 30 เม.ย. 2560 66,000.00
3 1 มี.ค. 2560 30 เม.ย. 2560 6,000.00
รวมงบประมาณ 120,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1) เพื่อวางระบบการดำเนินการ การจัดบริการอาหารในสถานศึกษาอย่างมีคุณภาพในด้าน 1.1 พื้นที่ในการประกอบอาหารและรับประทานอาหาร 1.2 อุปกรณ์การครัว 1.3 วัตถุดิบและการประกอบอาหาร - ผู้รับผิดชอบหลัก - แหล่งวัตถุดิบอาหารสด - การกำหนดอาหารและรายการอาหาร - การประกอบอาหารที่มีคุณค่าสะอาดปลอดภัย - บุคคลที่เกี่ยวข้อง
  1. มีการจัดทำรายงานอาหารหมุนเวียนอย่างน้อย 1 เดือนตามมาตรฐานโภชนาการ(โดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch) ที่สอดคล้องกับผลผลิตทางการเกษตร/ปศุสัตว์/ประมงของโรงเรียนและหรือชุมชน
  2. มีการปรุง ประกอบอาหารถูกหลักโภชนา การสุขาภิบาลและอาหารปลอดภัย
  3. มีการตักอาหารให้นักเรียนตามปริมาณและสัดส่วนของธงโภชนาการที่เหมาะสมกับวัย
  4. อาหารกลางวันของนักเรียนมีปริมาณพลังงานและสารอาหารครบถ้วนหรืออย่างน้อยร้อยละ 70 ของความต้องการ
2 2) เพื่อคัดกรองนักเรียนตามภาวะโภชนาการออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปัญหา โดยการวางแผนกำหนดอาหารและกิจกรรมส่งเสริมสำหรับกลุ่มปกติ ป้องกันสำหรับกลุ่มเสี่ยง การแก้ไขสำหรับกลุ่มปัญหา
  1. มีฐานข้อมูลน้ำหนัก ส่วนสูง สมรรถภาพทางกายและภาวะสุขภาพของนักเรียน
  2. มีการแปลผลภาวะโภชนาการ สมรรถภาพทางกายและภาวะสุขภาพที่ถูกต้องตามเกณฑ์ชี้วัดและมีการนำข้อมูลไปใช้ในการจัดโครงการ/กิจกรรมแก้ไขปัญหาโดยครอบครัวมีส่วนร่วม
  3. เด็กกลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตามทุกเดือน
  4. เด็กสามารถประเมินภาวะโภชนาการ สมรรถภาพทางกายและสุขภาพได้ด้วยตนเอง
3 3) เพื่อพัฒนานักเรียนให้เข้าสู่ค่าเป้าหมายทุกด้านของโครงการ
  1. นักเรียนเจริญเติบโตสมวัยโดยมี ภาวะเริ่มอ้วนไม่เกิน 5.11 % ภาวะอ้วนไม่เกิน 7.25% ภาวะค่อนข้างผอม ไม่เกิน 7.25 % ภาวะผอมไม่เกิน 4.45% ภาวะค่อนข้างเตี้ยไม่เกิน 2.80 % ภาวะเตี้ยไม่เกิน 1.48% นักเรียนได้กินผัก – ผลไม้ หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวันเฉลี่ย ผักวันละประมาณ50 – 100กรัมอนุบาล 2 ช้อน ( 20 กรัม )ประถม4ช้อน ( 40กรัม ) ผลไม้ ( อนุบาล 0.5 ส่วน ประถม 1 ส่วน ) ต่อมื้อต่อคน
  2. มีแผนการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการด้านเกษตรอาหาร โภชนาการและสุขภาพทั้งในและนอกห้องเรียนในทุกช่วงชั้น
  3. มีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้านเกษตร โภชนาการและสุขภาพ อย่างน้อย 40 ชั่วโมงต่อปี
  4. มีการประเมินความรู้และทักษะนักเรียนด้านเกษตรโภชนาการและสุขภาพปีละ 2 ครั้ง
  5. มีสื่อ นวัตกรรม ชุดความรู้และฐานการเรียนรู้ของโรงเรียนและหรือชุมชนด้านเกษตร โภชนาการ และสุขภาพที่เกิดจากผลงานของครู นักเรียน ครอบครัวและชุมชน

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมหลัก

ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 59มิ.ย. 59ก.ค. 59ส.ค. 59ก.ย. 59ต.ค. 59พ.ย. 59ธ.ค. 59ม.ค. 60ก.พ. 60มี.ค. 60เม.ย. 60
1 กิจกรรมพัฒนาที่ 1 เกษตรในโรงเรียน 20,550.00                         more_vert
2 กิจกรรมพัฒนาที่ 2 สหกรณ์นักเรียน 10,740.00                         more_vert
3 กิจกรรมพัฒนาที่ 3 จัดบริการอาหาร 10,000.00                         more_vert
4 กิจกรรมพัฒนาที่ 4 การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการและสมรรถภาพทางกายนักเรียน 3,000.00                         more_vert
5 กิจกรรมพัฒนาที่ 5 การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยโรงเรียน 10,000.00                         more_vert
6 กิจกรรมพัฒนาที่ 6 การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 2,000.00                         more_vert
7 กิจกรรมพัฒนาที่ 7 การจัดบริการสุขภาพนักเรียน 5,000.00                         more_vert
8 กิจกรรมพัฒนาที่ 8 การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย 58,710.00                         more_vert
รวม 120,000.00

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
2 พ.ค. 59 อบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากร Thai School Lunch Program 2 0.00 0.00 more_vert
1 มิ.ย. 59 จัดป้ายนิเทศเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขนิสัยและการส่งเสริมอนามัยนักเรียน 765 6,000.00 6,000.00 more_vert
10 มิ.ย. 59 ประเมินผลภาวะโภชนาการ 702 3,000.00 3,000.00 more_vert
1 ส.ค. 59 กิจกรรมโครงการ The best clean classroom 765 2,000.00 2,000.00 more_vert
5 ก.ย. 59 ฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์ 68 4,600.00 3,100.00 more_vert
19 ต.ค. 59 เรียนรู้แบบบูรณาการผ่านกิจกรรมโครงงานเด็กไทยแก้มใส 766 15,500.00 15,500.00 more_vert
3 พ.ย. 59 การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 775 3,000.00 3,000.00 more_vert
3 พ.ย. 59 การเกษตรในโรงเรียน(เกษตรน้อยในโรงเรียนระดับประถมศึกษา) 650 3,080.00 3,080.00 more_vert
6 ธ.ค. 59 ถอนเงินออกจากบัญชีโครงการเด็กไทยแก้มใส 3 0.00 500.00 more_vert
8 ธ.ค. 59 เกษตรน้อยในโรงเรียน (ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ เอื้ออาทร 2) 33 0.00 0.00 more_vert
9 ธ.ค. 59 ชั่งนำ้หนัก - วัดส่วนสูง 765 0.00 0.00 more_vert
13 ธ.ค. 59 การจัดทำรายการอาหารหมุนเวียน 1394 0.00 0.00 more_vert
14 ธ.ค. 59 กิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิต 765 1,000.00 0.00 more_vert
14 ธ.ค. 59 เปิดบัญชีโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส 0 0.00 0.00 more_vert
20 ธ.ค. 59 การเกษตรในโรงเรียน (เกษตรกรน้อยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ เอื้ออาทร 14) 42 0.00 0.00 more_vert
23 ธ.ค. 59 จัดกิจกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยปราชญ์ชาวบ้าน 1463 10,000.00 10,000.00 more_vert
28 ธ.ค. 59 ขอเชิญประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำรายงานโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสงวดที่ 1 และขอเบิกเงินงวดที่ 2 4 0.00 0.00 more_vert
1 ม.ค. 60 เหงือกสะอาด ฟันแข็งแรง 707 1,000.00 2,000.00 more_vert
9 ม.ค. 60 เกษตรในโรงเรียน (เกษตรน้อยในโรงเรียนระดับอนุบาล GEP) 158 2,830.00 2,830.00 more_vert
13 ม.ค. 60 จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัยของนักเรียนโดยวิทยากรจากศูนย์ส่งเสริมสุขภาพชุมชนมังกรทอง 771 4,000.00 4,000.00 more_vert
22 ม.ค. 60 ศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบอาหาร 15 9,400.00 9,400.00 more_vert
2 ก.พ. 60 ตลาดนัดโรงเรียน PWS 1464 15,500.00 15,500.00 more_vert
3 ก.พ. 60 เกษตรในโรงเรียน (เกษตรน้อยในโรงเรียนระดับอนุบาล EP) 375 6,640.00 6,640.00 more_vert
3 ก.พ. 60 การเกษตรในโรงเรียน (เกษตรน้อยในโรงเรียนระดับอนุบาล MEP) 181 8,000.00 8,000.00 more_vert
10 ก.พ. 60 เครือข่ายผูกพัน สร้างสายใยรักสุขภาพ 1402 17,710.00 17,710.00 more_vert
28 ก.พ. 60 นักสหกรณ์ตัวน้อย 765 6,140.00 7,640.00 more_vert
28 ก.พ. 60 ประเมินความพึงพอใจในอาหารกลางวัน 1394 600.00 600.00 more_vert
6 เม.ย. 60 จัดทำรายงานปิดโครงการ งวด 2 พร้อมคืนดอกเบี้ย 1 0.00 88.93 more_vert
รวม 6,120 120,000.00 28 120,588.93

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2559 09:14 น.