โรงเรียนแพรกษาวิเทศศึกษา

การเกษตรในโรงเรียน (เกษตรกรน้อยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ เอื้ออาทร 14)20 ธันวาคม 2559
20
ธันวาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย จิดาภา หรีดอุไร
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ระยะที่ 1 วางแผนการดำเนินการ 1.1  แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ 1.2  ประชุมหารือคณะกรรมการดำเนินการ 1.3  จัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับปลูกผัก ระยะที่ 2 การให้ความรู้เกี่ยวกับการเกษตร (การปลูกผักแต่ละชนิด) 2.1  ข้อมูลของผักแต่ละชนิด / วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการปลูก 2.2  วิธีการปลูกผักแต่ละชนิด / การดูแลรักษา ระยะที่ 3 ดำเนินงาน 3.3  เตรียมสถานที่สำหรับปลูกผัก 3.2  เพาะต้นกล้าผักและปลูกผักตามสถานที่จัดเตรียมไว้ ดังนี้       กิจกรรมปลูกผักสวนครัว  สถานที่ปลูกคือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแพรกษา เอื้ออาทร 14  ปลูกประเภทผักสวนครัวทั่วไป เช่น  ตะไคร้  ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง ฟักเขียว
ระยะที่ 4 การดูแลและการเก็บเกี่ยวผลผลิต 4.1  ดูแลการเจริญเติบโต การรดน้ำ  ใส่ปุ๋ย พรวนดิน กำจัดศัตรูพืช 4.2  เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งผลผลิตที่ได้จะถูกจำหน่ายให้โรงครัวของโรงเรียนเพื่อเป็นส่วนประกอบของอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน ถ้ามีผลผลิตเหลือจะจำหน่ายให้กับผู้ปกครองต่อไป ระยะที่  5 งานติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
สรุปรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการเพื่อเสนอต่อ สสส.


circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการเข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใส ประโยชน์ที่ได้รับ คือ ครู นักเรียนรวมทั้งผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตร (การปลูกผัก) เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน นักเรียนมีการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับผักที่ตนเองรับผิดชอบ รู้จักการทำงานร่วมกับคนอื่นและที่สำคัญอย่างยิ่งนักเรียนที่ไม่รับประทานผัก เริ่มรับประทานผักได้บ้างเพราะเป็นสิ่งที่ตนเองปลูก  ครูและผู้ปกครองมีการปรึกษาหารือเกี่ยวกับผักชนิดต่างๆ นำมาทดลองปลูก เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครู นักเรียนและผู้ปกครอง  นอกจากนี้มีผู้ปกครองนำความรู้จากการปลูกผักนำมาทำที่บ้านและแปลรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อจำหน่ายเป็นการหารายได้เสริม 

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 42 คน จากที่ตั้งไว้ 42 คน
ประกอบด้วย