ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านดอนข่า
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 80,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 80,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวิชุดา ชัยชาญ
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นางประยงค์ ร่วมจิตร
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นางสาวนพมณี ชูเชื้อ
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นางสาวปวินันท์ ปานทอง
ที่ปรึกษาโครงการ 1
ที่ปรึกษาโครงการ 2
ที่ปรึกษาโครงการ 3
ผู้ประสานงานภาค นายสุชิน คเณสุข,นายธนา เวชากุล
หลักการและเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน ๘ องค์ประกอบคือ ๑) การเกษตรในโรงเรียน ๒) สหกรณ์นักเรียน ๓) การจัดการบริหารของโรงเรียน ๔) การติดตามภาวะโภชนาการ ๕) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน ๖) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ ๗) การจัดบริการสุขภาพ และ๘) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน ๔ ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๗-๒๕๕๘) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น ๕๔๔ โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ ๖-๑๒ ปี จำนวน ๑,๔๙๒,๐๘๙ คน ใน ๗๖ จังหวัด ของกรมอนามัย ปี ๒๕๕๕ พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ ๑๒.๕ เตี้ยร้อยละ ๑๖.๘ และระบุว่านักเรียนอายุ ๖-๑๒ ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ ๕๑.๖ ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี ๒๕๔๔พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน ๑.๒ ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน ๒๒๓.๒๘๘ คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน ๕๙๐,๐๘๗ คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๒๕๘,๑๔๙ คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ ๑) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ ๖๐ กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ ๔๐๐ กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ ๖๗.๔ นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย ๕- ๗ ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย ๓ ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง ๑๐ ช้อนชา และ ๒) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนบ้านดอนข่าได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการปีที่ ๑ เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากการดำเนินโครงการเด็กไทยแก้มใสใน ๑ ที่ผ่านมาทำให้โรงเรียนมีนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการน้ำหนักเกินเกณฑ์หรืออ้วน ลดลงจากเหลือ ๒ คิดเป็น ๒.๓๘ น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์หรือผอม ลดลงเหลือ ๑ คนคิดเป็นร้อยละ ๑.๑๙ และปัญหานักเรียนเป็นโรคฟันผุ ลดลงเหลือ ๑ คนคิดเป็นร้อยละ ๑.๑๙ โรงเรียนบ้านดอนข่ามีความประสงค์ที่จะพัฒนาทุกด้านโดยการมีส่วนร่วมและความเป็นเจ้าของจากชุมชนซึ่งชุมชนบ้านดอนข่าเป็นชุมชนที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอมา ทางโรงเรียนจะขยายผลสู่ชุมชนสังคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นแบบอย่างในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และผลที่ได้จากโครงการโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสสามารถทำให้เด็กนักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ที่ปลอดภัยอย่างเพียงพอในมื้อกลางวันอย่างน้อยวันละ ๑๕๐-๒๐๐ กรัมต่อคน และได้รับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการเหมาะสมตามวัยและภาวะสุขภาพ มีภาวะทุพโภชนาการทางที่ดีมีแนวโน้มลดลงในแต่ละปีเพื่อให้นักเรียนส่วนใหญ่ที่มีน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในเด็กมีสัดส่วนลดลง ให้นักเรียนทุกคนได้กินอิ่มอย่างมีคุณภาพ แก้มใส โภชนาการสมวัย สุขภาพแข็งแรง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี เติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

กรอบแนวคิด

โรงเรียนบ้านดอนข่ามุ่งให้นักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเองในทุกๆ กิจกรรม ทางโรงเรียนสร้างความรู้โภชนาการ อาหารปลอดภัย ความรู้และทักษะ เกษตรผสมผสาน สหกรณ์ เพื่อให้มีทักษะปฏิบัติเกิดกับนักเรียนเริ่มตั้งแต่การผลิตการประกอบ รวมทั้งการจำหน่าย นำทั้งความรู้ ความเข้าใจ และทักษะต่างๆ ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และมีสุขภาพและสุขนิสัยที่ดีแก่ตนเอง มีจิตสาธารณะในการดูแลอนามัย สิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ความรู้ เทคโนโลยีถ่ายทอดสู่ครัวเรือน ชุมชน มีความมั่นคงทางอาหาร อยู่ดีกินดี พึ่งตนเองสร้างความเข้มแข็งเป็นเจ้าของโรงเรียน ดังนั้น โรงเรียนบ้านดอนข่า จึงได้เสนอแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสจากปีที่1โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่อง

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 76
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 6
ผู้ปกครอง 76
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 158158
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 0
อสม. 0
ชุมชน 0
ผู้นำศาสนา 34
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 2
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 13
อื่น ๆ 0
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 49
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนทุกคนให้มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดีมีคุณธรรมต่อการเกษตรซึ่งเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต
  2. นักเรียนมีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสะอาดปลอดภัยบริโภคตลอดปีการศึกษาและมีสุขนิสัยที่พึงปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร
  3. โรงเรียนมีการติดตามและแก้ไขเด็กนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
  4. โรงเรียนมีเครือข่ายสู่ชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เป้าหมายภาวะโภชนาการ

นักเรียนเจริญเติบโตสมวัยโดยมี
ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกิน ๕% ภาวะค่อนข่างผอมและผอม ไม่เกิน ๕% ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ไม่เกิน ๕% นักเรียนได้รับประทานผักและผลไม้ที่หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวัน เฉลี่ย ผัก สัปดาห์ละประมาณ ๑๕๐-๓๐๐ กรัม (อนุบาล ๑๕๐ กรัม ประถม ๓๐๐ กรัม ) ผลไม้ สัปดาห์ละประมาณ ๕๐๐-๑,๐๐๐ กรัม (อนุบาล ๕๐๐ กรัม ประถม ๑,๐๐๐ กรัม )

ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล

เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จทางโรงเรียนบ้านดอนข่าจะดำเนินการต่อเนื่องเพื่อเพื่อก้าวสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานฝึกอบรม ทางโรงเรียนจะดำเนนการเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทั้งหมด 5 แหล่งเรียนรู้ได้แก่ 1) การปลูกบ่อมะนาวในท่อซีเมนต์ 2) ผักปลอดสารพิษ 3) เลี้ยงสัตว์ 4) สวนสมุนไพร 5) ธนาคารขยะ เพื่อให้มีผู้เข้ามาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง มีกิจกรรมในการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้และถอดบทเรียนโดยการวิเคราะห์สังเคราะห์จากปัจจัยความสำเร็จต่างๆ ทำให้โรงเรียนมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนให้เกิดความต่อเนื่องอย่างยั่งยืน
วิธีการขยายผลจากการดำเนินโครงการ และชุมชน หรือผู้อื่นจะใช้ประโยชน์จากผลของโครงการ มีดังนี้ 1. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนและเป็นแบบอย่างได้ 2. เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและเป็นแบบอย่างได้ 3. เป็นประโยชน์ต่อสังคม ประเทศชาติและเป็นแบบอย่างได้

พื้นที่ตั้งโรงเรียน หมู่ที่ 5 ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
ละติจูด-ลองจิจูด 14.606362945805,104.46163147688place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 32,000.00
2 1 ต.ค. 2559 24 มี.ค. 2560 1 ต.ค. 2559 24 มี.ค. 2560 44,000.00
3 25 มี.ค. 2560 30 เม.ย. 2560 4,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนานักเรียนทุกคนให้มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี และปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณธรรมต่อการเกษตรซึ่งเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต

ร้อยละ 100 ของนักเรียนมีความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดีมีคุณธรรมต่อการเกษตรซึ่งเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต

2 เพื่อให้นักเรียนมีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสะอาดปลอดภัยบริโภคตลอดปี การศึกษาและมีสุขนิสัยที่พึงปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

ร้อยละ 95 ของนักเรียนมีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสะอาดปลอดภัยบริโภคตลอดปีการศึกษาและมีสุขนิสัยที่พึงปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

3 เพื่อติดตามและแก้ไขเด็กนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

โรงเรียนมีการติดตามและแก้ไขเด็กนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

4 เพื่อขยายเครือข่ายสู่ชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

โรงเรียนมีเครือข่ายสู่ชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมหลัก

ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 59มิ.ย. 59ก.ค. 59ส.ค. 59ก.ย. 59ต.ค. 59พ.ย. 59ธ.ค. 59ม.ค. 60ก.พ. 60มี.ค. 60เม.ย. 60
1 ประชุมแต่งตั้งมอบหมายหน้าที่คณะทำงาน 5,157.00                         more_vert
2 แผนงานติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน 5,834.00                         more_vert
3 อบรมให้ความรู้เรื่องอาหารปลอดภัยไร้สารพิษ 11,367.00                         more_vert
4 อบรมให้ความรู้เรื่อง อย. น้อย 10,025.00                         more_vert
5 ส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัย 33,325.00                         more_vert
6 การแปรรูปอาหารและการถนอมอาหาร 2,925.00                         more_vert
7 ส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกาย 0.00                         more_vert
8 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนที่ร่วมโครงการ 11,367.00                         more_vert
รวม 80,000.00

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
2 พ.ค. 59-20 เม.ย. 60 ส่งเสริมกิจกรรมการออกกำลังกาย 82 0.00 0.00 more_vert
16 พ.ค. 59-3 มี.ค. 60 บริหารจัดการ 207 4,000.00 4,000.00 more_vert
26 พ.ค. 59 ประชุมแต่งตั้งมอบหมายหน้าที่คณะทำงาน 82 5,157.00 5,157.00 more_vert
7 มิ.ย. 59 อบรมให้ความรู้เรื่องอาหารที่ปลอดภัยไร้สารพิษ 207 11,367.00 11,367.00 more_vert
14 ก.ค. 59 อบรมให้ความรู้เรื่อง อย. น้อย 105 10,025.00 10,025.00 more_vert
24 ต.ค. 59 ประชุมจัดทำรายงานงวดที่ 1 3 856.00 856.00 more_vert
21 พ.ย. 59-20 ก.พ. 60 ส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัย (การปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้และการเลี้ยงหมูหลุม) 105 14,775.00 14,775.00 more_vert
22 พ.ย. 59-20 ก.พ. 60 ส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัย (การเลี้ยงปลาดุก ) 105 9,775.00 9,775.00 more_vert
25 พ.ย. 59-20 ก.พ. 60 ส่งเสริมการผลิตอาหารที่ปลอดภัย (การเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นบ้าน ) 105 8,775.00 8,775.00 more_vert
21 ธ.ค. 59-24 ม.ค. 60 การแปรรูปอาหารและการถนอมอาหาร 105 2,925.00 2,925.00 more_vert
10 ม.ค. 60-28 ก.พ. 60 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนที่ร่วมโครงการ 207 11,367.00 11,367.00 more_vert
28 ก.พ. 60 ประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ 2 978.00 978.00 more_vert
24 มี.ค. 60 คืนดอกเบี้ย เพื่อปิดโครงการ 0 0.00 21.38 more_vert
รวม 798 80,000.00 13 80,021.38

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2559 13:35 น.