รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)
สังกัด กรุงเทพมหานคร
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 120,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 120,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธีระพร ทองสาด
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นางฮับเซ๊าะ พวงมณีย์
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นายเฉลิมพล จำปาเรือง
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นางศุทธินี หนูขาว
ที่ปรึกษาโครงการ 1 ศูนย์อนามัยท่ี 13
ที่ปรึกษาโครงการ 2
ที่ปรึกษาโครงการ 3
ผู้ประสานงานภาค นางสาวอุบลรัตน์ ขันธ์ทอง
หลักการและเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี) จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่งในปีที่ 1 ได้ดำเนินการดังต่อไปนี้

กรอบแนวคิด

อธิบายกรอบแนวคิดหลักของโรงเรียนที่จะประยุกต์ใช้ดังนี้ ภาพกรอบความคิดการดำเนินงาน อธิบายกรอบความคิด ดังนี้


1. การเกษตรในโรงเรียน
กิจกรรมที่ 1กิจกรรมศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีพได้มีการปลูกผักไฮโดรโปรนิค , การเพาะถั่วงอก , การเพาะต้นอ่อนทานตะวัน , การเพาะเห็ดนางฟ้า การเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์การเลี้ยงไก่ไข่ การปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์ การปลูกพืชผักสวนครัว เป็นต้น กิจกรรมที่ 2กิจกรรมการสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือเป็นการจัดประชุมระดมความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน ผู้นำชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานเขตสะพานสูง ศูนย์บริการสาธารณสุข 68 สะพานสูง รวมทั้งหน่วยงานภายนอกต่าง ๆ เพื่อระดมความคิดร่วมดำเนินงานและสนับสนุน
2. สหกรณ์นักเรียน กิจกรรมส่งเสริมการผลิต โดยเชิญวิทยากรมาอบรมให้ความรู้ด้านสหกรณ์ การผลิตต่าง ๆ เช่น
การทำขนมการแปรรูปอาหารจากโครงการเกษตรของโรงเรียน การประดิษฐ์ การทำยาหม่องน้ำ มาจำหน่ายให้สหกรณ์ร้านค้ามีการทำบัญชีรายรับ รายจ่าย เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้รับความรู้ด้วย

  1. การจัดบริการอาหารของโรงเรียน กิจกรรมที่ 1การจัดบริการอาหารโครงการอาหารเช้า โดยกรุงเทพมหานครสนับสนุน งบประมาณดำเนินงาน หัวละ 5 บาท /คน / วัน กิจกรรมที่ 2การจัดบริการโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก
    2 ส่วน คือ งบอุดหนุนรัฐบาล ให้หัวละ 15 บาท / คน / วัน และกรุงเทพมหานครจัดสรรเพิ่มให้อีกหัวละ 5 บาท / คน / วัน รวม 20 บาท / คน /วันโรงเรียนได้นำมาจัดอาหารกลางวันให้นักเรียนโดยทำกับข้าว 2 อย่าง ขนมหรือผลไม้ 1 อย่าง ซึ่งโรงเรียนจะจัดเมนูให้นักเรียนได้รับประทานผักทุกวันอย่างน้อยวัน 4 ช้อนกินข้าว/คน / วัน และจัดผลไม้ให้สัปดาห์ละ 2 วัน
    กิจกรรมที่ 3การจัดบริการอาหารเสริม (นม)นักเรียนชั้นอนุบาล –ประถมศึกษาปีที่ 6 จะได้ ดื่มนมทุกวัน
    กิจกรรมย่อยที่ 4 แม่ครัวอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานคร ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลสำนักงานเขตสะพานสูง กิจกรรมย่อยที่ 5 อบรมอาสาสมัครอาหารปลอดภัยใน ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลสำนักงานเขตสะพานสูง
  2. การติดตามภาวะโภชนาการ กิจกรรมที่ 1 การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงการตรวจสอบ ติดตามสภาพการขาดสารอาหารของ นักเรียน โดยนำข้อมูลน้ำหนัก/ส่วนสูงไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานและแปรผล แล้วนำผลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาสุขภาพนักเรียนต่อไป กิจกรรมที่ 2 การบันทึกสุขภาพ กิจกรรมที่ 3 การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ

  3. การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน กิจกรรมที่ 1การพัฒนาบุคลากร กิจกรรที่ 2การกำจัดเหาด้วยสมุนไพร

  4. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมธนาคารขยะ
    กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมคลองสวยน้ำใส กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการทำน้ำยาล้างจานเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมที่ 4 การทำน้ำยาล้างห้องน้ำจากสมุนไพร กิจกรรมที่ 5 การทำสบู่เหลวสมุนไพรสูตรผลไม้

  5. การจัดให้บริการด้านสุขภาพแก่นักเรียน
    จัดให้มีครูอนามัยประจำโรงเรียน โดยมีหน้าที่ปฐมพยาบาลนักเรียนที่ประสบอุบัติเหตุ การตรวจ พยาธิ การตรวจฟัน การวัดสายตาร่วมกับเจ้าหน้าที่จากศูนย์สาธารณสุข 68สะพานสูง กิจกรรมที่ 1 การตรวจสุขภาพนักเรียน กิจกรรมที่ 2 การทดสอบสมรรถภาพทางกาย กิจกรรมที่ 3 เด็กไทยไร้พุง กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมปั่นเพื่อสุขภาพ
    กิจกรรมที่ 5 การปรับปรุงห้องพยาบาล

  6. การจัดการเรียนรู้ : เกษตรโภชนาการ และสุขภาพอนามัย กิจกรรมที่ 1 การสอนบูรณาการการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ เพื่อให้ นักเรียนได้เรียนรู้วิธีปฏิบัติตนที่จะทำให้มีโภชนาการสมวัย สุขภาพดี ผลการเรียนดี มีจิตสาธารณะ โดยกิจกรรมต่าง ๆ เน้นให้นักเรียนเป็นผู้ลงมือทำ โรงเรียนเป็นฐานของการพัฒนา ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และส่งเสริมความร่วมมือของหน่วยงานในการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีให้โรงเรียน กิจกรรมที่ 2 การจัดกิจกรรมแข่งขันตอบปัญหา /รณรงค์ต่างๆ เช่น การล้างมือ การแปรงฟัน การปฏิบัติตามสุขบัญญัติการออกกำลังกาย เป็นต้น กิจกรรมที่ 3 การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ผลงาน ดังนั้น โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี) สังกัดสำนักงานเขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร จึงได้เสนอแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสจากปีที่1โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องอย่างยั่งยืน ตามผลที่คาดหวังของโครงการ
กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 960
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 60
ผู้ปกครอง 0
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 10201020
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 10
อสม. 0
ชุมชน 0
ผู้นำศาสนา 0
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 0
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 0
อื่น ๆ 0
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 10
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่อง
  2. นักเรียนที่มีปัญหาทุพโภชนาการได้รับการดูแล แก้ไข
  3. นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5หมู่
  4. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตนตนตามสุขบัญญัติ
  5. นักเรียนมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ แข็งแรง สมวัย
  6. เกิดความร่วมมือของชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ ในการร่วมมือกันเฝ้าระวังภาวะโภชนาการให้นักเรียนและเด็กๆ ในชุมชน
เป้าหมายภาวะโภชนาการ

นักเรียนเจริญเติบโตสมวัยโดยมี

  • ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกิน7%
  • ภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกิน7%
  • ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ไม่เกิน7%

นักเรียนได้รับกินผัก – ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวัน เฉลี่ย

ผัก วันละประมาณ40 – 100 กรัมอนุบาล3ช้อน (50 กรัม) ประถม 4 ช้อน (70กรัม)

ผลไม้ (อนุบาล ½ ส่วน ประถม1ส่วน ) ต่อมื้อต่อคน

ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล
  1. เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จ จะมีการดำเนินการต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไร

    เมื่อดำเนินงานตามโครงการแล้วเสร็จแล้ว โรงเรียนจะต้องดำเนินการโครงการนี้ต่อไปอย่างต่อเนื่องจนสิ้นปีการศึกษา และในปีการศึกษาต่อไปก็จะได้ใช้ผลการประเมินโครงการมาปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของโครงการต่อไปเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

  2. ระบุวิธีการขยายผลจากการดำเนินโครงการ และชุมชน หรือผู้อื่นจะใช้ประโยชน์จากผลของโครงการนี้อย่างไร

  • ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง สร้างความตระหนักให้คณะกรรมการเห็นความสำคัญของโครงการนี้ และแจ้งแผนงาน โครงการ กิจกรรม ร่วมทั้งขอความคิดเห็นเพิ่มเติมเพื่อให้คณะกรรมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และเป็นกำลังสำคัญในการนำแผนงาน โครงการ กิจกรรมลงสู่ชุมชน
  • ประชาสัมพันธ์โครงการ/ กิจกรรมด้วยรูปแบบหลากหลาย เช่น ลงในเว็บไซต์ของโรงเรียน ทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์ และให้นักเรียนช่วยประชาสัมพันธ์ไปยังผู้ปกครอง
  • ประชาสัมพันธ์ไปยังโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ได้รับทราบการดำเนินงานของโรงเรียนและสามารถมาศึกษาดูงานการดำเนินงานของโรงเรียนได้
พื้นที่ตั้งโรงเรียน ตำบลสะพานสูง อำเภอบางกะปิ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ละติจูด-ลองจิจูด 13.769502273073,100.69489002228place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 15 พ.ย. 2559 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 48,000.00
2 16 พ.ย. 2559 28 ก.พ. 2560 1 ต.ค. 2559 30 เม.ย. 2560 66,000.00
3 1 มี.ค. 2560 30 เม.ย. 2560 6,000.00
รวมงบประมาณ 120,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนสารอาหารและการพัฒนาภาวะโภชนาการและสุขภาพระยะยาว

นักเรียนทำเกษตรปลอดสารพิษได้ผลผลิตสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักเรียนได้รับประทานอาหารปลอดภัยมีสารอาหารครบถ้วนทำให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการสมวัย นักเรียนได้รับกินผัก – ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวัน เฉลี่ย ผัก วันละประมาณ40 – 100 กรัมอนุบาล3ช้อน (50 กรัม) ประถม 4 ช้อน (70กรัม)ผลไม้ (อนุบาล ½ ส่วน ประถม1ส่วน ) ต่อมื้อต่อคน

2 เพื่อสร้างกระบวนการประเมิน ติดตามและเฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน

เกิดกระบวนการประเมิน ติดตามเฝ้าระวังแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน ส่งผลให้ภาวะโภชนาการของนักเรียนลดลงนักเรียนเจริญเติบโตสมวัยโดยมี ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกิน7% ภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกิน7% ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ไม่เกิน7%

3 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนตามแนวการดำเนินงานความสำเร็จของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร

ชุมชน/หน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเกษตรการจัดการบริการอาหาร และโภชนาการ

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
2 - 6 พ.ค. 59 การเพาะต้นอ่อนทานตะวันครั้งท่ี 1 104 5,000.00 3,000.00 more_vert
14 พ.ค. 59 อบรมหลักสูตรสุขาภิบาลอาหารให้กับแม่ครัว 7 0.00 0.00 more_vert
16 พ.ค. 59 การเพาะถั่วงอก ครั้งที่1 104 7,500.00 4,500.00 more_vert
16 พ.ค. 59 การบันทึกสุขภาพ 157 5,000.00 3,060.00 more_vert
20 พ.ค. 59 การเลี้ยงปลาดุก ครั้งที่1 34 4,480.00 2,800.00 more_vert
24 พ.ค. 59 การอบรม อย. น้อย 11 0.00 0.00 more_vert
25 พ.ค. 59 การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ครั้งที่1 104 7,225.00 4,000.00 more_vert
3 - 30 มิ.ย. 59 ทำน้ำยาล้างจาน ครั้งที่1 15 5,500.00 2,000.00 more_vert
8 - 30 มิ.ย. 59 การปลูกผักสวนครัว ครั้งที่1 34 8,960.00 3,000.00 more_vert
10 มิ.ย. 59 ทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ ครั้งที่1 107 3,600.00 2,600.00 more_vert
10 - 30 มิ.ย. 59 การปลูกมะนาวในวงซีเมนท์ 34 3,020.00 3,020.00 more_vert
1 - 27 ก.ค. 59 ซ่อมแซมศูนย์การเรียนรู้เศรฐกิจพอเพียง 4 3,000.00 3,000.00 more_vert
4 - 29 ก.ค. 59 การเลี้ยงไก่ไข่ ครั้งที่1 34 9,465.00 5,000.00 more_vert
5 - 25 ก.ค. 59 การเพาะเห็ดนางฟ้า 34 2,500.00 2,500.00 more_vert
11 - 29 ก.ค. 59 การอบรมทำดอกไม้พลาสติกและยาดมสมุนไพร 112 7,400.00 4,400.00 more_vert
3 - 31 ส.ค. 59 ซื้ออุปกรณ์การออกกำลังกาย 51 13,490.00 4,415.00 more_vert
1 - 30 ก.ย. 59 ทำยาล้างมือยากำจัดเหาสมุนไพรมะกรูด 32 4,820.00 2,000.00 more_vert
3 ต.ค. 59 - 28 ก.พ. 60 ทำโครงงาน เกษตร โภชนาการ สุขภาพอนามัย 3 3,000.00 3,000.00 more_vert
24 พ.ย. 59 ตกแต่งห้องพยาบาล 14 4,500.00 4,500.00 more_vert
26 พ.ย. 59 - 30 ธ.ค. 59 การเลี้ยงปลาดุก ครั้งที่2 113 0.00 1,680.00 more_vert
26 พ.ย. 59 - 30 ธ.ค. 59 การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ครั้งที่2 113 0.00 3,225.00 more_vert
26 พ.ย. 59 การทำขนมไทยส่งเสริมการขาย 111 0.00 3,000.00 more_vert
28 พ.ย. 59 การประชุมภาคีเครือข่าย 110 7,500.00 7,500.00 more_vert
28 พ.ย. 59 - 28 ก.พ. 60 ทำแผนจัดการเรียนรู้บูรณาการ 3 2,540.00 2,540.00 more_vert
30 พ.ย. 59 - 30 ธ.ค. 59 การเพาะต้นอ่อนทานตะวัน ครั้งที่2 107 0.00 2,000.00 more_vert
1 ธ.ค. 59 - 28 ก.พ. 60 การพัฒนาบุคคลากรด้านการส่งเสริมการพัฒนาสุขนิสัยให้นักเรียน 64 1,500.00 1,500.00 more_vert
1 - 30 ธ.ค. 59 การเพาะถั่วงอก ครั้งที่2 109 0.00 3,000.00 more_vert
1 - 30 ธ.ค. 59 การปลูกผักสวนครัว ครั้งที่2 115 0.00 5,960.00 more_vert
1 - 30 ธ.ค. 59 การเลี้ยงไก่ไข่ ครั้งที่2 113 0.00 4,465.00 more_vert
19 - 30 ธ.ค. 59 ทำน้ำยาล้างจาน ครั้งที่2 112 0.00 3,500.00 more_vert
23 - 30 ธ.ค. 59 ทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ ครั้งที่2 112 0.00 1,000.00 more_vert
2 - 30 ม.ค. 60 ทำยาล้างมือ ยากำจัดเหาสมุนไพรมะกรูด ครั้งที่ 2 113 0.00 2,820.00 more_vert
2 - 30 ม.ค. 60 กิจกรรมเด็กไทยไร้พุง ครั้งที่2 110 0.00 9,075.00 more_vert
9 - 30 ม.ค. 60 ติดตามภาวะโภชนาการนักเรียน 100 5,000.00 6,940.00 more_vert
9 - 30 ม.ค. 60 อบรมผู้ปกครองสำหรับนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินมาตราฐาน 112 5,000.00 5,000.00 more_vert
4 เม.ย. 60 ถอนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร 2 0.00 500.00 more_vert
6 เม.ย. 60 จัดทำรายงานปิดโครงการ งวด 2 พร้อมคืนดอกเบี้ย 1 0.00 17.78 more_vert
รวม 2,615 120,000.00 37 120,517.78

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559 00:29 น.