ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านลำทับ
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กระบี่
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 150,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 150,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายคณิต โอทอง
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นายทวีศักดิ์ ดำมุสิทธ์ิ
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นางสาระนวลสมศรี
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นางสาวจุรีวรรณ ชำนาญกิจ
ที่ปรึกษาโครงการ 1 นายสุรศักดิ์ เพชรสุก
ที่ปรึกษาโครงการ 2 นางปรีดา ภูชฎาภิรมย์
ที่ปรึกษาโครงการ 3 นายสมหวิง หนูศิริ
ผู้ประสานงานภาค นางสาววิลาวัณย์
หลักการและเหตุผล

โรงเรียนบ้านลำทับ จัดการศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีสุขภาพดี เป็นคนดี มีความสุข เกิดปัญญา และมีทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษา การประกอบอาชีพ และดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงได้จัดการเรียนรู้ที่ด้านการเกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย ที่สอดคล้องความต้องการของผู้เรียนและชุมชน จึงได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสและได้ดำเนินการตามหลักการของ “โครงการเด็กไทยแก้มใส” ซึ่งเป็นโครงการที่ใช้หลักบริหารจัดการ๘ องค์ประกอบของการพัฒนา คือ การเกษตรในโรงเรียน สหกรณ์นักเรียนการจัดบริการอาหารของโรงเรียน การติดตามภาวะโภชนาการ การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน การบริการด้านสุขภาพอนามัย การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ การจัดการเรียนรู้เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย นอกจากนั้นโรงเรียนบ้านลำทับมีแนวคิดในการพัฒนาโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน สู่ครัวเรือน และชุมชนเป็นการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน

กรอบแนวคิด

โครงการศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการของโรงเรียนบ้านลำทับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่เป็นโครงการที่บริหารจัดการโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐานของการพัฒนา(SchoolBasedManagement)โดยใช้หลัก๘องค์ประกอบของการพัฒนาคือ๑)การเกษตรในโรงเรียน๒)สหกรณ์นักเรียน๓)การจัดบริการอาหารในโรงเรียน๔) การติดตามภาวะโภชนาการ ๕)การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน
๖) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ ๗)การจัดบริการสุขภาพ๘) การจัดการเรียนรู้เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัยโดยนักเรียน เป็นผู้ลงมือทำเองครูเป็นผู้ถ่ายทอดและให้การสนับสนุนดูแลภาคีเครือข่ายชุมชนหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดความรู้และ เทคโนโลยีให้นักเรียนได้ร่วมคิดร่วมทำร่วมแก้ปัญหาสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมขยายผลสู่ชุมชนเพื่อมุ่งเน้นการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการ และปัญหาสุขภาพนักเรียนที่พบจากการเฝ้าระวังของโรงเรียนอันจะส่งผลให้นักเรียน มีสุขภาพที่ดีและมีผลการเรียนที่ดียิ่งขึ้นนับว่าเป็นการแก้ปัญหาได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ดังนั้น โรงเรียนบ้านลำทับจึงได้เสนอแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสจากปีที่๑โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องอย่างยั่งยืน ตามผลที่คาดหวังของโครงการ โรงเรียนบ้านลำทับมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใส ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ โรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใสเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านการเกษตรโภชนาการและสุขภาพอนามัยมุ่งการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนให้เกิดความต่อเนื่อง ยั่งยืนหากนักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีจะส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่โรงเรียนอื่นๆ และขยายผลสู่ชุมชนโดยใช้นักเรียนเป็นสื่อในการนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกปฏิบัติจริงจากโรงเรียนสู่บ้านเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการทำงาน โดยส่งเสริมให้ปลูกผักปลอดสารพิษหรือเลี้ยงไก่เลี้ยงปลาไว้รับประทานเองที่บ้านส่วนที่เหลือจากการรับประทานก็นำมาฝากขายในสหกรณ์โรงเรียนหรือขายในท้องตลาดเป็นการเพิ่มรายได้เป็นการลดรายจ่ายในครัวเรือน จะส่งผลให้แต่ละครอบครัวมีความเป็นอยู่ดีขึ้นมีวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งประกอบด้วย ๑. การเกษตรในโรงเรียน ดำเนินกิจกรรมดังนี้ ๑.การปลูกผักปลอดสารพิษแบบผสมผสาน ๑. การเพาะเห็ดนางฟ้า/การเพาะถั่วงอก ๒. การปลูกผักปลอดสารพิษ(ผักกาด ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง ถั่วงอกมะเขือ บวบฯลฯ) -การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
-การปลูกผักลอยฟ้า -การปลูกผักไต่ราว ๓. การทำนาแปลงสาธิต ๔. การเผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตรสู่ชุมชน ๒.การเลี้ยงสัตว์ ๑.การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินตามธรรมชาติ ๒. การเลี้ยงปลากินพืช (ปลานิล) ในกระชัง
๓.การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่/ไก่พันธุ์พื้นเมือง ๔. การเลี้ยงกบยุคใหม่ (การเลี้ยงกบในขวดพลาสติก) ๓.กิจกรรมส่งเสริมการผลิตและการขาย ๑. การผลิตปุ๋ยชีวภาพเพื่อใช้ในการปลูกผักปลอดสารพิษ ๒. การจัดทำผลิตภัณฑ์ อเนกประสงค์ (ล้างมือ/ล้างจาน/ล้างห้องน้ำ/สบู่/แชมพูสระผม) ๓. การประกอบอาหาร และการแปรรูปอาหารจากผลผลิตทางการเกษตร ๔. ขยายผลสู่ชุมชนโดยการส่งเสริมให้นักเรียนปลูกผักเลี้ยงสัตว์การประกอบอาหาร การแปรรูปอาหารและจัดทำผลิตภัณฑ์อเนกประสงค์ในชุมชน ๕ จัดตลาดนัดพอเพียง เพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าที่เป็นผลผลิตทางการเกษตรจากบ้านและชุมชนที่เกิดจากการขยายผลจากโรงเรียนสู่ชุมชน

๒. สหกรณ์นักเรียน ๑. สหกรณ์นักเรียนโรงเรียนบ้านลำทับเป็นกิจกรรมสหกรณ์แบบครบวงจรโดยนักเรียนเป็นผู้ดำเนินการ มีนักเรียนครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นสมาชิกร้อยละ๙๘ดำเนินกิจกรรมดังนี้ ๑. สหกรณ์ร้านค้าจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ๒. สหกรณ์ออมทรัพย์ ๓. สหกรณ์ส่งเสริมการขายตลาดนัดพอเพียง (ตลาดมีชีวิต) ๒. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการสหกรณ์ในโรงเรียน และสามารถจัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่ายในการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรได้ถูกต้อง
๓. การจัดบริการอาหารของโรงเรียน ดำเนินกิจกรรมดังนี้
๑. จัดทำโครงการ “อิ่มท้องสมองดี” เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่า ตามหลักโภชนาการ ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น ๒. คัดกรองและแยกนักเรียนรับอาหารตามตามภาวะโภชนาการ (อ้วน - ผอม)
๓. ใช้ระบบThaischoolLunchจัดทำรายการอาหารกลางวันหมุนเวียนอย่างน้อย๑เดือนตามมาตรฐานโภชนาการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโดยครูผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวัน
๔. มีภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพเป็นแกนนำ นำนักเรียน/ครู /ผู้ปกครองกำลังกาย
๔. การติดตามภาวะโภชนาการ ดำเนินกิจกรรมดังนี้ ๑. จัดทำฐานช้อมูลน้ำหนัก ส่วนสูง และแปรผลภาวะโภชนาการโดยใช้โปรแกรมเฝ้าระวังของ กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข ๒. จัดกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย และสภาวะสุขภาพของนักเรียนทุกคน

๕. การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน ดำเนินกิจกรรมดังนี้ ๑. ติดตามประเมินผลด้านการปฏิบัติตนตามสุขบัญญัติ๑๐ ประการของนักเรียนทุกระดับชั้น ๒. นำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาเพื่อให้นักเรียนปฏิบัติอย่างยั่งยืน

๖. พัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ ดำเนินกิจกรรมดังนี้ ๑. จัดทำรั้วโรงอาหาร ๒. จัดสวนหย่อมในบริเวณโรงเรียนและห้องสุขาให้สวยงามและร่มรื่น ๓. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน “ต้นไม้พูดได้”

๗. การจัดบริการสุขภาพในโรงเรียน ดำเนินกิจกรรมดังนี้ ๑. ส่งเสริมให้นักเรียนบันทึกผลการตรวจสุขภาพด้วยตนเองทุกระดับชั้น
๒. นักเรียนกลุ่มเสี่ยงหรือมีปัญหาสุขภาพทุกคนได้รับความช่วยเหลือแก้ไขเบื้องต้นอย่างเหมาะสม โดยมีการส่งต่อตามระบบการส่งต่อช่วยเหลือนักเรียน

๘. การจัดการเรียนรู้ : เกษตรโภชนาการและสุขภาพอนามัย ดำเนินกิจกรรมดังนี้ ๑. จัดทำ/พัฒนาแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านเกษตรอาหารโภชนาการและสุขภาพทุกระดับชั้น
๒. พัฒนาสื่อ/วัตกรรมที่ใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านเกษตรอาหารโภชนาการและสุขภาพ ในทุกระดับชั้น

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 1144
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 57
ผู้ปกครอง 987
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 21882188
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 15
อสม. 0
ชุมชน 20
ผู้นำศาสนา 45
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 5
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 20
อื่น ๆ 5
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 110
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. โรงเรียนแก้ปัญหาการบริโภคอาหารโภชนาการและภาวะทุพโภชนาการในเด็กนักเรียนได้อย่างยั่งยืน
  2. นักเรียนครูนำความรู้เรื่องการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปเผยแพร่สู่ชุมชน
  3. จัดระบบการติดตามประเมินผลการเฝ้าระวังในการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการได้อย่างต่อเนื่อง
  4. สร้างความตระหนักให้นักเรียนในด้านสุขภาพอนามัยโภชนาการการบริโภคอาหารเชิงบูรณาการกับสหกรณ์โรงเรียนและด้านการเกษตรแบบพอเพียงในโรงเรียนสู่ชุมชน
  5. สร้างภาคีครือข่ายในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัยโภชนาการแก้ปัญหาภาวะทุพ โภชนาการและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน
  6. นักเรียนครูภูมิปัญญาท้องถิ่นนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปขยายผลสู่บ้านและชุมชนเป็นการเพิ่ม รายได้ ลดรายจ่าย
  7. เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครองและชุมชน
เป้าหมายภาวะโภชนาการ

นักเรียนเจริญเติบโตสมวัยโดยมี ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกิน 7% ภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกิน 7% ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ไม่เกิน 7% นักเรียนได้กินผัก – ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวัน เฉลี่ย ผัก วันละประมาณ40 – 100 กรัมอนุบาล 3 ช้อน (50 กรัม) ประถม 4 ช้อน (70 กรัม)
ผลไม้ (อนุบาล½ ส่วนประถม 1 ส่วน) ต่อมื้อต่อคน

ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล

โรงเรียนได้ตั้งเป้าการดำเนินโครงการเด็กไทยแก้มใสอย่างต่อเนื่องและผู้บริหารได้ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลงานของกิจกรรมของโรงเรียนตามโครงการนี้และได้ประสานกับองค์กรภายนอก เช่น โรงเรียนในเครือข่าย หรือโรงเรียนใกล้เคียง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อสนับสนุนกิจกรรมตามโครงการนี้ให้ขับเคลื่อนไปอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
โรงเรียนได้นำนักเรียนไปฝึกทักษะการจัดทำเชื้อก้อนเห็ด/การบำรุงดูแลรักษาก้อนเห็ดและการทำโรงเพาะเห็ดอย่างง่าย ส่งผลให้นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6นำไปดำเนินการจัดทำโรงเพาะเห็ดที่บ้านนักเรียนปัจจุบันมียอดขายได้รับเงินวันละหลายร้อยบาท ซึ่งเป็นที่ภาคภูมิใจของนักเรียนและผู้ปกครองเป็นอย่างมาก

พื้นที่ตั้งโรงเรียน 34/1 หมู่ที่5 ตำบลลำทับ อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่
ละติจูด-ลองจิจูด 8.0644146194162,99.29582619589place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 60,000.00
2 1 ต.ค. 2559 6 เม.ย. 2560 1 ต.ค. 2559 3 เม.ย. 2560 82,500.00
3 7 เม.ย. 2560 30 เม.ย. 2560 7,500.00
รวมงบประมาณ 150,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาการบริโภคอาหารโภชนาการและภาวะทุพโภชนาการในเด็กนักเรียนได้อย่างยั่งยืน

มาตรฐานที่ 1 : การบริหารจัดการสู่การเป็นโรงเรียนต้นแบบ เด็กไทยแก้มใส
ตัวชี้วัดที่ 1.1 : โรงเรียนมีนโยบายและแผนปฏิบัติงานที่นำไปสู่เป้าหมาย การเป็นโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใส
ตัวชี้วัดที่ 1.2 : มีความมุ่งมั่นตั้งใจและได้รับความร่วมมืออย่างดีจาก เครือข่ายทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ตัวชี้วัดที่ 1.3 : มีฐานข้อมูลด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพนักเรียน ที่เป็นปัจจุบัน
ตัวชี้วัดที่ 1.4 : มีแผนพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการอาหาร โภชนาการ และสุขภาพ
ตัวชี้วัดที่ 1.5 : มีความพร้อมในการพัฒนาสู่การเป็นแหล่งเรียนรู้ “เด็กไทยแก้มใส” (ด้านการจัดการอาหาร โภชนาการ และสุขภาพนักเรียนอย่างครบวงจร)
ตัวชี้วัดที่ 1.6 : โรงเรียนมีระบบการกับ ติดตาม และประเมินผล การ พัฒนาโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใส

มาตรฐานที่ 2 : กระบวนการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ เด็กไทยแก้มใส
1 : เกษตรในโรงเรียน
ตัวชี้วัดที่ 1.1 : โรงเรียนมีการผลิตทางเกษตร และเลี้ยงสัตว์หรือประมง โดยการมีส่วนร่วมของนักเรียน ชุมชนและเครือข่าย ตัวชี้วัดที่ 1.2 : มีการน าผลผลิตทางการเกษตร ปศุสัตว์ และประมง ไป ใช้ในโครงการอาหารกลางวันนักเรียน 2 : สหกรณ์นักเรียน
ตัวชี้วัดที่ 2.1 : มีกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนที่มีนักเรียนเป็นสมาชิก และดำเนินการโดยนักเรียน 3 : การจัดบริการอาหารนักเรียน
ตัวชี้วัดที่ 3.1 : มีการจัดทำรายการอาหารหมุนเวียนอย่างน้อย 1 เดือน ตามมาตรฐานโภชนาการที่สอดคล้องกับภาวะสุขภาพ และผลผลิตทางการเกษตรในโรงเรียนหรือชุมชน
ตัวชี้วัดที่ 3.2 : มีการปรุง ประกอบอาหาร ถูกหลักโภชนาการ สุขาภิบาลอาหาร และอาหารปลอดภัย
ตัวชี้วัดที่ 3.3 : มีการตักอาหารให้นักเรียนตามปริมาณและสัดส่วน ของธงโภชนาการที่เหมาะสมกับวัย และทันเวลา
ตัวชี้วัดที่ 3.4 : มีการจัดอาหารว่าง ขนม และเครื่องดื่มที่ได้มาตรฐาน โภชนาการ 4 : การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการและ สมรรถภาพทางกายนักเรียน
ตัวชี้วัดที่ 4.1 : มีระบบเผ้าระวังการเจริญเติบโตและสมรรถภาพ ทางกายของนักเรียน 8 : การจัดการเรียนรู้เกษตร อาหาร โภชนาการและ สุขภาพ
ตัวชี้วัดที่ 8.1 : มีแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการและกิจกรรม ที่สอดคล้องกับโครงการเด็กไทยแก้มใส
ตัวชี้วัดที่ 8.2 : การน าภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสนับสนุนการจัดกิจกรรม เรียนรู้ด้านเกษตร สหกรณ์ โภชนาการ และสุขภาพ
ตัวชี้วัดที่ 8.3 : มีการผลิตสื่อและนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ด้าน เกษตร สหกรณ์ โภชนาการ และสุขภาพ

2 เพื่อจัดระบบการติดตามประเมินผลการเฝ้าระวังในการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการได้อย่างต่อเนื่อง

มาตรฐานที่ 2 : กระบวนการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ เด็กไทยแก้มใส
4 : การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการและ สมรรถภาพทางกายนักเรียน
ตัวชี้วัดที่ 4.1 : มีระบบเผ้าระวังการเจริญเติบโตและสมรรถภาพ ทางกายของนักเรียน

3 เพื่อสร้างความตระหนักให้นักเรียนในด้านสุขภาพอนามัยโภชนาการการบริโภคอาหารเชิงบูรณาการกับสหกรณ์โรงเรียนและเกษตรแบบพอเพียงในโรงเรียนสู่ชุมชน

มาตรฐานที่ 2 : กระบวนการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ เด็กไทยแก้มใส
2 : สหกรณ์นักเรียน
ตัวชี้วัดที่ 2.1 : มีกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนที่มีนักเรียนเป็นสมาชิก และดำเนินการโดยนักเรียน 1 : เกษตรในโรงเรียน
ตัวชี้วัดที่ 1.1 : โรงเรียนมีการผลิตทางเกษตร และเลี้ยงสัตว์หรือประมง โดยการมีส่วนร่วมของนักเรียน ชุมชนและเครือข่าย ตัวชี้วัดที่ 1.2 : มีการน าผลผลิตทางการเกษตร ปศุสัตว์ และประมง ไป ใช้ในโครงการอาหารกลางวันนักเรียน 5 : การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน
ตัวชี้วัดที่ 5.1 : มีกิจกรรมดำเนินการด้านพัฒนาสุขนิสัยและการ ส่งเสริมสุขภาพนักเรียนอย่างเป็นรูปธรรม
7 : การจัดบริการสุขภาพนักเรียน
ตัวชี้วัดที่ 7.1 : มีการให้บริการตรวจสุขภาพนักเรียน และให้การดูแล ช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างเหมาะสม 8 : การจัดการเรียนรู้เกษตร อาหาร โภชนาการและ สุขภาพ
ตัวชี้วัดที่ 8.3 : มีการผลิตสื่อและนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ด้าน เกษตร สหกรณ์ โภชนาการ และสุขภาพ

4 เพื่อสร้างภาคีครือข่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัยโภชนาการแก้ปัญหาภาวะ ทุพโภชนาการและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน

มาตรฐานที่ 2 : กระบวนการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ เด็กไทยแก้มใส
4 : การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการและ สมรรถภาพทางกายนักเรียน
ตัวชี้วัดที่ 4.1 : มีระบบเผ้าระวังการเจริญเติบโตและสมรรถภาพ ทางกายของนักเรียน 6 : การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
ตัวชี้วัดที 6.1 : โรงเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาล อนามัย สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและมาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในโรงเรียน 8 : การจัดการเรียนรู้เกษตร อาหาร โภชนาการและ สุขภาพ
ตัวชี้วัดที่ 8.2 : การน าภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสนับสนุนการจัดกิจกรรม เรียนรู้ด้านเกษตร สหกรณ์ โภชนาการ และสุขภาพ
ตัวชี้วัดที่ 8.3 : มีการผลิตสื่อและนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ด้าน เกษตร สหกรณ์ โภชนาการ และสุขภาพ

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมหลัก

ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 59มิ.ย. 59ก.ค. 59ส.ค. 59ก.ย. 59ต.ค. 59พ.ย. 59ธ.ค. 59ม.ค. 60ก.พ. 60มี.ค. 60เม.ย. 60
1 กิจกรรมแม่ครัวหัวป่า อบรมผู้ประกอบอาหารกลางวันในโรงเรียน 2,200.00                         more_vert
2 อบรมผู้ปกครองแกนนำ เรื่อง วิธีการประกอบอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ 10,500.00                         more_vert
3 บูรณาการเกษตร สหกรณ์ อาหาร และโภชนาการ 56,950.00                         more_vert
4 กิจกรรมเข้าค่ายโรงเรียนสัญจร 6,000.00                         more_vert
5 กิจกรรม Open House ผู้ปกครองเยี่ยมชมโครงการเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนบ้านลำทับ 24,650.00                         more_vert
6 อบรมนักเรียนชมรมชมรม อสม.น้อย /คุ้มครองผู้บริโภค/ครูผู้รับผิดชอบ / ตัวแทนผู้ประกอบอาหาร/ตัวแทนผู้ปกครอง เพื่อการตรวจสอสารปนเปื้อนใน อาหาร 8,200.00                         more_vert
7 จัดกิจกรรมค่ายการเรียนรู้ตามโครงการตามศาสตร์พระราชา/ เข้าค่ายต้นกล้าเกษตรอินทรีย์,เชฟน้อยช่างคิด 41,500.00                         more_vert
รวม 150,000.00

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
23 พ.ค. 59 เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เพื่อจำหน่ายในโครงการอาหารกลางวันโดยผ่านสหกรณ์นักเรียน 0 0.00 0.00 more_vert
23 พ.ค. 59-29 ก.ค. 59 การเลี้ยงปลาในกระชัง 418 0.00 0.00 more_vert
29 ก.ค. 59-2 ส.ค. 59 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับการเกษตรเพื่อโครงการอาหารกลางวัน 1000 43,650.00 43,650.00 more_vert
2 ส.ค. 59-30 ก.ย. 59 การเลี้ยงเป็ดพันธุ์เนื้อ 0 0.00 0.00 more_vert
2 ส.ค. 59-30 ก.ย. 59 ปลูกผักปลอดสารพิษแบบผสมผสาน 0 0.00 0.00 more_vert
2 ส.ค. 59-30 ก.ย. 59 การเลี้ยงกบในขวดพลาสติก 0 0.00 0.00 more_vert
4 ต.ค. 59 open House 1210 16,350.00 16,350.00 more_vert
12 ต.ค. 59 ประชุมสัญจรครั้งที่1 2 2,000.00 2,000.00 more_vert
3 พ.ย. 59-31 มี.ค. 60 การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร 73 23,900.00 23,900.00 more_vert
3 พ.ย. 59 กิจกรรมต้นไม้พูดได้ 1179 15,000.00 15,000.00 more_vert
28 ม.ค. 60 กิจกรรมแม่ครัวหัวป่า อบรมให้ความรู้ผู้ประกอบอาหาร 12 2,200.00 2,200.00 more_vert
29 ม.ค. 60 อบรมแกนนำผู้ปกครอง ให้ความรู้การประกอบอาหาร 95 10,500.00 10,500.00 more_vert
4 ก.พ. 60 กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน 464 5,400.00 5,400.00 more_vert
18-19 ก.พ. 60 การทำปุ๋ยหมัก 73 17,600.00 17,600.00 more_vert
21 ก.พ. 60 การสหกรณ์ในโรงเรียนและการทำบัญชี 471 3,100.00 3,100.00 more_vert
22 ก.พ. 60 จัดกิจกรรมค่าย อสม.น้อย 60 8,200.00 8,200.00 more_vert
3 เม.ย. 60 คืนดอกเบี้ย เพื่อปิดโครงการ 0 0.00 53.51 more_vert
3 เม.ย. 60 ประชุมตรวจเอกสารการดำเนินงาน (งวด 3) 2 2,100.00 2,100.00 more_vert
รวม 6,040 150,000.00 18 150,053.51

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2559 17:01 น.