รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านบาโงย จ.ยะลา
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต1
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 80,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 80,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรัตนา ดำทองเสน
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นางจินดาวรรณ ยูโซ๊ะ
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นางสาวอัลวานีย์ยะหะแม
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นางสาวซารีปะห์มะลี
ที่ปรึกษาโครงการ 1 นายยาการียาซิมะ
ที่ปรึกษาโครงการ 2 นางสาวอามีเนาะหะยีดอเลาะ
ที่ปรึกษาโครงการ 3 นางสุคนธ์ สุวรรณบันดิษฐ์
ผู้ประสานงานภาค นางสาววิลาวัณย์ สวัสดีนฤนาท
หลักการและเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ

1) การเกษตรในโรงเรียน

2) สหกรณ์นักเรียน

3) การจัดบริหารอาหารของโรงเรียน

4) การติดตามภาวะโภชนาการ

5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน

6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

7) การจัดบริการสุขภาพ และ

8.) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ

สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น

จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนบ้านบาโงยจึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

กรอบแนวคิด

กรอบแนวคิดหลัก การจัดการอาหารและสุขภาพแบบครบวงจร ในโรงเรียนตามรอยพระยุคลบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ดังนี้

  1. นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง มีความรู้ในเรื่องโภชนาการอาหารที่ปลอดภัย
  2. นักเรียนได้รับพลังงานสารอาหารที่ครบถ้วนเหมาหะสมตามวัย
  3. ฝึกให้นักเรียนมีสุขนิสัยที่ดี และมีจิตสาธารณะในการดูอนามัยสิ่งแวดล้อมทั้งที่โรงเรียน ที่บ้่านและชุมชน
  4. นักเรียนมีความรู้ทักษะการเกษตรที่ผสมผสาน ด้านสหกรณ์นักเรียน ด้านการบูรณาการสู่การเรียนทั้งในวิชาความรู้ ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ตลอดจน ในวิชาอื่นๆ
  5. ฝึกการดำเนินงานสหกรณ์นักเรียนสู่ โครงการอาหารกลางวันโดยมีวัตถุดิบที่ได้จากการเกษตรที่หลากหลายและผสมผสานกัน
  6. นำความรู้เทคโนโลยีที่ได้รับถ่ายทอดสู่ครัวเรือนในขณะเดี่ยวกันความรู้ที่ได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นก็นำมาปฏิบัติใช้ในโรงเรียนควบคู่กันไป
  7. ส่งผลให้ครัวเรื่อนมีความมั่นคงทางอาหารอยู่ดีกินดีสู่ชุมชนที่เข้มแข็งต่อไป
  8. นักเรียนเป็นเจ้าของโรงเรียนสร้างความเข็มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้ 9.การมีส่วนร่วมของชุมชนก่อให้เกิดการมีสุขนิสัยดี มีคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 10.โรงเรียนบ้านบาโงยมีแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนมีศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ
กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 99
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 14
ผู้ปกครอง 85
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 198198
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 7
อสม. 5
ชุมชน 0
ผู้นำศาสนา 10
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 1
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 8
อื่น ๆ 5
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 36
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. โรงเรียนมีการบริหารจัดการ ด้านส่งเสริมสุขภาพนักเรียนที่เป็นระบบ และมีประสิทธิภาพสู่การแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการของนักเรียน
  2. นักเรียนมีสุขภาพดี เติบโตสมวัยมีอารมณ์ สติปัญญาที่ดีขึ้น มีทักษะชีวิตที่ดี สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง
  3. พ่อแม่ ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านอาหารและสุขภาวะของนักเรียนที่ดี
  4. ชุมชนและสังคม มีความตระหนักรู้ ให้ความสำคัญกับการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านอาหารและโภชนาการทีี่เอื้อต่อสุขภาพของเด็กวัยเรียน
  5. ผู้นำท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนในพื้นที่
เป้าหมายภาวะโภชนาการ

1.ร้อยละของนักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกินร้อยละ 5 2.ร้อยละของนักเรียนที่มีภาวะค่อนข้างผอม และผอม ลดลงจากเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ต่อปี 3. ร้อยละของนักเรียนที่มีภาวะค่อนข้างเตี้ย และเตี้ย ลดลงจากเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ต่อปี 4. นักเรียนได้บริโภคอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ
-ได้รับเนื้อสัตว์ไม่น้อยกว่า 2ช้อนกินข้าว /มื้อ/คน -ได้บริโภคผักไม่น้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ(อนุบาล ไม่น้อยกว่า 50กรัม,ประถมศึกษา ไม่น้อยกว่า 70กรัม) - ผลไม้ (อนุบาล 1/2 ส่วน, ประถมศึกษา 1 ส่วน)

ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล
  1. โรงเรียนจะดำเนินการโครงการเด็กไทยแก้มใส ตามรอยพระยุคลบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯโครงการของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีอย่างต่อเนื่อง โดยส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการดีขึ้น และที่สำคัญยิ่งเป็นการพัฒนาความรู้ ทักษะและทัศนคติที่ดีของเด็กในการผลิตทางการเกษตรที่ให้ผลผลิตที่มีคุณค่าทางโภชนาการและปลอดภัย มีการทำการเกษตรแบบผสมผสานผลผลิตที่ได้จากการเกษตรในโรงเรียนทุกชนิดตลอดปีจะนำมาจำหน่ายให้แก่ร้านสหกรณ์โรงเรียน เพื่อจำหน่ายต่อให้กับโรงครัวของโรงเรียนนำไปใช้ประกอบอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการและปลอดภัย หากมีผลผลิตเหลือก็นำไปจำหน่ายให้แก่ชุมชน รายได้ที่เกิดขึ้นสามารถนำไปใช้เป็นกองทุนหมุนเวียนเพื่อการผลิตครั้งต่อไป ในกระบวนการเหล่านี้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้วิธีการทำบัญชี การทำงานเป็นกลุ่ม การบริหารจัดการและยังเป็นการเพิ่มพูนทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ ภาษา พร้อมกับการปลูกฝังในเรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหลักการของประชาธิปไตย ความซื่อสัตย์ สุจริต ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และความประหยัดด้วย
  2. โรงเรียนจะขยายผลจากการดำเนินโครงการ และชุมชน โดยเปิดโอกาสให้โรงเรียนต่างๆ ในศูนย์เครือข่ายหรือในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 และชุมชนต่างๆได้มีโอกาสได้เข้าร่วมชมดูผลงาน นิทรรศการ ประชุมวิชาการ ในโรงเรียนบ้านบาโงย และถ่ายทอดการดำเนินงานสู่โครงการศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการและสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ในโรงเรียนได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งเพื่อเจริญรอยตามพระยุคลบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ด้านการพัฒนาอาหารโภชนาการและสุขภาพอนามัยในโรงเรียน ตลอดจนใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนพระราชดำรัสสู่การปฏิบัติในการบริหารจัดการพัฒนาอาหารโภชนาการและสุขภาพอนามัยในโรงเรียนเพื่อให้เกิดรูปแบบการดำเนินงานอาหารและโภชนาการในโรงเรียนและเป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการให้กับสถานศึกษาอื่น ๆสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 ชุมชนต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยวิธีการ 1.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน ชุมชน และเครือข่าย 2.จัดมหกรรมวิชาการเพื่อเผยแพร่นวัตกรรมและองค์ความรู้ให้กับภาคีเครือข่ายและชุมชน
  3. เปิดโรงเรียนเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับโรงเรียนและชุมชนที่สนใจ
พื้นที่ตั้งโรงเรียน 59 ม.4 ตำบลบาโงย อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.4858898446616,101.34887695312place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 2 พ.ค. 2559 13 ต.ค. 2559 32,000.00
2 1 ต.ค. 2559 6 เม.ย. 2560 14 ต.ค. 2559 30 เม.ย. 2560 44,000.00
3 7 เม.ย. 2560 30 เม.ย. 2560 4,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการของนักเรียนในระยะยาว

1.ร้อยละของนักเรียนที่มีภาวะทุกโภชนาการลดลง นักเรียนมีภาวะอ้วนไม่เกินร้อยละ 5 นักเรียนมีภาวะผอม ลดลงจากเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ต่อปี นักเรียนมีภาวะเตี้ย ลดลงจากเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ต่อปี

2.มีรูปแบบการดำเนินงานแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการของนักเรียน

2 เพื่อสร้างกระบวนการ ประเมินติดตาม และเฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน
  1. เด็กนักเรียนทั้งหมดได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการที่มีคุณภาพ (ดดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนและครอบครัว)

2.มีการจัดรายการอาหารกลางวันของเรียนให้มีปริมาณพลังงาน และสารอาหารครบถ้วนหรืออย่างน้อยร้อยละ 70 ของความต้องการ นักเรียนทุกคน -ได้รับเนื้อสัตว์ไม่น้อยกว่า 2ช้อนกินข้าว ต่อมื้อ -ได้บริโภคผักไม่น้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ(อนุบาล 50กรัม,ประถมศึกษา 70กรัม)

3 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียน

ร้อยละ 80 ของชุมชนมีส่วนร่วมในการคิด ทำและสนับสนุนการดำเนินงานในการพัฒนาเด็กบาโงย

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
27 พ.ค. 59 ประชุมคณะกรรมการและภาคีเครือข่าย 44 3,300.00 3,300.00 more_vert
31 พ.ค. 59 ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้แกนนำนักเรียนและครู 56 19,000.00 19,000.00 more_vert
2 มิ.ย. 59 อบรมเชิงปฏิบัติการความรู้เกี่ยวกับ 8 องค์ประกอบ 79 2,800.00 2,800.00 more_vert
25 มิ.ย. 59 การเพาะเห็ดนางฟ้า 117 3,000.00 3,000.00 more_vert
25 ก.ค. 59 อาหารเช้าเพื่อนักเรียนทุพโภชนาการ 44 0.00 0.00 more_vert
7 ก.ย. 59 รับการนิเทศติดตามการดำเนินโครงการ 13 0.00 0.00 more_vert
19 ก.ย. 59 เก็บเกี่ยวผลิตผลทางการเกษตร 117 0.00 0.00 more_vert
13 ต.ค. 59 การประชุมสัญจรโรงเรียนต้นแบบศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใส ครั้งที่ 1-2 2 4,000.00 1,344.00 more_vert
10 พ.ย. 59 อบรมแม่ครัวและแกนนำผู้ปกครอง 32 7,000.00 7,000.00 more_vert
6 ธ.ค. 59 เกมสื่อสร้างสรรค์พัฒนาทักษะเด็กไทยแก้มใส 117 13,975.00 13,975.00 more_vert
20 ธ.ค. 59 การผลิตวัตถุดิบอาหารสำหรับใช้ในการจัดอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน 113 18,925.00 18,925.00 more_vert
9 ม.ค. 60 จัดทำรายการอาหารโดยใช้โปรแกรม TSL 0 0.00 0.00 more_vert
8 ก.พ. 60 วางแผนการจัดการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันที่สอดคล้องกับเมนูตามโปรแกรม TSL 0 0.00 0.00 more_vert
15 ก.พ. 60 ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามและประเมินผลรายกิจกรรม 13 0.00 0.00 more_vert
28 ก.พ. 60 การจัดนิทรรศการแสดงผลงาน 113 6,000.00 6,000.00 more_vert
1 มี.ค. 60 ปลูกผักไฮโดรพอนิกส์ 117 3,312.00 3,312.00 more_vert
30 มี.ค. 60 - 4 เม.ย. 60 คืนเงินดอกเบี้ยธนาคาร 3 0.00 23.39 more_vert
4 เม.ย. 60 การประชุมสัญจรโรงเรียนต้นแบบศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใส ครั้งที่ 3 3 2,000.00 1,344.00 more_vert
รวม 983 83,312.00 18 80,023.39

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2559 16:58 น.