ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านหัวเหล่า
สังกัด สปพ.ศรีสะเกษ เขต 1
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 100,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรัตนาภรณ์ สีตะวัน
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นางสุภาพร เสนา
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 น.ส.จีรัฏติกรณ์ คนขยัน
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นางจันทรา พร้อมพรม
ที่ปรึกษาโครงการ 1 นางปนัดดา เหมือนมาตย์
ที่ปรึกษาโครงการ 2
ที่ปรึกษาโครงการ 3
ผู้ประสานงานภาค นายธนา เวชากุล,นายสุชินคเณสุข
หลักการและเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณะสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น

กรอบแนวคิด

โรงเรียนบ้านหัวเหล่ามุ่งให้นักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเองในทุกๆ กิจกรรม ทางโรงเรียนสร้างความรู้โภชนาการ อาหารปลอดภัย ความรู้และทักษะ เกษตรผสมผสาน สหกรณ์ เพื่อให้มีทักษะปฏิบัติเกิดกับนักเรียนเริ่มตั้งแต่การผลิตการประกอบ รวมทั้งการจำหน่าย นำทั้งความรู้ ความเข้าใจ และทักษะต่างๆ ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และมีสุขภาพและสุขนิสัยที่ดีแก่ตนเอง มีจิตสาธารณะในการดูแลอนามัย สิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ความรู้ เทคโนโลยีถ่ายทอดสู่ครัวเรือน ชุมชน มีความมั่นคงทางอาหาร อยู่ดีกินดี พึ่งตนเองสร้างความเข้มแข็งเป็นเจ้าของโรงเรียน ดังนั้น โรงเรียนบ้านหัวเหล่า จึงได้เสนอแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสจากปีที่1โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่อง

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 184
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 14
ผู้ปกครอง 184
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 382382
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 15
อสม. 0
ชุมชน 150
ผู้นำศาสนา 1
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 5
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 10
อื่น ๆ 0
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 181
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนทุกคนให้มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดีมีคุณธรรมต่อการเกษตรซึ่งเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต
  2. นักเรียนมีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสะอาดปลอดภัยบริโภคตลอดปีการศึกษาและมีสุขนิสัยที่พึงปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร
  3. โรงเรียนมีการติดตามและแก้ไขเด็กนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
  4. โรงเรียนมีเครือข่ายสู่ชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เป้าหมายภาวะโภชนาการ
  1. ภาวะเริ่มอ้วน และอ้วนไม่เกิน7%
  2. ภาวะค่อยข้างผอมและผอมไม่เกิน 7% 3.ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยไม่เกิน 7 %(กรณีที่ภาวะโภชนาการไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดให้ลดลงจากเดิมไม่น้อยกว่า 0.5ต่อไป)
  3. นักเรียนได้กินผักผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวันเฉลี่ย -ผักวันละประมาณ40-100กรัมอนุบาล 3ช้อน (50 กรัม) ประถม 4 ช้อน (70กรัม)
    -ผลไม้(อนุบาล 1/2 ส่วนประถม 1 ส่วน) ต่อมื้อต่อคน
ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล

โรงเรียนบ้านหัวเหล่ามีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นศูนย์เรียนรู้โครงการเด็กไทยแก้มใน นักเรียนในโรงเรียนได้รับการพัฒนาตามรอยพระยุคลบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โดยได้รับการพัฒนาด้านสุขภาวะ อนามัยสิ่งแวดล้อม สร้างองค์ความรู้จากเด็กนักเรียน ในโรงเรียนขยายผลสู่ชุมชน ผู้ปกครองและหน่วยงานภายนอกสถานศึกษา มีกิจกรรมในการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้และถอดบทเรียนโดยการวิเคราะห์สังเคราะห์จากปัจจัยความสำเร็จต่างๆ ทำให้โรงเรียนมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนให้เกิดความต่อเนื่องอย่างยั่งยืน วิธีการขยายผลจากการดำเนินโครงการ และชุมชน หรือผู้อื่นจะใช้ประโยชน์จากผลของโครงการ มีดังนี้

  1. นักเรียนและ เด็กในชุมชนได้รับการพัฒนาต่อเนื่อง ปลูกฝังและสร้างสุขนิสัยด้านสุขภาพโภชนาการที่ดี
  2. ชุมชน ผู้ปกครองมีส่วนร่วในการดำเนินงาน และเกิดความยั่งยืน
  3. สร่างเด็กและเยาวชนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีสู่ ชุมชน สังคม ประเทศชาติ
พื้นที่ตั้งโรงเรียน 69 หมู่ 11 ตำบลบก อำเภอโนนคูน จังหวัดศรีสะเกษ
ละติจูด-ลองจิจูด 14.956809018193,104.61271226406place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 14 ต.ค. 2559 2 พ.ค. 2559 14 ต.ค. 2559 40,000.00
2 15 ต.ค. 2559 28 ก.พ. 2560 15 ต.ค. 2559 30 เม.ย. 2560 55,000.00
3 1 มี.ค. 2560 30 เม.ย. 2560 5,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนานักเรียนทุกคนให้มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี และปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณธรรมต่อการเกษตรซึ่งเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต

ร้อยละ 100 ของนักเรียนมีความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดีมีคุณธรรมต่อการเกษตรซึ่งเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต

2 เพื่อให้นักเรียนมีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสะอาดปลอดภัยบริโภคตลอดปี การศึกษาและมีสุขนิสัยที่พึงปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

ร้อยละ 95 ของนักเรียนมีอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการและสะอาดปลอดภัยบริโภคตลอดปีการศึกษาและมีสุขนิสัยที่พึงปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

3 เพื่อติดตามและแก้ไขเด็กนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

โรงเรียนมีการติดตามและแก้ไขเด็กนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนอย่างต่อเนื่อง

4 เพื่อขยายเครือข่ายสู่ชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

โรงเรียนมีเครือข่ายสู่ชุมชน โรงเรียน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมหลัก

ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 59มิ.ย. 59ก.ค. 59ส.ค. 59ก.ย. 59ต.ค. 59พ.ย. 59ธ.ค. 59ม.ค. 60ก.พ. 60มี.ค. 60เม.ย. 60
1 ประชุมแต่งตั้งมอบหมายหน้าที่คณะทำงาน 6,715.00                         more_vert
2 กิจกรรมเสริมสร้างความรู้ 56,510.00                         more_vert
3 กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพ 30,415.00                         more_vert
4 กิจกรรมติดตามและประเมินผล 6,360.00                         more_vert
รวม 100,000.00

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
10 ส.ค. 59 การศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (สหกรณ์) 26 11,430.00 11,430.00 more_vert
24 ส.ค. 59 ประชุมแต่งตั้งมอบหมายหน้าที่คณะทำงาน ชี้แจงการดำเนินงาน 198 6,715.00 6,715.00 more_vert
25 ส.ค. 59 แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนที่ร่วมโครงการ 166 10,330.00 10,330.00 more_vert
4 ต.ค. 59 ส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัย(ปลูกพืชผักสวนครัว/ผักตามฤดูกาล) 132 5,000.00 5,000.00 more_vert
5 ต.ค. 59 ส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัย(การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์) 132 5,000.00 5,000.00 more_vert
6 ต.ค. 59 การจัดทำแบบประเมินผลสถานการณ์ ครั้งที่ 1 (เดือนตุลาคม) 198 5,160.00 1,525.00 more_vert
4 พ.ย. 59 การแปรรูปอาหารและถนอมอาหาร 90 10,085.00 10,085.00 more_vert
14 พ.ย. 59 ส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัย(การปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์) 132 5,000.00 5,000.00 more_vert
21 พ.ย. 59 ส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัย(เพาะเห็ดนางฟ้า) 132 5,000.00 5,000.00 more_vert
1-30 ธ.ค. 59 การจัดทำแบบประเมินผลสถานการณ์ ครั้งที่ 2 (เดือนธันวาคม) 198 0.00 3,635.00 more_vert
16 ธ.ค. 59 อบรมให้ความรู้เรื่อง อย.น้อย (คัดเลือกนักเรียน ผู้ปกครอง แม่ครัว ) 124 10,000.00 10,000.00 more_vert
19 ธ.ค. 59 อบรมให้ความรู้เรื่องอาหารที่ปลอดภัยไร้สารพิษ 256 15,080.00 15,080.00 more_vert
13 ม.ค. 60 ส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี 367 10,000.00 10,000.00 more_vert
21 มี.ค. 60 ถอนดอกเบี้ยคืนเงินโครงการ 2 0.00 30.93 more_vert
31 มี.ค. 60 จัดทำรูปเล่มฉบับสมบูรณ์ 14 1,200.00 1,200.00 more_vert
รวม 744 100,000.00 15 100,030.93

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2559 14:06 น.