ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านวังยาววิทยายน
สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 120,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 120,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิคม ไวบรรเทา
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นายทองสุข แสนวัง
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นางนิรมล ลิมาภิรักษ์
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นางสุภาวดี ศรีประวงศ์
ที่ปรึกษาโครงการ 1 นางศิริวรรณ ศรีน้อยขาว
ที่ปรึกษาโครงการ 2 นางสง่า สีคำแหง
ที่ปรึกษาโครงการ 3 นายทองม้วน ศรีเจริญ
ผู้ประสานงานภาค นายธนา เวชากุล
หลักการและเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ

สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น

กรอบแนวคิด

โรงเรียนบ้านวังยาววิทยายน จังหวัดมหาสารคาม ได้มีการกำหนดนโยบายเรื่องการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใส ตามรอยพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากการรวบรวมสถานการณ์ปัญหาการบริโภคอาหารและโภชนาการภายในโรงเรียนบ้านวังยาววิทยายน เช่นนักเรียนบางคน ไม่ได้รับประทานอาหารเช้า เนื่องจากผู้ปกครองรีบไปทำงานแต่เช้า อัตราการบริโภคผักของนักเรียนต่ำไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน นักเรียนมีโภชนาการที่ไม่สมส่วน จากการคัดกรองนักเรียนทั้งหมด 230 คน นักเรียนมีภาวะน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง (W/H) เกินเกณฑ์ (เริ่มอ้วน และอ้วน) จำนวน 15 คนคิดเป็นร้อยละ 6.52 นักเรียนที่ค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย 10 คน คิดเป็นร้อยละ 4.3 นักเรียนผอมและค่อนข้างผอม จำนวน 17 คนคิดเป็นร้อยละ 7.39 ผลลิตทางการเกษตรของโรงเรียนจำนวนจำกัดไม่เพียงพอที่จะหมุนเวียนเป็นอาหารกลางวันสำหรับกับนักเรียนได้และโรงเรียนไม่มีงบประมาณอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ม.1 – ม.3

โรงเรียนดำเนินการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ดังกล่าว โดยการร่วมคิด ร่วมทำกับ ครูนักเรียน ผู้ปกครองและภาคีเครือข่ายชุมชน โดยใช้กิจกรรมหลัก 8 กิจกรรมหลัก คือเกษตรในโรงเรียน สหกรณ์นักเรียน จัดบริการอาหารในโรงเรียน ติดตามโภชนาการพัฒนาสุขนิสัยพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม จัดบริการสุขภาพ และบูรณาการการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ เพื่อให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีมีสุขภาพที่แข็งแรง พร้อมที่จะเรียนรู้ต่อไป

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 323
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 23
ผู้ปกครอง 323
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 669669
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 15
อสม. 16
ชุมชน 40
ผู้นำศาสนา 9
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 1
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 14
อื่น ๆ 0
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 95
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กนักเรียนมีสุขภาพดี เติบโตสมวัย มีอารมณ์สติปัญญาที่ดีขึ้น มีทักษะชีวิตสามารถนำไปใช้ได้จริง
  2. โรงเรียนมีรูปแบบลดปัญหาทุพโภชนาการของนักเรียน
  3. พ่อแม่/ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดูแลภาวะสุขภาพของนักเรียน จัดสิ่งแวดล้อมอาหาร
  4. เกิดกระแสตื่นตัวในชุมชน / สังคม ให้ความสำคัญกับอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของเด็กวัยเรียน
เป้าหมายภาวะโภชนาการ
  1. นักเรียนเจริญเติบโตสมวัยโดยมี
    • ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนไม่เกิน7 %
    • ภาวะค่อนข้างผอมและผอมไม่เกิน7 %
    • ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยไม่เกิน7 %
  2. นักเรียนได้กินผัก - ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวัน เฉลี่ย 2.1 ผักวันละ ประมาณ 40-100 กรัม
    (อนุบาล 3 ช้อน (50 กรัม)ประถม 4 ช้อน(70 กรัม) ) 2.2 ผลไม้(อนุบาล ½ประถม 1 ส่วน)ต่อมื้อต่อคน
  3. ระดับความสำเร็จของโรงเรียน ชุมชน ในการพัฒนาด้านการจัดการเชื่อมโยง :- อาหาร-โภชนาการ- สุขภาพ
ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล

แนวทางการพัฒนาต่อเนื่อง โดย

  1. นักเรียน ครูและบุลากรทางการศึกษา เป็นผู้ลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง นำไปประยุกต์ใช้จนเป็นวิถีชีวิต
  2. สร้างพลังภาคีเครือข่ายร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมชื่นชมผลงาน และร่วมรับผิดชอบกับผลที่เกิดขึ้น

แนวทางขยายผลดำเนินการ โดย

  1. ประชาสัมพันธ์ความก้าวหน้าและผลสำเร็จของโครงการผ่านเว็บไซต์ของโรงเรียน และเฟสบุ๊คโรงเรียนwww.facebook.com/banwangyaowittayayon
  2. เป็นศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใสให้ชุมชนและโรงเรียนอื่นมาศึกษาดูงาน
  3. นำเสนอผลงานผ่านทางเว็บไซต์ www.youtube.com
  4. ประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ปกครองและชุมชนโดยการเยี่ยมบ้าน จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานในรูปแบบวารสารทุกสัปดาห์
พื้นที่ตั้งโรงเรียน หมู่ 1 ตำบลวังยาวอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 44140
ละติจูด-ลองจิจูด 16.237571997621,102.92126775129place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 48,000.00
2 1 ต.ค. 2559 28 ก.พ. 2560 1 ต.ค. 2559 31 มี.ค. 2560 66,000.00
3 1 มี.ค. 2560 30 เม.ย. 2560 6,000.00
รวมงบประมาณ 120,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัย มีอารมณ์และสติปัญญาที่ดีขึ้น รวมทั้งมีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
  1. ภาวะอ้วน ผอม ไม่เกิน ไม่เกิน 7 % (ทั้งนี้ดูตามเกณฑ์ของโรงเรียนเป็นหลัก) ภาวะเตี้ย ไม่เกิน 7 %
  2. เด็กมีการปรับพฤติกรรมการกิน โดยกินผักและผลไม้ เฉลี่ยในมื้อกลางวันประมาณ 40-100 กรัม (อาจดูตามเกณฑ์ของแต่ละโรงเรียน ที่แยกเป็น ช่วงอนุบาล และ ช่วงปฐม)
  3. มีการนำโปรแกรม Thai school lunch มาใช้ในการกำหนดเมนูอาหารกลางวัน
  4. มีกระบวนการติดตาม ประเมินสุขภาวะของนักเรียน โดยเด็กและเยาวชน ครู และผู้ปกครอง ร่วมกัน
2 เพื่อให้โรงเรียนเป็นต้นแบบเด็กไทยแก้มใส มีรูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหาร โภชนาการและสุขภาพของเด็กนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  1. เด็กมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินผักและผลไม้เพิ่มขึ้น เฉลี่ยประมาณ 40-100 กรัม ในมื้ออาหารเย็น และอาหารว่าง (ติตตามผลโดยครูและผู้ปกครอง)
  2. นักเรียนประมาณ 80% มีพฤติกรรมสุขภาวะที่ดี ได้แก่ การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร มีการแปรงฟันหลังทานอาหาร รวมทั้งแปรงฟันก่อนเข้านอน และมีการคัดแยกขยะก่อนทิ้งลงถัง
  3. ทางโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมออกกำลังกาย ก่อนเลิกเรียน (อาจจะเน้นที่เด็กมีภาวะอ้วนเป็นพิเศษ)
3 เพื่อสร้างพลังภาคีเครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของเด็กนักเรียนมีความเข้มแข็ง และเกิดความยั่งยืน
  1. ร้อยละ 80 ของผู้ปกครอง ชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของเด็กนักเรียน

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมหลัก

ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 59มิ.ย. 59ก.ค. 59ส.ค. 59ก.ย. 59ต.ค. 59พ.ย. 59ธ.ค. 59ม.ค. 60ก.พ. 60มี.ค. 60เม.ย. 60
1 พัฒนาศักยภาพบุคลากรแกนนำ 6,000.00                         more_vert
2 เรียนรู้วิถีไทยตามรอยพระยุคลบาท 25,000.00                         more_vert
3 เสริมสร้างศักยภาพโครงการเด็กไทยแก้มใสต่อยอด 8 กิจกรรมให้เข้มแข็ง 56,000.00                         more_vert
4 สร้างพลังเครือข่ายชุมชนในการขับเคลื่อน 23,000.00                         more_vert
5 มหกรรมนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการเด็กไทยแก้มใส 10,000.00                         more_vert
6 แผนงานจัดบริการอาหารกลางวันตามมาตรฐานโภชนาการ 0.00                         more_vert
7 ประชุมสัญจรแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำรายงานโครงการเด็กไทยแก้มใส 0.00                         more_vert
รวม 120,000.00

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
23-27 พ.ค. 59 จัดตั้งชมรมของนักเรียน ได้แก่ ชมรมกีฬานันทนาการ ชมรม To be number one ชมรมเพื่อนใจวัยรุ่น ชมรมดนตรี นาฏศิลป์ ชมรมสุขาน่าใช้ อย.น้อย 717 0.00 0.00 more_vert
1 มิ.ย. 59-15 ก.ค. 59 การทำน้ำดื่มสมุนไพร 404 9,000.00 9,000.00 more_vert
15 มิ.ย. 59-15 ก.ค. 59 ปลูกข้าวอินทรีย์ 112 5,000.00 5,000.00 more_vert
20 มิ.ย. 59-18 ส.ค. 59 ปลูกผักปลอดสารพิษ 519 5,000.00 5,000.00 more_vert
7-15 ก.ค. 59 โครงการอบรมพัฒนาบุคลากรครู นักเรียน แกนนำชุมชน แม่ครัว 240 6,000.00 6,000.00 more_vert
8 ก.ค. 59-9 ส.ค. 59 การเลี้ยงเป็ด 72 4,000.00 4,000.00 more_vert
18 ก.ค. 59-18 ส.ค. 59 ทักษะอาชีพ การทำขนมอบ 104 5,000.00 5,000.00 more_vert
9 ส.ค. 59 ทำพรมเช็ดเท้า 95 6,000.00 6,000.00 more_vert
9-12 ก.ย. 59 การทำเครื่องนวดเพื่อสุขภาพจากลูกกอล์ฟ 443 2,000.00 2,000.00 more_vert
20 ต.ค. 59 จัดทำรายงานปิดโครงการ งวด1 2 0.00 0.00 more_vert
1 พ.ย. 59-31 มี.ค. 60 เลี้ยงไก่ไข่ 492 20,000.00 20,000.00 more_vert
1-30 พ.ย. 59 แปรรูปอาหารท้องถิ่น การทำมะขามแก้ว 164 2,000.00 2,000.00 more_vert
1 พ.ย. 59-31 มี.ค. 60 ประสานชุมชนนำผลผลิตเกษตรอินทรีย์(ข้าว ผัก ผลไม้) สู่อาหารกลางวันโรงเรียน 730 23,000.00 23,000.00 more_vert
1 พ.ย. 59-31 มี.ค. 60 เลี้ยงปลาดุก 160 7,000.00 7,000.00 more_vert
1 พ.ย. 59-31 มี.ค. 60 จัดบริการอาหารกลางวันตามหลักโภชนาการ 567 0.00 0.00 more_vert
7-30 พ.ย. 59 การจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม กิจกรรม วังยาวรวมพลังช่วยกันแยก ช่วยลด หมดปัญหาขยะ” 689 8,000.00 8,000.00 more_vert
21-25 พ.ย. 59 การจัดทำบัญชีนักเรียน ระบบสหกรณ์ ธนาคารโรงเรียน 163 2,000.00 2,000.00 more_vert
12-16 ธ.ค. 59 การทำน้ำยาล้างจานสูตรสมุนไพร 96 6,000.00 6,000.00 more_vert
1-15 ก.พ. 60 จัดนิทรรศการแสดงผลงาน 775 10,000.00 10,000.00 more_vert
20 มี.ค. 60 คืนเงินดอกเบี้ยธนาคารเพื่อปิดโครงการ 0 0.00 11.70 more_vert
21 มี.ค. 60 ถอนเงินเปิดบัญชี 0 0.00 500.00 more_vert
รวม 3,457 120,000.00 21 120,511.70

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2559 13:50 น.