ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนชุมชนแก้งคำวิทยา
สังกัด
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 100,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 15,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 10,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 20,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 7,500.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 152,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายทวิทชัย ราวะรินทร์
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นายสมยศ หารทา
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นางสาวฟาริดา เหะเหร็ม
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นางสาวทัศฎาภรณ์ โสโท
ที่ปรึกษาโครงการ 1 ธกส. สาขาสหัสขันธ์/รพ.สต./เทศบาลตำบลนิคม
ที่ปรึกษาโครงการ 2 สหกรณ์จังหวัดกาฬสินธุ์/สนง.พัฒนาที่ดิน
ที่ปรึกษาโครงการ 3 กรมการข้าว/เกษตร/ปศุสัตว์/ประมง/
ผู้ประสานงานภาค นายธนา เวชากุล
หลักการและเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน ๘ องค์ประกอบคือ ๑) การเกษตรในโรงเรียน ๒) สหกรณ์นักเรียน ๓) การจัดการบริหารของโรงเรียน ๔) การติดตามภาวะโภชนาการ ๕) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน ๖) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ ๗) การจัดบริการสุขภาพ และ๘) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน ๔ ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ พละศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๗-๒๕๕๘) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น ๕๔๔ โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ ๖-๑๒ ปี จำนวน ๑,๔๙๒,๐๘๙ คน ใน ๗๖ จังหวัด ของกรมอนามัย ปี ๒๕๕๕ พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ ๑๒.๕ เตี้ยร้อยละ ๑๖.๘ และระบุว่านักเรียนอายุ ๖-๑๒ ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ ๕๑.๖ ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี ๒๕๔๔พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน ๑.๒ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน ๒๒๓,๒๘๘ คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน ๕๙๐,๐๘๗ คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๒๕๘,๑๔๙ คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ๑) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ ๖๐ กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ ๔๐๐ กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ ๖๗.๔ นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย ๕-๗ ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย ๓ ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง ๑๐ ช้อนชา และ๒) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น ++++++++++++++(แทรก) จากสถานการณ์ของโรงเรียนชุมชนแก้งคำวิทยา ในช่วงปีการศึกษา ๒๕๕๘ พบว่า มีนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเสี่ยงได้แก่ ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ.......ภาวะผอม ร้อยละ........และ ภาวะเตี้ย ร้อยละ............ และยังมีการผลิตการเกษตรเพื่อเป็นอาหารกลางวันได้เพียง .............................รวมทั้งกิจกรรมการจัดบริการอาหารกลางวันยังไม่ได้สัดส่วนที่เหมาะสมตามมาตรฐานโภชนาการของแต่ละกลุ่มวัย
+++++++++++++++ ทั้งนี้ การเรียนรู้ในการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใส จากปีที่ ๑ เมื่อปี ๒๕๕๘ โรงเรียนชุมชนแก้งคำวิทยา ได้มีการดำเนินงานที่มีผลสำเร็จมาระดับหนึ่งในด้าน .............................จึงมีความตั้งใจที่จะได้เข้าร่วมการพัฒนาให้โรงเรียนเป็นศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ขึ้น เป็นปีที่ ๒ เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อแก้ปัญหาให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดีขึ้น มีสุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ขยายผลต่อเนื่องไปยังโรงเรียนข้างเคียงและ กระตุ้นให้ชุมชนมีส่วนร่วม ในระยะยาว

กรอบแนวคิด

การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชน ขยายต่อยอดการดำเนินงานเด็กไทยแก้มใสตามรอยเท้าพ่อหลวงด้านเศรษฐกิจพอเพียงและการบูรณาการอาหาร โภชนาการ สุขภาพ ตามพระราชดำริเจ้าฟ้านักโภชนาการโดยการทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อให้เกิดอาหารมั่นคง เศรษฐกิจมั่งคั่ง สู่ชุมชนสุขภาวะดี โดยมีโรงเรียนเป็นพื้นฐาน
(รายละเอียดตามไฟล์แนบ)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 231
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 13
ผู้ปกครอง 150
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 394394
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 9
อสม. 6
ชุมชน 25
ผู้นำศาสนา 2
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 1
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 6
อื่น ๆ 1
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 50
ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนมีภาวะโภชนาการสมวัย 2.โรงเรียนมีรูปแบบลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการ 3.ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ และดูแลสุขภาพของเด็ก 4.ชุมชนมีส่วนร่วมในการส่งผลผลิตเกษตรสู่อาหารกลางวันโรงเรียน

เป้าหมายภาวะโภชนาการ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ข้อที่ ๑: นักเรียน ร้อยละ 100 ได้รับประทานผักผลไม้ที่ปลอดภัย และหลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวัน ตามสัดส่วนมาตรฐานโภชนาการ (อนุบาล ๓ ช้อนหรือ ๕๐ กรัม , ประถมศึกษา ๔ ช้อน หรือ ๗๐ กรัม)

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ข้อที่ ๒: นักเรียนมีภาวะโภชนาการเจริญเติบโตสมวัย
ก.นักเรียนกลุ่มเดิมจากปีการศึกษา 2558 (115 คน) - ภาวะเริ่มอ้วน และอ้วน ไม่เกิน ๓ %
- ภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกิน ๒ % - ภาวะค่อนข้างเตี้ย และเตี้ย ไม่เกิน ๒ % ข.นักเรียนกลุ่มที่เข้าใหม่ปีการศึกษา 2559 (253 คน) - ภาวะเริ่มอ้วน และอ้วน ไม่เกิน ๗ %
- ภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกิน ๗ % - ภาวะค่อนข้างเตี้ย และเตี้ย ไม่เกิน ๗ %

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ข้อที่ ๓: นักเรียน/บุคลากร/ภาคี/ เครือข่าย/ชุมชนและผู้ปกครองร้อยละ ๘๐ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านพัฒนาทักษะชีวิตของศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส

ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล

๑. สร้างเครือข่ายชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษส่งให้ครัวโรงเรียนและโรงเรียนเครือข่าย ทั้ง ๔ โรงเรียน อย่างต่อเนื้องตลอดปี

๒. ส่งเสริมให้นักเรียนและครอบครัวนำการเรียนรู้จากโครงการเด็กไทยแก้มใสในโรงเรียน ไปปฏิบัติที่บ้าน เช่น การปลูกผัก การเลี้ยงสัตว์ เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมทางอาหารให้กับครอบครัวและสร้างรายได้เสริมให้กับนักเรียนและผู้ปกครองสู่ครัวโรงเรียน ที่สามารถต่อยอดในระดับจังหวัด

๓. ขยายผลจากการดำเนินโครงการ เพื่อใช้ประโยชน์ในชุมชน โดยจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเด็กไทยแก้มใสของชุมชนและผลักดันให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ระดับจังหวัด

พื้นที่ตั้งโรงเรียน หมู่1 ตำบลนิคม อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ละติจูด-ลองจิจูด 16.677573672791,103.48908662796place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 40,000.00
2 1 ต.ค. 2559 28 ก.พ. 2560 55,000.00
3 1 มี.ค. 2560 30 เม.ย. 2560 5,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานผักผลไม้ที่ปลอดภัย และหลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวัน ที่เหมาะสมตามวัย โดยใช้เมนู Thai School Lunch

นักเรียน ร้อยละ 100 ได้รับประทานผักผลไม้ที่ปลอดภัย และหลากหลายเพิ่มขึ้น
ในมื้อกลางวัน

2 เพื่อพัฒนาภาวะโภชนาการของนักเรียนให้มีการเจริญเติบโตสมวัย โดยมี - ภาวะเริ่มอ้วน และอ้วน ไม่เกิน ๓ % - ภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกิน ๒ % - ภาวะค่อนข้างเตี้ย และเตี้ย ไม่เกิน ๒ %

นักเรียนมีภาวะโภชนาการเจริญเติบโตสมวัย มี - ภาวะเริ่มอ้วน และอ้วน ไม่เกิน ๓ %
- ภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกิน ๒ % - ภาวะค่อนข้างเตี้ย และเตี้ย ไม่เกิน ๒ %

3 เพื่อพัฒนาโรงเรียนเป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชนและโรงเรียนเครือข่ายด้านพัฒนาทักษะชีวิตทั้งในและนอกห้องเรียน โดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องในชุมชน

นักเรียน/บุคลากร/ภาคี/ เครือข่าย/ชุมชนและผู้ปกครองร้อยละ ๘๐ ได้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านพัฒนาทักษะชีวิตของศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมหลัก

ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 59มิ.ย. 59ก.ค. 59ส.ค. 59ก.ย. 59ต.ค. 59พ.ย. 59ธ.ค. 59ม.ค. 60ก.พ. 60มี.ค. 60เม.ย. 60
1 กิจกรรมเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน 0.00                         more_vert
2 การติดตามภาวะโภชนาการ สมรรถภาพทางกายนักเรียนและสุขภาพ 39,850.00                         more_vert
3 สหกรณ์นักเรียน 32,450.00                         more_vert
รวม 72,300.00

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
16 พ.ค. 59-30 มี.ค. 60 การจัดบริการอาหารกลางวัน 178 0.00 0.00 more_vert
16 พ.ค. 59-30 มี.ค. 60 การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการและสมรรถภาพทางกายนักเรียน 178 0.00 0.00 more_vert
18-24 พ.ค. 59 เลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน 178 14,400.00 - more_vert
23-31 พ.ค. 59 ปลูกผักสวนครัวเพื่ออาหารกลางวัน 178 3,000.00 - more_vert
6-17 มิ.ย. 59 เลี้ยงไก่ไข่ ไอโอดีน 178 24,700.00 - more_vert
20-30 มิ.ย. 59 ปลูกแก้วมังกร 178 3,000.00 - more_vert
4-8 ก.ค. 59 อบรมผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนแกนนำ เรื่อง การติดตามภาวะโภชนาการ สมรรถภาพทางกายนักเรียนและสุขภาพ จำนวน 150 คน(จำนวน75 คน X 1 วัน x 2 ครั้ง ) 178 26,200.00 - more_vert
18-22 ก.ค. 59 อบรมแม่ครัวและผู้จำหน่ายอาหาร ของโรงเรียน และ เครือข่าย 5 โรงเรียน และแกนนำนักเรียน(จำนวน 30 คน X 1 วัน x 1 ครั้ง ) 43 5,900.00 - more_vert
14-18 พ.ย. 59 อบรมกิจกรรมส่งเสริมการออม/บัญชีรายรับ – รายจ่ายสู่ครัวเรือน 43 22,800.00 - more_vert
รวม 684 100,000.00 2 0.00

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2559 11:44 น.