รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล)
สังกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นครเมืองน่าน
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 100,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนวพรรณ อินต๊ะวงค์
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นางโสภิดา เย็นทรวง
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นางสุทธารักษ์ ดรุณนารถ
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นางสาชนาภา ไชย์วงศ์
ที่ปรึกษาโครงการ 1 นายสุรพล เธียรสูตร
ที่ปรึกษาโครงการ 2 นางรดา เพ็ชรขัน
ที่ปรึกษาโครงการ 3 นางบัวผา แก้วมงคล
ผู้ประสานงานภาค นางสาววิรัตน์ดา ดวงใจ
หลักการและเหตุผล

โรงเรียนดรุณวิทยา (เทศบาลบ้านสวนตาล) ซึ่งได้ดำเนินการเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ ระดับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่ามีนักเรียนบางส่วนมีที่มีปัญหาเกี่ยวกับ น้ำหนัก ส่วนสูงที่ไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานหรือเกณฑ์ของทางกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ที่ได้กำหนดไว้ จึงทำให้เกิดปัญหาทุพโภชนาการของนักเรียนในโรงเรียนดรุณวิทยา (เทศบาลบ้านสวนตาล)โดยทางโรงเรียนก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ดำเนินการสำรวจ ปัญหา เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องต่อไป
ทั้งนี้ทางโรงเรียนได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการ/กิจกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยสาเหตุที่นักเรียนเกิดปัญหาทุพโภชนาการนี้ มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนที่มาเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่กับบิดา มารดา โดยตรง อยู่กับญาติ คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย ญาติพี่น้อง อาจจะมีสาเหตุที่ไม่ค่อยได้รับการเอาใจใส่เหมือนกับบิดา มารดาของตนเอง บ้านที่พักอาศัยอยู่ห่างไกลจากโรงเรียน ใช้เวลาการเดินทางมากกว่าปกติ และต้องตื่นเช้ามาโรงเรียน จึงทำให้ไม่ได้รับประทานอาหารหรือรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ อาหารที่รับประทานอาจจะไม่ได้มาตรฐานขาดการดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครองเท่าที่ควร

โดยทางโรงเรียนจึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการ/กิจกรรม เพื่อแก้ไขปัญหา ยกตัวอย่างเช่น จัดทำโครงการเลี้ยงไก่ไข่ เพาะเห็ดนางฟ้า ปลูกผักสวนครัว เลี้ยงปลา เลี้ยงกบ ปลูกพืชสมุนไพร ฯลฯเพื่อให้เด็กนักเรียนกลุ่มดังกล่าวได้รับประทานอาหารให้ครบตามหลักโภชนาการ เป็นการเสริมการแก้ไขปัญหา พร้อมกันนี้ได้มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบในโรงเรียนเกี่ยวกับการประกอบอาหาร การดูแลต่าง ๆ ได้ประกอบอาหารให้นักเรียนกลุ่มนี้ได้รับประทานในช่วงเช้า โดยมีผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู และบุคลากรทางการศึกษา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้ให้ความเอาใจใส่เป็นอย่างดีแบ่งเวร แบ่งหน้าที่รับผิดชอบดูแลในแต่ละวันเพื่อเด็กนักเรียนจะได้รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการที่ถูกต้อง เพื่อจะได้เรียนหนังสืออย่างเต็มที่ส่งผลถึงทำให้นักเรียนสนใจการเรียน มีผลการเรียนที่ดีขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ยังได้เรียนเชิญทางเจ้าหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข กัลยาณมิตร ได้มาให้ความรู้เสริม ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องการดูแลร่างกาย การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ และมีการติดตาม ประเมินผลการทำงานเป็นระยะเพื่อดูความก้าวหน้า สำหรับปัญหาเด็กอ้วน ทางโรงเรียนก็ได้คัดกรอง พร้อมกับการแก้ไขปัญหาโดยให้ความรู้ คำแนะนำ จากครูในเบื้องต้น โดยให้ออกกำลังกายกลางแจ้ง การเต้นแอโรบิก การส่งเสริมในการงดบริโภคอาหารที่มีรสหวานจัด มันจัด น้ำอัดลม น้ำหวานทุกชนิด ส่งเสริมให้ดื่มนมรสจืด มีการจดบันทึกน้ำหนัก ส่วนสูง วัดรอบเอวเป็นระยะอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบหลังจากนั้นได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านโภชนาการมาให้ความรู้เพิ่มเติม มีการตรวจสุขภาพร่างกายเพื่อเป็นการติดตามผล กิจกรรมดังกล่าวจะได้ดำเนินการจัดสิ่งแวดล้อมแหล่งเรียนรู้โดยการบูรณาการโครงการเกษตรพอเพียงเคียงคู่โภชนาการ ไปพร้อมกับการเรียนรู้โดยผู้เรียนเป็นคนลงมือทำเอง สถานศึกษา ชุมชนและภาคีเครื่องข่ายร่วมกันส่งเสริมสนับสนุน

กรอบแนวคิด

อธิบายกรอบแนวคิดหลักดังนี้

  1. สำรวจเก็บข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลด้านโภชนาการ
  2. วิเคราะห์ข้อมูล สรุปปัญหา แนวทางการแก้ไข
  3. จัดทำเป็นนโยบาย โครงการกิจกรรม ตามแนวทางการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อแก้ปัญหา
  4. ดำเนินบูรณาการเข้ากับกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่าย
  5. ประเมินผลติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียน
  6. สรุปและประเมินผลโครงการ
กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 281
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 28
ผู้ปกครอง 281
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 590590
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 0
อสม. 0
ชุมชน 0
ผู้นำศาสนา 20
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 20
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 20
อื่น ๆ 0
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 60
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้บุคลากร (ครู นักเรียน แม่ครัว ผู้ปกครอง ชุมชน) มีความรู้ความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับ สุขอนามัยและภาวะโภชนาการได้ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย
  2. เพื่อจัดการบริหารจัดการให้เป็นระบบในการนำผลผลิตทางการเกษตร มาเข้าสู่ระบบสหกรณ์นักเรียน และอาหารกลางวัน
  3. เพื่อจัดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชนที่ต่อเนื่องและยั่งยืน
เป้าหมายภาวะโภชนาการ
  1. ร้อยละของบุคลากร (ครู นักเรียน แม่ครัว ผู้ปกครอง ชุมชน) ความรู้ความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับ สุขอนามัยและภาวะโภชนาการได้ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย
  2. บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำโปรแกรม TSL และโปรแกรม BNutri-GSPในการเฝ้าระวัง
  3. ร้อยละของนักเรียนมีพฤติกรรมทางสุขอนามัยการเจริญเติบโตและภาวะทางโภชนาการที่ดี
  4. มีจำนวนผลผลิตทางการเกษตรในโรงเรียนรวมกับชุมชนเพียงพอต่อการบริโภคของนักเรียน
  5. นักเรียนเกิดการเรียนรู้กิจกรรมสหกรณ์นักเรียนและปฏิบัติได้ถูกต้อง
  6. ความพึงพอใจของนักเรียนในการใช้โปรแกรม TSL ในการประเมินสถานการณ์การบริโภคอาหารกลางวัน
  7. ร้อยละความพึงพอใจของโรงเรียนและชุนในการจัดแหล่งเรียนรู้เกษตรปลอดสารพิษของชุมชน
ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล

การดำเนินงานเด็กไทยแก้มของโรงเรียนดรุณวิทยา (เทศบาลบ้านสวนตาล) จะดำเนินไปควบคู่กับชุมชน และจากการดำเนินงานดังกล่าวในปีที่ผ่าน ได้ดำเนินการแต่ละองค์ประกอบยังไม่ครบ สมบูรณ์ เพื่อจะสร้างกลไกลระบบต้นแบบไปเป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ มีความจำเป็นที่ต้องทำในเรื่อง เนื้อที่จัดการผลิตผลทางการเกษตร เพื่ออาหารกลางวันเข้าสูระบบสหกรณ์นักเรียนและอาหารกลางวัน จัดสถานีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทั้งในโรงเรียนและชุมขน เนื่องด้วยเป็นโรงเรียนที่อยู่ในเมือง พื้นที่จำกัดในการผลิตผลผลติมาจำหน่าย ต้องอาศัยชุมชนเพื่อเข้าสู่ระบบสหกรณ์นักเรียนอย่างเป็นระบบ และบุคลากร ผู้ปกครอง นักเรียน มีความรู้ในเรื่องโภชนาการและสุขอนามัยของนักเรียนและชุมชนที่ถูกต้องภายในปี ๒๕๕๙โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างผู้ปกครอง ชุมชน พัฒนาคุณภาพอาหารที่เหมาะสมกับผลิต ในท้องถิ่น โดยนำโปรแกรม Thai School Lunch Program มาใช้ในการติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียน และพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการบริหารจัดการ เน้นสุขภาพพัฒนาพฤติกรรมของเด็ก

พื้นที่ตั้งโรงเรียน 246 ถนนมหายศ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
ละติจูด-ลองจิจูด 18.658459561116,100.71381448822place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 40,000.00
2 1 ต.ค. 2559 31 มี.ค. 2560 1 ต.ค. 2559 31 มี.ค. 2560 55,000.00
3 1 เม.ย. 2560 30 เม.ย. 2560 5,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้บุคลากร (ครู นักเรียน แม่ครัว ผู้ปกครอง ชุมชน) มีความรู้ความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับ สุขอนามัยและภาวะโภชนาการได้ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย
  1. ร้อยละของบุคลากร (ครู นักเรียน แม่ครัว ผู้ปกครอง ชุมชน) ความรู้ความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับ สุขอนามัยและภาวะโภชนาการได้ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย
  2. บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำโปรแกรม TSL และโปรแกรม BNutri-GSPในการเฝ้าระวัง
  3. ร้อยละของนักเรียนมีพฤติกรรมทางสุขอนามัยการเจริญเติบโตและภาวะทางโภชนาการที่ดี (อิ่มท้องสมองใส)
2 เพื่อจัดการบริหารจัดการให้เป็นระบบในการนำผลผลิตทางการเกษตร มาเข้าสู่ระบบสหกรณ์นักเรียน และอาหารกลางวัน
  1. มีจำนวนผลผลิตทางการเกษตรในโรงเรียนรวมกับชุมชนเพียงพอต่อการบริโภคของนักเรียน
  2. นักเรียนเกิดการเรียนรู้กิจกรรมสหกรณ์นักเรียนและปฏิบัติได้ถูกต้อง
  3. ความพึงพอใจของนักเรียนในการใช้โปรแกรม TSL ในการประเมินสถานการณ์การบริโภคอาหารกลางวัน
3 เพื่อจัดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชนที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

ร้อยละความพึงพอใจของโรงเรียนและชุนในการจัดแหล่งเรียนรู้เกษตรปลอดสารพิษของชุมชน

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
13 พ.ค. 59 อบรมการใช้งาน โปรแกรม Thai School Lunch 20 0.00 0.00 more_vert
16 พ.ค. 59 การเลี้ยงไก่ไข่ ระยะที่ 1 42 0.00 0.00 more_vert
16 พ.ค. 59 กิจกรรมออมทรัพย์ 620 0.00 0.00 more_vert
21 พ.ค. 59 ประชุมผู้ปกครอง ชี้แจงโครงการ 30 0.00 0.00 more_vert
23 พ.ค. 59 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนดำเนินงาน 20 0.00 0.00 more_vert
24 พ.ค. 59 ค่ายลูกอ๊อด (ปฐมวัย) 230 0.00 0.00 more_vert
30 พ.ค. 59 การปลูกพืชผักสมุนไพร 620 10,000.00 5,000.00 more_vert
1 มิ.ย. 59 สหกรณ์นักเรียน ครั้งที่ 1 40 15,000.00 6,400.00 more_vert
6 มิ.ย. 59 ลานสุขภาพ 310 10,000.00 10,000.00 more_vert
1 ส.ค. 59 เดินแจก แลกผัก รักพอเพียง 430 20,000.00 5,600.00 more_vert
1 ส.ค. 59 การเลี้ยงปลา 620 5,000.00 5,000.00 more_vert
1 ส.ค. 59 พ่อค้าแม่ค้าน้อย 150 0.00 0.00 more_vert
29 - 30 ส.ค. 59 ดรุณแก้มใส ใส่ใจโภชนาการ เบิกบานกายใจ 89 15,000.00 8,000.00 more_vert
18 ต.ค. 59 สหกรณ์นักเรียน ครั้งที่2 0 0.00 8,600.00 more_vert
8 พ.ย. 59 เลี้ยงไก่ไข่ ระยะที่ 2 0 15,000.00 15,000.00 more_vert
30 ม.ค. 60 นัดตรวจโครงการฯ ทำรายงานการเงินและรายงานกิจกรรม งวดที่ 1 3 0.00 2,600.00 more_vert
1 ก.พ. 60 - 5 มี.ค. 60 ให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาสุขนิสัยส่งเสริมสุขภาพและบริการสุขภาพ 330 4,400.00 4,400.00 more_vert
16 ก.พ. 60 สุขภาพดีไม่มีขาย 590 5,000.00 5,000.00 more_vert
20 ก.พ. 60 สิ่งแวดล้อมดีชีวีมีสุข 590 5,000.00 5,000.00 more_vert
21 ก.พ. 60 - 1 มี.ค. 60 ปลูกพืชผักสวนครัว ระยะที่ 2 190 5,000.00 5,000.00 more_vert
17 มี.ค. 60 คืนดอกเบี้ยในบัญชี เพื่อปิดโครงการ 3 90.49 90.49 more_vert
29 มี.ค. 60 เดินแจกแลกผักรักพอเพียงเคียงคู่โภชนาการ ครั้งที่ 2 185 14,400.00 14,400.00 more_vert
รวม 5,112 123,890.49 22 100,090.49

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2559 16:06 น.