รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านสะเดา
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 2
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 100,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมจิตร นาคผู้
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นางยุภาภรณ์ อินทร์ยิ้ม
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นางมัตติกา เวฬุวัน
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นางประมวล ชื่นใจชน4.นางจันทิมา เพ็ชร์ดอนทอง
ที่ปรึกษาโครงการ 1 นายประสาท อ่อนสะเดาประธานคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรี
ที่ปรึกษาโครงการ 2 นายปัญญา นุชรุ่งเรือง ข้าราชการบำนาญ
ที่ปรึกษาโครงการ 3
ผู้ประสานงานภาค นางสาววิรัตน์ดา ดวงใจ
หลักการและเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณะสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544 พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนบ้านสะเดาจึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

กรอบแนวคิด

ในอดีตก่อนการเข้าร่วมโครงการโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใสในระยะที่ 1โรงเรียนปัญหาสุขภาวะนักเรียนในหลาย ๆ ด้าน หลังเข้าร่วมโครงการโรงเรียนต้องพัฒนาอาหารโภชนาการและสุขภาพของนักเรียนโดยต้องการพัฒนาระบบการผลิตผลผลิตเกษตรพอเพียงทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์แบบหมุนเวียน ให้ผู้เรียน ครูและบุคลากรมีส่วนร่วมในการผลิตและเกิดทักษะการเรียนรู้มีวินัยรับผิดชอบและจิตสาธารณะในการทำงานร่วมกันอันจะส่งผลด้านภาวะโภชนาการสุขภาพทักษะจำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดีและคุณภาพชีวิตที่ดี เน้นให้นักเรียนลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเรียนรู้พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงพึ่งตนเองได้โดยมีครูเป็นหลักในการขับเคลื่อนบูรณาการเรียนรู้องค์กรทุกภาคส่วนชุมชนเข้ามีส่วนร่วมพร้อมสร้างเครือข่ายแก่โรงเรียนและชุมชนต่าง ๆ นำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนั้น โรงเรียนบ้านสะเดาจึงได้เสนอแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสจากปีที่1โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องอย่างยั่งยืน ตามผลที่คาดหวังของโครงการสิ่งที่โรงเรียนมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนให้เกิดความต่อเนื่องอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่โรงเรียนอื่นๆมี ดังนี้
1. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน : จัดสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับพื้นฐานอนามัย บริการน้ำดื่มสะอาดเพียงพอ อ่างล้างหน้าแปรงฟัน ส้วม ทางระบายน้ำ ห้องน้ำ ระบบกำจัดขยะดีปลอดภัย 2. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน :โรงเรียนมีแผนงานโครงการส่งเสริมสุขภาพ มีคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพชมรม อย.น้อย กำกับคิดตามด้านอาหารความสะอาดโรคภัย ทันตอนามัย โดยนักเรียนส่วนใหญ่สามารถจัดกิจกรรดูแลตนเองด้านการพัฒนาสุขนิสัยต่อเนื่อง 3. การเกษตรในโรงเรียน : โรงเรียนมีกิจกรรมสร้างผลผลิตทางการเกษตร “กิจกรรมเกษตรสิบหมู่”มีทั้งปลูกพืชพืชสวนครัว พืชพื้นบ้าน กล้วย เห็ดเลี้ยงไก่ไข่ ไก่พื้นเมือง เป็ดปลากบผลผลิตที่ได้นำสู่โครงการอาหารกลางวันนักเรียน 4. การจัดบริการอาหารในโรงเรียน : โรงเรียนจัดรูปแบบการจัดอาหารกลางวัน มีแม่ครัวบริการประกอบอาหารครูอนามัยกำกับตรวจสอบให้คำแนะนำรายการอาหารใช้โปรแกรม Thai School Lunch 5. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านเกษตรโภชนาการ และสุขภาพ : จัดให้มีแผนการจักการเรียนรู้ มีสื่อการสอนนวัตกรรมโครงงานให้นักเรียนได้เรียนรู้สู่การปฏิบัติและเป็นศูนย์การเรียนรู้แก่ชุมชน วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ กิจกรรม “เกษตรสิบหมู่สู่โภชนาการสมวัย” กิจกรรม”เกษตรสิบหมู่สู่โภชนาการสมวัย”เกิดจากความต้องการที่จะแก้ปัญหาเรื่องผลผลิตอาหารกลางวัน การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ ปัญหานักเรียนไม่ประหยัดและอดออมนักเรียนขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ไม่มีทักษะกระบวนการทำงาน ขาดจิตสำนึก และคุณธรรมความพอเพียง โรงเรียนน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ โดยเน้นให้บุคลากรในโรงเรียนและนักเรียนมีส่วนร่วม ในการคิดและปฏิบัติโดยมีความคาดหวังว่าหากกิจกรรมนี้ดำเนินการไปแล้ว ส่งผลให้บุคลากรในโรงเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม รักการทำงาน มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี สอดคล้องกับความต้องการของครู ผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 199
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 15
ผู้ปกครอง 50
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 264264
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 15
อสม. 6
ชุมชน 60
ผู้นำศาสนา 5
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 12
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 10
อื่น ๆ 0
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 108
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ครูโภชนาการครูอนามัยรวมทั้งครูและบุคลากรอื่นในโรงเรียนตระหนักและให้ความสำคัญร่วมมือพัฒนาสุขภาวะนักเรียน
  2. นักเรียนทุกคนได้รับการใส่ใจดูแลด้านอาหารและโภชนาจากผู้เกี่ยวข้องในโรงเรียนและทางบ้านอย่างถูกต้องเพื่อมีพัฒนาการด้านสุขภาวะสมวัยพร้อมที่จะรับการเรียนรู้เป็นผู้ใหญ่อย่างมีคุณภาพ
  3. นักเรียนสามารถดูแลปฏิบัติตนอย่างถูกสุขลักษณะในด้านอาหารโภชนาการด้วยตนเองและสามารถแนะนำผู้อื่นได้
  4. โรงเรียนมีแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยเพียงพอกับความต้องการการบริโภคของนักเรียนตลอดปี
  5. โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ขยายผลการดำเนินกิจกรรมเด็กไทยแก้มใสอย่างยั่งยืน
  6. โรงเรียนเป็นศูนย์สร้างเครือข่ายขยายผลสู่โรงเรียนอื่น ๆและชุมชนตำบลอำเภอจังหวัด
เป้าหมายภาวะโภชนาการ
  1. นักเรียนเจริญเติบโตสมวัยโดยมี
    • ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกิน6%
    • ภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกิน6%
    • ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ไม่เกิน5%
  2. นักเรียนได้กินผัก – ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวัน เฉลี่ย ผัก วันละประมาณ40 – 100 กรัมอนุบาล 3 ช้อน ( 50 กรัม) ประถม4 ช้อน ( 70 กรัม) ผลไม้ (อนุบาล1 ส่วนประถม 1 ส่วน) ต่อมื้อต่อคน
ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล

เมื่อดำเนินโครงการเสร็จแล้วโรงเรียนมีแผนที่จะดำเนินการอย่างต่อเนื่องด้วยการระดมสรรพกำลังจากทุกภาคีภาคส่วนร่วมดำเนินงานดังนี้

  1. ระดับโรงเรียนฝ่ายบริหารวางแผนการดำเนินงานโครงการโดยระดมความคิดความร่วมมือมอบหมายสร้างกรอบการดำเนินงานจัดสรรงบประมาณทางราชการและหาเงินนอกงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมเด็กไทยแก้มใสอย่างยั่งยืน
  2. การดำเนินงานระดับโครงการหรือกิจกรรม โรงเรียนจะจัดครูให้ทำหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรม ซึ่งจะมีนักเรียนแกนนำจากสภานักเรียนเข้ารับผิดชอบร่วมขับเคลื่อนนักเรียนทุกคนจะเข้ามีส่วนร่วมในชั่วโมงเรียนปกติด้วยการสอนบูรณาการเรียนรู้คู่กับวิชาหลักและเรียนรู้ในชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ตามกลุ่มสนใจ
  3. ระดับชุมชนระดมองค์กรชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมจากกลุ่มดังต่อไปนี้ 3.1 ผู้นำชุมชนเช่น ผู้ใหญ่บ้านสมาชิสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการหมู่บ้าน อสม.ภูมิปัญญาชาวบ้าน ศิษย์เก่า ผู้ปกครองและอื่น ๆ มีส่วนร่วมในการวางแผนประชาสัมพันธ์ระดมทรัพยากรงบประมาณ ร่วมดำเนินกิจกรรมทุกขั้นตอนประเมินผลแก้ปัญหานิเทศติดตามสรุปผลเพื่อที่โครงการและกิจกรรมดำเนินอย่างต่อเนื่อง 3.2 หน่วยราชการในชุมชนเช่นองค์การบริหารส่วนตำบลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลอำเภอเกษตรปศุสัตว์อำเภอและจังหวัด มีส่วนร่วมสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์งบประมาณและวิทยากร

ระบุวิธีการขยายผลจากการดำเนินโครงการ และชุมชน หรือผู้อื่นจะใช้ประโยชน์จากผลของโครงการนี้อย่างไร

ขยายผลสู่ชุมชนโดยอาศัยผู้นำชุมชนคณะกรรมการหมู่บ้านตั้งกลุ่มเครือข่ายผลิตพืชเกษตรและปศุสัตว์โดยดำเนินการอย่างถูกหลักวิชาการผลผลิตที่ได้นำมาจำหน่ายกับสหกรณ์นักเรียนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมโครงการอาหารกลางวันให้ได้รับผลผลิตเกษตรปลอดภัยครบ100%ดำเนินการอย่างต่อเนื่องครบวงจร

พื้นที่ตั้งโรงเรียน โรงเรียนบ้านสะเดา ม.1 ตำบลหนองพระ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
ละติจูด-ลองจิจูด 16.719922666065,100.43113231611place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 40,000.00
2 1 ต.ค. 2559 31 มี.ค. 2560 1 ต.ค. 2559 31 มี.ค. 2560 55,000.00
3 1 เม.ย. 2560 30 เม.ย. 2560 5,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระชนมายุครบ 5 รอบและดำเนินงานตามรอยพระยุคลบาท เจ้าฟ้านักโภชนา ด้านการจัดอาหารโภชนาการและสุขภาพนักเรียนอย่างครบวงจร

ชุมชนโรงเรียนและองค์กรที่เกี่ยงข้องเห็นความสำคัญและร่วมดำเนินงานตามรอยพระยุคลบาท

2 พัฒนาให้ความรู้ครู นักเรียนผู้ปกครองและบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ส่งเสริมสนับสนุนและเห็นความสำคัญด้านอาหารและโภชนาการอย่างยั่งยืน

ครูนักเรียน ผู้ปกครองและบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้าใจระบบโภชนาการและร่วมสนับสนุนกิจกรรมศูนย์เรียนรู้ของโรงเรียน

3 พัฒนาพื้นที่ว่างในโรงเรียนเป็นแหล่งผลิตเกษตรพอเพียงเพื่อโครงการอาหารกลางวัน โดยให้คณะครูนักเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมเป็นศูนย์เรียนรู้แบบบูรณาการ

พื้นที่ว่างเปล่าพัฒนาเป็นแหล่งปลูกพืชเกษตรและเลี้ยงสัตว์เพื่อสนับสนุนอาหารกลางวันนักเรียนจำนวน5ไร่

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
18 พ.ค. 59 การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก 37 8,000.00 8,000.00 more_vert
22 พ.ค. 59 อบรมระบบเฝ้าระวังโภชนาการและโปรแกรมThai School Lunch ณ โรงเรียนบ้านสะเดา 40 6,000.00 6,000.00 more_vert
1 - 30 มิ.ย. 59 การปลูกพืชสวนครัว 101 25,000.00 25,000.00 more_vert
1 - 30 มิ.ย. 59 การเลี้ยงปลากินพืชในบ่อดิน 101 20,000.00 20,000.00 more_vert
6 มิ.ย. 59 อบรมความรู้ขยายผลสู่นักเรียนด้านโภชนาการที่ดีและการดูแลรักษาสุขภาพสมกับวัย 140 21,000.00 21,000.00 more_vert
1 - 31 ส.ค. 59 อบรมเสริมศักยภาพการกำจัดเหา 40 15,000.00 15,000.00 more_vert
1 - 31 ส.ค. 59 กิจกรรมการเลี้ยงกบ 180 5,000.00 5,000.00 more_vert
30 - 31 มี.ค. 60 คืนดอกเบี้ยในบัญชี เพื่อปิดโครงการ 3 0.00 25.67 more_vert
รวม 642 100,000.00 8 100,025.67

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2559 16:02 น.