ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านห้วยสิงห์
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา แม่ฮ่องสอนเขต 2
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 120,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 120,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอินสอน อินตาวงษ์
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นางสาวน้อมจิต ก้อนเขื่อน
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นายประเจิด สุขสิงห์
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นางกาญจนา สิงห์สูตร
ที่ปรึกษาโครงการ 1 นายพุทธิวัฒน์ ใจสูง
ที่ปรึกษาโครงการ 2
ที่ปรึกษาโครงการ 3
ผู้ประสานงานภาค นางสาววิรัตน์ดา ดวงใจ
หลักการและเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียน บ้านห้วยสิงห์ จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

กรอบแนวคิด

ให้เด็กเป็นคนลงมือปฏิบัติครูไม่ได้เป็นคนทำแต่เป็นคนสอนนักเรียนจัดกระบวนการเรียนการสอนให้เกิดขึ้นแล้วนักเรียนเป็นคนทำ เมื่อนักเรียนลงมือทำจะเกิดการเรียนรู้และที่สำคัญที่สุดก็คือชุมชนต้องให้ชุมชนเข้ามาร่วม เพราะว่าสุดท้ายจะยั่งยืนได้ชุมชนต้องเป็นคนดูแลและเข้ามามีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมในโรงเรียน การดำเนินงานทั้ง 8องค์ประกอบมีเป้าหมายให้เด็กมีโภชนาการสุขภาพดี คือให้นักเรียนทำการเกษตร ผลิตอาหารเอง แล้วก็นำมาประกอบเป็นอาหารกลางวันมารับประทานกันจุดเชื่อมจากกระบวนการเกษตรมายังกิจกรรมอาหารกลางวัน ส่งเสริมเรื่องสหกรณ์เพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องของการทำธุรกิจขนาดเล็ก ผลิตได้ก็ต้องขาย ขายเพื่อเป็นอาหารกลางวัน เพราะของฟรีไม่มีในโลก ใช้เรื่องของหลักการสหกรณ์เข้ามาช่วยเป็นการฝึกเด็กนักเรียนให้รู้จักการทำธุรกิจเล็กๆ และโดยหลักสหกรณ์ก็เป็นเรื่องของการฝึกคุณธรรมจริยธรรมไปด้วย ในช่วงของการรับประทานอาหารกลางวัน หรือการประกอบอาหารกลางวันเด็กก็ได้มีการพัฒนาสุขนิสัยไปด้วยประกอบกับมีการสอนไปพร้อมๆ กันก็จะเสริมกัน ซึ่งจะทำให้เด็กมีการทำพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมด้วย คือเมื่อเด็กรับประทานอาหารแล้วก็มีการติดตามภาวะโภชนาการว่าเป็นอย่างไรเด็กมีการเจริญเติบโตได้ดีหรือไม่ ในการเจริญเติบโตมีอะไรมันมาขัดขวางหรือไม่ จึงมีเรื่องของบริการสุขภาพเข้ามาเพิ่มเติม หรือเรื่องของการเคลื่อนไหวร่างกายส่วนการปฐมพยาบาลก็เป็นไปเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพะหน้าอย่างเร่งด่วนถ้าอาการหนักเกินไปก็ส่งต่อโรงพยาบาล เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าทั้ง8องค์ประกอบจะมีการเชื่อมโยงต่อเนื่องกัน และทั้ง8องค์ประกอบนี้ ก็เน้นให้นักเรียนเป็นคนดำเนินกิจกรรมทั้งหมด แต่ครูจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ช่วยทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ขึ้นมาในโรงเรียน
ดังนั้น โรงเรียนบ้านห้วยสิงห์จึงได้เสนอแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสจากปีที่1โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องอย่างยั่งยืน ตามผลที่คาดหวังของโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 357
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 27
ผู้ปกครอง 20
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 404404
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 10
อสม. 0
ชุมชน 0
ผู้นำศาสนา 2
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 1
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 5
อื่น ๆ 0
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 18
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. โรงเรียนบ้านห้วยสิงห์เป็นโรงเรียนในโครงการศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใส ถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ
  2. ส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านการเกษตรให้กับนักเรียน สามารถนำไปประกอบอาชีพในอนาคตได้
  3. สร้างองค์ความรู้และตระหนักในการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการอาหารสมวัย ให้กับ บุคลากรในโรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนได้
  4. เด็กมีการปรับพฤติกรรมการกินผักและผลไม้
  5. มีการนำโปรแกรม Thai school lunch มาใช้ในการกำหนดเมนูอาหารกลางวัน
  6. มีกระบวนการติดตาม ประเมินสุขภาวะของนักเรียน โดยเด็กและเยาวชน ครู และผู้ปกครอง ร่วมกัน
เป้าหมายภาวะโภชนาการ
  1. นักเรียนเจริญเติบโตสมวัยโดยมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกิน 7 %
  2. นักเรียนเจริญเติบโตสมวัยโดยมีภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกิน 7 %
  3. นักเรียนเจริญเติบโตสมวัยโดยมีภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ไม่เกิน 7%
ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล
  1. จะมีการดำเนินการต่อเนื่องต่อไปเนื่องจากโรงเรียนได้มีการดำเนินงานของโรงเรียนโดยมีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบในการนำโครงการสู่การปฏิบัติอย่างเป็นกระบวนการได้มีการวางแผนจัดกิจกรรมโดยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบอย่างเป็นระบบและมีความชัดเจนอยู่แล้วโดยโรงเรียนบ้านห้วยสิงห์มีการจัดเก็บข้อมูลในการดำเนินงานของโครงการอย่างเป็นระยะตามที่ได้กำหนดไว้ในแผนการปฏิบัติงาน โดยมีการบันทึกข้อมูลเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง มีการจัดทำบัญชีรับ-จ่าย การรายงานผลการดำเนินงานโครงการให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องในโรงเรียนได้รับทราบถึงการดำเนินงานในรูปแบบต่าง ๆ อยู่เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง และมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบแยกตามกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการ ทางโรงเรียนได้มีการต่อยอดและพัฒนาโครงการให้มีความหลากหลายและมีความต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น และมีการนำมาสู่กระบวนการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โดยโครงการต่าง ๆ ให้นักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ ครูไม่ได้เป็นผู้ปฎิบัติแต่เป็นผู้สอนนักเรียนจัดกระบวนการเรียนการสอนให้เกิดขึ้นแล้วนักเรียนเป็นคนปฏิบัติเอง นักเรียนจะเป็นผู้ดำเนินเอง ตั้งแต่การวางแผน เพาะปลูก เก็บเกี่ยว การดูแลบัญชีรายรับ – รายจ่าย ของโครงการต่าง ๆ ที่ตัวเองได้รับผิดชอบ และมีการนำผลการประเมินมาเป็นข้อมูลย้อนกลับ ที่จะสามารถนำไปปรับปรุง พัฒนาโครงการด้านต่างๆต่อไปได้
  2. โรงเรียนบ้านห้วยสิงห์ ดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรทุกอย่างเป็นการเรียนรู้ สู่การปฏิบัติจริงท่ามกลางแรงขับเคลื่อนภายในโรงเรียน ในชุมชน ผลผลิตจากการทำการเกษตรเป็นผลพลอยได้จากการเรียนรู้ นำเข้าสู่โครงการอาหารสำหรับนักเรียนทั้งสามมื้อ ให้ผู้เรียนได้รับประทานอาหารทีมีคุณค่าทางโภชนาการ แต่สิ่งสำคัญการทำการเกษตร ได้ซึมซับเข้าในสายเลือดของผู้เรียนวันละเล็ก วันละน้อยจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงเรียนรู้ร่วมกัน เรียนรู้จากวิทยากรภายนอกเรียนรู้จากองค์รวมและแสวงหาความรู้ด้วยตัวเองจึงทำให้กระบวนการคิดวิเคราะห์ถูกพัฒนาขึ้นโดยอาศัยพื้นฐานและสภาพปัญหาที่ส่งผลกระทบในวงจรของการดำรงชีวิตการเรียนรู้เหล่านี้เองเป็นจุดเริ่มต้นของความภาคภูมิใจในวีถีชีวิตที่ซ่อนอยู่ภายในบริบทของความแตกต่างระหว่างบุคคล เกิดผลสำเร็จที่งดงาม คุ้มค่ากับความตั้งใจในการสนับสนุนโครงการก่อให้ผู้เรียน มี “ ความเก่ง ” ในการเรียนรู้ถึงวิธีการทำการเกษตรประเภทต่างๆมี“ ความดี” จากการเรียนรู้ถึงการทำงานที่มีคุณค่า เห็นค่าของสิ่งที่ได้มาด้วยจิตสำนึกที่ดี และใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่ามี“ความสุข” จากการใช้ชีวิตโดยพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันของแต่ละกลุ่มร่วมแรงร่วมใจเกื้อกูลช่วยเหลือกันจากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปีความกลมเกลียวสามัคคีในหมู่คณะ แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นการอดทนต่อสิ่งที่กำลังรอคอยได้เพาะบ่มเมล็ดกล้าของคุณธรรม จริยธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน ซึ่งหวังได้โดยแน่ว่า กลุ่มคนเล่านี้จะเติบโตเป็นคนที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต
พื้นที่ตั้งโรงเรียน 136/1 หมู่ 4 ตำบลแม่ยวม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ละติจูด-ลองจิจูด 18.059660253918,97.917237281741place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 48,000.00
2 1 ต.ค. 2559 31 มี.ค. 2560 3 ต.ค. 2559 30 เม.ย. 2560 66,000.00
3 1 เม.ย. 2560 30 เม.ย. 2560 6,000.00
รวมงบประมาณ 120,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 สร้างโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสและพัฒนาเข้าสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส ขยายผลสู่โรงเรียนอื่น

ขยายผลการเรียนรู้โครงการเด็กไทยแก้มใสในโรงเรียนในเครือข่ายจำนวน 3 แห่ง

2 ส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านการเกษตรให้กับนักเรียนโดยชุมชนและผู้ปกครองนักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคตของเด็กนักเรียน

นักเรียนสามารถนำความรู้ทางด้านการเกษตรไปประกอบอาชีพในอนาคตได้

3 เพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้การส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการอาหาร ให้กับ บุคลากรในโรงเรียนนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน

บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน เกิดความตื่นตัวในการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการอาหารสมวัยและสุขภาพมากขึ้นร้อยละ 80

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมหลัก

ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 59มิ.ย. 59ก.ค. 59ส.ค. 59ก.ย. 59ต.ค. 59พ.ย. 59ธ.ค. 59ม.ค. 60ก.พ. 60มี.ค. 60เม.ย. 60
1 โครงการเกษตรในโรงเรียน 102,500.00                         more_vert
2 โครงการส่งเสริมโภชนาการด้านอาหารและสุขภาพ 17,500.00                         more_vert
รวม 120,000.00

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
16 พ.ค. 59 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน 15 0.00 0.00 more_vert
23 พ.ค. 59 ประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษา 27 0.00 0.00 more_vert
30 พ.ค. 59 กิจกรรมเลี้ยงไก่พันธ์ไข่บนบ่อปลา 23 44,000.00 44,000.00 more_vert
3 มิ.ย. 59 กิจกรรมเลี้ยงปลาน้ำจืด 391 30,000.00 30,000.00 more_vert
13 มิ.ย. 59 กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ 165 2,500.00 2,500.00 more_vert
18 ต.ค. 59 นัดตรวจโครงการฯ ทำรายงานการเงินและรายงานกิจกรรม งวดที่ 1 2 0.00 0.00 more_vert
15 พ.ย. 59 กิจกรรมเลี้ยงหมูหลุมคู่ภูมิปัญญาท้องถิ่น 31 12,000.00 12,000.00 more_vert
23 พ.ย. 59 กิจกรรมเพาะเห็ดนางฟ้าให้ผลคุ้มค่า ส่งผลคุ้มทุน 23 14,000.00 14,000.00 more_vert
27 พ.ย. 59 กิจกรรมอบรมส่งเสริมโภชนาการด้านอาหารและสุขภาพครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน 100 17,500.00 17,500.00 more_vert
20 มี.ค. 60 คืนดอกเบี้ยในบัญชี เพื่อปิดโครงการ 3 0.00 26.34 more_vert
23 มี.ค. 60 นัดตรวจโครงการฯ ทำรายงานการเงินและรายงานกิจกรรม งวดที่ 2 2 0.00 0.00 more_vert
รวม 396 120,000.00 11 120,026.34

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2559 15:30 น.