รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านทุ่งยาว
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 100,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอมรรัตน์ เถื่อนทอง
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นางสาวดารารัตน์ ทัพโต
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นางสาวอโนชา สุขผล
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3
ที่ปรึกษาโครงการ 1 ศูนย์อนามัยที่5
ที่ปรึกษาโครงการ 2
ที่ปรึกษาโครงการ 3
ผู้ประสานงานภาค นางสาวอุบลรัตน์ ขันธ์ทอง
หลักการและเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง

กรอบแนวคิด
  1. กรอบแนวคิดหลักการดำเนินงานตามรอยพระยุคลบาทฯ (Conceptual Framework)
    อธิบายกรอบแนวคิดหลักของโรงเรียนที่จะประยุกต์ใช้ดังนี้ การจัดทำการเกษตรในโรงเรียนสู่การเรียนรู้ในบทเรียนและการปรับใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงสหกรณ์นักเรียนให้นักเรียนได้เรียนรู้ถึงความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ การเสียสละ และการประหยัด เมื่อได้เรื่องการเกษตรก็สู่นักเรียนในเรื่องสุขภาพ นักเรียนได้รับประทานในสิ่งที่นักเรียนปลูกเอง ปลอดสารพิษ ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง สมส่วนตามวัย รวมถึงนักเรียนได้ออกกำลังกาย ดังนั้น โรงเรียนบ้านทุ่งยาว จึงได้เสนอแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสจากปีที่1โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องอย่างยั่งยืน ตามผลที่คาดหวังของโครงการ กิจกรรมที่โรงเรียนสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับโรงเรียนอื่นมีดังนี้
  2. กิจกรรมพืชผักสวนครัวสู่อาหารกลางวัน โรงเรียนสามารถให้คำแนะนำและวิธีการดำเนินงานในการทำเกษตรที่ได้ผลผลิตให้กับนักเรียนได้รับประทานและมีความเพียงพอกับนักเรียนตลอดจนทำให้นักเรียนได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษและนักเรียนเกิดความภาคภูใจในสิ่งที่นักเรียนปลูกและสามารถนำมารับประทานได้
  3. กิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ นักเรียนสามารถให้ความรู้ในเรื่องการให้เลี้ยง การให้อาหารไก่ ตลอดจนการเก็บไข่ในการเลี้ยงไก่ไข่ในโรงเรียนทำให้นักเรียนมีไข่ไก่ที่ผลิตเองในโรงเรียนได้กินอย่างต่อเนื่องและมีปริมาณที่เพียงพอกับจำนวนนักเรียนและยังสามารถจำหน่ายให้กับผู้ปกครองในราคาที่ถูกกว่าท้องตลอด
  4. กิจกรรมสหกรณ์โรงเรียน สามารถให้คำแนะนำในการจัดทำสหกรณ์ในโรงเรียน ซึ่งสหกรณ์โรงเรียนไม่ใช่ร้านค้าที่จะขายพวกเครื่องเขียน หรือขนมอย่างเดียว และคำว่าสหกรณ์ในโรงเรียนคือการนำผลผลิตในโรงเรียนมาจำหน่ายผ่านสหกรณ์และลงสู่โครงการอาหารกลางวันของนักเรียน รวมถึงเรื่องการออมทรัพย์ ที่ฝึกให้นักเรียนรู้จักการประหยัดการออมสหกรณ์โรงเรียนยังเป็นการฝึกให้นักเรียนมีความรับผิดชอบ การเสียสละ ความซื่อสัตย์ ฯลฯ
  5. กิจกรรมแอโรบิคยามเช้า กิจกรรมยามเช้าเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่เราสามารถทำได้ทุกวัน ในช่วงกิจกรรมหน้าเสาธง โดยทำทุกวันให้เกิดเป็นกิจวัตรประจำวัน
    ทำให้นักเรียนเกิดความสนุก ความรักในสุขภาพของตนเอง
  6. วัตถุประสงค์ของโครงการ 7.1 วัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อพัฒนาโรงเรียนบ้านทุ่งยาวให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ผู้ปกครองและโรงเรียนในพื้นที่ตำบลทับใต้ หรือ อำเภอหัวหินและอำเภอปราณบุรีจำนวน ……2………โรงเรียนได้แก่ โรงเรียนบ้านวังยาว โรงเรียนคอกช้าง ในการเจริญรอยตามพระยุคลบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีด้านเกษตร-อาหาร-โภชนาการ-สุขภาพ แบบบูรณาการภายในปี 2560 7.2 วัตถุประสงค์เฉพาะ 7.1. เพื่อแก้ปัญหานักเรียนทุพโภชนาการ และนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน 7.2. เพื่อน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ในชีวิตประจำวัน

7.3 ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ นักเรียนเจริญเติบโตสมวัยโดยมี ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกิน ....15....% ภาวะผอม ไม่เกิน ....10....% ภาวะเตี้ย ไม่เกิน ....10...% ดูส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ(กรณีที่ภาวะโภชนาการไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดให้ลดลงจากเดิมไม่น้อยกว่า 0.5 ต่อปี) นักเรียนได้กินผัก – ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวัน เฉลี่ย ผัก วันละประมาณ...390......กรัมอนุบาล ..2.....ช้อน (...130...กรัม) ประถม ...2...ช้อน (......260........กรัม)ผลไม้ (อนุบาล…0.5..ส่วนประถม 1ส่วน) ต่อมื้อต่อคน

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 156
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 13
ผู้ปกครอง 80
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 249249
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 0
อสม. 0
ชุมชน 0
ผู้นำศาสนา 0
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 10
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 0
อื่น ๆ 0
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 10
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์มาตรฐานที่กรมอนามัยกำหนด
  2. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีจิตใจร่าเริงแจ่มใสสมวัย
  3. นักเรียนมีีเจคติที่ดีในการรักษาสุขภาพของตนเองและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
  4. นักเรียนรักการทำงาน มีอาชีพสุจริต ซื่อสัตย์ และรักสิ่งแวดล้อม
  5. นักเรียนมุ่งมั่น เสียสละ สามัคคี ทำงานด้วยความกระตือรือร้น และจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริยื
เป้าหมายภาวะโภชนาการ

นักเรียนมีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย และมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีจิตใจที่ร่าเริงแจ่มใส

ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล
  1. มีการดำเนินโครงการอย่างต่เนื่องและหยั่งยืนต่อไป เพราะเราจะสร้างให้เป็นดครงการทุนหมุนเวียนและสามารถทำให้เป็นโครงการได้อย่างต่อเนื่อง
  2. ทางโรงเรียนเปิดให้เป็นแหล่งเรียนรู้กับโรงเรียนที่ต้องการเข้ามาขอดุงานรวมถึงการเชิยชวนให้ชุมชนมามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม และให้ความรู้กับชุมชนในการใช้ชีวิตตามหลักของปรัชยาเศรษบกิจพอเพียง
พื้นที่ตั้งโรงเรียน ตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ละติจูด-ลองจิจูด 12.461343183358,99.917435646057place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 15 พ.ย. 2559 2 พ.ค. 2559 15 พ.ย. 2559 40,000.00
2 16 พ.ย. 2559 28 ก.พ. 2560 16 พ.ย. 2559 30 เม.ย. 2560 55,000.00
3 1 มี.ค. 2560 30 เม.ย. 2560 5,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อแก้ปัญหานักเรียนทุพโภชนาการ และนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน

นักเรียนมีโภชนาการที่ถูกสุขลักษณะ และมีน้ำหนักตามเกณฑ์และสมส่วน ร้อยละ90

2 2.เพื่อให้โรงเรียนมีผลผลิตทางการเกษตรสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70อย่างยั่งยืน

มีผลผลิตด้านการเกษตร ด้านผักปลอดสารพิษการเลี้ยงสัตว์ การประมง สนับสนุนอาหารกลางวันได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ90

3 3. เพื่อน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้เป้นหลักในการดำเนินชีวิต

นักเรียนได้รู้จักการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ในการดำเนินชีวิต ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
10 พ.ย. 16 กิจกรรมสหกรณ์ 103 4,800.00 5,000.00 more_vert
27 - 28 มี.ค. 59 อบรมการใช้โปรแกรม 2 0.00 0.00 more_vert
1 - 19 ส.ค. 59 ปลูกผักสวนครัว ระยะที่ 1 86 0.00 0.00 more_vert
1 ก.ย. 59 - 31 ต.ค. 59 ปลูกผักสวนครัว ระยะที่ 2 100 4,000.00 4,000.00 more_vert
12 ก.ย. 59 - 15 ต.ค. 59 การเลี้ยงไก่ไข่ ระยะที่ 1 100 0.00 0.00 more_vert
15 - 16 ก.ย. 59 การเลี้ยงเป็ด ระยะที่ 1 100 0.00 0.00 more_vert
1 - 31 ต.ค. 59 การเลี้ยงไก่ไข่ ระยะที่ 2 98 21,400.00 21,400.00 more_vert
3 - 7 ต.ค. 59 การเลี้ยงเป็ด ระยะที่ 2 98 0.00 0.00 more_vert
10 ต.ค. 59 - 28 ก.พ. 60 การเลี้ยงเป็ด ระยะที่ 3 98 13,640.00 13,640.00 more_vert
17 - 18 ต.ค. 59 การเพาะเห็ดภูฐาน 101 0.00 0.00 more_vert
1 พ.ย. 59 - 17 มี.ค. 60 มือสะอาด 7 ขั้นตอน ปราศจากโรค 162 2,000.00 2,000.00 more_vert
1 พ.ย. 59 การจัดเก็บอุปกรณ์แปรงฟันให้ถูกสุขลักษณะ 162 4,160.00 3,124.00 more_vert
1 พ.ย. 59 - 17 มี.ค. 60 สถานที่ดื่มน้ำสะอาด 162 3,000.00 13,476.00 more_vert
1 - 30 พ.ย. 59 ปลูกผักสวนครัว ระยะที่ 3 96 0.00 0.00 more_vert
1 พ.ย. 59 - 28 ก.พ. 60 การเลี้ยงไก่ไข่ ระยะที่ 3 96 0.00 0.00 more_vert
1 พ.ย. 59 การเพาะเห็ดภูฐาน ระยะที่ 2 99 3,000.00 3,000.00 more_vert
1 พ.ย. 59 - 28 ก.พ. 60 การเลี้ยงเป็ด ระยะที่ 4 99 0.00 0.00 more_vert
1 พ.ย. 59 หนูน้อยนักออม (การออมทรัพย์) 12 1,500.00 0.00 more_vert
15 พ.ย. 59 จัดกิจกรรมต่อด้านยาเสพติด 110 3,100.00 3,100.00 more_vert
17 พ.ย. 59 ร่างกายแข็งแรง จิตใจดี ชีวีมีสุข 107 2,000.00 540.00 more_vert
23 พ.ย. 59 - 1 มี.ค. 60 ห้องเรียนน่าอยู่ 162 5,000.00 4,180.00 more_vert
29 พ.ย. 59 - 17 มี.ค. 60 กิจกรรมคัดแยกขยะ 162 2,000.00 0.00 more_vert
30 พ.ย. 59 ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง 162 1,500.00 0.00 more_vert
30 พ.ย. 59 - 1 มี.ค. 60 จ้ดกิจกรรมแอโรบิคยามเช้า 163 3,000.00 0.00 more_vert
30 พ.ย. 59 - 3 มี.ค. 60 การแปรรูปอาหาร 106 4,000.00 4,875.00 more_vert
1 - 15 ธ.ค. 59 การเพาะเห็ดภูฐาน ระยะที่ 3 99 0.00 0.00 more_vert
9 ธ.ค. 59 อบรมให้ความรู้ด้านอาหารและการจัดการให้ถูกสุขลักษณะ 106 10,500.00 12,470.00 more_vert
9 ม.ค. 60 ทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียน 102 3,000.00 0.00 more_vert
20 ม.ค. 60 ฟันสวยด้วยมือเรา 162 1,000.00 1,000.00 more_vert
27 ม.ค. 60 เปิด - ถอน เงินในบัญชี 3 500.00 500.00 more_vert
7 ก.พ. 60 โรงเรียนปลอดเหา 104 1,000.00 1,000.00 more_vert
10 ก.พ. 60 แหล่งเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหารโภชนาการ และสุขภาพอนามัย 106 6,400.00 7,195.00 more_vert
7 เม.ย. 60 จัดทำรายงานปิดโครงการ งวด 2 พร้อมคืนดอกเบี้ย 1 0.00 20.00 more_vert
รวม 3,429 100,500.00 33 100,520.00

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2559 09:21 น.