ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านเหมืองแร่
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 120,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 120,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายโสภณ ธิพึง
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นางวาสนา บำรุงเกียรติ
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นางสาวขวัญดารินทร์ วารีธนพัชร์
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นายสุรพล ชมภู
ที่ปรึกษาโครงการ 1 นายณะรินทร์ รินทร์ฟอง
ที่ปรึกษาโครงการ 2 น.ส.อมลรุจี ศรีลาเลิศ
ที่ปรึกษาโครงการ 3 นายหล่อซือ เชอหมื่อ
ผู้ประสานงานภาค น.ส.วิรัตน์ดา ดวงใจ
หลักการและเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียน บ้านเหมืองแร่ จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่งในปีที่ 1 ได้ดำเนินการดังต่อไปนี้ (สรุปผลการดำเนินงาน ของโครงการฯ ปีที่ 1 พร้อมสถานการณ์ด้านอาหารและโภชนาการของเด็กนักเรียน ก่อน-หลัง เข้าร่วมโครงการ และกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จที่เห็นผลผลิต ผลลัพธ์ หรือนวัตกรรม อย่างเป็นรูปธรรม ตามข้อมูลในใบสมัครส่วนที่3)

กิจกรรม ผลผลิต/ผลลัพธ์/นวัตกรรม  3.1 การเกษตรในโรงเรียน โรงเรียนมีกิจกรรมการเรียนการสอนเศรษฐกิจพอเพียงมีพื้นที่ทำการเกษตรปลูกผักสวนครัวเลี้ยงไก่พันธ์เนื้อเลี้ยงปลาเพาะเห็ดนำผลผลิตที่ได้ไปประกอบอาหารกลางวันแก่นักเรียน  3.2 สหกรณ์นักเรียน โรงเรียนได้ให้นักเรียนรับผิดชอบในการจัดกิจกรรมโดยมีครูเป็นผู้ควบคุมดูแล  3.3 การจัดบริการอาหารของโรงเรียน มีการจัดบริการอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนทุกคนโดยการจ้างเหมาแม่ครัวให้มาทำอาหารที่โรงเรียนโดยมีคณะครูรับผิดชอบดูและและจัดเมนูอาหารโดยยึดตามThaischool Luch  3.4 การติดตามภาวะโภชนาการ มีการติดตามนักเรียนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโดยตรวจเช็คภาวะโภชนาการเป็นประจำและจัดกิจกรรมให้อาหารเสริมแก่นักเรียนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงผอม  3.5 การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน โรงเรียนมีกิจกรรมโครงการเสริมทักษะทางด้านดนตรีและกีฬาเพื่อพัฒนาสุขนิสัยและสุขภาพร่างกายของนักเรียน  3.6 การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ โรงเรียนมีบริการน้ำดื่มน้ำใช้ให้แก่นักเรียนและมีห้องน้ำห้องส้วมที่ถูกต้องตามหลักสุขอนามัย  3.7 การจัดบริการสุขภาพ โรงเรียนมีห้องพยาบาลเพื่อให้บริการแก่นักเรียนที่ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยไม่สบายและได้รับความอนุเคราะห์เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากโรงพยาบาลศูนย์สุขภาพตำบลห้วยไคร้มาตรวจสุขภาพแต่ละปี  3.8 การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โรงเรียนได้มีหลักสูตรและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาเศรษฐกิจพอเพียงและบูรณาการในแต่ละกลุ่มสาระ

กรอบแนวคิด

ในการดำเนินงานตามโครงการเด็กไทยแก้มใสสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนเพื่อให้เด็กนักเรียนได้มีโภชนาการดี มีสุขภาพแข็งแรง โรงเรียนบ้านเหมืองแร่ได้วางกรอบในการทำงานเพื่อให้ครอบคลุมงานด้านต่างๆ ของโรงเรียนที่สนับสนุนโครงการนี้ โดยโรงเรียนได้จัดทำหลักสูตรท้องถิ่นมาบูรณาการกับหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน ทั้งนี้โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการ eco school : โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ซึ่งเป็นโครงการที่สนับสนุนให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้ มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในชุมชน การดูแล ปรับปรุงภูมิทัศน์ในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ตลอดจนการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นชนเผ่าของตนเอง ในด้านการเกษตรโรงเรียนได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3 ให้เป็นศูนย์แนะแนวการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียน เรียนต่อสายอาชีพมากกว่าสายสามัญในอัตราร้อยละ 51 : 49 ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและ สพฐ. โดยโรงเรียนได้จัดพื้นที่ทางการเกษตรของโรงเรียนประมาณ 6 ไร่เศษ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตร โดยจัดทำเป็นบ่อเลี้ยงปลา แปลงพืชผัก แปลงพืชไร่ โรงเลี้ยงไก่ โรงเห็ด โรงทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ฯลฯ โดยให้เด็กแบ่งกลุ่มเข้าเรียนตามตารางเรียนที่จัดไว้และมีครู บุคลากร ตลอดจนวิทยากรภายนอกที่เชิญมาเป็นผู้ให้ความรู้เสนอแนะให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติจริง และเมื่อได้ผลผลิตจากการดำเนินงาน ก็จะนำเข้าสู่ระบบสหกรณ์ในโรงเรียน เพื่อให้เด็กได้มีความรู้ทางด้านการตลาด การจัดทำระบบบัญชีต่าง ๆ ซึ่งเด็กที่เป็นคณะกรรมการจะได้หมุนเวียนกันมาปฏิบัติตามที่ครูที่ปรึกษาได้เสนอแนะ เมื่อสหกรณ์โรงเรียนได้ผลผลิตแล้วก็จะนำส่งให้ผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวันนำไปดำเนินการจัดทำอาหารเพื่อให้เด็กรับประทานต่อไป ส่วนผลผลิตบางชนิดสหกรณ์ก็จะจัดส่งให้ครูและนักเรียนที่รับผิดชอบในด้านการแปรรูป ไปดำเนินการจัดทำแปรรูปเป็นผลผลิตด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาจำหน่ายที่สหกรณ์ต่อไป ทั้งนี้โรงเรียนยังมีครูและนักเรียนที่รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน ดำเนินการในการประสานงานเจ้าหน้าที่อนามัยหรือโรงพยาบาล มาตรวจสุขภาพเด็ก ทั้งชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง ตลอดจนตรวจสอบภาวะโภชนาการอาหารที่ดำเนินการในโรงเรียน เพื่อนำมาสรุปผลการดำเนินงานและหาแนวทางพัฒนาแก้ไข ส่งเสริม ให้เด็กนักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารที่มีคุณภาพมีสุขภาพดี บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ดังนั้น โรงเรียนบ้านเหมืองแร่จึงได้เสนอแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสจากปีที่1โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องอย่างยั่งยืน ตามผลที่คาดหวังของโครงการดังมีละเอียดในไฟล์ที่แนบ

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 487
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 35
ผู้ปกครอง 250
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 772772
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 15
อสม. 5
ชุมชน 50
ผู้นำศาสนา 30
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 10
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 50
อื่น ๆ 0
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 160
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนและผู้ปกครองเกิดความตระหนักสำนึกในคุณค่าอาหารและมีสุขนิสัยที่ดีในด้านโภชนาการอย่างยั่งยืน
  2. คณะครูบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ในเรื่องการจัดการอาหาร ด้านโภชนาการ การทำการเกษตร การสหกรณ์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี
  3. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่ดีมีประโยชน์แก่เครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ
  4. โรงเรียนมีนวัตกรรมที่แปลกใหม่สำหรับใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนและมีผลผลิตนำไปประกอบเป็นอาหาร
    กลางวันให้แก่นักเรียนได้เป็นอย่างดี
เป้าหมายภาวะโภชนาการ
  1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนไม่เกิน8 %
  2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมไม่เกิน 8 %
  3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยไม่เกิน 8% นักเรียนได้กินผัก – ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวันเฉลี่ย
    ผัก วันละประมาณ 90 กรัมอนุบาล1.5 ช้อน (30กรัม) ประถม 3 ช้อน(60กรัม)

ผลไม้ อนบุาล 3 ส่วน ประถม 4ส่วน ต่อมื้อต่อคน

ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล
  1. เพื่อพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียนและผปู้กครองให้เกิดความตระหนักส านึกในคุณคา่อาหารและมีสุขนสิัย ที่ดีในด้านโภชนาการอย่างยั่งยนื
  2. เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจการบริหารจัดการในโรงเรียนที่มี การเชื่อมโยงระหว่างงานเกษตร และสหกรณ์นักเรียน สู่การจัดบริการอาหารกลางวนั
  3. เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนโดยเนน้การมีส่วนร่วมขององค์กรในท้องถิ่นและองค์กรเครือข่ายให้เป็น แหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพกับชุมชน ตลอดจนองค์กรหน่วยงานทสี่นใจ
พื้นที่ตั้งโรงเรียน 599 ถนนฝางแม่สรวย ม.6 ตำบลแม่คะ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
ละติจูด-ลองจิจูด 19.804471158093,99.250191781903place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 48,000.00
2 1 ต.ค. 2559 31 มี.ค. 2560 1 ต.ค. 2559 31 มี.ค. 2560 66,000.00
3 17 มี.ค. 2560 30 เม.ย. 2560 6,000.00
รวมงบประมาณ 120,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียนและผู้ปกครองให้เกิดความตระหนักสำนึกในคุณค่าอาหารและมีสุขนิสัยที่ดีในด้านโภชนาการอย่างยั่งยืน

นักเรียนร้อยละ100มีสุขนิสัยที่ดีในด้านโภชนาการ ผู้ปกครองร้อยละ80มีสุขนิสัยที่ดีในด้านโภชนาการ

2 2.เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจการบริหารจัดการในโรงเรียนที่มีการเชื่อมโยงระหว่างงานเกษตร และสหกรณ์นักเรียน สู่การจัดบริการอาหารกลางวัน

บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนร้อยละ 90 มีความรู้ความเข้าใจการบริหารจัดการในโรงเรียนที่มีการเชื่อมโยงระหว่างงานเกษตร และสหกรณ์นักเรียน สู่การจัดบริการอาหารกลางวัน

3 3.เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนโดยเน้นการมีส่วนร่วมขององค์กรในท้องถิ่นและองค์กรเครือข่ายให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพกับชุมชน ตลอดจนองค์กรหน่วยงานที่สนใจ

ร้อยละ 100 โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ท่ีมีคุณภาพ

4 4. เพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยของนักเรียนให้อยู่ตามเกณฑ์ภาวะโภชนาการ

ร้อยละ90นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมหลัก

ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 59มิ.ย. 59ก.ค. 59ส.ค. 59ก.ย. 59ต.ค. 59พ.ย. 59ธ.ค. 59ม.ค. 60ก.พ. 60มี.ค. 60เม.ย. 60
1 กิจกรรมโครงการพัฒนาบุคลากร 38,300.00                         more_vert
2 กิจกรรมโครงการพัฒนาบุคลากรและสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ 53,700.00                         more_vert
3 สร้างนวัตกรรมในแหล่งเรียนรู้ 28,000.00                         more_vert
4 กิจกรรมงานเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน 0.00                         more_vert
5 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัยและภาวะโภชนาการของนักเรียน 0.00                         more_vert
รวม 120,000.00

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
10-11 พ.ค. 59 อบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาเรื่องการบริหารจัดการในโรงเรียน เกี่ยวกับงานเกษตรสหกรณ์และอาหารกลางวัน 34 38,300.00 38,300.00 more_vert
16 พ.ค. 59-31 มี.ค. 60 กิจกรรมอาหารกลางวัน 0 0.00 0.00 more_vert
4-5 มิ.ย. 59 อบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าและมีสุขนิสัยที่ดีในด้าน โภชนาการ 80 26,800.00 26,800.00 more_vert
6 มิ.ย. 59-29 ก.ค. 59 กิจกรรมการเลี้ยงไก่ 400 0.00 0.00 more_vert
14 มิ.ย. 59-31 มี.ค. 60 กิจกรรมการเลี้ยงเป็ด 400 0.00 0.00 more_vert
19 ก.ค. 59 กิจรรมการเลี้ยงปลา 400 0.00 0.00 more_vert
20 ก.ค. 59 กิจกรรมการปลูกพืชไร่ 400 0.00 0.00 more_vert
16 ส.ค. 59 กิจกรรมการปลูกพืชสวน 400 0.00 0.00 more_vert
17 ส.ค. 59 กิจกรรมการตรวจสุขภาพนักเรียน 492 0.00 0.00 more_vert
24 ส.ค. 59 กิจกรรมการอุดฟัน 0 0.00 0.00 more_vert
14 ก.ย. 59 จัดนิทรรศการถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา 0 13,000.00 13,000.00 more_vert
21 ก.ย. 59 จัดทำป้ายข้อมูลสารสนเทศในแหล่งเรียนรู้ 0 3,900.00 3,900.00 more_vert
17 ต.ค. 59 นัดตรวจโครงการฯ ทำรายงานการเงินและรายงานกิจกรรม งวดที่ 1 2 0.00 0.00 more_vert
17 พ.ย. 59-31 ม.ค. 60 อบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง แม่ครัว ผู้ปกครองและนักเรียนแกนนำเรื่องการบริหารจัดการอาหารตามหลักโภชนาการสมวัย และ การใช้เมนู TSL มาจัดบริการอาหารกลางวันหมุนเวียนรายเดือน และการนำไปประยุกต์ใช้ที่บ้านของผู้ปกครองทุกคน 50 10,000.00 10,000.00 more_vert
26 ธ.ค. 59-28 เม.ย. 60 สร้างนวัตกรรมใหม่การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ 0 20,000.00 20,000.00 more_vert
24 ก.พ. 60-28 เม.ย. 60 สร้างนวัตกรรมการทำ banana hidro 0 8,000.00 8,000.00 more_vert
17 มี.ค. 60 ถอนเงินเปิดบัญชี 3 500.00 500.00 more_vert
20 มี.ค. 60 คืนดอกเบี้ยในบัญชี เพื่อปิดโครงการ 3 25.47 25.47 more_vert
รวม 1,142 120,525.47 18 120,525.47

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559 11:55 น.