สร้างนวัตกรรมใหม่การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์26 ธันวาคม 2559
26
ธันวาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Khwandarin
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. การวางแผนการดำเนินงาน 1.1 ผู้บริหาร เชิญประชุมคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนบ้านเหมืองแร่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรม 1.2 นำข้อสรุปจากที่ประชุมวางแผนการดำเนินงานโดยจัดทำกำหนดการและการจัดกิจกรรมตามโครงการ โรงเรียนบ้านเหมืองแร่ 1.3 คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนจัดเตรียมงานตามหน้าที่รับผิดชอบ

  2. การดำเนินงาน ตามลำดับขั้นตอนการดำเนินงานความร่วมมือของทีมงาน 2.1 ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านเหมืองแร่รับผิดชอบการดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรม
    2.2 คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้รับผิดชอบกิจกรรมประชุมวางแผนการดำเนินงาน 2.3 คณะครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้รับผิดชอบมีมติให้ดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรม ในเดือน  ธันวาคม  2559  โดยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินงานตามคำสั่งของโรงเรียน 2.4 ดำเนินกิจกรรมการสร้างนวัตกรรมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

  3. การตรวจสอบและประเมินผล
    3.1 ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลโครงการ 3.2 แบบประเมินการดำเนินกิจกรรมต่างๆ  จากแบบติดตามประเมินผล ปรากฏว่าบุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในการจัดสร้างนวัตกรรม คิดเป็นร้อยละ 100  ซึ่งถือว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3.3 เก็บภาพการดำเนินกิจกรรม

   

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่เกิดขึ้น คือ โรงเรียนบ้านเหมืองแร่มีนวัตกรรมใหม่ในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เป็นโรงเรือนที่ไม่เปลืองพื้นที่ สามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับโรงเรียนเครือข่าย ชุมชน และผู้ที่สนใจในการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน