ชื่อโรงเรียน | โรงเรียนบ้านหนองงูเหลือม (ประชารัฐบำรุง) | ||||||||||||||||||||||||||||||
สังกัด | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครปฐม เขต1 | ||||||||||||||||||||||||||||||
โรงเรียนเครือข่าย | view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย | ||||||||||||||||||||||||||||||
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) | 120,000.00 บาท | ||||||||||||||||||||||||||||||
งบประมาณสมทบจากราชการ | 0.00 บาท | ||||||||||||||||||||||||||||||
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น | 0.00 บาท | ||||||||||||||||||||||||||||||
งบประมาณสมทบจากเอกชน | 0.00 บาท | ||||||||||||||||||||||||||||||
งบประมาณสมทบจากชุมชน | 0.00 บาท | ||||||||||||||||||||||||||||||
รวมงบประมาณทั้งหมด | 120,000.00 บาท | ||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายเอกนิษฐ์ ปริสุทธิกุล | ||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 | นายสืบพงษ์ คนหลัก | ||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 | นางกรณ์กนก ชำนาญพล | ||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 | นางสาวพรทิพย์ บุญณสะ | ||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ปรึกษาโครงการ 1 | นางจิตรลดาฐิติพงศ์ตระกูล | ||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ปรึกษาโครงการ 2 | รพ.สต.หนองงูเหลือม | ||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ปรึกษาโครงการ 3 | ศูนย์อนามัยที่5 | ||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ประสานงานภาค | นางสาวอุบลรัตน์ ขันธ์ทอง | ||||||||||||||||||||||||||||||
หลักการและเหตุผล | โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนบ้านหนองงูเหลือม (ประชารัฐบำรุง) จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น |
||||||||||||||||||||||||||||||
กรอบแนวคิด | ในการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการ โดยมีเป้าหมายให้นักเรียนมีโภชนาการสมวัย สุขภาพดี และพอประมาณได้ว่า เมื่อสุขภาพดีย่อมส่งผลต่อการเรียนรู้ คือ การเรียนดีและมีจิตสาธารณะ การสร้างความตระหนัก พร้อมกับความรู้ แก่บุคลากรหรือองค์กรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะครูและบุคลากรในโรงเรียน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน วัด องค์กรภาครัฐและเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ความร่วมมือ ร่วมใจ เป็นพลังสำคัญที่จะช่วยให้งานประสบความสำเร็จและมีความยั่งยืน สถานศึกษาจะสร้างความรู้ ความเข้าใจ บทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องและขอความร่วมมือ ช่วยเหลือในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และสำเร็จตามเป้าหมายกิจกรรมต่างๆทั้ง 8 กิจกรรม สถานศึกษาจะนำไปจัดในชั่วโมงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ หรือ นอกเวลาเรียน ดังต่อไปนี้ สหกรณ์นักเรียน โรงเรียนจัดกิจกรรมต่อยอด จัดให้มีการปันผลหุ้น รับสมัคร และคัดเลือกคณะกรรมการกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนชุดใหม่ ดำเนินการประชุมคณะกรรมการโดยครูที่ปรึกษา จัดหาอุปกรณ์การเรียน เครื่องแต่งกาย สินค้าที่เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหาร รับซื้อสินค้าการเกษตรของนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนโดยเน้นอาหารปลอดภัยและจัดให้มีการออมทรัพย์ทุกสัปดาห์ และมีการสาธิต ผลิตจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของนักเรียน เชิญวิทยากรจากสหกรณ์จังหวัดนครปฐมมาให้ความรู้เพิ่มเติม การจัดบริการอาหารโรงเรียนจัดกิจกรรมสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจและการนำไปใช้ภาคปฏิบัติแก่คณะครู และบุคลากรโดยเฉพาะแม่ครัว เพื่อดำเนินการตามโปรแกรม Thai school lunch การจัดการตามหลักสุขาภิบาลอาหาร อาหารปลอดภัยและการใช้เกลือเสริมไอโอดีน ใช้วัตถุดิบจากสหกรณ์ โดยการประสานงานของคุณครูผู้รับผิดชอบอาหารกลางวันและแม่ครัวโดยเน้นวัตถุดิบที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าทางโภชนาการ โรงเรียนจัดบริการอาหารกลางวันให้โรงเรียน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มนักเรียนปฐมวัย กลุ่มนักเรียนประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น การติดตามภาวะโภชนาการ สมรรถภาพทางกายและสุขภาพนักเรียน โรงเรียนดำเนินการ ดังนี้ การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียนการสร้างนิสัยการกิน สุขนิสัยที่ดีและการออกกำลังกาย โดยมีสุขบัญญัติแห่งชาติเป็นแนวทางการจัดทำ โครงการหรือกิจกรรมฝึกอบรมเพื่อสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจและลงมือปฏิบัติตามหลักการและวิธีการรวมทั้งความสนใจ ใฝ่รู้ของนักเรียนในกิจกรรมที่ดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ ย่อมส่งผลดีต่อสมรรถภาพทางกายและสุขภาพของนักเรียน การพัฒนาอนามัยและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน การบริหารจัดการพัฒนา อาคารเรียน อาคารประกอบ โรงอาหาร โรงครัว ห้องน้ำห้องส้วม สนามเด็กเล่นและบริเวณโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ มีความสะดวก สะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย มีวัสดุอุปกรณ์พอเพียง มีบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ จัดกิจกรรมต่างๆ และดำเนินการร่วมโครงการโรงเรียนปลอดขยะ โดยการสำรวจและพัฒนาเพิ่มเติมโดยผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบและช่างสีของโรงเรียน จัดบริการสุขภาพนักเรียน โรงเรียนจัดผู้นำอนามัยนักเรียนตรวจสุขภาพทุกเช้าช่วงเวลาเข้าแถวเคารพธงชาติ และบันทึกผลส่งครูประจำชั้น เพื่อติดตามและแก้ไขต่อไป นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ฝึกตรวจและประเมินสุขภาพของตนเองโรงเรียนพัฒนาห้องพยาบาลให้พร้อมสำหรับการปฐมพยาบาล ฝึกและเตรียมนักเรียนเป็นผู้ช่วยครูอนามัยในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ประสานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองงูเหลือม และองค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือม ในการส่งต่อและจัดบริการตรวจฟันตรวจวัดสายตา และกำจัดเหาสำหรับนักเรียนที่พบและทำการรักษาต่อไป การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ-เกษตร โภชนาการและสุขภาพ โรงเรียนจัดกิจกรรมเกษตรผสมผสาน กิจกรรมการเรียนรู้สหกรณ์ สุขบัญญัติ โภชนบัญญัติ สุขาภิบาลอาหาร และการออกกำลังกายโดยบูรณาการในแผนการจัดการเรียนรู้ตามปกติ และชั่วโมงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ตามนโยบายของกระทรวง และขยายผลสู่ชุมชนโดยการจัดนิทรรศการผลการดำเนินงานและแผ่นพับ เมื่อสิ้นสุดภาคเรียนที่ 2 สรุปในการดำเนินการ การเรียนรู้ คือนักเรียนป็นผู้ลงมือทำในภาคปฏิบัติทุกกิจกรรม เพื่อให้เกิดทักษะชีวิต โดยโรงเรียนเป็นผู้จัดกิจกรรมให้กับนักเรียน คือเป็นฐานของการพัฒนาโดยความร่วมมือของทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการบูรณาการร่วมมือเพื่อถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีให้กับนักเรียนและโรงเรียน ดังนั้น โรงเรียนบ้านหนองงูเหลือม จึงได้เสนอแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสจากปีที่1โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องอย่างยั่งยืน ตามผลที่คาดหวังของโครงการ โรงเรียนท่าชุมนุม ได้วางแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสจากปีที่1โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องอย่างยั่งยืน |
||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
|
||||||||||||||||||||||||||||||
เป้าหมายภาวะโภชนาการ | นักเรียนเจริญเติบโตสมวัย โดยมี - ภาวะเริ่มอ้วน และอ้วน ไม่เกิน 7 % - ภาวะค่อนข้างผอมและผอมไม่เกิน 7 % - ภาวะค่อนข้างเตี้ย และเตี้ยไม่เกิน 6 % 2.นักเรียนได้กินผัก-ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้น ในมื้อกลางวัน เฉลี่ย ผักวันละ ประมาณ 40-100 กรัม(อนุบาล 3 ช้อน(50กรัม)ประถม 4 ช้อน (70 กรัม)ส่วน ประถม 1 ส่วน) ต่อมื้อต่อคน 3.ระดับความสำเร็จของโรงเรียนในการพัฒนาด้านการจัดการอาหาร - โภชนาการ - สุขภาพ บุคลากรของโรงเรียนบ้านผาเวียงมีศักยภาพด้านการจัดบริการอาหาร ตามมาตรฐานโภชนาการ โดยใช้ Thai School Lunch Program การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานในท้องถิ่น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียน ในการจัดการเรื่องอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียน |
||||||||||||||||||||||||||||||
ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล | ภายหลังจากเสร็จสิ้นโครงการแล้วโรงเรียนยังคงดำเนินกิจกรรมต่างๆของโครงการเด็กไทยแก้มใสต่อไปเพราะเป็นภารกิจสร้างคน คนสร้างชาติตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีและจะขยายผลสู่ชุมชนสู่ครอบครัวของนักเรียนอย่างแน่นอน |
||||||||||||||||||||||||||||||
พื้นที่ตั้งโรงเรียน | 115/1 หมู่ 6 ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม | ||||||||||||||||||||||||||||||
ละติจูด-ลองจิจูด | 13.853122229284,99.910397529602place |
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัย มีอารมณ์และสติปัญญาที่ดีขึ้น รวมทั้งมีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง 1.ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ไม่เกิน 7% ดูส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ(กรณีที่ภาวะโภชนาการไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดให้ลดลงจากเดิมไม่น้อยกว่า 0.5 ต่อปีมีภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกิน 7% |
||
2 | เพื่อค้นหารูปแบบลดปัญหาโภชนาการและสุขภาพของเด็กนักเรียนลงได้ มีความรู้และแนวทางในการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็กนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนลดปัญหาโภชนาการและสุขภาพ โดยนำความรู้ที่ได้ไปใช้ส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ |
||
3 | เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมผู้ปกครองและคนในชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแลภาวะสุขภาพของนักเรียน จัดสิ่งแวดล้อมอาหารที่ดีต่อสุขภาพ สร้างความยั่งยืนในการดำเนินงาน นักเรียนได้กินผัก ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวันเฉลี่ย - ผักวันละประมาณ40-100กรัม(อนุบาล 3 ช้อน(50 กรัม) ประถม 4 ช้อน(70 กรัม)และมัธยม 5 ช้อน(90 กรัม)) - ผลไม้(อนุบาล 1/2 ส่วน ประถม 1 ส่วน)ต่อมื้อต่อคน |
||
4 | เพื่อให้นักเรียนตระหนักรู้และตื่นตัวในการจัดด้านอาหารและโภชนาการ
|
||
5 | เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการรักษาความสะอาดร่างกายและดูแลพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะโดยนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
|
กิจกรรมหลัก
กิจกรรมหลัก
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | พ.ค. 59 | มิ.ย. 59 | ก.ค. 59 | ส.ค. 59 | ก.ย. 59 | ต.ค. 59 | พ.ย. 59 | ธ.ค. 59 | ม.ค. 60 | ก.พ. 60 | มี.ค. 60 | เม.ย. 60 | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | กิจกรรมเกษตรในโรงเรียน | 59,967.00 | more_vert |
||||||||||||
2 | สหกรณ์นักเรียน | 2,850.00 | more_vert |
||||||||||||
3 | กิจกรรมการจัดบริการอาหารในโรงเรียน | 4,090.00 | more_vert |
||||||||||||
4 | กิจกรรมการติดตามภาวะโภชนาการ สมรรถถาพทางกายแสะสุขภาพนักเรียน | 13,690.00 | more_vert |
||||||||||||
5 | กิจกรรมการพัฒนาสุขนิสัยนักเรียนและส่งเสริมสุขภาพนักเรียน | 5,900.00 | more_vert |
||||||||||||
6 | กิจกรรมการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน | 22,648.00 | more_vert |
||||||||||||
7 | กิจกรรมการจัดบริการสุขภาพนักเรียน | 6,380.00 | more_vert |
||||||||||||
8 | กิจกรรมการจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์อาหาร โภชนาการและสุขภาพ | 3,875.00 | more_vert |
||||||||||||
9 | เข้าร่วมประชุมการปิดการเงินงวดที่ 1 และขอเบิกเงินงวดที่ 2 | 600.00 | more_vert |
||||||||||||
รวม | 120,000.00 |
กิจกรรมย่อย
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
6-7 พ.ค. 59 | อบรมการใช้โปรแกรม | 2 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
18 พ.ค. 59 | กิจกรรมปลูกผักปลอดสารต้านทานโรค | 131 | 28,642.00 | ✔ | 12,711.00 | |
22 มิ.ย. 59 | กิจกรรมเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์ ครั้งที่ 1 | 47 | 11,025.00 | ✔ | 4,875.00 | |
14 ก.ค. 59 | การอบรมการทำน้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์จากน้ำหมักมะกรูด | 189 | 7,140.00 | ✔ | 7,140.00 | |
8 ส.ค. 59 | กิจกรรมจัดอบรมการทำสบู่สมุนไพรเสริมสุขภาพ | 99 | 6,601.00 | ✔ | 6,601.00 | |
16 พ.ย. 59 | กิจกรรมจัดอบรมแม่ครัว แม่ค้าและผู้สนใจในเรื่องอาหารและโภชนาการ | 43 | 4,090.00 | ✔ | 3,990.00 | |
21 พ.ย. 59-3 ก.พ. 60 | ปลูกผักต้านทานโรค ครั้งที่ 2 | 548 | 0.00 | ✔ | 22,427.00 | |
24 พ.ย. 59 | กิจกรรมลดอ้วน ลดโรค | 89 | 11,490.00 | ✔ | 8,220.00 | |
25 พ.ย. 59 | ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำรายงานโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสงวดที่1 และขอเบิกเงินงวดที่ 2 | 2 | 600.00 | ✔ | 0.00 | |
1 ธ.ค. 59 | จัดกิจกรรมโครงการขยะจ๋าบูรณาการเกษตร | 657 | 4,500.00 | ✔ | 4,500.00 | |
2 ธ.ค. 59 | กิจกรรมขยับกายทุกวัน สร้างสรรค์สุขภาพ | 718 | 6,380.00 | ✔ | 6,300.00 | |
22 ธ.ค. 59 | กิจกรรมห้องเรียน 3 ดี | 559 | 4,407.00 | ✔ | 4,408.00 | |
27 ธ.ค. 59 | ฐานการเรียนรู้สหกรณ์นักเรียน | 18 | 2,850.00 | ✔ | 2,850.00 | |
24 ม.ค. 60-28 ก.พ. 60 | กิจกรรมบูรณาการเกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพ | 372 | 3,875.00 | ✔ | 5,011.00 | |
1-28 ก.พ. 60 | เลี้ยงปลาน้ำจืดในบ่อปูนซีเมนส์ครั้งที่ 2 | 548 | 0.00 | ✔ | 7,055.00 | |
10 ก.พ. 60 | อบรมครูเรื่องการติดตามภาวะโภชนาการและการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียน | 35 | 2,200.00 | ✔ | 2,200.00 | |
14 ก.พ. 60 | ประกวดวัยใส ใส่ใจสุขภาพฟันและเพลงล้างมือ | 500 | 5,900.00 | ✔ | 5,900.00 | |
23-20 ก.พ. 60 | เลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์อารมณ์ดีไข่แดง | 596 | 20,300.00 | ✔ | 16,980.00 | |
6 เม.ย. 60 | จัดทำรายงานปิดโครงการ งวด 2 พร้อมคืนดอกเบี้ย | 1 | 0.00 | ✔ | 13.73 | |
รวม | 1,968 | 120,000.00 | 19 | 121,181.73 |
ไฟล์เอกสาร
โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2559 00:18 น.