ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านบ่อหิน จังหวัดตรัง
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 100,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นาย สุนทร ประเสริฐกุล
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นางจินตนา ประเสริฐกุล
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นายเวชพงศ์ หนูด้วง
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นายชาติคมศักดิ์ บุญพรหม
ที่ปรึกษาโครงการ 1 นางสุคนธ์ สุวรรณบันดิษฐ์
ที่ปรึกษาโครงการ 2
ที่ปรึกษาโครงการ 3
ผู้ประสานงานภาค วิลาวัณย์ สวัสดีนฤนาท
หลักการและเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณะสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ

สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น

สถานการณ์ด้านภาวะโภชนาการของโรงเรียนบ้านบ่อหิน นักเรียนอ้วน จำนวน 5 คน ร้อยละ 2.55 นักเรียนผอม จำนวน 11 ร้อยละ 5.61 สมส่วน จำนวน 180 คน ร้อยละ 91.84

จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียน บ้านบ่อหินจึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

กรอบแนวคิด
  1. ส่งเสริมด้านอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ โดยการส่งเสริมด้านเศรษฐกิจ เพื่อให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง เข่น การปลูกผักสวนครัว เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงกบ เลี้ยงปลา เพื่อโครงการอาหารกลางวันแบบยั่งยืน
  2. ส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพตามโครงการ TO BE NUMBER ONE และจัดสร้างลานกีฬาในโรงเรียนขึ้น
  3. โครงการวิถีพุทธ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้จิตสงบ มีสมาธิ มีจิตสาธารณะ โดยให้ผู้เรียนได้ฝึกนั่งสมาธิ สวดมนต์ แต่งกายชุดขาวทุกวันศุกร์ของสัปดาห์
  4. ส่งเสริมทักษะ การงานสู่อาชีพและการบริการสุขภาพในโรงเรียน โดยฝึกให้ผู้เรียนตัดผมชาย- หญิง ตัดเล็บ กำจัดเหา สระผม เป็นต้น
  5. อนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน มีโครงการธนาคารขยะ การปรับภูมิทัศน์ในโรงเรียน และจัดสร้างแหล่งเรียนรู้ ทั้ง 8 ด้าน ดังนั้น โรงเรียน บ้านบ่อหิน จึงได้เสนอแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสจากปีที่1โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องอย่างยั่งยืน
กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 196
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 10
ผู้ปกครอง 30
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 236236
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 0
อสม. 0
ชุมชน 0
ผู้นำศาสนา 10
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 10
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 6
อื่น ๆ 0
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 26
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียน.มีสุขภาพและพัฒนาพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัยมีอารมณ์ดีและสติปัญญาดีขึ้นมีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง
  2. โรงเรียนมีรูปแบบลดปัญหาโภชนาการและสุขภาพของเด็กนักเรียนลงได้มีความรู้และแนวทางในการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็กนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. พ่อแม่ผู้ปกครองและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาเด็กนักเรียนในด้านต่างๆ ช่วยสร้างเสริมความอบอุ่นและความเข็มแข็งให้กับครอบครัวและชุมชน
  4. เป็นแหล่งเรียนรู้แก่นักเรียน ชุมชน และสถานศึกษาอื่น ได้ศึกษา
  5. ชุมชน พ่อแม่ผู้ปกครองมีความตระหนักรู้และตื่นตัวในการจัดการด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียน
เป้าหมายภาวะโภชนาการ
  1. นักเรียนเจริญเติบโตสมวัย โดยมี

    • ภาวะเริ่มอ้วน และอ้วน ไม่เกิน ๒ %
    • ภาวะผอม ไม่เกิน ๕ %
    • ภาวะเตี้ยไม่เกิน ๒ %
  2. นักเรียนได้กินผัก-ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้น ในมื้อกลางวัน เฉลี่ย

    • ผักวันละ ประมาณ 40-100 กรัม (อนุบาล 3 ช้อน (50 กรัม)ประถม 4 ช้อน (70 กรัม))
    • ผลไม้(อนุบาล ½ ส่วน ประถม 1 ส่วน) ต่อมื้อต่อคน
ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล

1.เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จ จะมีการดำเนินการต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไร

ดำเนินการต่อเนื่อง เพื่อเป็นการการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนให้เกิดความต่อเนื่องอย่างยั่งยืน และเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่โรงเรียนอื่นๆ

2.ระบุวิธีการขยายผลจากการดำเนินโครงการ และชุมชน หรือผู้อื่นจะใช้ประโยชน์จากผลของโครงการนี้อย่างไร

  1. เชิญคณะกรรมการสถานศึกษาเยี่ยมชมโครงการ เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตผักกางมุ้งและการปลูกผักในแปลงธรรมดา โดยใช้ปุ๋ยหมัก
  2. เชิญตัวแทนผู้ปกครอง เยี่ยมชม โครงการเพื่อเป็นแนวทางในการผลิตผักกางมุ้ง การปลูกผักในแปลงธรรมดา โดยใช้ปุ๋ยหมักและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในครอบครัวได้ 3.ผลักดันให้ผู้ปกครองเป็นผู้ดูแลด้านอาหารและโภชนาการร่วมกับครู และแม่ครัวที่โรงเรียน รวมทั้งการจัดสิ่งแวดล้อมทางอาหารของครอบครัว ที่จะเอื้อให้เด็กได้บริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
พื้นที่ตั้งโรงเรียน หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.5705806342661,99.346036613017place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 40,000.00
2 1 ต.ค. 2559 6 เม.ย. 2560 1 ต.ค. 2559 4 เม.ย. 2560 55,000.00
3 7 เม.ย. 2560 30 เม.ย. 2560 5,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาสุขภาวะ และโภชนาการของเด็กและเยาวชน
  1. นักเรียนเจริญเติบโตสมวัย โดยมี ภาวะเริ่มอ้วน และอ้วน ไม่เกิน ๒% ภาวะค่อนข้างผอมและผอมไม่เกิน ๕% ภาวะค่อนข้างเตี้ย และเตี้ย ไม่เกิน ๒% (กรณีที่ภาวะโภชนาการไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดให้ลดลงจากเดิมไม่น้อยกว่า 0.5 ต่อปี)

  2. นักเรียนได้กินผัก-ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้น ในมื้อกลางวัน เฉลี่ย

2.1 ผักวันละ ประมาณ 40-100 กรัม (อนุบาล 3 ช้อน (50 กรัม)ประถม4 ช้อน (70 กรัม))

2.2 ผลไม้ (อนุบาล ½ ส่วน ประถม 1 ส่วน) ต่อมื้อต่อคน

2 2. เพื่อสร้างการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะเด็กและเยาวชน

2.1 เด็กมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินผักและผลไม้เพิ่มขึ้น เฉลี่ยประมาณ 40-100 กรัม ในมื้ออาหารเย็น และอาหารว่าง (ติตตามผลโดยครูและผู้ปกครอง)

2.2 นักเรียนประมาณ 80% มีพฤติกรรมสุขภาวะที่ดี ได้แก่ การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร มีการแปรงฟันหลังทานอาหาร รวมทั้งแปรงฟันก่อนเข้านอน และมีการคัดแยกขยะก่อนทิ้งลงถัง

2.3 ทางโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมออกกำลังกาย ก่อนเรียน (อาจจะเน้นที่เด็กมีภาวะอ้วนเป็นพิเศษ)

2.4 นักเรียนประมาณ 80 % ของจำนวนเด็กในโรงเรียน ให้ความร่วมมือทำกิจกรรมศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

3 3. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนเพิ่มขึ้น

3.1 โรงเรียนมีระดับความสำเร็จในด้านการเชื่อมโยงอาหารและสุขภาพ อยู่ในระดับ 4

3.2 จำนวนกิจกรรมที่มีส่วนร่วมของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนเพิ่มขึ้น 40%

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมหลัก

ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 59มิ.ย. 59ก.ค. 59ส.ค. 59ก.ย. 59ต.ค. 59พ.ย. 59ธ.ค. 59ม.ค. 60ก.พ. 60มี.ค. 60เม.ย. 60
1 การพัฒนาศักยภาพ ทรัพยากรมนุษย์ 1,980.00                         more_vert
2 การผลิตพืชอาหารปลอดภัย 12,870.00                         more_vert
3 การถ่ายทอดความรู้ 17,000.00                         more_vert
4 สุขอนามัยที่ดี 11,800.00                         more_vert
5 การเลี้ยงสัตว์ 50,350.00                         more_vert
6 แก้มใสสัญจรศึกษาดูงาน 6,000.00                         more_vert
รวม 100,000.00

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
3 มิ.ย. 59 เชิญวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยหมัก การเตรียมดิน 15 1,980.00 0.00 more_vert
13-17 มิ.ย. 59 พัฒนาสิ่งแวดล้อมรอบๆ บ่อปลา (ปลูกต้นชะอม) 64 3,000.00 0.00 more_vert
15 มิ.ย. 59 จัดซื้อพันธุ์ปลาน้ำจืด 12 13,750.00 10,880.00 more_vert
15-22 ก.ย. 59 จัดซื้ออาหารไก่ 34 10,000.00 10,120.00 more_vert
24 ก.ย. 59 ซื้อพันธ์ุไก่ไข่เพิ่มเติม 2 19,000.00 19,000.00 more_vert
12 ต.ค. 59 การตรวจเอกสารการเงินและผลดำเนินงานปิดงวดที่1 2 1,560.00 1,560.00 more_vert
6 ม.ค. 60 การเลี้ยงกบ 0 3,870.00 3,870.00 more_vert
18 ก.พ. 60 อบรมครูและนักเรียนเรื่องการปลูกผักกางมุ้ง การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงปลาที่ถูกต้องตามหลักโภชานาการ 130 5,000.00 6,400.00 more_vert
20 ก.พ. 60 เชิญวิทยากร จากสาธณะสุขอำเภอสิเกา มา ให้ความรู้แก่ ครูผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวัน และแม่ครัว 16 1,980.00 2,240.00 more_vert
21 ก.พ. 60 ครูและนักเรียนแกนนำศึกษาดูงานการปลูกผักกางมุ้งในชุมชน 24 9,900.00 13,000.00 more_vert
24-28 ก.พ. 60 กิจกรรมเด็กไทยลดพุงลดโรค 202 11,800.00 11,080.00 more_vert
24 ก.พ. 60 จัดทำ สื่อการเรียนรู้ (ป้ายไวนิลเพื่อให้ความรู้สู่ชุมชน) 42 12,000.00 12,150.00 more_vert
24 ก.พ. 60 ซื้ออาหารปลาดุก 0 4,600.00 4,700.00 more_vert
29 มี.ค. 60 ซื้ออาหารไก่(เพิ่มเติม) 7 0.00 3,440.00 more_vert
4 เม.ย. 60 คืนดอกเบี้ย เพื่อปิดโครงการ 0 0.00 42.06 more_vert
4 เม.ย. 60 ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำรายงานสรุปการเงินปิดโครงการ 2 1,560.00 1,560.00 more_vert
รวม 561 100,000.00 16 100,042.06

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2559 17:19 น.