ชื่อโรงเรียน | โรงเรียนบ้านบ่อหิน จังหวัดตรัง |
สังกัด | ?? |
หน่วยงานต้นสังกัด | ?? |
ที่อยู่โรงเรียน | หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง |
จำนวนนักเรียน | 196 คน |
ช่วงชั้น | อนุบาล,ประถม |
ผู้อำนวยการ | นาย สุนทร ประเสริฐกุล |
ครูผู้รับผิดชอบ | นางจินตนา ประเสริฐกุล |
นำเงินดอกเบี้ยคืนโครงการ ศรร เด็กไทยแก้มใส
ผล ที่เกิดขึ้น นำเงินดอกเบี้ย คืนโครงการ
- ตรวจสอบเอกสารการเงินโครงการ
- ลงรายละเอียดการทำกิจกรรม
- ประเมินศูนย์เรียนรู้
- ประเมินคุณค่าโครงการ
- จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์
ผลผลิต (Output) ได้รับการตรวจเอกสารการเงิน และปรับแก้ไขให้ถูกต้อง
จัดซื้ออาหารไก่ เพิ่มเติมสำหรับไก่พันธุ์ไข่ จำนวน 8 กระสอบ
ได้อาหารสำหรับใช้เลี้ยงไก่ แม่ไก้พันธุ์ไข่ จำนวน 80 ตัว
ได้ผลผลิตไข่ไก่ เฉลี่ยวันละ 65-72 ฟอง ส่งเข้าสหกรณ์โรงเรียน และใช้ในโครงการอาหารโรงเรียนโดยมีผลผลิตเหลือ ประมาณ100 - 150ต่อ สัปดาห์ และจัดจำหน่ายให้ชุมชน
เชิญผู้ปกครอง นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการมาเข้าร่วมฟังการอบรมการจัดอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ จากวิทยากรจาก รพ.สิเกา จ.ตรัง นักเรียนร่วมเข้าฟังการอบรมและทำกิจกรรมกับวิทยากร
ได้เชิญวิทยากรจากโรงพยาบาลสิเกา คือนักโภชนาการและคณะ ให้ความรู้กับนักเรียนและผู้ปกครองในด้านภาวะโภชนาการดังนี้
- การเกิดโรคอ้วน
- ภาวะเด็กขาดสารอาหาร
- วิธีป้องกันและแนวทางแก้ไขสำหรับเด็กอ้วน ให้อยู่ในภาวะ เจริญเติบโตตามวัย
- การเลือกบริโภคอาหาร ที่มีประโยชน์ ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน
ผู้ปกครองให้ความสนใจในการเข้าร่วมฟังการอบรมให้ความสนใจต่อบุตรหลาน
ผู้ปกรองเกิดความเข้าใจต่อภาวะโภชนาการที่ดี ขึ้น และได้เข้าใจภาวะโรคอ้วนในเด็ก
จัดทำป้ายไวนิลให้ความรู้เกี่ยวกับฐานเลี้ยงสัตว์และปลูกผัก ครูถ่ายทอดความรู้ให้หับนักเรียน เกี่ยวกับป้ายไวนิล ในฐานการเลี้ยงสัตว์และปลูกผัก
นักเรียนได้ทักษะความรู้จากการปฎิบัติจริง และการปฎิบัติที่ถูกต้องตามหลักการอย่างมีระบบ มีป้ายไวนิลสำหรับให้ความรู้ในแต่ละฐานการเลี้ยงสัตว์และปลูกผัก นักเรียนแกนนำสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับเพื่อน ชุมชน ผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงานใน โรงเรียน และ นักเรียนเองก็ได้ความรู้จากป้าย
จัดซื้ออาหารไก่พันธ์ไข่
นักเรียนชั้น ป.5 จำนวน 20 คน เข้าร่วมกิจกรรม จัดซื้ออาหารไก่ 23 กระสอบ กระสอบละ 440 บาท รวม 10,120 บาท
นักเรียนดูแลให้อาหารไก่จนสามารถออกไข่ พร้อมจำหน่ายให้สหกรณ์โรงเรียนเพื่อเป็นอาหารกลางวัน และดูแลรักษาความสะอาดบริเวณที่เลี้ยงไก่
จัดซื้ออาหารปลาดุก
การจัดซื้ออาหารปลาดุกขนาดกลาง เพื่อให้อาหารปลาตามตารางการให้อาหารได้ถูกต้อง และปลาดุกมีขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้นไม่เหมาะสำหรับการให้อาหารปลาดุกเล็ก
ปลาดุกที่เลี้ยงในบ่อได้กินอาหาร
นักเรียนได้ช่วยกันให้อาหารปลาดุกตามเวลา
ปลามีการเจริญเติบโต
ครูและนักเรียนแกนนำศึกษาดูงานการปลูกผักกางมุ้งในชุมชน ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านหนำควาย ศูนย์เพาะพันธุ์เนื้อเยื่อ จังหวัดตรัง
output ครูและนักเรียนแกนนำได้ความรู้เพิ่มเติมจากการ ศึกษาดูงานการปลูกผักกางมุ้งในชุมชน และนำมาปรับใช้ในกิจกรรมเกษตรของโรงเรียนได้
เชิญวิทยากร จากสาธณะสุข จังหวัดตรัง มา ให้ความรู้แก่ ครูผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวัน และแม่ครัว และนักเรียนแกนนำ ด้วยเร่องจัดอาหารกลางวันและสุขาภิบาลที่ดี
สาธารณะสุขอำเภอสิเกาให้ความรู้ ครู นักเรียนแกนนำ และแม่ครัว ในด้านต่างๆ ดังนี้ - ด้านความสะอาดของภาชนะสำหรับปรุงอาหาร - การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และหลังการขับถ่าย - การคัดแยกขยะภายในโรงเรียน และการลดปริมาณขยะ
ครูผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวัน และนักเรียนแกนนำ ได้รับความรู้เพิ่มเติมและถูกต้องในจัดอาหารกลางวันและสุขาภิบาลที่ดี
แม่ครัวนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในการจัดอาหารกลางวันของโรงเรียน
นักเรียน ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องกบ บนป้ายให้ความรู้
นักเรียนแกนนำสักเกตุกบในบ่อเลี้ยง เมื่อโตเต็มที่
นำกบไปปรุงเป็นอาหารกลางวัน
ผลผลิต นักเรียนเกิดทักษะในการเลี้ยงกบ โดยมีขั้นตอนดังนี้
- การให้อาหารกบนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นผู้ให้โดยการแบ่งเวรผลัดเปลี่ยนกัน จะให้วันละ 2 ครั้ง เพิ่มปริมาณตามความต้องการของกบโดยสังเกตุ จากเศษอาหารที่เหลือในช่วงเช้าถ้าไม่เหลือก็เพิ่มปริมาณ ถ้าเหลือก็ลดปริมาณ
- การทำความสะอาดบ่อเลี้ยงกบเป็นหน้าที่ของนักเรียนชายชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และนักการภารโรง โดยจะทำความสะอาดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในวันศุกร์
กบที่โตพร้อมนำไปบริโภค จะถูกจับเพื่อเป็นเมนูในอาหารกลางวันนักเรียน
เชิญวิทยากร มาให้ความรู้เกี่ยวครูและนักเรียนเรื่องการปลูกผักกางมุ้ง การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงปลาที่ถูกต้องตามหลักโภชานาการ
นักเรียนมีความเข้าใจ การปลูกผักกางมุ้ง การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงปลาที่ถูกต้องตามหลักโภชานาการ การอบรม วิทยากรมี 3 กลุ่ม กลุ่มที่1 เป็นวิทยากรจากเกษตรอำเภอให้ความรู้นักเรียนและครูเกี่ยวกับการ ปลูกผักกางมุ้งปลอดสารพิษ
โดยให้ความรู้ในด้านต่างๆดังนี้
- การคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของโรงเรียน
- การเตรียมดินปลูก ขั้น ตอนการปลูก
- การให้ปุ๋ย แต่ละระยะ ตามความต้องการของพืช
- การเก็บผลผิต และการจัดหาตลอด
วิทยากรกลุ่มที่ 2 เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ให้ความรู้ในการเลี้ยงไก่ไข่ และการเลี้ยงไก่ชนิดอื่น
โดยให้ความรู้ในด้านต่างๆดังนี้
- โรคของไก่ไข่ที่พบบ่อยและการดูแลรักษาไก่ไข่
- การให้อาหารไก่ และน้ำ
- เพิ่มเติมสำหรับการเลี้ยงไก่พันธ์ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมพร้อมทั้งแจกพันธืไก่สำหรับนักเรียนที่ต้องการนำไปเลี้ยงที่บ้าน
วิทยากรกลุ่มที่ 3 เป็นเกษตรประจำตำบลได้ให้ความรู้เกียวกับการเลี้ยงปลาในบ่อดิน และปลาในกระชัง
- การให้อาหารปลากินเนื้อ และปลากินพืช สอนวิธีการทำตารางการควบคุมอาหาร และการให้อาหาร
- แนะนำขั้นตอนการเลี้นงให้ปลาโดยเร็วในระยะเวลาที่กำหนด
นักเรียนเข้าใขและสามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนรู้ และชีวิตประจำวันได้
การเข้ารายงานระบบติดตามออนไลน์ของโครงเด็กไทยแก้มใส การตรวจเอกสารการเงินและผลดำเนินงานปิดงวดที่1
ครูได้เข้าร่วมการบันทึกกิจกรรมและรายงานผลระบบติดตามออนไลน์ของโครงการเด็กไทยแก้มใส
ครูสามารถรายงานผลโครงการและบันทึกเอกสารการเงินของโครงการเด็กไทยแก้มใสได้ถูกต้อง
จัดซื้อพันธุ์ไก่ไข่เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของนักเรียนและชดเชยในส่วนที่ไม่สามารถออกไข่ได้
นักเรียนชั้น ป4 จำนวน 25 คน เข้าร่วมกิจกรรม การเลี้ยงไก่ไข่ จำนวน 100 ตัว โดย แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการเลี้ยงไก่ดังนี้ 1. ให้อาหารไก่วันละ 1 ครั้ง เวลา15.00 น
2. เก็บไข่ไก่วันละ 1 ครั้งหลังจากการให้อาหารไก่ ไข่ไก่ที่ได้จะนำไปเก็บไว้ในธนาคารไข่ โดยเฉลี่ยแล้วจะได้ไข่ไก่ประมาณวันละ 70 ฟอง
3. ทำความสะอาดบริเวรโรงเรียนเลี้ยงไก่
นักเรียนสามารถเลี้ยงไก่ไข่และนำไข่มาใช้ในการประกอบอาหารกลางวันได้
ซื้อพันธุ์ปลาน้ำจืด -ลูกปลาแรด จำนวน 500 ตัว -ลูกปลาดุก จำนวน 2,000 ตัว -ลูกปลาหมอ จำนวน 1,000 ตัว -ลูกปลานิล จำนวน 690 ตัว
วิธีการ
นักเรียนชั้น ป.5 จำนวน 20 เข้าร่วมกิจกรรมการเลี้ยงปลาน้ำจืดในบ่อดินตามจำนวนปลาที่ ครูจัดซื้อ โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการเลี้ยงดังนี้ ครูและนักเรียนแกนนำร่วมกันแบ่งกลุ่ม สมาชิกนักเรียน ในการรับผิดชอบในด้าน การเลี้ยงดังนี้
- ให้อาหารปลาดุกในกระชังวันละ 2 ครั้ง จำนวน 200 ตัว โดยให้สัดส่วนอาหารตามตารางการให้อาหาร
- ให้อาหารปลาในบ่อดิน โดยนักเรียนให้อาหารวันละ 1 ครั้ง ก่อนเลิกเรียน สัดส่วนการให้อาหาร นักเรียนจะให้ตามตารางที่ประมงจังหวัดตรังให้คำแนะนำ
- การจับประเพื่อนำมาประกอบอาหารกลางวัน ได้รับความช่วยเหลือจากผู้ปกครองของนักเรียน
นักเรียนสามารถเลี้ยงปลากน้ำจืดในบ่อดินเพื่อใช้ในการบริการอาหารกลางวันของโรงเรียน
เพื่อให้โรงเรียนมีสิ่งแวดล้อมที่ดี และสามารถนำมาประกอบอาหารกลางวันได้ นักเรียนร่วมกับครู ปลูกต้นชะอม บริเวณรอบบ่อปลาจำนวน 300 ต้น ในวันที่13/06/2016
นักเรียนชั้น ป4-6 จำนวน 70 คน เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมรอบๆ บ่อปลา (ปลูกต้นชะอม 300 ต้น) นักเรียนสามารถพัฒนาสิ่งแวดล้อมรอบๆ บ่อปลา (ปลูกต้นชะอม 300 ต้น) นำมาจัดบริการอาหารกลางวัน
เชิญวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยหมัก การเตรียมดิน ให้กับนักเรียนและบุคลากร
ผลผลิต นักเรียนและบุคลากรทั้งหมด ในโรงเรียน ผุ้ปกครอง แกนนำชุมชนและคนในชุมชน ทั้งหมดจำนวน 30 คน เข้าร่วมกิจกรรม การผลิตปุ๋ยหมัก การเตรียมดิน
ผลลัพธ์ นักเรียนสามารถทำการผลิตปุ๋ยหมักและการเตรียมดิน โดยความควบคุม ดูแลของครูผู้รับผิดชอบ