ชื่อโรงเรียน | โรงเรียนท่างิ้ว(ต.ช.ด.อุปถัมภ์) |
สังกัด | ?? |
หน่วยงานต้นสังกัด | ?? |
ที่อยู่โรงเรียน | 182 หมู่ที่ 4 จังหวัดตรัง |
จำนวนนักเรียน | 163 คน |
ช่วงชั้น | อนุบาล,ประถม,มัธยมต้น |
ผู้อำนวยการ | นางนิสา บรรจงการ |
ครูผู้รับผิดชอบ | นางอุมาพร ไชยจิตร์ |
ดูเอกสาร ให้ถูกต้อง
รายงานผลงสดที่2และ3
-
-
นักเรียนได้ดูแปลงเกษตร และได้รับความรู้จากวิทยากร
นักเรียนสามารถนำความรู้มาใช้กับกิจกรรมเกษตรในโรงเรียนให้เกิดประสิทธิภาพ
นักเรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู็นอกสถานศึกษา
นักเรียนสามารถกลับมาใช้กับการพัฒนาโรงเรียนของตัวเองได้
มีการจัดป้ายให้ความรู้กับนักเรียน เกี่ยวกับการดูแลตัวเอง การทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกาย และมีการบูรณาการสอนในทุกๆกลุ่มวิชา
นักเรียนมีความรู้ เรื่องอาหาร การดูแลตัวเองอย่างเป็นระบบ
เจ้าหน้าที่ให้ความรู้ พร้อมทำกิจกรรมต่างๆ
นักเรียนมีความรู้เรื่องการบริโภค เพิ่มมากขึ้น
มีการจัดระบบในการใช้และดูแลห้องพยาบาลให้เกิดประโยชน์และปลอดภัย
นักเรียนทุกคนสามารถเข้าใช้บริการห้องพยาบาลได้ตลอดเวลา
ทางโรงเรียนมีการดูแลนักเรียนในเรื่องของสุขภาพอย่างถูกต้อง
นักเรียนทุกคนรู้จักการดูแลตัวเองที่ถูกต้อง ตลอดถึงการดูแลสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้สะอาด น่าอยู่
จัดอบรม สุขภาพดี...ไม่มีขาย ในเรื่องของ การไม่สูบบุหรี่ การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงสมวัย
นักเรียนที่ครได้รับความรู้ไปใช้กับตัวเองและคนในครอบครัวตลอดถึงชุมชน
มีการชี้แจงสรุปรายละเอียดของการดำเนินงานในงวดที่ ๑ โดยตรวจสอบหลักฐานการใช้จ่ายเงินตามโครงการ
ผู้ดำเนินงานตามโครงการจะได้ทราบถึงรายละเอียดต่างๆในการจัดกิจกรรมและตรวจความเรียบร้อยของหลักฐานการใช้จ่ายเงินตามโครงการที่ถูกต้อง
จัดซื้อพันธุ์ปลาทับทิม จำนวน 900 ตัว มาปล่อยลงในกระชังจำนวน 3 กระชัง
เลี้ยงปลาทับทิม จำนวน 900 ตัว เพื่อที่จะนำมาเป็นอาหารกลางวัน
๑. ประชุมบุคลากร ของโรงเรียน เพื่อว่างแผนจัดทำแผนเศรษฐกิจพอเพียง บูรณาการกับระบบสหกรณ์
๒. ครูที่เข้ารับการอบรมเื่องการทำแผนเศรษฐกิจพอเพียง บูรณาการกับระบบสหกรณ์ มาแนะนำขั้นตอนการทำแผนให้กับครูทุกคนทราบ
๓. แบ่งให้ครูประจำชั้นแต่ละชั้นทำแผนเศรษฐกิจพอเพียง บูรณาการกับระบบสหกรณ์ ขึ้น ชั้นละ รายวิชา
๑. ครูจะมีแนวทางในการจัดการสอนให้บูรณาการระบบสหกรณ์เข้ากับรายวิชาที่สอน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ๒. นักเรียนได้รับประโยชน์จากการที่เรียนรู้ระบบสหกรณ์ผสมกับระบบเศรษฐกิจพอเพียงด้านการเกษตร
ทางโรงเรียนได้มีการจัดนักเรียนออกเป็น กลุ่มๆ ดังนี้ ๑ กลุ่มปลูกข้าวไร่ ๒ กลุ่มปลูกข้าวโพด ๓ กลุ่ม เลี้ยงปลาในกระชัง ๔ กลุ่ม ปลูกข้าวโพด ๕ กลุ่มปลูกมะนาวในท่อและปลูกกล้วย ๖ กลุ่มปลูกดอกดาวเรือง มีการจัดนักเรียนเพื่อดูเเล ปราบวัชพืช และพรวนดินใส่ปุ๋ย เป็นระยะๆ
นักเรียนมีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น และมีความสุขในการทำกิจกรรม และนักเรียนบางคนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการทำเกษตรของครอบครัว
มีการจัดให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๖ จำนวน ๑๒๐ คน ครู ๑๖ คน โดยมีวิทยาการจากสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัดตรัง มาให้ความรู้กับนักเรียน โดยมีการสอนให้นักเรียนทำบัญชีรายรับรายจ่ายของตัวเอง โดยให้ ทำใบงาน และสอนลงบัญชีในสมุด " ต้นกล้าเศรษฐกิจพอเพียง " โดยการวิทยากรจัดกิจกรรมให้กับนักเรียนโดยนักเรียนส่วนใหญ่สนใจร่วมทำกิจกรรมกันอย่างสนุกสนาน หลังจบกิจกรรมนักเรียนแต่ละคนจะต้องทำบัญชีรายรับ รายจ่ายของตัวเองดดยมีครูประจำชั้นเป็นผู้ตรวจ
จากการจัดกิจกรรม
๑. นักเรียนรู้จักการประหยัด ใช้เงินอย่างมีสติ
๒. นักเรียนรู้จักคุณค่าของเงิน
๑. จัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนกลุ่มเสี่ยงเป็นเวลา ๑ วัน โดยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้จาก รพ.สต.ท่างิ้ว
๒. ทุกวันหลังเลิกเรียนนักเรียนกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วนจะมาร่วมกันทำกิจกรรมเล่นฮูลาฮุปกัน ร่วมไปถึงนักเรียนคนอื่นๆด้วย บริเวณสนามของโรงเรียน นักเรียนส่วนใหญ่ชอบกิจกรรมนี้มา นักเรียนจะสลับกันเล่นอย่างสนุกสนาน โดยที่ลืมไปเลยว่านี้เป็นการลดน้ำหนัก
จากการทำกิจกรรมนี้
๑. นักเรียนเกิดความสนุก ในการออกกำลังกาย โดยไม่คิดว่าเป็นการลดน้ำหนัก
๒. นักเรียนมีความรัก เสียสละ เพราะ ฮูลาฮุป ของโรงเรียนมีไม่พอกับจำนวนนักเรียนที่เข้ามาเล่น นักเรียนจะมีการแบ่งให้คนที่มาทีหลังเล่นด้วย
๓. นักเรียนใช้เวลาว่างหลังการเรียนให้เกิดประโยชน์
๔. นักเรียนส่วนใหญ่เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์มากขึ้น
- เสนอโครงการ/กิจกรรม
- เชิญวิทยากรจากเกษตรอำเภอมาให้ความรู้การทำปุ๋ยหมักแก่นักเรียนระดับชั้น ป.4 - ม.3
- จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการทำ
- แบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 10 คน คุณครูที่ปรึกษา 1 คน
- นักเรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรม
ผลผลิต
- นักเรียนระดับชั้น ป.4 - ม.3 เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน96คน
- ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน10 คน
ผลลัพธ์
- นักเรียนรู้จักกระบวนการกลุ่ม การทำงานเป็นทีม
- มีปุ๋ยหมักน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้ในการเกษตรของโรงเรียน
- นักเรียน ครู มีความปลอดภัยจากการบริโภคสารเคมี
- จัดเตรียมเตรียมสถานที่ในการเลี้ยงปลา (ขุดลอกสระ)
- ซื้อวัสดุทำกระชังปลา
- ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาแก่นักเรียน
- จัดซื้อพันธ์ุปลา
- นักเรียน ครู ลงมือปฏิบัติ (ปล่อยพันธุ์ปลาลงกระชังและสระ)
ผลผลิต นักเรียน ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมโครงการจำนวน 131คน
ผลลัพธุ์
- นำปลาที่ได้จากการเลี้ยงจัดทำอาหารกลางวันแก่นักเรียน และที่เหลือนำมาขายแก่ผู้ปกครอง ชุมชน ผ่านระบบสหกรณ์นักเรียน เพื่อสร้างรายได้ให้กับนักเรียน
- นักเรียนได้รับประทานปลาที่สด สะอาด ปลอดสารเคมี
- ประชุมครูและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผน
- สำรวจวัตถุดิบในโรงเรียนและชุมชน
- จัดทำเมนูอาหาร โดยใช้โปรแกรม TSL
- นำเมนูอาหารที่จัดมาทำอาหารกลางวันให้กับนักเรียนทุกคนรับประทาน
ผลผลิต 1. นักเรียน จำนวน 163 คน ครู จำนวน 16 คน 2. โปรแกรม TSL ในการจัดเมนูอาหาร 3. วัตถุดิบในโรงเรียน ท้องถิ่น ผลลัพธ์ 1. นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการ 2. ได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ ราคาถูก 3. นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนมีความพึงพอใจ
- นักเรียนศึกษา ดูงานการทำเกษตรแบบผสมผสาน
- จัดซื้อพันธุ์กล้วย พันธุ์มะนาวและท่อสำหรับปลูกมะนาว
- นักเรียนลงมือปฏิบัติ
ผลผลิต - นักเรียนได้รับประทานผลไม้ (กล้วย),(สัปปะรด) ที่ได้จากการปลูก - มีมะนาวใช้สำหรับปรุงอาหารกลางวันให้นักเรียน ผลลัพธุ์ - นักเรียนได้รับประทานผลไม้หลังอาหารกลางวัน - มีวัตถุดิบที่เพียงพอสำหรับประกอบอาหารให้กับนักเรียย
- เสนอโครงการ/กิจกรรมต่อผู้บริหาร
- ติดต่อประสานงานกับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง
- นำนักเรียนแกนนำเข้าร่วมอบรม
ผลผลิต - ครู นักเรียน จำนวน 36 คน เข้าร่วมโครงการ ผลลัพธุ์ - นักเรียนแกนนำ จำนวน 30 คนได้รับความรู้เรื่องระบบสหกรณ์ และสามารถดำเนินงานกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียนได้อย่างถูกต้อง
- เกษตรตำบลและอาจารย์จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรังให้ความรู้ด้านการทำการเกษตรแก่นักเรียน
- แบ่งกลุ่มนักเรียนปรับพื้นที่ที่ใช้ในการทำเกษตร
- จักซื้อเมล็ดพันธุ์ผัก พันธุ์พืช ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม
- นักเรียนลงมือปฏิบัติปลูกผัก
ผลผลิต - ผัก และพืชต่าง ๆ ที่ได้จากการเพาะปลูก นำผลผลิตเข้าสู้สหกรณ์นักเรียน และนำมาจัดทำอาหารกลางวันให้นักเรียนรับประทาน ผลลัพธ์ - นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานผักปลอดสารพิษ - นักเรียนมีภาวะการเจริญเติบโตตามเกณฑ์ของกรมอนามัย - นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สูงขึ้น
- นักเรียนทุกคน ทุกชั้นเรียนร่วกิจกรรมออมทรัพย์ วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 13.30 - 13.45
ผลผลิต
นักทุกคนในโรงเรียนท่างิ้ว(ต.ช.ด.อุปถัมภ์)
ผลลัพธ์
- นักเรียนทุกคนมีนิสัยรักการออม
- นักเรียนมีเงินออมและสามารถนำเงินออมมาใช้ประโยชน์ในการศึกษาของตนเอง
- ผู้ปกครองทุกคนมีความชื่นชมต่อนักเรียนและโรงเรียน