ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล)


“ โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) ”

246 ถนนมหายศ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

หัวหน้าโครงการ
นางสาวนวพรรณ อินต๊ะวงค์

ชื่อโครงการ โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล)

ที่อยู่ 246 ถนนมหายศ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน จังหวัด น่าน

รหัสโครงการ ศรร.1123-013 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-น.13

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2016 ถึง 30 เมษายน 2017


กิตติกรรมประกาศ

"โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) จังหวัดน่าน" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน 246 ถนนมหายศ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล)



บทคัดย่อ

โครงการ " โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) " ดำเนินการในพื้นที่ 246 ถนนมหายศ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน รหัสโครงการ ศรร.1123-013 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 590 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรงเรียนดรุณวิทยา (เทศบาลบ้านสวนตาล) ซึ่งได้ดำเนินการเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ ระดับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่ามีนักเรียนบางส่วนมีที่มีปัญหาเกี่ยวกับ น้ำหนัก ส่วนสูงที่ไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานหรือเกณฑ์ของทางกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ที่ได้กำหนดไว้ จึงทำให้เกิดปัญหาทุพโภชนาการของนักเรียนในโรงเรียนดรุณวิทยา (เทศบาลบ้านสวนตาล)โดยทางโรงเรียนก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ดำเนินการสำรวจ ปัญหา เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล และนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องต่อไป
ทั้งนี้ทางโรงเรียนได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการ/กิจกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยสาเหตุที่นักเรียนเกิดปัญหาทุพโภชนาการนี้ มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนที่มาเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่กับบิดา มารดา โดยตรง อยู่กับญาติ คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย ญาติพี่น้อง อาจจะมีสาเหตุที่ไม่ค่อยได้รับการเอาใจใส่เหมือนกับบิดา มารดาของตนเอง บ้านที่พักอาศัยอยู่ห่างไกลจากโรงเรียน ใช้เวลาการเดินทางมากกว่าปกติ และต้องตื่นเช้ามาโรงเรียน จึงทำให้ไม่ได้รับประทานอาหารหรือรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ อาหารที่รับประทานอาจจะไม่ได้มาตรฐานขาดการดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครองเท่าที่ควร

โดยทางโรงเรียนจึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการ/กิจกรรม เพื่อแก้ไขปัญหา ยกตัวอย่างเช่น จัดทำโครงการเลี้ยงไก่ไข่ เพาะเห็ดนางฟ้า ปลูกผักสวนครัว เลี้ยงปลา เลี้ยงกบ ปลูกพืชสมุนไพร ฯลฯเพื่อให้เด็กนักเรียนกลุ่มดังกล่าวได้รับประทานอาหารให้ครบตามหลักโภชนาการ เป็นการเสริมการแก้ไขปัญหา พร้อมกันนี้ได้มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบในโรงเรียนเกี่ยวกับการประกอบอาหาร การดูแลต่าง ๆ ได้ประกอบอาหารให้นักเรียนกลุ่มนี้ได้รับประทานในช่วงเช้า โดยมีผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู และบุคลากรทางการศึกษา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้ให้ความเอาใจใส่เป็นอย่างดีแบ่งเวร แบ่งหน้าที่รับผิดชอบดูแลในแต่ละวันเพื่อเด็กนักเรียนจะได้รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการที่ถูกต้อง เพื่อจะได้เรียนหนังสืออย่างเต็มที่ส่งผลถึงทำให้นักเรียนสนใจการเรียน มีผลการเรียนที่ดีขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ยังได้เรียนเชิญทางเจ้าหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข กัลยาณมิตร ได้มาให้ความรู้เสริม ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องการดูแลร่างกาย การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ และมีการติดตาม ประเมินผลการทำงานเป็นระยะเพื่อดูความก้าวหน้า สำหรับปัญหาเด็กอ้วน ทางโรงเรียนก็ได้คัดกรอง พร้อมกับการแก้ไขปัญหาโดยให้ความรู้ คำแนะนำ จากครูในเบื้องต้น โดยให้ออกกำลังกายกลางแจ้ง การเต้นแอโรบิก การส่งเสริมในการงดบริโภคอาหารที่มีรสหวานจัด มันจัด น้ำอัดลม น้ำหวานทุกชนิด ส่งเสริมให้ดื่มนมรสจืด มีการจดบันทึกน้ำหนัก ส่วนสูง วัดรอบเอวเป็นระยะอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบหลังจากนั้นได้เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านโภชนาการมาให้ความรู้เพิ่มเติม มีการตรวจสุขภาพร่างกายเพื่อเป็นการติดตามผล กิจกรรมดังกล่าวจะได้ดำเนินการจัดสิ่งแวดล้อมแหล่งเรียนรู้โดยการบูรณาการโครงการเกษตรพอเพียงเคียงคู่โภชนาการ ไปพร้อมกับการเรียนรู้โดยผู้เรียนเป็นคนลงมือทำเอง สถานศึกษา ชุมชนและภาคีเครื่องข่ายร่วมกันส่งเสริมสนับสนุน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้บุคลากร (ครู นักเรียน แม่ครัว ผู้ปกครอง ชุมชน) มีความรู้ความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับ สุขอนามัยและภาวะโภชนาการได้ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย
  2. เพื่อจัดการบริหารจัดการให้เป็นระบบในการนำผลผลิตทางการเกษตร มาเข้าสู่ระบบสหกรณ์นักเรียน และอาหารกลางวัน
  3. เพื่อจัดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชนที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. เพื่อให้บุคลากร (ครู นักเรียน แม่ครัว ผู้ปกครอง ชุมชน) มีความรู้ความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับ สุขอนามัยและภาวะโภชนาการได้ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย
    2. เพื่อจัดการบริหารจัดการให้เป็นระบบในการนำผลผลิตทางการเกษตร มาเข้าสู่ระบบสหกรณ์นักเรียน และอาหารกลางวัน
    3. เพื่อจัดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชนที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. อบรมการใช้งาน โปรแกรม Thai School Lunch

    วันที่ 13 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมปรึกษาคณะทำงาน มอบหมายแบ่งหน้าที่ ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้เรืื่องโภชนาการอาหารจากกองสาธารณสูข เทศบาลเมืองน่าน และการจัดทำเมนูอาหารโดยใช้โปรแกรม TSL จากครูที่รับผิดชอบ ก่อนเปิดภาคเรียน ให้กับนักเรียน ครู บุคลกรทางการศึกษา แม่ครัว ผู้ปกครองมีส่วนร่วมกันในการจัดเมนูอาหาร และสอดคล้องกับเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการอาหารกลางวันให้กับนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโภชนาการอาหารมากยิ่งขึ้น อีกทั้งได้รับความรู้เรื่องการจัดเมนูอาหารโดยใช้โปรแกรม TSL เพื่อประเมินการเจริญเติบโตของนักเรียนได้ ซึี่งผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดเมนูอาหาร และนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันที่บ้านเพื่อให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียน

     

    20 39

    2. กิจกรรมออมทรัพย์

    วันที่ 16 พฤษภาคม 2016 เวลา 07:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดตั้งธนาคารโรงเรียน สหกรณ์นักเรียน จัดกิจกรรมการออมทรัพย์จากการทำผลงานชิ้นงานผลผลิตจากการเกษตร การเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ผลงานสิ่งประดิษฐ์จากธนาคารขยะ กิจกรรมมคุเทศก์น้อย กิจกรรม พ่อค้าแม่ค้าน้อย ทำให้นักเรียนมีควาความรับผิดชอบ ประหยัดอดออม  และนำรายได้ เข้าสูธนาคารโรงเรียน ซึ่ง ได้รับความร่วมมือจากธนาคารเกษตรและสหกรณ์ สาขาน่าน ในการให้การสนันสนุนและให้ความรู้ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนได้ฝึกกิจกรรมการออมจากผลผลิตทางการเกษตร ชิ้นงาน ในกิจกรรมต่างๆ ทำให้นักเรียนมีนิสัยรักการออม ร้อยละ 100 ส่งผลให้ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดโรงเรียนธนาคาร ในระดับจังหวัดน่าน 

     

    620 610

    3. ประชุมผู้ปกครอง ชี้แจงโครงการ

    วันที่ 21 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำหนังสือเชิญผู้ปกครองแกนนำในเรื่องการดำเนินงานกิจกรรมเด็กไทยแก้มใส เพื่อรับทราบนโยบายและนำสู่การปฏิบัติ วางแผนแต่ละกิจกรรม ประชุมวางแผนงาน แบ่งหน้าที่ในการประสานการทำงาน กับทุกหน่วยงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง วางปฏิทินการดำเนินงาน
    ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการเบื้องต้น และสุขภาพอนามัยของนักเรียนรวมถึงการทำงานร่วมกันกับชุมชนในการเป็นแหล่งเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำผู้ปกครองแต่ละระดับชั้นได้มีการมอบหมายงาน แบ่งหน้าที่ที่รับผิดชอบในการให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียน จัดทำนโยบาย วางแผน จัดกิจกรรม ให้แก่นักเรียน ทุกกิจกรรม ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี และขยายผลสู่ชมชนในการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับภาวะโภชนาการที่ดีต่อลูกหลานและและคนในครอบครัว

     

    30 330

    4. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนดำเนินงาน

    วันที่ 23 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ติดต่อประสานงาน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันประชุมวางแผน ร่วมกันวางแผนโครงการกิจกรรม ทั้ง 8 องค์ประกอบ จัดปฏิทินการปฏิบัติงาน ตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร และสนับสนุนตามแผนปฏิบัติการโรงเรียน จัดแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อฝึกปฏิบัติจริง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    บุคลากรแกนนำ ได้รับทราบนโยบาย ร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน และร่วมกันจัดทำกิจกรรมตามข้อตกลง ทั้ง 8 องค์ประกอบ
    ได้กำหนดปฏิทินการดำเนินงาน ตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในแต่ละงวด ร่วมกันวางแผนกิจกรรมการให้ความรู้ การฝึกปฏิบัติให้กับนักเรียนชุมชน เพื่อการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

     

    20 50

    5. การเลี้ยงไก่ไข่ ระยะที่ 1

    วันที่ 23 พฤษภาคม 2016 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ฝึกการเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ (เลี้ยงไก่ไข่) มีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ฝึกความรับผิดชอบ และนำผลิตขายให้สหกรณ์นักเรียน นำสู่อาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนได้เรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ (เลี้ยงไก่ไข่) มีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ทำให้นักเรียนมีความรับผิดชอบ และนำผลิตขายให้สหกรณ์นักเรียน นำสู่อาหารกลางวัน

     

    42 42

    6. ค่ายลูกอ๊อด (ปฐมวัย)

    วันที่ 24 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมวางแผนการจัดกิจกรรมเข้าค่ายลูกอ๊อด ทำหนังสือเชิญร่วมกิจกรรม ดำเนินการจัดกิจกรรมค่ายลูกอ๊อด เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและปฐมวัย ให้คุ้นเคยกับสถานที่ รู้จักคุณครู และแนะนำภาวะโภชนาการ การรักษาสุขอนามัย สำหรับผู้ปกครองในการปฏิบัติตัวของนักเรียนทั้งที่บ้านและโรงเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนได้รับความสนุกสนานในการจัดกิจกรรม คุ้นเคยสถานที่และคุณครู
    ผู้ปกครองได้รับความรู้ในเรื่องภาวะโภชนาการและการรักษาสุขอนามัยการปฏิบัติตนของนักเรียน

     

    230 230

    7. ดรุณแก้มใส ใส่ใจโภชนาการ เบิกบานกายใจ

    วันที่ 28 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมดรุณแก้มใส ใส่ใจโภชนการเบิกบานกายใจ ให้ความรู้นักเรียนแกนนำ และนักเรียนทุกคน เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนการและสุขภาพอนามัย การฝึกปฏิบัติแต่ละกิจกรรม โดยจัดการเรียนรู้เป็นฐานการเรียนรู้จากวิทยากรจากโรพบาลน่าน จากกองสาธารณสุข เทศบาลเมืองน่าน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนแกนนำ และนักเรียนทุกคน ได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนการและสุขภาพอนามัย การฝึกปฏิบัติแต่ละกิจกรรม โดยจัดการเรียนรู้เป็นฐานการเรียนรู้จากวิทยากรจากโรพบาลน่าน จากกองสาธารณสุข เทศบาลเมืองน่าน
    นักเรียนได้นำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติตนเกี่ยวกับสุขบัญญัติ 10 ประการ จากการได้รับความรู้อยู่ในระดับดี จากแบบประเมินพฤติกรรมของนักเรียนแต่ละระดับชั้น

     

    89 205

    8. การปลูกพืชผักสมุนไพร

    วันที่ 30 พฤษภาคม 2016 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ระยะที่ 1 ปรับปรุงแปลงผักสมุนไพร ได้รับการสนับสนุนจากเทศบาล             จัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับพฤษศาสตร์ ในโรงเรียนและในท้องถิ่น ด้านการปลูกพืชผักสมุนไพรในโรงเรียน โดยเชิญวิทยากรเกษตรจังหวัดน่าน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความรู้             จัดสวนสมุนไพร
                ซื้อพันธุ์พิช การขยายพันธุ์พืช

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ปรับปรุงแปลงผักสมุนไพร และนักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับพฤษศาสตร์ ในโรงเรียนและในท้องถิ่น
    ผึกปฏิบัติการปลูกพืชผักสมุนไพรในโรงเรียน จัดสวนสมุนไพร การขยายพันธุ์พืช ได้มีพันธุ์พิชในการฝึกปฏิบัติการเพาะปลูก เกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ส่งสหกรณ์นักเรียน

     

    620 620

    9. สหกรณ์นักเรียน ครั้งที่ 1

    วันที่ 1 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมวางแผน ติดต่อหน่วยงานสหกรณ์จังหวัด ดำเนินการให้ความรู้นักเรียน ผู้ปกครอง คณะครูแกนนำในการจัดระบบสหกรณ์นักเรียน
    ได้ฝึกปฏิบัติการจัดทำบัญชี ในระบบสหกรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียน คณะครู ผู้ปกครอง แกนนำ ได้รับความรู้เรื่องระบบการจัดการสหกรณ์เพื่อเกษตรและอาหารกลางวัน
    ได้ฝึกปฏิบัติจัดทำบัญชี รายรับรายจ่าย และจัดระบบสหกรณ์อย่างเป็นระบบเหมาะสมตามบริบทของโรงเรียน ได้จัดตั้งสหกรณ์นักเรียน เพื่อเกษตร

     

    40 40

    10. ลานสุขภาพ

    วันที่ 6 มิถุนายน 2016 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกายใจ  ได้มีการจัดกิจกรรมสวดมนต์ นับจัวหวะมือ การฝึกสมาธิ กิจกรรมการเคลื่อนไหว ก่อนเข้าห้องเรียน จัดทำลานสุขภาพให้นักเรียนออกกำลังกายสุขภาพก่อนเข้าห้องเรียน และในกิจกรรม กีฬาพาสุข ในชั่วโมงเพิ่มเวลารู้ และช่วงพัก เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การละเล่นพื้นบ้านการออกกำลังที่เหมาะสมตามวัยสัมพันธ์กับสมอง ในกฏกติกา ประกอบการเคลื่อนไหวในลานสุขภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนได้ทำกิจกรรมสวดมนต์ นับจัวหวะมือ การฝึกสมาธิ กิจกรรมการเคลื่อนไหว ก่อนเข้าห้องเรียน นักเรียนได้ทำกิจกรรมประกอบการเคลื่อนไหวในลานสุขภาพในการออกกำลังกายสุขภาพก่อนเข้าห้องเรียน และในกิจกรรม กีฬาพาสุข ในชั่วโมงเพิ่มเวลารู้ และช่วงพัก เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การละเล่นพื้นบ้านการออกกำลังที่เหมาะสมตามวัยสัมพันธ์กับสมอง ในกฏกติกา ได้ทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัยทำให้มีร่างกายที่เจริญเติบโตตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และมีความสุขสนุกสนานในกิจกรรมลานสุขภาพ

     

    310 316

    11. การเลี้ยงปลา

    วันที่ 1 สิงหาคม 2016 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ระยะที่ 1 จัดให้ความรู้สาธิตการเลี้ยงปลา การดูแลรักษา การรู้จักพันธุ์ปลาในท้องถิ่น ฝึกปฏิบัติการเลี้ยงปลา
    ระยะที่ 2 จัดให้ความรู้วิธีการทำเมนูปลา ประกวดเมนูปลา เพื่ออาหารกลางวัน ได้รับการสนับสนุนจากประมงจังหวัดน่าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ระยะที่ 1 นักเรียนผู้ปกครองได้รับความรู้จัดให้ความรู้สาธิตการเลี้ยงปลา การดูแลรักษา การรู้จักพันธุ์ปลาในท้องถิ่น ฝึกปฏิบัติการเลี้ยงปลา
    ระยะที่ 2 นักเรียนและผู้ปกครอง คณะครู แม่ครัว ได้รับความรู้วิธีการทำเมนูปลา ประกวดเมนูปลา เพื่ออาหารกลางวัน

     

    620 620

    12. เดินแจก แลกผัก รักพอเพียง

    วันที่ 1 สิงหาคม 2016 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในระยะที่ 1 ได้ร่วนจากกองสาธารณสุข เทศบาลเมืองน่าน เกษตรจังหวัดน่าน พัฒนาที่ดินจังหวัดน่าน ประมงจังหวัดน่านและศูนย์หม่อนไหมจังหวัดน่าน จัดกิจกรรมเดินแจก แจกความรู้ในเรื่องโภชนาการอาหารและส่งเสริมสุขภาพอนามัย ที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ให้ความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก การปลูกพืชผักสมุนไพร การเพาะเห็ด การเลี้ยงปลา การปลูกหม่อนผลสดและการแปรรูป กิจกรรมแลกผัก สอบถามข้อมูลการบริโภคผักสมุนไพรในท้องถิ่น ข้อมูลการปลูกผัก รักพอเพียง
    ระยะที่ 2 ส่งเสิรมสนับสนุนขอเป็นศูนย์การเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ของชุมชน ในการส่งผลผลิตทางการเกษตรส่งสหกรณ์นักเรียน เพื่ออาหารกลางวัน ระยะที่ 3 ประกวดแปลงผักสวยงาม ผักปลอดสารพิษ เมนูอาหารผัก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ดำเนินการในระยะที่ 1 ได้ร่วนจากกองสาธารณสุข เทศบาลเมืองน่าน เกษตรจังหวัดน่าน พัฒนาที่ดินจังหวัดน่าน ประมงจังหวัดน่านและศูนย์หม่อนไหมจังหวัดน่าน จัดกิจกรรมเดินแจก แจกความรู้ในเรื่องโภชนาการอาหารและส่งเสริมสุขภาพอนามัย ที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ให้ความรู้เรื่องการทำปุ๋ยหมัก การปลูกพืชผักสมุนไพร การเพาะเห็ด การเลี้ยงปลา การปลูกหม่อนผลสดและการแปรรูป กิจกรรมแลกผัก สอบถามข้อมูลการบริโภคผักสมุนไพรในท้องถิ่น ข้อมูลการปลูกผัก รักพอเพียง ทำให้นักเรียน ผู้ปกครอง ได้รับความรู้และนำไปปฏิบัติได้ถูกต้องตามหลักโภชนาการและการทำเกษตรพอเพียง เพื่ออาหารกลางวันในการเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนร่วมกับทางโรงเรียน

     

    430 470

    13. พ่อค้าแม่ค้าน้อย

    วันที่ 1 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ฝึกปฏิบัติกิจกรรมเกษตรพอเพียงในชั่วโมงเพิ่มเวลารู้ (พาพอเพียง)จากการเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน ได้ผลผลิตทางการเกษตร ฝึกกิจกรรมพ่อค้าน้อยแม่ค้าน้อย จากผลผลิตทางการเกษตรและแปรรูป ในเขตเทศบาลเมืองน่าน เช่น ถนนคนเดินซึ่งจัดทุกวันศุกร์ เสาร์ ณ ข่วงเมืองน่าน จังหวัดน่าน และงานประเพณีแข่งเรือ ฝึกฝนเรื่องการค้าขาย กำไร ขาดทุน รายรับ รายจ่าย การทอนเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมเกษตรพอเพียงในชั่วโมงเพิ่มเวลารู้ (พาพอเพียง)จากการเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน ได้ผลผลิตทางการเกษตร ได้นำสู่สหกรณ์นักเรียนเพื่อเข้าสู่อาหารกลางวัน บางส่วนที่เหลือ ได้นำไปขายให้กับชุมชนในกิจกรรมพ่อค้าน้อยแม่ค้าน้อย ถนนคนเดินซึ่งจัดทุกวันศุกร์ เสาร์ ณ ข่วงเมืองน่าน จังหวัดน่าน และงานประเพณีแข่งเรือเพื่อฝึกฝนเรื่องการค้าขาย กำไร ขาดทุน รายรับ รายจ่าย การทอนเงิน

     

    150 0

    14. นัดตรวจโครงการฯ ทำรายงานการเงินและรายงานกิจกรรม งวดที่ 1

    วันที่ 18 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุม ชี้แจงการดำเนินงานที่ผ่านมา ตรวจสอบเอกสารการเงิน ตรวจการกรอกข้อมูลระบบออนไลน์ พิมพ์รายงานงวดที่ 1 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เข้ารับการประชุม ชี้แจงการดำเนินงานที่ผ่านมา ตรวจสอบเอกสารการเงิน ตรวจการกรอกข้อมูลระบบออนไลน์ พิมพ์รายงานงวดที่ 1 ส่งเรียบร้อย 

     

    3 0

    15. สุขภาพดีไม่มีขาย

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2016 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดซื้ออุปกรณ์กีฬาให้นักเรียนการออกกำลังกายในกิจกรรมเพิ่มเวลารู้ กีฬาพาเพลิน และกิจกรรมออกกำลังกายตอนเช้าก่อนเข้าห้องเรียนทุกวันพุธ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนได้ฝึกทักษะการใช้อุปกรณ์การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางด้านร่างกาย และมีความสุขในการเรียน

     

    590 0

    16. เลี้ยงไก่ไข่ ระยะที่ 2

    วันที่ 25 มกราคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ไข่ ประโยชน์ของการบริโภคไข่ ปรับปรุงโรงเลี้ยงไก่ไข่ และซื้อแม่พันธุ์ชุดใหม่ และนำผลผลิตที่ได้ขายให้สหกรณ์และและส่งอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ไข่ ประโยชน์ของการบริโภคไข่ ได้ปรับปรุงโรงเลี้ยงไก่ไข่ และนำผลผลิตที่ได้ขายให้สหกรณ์และและส่งอาหารกลางวัน

     

    0 90

    17. สิ่งแวดล้อมดีชีวีมีสุข

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้มีการประชาสัมพันธ์ในการให้ความรู้นักเรียนและผู้ปกครองรณรงค์เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและการโภชนาการที่ดี ส่งเสริมการกินผัก งดการบริโภคอาหารกรุบกรอบและน้ำอัดลม , ตรวจสุขภาพ วัดส่วนสูง ทุกเดือน โดยวิทยากรจากกองสาธารณสุข เทศบาลเมืองน่านได้มีการปรับปรุงห้องน้ำห้องครัว โรงอาหาร อ่างล้างมือ ห้องน้ำ และบริเวณ ในโรงเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและการโภชนาการที่ดี มีจำนวนนักเรียนที่บริโภคผักมากขึ้น ไม่บริโภคอาหารกรุบกรอบและน้ำอัดลม มีการตรวจสุขภาพ วัดส่วนสูง ทุกเดือน ซึ่งผู้ปกครองให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ส่งเสริมกิจกรรมทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนและ มีการปรับปรุงห้องน้ำห้องครัว โรงอาหาร อ่างล้างมือ ห้องน้ำ และบริเวณ ในโรงเรียน

     

    590 601

    18. ปลูกพืชผักสวนครัว ระยะที่ 2

    วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ให้ความรู้เกี่ยวกับปลูกพืชผักสวนครัว จากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน เกี่ยวกับการปลูกผักสมุนไพรในท้องถิ่น การเพาะเห็ด ทำกิจกรรม ระหว่างวันที่ (1 พย-31มีนา 60)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับปลูกพืชผักสวนครัว จากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน เกี่ยวกับการปลูกผักสมุนไพรในท้องถิ่น การเพาะเห็ด และได้ผลผลิตสู่สหกรณ์และอาหารกลางวัน

     

    190 145

    19. ให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาสุขนิสัยส่งเสริมสุขภาพและบริการสุขภาพ

    วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้มีการให้ความรู้เกี่ยวกับสุภาพอนามัย และการปฏิบัติตนที่ดี มีการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงและเฝ้าระวังเกี่ยวกับโภชนการอาหารสุขภาพอนามัยของนักเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนได้รับความรู้และการฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับสุขบัญญัติ 10 ประการในการปฏิบัติตน
    ได้รับการบริการตรวจสุขภาพ วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก เพื่อดูภาวะทางโภชนาการของนักเรียนนำผลที่ได้มาแก้ปัญหาสุขภาพอนามัยของนักเรียน (ทำกิจกรรม 1 กพ -30 มีค. 60)

     

    330 330

    20. สหกรณ์นักเรียน ครั้งที่2

    วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การดำเนินการช่วงที่ 2 จากการที่ทางสหกรณ์จังหวัดน่านได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการระบบการสหกรณ์และการจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย ทางโรงเรียนได้จัดตั้งสหกรณ์นักเรียน ฝึกนักเรียนจัดทำบัญชี ระดมหุ้นสหกรณ์ โดยนักเรียนเป็นผู้ดำเนินการเอง รับซื้อขายวัตถุดิบจากเกษตรในโรงเรียนและชุมชน ส่งต่ออาหารกลางวัน เพื่อส่งเสริมโภชนาการของนักเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทางโรงเรียนได้จัดตั้งสหกรณ์นักเรียน ฝึกนักเรียนจัดทำบัญชี มีการระดมหุ้นสหกรณ์ โดยนักเรียนเป็นผู้ดำเนินการเอง
    รับซื้อขายวัตถุดิบจากเกษตรในโรงเรียนและชุมชน ส่งต่ออาหารกลางวัน เพื่อส่งเสริมโภชนาการของนักเรียน

     

    0 110

    21. เดินแจกแลกผักรักพอเพียงเคียงคู่โภชนาการ ครั้งที่ 2

    วันที่ 10 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ให้ความรู้เรียนผู้ปกครอง ชุมชน ได้รับความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษ ทำการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้สุ่ชุมชนเกี่ยวกับเกษตรพอเพียงและการปลูกผักปลอดสารพิษ สู่สหกรณ์นักเรียน และอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนผู้ปกครอง ชุมชน ได้รับความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษ ได้จัดตั้งแหล่งเรียนรู้สุ่ชุมชนเกี่ยวกับเกษตรพอเพียงและการปลูกผักปลอดสารพิษ สู่สหกรณ์นักเรียน และอาหารกลางวัน

     

    185 0

    22. คืนดอกเบี้ยในบัญชี เพื่อปิดโครงการ

    วันที่ 17 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -

     

    3 0

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้บุคลากร (ครู นักเรียน แม่ครัว ผู้ปกครอง ชุมชน) มีความรู้ความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับ สุขอนามัยและภาวะโภชนาการได้ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละของบุคลากร (ครู นักเรียน แม่ครัว ผู้ปกครอง ชุมชน) ความรู้ความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับ สุขอนามัยและภาวะโภชนาการได้ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย 2. บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำโปรแกรม TSL และโปรแกรม BNutri-GSPในการเฝ้าระวัง 3. ร้อยละของนักเรียนมีพฤติกรรมทางสุขอนามัยการเจริญเติบโตและภาวะทางโภชนาการที่ดี (อิ่มท้องสมองใส)

    ร้อยละของตัวชี้วัดจากการการมีความรู้ความเข้าใจนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและภาวะโภชนการ มีการปฏิบัติตันที่ถูกต้องและเหมาะมากขึ้น โดยทางโรงเรียนได้ดำเนินการให้ความรู้ และนำโปรแรม Thai School Lunch มาจัดเมนูอาหารและโภชนาการที่ดีสำหรับนักเรียน โดยได้นำวัตถุดิบจากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน มาสู่ระบบสหกรณ์และอาหารกลางวันทำให้นักเรียนมีภาวะโภชนการที่ดีขึ้น และมีการติดตามโดยใช้โปรแกรม Thai Growthเข้ามาติดตามรวมถึงการได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่ดี

    2 เพื่อจัดการบริหารจัดการให้เป็นระบบในการนำผลผลิตทางการเกษตร มาเข้าสู่ระบบสหกรณ์นักเรียน และอาหารกลางวัน
    ตัวชี้วัด : 1. มีจำนวนผลผลิตทางการเกษตรในโรงเรียนรวมกับชุมชนเพียงพอต่อการบริโภคของนักเรียน 2. นักเรียนเกิดการเรียนรู้กิจกรรมสหกรณ์นักเรียนและปฏิบัติได้ถูกต้อง 3. ความพึงพอใจของนักเรียนในการใช้โปรแกรม TSL ในการประเมินสถานการณ์การบริโภคอาหารกลางวัน

    มีผลผลิตที่ได้รับจากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน และในชุมชน ส่งต่อระบบสหกรณ์และสู่อาหารกลางวันที่เพียงพอ มีการจัดตั้งระบบสหกรณ์นักเรียนโดยนักเรียนเป็นผู้ดำเนินการ มีการลงบัญชีโดยรูปแบบของสหกรณ์ตามแนวพระราชดำริ ซึีงส่งผลให้นักเรียนมีความพีงพอใจเมนูอาหารที่ถูกหลักโภชนาการมากขึ้น ทำให้ภาวะโภชนาการของนักเรียน ดีขึ้นจากปีการศึกษาที่ผ่านมา ู

    3 เพื่อจัดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชนที่ต่อเนื่องและยั่งยืน
    ตัวชี้วัด : ร้อยละความพึงพอใจของโรงเรียนและชุนในการจัดแหล่งเรียนรู้เกษตรปลอดสารพิษของชุมชน

    ร้อยละ 95 มีความพีงพอใจในการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้เกษตรปลอดสารพิษของชุมชน ทางชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และพร้อมให้การสนับสนุนทางโรงเรียนทุกๆ เรื่อง

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้บุคลากร (ครู นักเรียน แม่ครัว ผู้ปกครอง ชุมชน) มีความรู้ความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับ สุขอนามัยและภาวะโภชนาการได้ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย (2) เพื่อจัดการบริหารจัดการให้เป็นระบบในการนำผลผลิตทางการเกษตร มาเข้าสู่ระบบสหกรณ์นักเรียน และอาหารกลางวัน (3) เพื่อจัดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชนที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

    ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล)

    รหัสโครงการ ศรร.1123-013 รหัสสัญญา 58-00-2265-น.13 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

    วันที่เริ่มประเมิน

    1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    (ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    1. การเกษตรในโรงเรียน

    แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน สถานีการเรียนรู้เกษตรเพื่อเข้าสู่ระบบสหกรณ์และโครงการอาหารกลางวัน

    สถานีการเรียนรู้เกษตร การเลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชผักปลอดสารพิษ

    จัดระบบแหล่งเรียนรู้ที่ดีและเป็นกระบวนการมากขึ้น เพื่อฝึกนักเรียนรุ่นต่อรุ่นและยั่งยืน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    2. สหกรณ์นักเรียน

    การลงบัญชีที่เป็นปัจจุบันโดยใช้แบบฟอร์มของโครงการสหกรณ์นักเรียนและมีการจัดซื้อวัตถุดิบผักปลอดสารพิษจากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและ ชุมชน สู่อาหารกลางวัน

    มีการระดมทุน โดยรับสมัครเป็นสมาชิก หุ้นละ 10 บาท มีการจัดตั้งสหกรณ์นักเรียน โดยนักเรียนเป็นผู้ดำเนินการ โดยได้รับความรู้จากสหกรณ์จังหวัดน่าน ืมีการดำเนินการซื้อขายวัตถุดิบจากแหล่งเรียนรู้เกษตรในโรงเรียนและชุมชน ลงบัญชีที่เป็นปัจจุบัน และ วัตถุดิบนำสู่อาหารกลางวัน

    จะสอดแทรกเข้าสู่กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน จะรับซื้อวัตถุดิบที่หลายกหลายและจำนวนเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอต่อโครงการอาหารกลางวัน และฝึกกระบวนการทำงานเป็นทีม ความรับผิดชอบของนักเรียน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

    จัดกิจกรรมบริการอาหารกลางวัน โดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch ในการจัดโปรแกรมอาหารกลางวัน เพื่อให้นักเรียนได้รับสารอาหารครบถ้วนและเหมาะสมตามเกฑณ์ภาวะโภชนาการ

    อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ครู แม่ครัว และแกนนำนักเรียน จัดเมนูอาหารโดยใข้โปรแรม TSL นำเมนูมาจัดบริการอาหารให้นักเรียน ตรวจสอบภาวะโภชนาการทุกเดือน

    จะพัฒนาเมนูอาหารที่เหมาะสมกับวัตถุดิบในท้องถิ่น โดยทำ MOU กับชุมชน ให้จัดวัตถุดิบที่ทางโรงเรียนต้องการซึี่งต้องมีความสะอาดและความปลอดภัย

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

    ทางโรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและติดตามโภชนาการ โดยการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงทุกเดือน ได้จัดลานสุขภาพ และอุปกรณ์กีฬาที่นักเรียนสนใจ ออกกำลังตอนเช้าก่อนเข้าเรียนในช่วงฤดุหนาว และก่อนกลับบ้าน ซึ่งการตามจะใช้โปรแกรม B2ti และ Thai Growth ในการติดตามภาวะโภชนาการ ได้รับการสนับสนุนจาก กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองน่าน สาธารณสุขจังหวัดน่าน และโรงพยาบาลน่าน ในการติดตามภาวะโภชนการ

    การอบรมให้รู้

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

    ลานสุขภาพ เครื่องเล่น ออกกำลังกาย กายบริหารก่อนเข้าห้องเรียน กิจกรรสุขบัญญัติ 10 ประการ

    จัดกิจกรรมให้ความรู้กิจกรรมสุขบัญญัติ 10 ประการ และนำมาฝึกนักเรียนตามศักยภาพและความสนใจ

    จะมีการตรวจนสอบสมรรถนะของนักเรียนแต่ละระดับ เพื่อประเมินสุขภาพอนามัย

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

    มีกิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยได้รับรางวัล โรงเรียนปลอดขยะ รอบที่ 1 ติดต่อกัน 5 ปี เกี่ยวกับการจัดการขยะ และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน พัฒนาเขตงานกตัญญู

    ให้ความร้เกี่ยวกับการจัดการขยะ โรงเรียนปลอดขยะ และสิ่งแวดล้อมต่างๆ เกี่ยวกับโรงเรียปลอดภัย นำมาจัดเข้ากับการเรียนการสอนและบูรณาการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องและยั่งยืน

    พัฒนาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะโรงอาหารซึ่งได้ดำเนินการมาบ้างแต่ยังไม่เรียบร้อยและถูกสุขลักษณะ ห้องน้ำ ต่อไป

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

    มีการตรวจสุขภาพอนามัยที่ต่อเนื่อง และได้รับการสนับสนุนจากกกองสาธารณสุขเทศบาลเมืองน่าน เป็นอย่างดีในการให้ความรู้และร่วมมือตรวจสุขภาพ

    ทำการตรวจสุขภาพ อนามัยจากครูที่ปรึกษา โดยภาพรวม ในแบบบันทึกการตรวจสุขภาพ

    ฝึกนักเรียนแกนนำในการตรวจสุขภาพอนามัย จัดทำแบบบันทึกการตรวจสุขภาพที่เป็นปัจจุบัน และมีครูและวิทยากรคอยให้คำปรึกษา และนำผลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไข

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

    ได้จัดการเรียนเรียนรู้เกษตรทั้งภายในโรงเรียนและขยายสู่ชุมชน จัดตั้งสหกรณ์นักเรียน มีนักเรียนเป็นผู้ดำเนินการ แต่ยังไม่มีการรับซื้อผลผลิตจากเกตรในโรงเรียนและชุมชนยังไม่มาก

    รับผลผลิตจากเกษตรในโรงเรียนและชุมชน มาและจัดส่งสู่อาหารลางวัน

    จะทำเกษตรแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชนที่ต่อเนื่อง

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    9. อื่น ๆ
    1. การจัดกิจกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อม ทางโรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนปลอดขยะ ติดต่อกันเป็น 5 ปี
    2. การจัดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและแหล่งเรียนรู้สู่ชุมชน
    3. การบริหารจัดการบริการอาหารกลางวัน จากวัตถุดิบจากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชนสู่่ระบบสหกรณ์นักเรียนตามแนวพระราชดำริและนำสู่อาหารกลางวันโดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch

    การจัดกิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะ ติดต่อกันเป็น 5 ปี ในเรื่องสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในโรงเรียน รวมถึงเรื่องการจัดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและแหล่งเรียนรู้สู่ชุมชน เพราะเป็นโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้รับการสนับสนุน ภาคีเครือข่ายจากชุมชนและท้องถิ่นเป็นอย่างดี อีกทั้งเป็นโรงเรียนที่อยู่ตัวเมือง สามารถบริหารจัดการบริการอาหารกลางวัน จากวัตถุดิบจากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชนสู่่ระบบสหกรณ์นักเรียนตามแนวพระราชดำริและนำสู่อาหารกลางวันโดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch ได้เป็นอย่างดี

    จัดกิจกรรมให้เป็นระบบและครบองค์ประกอบตามแนวทางทั้ง 8 แนวทาง ให้มากยิ่งขึ้น

    2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

    1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

    • เทศบาลเมืองน่าน
    • กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองน่าน
    • สาธารณสุขจังหวัดน่าน
    • โรงพยาบาลน่าน
    • ชมรมผู้ปกครองนักเรียน
    • คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
    • ชุมชนบ้านสวนหอม

    2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

    โรงเรียนตั้งอยู่ในชุมชนเมืองจึงอยู่ใกล้กับหน่วยงานภาคีเครือข่ายง่ายต่อการประสานงานในการจัดกิจกรรม -ชุมชนมีอาชีพปลูกผักปลอดสารพิษจึงทำให้การประสานงานและจัดทำMOU ได้ง่าย

    3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

    ทีมงานโรงเรียนที่เข้มแข็งมีลักษณะการทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือกัน ปฏิบัติงานแบบพี่ๆน้องๆ -ได้รับความร่วมมือจากกัลยาณมิตรเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นเกษตรจังหวัด,ประมงจังหวัด,โรงพยาบาลน่าน,สาธารณสุขจังหวัด,เทศบาลเมืองน่าน

    4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

    -มีการอบรมให้ความรู้ ชี้แจงวัตถุประสงค์ ,การศึกษาดูงาน,การนิเทศติดตามการดำเนินงานตามขั้นตอนคือก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการหลังดำเนินโครงการ การสรุปผลการติดตาม ,จัดกิจกรรมให้ความรู้หน้าเสาธง,จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ,ส่งแม่ครัวเข้ารับการอบรมพัฒนาความรู้กับโรงพยาบาลน่าน

    5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

    • ผู้ปกครองมาเป็นวิทยากรให้กับนักเรียนในการสาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษ ,แปลงปลูกผักของชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับโรงเรียน, การดำเนินโครงการโดยใช้เทคนิคร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมประเมินผลของผู้ปกครองและชุมชน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

    ผักจากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนไม่เพียงพอ ต้องรับซื้อจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ส่วนผลไม้รับซื้อจากชุมชนและตลาดสดในเมืองน่าน

    เมนูและบัญชีรายการอาหารโปรแกรม Thai School Lunch

    จะพัฒนาเมนูอาหารที่มีคุณภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการอาหารมากขึ้น ทำให้น่ารับประทานยิ่งขึ้นเหมาะสมกับวัยของนักเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

    มีการเลี้ยงไก่ไข่ จำนวน 50 ตัวเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ซึ่งจะไข่ประมาณวันละ 30 ฟอง ซึ่งสัปดาห์หนึ่งจะได้ประมาณ 200 ฟอง ซึ่งไม่เพียงพอในการนำไปประกอบอาหารกลางวัน ต่อจำนวนนักเรียน ดังนั้นการเลี้ยงไก่ไข่จึงเป็นแค่การเรียนรู้ในโรงเรียน ซึ่งไม่เพียงพอต้องรับซื้อจากชุมชนและท้องตลาด

    เมนูและบัญชีรายการอาหารโปรแกรม Thai School Lunch

    จะขยายแหล่งเรียนรู้ การเลี้ยงไก่ไข่ไปสู่ชุมชนโดยให้นักเรียนนำแม่พันธุ์ไปเลี้่ยงต่อที่บ้าน และรับซื้อไข่ไก่จากนักเรียนนำเข้าสู่สหกรณ์นักเรียนและโครงการอาหารกลางวันโดยกำนดระยะเวลา่ในการดำเนินการ เพียงให้นักเรียนได้เรียนรู้การเลี้ยงไก่ไข่ และได้รับบริโภคอาหารที่ครบถ้วน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

    มีการดำเนินการเลี้ยงปลาและกบเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เพราะพื้นที่ไม่เพียงพอและไม่ได้นำมาประกอบอาหารกลางวัน แต่เป็นการเรียนรู้การเลี้ยง และมีการจัดจำหน่ายสู่สหกรณ์นักเรียน และผู้ปกครอง

    บัญชีรับซื้อวัตถุดิบอาหารของสหกรณ์นักเรียน

    ปรับเมนูอาหารให้สอดคล้องกับปลาที่โรงเรียนได้เลี้ยง และขยายผลต่อชุมชนในการเลี้ยงปลา เพื่อเป็นวัตถุดิบสู่อาหารกลางวัน ปรับการเลี้ยงกบ ซึ่งนักเรียนไม่นิยมรับประทาน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

     

     

     

    5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

    เมนูและบัญชีรายการอาหารโปรแกรม Thai School Lunch ซึ่งได้รับผักจากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและแหล่งเรียนรู้การปลูกผักปลอดสารพิษจากชุมชน

    เมนูและบัญชีรายการอาหารโปรแกรม Thai School Lunch และบัญชีการรับซื้อสหกรณ์นักเรียน

    ผักผลไม้จะทำให้น่าสนใจและน่ารับประทาน ผักผลไม้สำหรับเด็กอนุบาลมากยิ่งขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    เมนูและบัญชีรายการอาหารโปรแกรม Thai School Lunch ซึ่งได้รับผักจากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและแหล่งเรียนรู้การปลูกผักปลอดสารพิษจากชุมชน

    เมนูและบัญชีรายการอาหารโปรแกรม Thai School Lunch และบัญชีการรับซื้อสหกรณ์นักเรียน

    จัดผลไม้ตามฤดูกาลและที่มีในท้องถิ่นที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

    ได้ร่วมมือกับเกษตรจังหวัดน่าน ศูนย์วิจัยหม่อนไหม ประมงจังหวัดน่าน ในการให้ความรู้และจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและในชุมชน เพื่อผลิตวัตถุดิบผักปลอดสารพิษโดยทางโรงเรียนได้นำเมล็ดพันธุ์ผักแจกให้กับแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนชุมชนและนำมาขายให้กับสหกรณ์นักำเรียนเพื่อสู่อาหารกลางวัน

    กิจกรรมการปลูกพืชผักสวนครัว
    กิจกรรมเดินแจกแลกผักรักพอเพียง

    ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชน ที่หลากหลาย และกำหนดวัตถุดิบ ผักที่ทางโรงเรียนต้องการตามเมนูอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ และขยายผลต่อไปยังศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองน่าน และโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองน่าน ให้ใช้ระบบการจัดการเช่นเดียวกัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

    นักเรียนมีภาวะโภชนการที่ดีขึ้น มีสุขภาพ

     

     

    4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

    มีการอบรมให้ความรู้การใช้โปรแกรม Thai School Lunchให้กับผู้ปกครอง ครู แม่ครัว นักเรียนแกนนำ เพื่อจัดเมนูอาหาร

    เมนูอาหารจากโปรแกรม Thai School Lunch

    จัดปรุงแต่งหน้าตาอาหารให้น่าสนใจและชวนรับประทานมากยิ่งขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

    มีการวัดส่วนสูง และชั่งน้ำหนักทุกเดือน เพื่อติดตามภาวะทางโภชนการ ซึ่งมีกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองน่าน และโรงพยาบาลน่านคอยสนับสนุนให้คำปรึกษาในการติดตามอย่างต่อเนื่อง

    แบบบันทึกการวัดส่วนสูงและการชั่งน้ำหนักของนักเรียนแต่ละชั้น โปรแกรม Thai Growth และ B2ti

    จะจัดเครื่องชั่งน้ำหนักที่ได้มาตรฐาน ในระบบดิจิตอล และเครื่องวัดส่วนสูงมีการปรับเปลี่ยนให้ได้มาตรฐาน ที่ดีขึ้น เพื่อนำผลที่ได้มาประเมินสถานการณ์ภาวะโภชนาการที่ดีและได้มาตรฐานมากขึ้น

    3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

    สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

    ภาวะ2558 1/12558 1/22558 2/12558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/22560 1/12560 1/22560 2/12560 2/22561 1/12561 1/22561 2/12561 2/22562 1/12562 1/22562 2/12562 2/22563 1/12563 1/22563 2/12563 2/22564 1/12564 1/22564 2/1
    เตี้ย 7.72 7.72% 6.28 6.28% 7.59 7.59% 7.59 7.59% 4.89 4.89% nan nan% 2.56 2.56% 4.09 4.09% 4.91 4.91% 0.45 0.45% 0.00 0.00% 0.45 0.45% 2.80 2.80% 3.74 3.74% 0.93 0.93% 0.00 0.00% 4.55 4.55% 3.57 3.57% 3.06 3.06% 4.08 4.08% 5.29 5.29% 4.79 4.79% 4.26 4.26% 2.65 2.65% 8.84 8.84% 2.73 2.73% 2.73 2.73%
    เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 14.23 14.23% 20.92 20.92% 17.30 17.30% 17.30 17.30% 11.11 11.11% nan nan% 6.41 6.41% 12.27 12.27% 13.39 13.39% 4.02 4.02% 4.44 4.44% 4.02 4.02% 3.27 3.27% 4.21 4.21% 0.93 0.93% 3.70 3.70% 8.59 8.59% 10.71 10.71% 10.20 10.20% 10.71 10.71% 8.47 8.47% 5.32 5.32% 5.32 5.32% 5.29 5.29% 17.13 17.13% 7.65 7.65% 7.65 7.65%
    ผอม 8.98 8.98% 6.67 6.67% 11.93 11.93% 7.17 7.17% 10.67 10.67% 10.71 10.71% 8.97 8.97% 3.73 3.73% 9.82 9.82% 4.02 4.02% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 1.87 1.87% 0.93 0.93% 0.93 0.93% 0.46 0.46% 6.57 6.57% 7.14 7.14% 5.10 5.10% 2.04 2.04% 5.29 5.29% 5.29 5.29% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 2.73 2.73% 0.55 0.55% 0.00 0.00%
    ผอม+ค่อนข้างผอม 16.33 16.33% 20.42 20.42% 31.19 31.19% 14.35 14.35% 17.78 17.78% 17.86 17.86% 18.38 18.38% 9.96 9.96% 19.20 19.20% 10.71 10.71% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 3.27 3.27% 1.87 1.87% 0.93 0.93% 1.39 1.39% 12.63 12.63% 11.73 11.73% 10.20 10.20% 3.57 3.57% 11.64 11.64% 6.88 6.88% 3.70 3.70% 3.17 3.17% 11.48 11.48% 3.28 3.28% 2.19 2.19%
    อ้วน 8.16 8.16% 1.67 1.67% 5.96 5.96% 6.75 6.75% 5.33 5.33% 4.91 4.91% 5.56 5.56% 2.07 2.07% 6.25 6.25% 0.89 0.89% 0.89 0.89% 0.00 0.00% 5.14 5.14% 1.40 1.40% 1.85 1.85% 0.00 0.00% 7.07 7.07% 7.14 7.14% 6.12 6.12% 4.08 4.08% 8.99 8.99% 7.41 7.41% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 7.65 7.65% 2.19 2.19% 0.00 0.00%
    เริ่มอ้วน+อ้วน 12.65% 12.65% 5.42% 5.42% 12.84% 12.84% 12.24% 12.24% 11.11% 11.11% 10.71% 10.71% 11.97% 11.97% 7.88% 7.88% 11.61% 11.61% 4.02% 4.02% 3.11% 3.11% 1.34% 1.34% 8.41% 8.41% 4.67% 4.67% 7.87% 7.87% 3.70% 3.70% 11.62% 11.62% 11.22% 11.22% 10.71% 10.71% 8.16% 8.16% 11.64% 11.64% 9.52% 9.52% 4.23% 4.23% 4.23% 4.23% 15.85% 15.85% 7.65% 7.65% 7.10% 7.10%
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

    มีสถิติภาวะอ้วนและเริ่มอ้วนลดลงตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการ

    แบบบันทึกสถิติภาวะโภชนการนักเรียนปีการศึกษา 2558-2559

    จะให้ความรู้ผู้ปกครอง นักเรียน ในการรณรงค์ลดอาหารหวาน กรุบกรอบ ให้ทานผักผลไม้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

    ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

    แบบบันทึกสถิติภาวะโภชนการนักเรียนปีการศึกษา 2558-2559

    คัดกรองนักเรียนที่ผอมและค่อนข้างผอม มาให้ความรู้นักเรียนและผู้่ปครองและจัดอาหารเสริมนมและอาหารกลางวันให้ปริมาณเพิ่มมากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

    สถิติค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย เพิ่มขึ้น เนื่องด้วยจากคนวัดแต่ละครั้งไม่ใช่คนเดียวกันและเครื่องวัดไม่ได้มาตรฐาน

    แบบบันทึกสถิติภาวะโภชนการนักเรียนปีการศึกษา 2558-2559

    จัดเครื่องวัดส่วนสูงให้ได้มาตรฐานและให้ครูรับผิดชอบการวัดคนเดียว เพื่อให้ได้ค่าที่ตรงตามความจริงผลจะได้คลาดเคลื่อนน้อยที่สุด

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

    ได้มีการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเป็นรายกลุ่ม ได้จัดกิจกรรมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการเป็นรายกลุ่ม และไม่ได้จัดรายบุคคลที่ชัดเจน ในการปฏิบัติตัว รวมถึงผู้ปกครอง

    แบบบันทึกสถิติภาวะโภชนการนักเรียนปีการศึกษา 2558-2559

    จัดกิจกรรมเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับนักเรียนที่มีทุพโภชนาการเป็นรายบุคคล คัดกรอง ศึกษารายกรณี ในด้านภาวะทางโภชนการทั้งที่บ้านและโรงเรียน โดยขอความร่วมมือจากผู้ปกครองด้วย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

    ทางโรงเรียนแจ้งผู้ปกครองรับทราบและให้ความร่วมมือในการดำเนินการ แต่ทางโรงเรียนยังไม่ได้ประสานการส่งเสริมกิจกรรมที่ต่อเนื่อง

    แบบบันทึกสถิติภาวะโภชนการนักเรียนปีการศึกษา 2558-2559 และแบบสอบถามการประชุมผู้ปกครอง

    จัดกิจกรรมส่งเสริมการให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะทางโดภชนาการให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง อย่างต่อเนื่องมีกิจกรรมร่วมกันในการแก้ปัญหา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ
    1. บุคลากร (ครู นักเรียน แม่ครัว ผู้ปกครอง ชุมชน) มีความรู้ความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับ สุขอนามัยและภาวะโภชนาการได้ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย
    2. มีการจัดการบริหารที่เป็นระบบในการนำผลผลิตทางการเกษตร มาเข้าสู่ระบบสหกรณ์นักเรียน และอาหารกลางวัน
    3. จัดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชนที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

    รูปภาพกิจกรรม และ สรุปโครงการศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

    จะมีการขยายผลการดำเนินการสู่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองน่าน และโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองน่าน และประสานภาคีเครื่อข่ายให้มากยิ่่งขึ้น

    5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

    • เทศบาลเมืองน่าน
    • กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองน่าน
    • สาธารณสุขจังหวัดน่าน
    • โรงพยาบาลน่าน
    • ชมรมผู้ปกครองนักเรียน
    • คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
    • ชุมชนบ้านสวนหอม

    หมายเหตุ *

    • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    โรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) จังหวัด น่าน

    รหัสโครงการ ศรร.1123-013

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสาวนวพรรณ อินต๊ะวงค์ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด