แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อให้บุคลากร (ครู นักเรียน แม่ครัว ผู้ปกครอง ชุมชน) มีความรู้ความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับ สุขอนามัยและภาวะโภชนาการได้ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละของบุคลากร (ครู นักเรียน แม่ครัว ผู้ปกครอง ชุมชน) ความรู้ความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับ สุขอนามัยและภาวะโภชนาการได้ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย 2. บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำโปรแกรม TSL และโปรแกรม BNutri-GSPในการเฝ้าระวัง 3. ร้อยละของนักเรียนมีพฤติกรรมทางสุขอนามัยการเจริญเติบโตและภาวะทางโภชนาการที่ดี (อิ่มท้องสมองใส)

 

 

ร้อยละของตัวชี้วัดจากการการมีความรู้ความเข้าใจนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและภาวะโภชนการ มีการปฏิบัติตันที่ถูกต้องและเหมาะมากขึ้น โดยทางโรงเรียนได้ดำเนินการให้ความรู้ และนำโปรแรม Thai School Lunch มาจัดเมนูอาหารและโภชนาการที่ดีสำหรับนักเรียน โดยได้นำวัตถุดิบจากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน มาสู่ระบบสหกรณ์และอาหารกลางวันทำให้นักเรียนมีภาวะโภชนการที่ดีขึ้น และมีการติดตามโดยใช้โปรแกรม Thai Growthเข้ามาติดตามรวมถึงการได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่ดี

2 เพื่อจัดการบริหารจัดการให้เป็นระบบในการนำผลผลิตทางการเกษตร มาเข้าสู่ระบบสหกรณ์นักเรียน และอาหารกลางวัน
ตัวชี้วัด : 1. มีจำนวนผลผลิตทางการเกษตรในโรงเรียนรวมกับชุมชนเพียงพอต่อการบริโภคของนักเรียน 2. นักเรียนเกิดการเรียนรู้กิจกรรมสหกรณ์นักเรียนและปฏิบัติได้ถูกต้อง 3. ความพึงพอใจของนักเรียนในการใช้โปรแกรม TSL ในการประเมินสถานการณ์การบริโภคอาหารกลางวัน

 

 

มีผลผลิตที่ได้รับจากแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน และในชุมชน ส่งต่อระบบสหกรณ์และสู่อาหารกลางวันที่เพียงพอ มีการจัดตั้งระบบสหกรณ์นักเรียนโดยนักเรียนเป็นผู้ดำเนินการ มีการลงบัญชีโดยรูปแบบของสหกรณ์ตามแนวพระราชดำริ ซึีงส่งผลให้นักเรียนมีความพีงพอใจเมนูอาหารที่ถูกหลักโภชนาการมากขึ้น ทำให้ภาวะโภชนาการของนักเรียน ดีขึ้นจากปีการศึกษาที่ผ่านมา ู

3 เพื่อจัดแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชนที่ต่อเนื่องและยั่งยืน
ตัวชี้วัด : ร้อยละความพึงพอใจของโรงเรียนและชุนในการจัดแหล่งเรียนรู้เกษตรปลอดสารพิษของชุมชน

 

 

ร้อยละ 95 มีความพีงพอใจในการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้เกษตรปลอดสารพิษของชุมชน ทางชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และพร้อมให้การสนับสนุนทางโรงเรียนทุกๆ เรื่อง