ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

โรงเรียนเทศบาลวัดหนองผา


“ โรงเรียนเทศบาลวัดหนองผา ”

169/1 ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์

หัวหน้าโครงการ
นางอรนุช เชาวนปรีชา

ชื่อโครงการ โรงเรียนเทศบาลวัดหนองผา

ที่อยู่ 169/1 ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัด อุตรดิตถ์

รหัสโครงการ ศรร.1123-026 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-น.26

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2016 ถึง 30 เมษายน 2017


กิตติกรรมประกาศ

"โรงเรียนเทศบาลวัดหนองผา จังหวัดอุตรดิตถ์" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน 169/1 ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนเทศบาลวัดหนองผา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนเทศบาลวัดหนองผา



บทคัดย่อ

โครงการ " โรงเรียนเทศบาลวัดหนองผา " ดำเนินการในพื้นที่ 169/1 ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ รหัสโครงการ ศรร.1123-026 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 120,000.00 บาท จาก โรงเรียนเทศบาลวัดหนองผา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 687 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณะสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. นักเรียนมีสุขนิสัยที่ดีในการบริโภค รู้จักการป้องกัน รักษาตนเองและบุคคลใกล้ชิดให้มีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัย สมส่วนและรักการออกกำลังกาย
  2. นักเรียนสามารถนำประสบการณ์ด้านการเกษตร และการสหกรณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับตนเองและชุมชนของตนเอง
  3. นักเรียนและผู้ปกครองเครือข่ายรวมทั้งชุมชนที่สนใจ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ปลอดสารเคมีใช้เองในครัวเรือน และสามารถทำการจำหน่ายได้

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1.โรงเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรอาหารและสุขภาพสิ่งแวดล้อม 2.ลดภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียนและภาวะเสี่ยงโรคอ้วนในเด็ก 3.นักเรียนรู้จักปรับเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในโรงเรียนด้านการเกษตรอาการและสุขภาพ สิ่งแวดล้อมที่ดีไปใช้ใน ครอบครัวชุมชนและสังคมของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการร่วมมือรณรงค์ให้เกิดความยั่งยืน


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. โอมรูป (ตรวจสุขภาพก่อนเข้าเรียน)

    วันที่ 1 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ก่อนเข้าห้องเรียนครูประจำชั้นทุกห้องตรวจสุขภาพนักเรียนและให้ความรู้เกี่ยวกับด้านสุขภาพทั้งการป้องกันและรักษาตนเอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ลดการเจ็บป่วยของนักเรียนลง 2.นักเรียนมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ 3.นักเรียนสามารถดูแลตนเองให้ห่างไกลโรคได้และรู้การรักษาตนเองในเบื้องต้นได้

     

    352 352

    2. ประชุมชี้แจงผู้ปกครองหนูน้อยสมส่วน ตรวจวัดสุขภาพ

    วันที่ 13 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สำรวจนักเรียนในกลุ่มเสี่ยงภาวะโภชนาการเด็กอ้วน และการทดสอบสมรรภาพร่างกาย
    2. ประสานงานติตต่อกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและการกีฬาเพื่อขอคำแนะนำ
    3. ประชุมผู้ปกครองและขอความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรม
    4. เปิดอบรมให้ความรู้กับผู้ปกครองในการดูแลบุตรหลานที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการในชีวิตประจำวัน
    5. นำนักเรียนที่มีภาวะอ้วนเข้ารับการตรวจสุขภาพและเข้าคอสการอบรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง
    6. ให้ความรู้และแนะนำการออกกำลังกายที่ถูกต้อง
    7. ติดตามประเมินผล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้ปกครองให้ความสนใจในการเลือกอาหาร และการดูแลให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ    สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง  ผลปรากฏว่านักเรียนมีแนวโน้มว่าน้ำหนักลดลง 80%  มีการระมัดระวังในการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  นักเรียนจัดกิจกรรมการแข่งขันการกระโดดเชือก  ฮูลาฮูบ  เพื่อเป็นการส่งเสริมการออกกำลังกายและเพิ่มความสามัคคี

     

    635 303

    3. สแกนโรคติดต่อ

    วันที่ 13 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ครูประจำชั้นตรวจสุขภาพนักเรียนเป็นเบื้องต้นทุกวัน 2.เมื่อมีการระบาดของโรคติดต่อจะประสานกับโรงพยาบาลมาคัดกรองและให้ความรู้ 3.ประชุมผู้ปกครองและให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาล 4.มีความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆในการเฝ้าระวังโรค 5.นักเรียนได้คิดนวัตกรรมในการป้องกันโรค

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนในโรงเรียนไม่มีการติดเชื้อโรคในฤดูการระบาดของโรคนั้นๆ 2.เกิดนวัตกรรมในการป้องกันดูแลสุขภาพในการเกิดโรคและได้รับการยอมรับจากหน่วยงานอื่นๆ

     

    364 364

    4. อย.น้อย

    วันที่ 16 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • อบรมนักเรียนแกนน ำเครือข่ายโรงเรียนในเขตเทศบาล
    • จัดทำป้าย สื่อ ให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการ
    • แกนนำออกเผยแพร่ความรู้สร้างเครือข่าย
    • ประเมินผลกิจกรรม อย.ย้อย -ส่งกิจกรรม อย.น้อยเข้าประกวดในระดับจังหวัด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ได้รับรางวัลชนะเลิศ  การประกวดกิจกรรม  อย.น้อย  ประเภทยุวฑูต  อย.น้อย ระดับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ประจำปี 2559  ของสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ -มีแผนงานออกเยี่ยมและให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและการดูแลผู้ป่วยติดเตียง

     

    85 85

    5. อบรมศึกษาดูงานจัดตั้งสหกรณ์ที่โรงเรียน ออมทรัพย์นักเรียน สหกรณ์ร้านค้า/สหกรณ์การผลิต (เบเกอร์รี่, ผลิตภัณฑ์ปลอดสาร, ผักจากชุมชน) ครั้งที่ 1

    วันที่ 23 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นำนักเรียนแกนนำและครูผู้รับผิดชอบศึกษาดูงานสหกรณ์โรงเรียนที่ได้รับรางวัลดีเด่นของจังหวัดคือโรงเรียนวัดวังกะพี้ (วิเชียรประชานุกูล)
    2. ครูวิทยากรได้ให้ความรู้กับนักเรียนเกี่ยวกับสหกรณ์ร้านค้าและสหกรณ์ออมทรัพย์ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในการรับสมัครการทำทะเบียนสมาชิกของสหกรณ์จัดทำเอกสารของสหกรณ์
    3. จัดตั้งสหกรณ์ร้านค้าให้บริการกับสมาชิกทุกวันจันทร์ พุธศุกร์ดำเนินงานโดยคณะกรรมการสหกรณ์
    4. จัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์นักเรียน บริหารงานโดยนักเรียนและครูผู้รับผิดชอบ
    5. จัดกิจกรรมตลาดนัดถนนเด็กเดิน เดือนละ 1 ครั้ง
    6. สรุปกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการที่ได้ดำเนินกิจกรรมสหกรณ์ของหนู  ยังเป็นการเริ่มต้นยังมีปัญหาในการดำเนินงานคือ  การขาดทักษะในการทำทะเบียนและการทำบัญชี  ซึ่งแก้ปัญหาโดยการหาวิทยากรที่ชำนาญการสหกรณ์ร้านค้า  มาเป็นครูพี่เลี้ยงในการดำเนินการ  ต้องอาศัยเวลาที่จะทำให้เกิดทักษะ  ได้รับความสนใจและร่วมมือจากนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนเป็นอย่างดี  การขยายผลในระยะต่อไปจะเริ่มรณรงค์ให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมมากขึ้น  ส่วนสหกรณ์ออมทรัพย์เริ่มดำเนินการและยังขาดทักษะเหมือนกัน

     

    25 25

    6. อบรมศึกษาดูงานจัดตั้งสหกรณ์ที่โรงเรียน ออมทรัพย์นักเรียน สหกรณ์ร้านค้า/สหกรณ์การผลิต (เบเกอร์รี่, ผลิตภัณฑ์ปลอดสาร, ผักจากชุมชน) ครั้งที่ 2

    วันที่ 22 กรกฎาคม 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ครูวิทยากรได้ให้ความรู้กับนักเรียนเกี่ยวกับสหกรณ์ร้านค้าและสหกรณ์ออมทรัพย์ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในการรับสมัครการทำทะเบียนสมาชิกของสหกรณ์จัดทำเอกสารของสหกรณ์ 2. จัดตั้งสหกรณ์ร้านค้าให้บริการกับสมาชิกทุกวันจันทร์ พุธศุกร์ดำเนินงานโดยคณะกรรมการสหกรณ์ 3. จัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์นักเรียน บริหารงานโดยนักเรียนและครูผู้รับผิดชอบ 4. จัดกิจกรรมตลาดนัดถนนเด็กเดิน เดือนละ 1 ครั้ง 5. สรุปกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครูและนักเรียนผู้รับผิดชอบได้มีความเข้าใจรายละเอียดในการจัดตั้งสหกรณ์ในโรงเรียนและดำเนินการตั้งสหกรณ์

     

    26 26

    7. อบรมขยายเครือข่ายการจัดอาหารกลางวัน (thai school lunch)

    วันที่ 29 กรกฎาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ประธานกล่าวเปิดงาน -แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ด้านอาหารและโภชนาการสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ -อภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฝึกปฎิบัติการใช้โปรแกรม thai school lun -อภิปรายสรุปผล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมอบรมเข้าใจและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฝึกปฎิบัติการใช้โปรแกรม thai school lun ได้

     

    37 37

    8. จัดกิจกรรมสอดแทรกบูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้(ภาษาไทย,คณิตศาสตร์,สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม,การงานอาชีพและเทคโนโลยี,ศิลปะ,สุขศึกษาและพละ,ภาษาต่างประเทศ)

    วันที่ 10 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดแทรกเกี่ยวกับโภชนาการการดูแลตัวเองในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ -นักเรียนทำกิจกรรมในแต่ละกลุ่มสารการเรียนรู้ -สรุปผล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนได้เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโภชนาการของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

     

    354 354

    9. D 3 สามัคคีดี

    วันที่ 12 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือยุวกาชาด  และกิจกรรมหนองผาอาสาดี (จิตอาสา)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนรักใคร่สามัคคีกันในหมู่คณะ  นักเรียนมีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่รู้จักการให้

     

    376 376

    10. การจัดกิจกรรมออกกำลังกายกระโดดเชือก

    วันที่ 25 สิงหาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ออกกำลังกายอาทิตย์ละ 1 ครั้งและจัดการแข่งขันกระโดดเชือกในแต่ละระดับช่วงชั้น โดยแข่งขันเป็นทีมละ 10 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนเข้าร่วมในการออกกำลังกายและแข่งขันกระโดดเชือก

     

    70 70

    11. ศึกษาดูงานและฝึกปฎิบัติการเลี้ยงกบ

    วันที่ 8 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.นักเรียนศึกษาขั้นตอนการเลี้ยงกบ 2.นักเรียนทดลองเลี้ยงกบ  การดูแล 3.การหาตลาด  การขายผลผลิต 4.การจดบันทึก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนสามารถเลี้ยงและดูแลกบได้เจริญเติบโต 2.นักเรียนสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเองโดยมีครูเป็นที่ปรึกษา 3.นักเรียนได้ออกหาตลาดเพื่อการจำหน่ายผลผลิตของตนเป็นการเรียนรู้โดยตรง 4.นักเรียนมีความอ่อนโยน  สามัคคี  รับผิดชอบใส่ใจกันและกันมากขึ้น

     

    15 15

    12. ศึกษาแหล่งเรียนรู้และปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียน

    วันที่ 16 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ให้ความรู้กับนักเรียนในด้านการเกษตรที่เหมาะสมกับบริบทโรงเรียนที่มีพื้นที่น้อย 2.ให้ความรู้วิธีการปลูกพืชไร้ดิน  การปลูกพืชในเศษวัสดุที่มี  เช่นขวดน้ำ แก้วพลาสติก  การปลูกผักคอนโด 3.ลงมือปฏิบัติจริงโดยการแบ่งความรับผิดชอบแต่ละชั้นเรียน และการบำรุงดูแลให้เติบโต 4.สามารถขายผลผลิตของตนเองได้ 5.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้ที่บ้านของตนเอง 6.มีการร่วมมือระหว่างเครือข่ายและชุมชนเพื่อวัสดุอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ผลผลิตเจริญงอกงาม  มีแมลง  หนอนบ้างนิดหน่อย 2.นักเรียนมีความรับผิดชอบในเขตปลูกของตนเอง 3.มีการต่อยอดการผลิตน้ำหมักเพื่อป้องกันแมลงมากินผักของตน 4.นักเรียนสามารถขยายผลไปสู่ชุมชนได้ 5.นักเรียนมีวัสดุปลอดสารพิษมาบริโภคจากชุมชนเครือข่าย 6.ได้รับความร่วมมือและมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนและหน่วยงานอื่นๆ

     

    297 625

    13. ปลูกหม่อนไหม

    วันที่ 16 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประสานกรมหม่อนไหม่แพร่ มาให้ความรู้กับนักเรียนเกี่ยวกับการปลูก  ดูแล  และการแปรรูปผลผลิต 2.นักเรียนแบ่งความรับผิดชอบดูแลต้นหม่อน 3.การศึกษาการแปรรูปหม่อนเป็นสินค้า จากกรมหม่อนไหมแพร่ (ยังไม่ได้ปฏิบัติ  รอการประสานงาน)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับการปลูกหม่อน  การดูแลรักษาให้เจริญเติบโต 2.นักเรียนมีความรับผิดชอบในการดูแล 3.มีผลผลิตจากต้นหม่อนได้บริโภค 4.การแปรรูปผลหม่อน 5.ได้รับความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน

     

    95 95

    14. บันทึกสุขภาพ (อ้วน ผอม)

    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.การสำรวจภาวะโรคอ้วนและเสี่ยงอ้วนจากนักเรียนทั้งหมด  2.ติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาลอุตรดิตถ์เพื่อมาให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและการปฏิบัติตัวที่ถูกสุขลักษณะและมีภาวะโภชนาการที่สมวัย  3.ติดต่อกับผู้ปกครองนักเรียนที่มีภาวะอ้วนและเสี่ยงอ้วนเพื่อให้ความรู้  4. จัดอบรมให้ความรู้ทั้งผู้ปกครองและนักเรียน  5. นักเรียนที่ยังมีภาวะอ้วนจัดเข้าคอร์สอบรมของโรงพยาบาลอุตรดิตถ์โดยแพทย์หญิงอนงค์ ตามกำหนอในช่วงปิดเทอม 6.ประเมินผล  ติดตามผลจากผู้ปกครองและนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนและผู้ปกครองที่มีภาวะเริ่มอ้วนได้รับความรู้และคำแนะนำที่ถูกต้องจากแพทย์และผู้เกี่ยวข้องในด้านโภชนาการและนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน 2.นักเรียนที่มีภาวะอ้วนได้รับการรักษาและไดัรับความรู้ในการปฏิบัติตนที่ถูกต้องในการบริโภคในชีวิตประจำวัน 3.น้ำหนักของนักเรียนที่เข้าคอร์สกับโรงพยาบาลอุตรดิตถ์มีน้ำหนักลดลง
    4.จากจำนวนนักเรียนที่เข้าคอสร์ 7 คน มีเพียง 1 คนเท่านั้นที่กลับมามีนำ้หนักเพิ่มขึ้นหลังจากจบคอสร์ 5.ผู้ปกครองให้ความสนใจบุตรหลานของตนมากขึ้นในด้านโภชนาการ 

     

    16 16

    15. ตรวจสุขภาพด้วยตนเอง

    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ให้ความรู้กับนักเรียน 2.ฝึกการตรวจสุขภาพด้วยตนเองทุกสัปดาห์ 3.ผลัดเปลี่ยนการตรวจสุขภาพกับเพื่อน  และรู้จักสังเกตอาการที่ผิดปกติได้ 4.จัดเวรผลัดเปลี่ยนการตรวจสุขภาพให้กับน้องๆชั้นอนุบาลและประถมปีที่ 1-3

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนมีร่างกายที่สะอาดปราศจากโรคภัย 2.นักเรียนได้รับการคัดกรองโรคเบื้องต้นจากพี่ๆและเพื่อน 3.นักเรียนเกิดความรัก  สามัคคีกันมีความเอื้ออาทรต่อกัน 4.ลดการเจ็บป่วย  เนื่องจากตรวจพบแต่เบื้องต้น

     

    247 272

    16. ล้างมือ 7 ขั้นตอน

    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ครูให้ความรู้และให้นักเรียนทดลองปฏิบัติจริง 2.ให้นักเรียนปฏิบัติทุกวันก่อนทานอาหารกลางวัน 3.ให้นักเรียนรุ่นพี่ๆคอยให้ความรู้และตรวจตราให้น้องล้างมือก่อนทานอาหาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนมีสุขนิสัยที่ดี 2.นักเรียนไม่เป็นโรคติดต่อพื้นฐานที่มักระบาดในโรงเรียน 3.นักเรียนสามารถช่วยเหลือและถ่ายทอดแก่ผู้อื่นได้

     

    472 472

    17. ผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษ

    วันที่ 23 ธันวาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.นักเรียนศึกษาการทำผลิตภัณฑ์จากวิทยากร 2.นักเรียนผลิตผลิตภัณฑ์ที่ตนรับผิดชอบและออกแบบบรรจุภัณฑ์ 3.นำออกจำหน่ายและส่งสหกรณ์นักเรียนใช้ในโรงเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.โรงเรียนมีผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษร้อยเปอร์เซ็นใช้เองและจำหน่าย 2.นักเรียนผลิตได้เองโดยมีครูเป็นที่ปรึกษา 3.นักเรียนสามารถเผยแพร่ความรู้และนำไปผลิตเองที่บ้านเพื่อใช้หรือจำหน่าย 4.นักเรียนเกิดการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง

     

    40 40

    18. ตรวจเหา (ยุวกาชาด)

    วันที่ 5 มกราคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ครูประจำชั้นตรวจเหาของนักเรียนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง 2.ฝึกนักเรียนยุวกาชาดให้ช่วยกันเฝ้าระวังเรื่องเหาให้เพื่อนและน้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนในโรงเรียนไม่มีเหาทุกคน นักเรียนได้ฝึกการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

     

    222 222

    19. D 1 สุขภาพดี

    วันที่ 12 มกราคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การจัดการแข่งขันกีฬาและร่วมการแข่งขันกับหน่วยงานอื่น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้  นักเรียนมีน้ำใจนักกีฬารู้แพ้รู้ชนะ 

     

    349 349

    20. ปิ๊ดปี้ปิ๊ด

    วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาลอุตรดิตถ์  การท่องเที่ยวและกีฬา  สาธารณสุข  เทศบาล 2.นำนักเรียนและบุคลากรทดสอบสมรรถภาพทางกายเทอมละ 1 ครั้ง 3.เมื่อได้ผลการทดสอบ ได้จัดกิจกรรมนันทนาการแก่นักเรียนตามความสนใจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนได้รับการทดสอบสมรรถภาพทางกายอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง 2.เป็นการเฝ้าระวังในภาวะโรคภัยต่างๆเป็นเบื้องต้น 3.นักเรียนและบุคลากรมีสุขภาพแข็งแรงขึ้น 4.มีการร่วมมือระหว่างหน่วยงาน

     

    224 224

    21. การจัดนิทรรศการแสดงผลงานการปฎิบัติงานเด็กไทยแก้มใส

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -นักเรียนนำเสนอและจัดนิทรรศการผลงานของกิจกรรม

     

    56 53

    22. คืนดอกเบี้ยในบัญชี เพื่อปิดโครงการ

    วันที่ 31 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คืนดอกเบี้ย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คืนดอกเบี้ย

     

    3 3

    23. D 2 สะอาดดี

    วันที่ 31 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นักเรียนมีการอบรมธรรมศึกษา  บวชเณรและศีลจาริณี
    มีเขตความรับผิดชอบของตนเอง รักความสะอาด 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างในเรื่องความสะอาดได้และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ นักเรียนสามารถปฏิบัติตนตามข้อตกลงตามศาสนกิจได้เป็นอย่างดี

     

    624 624

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 นักเรียนมีสุขนิสัยที่ดีในการบริโภค รู้จักการป้องกัน รักษาตนเองและบุคคลใกล้ชิดให้มีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัย สมส่วนและรักการออกกำลังกาย
    ตัวชี้วัด : นักเรียนมีสุขภาพกายและใจที่สมบูรณ์ตามวัยของตน สามารถนำความรู้ไปใช้ได้จริงกับตนเองและคนใกล้ชิด

    นักเรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่สมบูรณ์ตามวัยและสามารถนำไปใช้ได้จริง ร้อยละ 90

    2 นักเรียนสามารถนำประสบการณ์ด้านการเกษตร และการสหกรณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับตนเองและชุมชนของตนเอง
    ตัวชี้วัด : นักเรียนร้อยละ 80 สามารถนำวิธีการด้านเกษตร สหกรณ์ไปประยุกต์ใช้ในชิวิตประวันของตนเองและคนใกล้ชิด

    นักเรียนร้อยละ 90 นักเรียนมีทักษะในด้านการเกษตร และสหกรณ์ ด้านการประหยัด การออม รู้จักใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน

    3 นักเรียนและผู้ปกครองเครือข่ายรวมทั้งชุมชนที่สนใจ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ปลอดสารเคมีใช้เองในครัวเรือน และสามารถทำการจำหน่ายได้
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้ร่วมกิจกรรมสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่ตนเองทำไดอย่างมีคุณภาพและสามารถจำหน่ายได้จริง

    ร้อยละ 90 ของผู้ร่วมกิจกรรมสามารถผลิต ผลิตภัณฑ์ที่ตนเองทำได้อย่างมีคุณภาพและสามารถจำหน่ายได้จริง

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) นักเรียนมีสุขนิสัยที่ดีในการบริโภค รู้จักการป้องกัน รักษาตนเองและบุคคลใกล้ชิดให้มีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัย สมส่วนและรักการออกกำลังกาย (2) นักเรียนสามารถนำประสบการณ์ด้านการเกษตร และการสหกรณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับตนเองและชุมชนของตนเอง (3) นักเรียนและผู้ปกครองเครือข่ายรวมทั้งชุมชนที่สนใจ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ปลอดสารเคมีใช้เองในครัวเรือน และสามารถทำการจำหน่ายได้

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

    ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนเทศบาลวัดหนองผา

    รหัสโครงการ ศรร.1123-026 รหัสสัญญา 58-00-2265-น.26 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

    วันที่เริ่มประเมิน

    1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    (ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    1. การเกษตรในโรงเรียน

    นำวัสดุเหลือใช้มาใช้ใหม่แทนกระถางต้นไม้การทำสวนครัวแนวตั้งเนื่องจากมีพื้นที่น้อยและเน้นการจัดการเกษตรเพื่อศึกษา

    มีการรณรงค์ให้มีการปลูกพืชสวนครัว ในภาชนะที่หาได้ง่ายโดยไม่ต้องซื้อเพื่อบริโภคในครัวเรือน

    ส่งเสริมให้นักเรียนมีการทำเกษตรมากขึ้นอย่างน้อยทุกครัวเรือนต้องมีเพื่อการบริโภค

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    2. สหกรณ์นักเรียน

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

    นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดเมนูอาหารเองมีการดูแลซึ่งกันและกันพี่สอนและดูแลน้องตรวจสอบคุณภาพอาหารกลางวัน

    นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดเมนูอาหารในแต่ละสัปดาห์ ทำให้เกิดประสบการณ์ตรงมีทักษะด้านโภชนาการโดยใช้โปรแกรมThaiSchool Lunch

    ปลูกฝังการรู้จักการเลือกบริโภคอาหารให้ถูกสุขลักษณะรู้จักการนำความรู้ไปแนะนำผู้อื่นได้

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

    มีการจัดตั้งกลุ่มเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการในโรงเรียน โดยใช้ชื่อว่า“หนูอิ่ม” หน้าที่สอดส่องดูแลการบริโภคอาหารและกลุ่มเสี่ยงภาวะโภชนาการ

    มีการชี้แจงกลุ่ม "หนูอิ่ม"ตามความสมัครใจและหน้าที่การปฏิบัติงานภายในโรงเรียนและมีการติดตามผลสรุปทุกสัปดาห์

    ขยายความรู้ไปยังชุมชนและทำอย่างต่อเนื่อง

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

    มีการร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่นโรงพยาบาลสาธารณสุข การท่องเที่ยวและกีฬา เป็นต้นส่งเสริมการออกกำลังกายที่ตนชอบ

    มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานในกรณีที่โรงเรียนไม่สามารถแก้ปัญหาเองได้ เช่นภาวะอ้วนได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่ง คือโรงพยาบาลสาธารณสุขเทศบาล มหาวิทยาลัยราชภัฎเป็นต้น

    ขยายความรู้ไปยังชุมชนและทำอย่างต่อเนื่อง

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

    การผลิตสเปรย์ไล่ยุงจากธรรมชาติ การทำผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษใช้ในครัวเรือน

    เกิดจากมีการระบาดของไข้เลือดออกในชุมชน นักเรียนจึงรวมกลุ่มกันทำสเปรย์ไล่ยุงจากพืชที่มีอยู่ในชุมชนมีการขยายผลจนเป็นที่ยอมรับและยังได้สนใจผลิตภัณฑ์ปลอดสารที่นำมาใช้ในโรงเรียนเพื่อลดค่าใช้จ่าย เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำหมักเป็นต้น

    นำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายในชุมชน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

    ประสานและขอความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆในการดูแลสุขภาพของนักเรียนและมีบริการสุขภาพตลอดปี

    การได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงานมาดูแลสุขภาพในหลายๆด้าน เช่น การฉีดวัคซีน การเฝ้าระวังโรคติดต่อ ทันตกรรม

    ขยายผลไปยังชุมชนใกล้เคียง

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    9. อื่น ๆ

     

     

     

    2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

    1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

    การดำเนินงานสำเร็จได้ด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายเช่น โรงพยาบาลสาธารณสุข การท่องเที่ยวและกีฬา เทศบาล มหาวิทยาลัยราชภัฎ ชุมชนที่ให้ความอนุเคราะห์ในด้านความรู้และนำบริการสุขภาพต่างๆมาให้บริการอย่างสม่ำเสมอและให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง

    2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

    เนื่องจากโรงเรียนตั้งอยู่ใกล้ชุมชนและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องการขอความช่วยเหลือและการให้บริการจึงสะดวก

    3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

    ทีมงานมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายบริหารอย่างจริงจังและเห็นความสำคัญได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองและชุมชนเป็นอย่างดีและสามารถเห็นผลเป็นรูปธรรม

    4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

    มีการเรียนรู้ไปพร้อมๆกันเพื่อเป็นการพัฒนาการด้านการแสดงออกการเป็นผู้นำมีการฟังความคิดเห็นรอบด้านจากผู้เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาที่มีฝึกการรู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างและสามารถนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์ให้ใช้ได้ดีที่สุดเหมาะสมกับบริบทของตนเองมากที่สุด

    5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

    การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองให้ความร่วมมือดีมากใส่ใจกับสุขภาพของบุตรหลานและนำความรู้ที่ได้ไปใช้จริงในชีวิตประจำวันมีการให้คำปรึกษาแนะนำตลอดเวลา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

    เพราะโรงเรียนมีพื้นที่น้อยมากจึงปลูกได้ในแนวตั้งซึ่งเหมาะกับพืชผักผลไม้บางชนิดเท่านั้นจึงเป็นไปเพื่อการศึกษาแล้วให้นักเรียนไปต่อยอดที่บ้าน

    รูปภาพ

    หาเครือข่ายเพื่อส่งผลผลิตให้โรงเรียนอย่างเพียงพอ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

    บริบทของโรงเรียนไม่เหมาะสมกับการเลี้ยงสัตว์เพราะตั้งอยู่ในชุมชนและติดที่พักอาศัยตามคำแนะนำของปศุสัตว์จังหวัด

    รูปภาพ

    นำวิทยากรมาให้ความรู้ในด้านที่นักเรียนสนใจและพาไปศึกษาดูงานในชุมชนใกล้เคียง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

    มีการเลี้ยงกบ ในปริมาณไม่มากเพื่อเป็นการเรียนรู้เพราะสถานที่ไม่เหมาะสม

    รูปภาพ

    นักเรียนสนใจเลี้ยงปลาดุกและจิ้งหรีดโดยการไปศึกษาดูงานในแหล่งอื่นๆ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

    มีร้านค้าที่อยู่ในการดูแลของอย.น้อย

    รูปภาพ

    โรงเรียนจัดบริการอาหารเช้าให้กับนักเรียนในราคาที่ถูกกว่า

    5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

    โรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการอาหารกลางวันเองจึงสามารถควบคุมได้โดยการจัดให้มีผักในปริมาณที่เหมาะสมทุกวันและมีผลไม้สามวันต่อสัปดาห์

    รูปภาพ

    โรงเรียนจัดเมนูหมุนเวียนตามความต้องการของนักเรียนโดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมครูได้แนะนำว่าอาหารที่นักเรียนเลือกนั้นเหมาะสมกับวัยของนักเรียนหรือไม่ เพื่อเป็นการเรียนรู้โดยตรง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    โรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการอาหารกลางวันเองจึงสามารถควบคุมได้โดยการจัดให้มีผักในปริมาณที่เหมาะสมทุกวันและมีผลไม้สามวันต่อสัปดาห์

    รูปภาพ

    โรงเรียนจัดเมนูหมุนเวียนตามความต้องการของนักเรียนโดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมครูได้แนะนำว่าอาหารที่นักเรียนเลือกนั้นเหมาะสมกับวัยของนักเรียนหรือไม่ เพื่อเป็นการเรียนรู้โดยตรง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    โรงเรียนเป็นผู้ดำเนินการอาหารกลางวันเองจึงสามารถควบคุมได้โดยการจัดให้มีผักในปริมาณที่เหมาะสมทุกวันและมีผลไม้สามวันต่อสัปดาห์

    รูปภาพ

    โรงเรียนจัดเมนูหมุนเวียนตามความต้องการของนักเรียนโดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมครูได้แนะนำว่าอาหารที่นักเรียนเลือกนั้นเหมาะสมกับวัยของนักเรียนหรือไม่ เพื่อเป็นการเรียนรู้โดยตรง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

    มีเครือข่ายที่ผลิตอาหารและผักปลอดสารพิษอยู่ 2 แห่งคือ เกษตรกรรม และผักบ้านครูที่ส่งผักปลอดสารมาให้อย่างสม่ำเสมอ

    รูปภาพ

    ขยายแหล่งรับซื้อมากขึ้นโดยสนับสนุนให้นักเรียนผู้ปกครองและชุมชนใกล้เคียงปลูกผักปลอดสารส่งโรงอาหารของโรงเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

    เนื่องจากมีการติดต่อเครือข่ายและหน่วยงานอื่นๆ รวมทั้งผู้ปกครอง อย่างสม่ำเสมอจึงเกิดความร่วมมือและสัมพันธ์อันดีระหว่างกันทำให้เกิดความร่วมมือการเฝ้าระวังในทุกด้านจะมีการแจ้งเตือนและให้คำแนะนำ

    รูปภาพผลงาน

    คงความสัมพันธ์อันดีและขยายผลไปยังหน่วยงานอื่นให้เห็นความสำคัญทางด้านโภชนาการ

    4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

    ใช้โปรแกรม ThaiSchool Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์ มีการปรับเปลี่ยนเมนูอาหารบ้างตามฤดูกาลผักแต่คุณค่ายังคงเดิมหรือใกล้เคียงในโปรแกรมมากที่สุด

    เมนูอาหาร

    ปรับเปลี่ยนอาหารใหม่ๆแต่คงคุณค่าตามโปรแกรม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

    มีการติดตามต้นเทอม 1 ครั้งและปลายเทอมก่อนปิดภาคเรียนอีก 1 ครั้งเพื่อดูพัฒนาการของนักเรียนในระหว่างเปิดเรียนกับปิดภาคเรียน

     

    ให้ความรู้นักเรียนและมีกิจกรรมการประกวดสุขภาพ

    3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

    สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

    ภาวะ2558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/22560 1/12560 1/22560 2/12560 2/2
    เตี้ย 3.46 3.46% 2.19 2.19% 2.19 2.19% 1.53 1.53% 1.52 1.52% 3.87 3.87% 5.48 5.48% 7.30 7.30% 5.08 5.08%
    เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 9.43 9.43% 5.94 5.94% 5.94 5.94% 7.34 7.34% 8.23 8.23% 7.74 7.74% 10.65 10.65% 14.29 14.29% 11.75 11.75%
    ผอม 4.09 4.09% 2.81 2.81% 2.81 2.81% 2.75 2.75% 1.83 1.83% 8.39 8.39% 8.39 8.39% 6.67 6.67% 5.71 5.71%
    ผอม+ค่อนข้างผอม 8.81 8.81% 5.31 5.31% 5.31 5.31% 9.48 9.48% 8.54 8.54% 16.13 16.13% 16.13 16.13% 13.33 13.33% 13.02 13.02%
    อ้วน 8.49 8.49% 6.25 6.25% 5.63 5.63% 6.12 6.12% 6.10 6.10% 9.03 9.03% 9.03 9.03% 10.48 10.48% 10.16 10.16%
    เริ่มอ้วน+อ้วน 15.41% 15.41% 13.13% 13.13% 12.50% 12.50% 15.29% 15.29% 13.41% 13.41% 17.10% 17.10% 17.10% 17.10% 18.10% 18.10% 17.78% 17.78%
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

    เนื่องจากโรงเรียนอยู่ในสังคมเมือง การบริโภคอาหารของนักเรียนจึงเป็นปัญหามากถ้าโรงเรียนเปิดนักเรียนจะสามารถควบคุมน้ำหนักได้แต่เมื่อปิดเทอมการบริโภคยังตามใจตัวเองและการควบคุมของผู้ปกครองมีน้อยภาวะอ้วนจึงปรากฎเมื่อเปิดเทอมแรกแต่เมื่อเข้าสู่กระบวนการของโรงเรียนภาวะอ้วนจึงลดลง

    บันทึกสุขภาพ

    เน้นให้การปลูกฝังสุขนิสัยที่ยั่งยืนกับนักเรียนและผู้ปกครองมากขึ้น (โดยรวมผู้ปกครองมีรายได้น้อยและนักเรียนไม่ได้อยู่กับพ่อแม่เป็นส่วนใหญ่)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

    เนื่องจากโรงเรียนอยู่ในสังคมเมือง การบริโภคอาหารของนักเรียนจึงเป็นปัญหามากถ้าโรงเรียนเปิดนักเรียนจะสามารถควบคุมการบริโภคได้แต่เมื่อปิดเทอมการบริโภคยังไม่สมบูรณ์เนื่องจากผู้ปกครองมีรายได้น้อยเป็นส่วนใหญ่นักเรียนต้องออกทำงานหารายได้ การรับประทานอาหารไม่เป็นเวลาประกอบกับส่วนใหญ๋มีครอบครัวที่ไม่พร้อม ภาวะผอมจึงปรากฎเมื่อเปิดเทอมแรก โรงเรียนจะเน้นอาหารเสริม(เน้นอาหารให้ครบมื้อ นม)ให้กับนักเรียนกลุ่มนี้พร้อมการออกกำลังกายมากขึ้น แต่เมื่อเข้าสู่กระบวนการของโรงเรียนจึงลดลง

    บันทึกสุขภาพ

    เน้นให้การปลูกฝังสุขนิสัยที่ยั่งยืนกับนักเรียนและผู้ปกครองมากขึ้น (โดยรวมผู้ปกครองมีรายได้น้อยและนักเรียนไม่ได้อยู่กับพ่อแม่เป็นส่วนใหญ่)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

    เนื่องจากโรงเรียนอยู่ในสังคมเมือง สภาพครอบครัวส่วนใหญ่จะหาเช้ากินค่ำ ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่หรือผู้ปกครองมีรายได้น้อยไม่แน่นอนการบำรุงอาหารที่ถูกสุขลักษณะตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์มีน้อยประกอบกับในวัยทารกได้รับอาหารที่ไม่ครบจึงมีภาวะร่างกายที่ไม่สมบูรณ์โรงเรียนจึงเน้นการดื่มนมและการออกกำลังกายให้นักเรียนอย่างสม่ำเสมอ

    บันทึกสุขภาพ

    เน้นให้การปลูกฝังสุขนิสัยที่ยั่งยืนกับนักเรียนและผู้ปกครองมากขึ้น (โดยรวมผู้ปกครองมีรายได้น้อยและนักเรียนไม่ได้อยู่กับพ่อแม่เป็นส่วนใหญ่)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

    จะแบ่งกลุ่มนักเรียนตามภาวะที่ปรากฎและเน้นให้ความรู้เน้นอาหารที่เหมาะกับกลุ่มนักเรียนควบคุมการออกกำลังกายที่ถูกต้องและพบแพทย์ให้ความรู้ผู้ปกครอง

    รูปภาพบันทึกสุขภาพ

    เน้นให้ความรู้ผู้ปกครองมากขึ้นและบ่อยครั้งขึ้นจัดให้มีการประกวดแข่งขันสุขภาพเพื่อจูงใจและปฏิบัติได้เป็นนิสัย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

    ให้ความรู้ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เชิญร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นในกลุ่มที่มีภาวะโภชนาการ

    รูปภาพ

    ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

    การดำเนินงานสำเร็จได้ด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายเช่น โรงพยาบาลสาธารณสุข การท่องเที่ยวและกีฬา เทศบาล มหาวิทยาลัยราชภัฎ ชุมชนที่ให้ความอนุเคราะห์ในด้านความรู้และนำบริการสุขภาพต่างๆมาให้บริการอย่างสม่ำเสมอและให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง

    หมายเหตุ *

    • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    โรงเรียนเทศบาลวัดหนองผา จังหวัด อุตรดิตถ์

    รหัสโครงการ ศรร.1123-026

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางอรนุช เชาวนปรีชา )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด