ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลวัดหนองผา
สังกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุตรดิตถ์
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 120,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 120,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรนุช เชาวนปรีชา
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นางกรอบดาว อิ่มชาลี
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นางวันทนีย์ ฟูใจ
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นางรุ่งทิวา อินแพง
ที่ปรึกษาโครงการ 1 นายวิทยา กาพิน
ที่ปรึกษาโครงการ 2 นางสุวรรณา น้อยคำนุช
ที่ปรึกษาโครงการ 3 นายประจิน พรมจุ้ย
ผู้ประสานงานภาค นางสาววิรัตน์ดา ดวงใจ
หลักการและเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณะสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น

กรอบแนวคิด

เนื่องจากโรงเรียนเทศบาวัดหนองผาเป็นโรงเรียนเทศบาลมีที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลมีพื้นที่ในการเกษตรน้อยมากการทำการเกษตรจึงเป็นไปเพื่อการศึกษาให้นักเรียนได้รับความรู้ในการประยุกต์ใช้ในการเกษตรแม้จะมีพื้นที่น้อยก็ตามเราจึงพยายามให้นักเรียนได้เรียนรู้ในหลากหลายเช่นสวนแนวตั้ง การเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่จำกัดเป็นต้นผลผลิตจึงไม่เพียงพอกับการบริโภคในโรงเรียนเราจึงได้ขยายเครือข่ายการเกษตรไปยังชุมชนให้เรียนรู้ถึงประโยชน์และโทษของการใช้สารเคมีรณรงค์การปลูกพืชโดยใช้เกษตรอินทรีย์เป็นหลักและนำผลผลิตมาใช้ประกอบอาหารในโรงเรียนให้ได้มากที่สุดโรงเรียนได้ให้แม่ครัวทำอาหารที่ถูกสุขลักษณะใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติมากที่สุดรวมทั้งได้ติดตามสุขภาวะของนักเรียนในทุกด้านทั้งด้านที่สมบูรณ์อยู่แล้วก็คงไว้ให้ดียิ่งๆขึ้นไปส่วนด้านทุพโภชนาการที่ประสบเช่น ภาวะโรคอ้วนในเด็กได้มีการเฝ้าระวังติดตามและให้คำปรึกษากับนักเรียนและผู้ปกครองโดยได้รับความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นโรงพยาบาลอุตรดิตถ์เป็นต้นนอกจากนี้เรายังส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงโดยผ่านการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ควบคู่กับการออกกำลังกายที่ถูกต้องและที่นักเรียนชอบรู้จักระวังรักษาร่างกายของตนเอง ให้แข็งแรงอยู่เสมอ สามารถปฏิเสธสิ่งให้โทษทั้งหลายอย่างรู้เท่าทันรู้จักแนะนำให้ความรู้ที่ถูกต้องกับคนใกล้ชิดได้ ดังนั้น โรงเรียน.เทศบาลวัดหนองผา จึงได้เสนอแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสจากปีที่1โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องอย่างยั่งยืน ตามผลที่คาดหวังของโครงการ สิ่งที่โรงเรียนมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนให้เกิดความต่อเนื่องอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่โรงเรียนอื่นๆมีอะไรบ้าง ( โปรดอธิบาย – ความยาวอาจมากกว่า 1 หน้ากระดาษ )
1 ด้านสุขภาพอนามัย เนื่องจากโรงเรียนตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองปัญหาด้านสุขภาพที่พบคือ โรคอ้วนหรือเสี่ยงอ้วนในเด็กและแนวโน้มจะมีเพิ่มขึ้นเนื่องจากขาดการดูแลที่ใกล้ชิดในสังคมเมืองโรงเรียนจึงจะพัฒนาต่อยอดการเฝ้าระวังการให้ความรู้การดูแลแนะนำทั้งนักเรียนและผู้ปกครองอย่างครบวงจร 2 ด้านโภชนาการปลูกฝังให้ความรู้และประสบการณ์ตรงกับนักเรียนในด้านโภชนาการและนักเรียนสามารถนำไปปฏิบัติได้ในชีวิตจริง 3. การส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อเป็นการเสริมสร้างสุขอนามัยให้สมบูรณ์แข็งแรงและสามารถเผยแพร่ไปในชุมชนได้ 4. สร้างศูนย์เรียนรู้ในด้านสุขภาพอนามัยการออกกำลังกายสำหรับนักเรียนและผู้สนใจในชุมชน 5. ด้านการเกษตรเนื่องจากโรงเรียนไม่มีเนื้อที่ในการทำการเกษตรแต่เราต้องการให้นักเรียนมีความรู้ด้านนี้เพื่อนำไปต่อยอดในครอบครัวและชุมชนการเกษตรจึงเป็นเกษตรแนวตั้งและเพื่อการเรียนรู้ 6. ด้านการค้าขายโรงเรียนต้องการจัดประสบการณ์การค้าขายโดยใช้ผลผลิตที่ผลิตได้เองให้แก่นักเรียน จะได้เรียนรู้ตั้งแต่การลงทุนกำไรขาดทุนการจำหน่ายสินค้าโดยการผ่านกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน 7. ด้านสิ่งแวดล้อมนักเรียนสามารถรักษาสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะรู้วิธีการนำกลับมาใช้ใหม่อย่างคุ้มค่าและลดปริมาณขยะได้อย่างถูกวิธี

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 332
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 23
ผู้ปกครอง 332
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 687687
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 0
อสม. 0
ชุมชน 0
ผู้นำศาสนา 3
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 4
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 5
อื่น ๆ 2
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 14
ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.โรงเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรอาหารและสุขภาพสิ่งแวดล้อม 2.ลดภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียนและภาวะเสี่ยงโรคอ้วนในเด็ก 3.นักเรียนรู้จักปรับเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในโรงเรียนด้านการเกษตรอาการและสุขภาพ สิ่งแวดล้อมที่ดีไปใช้ใน ครอบครัวชุมชนและสังคมของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการร่วมมือรณรงค์ให้เกิดความยั่งยืน

เป้าหมายภาวะโภชนาการ
  1. นักเรียนได้รับวิตามินจากพืชผักที่ปลูกเพิ่มขึ้น
  2. นักเรียนแกนนำมีความรู้และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ผู้ปกครองและขยายผลต่อชุมชน
  3. นักเรียนได้บริโภคผักปลอดสารพิษ
  4. นักเรียนและผู้ปกครองมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์และแข็งแรง
  5. นักเรียนมีภาวะความเป็นผู้นำรู้จักการบริหารจัดการตามรูปแบบของสหกรณ์ร้านค้าและออมทรัพย์
  6. นักเรียนเป็นแกนนำด้านการส่งเสริมสุขภาพโรงเรียน โดยมีส่วนร่วม MOU ,เครือข่าย

นักเรียนเจริญเติบโตสมวัยโดยมี

  • ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกิน 7 %
  • ภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกิน 11 %
  • ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ไม่เกิน 3 %
  • ดูส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ (กรณีที่ภาวะโภชนาการไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กาหนดให้ลดลงจากเดิมไม่น้อยกว่า 0.5 ต่อปี) 16 นักเรียนได้กินผัก – ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวัน เฉลี่ย ผัก วันละประมาณ 200 กรัม อนุบาล 3ช้อน ( 100.กรัม) ประถม 6-7 ช้อน ( 300 กรัม) ผลไม้ (อนุบาล 1ส่วน ประถม 2. ส่วน) ต่อมื้อต่อคน
ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล

1.เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จ จะมีการดำเนินการต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไร
มีเพื่อความยั่งยืนจากรุ่นสู่รุ่นจนสามารถปฏิบัติได้เป็นปกติในชีวิตประจำวันประสานผู้นำชุมชนนำไปขยายต่อในชุมชน

2.ระบุวิธีการขยายผลจากการดำเนินโครงการ และชุมชน หรือผู้อื่นจะใช้ประโยชน์จากผลของโครงการนี้อย่างไร

  1. เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีโอกาสเรียนรู้ในศูนย์เรียนรู้และเผยแพร่ความรู้
  2. ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
  3. หาเครือข่ายแลกเปลี่ยนการเรียนรู้
  4. เข้าร่วมประชาคมร่วมกับหน่วยงานอื่นๆเช่น โรงพยาบาลสาธารณสุขชุมชน
พื้นที่ตั้งโรงเรียน 169/1 ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
ละติจูด-ลองจิจูด 17.623460127674,100.08541166798place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 2 พ.ค. 2559 6 ก.ย. 2559 48,000.00
2 1 ต.ค. 2559 31 มี.ค. 2560 6 ก.ย. 2559 30 เม.ย. 2560 66,000.00
3 1 เม.ย. 2560 30 เม.ย. 2560 6,000.00
รวมงบประมาณ 120,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 นักเรียนมีสุขนิสัยที่ดีในการบริโภค รู้จักการป้องกัน รักษาตนเองและบุคคลใกล้ชิดให้มีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากโรคภัย สมส่วนและรักการออกกำลังกาย

นักเรียนมีสุขภาพกายและใจที่สมบูรณ์ตามวัยของตน สามารถนำความรู้ไปใช้ได้จริงกับตนเองและคนใกล้ชิด

2 นักเรียนสามารถนำประสบการณ์ด้านการเกษตร และการสหกรณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับตนเองและชุมชนของตนเอง

นักเรียนร้อยละ 80 สามารถนำวิธีการด้านเกษตร สหกรณ์ไปประยุกต์ใช้ในชิวิตประวันของตนเองและคนใกล้ชิด

3 นักเรียนและผู้ปกครองเครือข่ายรวมทั้งชุมชนที่สนใจ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ปลอดสารเคมีใช้เองในครัวเรือน และสามารถทำการจำหน่ายได้

ร้อยละ 80 ของผู้ร่วมกิจกรรมสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่ตนเองทำไดอย่างมีคุณภาพและสามารถจำหน่ายได้จริง

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมหลัก

ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 59มิ.ย. 59ก.ค. 59ส.ค. 59ก.ย. 59ต.ค. 59พ.ย. 59ธ.ค. 59ม.ค. 60ก.พ. 60มี.ค. 60เม.ย. 60
1 พัฒนาสุขภาพและส่งเสริมสุขภาพ Nongpha Healthty 35,700.00                         more_vert
2 เกษตรแบบพ่อ 49,400.00                         more_vert
3 สหกรณ์หนูน้อย 34,900.00                         more_vert
4 บริหารจัดการอาหาร หนูน้อยสมส่วน 0.00                         more_vert
5 เฝ้าระวังติดตามโภชนาการ 0.00                         more_vert
6 อนามัยสิ่งแวดล้อม หนูน้อย 3 D 0.00                         more_vert
7 บริการสุขภาพนักเรียน 0.00                         more_vert
8 บูรณาการสาระการเรียนรู้ 8 สาระ 0.00                         more_vert
รวม 120,000.00

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
13 พ.ค. 59 ประชุมชี้แจงผู้ปกครองหนูน้อยสมส่วน ตรวจวัดสุขภาพ 635 10,854.00 10,854.00 more_vert
6 มิ.ย. 59 ตรวจสุขภาพด้วยตนเอง 247 0.00 0.00 more_vert
13 มิ.ย. 59 ล้างมือ 7 ขั้นตอน 472 4,110.00 4,110.00 more_vert
14 มิ.ย. 59 อย.น้อย 85 12,250.00 12,250.00 more_vert
17 มิ.ย. 59 อบรมศึกษาดูงานจัดตั้งสหกรณ์ที่โรงเรียน ออมทรัพย์นักเรียน สหกรณ์ร้านค้า/สหกรณ์การผลิต (เบเกอร์รี่, ผลิตภัณฑ์ปลอดสาร, ผักจากชุมชน) ครั้งที่ 1 25 6,680.00 6,680.00 more_vert
30 มิ.ย. 59 บันทึกสุขภาพ (อ้วน ผอม) 16 700.00 700.00 more_vert
22 ก.ค. 59 อบรมศึกษาดูงานจัดตั้งสหกรณ์ที่โรงเรียน ออมทรัพย์นักเรียน สหกรณ์ร้านค้า/สหกรณ์การผลิต (เบเกอร์รี่, ผลิตภัณฑ์ปลอดสาร, ผักจากชุมชน) ครั้งที่ 2 26 8,150.00 8,150.00 more_vert
29 ก.ค. 59 อบรมขยายเครือข่ายการจัดอาหารกลางวัน (thai school lunch) 37 4,160.00 4,160.00 more_vert
10-30 ส.ค. 59 จัดกิจกรรมสอดแทรกบูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้(ภาษาไทย,คณิตศาสตร์,สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม,การงานอาชีพและเทคโนโลยี,ศิลปะ,สุขศึกษาและพละ,ภาษาต่างประเทศ) 354 1,497.00 1,497.00 more_vert
25 ส.ค. 59 การจัดกิจกรรมออกกำลังกายกระโดดเชือก 70 2,388.00 2,388.00 more_vert
1 พ.ย. 59 ศึกษาแหล่งเรียนรู้และปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียน 297 14,420.00 14,420.00 more_vert
7 พ.ย. 59 ศึกษาดูงานและฝึกปฎิบัติการเลี้ยงกบ 15 10,290.00 10,290.00 more_vert
11 พ.ย. 59 ปลูกหม่อนไหม 95 290.00 290.00 more_vert
18 พ.ย. 59 ผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษ 40 21,002.00 21,002.00 more_vert
1 ธ.ค. 59 ปิ๊ดปี้ปิ๊ด 224 5,410.00 5,410.00 more_vert
5 ธ.ค. 59 D 1 สุขภาพดี 349 2,765.00 2,765.00 more_vert
12 ธ.ค. 59 D 3 สามัคคีดี 376 0.00 0.00 more_vert
19 ธ.ค. 59 D 2 สะอาดดี 624 8,730.00 8,730.00 more_vert
5 ม.ค. 60 ตรวจเหา (ยุวกาชาด) 222 0.00 0.00 more_vert
11 ม.ค. 60 โอมรูป (ตรวจสุขภาพก่อนเข้าเรียน) 352 0.00 0.00 more_vert
13 ม.ค. 60 สแกนโรคติดต่อ 364 0.00 0.00 more_vert
10 ก.พ. 60 การจัดนิทรรศการแสดงผลงานการปฎิบัติงานเด็กไทยแก้มใส 56 6,304.00 6,304.00 more_vert
20 มี.ค. 60 คืนดอกเบี้ยในบัญชี เพื่อปิดโครงการ 3 0.00 49.03 more_vert
รวม 284 120,000.00 23 120,049.03

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2559 15:10 น.