ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

โรงเรียนบ้านศาลาอูมา


“ โรงเรียนบ้านศาลาอูมา ”

หมู่ที่ 9 บ้านศาลาอูมา ตำบลกายูคละ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
นายพ.เพียงเพ็ชรรัตน์

ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านศาลาอูมา

ที่อยู่ หมู่ที่ 9 บ้านศาลาอูมา ตำบลกายูคละ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ ศรร.1412-104 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-ต.22

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 กุมภาพันธ์ 2016 ถึง 30 เมษายน 2017


กิตติกรรมประกาศ

"โรงเรียนบ้านศาลาอูมา จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 9 บ้านศาลาอูมา ตำบลกายูคละ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนบ้านศาลาอูมา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนบ้านศาลาอูมา



บทคัดย่อ

โครงการ " โรงเรียนบ้านศาลาอูมา " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 9 บ้านศาลาอูมา ตำบลกายูคละ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส รหัสโครงการ ศรร.1412-104 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 กุมภาพันธ์ 2016 - 30 เมษายน 2017 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก โรงเรียนบ้านศาลาอูมา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 204 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน
2) สหกรณ์นักเรียน
3) การจัดการบริหารของโรงเรียน
4) การติดตามภาวะโภชนาการ
5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน
6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
7) การจัดบริการสุขภาพ
8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย

โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณะสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ

สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จังหวัดนราธิวาสมีโรงเรียนทั้งหมด 400 กว่าโรงเรียน ประกอบด้วย สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน มีโรงเรียนทั้งหมด 88 โรง เปิดทำการสอนสามัญควบคู่ศาสนา จำนวน 52 โรง และโรงเรียนสามัญ จำนวน 36 โรง สังกัดโรงเรียนในโครงการพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีโรงเรียนทั้งหมด 17 โรง ประกอบด้วยโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 14 โรง โรงเรียนขนาดกลาง 2 โรง และโรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน 1 โรงสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส มีโรงเรียนทั้งหมด 341 โรงเรียน ประกอบด้วยโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 87 โรง โรงเรียนขนาดกลาง จำนวน 238 โรงโรงเรียนขนาดใหญ่ จำนวน 15 โรง และโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จำนวน 1โรง

จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียน บ้านศาลาอูมา จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. วัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยการน้อมนำรูปแบบที่ดี“ด้านการจัดการอาหารโภชนาการและสุขภาพนักเรียนอย่างครบวงจรในโครงการพระราชดำริฯ” มาปฏิบัติและพัฒนาโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใส เป็นแหล่งเรียนรู้โดยตรงไปสู่โรงเรียนเครือข่าย จำนวน 8 โรง ประกอบด้วย 1.โรงเรียนบ้านตอออ 2.โรงเรียนบ้านไม้ฝาด 3.โรงเรียนบ้านสามแยก 4.โรงเรียนบ้านบาโง 5.โรงเรียนบ้านแขยง 6. โรงเรียนบ้านตือมายู 7. โรงเรียนบ้านแอแว8. โรงเรียนบ้านเพลินพิศ เพื่อการแก้ไขปัญหาการขาดสารอาหารและพัฒนาภาวะโภชนาการและสุขภาพในระยะยาว
  2. 2 วัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อสร้างการผลิตและจัดหาวัตถุดิบสนับสนุนการประกอบอาหารกลางวันได้เองอย่างยั่งยืนเพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง รวมทั้งชุมชน ได้รับความรู้จากการปฏิบัติกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่ดีด้านโภชนาการด้านเกษตรกรรมวิธีการผลิตอาหารและบริโภคอาหารถูกหลักอนามัยเพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ อย่างเพียงพอ เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย มีสุขภาพอนามัยที่ดี

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1.โรงเรียนบ้านศาลาอูมาได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสสส. ในการดำเนินงานตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ

    2.นักเรียน และผู้ปกครองมีความรู้ในเรื่องการบริโภคอาหารที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีโภชนาการเจริญเติบโตสมวัยโดยการรับประทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่ และได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าต่อสุขภาพ สะอาด ปลอดภัย

    3.บุคลากรและนักเรียนในโรงเรียนมีศักยภาพ ด้านการจัดการอาหารและโภชนาการ แบบครบวงจรและมีการขยายผลสู่ชุมชน

    4.โรงเรียนได้รับและมีการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการต่อไป

    5.นักเรียนมีสุขภาพที่สมบรูณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้

    6.นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดกับกิจกรรมในครอบครัวและหารายได้ให้กับตนเองและครอบครัวระหว่างเรียนและนำสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต

    7.นักเรียนมีความสุขในการเรียน และปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    8.โรงเรียนและชุมชนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและร่วมกันในการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. การเพาะเห็ดนางฟ้า

    วันที่ 19 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. อบรมให้ความรู้วิธีการเตรียมหัวเชื้อ/การผสมก้อนเชื้อ
    2. การเตรียมวัสดุในการจัดทำเช่น แกรบ,ผงเปลือกมะพร้าวฯ
    3. สาธิตการเตรียมและบรรจุเชื้อเห็ด
    4. นึ่งและเขี่ยเชื้อ 5.สาธิตการจัดเก็บ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1. มีนักเรียนจำนวน 105 คนเข้าร่วม 2.ครูในโรงเรียนและจากโรงเรียนเครือข่ายจำนวน 20คนเข้าร่วม 3. ผู้ปกครอง ชุมชนและเครือข่ายอื่น  เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 คน

    ผลลัพธ์ 1. นักเรียนได้รับความรู้มีทักษะและสามารถเตรียมเชื้อเห็ดได้ทุกคนที่เข้าร่วมคิดเป็นร้อยละ 100 2. ผู้ปกครองได้นำไปขยายทำต่อในครอบครัวและชุมชนร้อยละ 30 3. โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนในการเพาะเห็ดนางฟ้าให้กับโรงเรียนเครือข่ายและชุมชน 4.มีผลผลิตเห็ดนางฟ้าเข้าโครงการอาหารกลางวันผ่านสหกรณ์เฉลี่ยวันละ 4กิโลกรัม 5. นักเรียนมีเห็ดรับประทานในโครงการอาหารกลางวัน 6. มีก้อนเห็ดจำหน่ายให้กับชุมชน 7. นักเรียนแกนนำสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับน้องๆโดยไม่มีครูคอยควบคุม

     

    110 168

    2. นักเรียนทำบอร์ดนิทรรศการ และทำอาหารแปรรูปผลผลิตจากการเกษตรในโรงเรียน

    วันที่ 22 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีตลาดนัดแปรรูปอาหารโดยมีชุมชนผู้ปกครองมาร่วมซึ่งมีกิจกรรมการจัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่โครงการเด็กไทยแก้มใสมีกิจกรรมต่างๆที่โรงเรียนดำเนินการเช่นนวัตกรรมทางการเกษตร,การปรรูปอาหาร มีการให้ความรู้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากหน่วยงานภายนอกได้แก่ประมงอำเภอแว้ง เกษตรอำเภอแว้ง มีการขายผลผลิตทางการเกษตร ผลผลิตจากการแปรรูปของนักเรียนให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมและเยี่ยมชม นักเรียนสาธิตการทำเชื้อเห็ดนางฟ้าตั้งแต่กระบวนการแรกจนได้ก้อนเชื้อเห็ดให้กับผู้เข้าชม มีการประเมินความพึงพอใจ สรุปผลการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต -นักเรียนจำนวน139คนเข้าร่วมโครงการ -ครู/บุคลากรจำนวน 13 คนเข้าร่วมโครงการ -ผู้ปกครองจำนวน 40 คน เข้่ร่วมโครงการ

    ผลลัพธ์

    1. ทำให้เด็กนักเรียนรู้และมีทักษะการแปรรูปอาหาร ร้อยละ 75
    2. มีผลผลิตจากการแปรรูปขายในสหกรณ์นักเรียน
    3. นักเรียนสามารถสร้างอาชีพให้กับตนเองหลังจบการศึกษาได้ด้วย

     

    177 192

    3. การเลี้ยงไก่ไข่

    วันที่ 23 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย 1.ประชุมคณะครูและชุมชน 2.เสนอโครงการ ขอรับการสนับสนุนจาก โครงการเด็กไทยแก้มใส สสส. 3.แต่งตั้ง คณะกรรมการรับผิดชอบ 4.อบรมนักเรียนเรื่องการเลี้ยงไก่ไข่ 5.ดำเนินการจัดซื้อวัสดุปุปกรณ์ซ่อมคอกไก่และซื้อเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่และจัดเลี้ยงตามแผน 6.เก็บผลผลิตเข้าสหกรณ์และส่งต่อโครงการอาหารกลางวันสรุปผล ประเมินผล


    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิตเชิงปริมาณ 1. นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 15 คน 2. ครูเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 2 คน 3. ผู้ปกครอง ชุมชน เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 7 คน

    ผลลัพธ์ ด้านการจัดการเรียนรู้และบูรณาการของนักเรียน 1. นักเรียนมีไข่ไก่สนับสนุนโครงการอาหารกลางวันต่อเนื่องตลอดปี 2. นักเรียนในโครงการ จำนวน 25 คนมีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์การเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ คิดเป็นร้อยละ 100 3. นักเรียนรู้จักวางแผนการทำงานและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 80

     

    17 33

    4. ประชุมติดตามการจัดทำรายงานศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส ครั้งที่ 1

    วันที่ 12 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมสัญจร พี่เลี้ยงแนะนำการจัดทำข้อมูล เชคกิจกรรม ใบเสร็จรับเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    โรงเรียนบ้านศาลาอูมาเข้าร่วมการประชุมสัญจร ณ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาจำนวน 2คน

    ผลลัพธ์

    1. มีความเข้าใจการลงข้อมูลระบบออนไลน์
    2. มีการจัดทำรายงานเงินรับ-จ่ายได้ถูกต้อง

     

    2 2

    5. คืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร

    วันที่ 13 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร 500 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร 500 บาท

     

    2 2

    6. กิจกรรมโรงเรียนน่ามอง

    วันที่ 18 มกราคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชี้แจงให้บุคลากรทุกคนทราบในแต่ละเขตรับผิดชอบ และให้นักเรียนทุกชั้น ครูและบุคลากรทุกคน รวมทั้งชุมชนร่วมกันทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนและรอบๆบริเวณโรงเรียน ตามเขตท่ีรับผิดชอบ เพื่อให้โรงเรียนมีความสะอาดน่าอยู่มากขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต
    1. นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 139 คน
    2. ครูและบุคลากเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 13 คน
    3. ผู้ปกครองและชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 20 คน ผลลัพธ์
    1. นักเรียนมีความรับผิดชอบในการทำความสะอาดในเขตรับผิดชอบของตนเอง ร้อยละ 90
    2. โรงเรียนมีความสะอาดเอื้อต่อการเรียนรู้ 3. ผู้ปกครองชุมชนมีความพึงพอใจต่อโรงเรียน ร้อยละ 80

     

    172 171

    7. อบรมสุขาภิบาลอาหารให้ผู้ปกครอง ชุมชน

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    โรงเรียนส่งหนังสือให้กับผู้ปกครอง ชุมชนที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมกิจกรรม และทำหนังสือเชิญวิทยากรนักโภชนาการให้ความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหารแก่นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน มีการบรรยาย แบ่งกลุ่มกิจกรรมเพื่อให้ลงมือปฏิบัติจริง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1. นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน 2. ผู้ปกครอง ชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 100 คน 3. แม่ครัวเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 1 คน

    ผลลัพธ์
    1.นักเรียนแกนนำมีความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหาร ร้อยละ 90 2. ผู้ปกครองชุมชน นำความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหารไปใช้ 3. นักเรียนมีพฤติกรรมด้ารสุขาภิบาลอาหารดีขึ้น ร้อยละ 80 4. แม่ครัวมีการเตรียมปรุงอาหารและปรับปรุงโรงอาหารได้ตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

     

    184 83

    8. การพัฒนา ให้ความรู้เรื่องการเกษตร แก่นักเรียน ครู ผู้ปกครอง

    วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้รับผิดชอบจัดทำโครงการเสนอผู้บริหารอนุมัติ
    2. ทำเอกสารประกอบการจัดอบรม
    3. จัดทำหนังสือเชิญวิทยากร
    4. จัดอบรมให้ความรู้โดยการบรรยาย/ฝึกปฏิบัติ
    5. ประเมินความพึงพอใจ
    6. สรุปผลโครงการ

    วิทยากรให้ความรู้การเกษตรแก่ครูและนักเรียนแกนนำ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต
    1. นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน 2. ครูและบุคลาการ เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 5 คน 3. ผู้ปกครอง ชุมชน และเครือข่ายเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 70 คน

    ผลลัพธ์ 1. นักเรียนแกนนำมีความรู้ ทักษะในการทำการเกษตร ร้อยละ 80 2. นักเรียนมีนวัตกรรมทางการเกษตร 3. ผู้ปกครองและชุมชนมีการทำการปลูกผักสวนครัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 40 4. ผู้ปกครอง ชุมชนมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม ร้อยละ 90

     

    60 100

    9. การเลี้ยงปลาดุก

    วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำแผนงานโครงการ อบรมให้ความรู้ครูและนักเรียนแกนนำ จัดทำบ่อซีเมนต์ ซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการเลี้ยงปลาในบ่อ จัดซื้อพันธุ์ปลา/อาหารปลา เลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์ นำผลผลิตเข้าสหกรณ์สู่อาหารกลางวัน สรุปผล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1.นักเรียนเลี้ยงปลาและให้อาหารทุกวัน
    ผลลัพธ์ นักเรียนได้รับประทานปลาดุกท่ีโรงเรียนเป็นอาหารกลางวัน

     

    35 40

    10. ปลูกผักปลอดสารพิษ

    วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 14:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปลูกผัก รดน้ำ พรวนดิน
    รดน้ำทุกวัน เช้า-เย็น ชมรมผักปลอดสารพิษ ใส่ปุ๋ย พรวนดิน เก็บผลผลิต 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต ปลูกผักตามฤดู เพื่อไว้รับประทาน ให้แก่โรงเรียนเพื่อเป็นอาหารกลางวันแก่นักเรียน ผลลัพธ์ นักเรียนทุกคนได้รับประทานผักปลอดสารพิษ และปลูกเอง เพื่อเป็นอาหารกลางวัน

     

    39 50

    11. อบรมเชิงปฎิบัติการให้ความรู้แก่แกนนำ

    วันที่ 1 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นักเรียนแกนนำเข้ารับการอบรม การจัดทำสมุดบัญชีรายรับ-รายจ่าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต นักเรียนแกนนำ เข้ารับการอบรมสหกรณ์นักเรียน เรื่องการทำรายรับ-รายจ่าย

    ผลลัพธ์ นักเรียนแกนนำสามารถจัดทำสมุดบัญชี รายรับ-รายจ่าย สหกรณ์นักเรียนได้

     

    41 36

    12. คืนดอกเบี้ย เพื่อปิดโครงการ

    วันที่ 4 เมษายน 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คืนดอกเบี้ย เพื่อปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -

     

    0 1

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 วัตถุประสงค์ทั่วไป เพื่อเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยการน้อมนำรูปแบบที่ดี“ด้านการจัดการอาหารโภชนาการและสุขภาพนักเรียนอย่างครบวงจรในโครงการพระราชดำริฯ” มาปฏิบัติและพัฒนาโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใส เป็นแหล่งเรียนรู้โดยตรงไปสู่โรงเรียนเครือข่าย จำนวน 8 โรง ประกอบด้วย 1.โรงเรียนบ้านตอออ 2.โรงเรียนบ้านไม้ฝาด 3.โรงเรียนบ้านสามแยก 4.โรงเรียนบ้านบาโง 5.โรงเรียนบ้านแขยง 6. โรงเรียนบ้านตือมายู 7. โรงเรียนบ้านแอแว8. โรงเรียนบ้านเพลินพิศ เพื่อการแก้ไขปัญหาการขาดสารอาหารและพัฒนาภาวะโภชนาการและสุขภาพในระยะยาว
    ตัวชี้วัด : 1. นักเรียนเจริญเติบโตสมวัย โดยมี ภาวะเริ่มอ้วน และอ้วน ไม่เกิน 2.15% ภาวะผอม ไม่เกิน 9.35%ดูน้ำหนักตามเกณฑ์และส่วนสูง ภาวะเตี้ย ไม่เกิน 5.75%

    ดูความเปลี่ยนแปลงภาะวะโภชนาการก่อน-หลังดำเนินการจากการเฝ้าระวังโดยการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงแปรผลเปรียบเทียบ

    2 2 วัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อสร้างการผลิตและจัดหาวัตถุดิบสนับสนุนการประกอบอาหารกลางวันได้เองอย่างยั่งยืนเพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง รวมทั้งชุมชน ได้รับความรู้จากการปฏิบัติกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่ดีด้านโภชนาการด้านเกษตรกรรมวิธีการผลิตอาหารและบริโภคอาหารถูกหลักอนามัยเพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ อย่างเพียงพอ เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย มีสุขภาพอนามัยที่ดี
    ตัวชี้วัด : 2. นักเรียนได้กินผัก –ผลไม้ หลากหลายเพิ่มขึ้น ในมื้อกลางวัน เฉลี่ย 2.1 ผักวันละ ประมาณ 40-100 กรัม (อนุบาล 3 ช้อน (50 กรัม) ประถม 4 ช้อน (70 กรัม) 2.2 ผลไม้ (อนุบาล1/2 ส่วน ประถม 1 ส่วน) ต่อมื้อต่อคน 3.ระดับความสำเร็จของโรงเรียนชุมชน ในการพัฒนาด้านการจัดการเชื่อมโยง อาหาร โภชนาการ สุขภาพ อยู่ในระดับ 4

    ประเมินจากรายการอาหารกลางวันที่จัด และประเมินจากปริมาณการตักอาหารและการบริโภคของนักเรียนและเอกสารการจัดซื้อวัตถุดิบ

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วัตถุประสงค์ทั่วไป
    เพื่อเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยการน้อมนำรูปแบบที่ดี“ด้านการจัดการอาหารโภชนาการและสุขภาพนักเรียนอย่างครบวงจรในโครงการพระราชดำริฯ” มาปฏิบัติและพัฒนาโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใส เป็นแหล่งเรียนรู้โดยตรงไปสู่โรงเรียนเครือข่าย จำนวน 8 โรง ประกอบด้วย 1.โรงเรียนบ้านตอออ 2.โรงเรียนบ้านไม้ฝาด 3.โรงเรียนบ้านสามแยก 4.โรงเรียนบ้านบาโง 5.โรงเรียนบ้านแขยง 6. โรงเรียนบ้านตือมายู 7. โรงเรียนบ้านแอแว8. โรงเรียนบ้านเพลินพิศ เพื่อการแก้ไขปัญหาการขาดสารอาหารและพัฒนาภาวะโภชนาการและสุขภาพในระยะยาว (2) 2 วัตถุประสงค์เฉพาะ
    เพื่อสร้างการผลิตและจัดหาวัตถุดิบสนับสนุนการประกอบอาหารกลางวันได้เองอย่างยั่งยืนเพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง รวมทั้งชุมชน ได้รับความรู้จากการปฏิบัติกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัยที่ดีด้านโภชนาการด้านเกษตรกรรมวิธีการผลิตอาหารและบริโภคอาหารถูกหลักอนามัยเพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ อย่างเพียงพอ เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย มีสุขภาพอนามัยที่ดี

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

    ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนบ้านศาลาอูมา

    รหัสโครงการ ศรร.1412-104 รหัสสัญญา 58-00-2265-ต.22 ระยะเวลาโครงการ 2 กุมภาพันธ์ 2016 - 30 เมษายน 2017

    วันที่เริ่มประเมิน

    1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    (ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    1. การเกษตรในโรงเรียน

    1.พืชกลับหัวเพิ่มผลผลิตเพื่อน้อง 2.คอนโดไม้ไผ่/ต้นกล้วยแปลงกาย 3.ตะกร้าผักบุ้งลอยน้ำบ้านมัจฉา

    1.เนื่องจากโรงเรียนมีพื้นที่น้อยวางแผนการจัดการผลผลิตด้านการเกษตรที่ให้ผลมากที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยการใส่ดินในกระถางแล้วคว่ำปลูกผักพวกโหระพาพริก เมื่องอกดีแล้วกลับกระถางขึ้นด้านบนปลูกมะเขือ พริก ผักบุ้ง วอเตอร์เครปต่อ โดยการแขวนกระถางซึ่งใช้พื้นที่น้อยแต่ได้ผลผลิตสูงและหลากหลาย 2.นำไม้ไผ่มาผ่าแล้วใส่ดิน/ต้นกล้วยที่ตัดลูกแล้วมาเจาะเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆจากนั้นใส่ดินทำชั้นวางต้นกล้วยเป็นชั้นๆนำต้นกล้าลงปลูกในหลุมต้นกล้วยที่เจาะและใส่ดินไว้เช่นผักบุ้ง คะน้า กวางตุ้ง ซึ่งเป็นการประหยัดน้ำรวมทั้งเหมาะที่จะปลูกในหน้าฝาที่น้ำท่วมและหน้าแล้งที่น้ำน้อยเพราะต้นกล้วยอุ้มน้ำ 3.นำขวดน้ำพลาสติกผูกกับตะกร้าเพื่อให้ลอยน้ำได้จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์แช่1คืนเอาเปลือกมะพร้าวสับๆใส่ตะกร้าแล้วเอาดินวางข้างบนเอาเม็ลตพันธุ์ที่แช่แล้วใส่จากนั้นนำไปใส่ในบ่อปลาดุก หลักฐาน- เอกสาร/รูปภาพประกอบ

    ขยายพื้นที่ดำเนินการสู่ครอบครัว ชุมชน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    2. สหกรณ์นักเรียน

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

    ้"เด็กศาลาอูมาอิ่มท้อง สมองดี"

    วางแผนการจัดการด้านอาหารให้นักเรียนได้รับประทานเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ตลอดปี และมีการจัดอาหารเช้าให้นักเรียนทุกวันเปิดภาคเรียน มีการปลูกผักที่สามารถเก็บไว้รับประทานในฟดูกาลที่ไม่สามารถทำการเกษตรได้ดีเช่นฟักเขียว ฟักทองและเก็บไว้ตอนเปิดเทอมด้วย มีการปลูกผักตามนวัตกรรมในข้อ1มีเลี้ยงปลาดุกหมุนเวียนได้กินตลอดปีและไก่ไข่ให้นักเรียนไก้กินตอนเช้าและกลางวัน โดยชุมชนมีส่วนร่วม หลักฐาน- เอกสาร/รูปภาพประกอบ

    ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการออกรายการอาหาร

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

    นักโภชนาการชุมชนเพื่อสุขภาพเด็กศาลาอูมา

    มีการเฝ้าระวังตามมาตรฐานการเฝ้าระวังโภชนาการและสมรรถภาพโดยนักโภชนาการประจำอำเภอร่วมด้วยและที่สำคัญมีการแก้ไขปัญหาโดยให้นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้า อาหารกลางวันและอาหารว่างที่มีคุณภาพทุกวัน มีนักโภชนาการประจำอำเภอตรวจสอบและให้ความรู้และจัดรายการอาหารเป็นรายเดือนและมีการเยี่ยมติดตามทุกสัปดาห์อบรมผู้ปกครอง นักเรียนด้านอาหารและโภชนาการเพื่อให้สามารถเลือกอาหารที่มีประโยชน์รวมทั้งเฝ้าระวังภาวะโภชนาการได้ติดตามประเมินผลเป็นระยะ หลักฐาน- เอกสาร/รูปภาพประกอบ

    พัฒนานักโภชนาการน้อยในโรงเรียน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

    "กฎบัตรศาลาอูมา"

    การจัดการโดยจัดเวทีประชุมแสดงความคิดเห็นร่วมระหว่างสภานักเรียน นักเรียนแกนนำอย.น้อย และเชื่อมโยงกับผู้ปกครองโดยมีข้อตกลงร่วมกันในการเฝ้าระวังสุขภาพหรือสุขวิทยาส่วนบุคคล โดยมีคณะกรรมการนักเรียน นักเรียนแกนนำคอยตรวจสอบ แนะนำ หลักฐาน- เอกสาร/รูปภาพประกอบ

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

    ศาลาอูมารักษ์สิ่งแวดล้อม

    เป็นการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมที่รวมถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ชุมชนโดยให้นักเรียนได้เรียนรู้จากชุมชนและโรงเรียนมีการคัดแยกขยะใช้ประโยชน์สูงสุดจากธรรมชาติและคืนปรโยชน์สู่ธรรมชาติมีการอนุรักษ์ปลูกไม้ประดับดูดสารพิษ

    จัดการทำธนาคารขยะที่ครบวงจร

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

    เรียนรู้เพื่อพัฒนา

    ให้เด็กนักเรียนเรียนรู้กระบวนการทำเกษตรแต่ละชนิดในโรงเรียนสังเกตุ และจดบันทึกดูความเปลี่ยนแปลงและพัฒนาต่อซึ่งได้นวัตกรรมด้านการเกษตรหลากหลายรูปแบบนักเรียนสนใจเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง รวมทั้งด้านอื่นที่นักเรียนได้ปฏิบัติเช่นการแปรรูปอาหารจากการเกษตร

    เรียนรู้ร่วมกับชุมชนในการพัฒนาต่อยอด

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    9. อื่น ๆ

     

     

     

    2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

    1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

    1.กรรมการสถานศึกษา 2.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านไม้ฝาด ตำบลกายูคละ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส 3.สาธารณสุขอำเภอแว้ง/นักโภชนาการ 4.เกษตรอำเภอ 5.องค์การบริหารส่วนตำบล 6.ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน
    โดย ภาคีเครือข่ายให้การสนับสนุน เสนอแนะการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งด้านการเงินบางส่วน ฯลฯ

    2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

    โรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่สะดวกในการเดินทางติดต่อระหว่างชุมชนและโรงเรียนเครือข่ายสะดวกในการเดินทางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปัจจัยเอื้อด้านสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพนักเรียนไม่มีแม่ค้าขายอาหารและขนมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทำให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่โรงเรียนจัดให้

    3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

    ผู้บริหารให้ความสำคัญในกระบวนการทำงานสู่เป้าหมายมีการวางแผนประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับทีมงานและเครือข่าย ตลอดจนมีการกระตุ้นและสร้างความตระหนักให้เกิดความร่วมมือและให้ความสำคัญกับทุกคนให้มีการทำงานเป็นทีมมีการคิดวิเคราะห์เป็นระยะๆนำมาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและให้กำลังใจซึ่งกันและกัน

    4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

    มีการชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจการดำเนินงานและเป้าหมายร่วมกันจากนั้นอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดเมนูอาหาร โภชนาการการเฝ้าระวังทางโภชนาการให้กับครูผู้รับผิดชอบและแม่ครัวผู้ปกครอง และมีการแลกเปลี่ยนความรู้ให้ข้อคิดเห้นและข้อเสนอแนะซึ่งกันและกัน ฝึกอบรมนักเรียนเกี่ยวกับสหกรณ์นักเรียน การตวจฉลากอาหาร การแปรรูปอาหาร ให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงและจากประสบการณ์ของเพื่อนๆ ครู ผู้ปกครอง

    5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

    กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชนร่วมเสนอแนะข้อคิดเห้นและสนับสนุนในการทำกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนและนำองค์ความรู้จากโรงเรียนไปพัฒนาต่อตลอดจนนำไปใช้ในการเฝ้าระวังดูแลด้านสุขภาพของบุตรหลานในชุมชน ที่สำคัญผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนในการสนับสนุนให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมตามที่โรงเรียนดำเนินการ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

    โรงเรียนมีการวางแผนการทำเกษตรเพื่ออาหารกลางวันล่วงหน้าร่วมกับการออกรายการอาหารที่สอดคล้องกันตามฤดูกาลมีการปลูกผักที่สามารถเก็บผลผลิตไว้รับประทานในช่วงเปิดเทอมใหม่ มีการปลูกพืชระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวเพื่อให้มีผลผลิตกินตลอด

    เอกสารที่เกี่ยวข้อง/ภาพกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

    เลี้ยงไก่ไข่ มีการวางแผนการเลี้ยงให้เพียงพอตลอดโดยมีไข่ให้นักเรียนรับประทานมื้อเช้าและกลางวันเฉลี่ยสัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า3วัน การจัดการให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเลี้ยงเพื่อให้มีทักษะไปใช้ที่บ้านได้

    ภาพกิจกรรมเอกสารหลักฐานการเก็บเกี่ยวผลผลิตและรายการอาหารกลางวัน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

    มีการเลี้ยงปลาดุกในบ่อ ซีเมนต์4บ่อที่สามารถเลี่ยงได้ให้นักเรียนรับประทานตลอดปีเพราะมีการวางแผนเลี้ยงต่อเนื่อง

    ภาพกิจกรรม/เอกสารการจัดทำกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

    การจัดบริการอาหารเช้าการจัดการโดยให้แม่ครัวมาเช้ากว่าปรกติแล้วปรุงอาหารเช้าง่ายๆแต่มีคุณค่าทางโภชนาการเช่นข้าวต้มที่มีผัก,ถั่วเม็ดแห้งเป็นส่วนประกอบและมีไข่ให้คนละฟอง โดยไม่เก็นเงินค่าอาหารแต่โรงเรียนบริหารจัดการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรโดยมีกองทุนหมุนเวียนของโรงเรียนจากกิจกรรมที่โรงเรียนร่วมกับนักเรียนชุมชน

    ภาพกิจกรรม/เอกสารรายการอาหารเช้า

     

    5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

    นักโภชนาการช่วยในการกำหนดปริมาณอาหารวัตถุดับที่จัดซื้อให้กับนักเรียนโดยเฉพาะปริมาณผัก เนื้อสัตว์และผลไม้ และสาธิตการตักอาหารให้นักเรียนสำหรับครูและแม่ครัวและมีครูและนักเรียนแกนนำคอยดูแลให้รับประทานตามที่ตักให้ทางโรงเรียนไม่ได้ใช้ TSLเนื่องจากเข้าร่วมโครงการหลังการอบรมแล้ว

    รายการอาหาร/ภาพอาหารกลางวันที่นักเรียนรับประทาน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    นักโภชนาการช่วยในการกำหนดปริมาณอาหารวัตถุดับที่จัดซื้อให้กับนักเรียนโดยเฉพาะปริมาณผัก เนื้อสัตว์และผลไม้ และสาธิตการตักอาหารให้นักเรียนสำหรับครูและแม่ครัวและมีครูและนักเรียนแกนนำคอยดูแลให้รับประทานตามที่ตักให้ทางโรงเรียนไม่ได้ใช้ TSLเนื่องจากเข้าร่วมโครงการหลังการอบรมแล้ว

    รายการอาหาร/ภาพอาหารกลางวันที่นักเรียนรับประทาน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    ไม่มีนักเรียนระดับมัธยม

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

    มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชนและโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนไปขยายต่อ

    ภาพกิจกรรม/เอกสารการอบรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

    โรงเรียนไม่ได้ใช้TSL เนื่องจากเข้าร่วมโครงการภายหลังการอบรม TSL แต่จัดรายการอาหารตามคำแนะนำของนักโภชนาการประจำอำเภอซึ่งนักโภชนาการจะช่วยตรวจสอบรายการอาหารให้กับโรงเรียน

    รายการอาหาร/ภาพอาหาร

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

    มีการเฝ้าระวังตามมาตรฐานการเฝ้าระวังโภชนาการและมีการแก้ไขปัญหาโดยให้นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้า อาหารกลางวันและอาหารว่างที่มีคุณภาพทุกวัน มีนักโภชนาการประจำอำเภอตรวจสอบและให้ความรู้และจัดรายการอาหารเป็นรายเดือนและมีการเยี่ยมติดตามทุกสัปดาห์อบรมผู้ปกครอง นักเรียนด้านอาหารและโภชนาการเพื่อให้สามารถเลือกอาหารที่มีประโยชน์รวมทั้งเฝ้าระวังภาวะโภชนาการได้ติดตามประเมินผลเป็นระยะ

    หลักฐาน- เอกสาร/รูปภาพประกอบและรายงาน

     

    3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

    สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

    ภาวะ2559 1/12559 1/22559 2/12559 2/22560 1/12560 1/22560 2/12560 2/22561 1/12561 2/2
    เตี้ย 6.02 6.02% 5.63 5.63% 3.25 3.25% 3.05 3.05% 7.46 7.46% 4.58 4.58% 2.52 2.52% 3.31 3.31% 5.43 5.43% 3.88 3.88%
    เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 18.05 18.05% 19.01 19.01% 21.14 21.14% 18.32 18.32% 19.40 19.40% 16.79 16.79% 12.61 12.61% 13.22 13.22% 18.60 18.60% 13.95 13.95%
    ผอม 8.27 8.27% 2.82 2.82% 5.51 5.51% 4.88 4.88% 9.77 9.77% 7.63 7.63% 4.17 4.17% 3.31 3.31% 8.59 8.59% 8.59 8.59%
    ผอม+ค่อนข้างผอม 18.80 18.80% 11.97 11.97% 12.60 12.60% 14.63 14.63% 18.05 18.05% 18.32 18.32% 15.00 15.00% 18.18 18.18% 21.88 21.88% 17.19 17.19%
    อ้วน 0.75 0.75% 1.41 1.41% 1.57 1.57% 0.81 0.81% 5.26 5.26% 3.82 3.82% 2.50 2.50% 2.48 2.48% 3.13 3.13% 2.34 2.34%
    เริ่มอ้วน+อ้วน 2.26% 2.26% 4.23% 4.23% 3.94% 3.94% 3.25% 3.25% 5.26% 5.26% 4.58% 4.58% 4.17% 4.17% 3.31% 3.31% 4.69% 4.69% 4.69% 4.69%
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

    ฝ้าระวังโดยครูประจำชั้นและมีการแจ้งผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องทราบร่วมมือกับ รพ.สต.ในการจัดกิจกรรมและจัดรายการอาหารให้กับนักเรียน อบรมให้ความรู้กับผู้ปกครอง นักเรียน

    รายงานภาวะโภชนาการ/ภาพกจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

    เฝ้าระวังโดยครูประจำชั้นและมีการแจ้งผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องทราบร่วมมือกับ รพ.สต.ในการจัดกิจกรรมและจัดรายการอาหารให้กับนักเรียน อบรมให้ความรู้กับผู้ปกครอง นักเรียน

    รายงานภาวะโภชนาการ/ภาพกจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

    ฝ้าระวังโดยครูประจำชั้นและมีการแจ้งผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องทราบร่วมมือกับ รพ.สต.ในการจัดกิจกรรมและจัดรายการอาหารให้กับนักเรียน อบรมให้ความรู้กับผู้ปกครอง นักเรียน

    รายงานภาวะโภชนาการ/ภาพกจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

    มีโครงการแก้ไขปัญหาเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการทุกคนตามปัญหาของนักเรียนโดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรสาธารณสุข นักโภชนาการ ผู้ปกครองและชุมชน มีการประชุมหาแนวทางและการแก้ไขปัญหาการจัดการด้านอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสม

    เอกสารการจัดประชุม/ภาพกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

    ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโดยการเข้ารับการอบรมและนำไปดูแลนักเรียนเฝ้าระวังการปฏิบัติด้านพฤติกรรมบริโภคของนักเรียนที่บ้าน

    หลักฐานการเยี่ยมบ้านของครู/ภาพกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

    1.กรรมการสถานศึกษา 2.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านไม้ฝาด ตำบลกายูคละ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส 3.สาธารณสุขอำเภอแว้ง/นักโภชนาการ 4.เกษตรอำเภอ 5.องค์การบริหารส่วนตำบล 6.ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน
    โดย ภาคีเครือข่ายให้การสนับสนุน เสนอแนะการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งด้านการเงินบางส่วน ฯลฯ

    หมายเหตุ *

    • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    โรงเรียนบ้านศาลาอูมา จังหวัด นราธิวาส

    รหัสโครงการ ศรร.1412-104

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายพ.เพียงเพ็ชรรัตน์ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด