แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)


“ โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี) ”

ตำบลสะพานสูง อำเภอบางกะปิ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

หัวหน้าโครงการ
นายธีระพร ทองสาด

ชื่อโครงการ โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)

ที่อยู่ ตำบลสะพานสูง อำเภอบางกะปิ จังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัด กรุงเทพมหานคร

รหัสโครงการ ศรร.1233-117 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-ก.16

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2559 ถึง 30 เมษายน 2560


กิตติกรรมประกาศ

"โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี) จังหวัดกรุงเทพมหานคร" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลสะพานสูง อำเภอบางกะปิ จังหวัดกรุงเทพมหานคร

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)



บทคัดย่อ

โครงการ " โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี) " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลสะพานสูง อำเภอบางกะปิ จังหวัดกรุงเทพมหานคร รหัสโครงการ ศรร.1233-117 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 120,000.00 บาท จาก โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 1020 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี) จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่งในปีที่ 1 ได้ดำเนินการดังต่อไปนี้

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนสารอาหารและการพัฒนาภาวะโภชนาการและสุขภาพระยะยาว
  2. เพื่อสร้างกระบวนการประเมิน ติดตามและเฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน
  3. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนตามแนวการดำเนินงานความสำเร็จของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. นักเรียนได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่อง
    2. นักเรียนที่มีปัญหาทุพโภชนาการได้รับการดูแล แก้ไข
    3. นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5หมู่
    4. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตนตนตามสุขบัญญัติ
    5. นักเรียนมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์ แข็งแรง สมวัย
    6. เกิดความร่วมมือของชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ ในการร่วมมือกันเฝ้าระวังภาวะโภชนาการให้นักเรียนและเด็กๆ ในชุมชน

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. การเพาะต้นอ่อนทานตะวันครั้งท่ี 1

    วันที่ 2 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ศึกษาวิธีการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน
    2. ซื้อเมล็ดทานตะวัน ดินเพาะปลูก ตะกร้าเพาะปลูก
    3. แบ่งกลุมนักเรียนในการเพาะและการดูแลต้นอ่อน
      • เตรียมวัสดุเพาะ ได้แก่ ขุยมะพร้าวอ่อน ขี้เถ้แกลบร่อน กับดินร่วน 1ต่อ1 ผสมให้เข้ากัน
      • แช่เมล็ดทานตะวันในน้ำอุ่นทิ้งไว้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง
      • นำวัสดุปลูกใส่ตะกร้าท่ีมีตาถี่ ๆ ประมาณ 3/4 ของภาขนะ
      • โรยเล็ดทานตะวันให้ทั่วแล้วเกลี่ยให้ทั่ว โรยขุยมะพร้าวเกลี่ยให้ทั่วอีกครั้งนำไปวางไว้ในท่ีร่ม
      • รดน้ำทุกวันเมื่อต้นทานตะวันเจริญเติโตประมาร 4-5 วันสามรถตัดผลผลิตได้
    4. นำผลผลิตท่ีได้นำส่งสหกรณ์โรงเรียนเพื่อจำหน่ายให้แก่โครงการอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต -นักเรียนจำนวน  100  คน เข้าร่วมกิจกรรมคิดเป็นร้อยละ  50
    -ครูและบุคลากรจำนวน  2  คน เข้าร่วมกิจกรรมคิดเป็นร้อยละ  100 -จัดทำเพาะต้นอ่อนทานตะวันจำนวน  10  ถาด

    ผลลัพธ์

    1.ได้ต้นอ่อนทานตะวันจำนวน 20  กิโลกรัม 2. นักเรียนได้รับประทานต้นอ่อนทานตะวันปลอดสารพิษ 3. นักเรียนแกนนำที่รับผิดชอบในการเพาะต้นอ่อนทานตะวันมีความรู้ทักษะในการเพาะต้นอ่อนทานตะวันและสามารถนำไปเพาะได้ด้วยต้นเองร้อยละ
    4. นักเรียน ครู ผู้ปกครองมีความพึงพอใจร้อยละ

     

    104 104

    2. อบรมหลักสูตรสุขาภิบาลอาหารให้กับแม่ครัว

    วันที่ 14 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ส่งรายชื่อแม่ครัวที่อบรมหลักสูตรสุขาภิบาลอาหาร ฝายสิ่งแวดล้อมสุขาภิบาล สำนักงานเขตสะพานสูง
    2. แม่ครัวรายงานตัวเข้ารัการอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหาร ของกรุงเทพมหานคร
    3. ได้รับความรู้เรื่องอาหารปนเปื้อนในอาหาร หนอนพยาธิ การจัดสถานท่ีในการประกอบอาหาร การจัดรายการอาหาร ภาชนะอุปกรณ์ การควบคุมแมลงและสัตว์นำโรค การเลือกซื้ผัก ผลไม้
    4. แบ่งกลุ่มย่อยทำกิจกรรมกลุ่ม
    5. ทดสอบวัดผลการเรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1. แม่ครัวเข้ารัการอบรมหลักสูตรการสุขาภิบาลอาหาร ของกรุงเทพมหานคร 2. แม่ครัว.ได้รับความรู้เรื่องอาหารปนเปื้อนในอาหาร หนอนพยาธิ การจัดสถานท่ีในการประกอบอาหาร การจัดรายการอาหาร ภาชนะอุปกรณ์ การควบคุมแมลงและสัตว์นำโรค การเลือกซื้ผัก ผลไม้ 3. แม่ครัวนำความรู้ท่ีได้รัจากการอบรมมาต่อยอดปรังปรุงแก้ไขโรงอาหารท่ีโรงเรียนให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร 4. ส่งผลให้โรงอาหารมีสถานที่ประกอบอาหาร การจัดเก็บอุปกรณ์ และภาชนะ การล้างผัก ผลไม้ สะอาดถูกต้อง ผลลัพธ์ 1. แม่ครัวได้รับความ

     

    7 9

    3. การเพาะถั่วงอก ครั้งที่1

    วันที่ 16 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เจ้าหน้าท่ีฝ่ายพัฒนาชุมชน เขตสะพานสูง ให้ความรู้ แนะนำวิธีการเพาะถั่วงอก พร้อมสาธิต
    2. ซื้อเมล็ดถั่วเขียว ดินเพาะปลูก ตะกร้าเพาะปลูก
    3. แบ่งกลุมนักเรียนลงมือปฏิบัติจรงในการเพาะและการดูแลต้นอ่อน
      • นำถั่วเขียวล้างนำ้ให้สะอาด 2-3 ครั้ง
      • แช่ถั่วเขียวในนำ้อุ่น ทิ้วไว้ประมาณ 6-8 ชั่วโมง
      • วางตะแกรงในถังและวางตะแกรงในล่อนทับ
      • โรยเมล็ดถั่วบนตะแกรงในล่อน
      • นำตะแกรงวาทับเมล็ดถั่วเขียวชั้นท่ี 1-3 แล้วปิดตะแกรงด้านบนอีกครั้ง
      • เครื่องเพาะจะปล่อยระบบน้ำอัตโนมัติทุก 2 ชั่วโมง
      • รอประมาณ 3 วันก็จะได้ถั่วงอกปลอดสารพิษ
    4. นำผลผลิตส่งสหกรณ์โรงเรียนเพื่อต่อยอดสู่โครงการอาหารกลางวัน
    5. ผลผลิตบางส่วนขายครู บุคคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครอง นักเรียน
    6. นำผลผลิตท่ีได้นำส่งสหกรณ์โรงเรียนเพื่อจำหน่ายให้แก่โครงการอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1.ได้ผลผลิตถั่วงอก 36กก./ 3 ถัง

    ผลลัพธ์

    1. ได้รับความรู้การเพาะถั่วงอกจากเจ้าหน้าท่ีฝ่ายพัฒนาชุมชน เขตสะพานสูง
    2. นักเรียนได้รับประทานอาหารที่ปราศจากสารปนเปื้อน
    3. ทำให้นักเรียนมีสุขภาพแข็ง

     

    104 80

    4. การเลี้ยงปลาดุก ครั้งที่1

    วันที่ 20 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เจ้าหน้าท่ีฝ่ายพัฒนาชุมชน สำนักงานเขตสะพานสูงให้ความรู้นักเรียนแกนนำในการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินแลในวงซีเมนท์
    2. เตรียมสถานท่ี อุุปกรณ์วัสดุและอาหาร ท่ีใช้เลี้ยงปลาดุกในบ่อดินแลในวงซีเมนท์ 3.ซื้อพันธุ์เลือกพันธุ์ปลาดุกที่มีความแข็งแรงและไม่เล็กเกินไปขนาดประมาณ 2นิ้ว ปลาดุกรัสเซีย 100 ตัว ๆ ละ 3 บาทเป็นเงิน 300 บาท 4.ซื้ออาหารปลาเล็ก 2 กระสอบ ๆ ละ 480 บาท เป็นเงิน 960 บาท 5.ซื้ออาหารปลาโต 2 กระสอบ ๆ ละ 520 บาท เป็นเงิน 1040 บาท 6.ซื้อตาข่ายปิดปากบ่อ 10 เมตร ๆ ละ20 บาท เป็นเงิน 200 บาท
    3. อธิบายและสาธิตการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินแลในวงซีเมนท์
    4. ให้นักเรียนลงมือปฏิบัติในการดูแลรักษาสำหรับ ปลาดุก ต้องมีระดับถ่ายเทน้ำให้น้ำใสสะอาดไม่ขุ่น เพราะถ้าน้ำขุ่นหรือน้ำสกปรกที่เกิดจากอาหารตกค้างจะทำให้ปลาดุกตาย อาการจากคุณภาพน้ำไม่ดีจะสังเกตได้จากการที่ปลาจะว่ายน้ำขึ้นลงเร็วกว่าปกติ และจะลอยตัวอยู่เหนือน้ำเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่าน้ำกำลังสกปรกและควรเปลี่ยนน้ำทันทีโรงเรียนจึงแก้ปัญหานี้โดยการใช้ระบบหมุนเวียนน้ำ
    5. นักเรียนช่วยกันอภิปรายและสรุปผลการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินแลในงวซีเมนท์
    6. นำผลผลิตปลาดุกส่งสหกรณ์โรงเรียนเพื่อต่อยอดสู่โครงการอาหารกลางวันต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1.นักเรียนแกนนำเข้าร่วมจำนวน 35คน 2.ครูและบุคลากรเข้าร่วมจำนวน จำนวน 5 คน 3.ภาคีเครือข่ายเข้าร่วมจำนวน  5 คน 4.มีการเลี้ยงปลาดุกจำนวน 500  ตัว

    ผลลัพธ์

    1. นักเรียนแกนนำมีความรู้ทักษะในการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินแลในวงซีเมนท์ 2.ชุมชนและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดเลี้ยงปลาดุก
    2. โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินแลในวงซีเมนท์ในชุมชน
    3. มีผลผลิตปลาดุกส่งสหกรณ์โรงเรียนเพื่อต่อยอดสู่โครงการอาหารกลางวัน

     

    34 45

    5. การอบรม อย. น้อย

    วันที่ 24 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ส่งรายชื่อนักเรียนแกนนำสายชั้นประถมศึกษาปีท่ี 5 เข้าอบรม อย. น้อย
    2. เจ้าหน้าท่ีจากสำนักงานเขตสะพานสูงฝ่ายสุขาภิบาลอาหารให้ความรู้
    3. เจ้าหน้าท่ีสาธิตครวจรปนเปื้อนในอาหาร
    4. นักเรียนแกนนำลงมือปฏิบัติจริงในการตตวจสารปนเป้ือนจากอาหาร
    5. เจ้าหน้าท่ีจากสำนักงานเขตสะพานสูงมอบเครื่องครวจรปนเปื้อนเบื้องต้นแก่ทางโรงเรียน
    6. นักเรียนแกนนำตรวจสารปนเปื้อนจากอาหารทุกเดือน พร้อมรายงานส่งเขต

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. นักเรียนแกนนำสายชั้นประถมศึกษาปีท่ี 5 เข้าอบรม อย. น้อยจาเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเขตสะพานสูงฝ่ายสุขาภิบาลอาหาร จำนวน 15 คน
    2. เจ้าหน้าท่ีจากสำนักงานเขตสะพานสูงฝ่ายสุขาภิบาลอาหารให้ความรู้ พร้อมสาธิตการครวจรปนเปื้อนเบื้องต้น 5ด้าน

    ผลลัพธ์

    1. นักเรียนได้รัความรู้เกี่ยวกับประเภทของสารปนเปื้อนในอาหารและวิธีตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร ร้อยละ 100
    2. นักเรียนแกนนำมีความรู้ทักษะและสามารถตรวจสารปนเปื้อนจากอาหารได้ร้อยละ 100
    3. นักเรียนแกนนำตรวจสารปนเปื้อนจากอาหาร ทุกเดือน พร้อมรายงานส่งเขตทุกเดือน

     

    11 14

    6. การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ครั้งที่1

    วันที่ 25 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ศึกษาวิธีการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์

    1.1 ครูอธิบายการปลูกพืชไร้ดินและเชิญวิทยากรที่มีความรู้ในการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์

    1.2 วิทยากรอธิบายวิธีการปลูกพืชไร้ดินแบบ Hydroponics ตามขั้นตอนดังนี้

    - เตรียมฟองน้ำที่ใช้โดยการผ่าแบ่งให้เหมาะสมกับรางปลูก ใช้ มีดคัตเตอร์ กรีดฟองน้ำเป็นเครื่องหมายคูณ ความลึกของรอยประมาณ 2-3 มิลลิเมตร
    - ใส่เมล็ดลงไปในรอยกรีด ประมาณ 2-3 เมล็ด นำไปใส่ในกระบะเพาะ รดน้ำให้ชุ่มแต่ห้ามไม่ให้ระดับน้ำสูงเกินไปจนท่วมเมล็ดเพราะ เมล็ดจะไม่งอกและเน่าในที่สุด - นำผ้าขาวบางหรือผ้าที่ไม่หนามากนักมาคลุมที่กระบะเพาะ เพื่อเป็นการรักษาความชื้น ทิ้งไว้ 3-4 วัน แต่ต้องมีการเปิดดูทุกๆ วัน - เมื่อต้นกล้าที่เพาะไว้เริ่มจะแข็งแรงหรือมีอายุได้ประมาณ 5-7 วัน ให้เปิดผ้าออก แล้วนำต้นกล้าออกจากที่ร่มเพื่อมารับแสงแดด 2-3วัน ก็จะได้ต้นกล้าที่สามารถลงในรางปลูกได้
    - ย้ายต้นกล้าลงในรางปลูก ให้ฟองน้ำ จมลงในในระดับน้ำเพียงครึ่งหนึ่งของทั้งหมดเพื่อให้รากของต้นพืชได้มีการเจริญเติมโต หาอาหารเองตามธรรมชาติ โดยมีสารละลายธาตุอาหารไหลผ่านรากตลอดเวลา - ให้ธาตุอาหารตามความเข้มข้นที่เหมาะสม ต่อความต้องการของพืชชนิดนั้น และตามที่ผลิตภัณฑ์สารอาหารนั้นกำหนด
    - หมั่นดูแลรักษาทุกวัน สังเกตความต้องการสารอาหารของต้นพืชจากสีของลำต้นและสีของใบ ตามแต่ลักษณะของพืชชนิดนั้นๆ - ครูให้นักเรียนปลูกพืชไร้ดินแบบ Hydroponics
    - นักเรียนดูแลรักษาพืชผักที่ปลูก
    - นักเรียนเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้จากการปลูก นำส่งโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนและเสริมสร้างรายได้แก่นักเรียนและจำหน่ายไปยังตลาดนัดนักเรียน

    1. ซื้อวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์หน้าระเบียงอาคาร

      • ท่อเลฟล่อน
      • ถาดเพาะผักไฮโดรโปรนิกส์
      • ถ้วยเพาะต้นกล้าผักไฮโดรโปรนิกส์
    2. ซื้อเมล็ดพันธุ์ไฮโดรโปรนิกส์

    3. แบ่งกลุ่มนักเรียนปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์และดูแลรักษาพืชผักที่ปลูก

      • การปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ท่ีหน้าระเบียงอาคาร และในถาด
      • การใส่ปุ๋ย
      • การย้ายต้นกล้า
      • การให้น้ำหมุนเวียน
      • การชั่งผลผลิตจัดจำหน่ายใส่ถุงขาย

    5.นำผลผลิตที่ได้ส่งสหกรณ์โรงเรียนเพิ่อจำหน่ายให้กับโครงการอาหารกลางวันและบุคลากรในโรงเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1. นักเรียนรับผิดชอบปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ปลอดสารพิษ จำนวน 100คน ครูที่ปรึกษา 2 คน เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาชุมชน 2 คน 2. ได้ผักไฮโดรโปรนิกส์ปลอดสารพิษในการประกอบอาหาร

    ผลลัพธ์ 1. นักเรียนมีความรู้ ทักษะในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์สามารถขยายผลสู่เครื่อข่ายได้ 2. นักเรียนนำผลผลิตขายผ่านสหกรณ์ต่อยอดสู่โครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน 3. นักเรียนนำความรู้ ประสบการณ์ท่ีได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน 4. เป็นอาชีพเสริมเพ่มรายได้ให้แก่ครอบครอบ

     

    104 104

    7. ทำน้ำยาล้างจาน ครั้งที่1

    วันที่ 3 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ศึกษาวิธีการทำน้ำยาล้างจาน
    2. สำรวจจราคาวัสดุในการทำน้ำยาล้างจานจากร้านค้า
    3. ซื้อเอ็น 70 เกลือ สับปะรด มะนาว มะกรูด
    4. แบ่งนักเรียนลงมือปฏิบัติจรงการทำน้ำยาล้างจานร่วมกับแม่ครัว
    5. นำผลผลิตท่ีได้ส่งสหกรณ์โรงเรียนเพื่อจำหน่ายให้กับโตรงการอาหารกลางวันเพื่อให้แม่ครัวนำไปล้างจาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1. นัเรียนที่ทำน้ำยาล้างจาน 10  คน ครูที่ปรึกษา 1 คน 2. ได้น้ำยาล้างจาน 15 ลิตร/ 1ชุด

    ผลลัพธ์ 1. น้ำยาล้างจานสมุนไพรมีประสิธิภาพในการล้างจานดี 2. นักเรียนมีความรู้สามารถผลิตน้ำยาล้างจานได้ 3. โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ในการผลิตน้ำยาสมุนไพร 4. สามารถนำใปใช้ในครัวเรือน 5. สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว

     

    15 11

    8. การปลูกผักสวนครัว ครั้งที่1

    วันที่ 8 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. การให้ความรู้

      • ครูนำเสนอความหมายของ การปลูกพืชผักสวนครัว หน้ากระดาน
      • แบ่งกลุ่มนักเรียนตามความสมัครใจ กลุ่มละ 5 – 6 คน
      • ครูให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มระดมความคิดเพื่อบอกความสำคัญของการปลูกผักสวนครัว
      • นักเรียนสำรวจผักสวนครัวในท้องถิ่น ที่สามารถนำไปปลูกได้ แล้วเขียนสรุปเป็นผังความคิด
      • ครูให้นักเรียนทำใบงานเรื่อง ความหมายและความสำคัญของการปลูกผักสวนครัว
    2. การเตรียมดินปลูกผักปลอดสารพิษ
      2.1 วิธีการเตรียมดิน การเตรียมดิน หมายถึง การปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการ ปลูกพืชแต่ละชนิด การเตรียมดินนั้นมี 2 อย่าง คือ การเตรียมดินแปลงเพาะเพื่อเพาะกล้า และ การเตรียมดินเพื่อปลูก การเตรียมดินเพื่อเพาะกล้าจะต้องเตรียมดินให้ละเอียดมากกว่า และต้องดูแลมากกว่าการเตรียมดินเพื่อปลูกพืช วิธีการเตรียมดินมีขั้นตอนดังนี้

      • กำจัดวัชพืช โดยเก็บเศษวัสดุต่างๆออกจากหน้าดินให้หมด แล้วใช้จอบถาก หรือมีดฟันหญ้า ถ้าวัชพืชอยู่ลึกต้องใช้เสียมหรือพลั่วมือขุดออก
      • กำหนดพื้นที่ปลูก สำหรับแปลงปลูกผักต้องใช้ไม้ปัก 4 มุม โดยวัดความกว้างยาวได้ตามต้องการ
      • ขุดดินบริเวณที่กำหนดไว้ ถ้าเป็นแปลงผักควรขุดดินลึกประมาณ 15 เซนติเมตร พลิกดินด้านล่างขึ้นมาด้านบน ตากไว้ให้แห้ง 2-3 วัน แล้วจึงย่อยดินให้ขนาดเล็กลง และเก็บเศษวัชพืชที่ยัง ค้างอยู่ในดินออกทิ้ง
      • ตกแต่งร่องให้เป็นรูปทรงตามที่กำหนด พรวนดินอีกครั้ง ถ้าดินเป็นกรดใส่ปูนขาว โรยบางๆผสมคลุกเคล้าพร้อมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ทิ้งไว้อย่างน้อย 1 สัปดาห์
    3. การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ

      • เตรียมเมล็ดพันธ์ที่จะลงปลูกให้นักเรียนได้ลงมือทำ
      • ครูให้นักเรียนปลูกผักปลอดสารพิษได้แก่ ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ชะอมมะนาว คะน้า กล้วย โหระพา กระเพรา มะกรูด มะเขือ พริก
      • นักเรียนดูแลรักษาพืชผักที่ปลูก รดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย
    4. นักเรียนเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้จากการปลูก นำส่งโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนและเสริมสร้างรายได้แก่นักเรียนและจำหน่ายไปยังตลาดนัดนักเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต
    1. นักเรียนปลูกผักสวนครัว 30 คน ครูที่ปรึกษา 2 คน ฝ่ายัฒนาชุมขนเขตสะพานสูง 2 คน 2. ได้ผักสวนครัวปลอดสารพิษในการประกอบอาหารกลางวัน 3. แกนนำนักเรียนได้นำความรู้ในการปลูกพืชสวนครัวไปขยายผลต่อในครอบครัว

    ผลลัพธ์

    1. มีสวนครัวปลอดสารพิษสงสหกรณ์โรงเรียนและต่อยอดสู่โครงการอาหารกลางวัน
    2. นักเรียนได้นำความรู้ในการปลูกพืชสวนครัวไปขยายผลต่อในครอบครัว
    3. โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ในการปลูกสวนครัวปลอดสารพิษแก่ชุมชน
    4. นักเรียนได้รับผักที่มีประโยชน์ไม่มีสารปนเปื้อน

     

    34 34

    9. ทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ ครั้งที่1

    วันที่ 10 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เจ้าหน้้าท่ีฝ่ายงานรักษาให้ความรู้การทำปุ๋น้ำชีวภาพแก่นักเรียนสายป. 5
    2. อธิบายขั้นตอนการทำ วัสดุอุปกรณ์ท่ีใช้และประโยนช์ของน้ำหมักชีวภาพ
    3. สาธิตการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ
    4. นักเรียนลงมือปฏิบัติจริง
    5. นักเรียนนำน้ำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพไปใช้จริงในชีวิตประจำวัน
      • เทในลำคลอง
      • ผสมน้ำรดน้ำต้นไม้
      • ล้างส้วม
      • ล้างพื้นโรงอาหาร
      • เทลงท่อระบายน้ำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. มีนักเรียนแกนนำในการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจำนวน 100 คน ครูที่ปรึกษา 5 คน ฝ่ายพัฒนาชุมชน เชตสะพานสูง 2 คน
    2. มีปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพใช้ทำความสะอาดแทนน้ำยาสารเคมี

    ผลลัพธ์

    1. นักเรียนได้รับความรู้ถงประโบนช์และขั้นตอนในการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ
    2. ได้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพแทนน้ำยาท่ีผลมสารเคมี
    3. นำไปเทในลำคลองทำให้น้ำในลำคลองใสขึ้นและเพิ่ออกซิเจนในน้ำ
    4. ใช้รดผลสมน้ำรดน้ำต้นไม้ทำให้ต้นไม้เจริญงอกงามดี
    5. น้ำไปล้างพื้นโรงอาหาร ล้างส้วม ล้างท่อระบายน้ำสะอาดดีไม่มีกลิ่นเหม็น
    6. นำไปจำหน่ายเพิ่มรายได้

     

    107 110

    10. การปลูกมะนาวในวงซีเมนท์

    วันที่ 13 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ศึกษาวิธีการปลูกมะนาวในวงซีเมนท์

      • เจ้าหน้าท่ีฝ่ายพัฒนาชุมชนเขตสะพานสูงให้ความรู้การปลูกมะนาว
      • พันธุ์มะนาว
      • วิธีการปลูกมะนาว
      • โรคที่เกี่่ยวกับมะนาว
      • การดูแลรักษาต้นมะนาว
    2. สอบถามราคาต้นมะนาวตามร้านค้า

    3. ซื้อต้นพันธ์มะนาว
    4. ซื้อวงซีเมนท์พร้อมฝาซีเมนท์
    5. ซื้อดินผสมในการปลูต้นมะนาว
    6. แบ่งนักเรียนช่วยกันปลูกต้นมะนาวและดูแลบำรุงรักษา 7.นำผลผลิตมะนาวส่งสหกรณ์โรงเรียนเพื่อจำหน่ายให้แก่โครงการอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาชุมชน เขตสะพานสูง 2 คน ให้ความรู้การปลูกมะนาว
    2. นักเรียน 30 คนรับผิดชอบดูแล รดน้ำ พรวนดิน ซึ่งมีครู 2 คนเป็นที่ปรึกษา

    ผลลพธ์

    1. นักเรียนได้รับความรู้วิธีการปลูกมะนาวในวงซีเมนท์
    2. ได้ผลผลิตมะนาวส่งขายสหกรณ์โรงเรียนส่งต่อยอดสู่โครงการอาหารกลางวัน
    3. เป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้
    4. นำความรู้ท่ีได้รับจากโรงเรียนไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

     

    34 34

    11. ซ่อมแซมศูนย์การเรียนรู้เศรฐกิจพอเพียง

    วันที่ 1 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ครูและนักการภารโรงซ่อมแซมศูนย์การเรียนรู้เศรฐกิจพอเพียงดังนี้
      • ซ่อมแซมหลังคา
      • ซ่อมแซมพื้น
      • ปรับภูมิทัศน์ศูนย์การเรียนรู้เศรฐกิจพอเพียงโดยงานฝ่ายรักษา เขตสะพานสูง
      • จัดทำป้ายไวนิวฐานการเรียนรู้
    2. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์จากร้านค้าในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1.  ครูและนักการภารโรงทำการสร้างและซ่อมแซมศูนย์การเรียนรู้เศรฐกิจพอเพียง 2.  ครู นักการภารและฝ่ายรักษา เขตสะพานสูงช่วยปรับภูมิทัศน์ศูนย์การเรียนรู้เศรฐกิจพอเพียง 3.  มีฐานการเรียน 8 ฐาน

    ผลลัพธ์ 1. นักเรียนศึกษาค้นคว้าเรียนรู้จากฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ 2. เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรของนักเรียนและชุมชน

     

    4 24

    12. การเลี้ยงไก่ไข่ ครั้งที่1

    วันที่ 4 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาชุมชน เขตสะพานสูงให้ความรู้คำแนะนำวิธีการเลี้ยงไก่ไข่แก่นักเรียนแกนนำดังนี้
      • ไก่พันธุ์แท้ เป็นไก่ที่ได้รับการคัดเลือกและผสมพันธุ์มาเป็นอย่างดี จนลูกหลานในรุ่นต่อๆ มามีลักษณะรูปร่าง ขนาด สี และอื่นๆ เหมือนบรรพบุรุษไก่พันธุ์แท้ยกตัวอย่าง ไก่พันธุ์แท้ที่เป็นที่นิยม ได้แก่ โร๊ดไอส์แลนด์แดง บาร์พลีมัทร็อค เล็กฮอร์นขาวหงอนจักร
      • ไก่พันธุ์ผสม ฟังดูอาจจะดูเป็นไก่ไม่ดี แต่ที่จริงแล้วเป็นไก่ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างไก่พันธุ์แท้ 2 พันธุ์ โดยมีจุดประสงค์ให้ลูกไก่ได้ข้อดีของพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ เช่น ไข่ดก ทนทานโรค เป็นต้น ยกตัวอย่างไก่ผสมที่เป็นที่็นิยมก็คือ ไก่ไฮบรีด อุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่ไข่

    ส่วนนี้เป็นสิ่งจำเป็นมากในการเลี้ยงไก่ไข่ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์พื้นฐานอย่างเช่น ถาดหรือรางอาหาร รางน้ำ และอุปกรณ์ที่พิเศษขึ้นมาก็ยกตัวอย่าง เช่น

    • อุปกรณ์การให้อาหาร มีหลายแบบ เช่น ถาดอาหาร รางอาหาร ถังอาหาร เป็นต้น
    • อุปกรณ์ให้น้ำ มีหลายแบบขึ้นอยู่กับอายุไก่ เช่น แบบรางยาว แบบขวดมีฝาครอบ
    • เครื่องกกลูกไก่ ทำหน้าที่ให้ความอบอุ่นแทนแม่ไก่ในตอนที่ลูกไก่ยังเล็กอยู่
    • รังไข่ โดยปกติรังไข่จะควรมีความมืดพอสมควร และมีอุณหภูมิที่เย็น ซึ่งถ้าหากเลี้ยงแบบโรงเรือนก็จะเป็นรางที่ควรทำความสะอาดง่าย หรือถ้าใครเลี้ยงแบบปล่อย ก็ควรมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับการออกไข่ อย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้น
    • วัสดุรองพื้น จำพวก ฟางข้าว ซังข้าวโพด แกลบ เป็นต้น เพื่อความสะอาดและความสบายของตัวไก่
    • อุปกรณ์การให้แสง ทั้งแสงจากธรรมชาติ และแสงจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์
    1. อาหารของไก่ไข่ ส่วนประกอบของสารอาหารที่จำเป็นต่อไก่ไข่ ก็ไม่ได้ต่างจากมนุษย์มากเท่าไหร่ แต่สิ่งที่แตกต่างคือ วัตถุดิบที่นำมาใช้จะต้องเหมาะสมทั้งในเรื่องของ ราคา ปริมาณ และคุณภาพของสารอาหารที่ให้ โดยทางทีมงานอีสานร้อยแปด จะแบ่งให้ทุกคนดูง่ายๆ เป็น สารอาหาร 6 ประเภทใหญ่ๆ

      • โปรตีน ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อในการเจริญเติบโตซ่อมแซมรักษา ในอาหารไก่ไข่ควรจะมีโปรตีนประมาณ13-19%
      • คาร์โบไฮเดรต มีหน้าที่ให้พลังงาน ให้ความอบอุ่น และเพื่อนำไปใช้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ควรจะมีอยู่ในอาหารไก่ไข่ประมาณ38-61%
      • น้ำ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ช่วยในการย่อย การดูดซึม รักษาอุณหภูมิในร่างกาย และช่วยในการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
      • ไขมัน มีหน้าทีให้ความอบอุ่นและพลังงานแก่ร่างกาย แต่ไม่ควรมากเกินไป
      • วิตามิน ช่วยให้ไก่มีความต้านทานโรค และบำรุงระบบประสาท
      • แร่ธาตุ ช่วยในการสร้างโครงกระดูก สร้างเลือด สร้างเปลือกไข่
    2. ชนิดของอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่

      • อาหารผสม เป็นอาหารผสมจากวัตถุดิบที่บดละเอียดแล้วหลายๆ อย่างคลุกเคล้าให้เข้ากัน สามารถนำไปเลี้ยงไก่ได้ทันที
      • หัวอาหาร เป็นอาหารเข้มข้นที่ผสมจากวัตถุดิบพวกโปรตีนจากพืช สัตว์ ไวตามิน แร่ธาตุ และยาต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมและลดต้นทุนค่าอาหาร
      • อาหารอัดเม็ด เป็นอาหารสำเร็จรูปมีให้เลือกหลากหลาย ขึ้นอยู่กับอายุของไก่
      • อาหารเสริม เป็นอาหารที่นำไปเสริมเพื่อเพิ่มสารอาหารด้านต่าง ๆ ที่ยังขาด เพื่อให้ไก่ได้รับสารอาหารครบถ้วน
    3. โรงเรือนในการเลี้ยงไก่ไข่

      • ป้องกันแดด ลม และฝนได้
      • แข็งแรง ทนทาน ป้องกัน นก หนู แมว หรือสุนัขได้
      • ทำความสะอาดได้ง่าย
      • ห่างจากชุมชน และอยู่ใต้ลมของบ้าน เพราะจะได้ไม่มีกลิ่นรบกวน
      • ใช้วัสดุที่หาง่าย ราคาถูก
      • ถ้าสร้างหลายหลังควรมีระยะห่างมากกว่า 10 เมตร เพื่อให้ระบายอากาศได้ดีและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
    4. แบบโรงเรือนในการเลี้ยงไก่ไข่ ลักษณะของโรงเรือนไก่ไข่จะมีหลายแบบขึ้นอยู่กับงบประมาณ วัสดุ ความยากง่ายในการสร้าง รูปแบบของโรงเรือนไก่ไข่มีดังนี้

      • แบบเพิงหมาแหงน แบบนี้จะสร้างง่าย ลงทุนน้อย แต่จะมีข้อเสียคือฝนอาจจะสาดเข้าทางด้านหน้าได้ง่าย และมีความแข็งแรงน้อย
      • แบบหน้าจั่วชั้นเดียว ข้อดีคือแข็งแรงกว่าแบบเพิงหมาแหงน สามารถป้องกันแดด ลม ฝนได้ดีกว่า แต่จะมีค่าวัสดุ อุปกรณ์ และค่าก่อสร้างมากกว่าแบบเพิงหมาแหงน เพราะรูปแบบมีความซับซ้อนมากกว่า
      • แบบหน้าจั่วสองชั้น แบบนี้จะคล้าย ๆ กับหน้าจั่วชั้นเดียว แต่จะต่างกันตรงที่มีหน้าจั่วชั้นที่ 2 เพิ่งขึ้นมาเพื่อช่วยระบายอากาศ ทำให้แบบนี้จะระบายความร้อนได้ดีและเย็นกว่าแบบหน้าจั่วชั้นเดียว แต่ก็จะมีค่าก่อสร้างแพงกว่าหน้าจั่วชั้นเดียว
      • แบบหน้าจั่วกลาย คล้ายเพิงหมาแหงน แต่สามารถกันฝนได้ดีกว่า และมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างมากกว่าเพิงหมาแหงน
      • แบบเพิงหมาแหงนกลาย แบบนี้จะมีกว่าเพิงหมาแหงนและแบบหน้าจั่ว เพราะมีการระบายอากาศ และกันฝน กันแดดได้ดีกว่า แต่ค่าใช้จ่ายถูกกว่าแบบหน้าจั่ว
    5. ปรับปรุงซ่อมโรงเรือนเลี้ยงไก่โดยการทำความสะอาดโรงเรือน กวาดขี้ไก่ และโรยแกลบชุดใหม่

    6. สอบถามราคาพันธ์ไก่ไข่ อุปกรณ์เลี้ยงไก่ไข่ และอาหารไก่ไข่ตามร้านค้า
    7. ซื้อพันธุ์ไก่ไข่ จำนวน 25 ตัว ตัวละ200บาท
    8. ซื้ออุปกรณ์เลี้ยงไก่ไข่จากร้านค้าในชุมชน
    9. ซื้ออาหารไก่ไข่จากร้านค้าในชุมชน
    10. นำผลผลิตไข่ไก่สงสหกรณ์โรงเรียนเพื่่อจำหน่ายให้กับโครงการอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาชุมชน เขตสะพานสูง 2 คนให้คำแนะนำวิธีการเลี้ยงไก่ไข่แก่นัเรียนแกนนำ
    2. โรงเรียนเลี้ยงไก่ไข่ 25  โดยมีผลผลิตจากไก่ไข่ ทุกวัน 25 ฟอง
    3. มีนักเรียนเลี้ยงไก่ไข่  30 คน มีครูที่ปรึกษา 2 คน

    ผลลัพธ์

    1. นักเรียนมีไข่ไก่ รับประทานในโครงการอาหารกลางวัน
    2. นักเรียนได้ประสบการณ์จริง ในการปฏิบัติกิจกรรม
    3. นักเรียนมีความรู้ในเรื่องการเลี้ยงไก่ไข่ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 4  โรงเรียนมีการบูรณาการ การเรียนการสอนในกิจกรรม ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

     

    34 34

    13. การเพาะเห็ดนางฟ้า

    วันที่ 5 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เจ้าหน้าท่ีฝ่ายพัฒนาชุมชน เขตสะพานสูง ให้ความรู้ คำแนะนำศึกษาวิธีการเพาะเห็นนางฟ้าดังนี้

      • ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเห็ดการวางก้อนเชื้อในลักษณะแนวนอนโดยวางเรียงต่อกันเป็นแนวและวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ
      • การเปิดดอก โดยเปิดจุกและสำลีจากคอขวดออกและพับปากถุงให้เหมือนเดิมกับตอนที่ยังมีจุกคอขวดอยู่เพื่อจะทำให้เก็บดอกเห็ดได้ง่าย
      • การรดน้ำ ควรพ่นให้ผิวหน้าของก้อนเชื้อชื้นก็พอ เพราะจะทำให้ก้อนเชื้อมีเชื้อราจะเน่าเสียเร็ว การรดน้ำประมาณวันละ 3-4 ครั้งแล้วแต่สภาพอากาศ
      • การเก็บดอกเห็ดและการทำความสะอาดหน้าก้อนเห็ด เมื่อเห็ดออกดอกและบานจนได้ขนาดที่ต้องการแล้วเก็บดอกโดยจับที่โคนดอกทั้งช่อโยกซ้ายขวาบนล่างแล้วดึงออกจากถุงเห็ด ระวังอย่าให้ถุงเห็ดบาน ถ้าโคนเห็ดขาดอยู่ให้แคะออกเพื่อป้องกันการเน่าเสีย การทำความสะอาดก้อนเชื้อทำได้โดยเขี่ยเศษเห็ดที่ติดอยู่ข้างในถุงออกให้หมด และงดให้น้ำ 3 วันถ้าก้อนเห็ดมีเชื้อราให้นำออกทันที
    2. เจ้าหน้าท่ีฝ่ายพัฒนาชุมชน เขตสะพานสูงสาธิต นักเรียนลงปฏิบัติจริง

    3. สำรวจราคาพันธุ์เห็ดนางฟ้าตามร้านค้า
    4. ซื้้อพันธุ์เห็นางฟ้า
    5. แบ่งกลุ่มนักเรียนรับผิดชอบในการเพาะเห็ดนางฟ้าและดูแลบำรุงรักษา 6.นำผลผลิตเห็ดนางฟ้าส่งสหกรณ์โรงเรียน เพื่อจำหน่ายให้แก่โครงการอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. นักเรียนจำนวน 30 คน มีความรู้ มีทักษะในการเพาะเห็ดนางฟ้า
    2. นักเรียนจำนวน 30 คน นำความรู้และทักษะไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
    3. นักเรียนแกนนำจำนวน 30 คน ขยายผลความรู้แก่เพื่อนนักเรียนในเรื่องการเพาะเห็ดนางฟ้าได้

    ผลผลัพธ์

    1. โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้าให้กับโรงเรียน และชุมชน
    2. โรงเรียนมีผลผลิตเห็ดนางฟ้านำไปใช้ประกอบอารหารในโครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนทั้งโรงเรียน
    3. โรงเรียนสามารถเชื่อมโยงและบูรณาการการเพาะเห็ดนางฟ้าเข้ากับวิชาเรียนเกษตร กลุ่มสาระการงานอาชีพฯ และจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนทุกระดับชั้น
    4. นักเรียนมีทักษะชีวิตและทักษะการทำงานร่วมกัน

     

    34 34

    14. การอบรมทำดอกไม้พลาสติกและยาดมสมุนไพร

    วันที่ 11 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เชิญวิทยากรบรรยาย
    2. นักเรียนสายชั้นประถมศึกษาปีท่ี 5 เข้าฟังบรรยาย
    3. แบ่งกลุ่มนักเรียนร่วมกิจกรรมปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นพ่ีเลี้ยงคอยให้คำแนะนำ
    4. ผลผลิตเข้าสหกรณ์เพื่อจำหน่าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. นักเรียนจำนวน 30 เข้าอบรมการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือน
    2. วิทยากร 2 คนให้ความรู้ ทำดอกไม้พลาสติก และยาดมสมุนไพร


      ผลลัพธ์

    3. นักเรียนได้รัยความรู้ในการทำบัญชีในครัวเรือน

    4. นักเรียนได้รับความรู้ในการทำดอกไม้พลาสติก และยาดมสมุนไพร
    5. เป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ต่อครอบครัว 

     

    112 43

    15. การบันทึกสุขภาพ

    วันที่ 3 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ชั่งนำหนัก-วัดส่วนสูงนักเรียนทุกคนบันทึกในสมุดบันทึกน้ำหนัก-วัดส่วนสูงภาคเรียนละ 2 ครั้ง
    2. นำข้อมูลน้ำหนัก-ส่วนสูงไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย
    3. บันทึกรายชื่อนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (อ้วน)และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน(ผอม)
    4. นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (อ้วน)และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน(ผอม)ทำกิจกรรมเด็กไทยไร้พุง
    5. ให้ความรู้ผู้ปกครอง นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (อ้วน)และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน(ผอม)ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต ปีการศึกษา 2559 ภาคเรียนที่ 2 เมื่อเปรียบเทียบ ปรากฎว่า 1. เตี้ย ลดลง 0.22
    2. ผอม ลดลง 0.71 3. อ้วน  เพิ่มขึ้น 1.23 4. อ้วน-เริ่มอ้วน เพิ่มขึ้น 1.37

    ผลลัพธ์ 1. ได้รับทราบจำนวนนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (อ้วน)และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน(ผอม) 2. นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (อ้วน)และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน(ผอม)ได้รับการช่วยเหลือเข้าร่วมกิจกรรมเด็กไทยไร้พุงเพื่อให้มีจำนวนลดน้อยลงและมีน้ำได้เกณฑ์มาตรฐาน 3. ผู้ปกครอง และนักเรียนท่ีมีปัญหาภาวะทุพโภชนการได้รับความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัตนในชีวิตประจำวัน การเลือกรับประทานอาหาร การดูแลสุขภาพ

     

    157 860

    16. ซื้ออุปกรณ์การออกกำลังกาย

    วันที่ 3 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การทดสอบสมรรถภาพและการออกกำลังกาย

    1. ครูพลศึกษาทดสอบสมรรถภาพนักเรียนปีละ 1ครั้ง
    2. นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาน้ำหหนักเกินมาตรฐาน (อ้วน) ออกกำลังกายโดยปั่นจักรลดพุง
    3. นักเรียนที่ภาวโภชนาการน้ำหนักเกินมาตรฐาน (อ้วน)ออกกำลังกายก่อนเรียนวิชาพลศึกษา
    4. นักเรียนออกกำลังกายยามเช้าก่อนเข้าเรียนทุกวันพุุธ
    5. พยาบาลศูนย์สาธารสุข 68 สะพานสูงได้ตรวจสุภาพนักเรียนทุกคน
    6. ปรับปรุงห้องพยาบาลให้ได้มาตรฐาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. ทดสอบสมรรถภาพนักเรียนปีละ 1 ครั้ง
    2. นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการน้ำหนักเกินมาตรฐาน (อ้วน)ทำกิจกรรมออกกำลังกายเด็กไทยไร้พุง
    3. พยาบาลศูนย์สาธารสุข 68 สะพานสูงได้ตรวจสุภาพนักเรียนทุกคน
    4. ปรับปรุงห้องพยาบาลให้ได้มาตรฐาน

    ผลลัพธ์

    1. นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรงผ่านการทดสอบ
    2. นักเรียนที่มีภาวะโภชนาการน้ำหนักเกินมาตรฐาน (อ้วน) ลดลง
    3. นักเรียนสุขภาพแข็งแรง
    4. ห้องพยาบาลได้มาตรฐาน สวยงาม สะอาดและส่งเสริมความรู้

     

    51 0

    17. ทำยาล้างมือยากำจัดเหาสมุนไพรมะกรูด

    วันที่ 1 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ครูประจำชั้นให้ความรู้บูรณการในวิชาสุขศึกษา เรื่องการล้างมือ สุขบัญญัติ 10 ประการ การใช้ช้อนกลาง การแปรงฟัน การอาบน้ำสระผม
    2. ครูตรวจสุขภาพ เล็บ เหาผม ฟันนักเรียน
    3. นักเรียนแกนนำอสม. ทำการตรวจเหา แลใส่ยากำจัดเหา
    4. ครูและนักเรียนแกนนำช่วยกันทำน้ำยาล้างมือและนำยากำจัดเหาสมุนไพรมะกรูด
    5. เจ้าหน้าที่ศูนย์ฝึกอาชีพ แผนกการตัดผม สำนักงานเขตสะพานสูง ทำการตัดผมให้นักเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. มีนักเรียนแกนนำจำนวน 10 คน ตรวจเหานักเรียน พยาบาอนามัย จำนวน 5 คนตรวจสุขภาพ ตรวจเหา
    2. เจ้าหน้าที่ศูนย์ฝึกอาชีพ เขตสะพานสูง จำนวน 20 คน แผนกการตัดผม สำนักงานเขตสะพานสูงร่วมกิจกรรมตัดผมให้นักเรียน
    3. ทำยากำจัดเหาสมุนไพร

    ผลลัพธ์

    1. นักเรียนได้รับความรู้จากการเรียนวิชาสุขศึกษานำมาต่อยอดดูแลสุขภาพเพื่่อน ๆ และน้อง ๆได้
    2. ได้ผลิตภัณฑ์น้ำยากจัดเหาสมุนไพรแทนน้ำยากำจัดเหาท่ีผสมสารเคมี
    3. นัเรียนผมสั้นถูกระเบียบของโรงเรียน

     

    32 37

    18. ทำโครงงาน เกษตร โภชนาการ สุขภาพอนามัย

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมครูเพื่อนำเสนอแนวทางการดำเนินงานของโครงการศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใส
    2. หน้าสายประชุมเพื่อทำกำหนดการสอนโดยบูรณาการ 8 กลุ่มสาระ 3แบ่งเนื้อหาในแต่ละสายชั้นโดยให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเกษตรในโรงเรียน
      • สายป.1-2 เรียนเรื่อง ถั่วงอก
      • สายป.3-4 เรียนเรื่อง ต้นอ่านทานตะวัน
      • สายป.5-6 เรียนเรื่อง ผักไฮโดรโปรนิกส์ น้ำสมุนไพร
      • สายมัธยม เรียนเรื่อง การเลี้ยงปลาดุก ผักสวนครัว
    3. ครูแต่สายจัดทำแผนกจัดการเรียนรู้บูรณาการพร้อมแบบฝึก
    4. นักเรียนลงมือปฏิบัติจริงการทำโครงงาน
      • ทำโครงงานทำน้ำยากำจัดเหา โครงงานขมนปุยฝ้าย โครงงานทำยาดมสมุนไพร โครงงานการเพาถั่วงอก ต้นอ่อนทานตะวัน
    5. เผยแพร่และขายผลสูโรงเรียนเครือข่าย
    6. จัดนิทรรศการท่ีโรงแรมเซียรังสิต ปาร์ค มหาวิทยาลัยศรีนครินทรืวิโรฒประสานมิตร

    7. ร่วมกันแบ่งเนื้อหาในแต่ละสายชั้นโดยให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเกษตรในโรงเรียน 3.1 สายป.1-2 เรียนเรื่อง ถั่วงอก
      3.2 สายป.3-4 เรียนเรื่อง ต้นอ่านทานตะวัน 3.3 สายป.5-6 เรียนเรื่อง ผักไฮโดรโปรนิกส์ น้ำสมุนไพร 3.4 สายมัธยม เรียนเรื่อง การเลี้ยงปลาดุก ผักสวนครัว

    8. ครูแต่สายจัดทำแผนกจัดการเรียนรู้บูรณาการพร้อมแบบฝึก
    9. นักเรียนลงมือปฏิบัติจริง
    10. เผยแพร่และขยายผลสูโรงเรียนเครือข่าย
    11. จัดนิทรรศการท่ีโรงแรมเซียรังสิต ปาร์ค

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต นักเรียนทำโครงงานทำน้ำยากำจัดเหา โครงงานขมนปุยฝ้าย โครงงานทำยาดมสมุนไพร โครงงานการเพาถั่วงอก ต้นอ่อนทานตะวัน รวม 5 โครงการ ซึ่งมีครูเป็นที่ปรึกษา 5 คน ผลลัพธ์ 1. มีแผนจัดการเรียนรู้การเกษตร โภชนาการและสุขภาพเพื่อประกอบการเรียนการสอนนักเรียน 2. มีโครงงานด้านการเกษตร โภชนาการและสุขภาพ 3. นักเรียนรู้จักคิด แก้ปัญหา อย่างเป็นระบบ 4.ได้ขยายเครือข่ายและจัดนิทรรศการ

     

    3 25

    19. ตกแต่งห้องพยาบาล

    วันที่ 24 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จักตกแต่งห้องพยาลให้ได้มาตรฐาน
      • ทำฝ้าเพดานห้อง
      • เพิ่มแสงสว่างติดไฟดาวไลท์
      • ปูกระเบื้องห้องพยาบาล
    2. สำรวจวัสดุอุปกรณ์ ยาสามัญประจำบ้านหมออายุหรือไม่
    3. ซื้อยาวัสดุอุปกรณ์ ยาสามัญประจำบ้านเพิ่ม และแจกตามสายชั้นเรียนโดยให้หัวหน้าสายรับผิดชอบ
    4. จัดทำไวนิวเสริมความรู้
    5. จัดซื้อผ้าปูที่นอน หมอนพร้อมปลอกหมอนเพิ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. ห้องพยาบาลสะอาด สวยงาม ได้มาตรฐาน
    2. จัดซื้อยาสามัญประจำบ้าน จำนวน  20 ขุด
    3. ทำป้ายไวนิลตกแต่งจำนวน 8 ป้าย

    ผลลัพท์

    1. โรงเรียนมีห้องพยาบาลที่ได้มาตรฐาน
    2. ห้องพยาบาลมียาสามัญประจำบ้านที่มีคุณภาพ
    3. ห้องพยาบาลเป็นแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน

     

    14 17

    20. การเลี้ยงปลาดุก ครั้งที่2

    วันที่ 26 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาชุมชน สำนักงานเขตสะพานสูงให้ความรู้นักเรียนแกนนำในการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินและในวงซีเมนท์
    2. เตรียมสถานที่ อถปกรณ์วัสดุและอาหาร ในการใช้เลี้ยงปลาดุกในบ่อดินและในบ่อวงซีเมนท์
    3. ซื้อพนธ์ปลาดุกที่มีความแข็งแรงและไม่เล็กเกินไปขนาดประมาณ 2 นิ้ว ปลาดุกรัสเซีย 100 ตัวๆละ 3 บาท เป็นเงิน 300 บาท
    4. ซื้ออาหารปลาเล็ก 2 กระสอบ ๆละ 480 บาท เป็นเงิน 950 บาท
    5. ซื้ออาหารปลาโต 2 กระสอบ ๆ ละ 520 บาท เป็นเงิน 1,040 บาท
    6. ซื้อตาข่ายปิดปากบ่อ 10 เมตร ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 200 บาท
    7. เจ้าหน้าท่ีฝ่านพัฒนาชุมชน สำนักงานเขตสะพานสูงอธิบาย การล้างบ่อซีเมนท์ และระดับน้ำในการเลี้ยงปลาดุกต้องมีการถายเทน้ำให้สะอาดไม่ให้น้ำขุ่น เพราะถ้าน้ำขุ่นหรือสกปรกจะเกิดขึ้นจากอาหารตกค้างจะทำให้ปลาดุกตายได้อาการจากคุณภาพน้ำไม่ดีจะสังเกตได้จากปลาท่ีว่ายน้ำขึ้นลงเร็วหว่าปกติ และจะลอยอยู่เหนือน้ำ เป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่าน้ำกำลงสกกปรกควรเปลี่ยนน้ำทันที
    8. นักเรียนลงมือปฏิบัติจริง
    9. นำผลผลิตปลาดุกส่งสหกรณ์โรงเรียนเพื่อต่อยอดสู่โครงการอาหารกลางวันต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. ผลผลิตปลาดุกจำนวน 500ตัว
    2. นักเรียนแกนนำ 100 คน ได้รับความรู้การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินและบ่อวงซีเมนท์ จากเจ้าหน้าที่ 3 คน จากฝ่ายพัฒนาชุมชน เขตสะพานสูง

    ผลลัพท์

    1. นักเรียนแกนนำมีความรู้และทักษะในการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินและบ่อวงซีเมนท์
    2. นักเรียนแกนนำได้ลงมือปฏิบัติในการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินและบ่อวงซีเมนท์
    3. โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุกในบ่อวงซีเมนท์แก่ชุมชน
    4. นำผลผลิตปลาดุกส่งสหกรณ์โรงเรียนเพื่อต่อยอดสู่โครงการอาหารกลางวันต่อไป

     

    113 113

    21. การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ครั้งที่2

    วันที่ 26 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ศึกษาวิธีการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์
    2. ครูอธิบายวิธีการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์     2.1 เตรียมฟองน้ำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    การเกษตรในโรงเรียนในอีกรูปแบบหนึ่ง  ซึ่งสามารถใช้พื้นที่ในการให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างเหมาะสมกับปัจจัยแวดล้อมและบริบทของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร  โดยการปลูกผักผักไฮโดรโปรนิกส์ ไว้หน้าระเบียง เพื่อง่ายต่อการศึกษา  ดูแล  เก็บเกี่ยว  และเป็นแหล่งเรียนรู้ใกล้ห้องเรียน  อีกทั้งยังทำให้สภาพแวดล้อม  บรรยากาศการเรียน  และอาคารเรียนมีความสร้างสรรค์  สวยงาม 1. นักเรียนรับผิดชอบปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ปลอดสารพิษ จำนวน 100คน ครูที่ปรึกษา 2 คน เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาชุมชน 2 คน 2. ได้ผักไฮโดรโปรนิกส์ปลอดสารพิษในการประกอบอาหาร

    ผลสัพธ์ 1. นักเรียนมีความรู้ ทักษะในการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ สามารถขยายผลสู่เครือข่ายได้ 2. นักเรียนนำผลผลิตส่งสหกรณ์โรงเรียนเพื่อต่อยอดสู่โครงการอาหารกลางวัน และจำหน่ายให้ผู้ปกครอง บุคคลากรในโรงเรียน 3. นักเรียนนำความรู้ และประสบการณ์ท่ีได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ 4. เป็นอาชีพเสริมเพ่มรายได้แก่ครอบครัว

     

    113 113

    22. การทำขนมไทยส่งเสริมการขาย

    วันที่ 26 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เชิญวิทยากรบรรยาย การทำกล้วยฉาบ และการทำสลัดโรล
    2. นักเรียนสายชั้นประถมศึกษาปีที่5 - มัธยมศึกษาเข้าฟังบรรยายการทำกล้วยฉาบ และการทำสลัดโรล
    3. แบ่งกลุ่มนักเรียนร่วมกิจกรรมปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำ
    4. ผลผลิตเข้าสหกรณ์โรงเรียนเพื่อจำหน่าย
    5. นำผลงานไปสาธิตและจำหน่ายในการออกร้านที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร
    6. สาธิตให้คณะครูและนักเรียนจากโรงเรียนจังหวัดยะลาที่มาดูงานศูนย์การเรียนรู้โรงเรียนเด็กไทยแก้มใสโรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต นักเรียนสายชั้นประถมศึกษาปีที่5 - มัธยมศึกษาจำนวน 100 คน  ครู 10 คนโดยมีวิทยากรภูมปัญญาท้องถิ่นให้ความรู้ข้ากิจกรรม

    ผลลัพทธ์ 1. โรงเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากการเกษตร 2. โรงเรียนมีผลผลิตกล้วยฉาบ และการทำสลัดโรลส่งสหกรณ์โรงเรียน 3. โรงเรียนป็นแห่งเรียนรู้ด้านเกษตรแก่ชุมชน 4. นักเรียนสามารถนำความรู้ท่ีได้รับไปต่อยอดทำขายเพื่อเพิ่มรานได้แก่ครอบครัว

     

    111 112

    23. การประชุมภาคีเครือข่าย

    วันที่ 28 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมกรรมการสถานศึกษาร่วมกันวางแผนการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้โครงการโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส
    2. ประชุมเครือข่ายผู้ปกครองร่วมกันดำเนินการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้โครงการโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส
    3. ประชุมผู้ปกครองร่วมกันดำเนินการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้โครงการโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส
    4. ประชุมขยายผลเครือข่ายครูเกษตรของแต่ละโรงเรียนในเขตสะพานสูง
    5. จัดเลี้ียงอาหารว่างและอาหารกลาวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. กรรมการสถานศึกษา10 คน ร่วมกันวางแผนการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้โครงการโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส
    2. เครือข่ายผู้ปกครอง 20 คนร่วมกันวางแผนดำเนินการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้โครงการโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส
    3. ผู้ปกครองนักเรียน 60 คนร่วมกันวางแผนดำเนินการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้โครงการโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส
    4. ครูเกษตรของแต่ละโรงเรียนและคณะครู  10  คนในเขตสะพานสูงเข้าใจแนวทางการปฏิบัติการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้โครงการโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส

    ผลลัพธ์

    1. กรรมการสถานศึกษาเครือข่ายผู้ปกครองผู้ปกครองนักเรียน เข้าใจวิธี แนวทางการปฏิบัติการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้โครงการโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส พร้อมทั้งให้คำแนะนำ
    2. ครูเกษตรของแต่ละโรงเรียนและคณะครู ในเขตสะพานสูงเป็นเครือข่ายของศูนย์การเรียนรู้โครงการโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส

     

    110 90

    24. ทำแผนจัดการเรียนรู้บูรณาการ

    วันที่ 28 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมครูเพื่อนำเสนอแนวทางการดำเนินงานของโครงการศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใส
    2. หน้าสายประชุมเพื่อทำกำหนดการสอนโดยบูรณาการ 8 กลุ่มสาระ
    3. ร่วมกันแบ่งเนื้อหาในแต่ละสายชั้นโดยให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเกษตรในโรงเรียน
      • สายป.1-2 เรียนเรื่อง ถั่วงอก
      • สายป.3-4 เรียนเรื่อง ต้นอ่านทานตะวัน
      • สายป.5-6 เรียนเรื่อง ผักไฮโดรโปรนิกส์ น้ำสมุนไพร
      • สายมัธยม เรียนเรื่อง การเลี้ยงปลาดุก ผักสวนครัว
    4. ครูแต่สายจัดทำแผนกจัดการเรียนรู้บูรณาการพร้อมแบบฝึก
    5. นักเรียนลงมือปฏิบัติจริง
    6. เผยแพร่และขายผลสูโรงเรียนเครือข่าย
    7. จัดนิทรรศการท่ีโรงแรมเซียรังสิต ปาร์ค

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    คณะครูสายอนุบาล - สายมัธยมศึกษา ร่วมกันทำแผนจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสอนเกษตร โภชนา การและสุขภาพอนามัย จำนวน 8 แฟ้ม

    ผลลัพท์
    1. นักเรียนมีความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับเกษตร โภชนาการ และ การดูแลสุขภาพอนามัย
    2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการ ปฏิบัติตนให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี
    3. โรงเรียนมีการเผยแพร่และขยายผลสู่โรงเรียนใกล้เคียงและชุมชนหรือผู้ปกครองนักเรียน
    4. ครูมีแผนจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ 5. นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

     

    3 10

    25. การเพาะต้นอ่อนทานตะวัน ครั้งที่2

    วันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รายละเอียดการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน

    1. ศึกษาวิธีการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน
    2. ซื้อเมล็ดทานตะวัน ดินเพาะปลูก ตะกร้าเพาะปลูก
    3. แบ่งกลุมนักเรียนในการเพาะและการดูแลต้นอ่อน

      • เตรียมวัสดุเพาะ ได้แก่ขุยมะพร้าวอ่อน ขี้เถ้าแกลบร่อน กับดินร่วน 1 ต่อ1 ผสมเข้ากัน
      • แช่เมล็ดทานตะวันในน้ำอุ่นทิ้งไว้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง
      • นำเมล็ดทานตะวันห่อด้วยผ้าขาวบางบ่มไว้ประมาณ 2 วัน รากออกเป็นตุ่มขาว ๆ
      • นำวัสดุใส่ตะกร้าที่มีรูตาถี่ ๆ ประมาณ 3/4 ของภาชนะ
      • โรยเมล็ดทานตะวันแล้วเกลี่ยให้ทั่ว โรยขุยมะพร้าวเกลี่ยให้ทั่วอีกครั้งนำไปวางไว้ในที่ร่ม
      • รดน้ำทุกวันเมื่อต้นอ่อนทานตะวันเจริญเติบโดประมาณ 4-5 วันสามารถตัดผลผลิตได้
    4. นำผลผลิตท่ีได้นำส่งสหกรณ์โรงเรียนเพื่อจำหน่ายให้แก่โครงการอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    ผลผลิต -นักเรียนจำนวน  100  คน เข้าร่วมกิจกรรมคิดเป็นร้อยละ  50
    -ครูและบุคลากรจำนวน  2  คน เข้าร่วมกิจกรรมคิดเป็นร้อยละ  100 -จัดทำเพาะต้นอ่อนทานตะวันจำนวน  10  ถาด

    ผลลัพธ์

    1.ได้ต้นอ่อนทานตะวันจำนวน 20  กิโลกรัม 2. นักเรียนได้รับประทานต้นอ่อนทานตะวันปลอดสารพิษ 3. นักเรียนแกนนำที่รับผิดชอบในการเพาะต้นอ่อนทานตะวันมีความรู้ทักษะในการเพาะต้นอ่อนทานตะวันและสามารถนำไปเพาะได้ด้วยต้นเองร้อยละ  85
    4. นักเรียน ครู ผู้ปกครองมีความพึงพอใจร้อยละ 80

     

    107 107

    26. การเลี้ยงไก่ไข่ ครั้งที่2

    วันที่ 1 ธันวาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาชุมชน เขตสะพานสูงให้ความรู้คำแนะนำวิธีการเลี้ยงไก่ไข่แก่นักเรียนแกนนำดังนี้
      • ไก่พันธุ์แท้ เป็นไก่ที่ได้รับการคัดเลือกและผสมพันธุ์มาเป็นอย่างดี จนลูกหลานในรุ่นต่อๆ มามีลักษณะรูปร่าง ขนาด สี และอื่นๆ เหมือนบรรพบุรุษไก่พันธุ์แท้ยกตัวอย่าง ไก่พันธุ์แท้ที่เป็นที่นิยม ได้แก่ โร๊ดไอส์แลนด์แดง บาร์พลีมัทร็อค เล็กฮอร์นขาวหงอนจักร
      • ไก่พันธุ์ผสม ฟังดูอาจจะดูเป็นไก่ไม่ดี แต่ที่จริงแล้วเป็นไก่ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างไก่พันธุ์แท้ 2 พันธุ์ โดยมีจุดประสงค์ให้ลูกไก่ได้ข้อดีของพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ เช่น ไข่ดก ทนทานโรค เป็นต้น ยกตัวอย่างไก่ผสมที่เป็นที่็นิยมก็คือ ไก่ไฮบรีด อุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่ไข่

    ส่วนนี้เป็นสิ่งจำเป็นมากในการเลี้ยงไก่ไข่ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์พื้นฐานอย่างเช่น ถาดหรือรางอาหาร รางน้ำ และอุปกรณ์ที่พิเศษขึ้นมาก็ยกตัวอย่าง เช่น

    • อุปกรณ์การให้อาหาร มีหลายแบบ เช่น ถาดอาหาร รางอาหาร ถังอาหาร เป็นต้น
    • อุปกรณ์ให้น้ำ มีหลายแบบขึ้นอยู่กับอายุไก่ เช่น แบบรางยาว แบบขวดมีฝาครอบ
    • เครื่องกกลูกไก่ ทำหน้าที่ให้ความอบอุ่นแทนแม่ไก่ในตอนที่ลูกไก่ยังเล็กอยู่
    • รังไข่ โดยปกติรังไข่จะควรมีความมืดพอสมควร และมีอุณหภูมิที่เย็น ซึ่งถ้าหากเลี้ยงแบบโรงเรือนก็จะเป็นรางที่ควรทำความสะอาดง่าย หรือถ้าใครเลี้ยงแบบปล่อย ก็ควรมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับการออกไข่ อย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้น
    • วัสดุรองพื้น จำพวก ฟางข้าว ซังข้าวโพด แกลบ เป็นต้น เพื่อความสะอาดและความสบายของตัวไก่
    • อุปกรณ์การให้แสง ทั้งแสงจากธรรมชาติ และแสงจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์
    1. อาหารของไก่ไข่ ส่วนประกอบของสารอาหารที่จำเป็นต่อไก่ไข่ ก็ไม่ได้ต่างจากมนุษย์มากเท่าไหร่ แต่สิ่งที่แตกต่างคือ วัตถุดิบที่นำมาใช้จะต้องเหมาะสมทั้งในเรื่องของ ราคา ปริมาณ และคุณภาพของสารอาหารที่ให้ โดยทางทีมงานอีสานร้อยแปด จะแบ่งให้ทุกคนดูง่ายๆ เป็น สารอาหาร 6 ประเภทใหญ่ๆ

      • โปรตีน ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อในการเจริญเติบโตซ่อมแซมรักษา ในอาหารไก่ไข่ควรจะมีโปรตีนประมาณ13-19%
      • คาร์โบไฮเดรต มีหน้าที่ให้พลังงาน ให้ความอบอุ่น และเพื่อนำไปใช้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ควรจะมีอยู่ในอาหารไก่ไข่ประมาณ38-61%
      • น้ำ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ช่วยในการย่อย การดูดซึม รักษาอุณหภูมิในร่างกาย และช่วยในการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
      • ไขมัน มีหน้าทีให้ความอบอุ่นและพลังงานแก่ร่างกาย แต่ไม่ควรมากเกินไป
      • วิตามิน ช่วยให้ไก่มีความต้านทานโรค และบำรุงระบบประสาท
      • แร่ธาตุ ช่วยในการสร้างโครงกระดูก สร้างเลือด สร้างเปลือกไข่
    2. ชนิดของอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่

      • อาหารผสม เป็นอาหารผสมจากวัตถุดิบที่บดละเอียดแล้วหลายๆ อย่างคลุกเคล้าให้เข้ากัน สามารถนำไปเลี้ยงไก่ได้ทันที
      • หัวอาหาร เป็นอาหารเข้มข้นที่ผสมจากวัตถุดิบพวกโปรตีนจากพืช สัตว์ ไวตามิน แร่ธาตุ และยาต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมและลดต้นทุนค่าอาหาร
      • อาหารอัดเม็ด เป็นอาหารสำเร็จรูปมีให้เลือกหลากหลาย ขึ้นอยู่กับอายุของไก่
      • อาหารเสริม เป็นอาหารที่นำไปเสริมเพื่อเพิ่มสารอาหารด้านต่าง ๆ ที่ยังขาด เพื่อให้ไก่ได้รับสารอาหารครบถ้วน
    3. โรงเรือนในการเลี้ยงไก่ไข่

      • ป้องกันแดด ลม และฝนได้
      • แข็งแรง ทนทาน ป้องกัน นก หนู แมว หรือสุนัขได้
      • ทำความสะอาดได้ง่าย
      • ห่างจากชุมชน และอยู่ใต้ลมของบ้าน เพราะจะได้ไม่มีกลิ่นรบกวน
      • ใช้วัสดุที่หาง่าย ราคาถูก
      • ถ้าสร้างหลายหลังควรมีระยะห่างมากกว่า 10 เมตร เพื่อให้ระบายอากาศได้ดีและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
    4. แบบโรงเรือนในการเลี้ยงไก่ไข่ ลักษณะของโรงเรือนไก่ไข่จะมีหลายแบบขึ้นอยู่กับงบประมาณ วัสดุ ความยากง่ายในการสร้าง รูปแบบของโรงเรือนไก่ไข่มีดังนี้

      • แบบเพิงหมาแหงน แบบนี้จะสร้างง่าย ลงทุนน้อย แต่จะมีข้อเสียคือฝนอาจจะสาดเข้าทางด้านหน้าได้ง่าย และมีความแข็งแรงน้อย
      • แบบหน้าจั่วชั้นเดียว ข้อดีคือแข็งแรงกว่าแบบเพิงหมาแหงน สามารถป้องกันแดด ลม ฝนได้ดีกว่า แต่จะมีค่าวัสดุ อุปกรณ์ และค่าก่อสร้างมากกว่าแบบเพิงหมาแหงน เพราะรูปแบบมีความซับซ้อนมากกว่า
      • แบบหน้าจั่วสองชั้น แบบนี้จะคล้าย ๆ กับหน้าจั่วชั้นเดียว แต่จะต่างกันตรงที่มีหน้าจั่วชั้นที่ 2 เพิ่งขึ้นมาเพื่อช่วยระบายอากาศ ทำให้แบบนี้จะระบายความร้อนได้ดีและเย็นกว่าแบบหน้าจั่วชั้นเดียว แต่ก็จะมีค่าก่อสร้างแพงกว่าหน้าจั่วชั้นเดียว
      • แบบหน้าจั่วกลาย คล้ายเพิงหมาแหงน แต่สามารถกันฝนได้ดีกว่า และมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างมากกว่าเพิงหมาแหงน
      • แบบเพิงหมาแหงนกลาย แบบนี้จะมีกว่าเพิงหมาแหงนและแบบหน้าจั่ว เพราะมีการระบายอากาศ และกันฝน กันแดดได้ดีกว่า แต่ค่าใช้จ่ายถูกกว่าแบบหน้าจั่ว
    5. ปรับปรุงซ่อมโรงเรือนเลี้ยงไก่โดยการทำความสะอาดโรงเรือน กวาดขี้ไก่ และโรยแกลบชุดใหม่

    6. สอบถามราคาพันธ์ไก่ไข่ อุปกรณ์เลี้ยงไก่ไข่ และอาหารไก่ไข่ตามร้านค้า
    7. ซื้อพันธุ์ไก่ไข่ จำนวน 25 ตัว ตัวละ200บาท
    8. ซื้ออุปกรณ์เลี้ยงไก่ไข่จากร้านค้าในชุมชน
    9. ซื้ออาหารไก่ไข่จากร้านค้าในชุมชน
    10. นำผลผลิตไข่ไก่สงสหกรณ์โรงเรียนเพื่่อจำหน่ายให้กับโครงการอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    . เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาชุมชน เขตสะพานสูง 2 คนให้คำแนะนำวิธีการเลี้ยงไก่ไข่แก่นัเรียนแกนนำ 2. โรงเรียนเลี้ยงไก่ไข่ 25  โดยมีผลผลิตจากไก่ไข่ ทุกวัน 25 ฟอง 3. มีนักเรียนเลี้ยงไก่ไข่  30 คน มีครูที่ปรึกษา 2 คน

    ผลลัพธ์

    1. นักเรียนมีไข่ไก่ รับประทานในโครงการอาหารกลางวัน
    2. นักเรียนได้ประสบการณ์จริง ในการปฏิบัติกิจกรรม
    3. นักเรียนมีความรู้ในเรื่องการเลี้ยงไก่ไข่ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 4  โรงเรียนมีการบูรณาการ การเรียนการสอนในกิจกรรม ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้

     

    113 34

    27. การปลูกผักสวนครัว ครั้งที่2

    วันที่ 1 ธันวาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. การให้ความรู้

      • ครูนำเสนอความหมายของ การปลูกพืชผักสวนครัว หน้ากระดาน
      • แบ่งกลุ่มนักเรียนตามความสมัครใจ กลุ่มละ 5 – 6 คน
      • ครูให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มระดมความคิดเพื่อบอกความสำคัญของการปลูกผักสวนครัว
      • นักเรียนสำรวจผักสวนครัวในท้องถิ่น ที่สามารถนำไปปลูกได้ แล้วเขียนสรุปเป็นผังความคิด
      • ครูให้นักเรียนทำใบงานเรื่อง ความหมายและความสำคัญของการปลูกผักสวนครัว
    2. การเตรียมดินปลูกผักปลอดสารพิษ
      2.1 วิธีการเตรียมดิน การเตรียมดิน หมายถึง การปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการ ปลูกพืชแต่ละชนิด การเตรียมดินนั้นมี 2 อย่าง คือ การเตรียมดินแปลงเพาะเพื่อเพาะกล้า และ การเตรียมดินเพื่อปลูก การเตรียมดินเพื่อเพาะกล้าจะต้องเตรียมดินให้ละเอียดมากกว่า และต้องดูแลมากกว่าการเตรียมดินเพื่อปลูกพืช วิธีการเตรียมดินมีขั้นตอนดังนี้

      • กำจัดวัชพืช โดยเก็บเศษวัสดุต่างๆออกจากหน้าดินให้หมด แล้วใช้จอบถาก หรือมีดฟันหญ้า ถ้าวัชพืชอยู่ลึกต้องใช้เสียมหรือพลั่วมือขุดออก
      • กำหนดพื้นที่ปลูก สำหรับแปลงปลูกผักต้องใช้ไม้ปัก 4 มุม โดยวัดความกว้างยาวได้ตามต้องการ
      • ขุดดินบริเวณที่กำหนดไว้ ถ้าเป็นแปลงผักควรขุดดินลึกประมาณ 15 เซนติเมตร พลิกดินด้านล่างขึ้นมาด้านบน ตากไว้ให้แห้ง 2-3 วัน แล้วจึงย่อยดินให้ขนาดเล็กลง และเก็บเศษวัชพืชที่ยัง ค้างอยู่ในดินออกทิ้ง
      • ตกแต่งร่องให้เป็นรูปทรงตามที่กำหนด พรวนดินอีกครั้ง ถ้าดินเป็นกรดใส่ปูนขาว โรยบางๆผสมคลุกเคล้าพร้อมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ทิ้งไว้อย่างน้อย 1 สัปดาห์
    3. การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ

      • เตรียมเมล็ดพันธ์ที่จะลงปลูกให้นักเรียนได้ลงมือทำ
      • ครูให้นักเรียนปลูกผักปลอดสารพิษได้แก่ ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ชะอมมะนาว คะน้า กล้วย โหระพา กระเพรา มะกรูด มะเขือ พริก
      • นักเรียนดูแลรักษาพืชผักที่ปลูก รดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย
    4. นักเรียนเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้จากการปลูก นำส่งโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนและเสริมสร้างรายได้แก่นักเรียนและจำหน่ายไปยังตลาดนัดนักเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    ผลผลิต
    1. นักเรียนปลูกผักสวนครัว 30 คน ครูที่ปรึกษา 2 คน ฝ่ายัฒนาชุมขนเขตสะพานสูง 3 คน 2. ได้ผักสวนครัวปลอดสารพิษในการประกอบอาหารกลางวัน 3. แกนนำนักเรียนได้นำความรู้ในการปลูกพืชสวนครัวไปขยายผลต่อในครอบครัว

    ผลลัพธ์ 1. มีสวนครัวปลอดสารพิษสงสหกรณ์โรงเรียนและต่อยอดสู่โครงการอาหารกลางวัน 2. นักเรียนได้นำความรู้ในการปลูกพืชสวนครัวไปขยายผลต่อในครอบครัว 3. โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ในการปลูกสวนครัวปลอดสารพิษแก่ชุมชน 4. นักเรียนได้รับผักที่มีประโยชน์ไม่มีสารปนเปื้อน

     

    115 35

    28. การเพาะถั่วงอก ครั้งที่2

    วันที่ 1 ธันวาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ครูให้ความรู้ แนะนำวิธีการเพาะถั่วงอก พร้อมสาธิต
    2. ซื้อเมล็ดถั่วเขียว ดินเพาะปลูก ตะกร้าเพาะปลูก
    3. แบ่งกลุมนักเรียนลงมือปฏิบัติจรงในการเพาะและการดูแลต้นถั่วงอก
      • นำถั่วเขียวล้างน้ำให้สะอาด 2-3 ครั้ง
      • แช่ถั่วเขียวในน้ำอุ่น ทิ้วไว้ประมาณ 6-8 ชั่วโมง
      • วางตะแกรงในถังและวางตะแกรงในล่อนทับ
      • โรยเมล็ดถั่วบนตะแกรงในล่อน
      • นำตะแกรงวาทับเมล็ดถั่วเขียวชั้นท่ี 1-3 แล้วปิดตะแกรงด้านบนอีกครั้ง
      • เครื่องเพาะจะปล่อยระบบน้ำอัตโนมัติทุก 2 ชั่วโมง
      • รอประมาณ 3 วันก็จะได้ถั่วงอกปลอดสารพิษ
    4. นำผลผลิตส่งสหกรณ์โรงเรียนเพื่อต่อยอดสู่โครงการอาหารกลางวัน
    5. ผลผลิตบางส่วนขายครู บุคคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครอง นักเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. นักเรียนจำนวน 100 คนได้รับความรู้ในการเพาะถั่วงอกปลอดสารพิษซึ่งมีครู 6 คนและฝ่านพัฒนาชุมฃนเขสะพานสูง 3 คนให้คำปรึกษา
    2. ได้ถั่วงอกปลอดสารพิษ 30 กก./ถังในการประกอบอาหารสู่โครงการอาหารกลางวัน

    ผลลัพธ์ 1. นักเรียนสามารถเพาะถั่วงอกปลอดสารพิษได้ 2. นักเรียนได้รับประทานอาหารปลอดสารพิษ 3. นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง 4. นักเรียนนำความรู้ในการเพาะถั่วงอกปลอดสารพิษไปต่อยอดในชีวิตประจำวัน 5. นักเรียนมีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว

     

    109 109

    29. การพัฒนาบุคคลากรด้านการส่งเสริมการพัฒนาสุขนิสัยให้นักเรียน

    วันที่ 1 ธันวาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. พยาบาลสาธารณสุข 68 สะพานสูงให้ความรู้เรื่องสุขบัญญัติ
    2. สาธฺิตการล้างมือและนักเรียนปฏิบัติตาม
    3. นักเรียนแปรงฟันหลังอาหาร
    4. พัฒนาศักยภาพบุคคลากรด้านการส่งเสริมการพัฒนาสุขนิสัยให้นักเรียน

      • ทำหนังสือเรียนเชิญพยาบาลอนามัย ศูนย์ 68 สะพานสูงให้ความรู้การส่งเสริมการพัฒนาสุขนิสัยแก่นักเรียนด้านการล้างมือ แก่ครู
      • ครูทุกคนเข้ารับการอบรม
      • พยาบาลอนามัยสาธิตการล้าง 7 ขั้นตอน ครูฝึกปฏิบัติตาม
    5. พยาบาลอนามัย ศูนย์ 68 สะพานสูง เขตสพะานสูง กทม. กำจัดเหาให้นักเรียน

    6. เจ้าหน้าที่ศูนย์ฝึกอาชีพ เขตสะพานสูง ตัดผมให้แก่นักเรียนผมยาว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต
    1. ครูและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนา สุขนิสัยให้กับนักเรียน 2. นักเรียนที่เป็นเหาได้รับ กำจัดเหาทุกเดือน
    3. นัเรียนชายได้ตัดผม

    ผลลัพท์
    1. นักเรียนได้รับการดูแล ให้มีสุขนิสัยที่ดีมากขึ้น
    2. สถิตินักเรียนเป็นเหา เหลือ 1 % ของจำนวนนักเรียนที่เป็นเหา
    3. นักเรียนมีทรงผมทรงนักเรียนถูกต้องตามกฎระเบียบ 4. นัเรียนุกคนปฏิบัติการล้างมือที่ถูกต้อง 7 ขั้นตอน 5. ครูได้รับความรู้พัฒนาตนเองเพิ่มขึ้น

     

    64 0

    30. ทำน้ำยาล้างจาน ครั้งที่2

    วันที่ 19 ธันวาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ศึกษาวิธีการทำน้ำยาล้างจาน
    2. สำรวจจราคาวัสดุในการทำน้ำยาล้างจานจากร้านค้า
    3. ซื้อเอ็น 70 เกลือ สับปะรด มะนาว มะกรูด
    4. แบ่งนักเรียนลงมือปฏิบัติจรงการทำน้ำยาล้างจานร่วมกับแม่ครัว
    5. นำผลผลิตท่ีได้ส่งสหกรณ์โรงเรียนเพื่อจำหน่ายให้กับโตรงการอาหารกลางวันเพื่อให้แม่ครัวนำไปล้างจาน
      กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

    จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 0 คน

    รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

    รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

    1. ศึกษาวิธีการทำน้ำยาล้างจาน
    2. สำรวจจราคาวัสดุในการทำน้ำยาล้างจานจากร้านค้า
    3. ซื้อเอ็น 70 เกลือ สับปะรด มะนาว มะกรูด
    4. แบ่งนักเรียนลงมือปฏิบัติจรงการทำน้ำยาล้างจานร่วมกับแม่ครัว
    5. นำผลผลิตท่ีได้ส่งสหกรณ์โรงเรียนเพื่อจำหน่ายให้กับโตรงการอาหารกลางวันเพื่อให้แม่ครัวนำไปล้างจาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    ผลผลิต 1. นัเรียนที่ทำน้ำยาล้างจาน 10  คน ครูที่ปรึกษา 1 คน 2. ได้น้ำยาล้างจาน 15 ลิตร/ 1ชุด

    ผลลัพธ์ 1. น้ำยาล้างจานสมุนไพรมีประสิธิภาพในการล้างจานดี 2. นักเรียนมีความรู้สามารถผลิตน้ำยาล้างจานได้ 3. โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ในการผลิตน้ำยาสมุนไพร 4. สามารถนำใปใช้ในครัวเรือน 5. สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว

     

    112 11

    31. ทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ ครั้งที่2

    วันที่ 23 ธันวาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เจ้าหน้้าที่ฝ่ายงานรักษาให้ความรู้การทำปุ๋น้ำชีวภาพแก่นักเรียนสายป. 5
    2. อธิบายขั้นตอนการทำ วัสดุอุปกรณ์ท่ีใช้และประโยนช์ของน้ำหมักชีวภาพ
    3. สาธิตการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ
    4. นักเรียนลงมือปฏิบัติจริง
    5. นักเรียนนำน้ำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพไปใช้จริงในชีวิตประจำวัน ◦เทในลำคลอง ◦ผสมน้ำรดน้ำต้นไม้ ◦ล้างส้วม ◦ล้างพื้นโรงอาหาร ◦เทลงท่อระบายน้ำบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. มีนักเรียนแกนนำในการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจำนวน 100 คน ครูที่ปรึกษา 5 คน ฝ่ายพัฒนาชุมชน เชตสะพานสูง 2 คน
    2. มีปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจำนวน 100 ขวด ใช้ทำความสะอาดแทนน้ำยาสารเคมี

    ผลลัพธ์

    1. นักเรียนได้รับความรู้ถงประโบนช์และขั้นตอนในการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ
    2. ได้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพแทนน้ำยาท่ีผลมสารเคมี
    3. นำไปเทในลำคลองทำให้น้ำในลำคลองใสขึ้นและเพิ่ออกซิเจนในน้ำ
    4. ใช้รดผลสมน้ำรดน้ำต้นไม้ทำให้ต้นไม้เจริญงอกงามดี
    5. น้ำไปล้างพื้นโรงอาหาร ล้างส้วม ล้างท่อระบายน้ำสะอาดดีไม่มีกลิ่นเหม็น
    6. นำไปจำหน่ายเพิ่มรายได้

     

    112 107

    32. ทำยาล้างมือ ยากำจัดเหาสมุนไพรมะกรูด ครั้งที่ 2

    วันที่ 2 มกราคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ครูประจำชั้นให้ความรู้บูรณการในวิชาสุขศึกษา เรื่องการล้างมือ สุขบัญญัติ 10 ประการ การใช้ช้อนกลาง การแปรงฟัน การอาบน้ำสระผม
    2. ครูตรวจสุขภาพ เล็บ เหาผม ฟันนักเรียน
    3. นักเรียนแกนนำอสม. ทำการตรวจเหา แลใส่ยากำจัดเหา
    4. พยาบาลอนามัย ศูนย์สาธารณสุข 68 สะพานสู เขตสะพานสูง ใส่ยากำจัดเหานักเรียน
    5. ครูและนักเรียนแกนนำช่วยกันทำน้ำยาล้างมือและนำยากำจัดเหาสมุนไพรมะกรูด
    6. เจ้าหน้าที่ศูนย์ฝึกอาชีพ แผนกการตัดผม สำนักงานเขตสะพานสูง ทำการตัดผมให้นักเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. มีนักเรียนแกนนำตรวจสุขภาพนักเรียน
    2. เจ้าหน้าที่ศูนย์ฝึกอาชีพ แผนกการตัดผม สำนักงานเขตสะพานสูงร่วมกิจกรรม
    3. ทำยากำจัดเหาสมุนไพร
    4. ทำน้ำยาล้างมืออเนกประสงค์สมุนไพร

    ผลลัพธ์

    1. นักเรียนได้รับความรู้จากการเรียนวิชาสุขศึกษานำมาต่อยอดดูแลสุขภาพเพื่อน ๆ และน้อง ๆได้
    2. ได้ผลิตภัณฑ์น้ำยากจัดเหาสมุนไพรแทนน้ำยากำจัดเหาท่ีผสมสารเคมี
    3. นัเรียนผมสั้นถูกระเบียบของโรงเรียน
    4. ได้น้ำยาล้างมืออเนกประสงค์สมุนไพรแทนน้ำยาล้างมืออเนกประสงค์สมุนไพร

     

    113 113

    33. กิจกรรมเด็กไทยไร้พุง ครั้งที่2

    วันที่ 2 มกราคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การทดสอบสมรรถภาพและการออกกำลังกาย

    1. ครูพลศึกษาทดสอบสมรรถภาพนักเรียนปีละ 1ครั้ง
    2. นักเรียนท่ีมีภาวะทุพโชนาเกิน (อ้วน) ออกกำลังกายโดยปั่นจักรลดพุง กระโดดเชือก เล่นฮูลาฮุบ ปั่นเพื่อสุขภาพ
    3. นักเรียนท่ีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (อ้วน)ออกกำลังกายก่อนเรียนวิชาพลศึกษา
    4. นักเรียนออกยามเช้าก่อนเข้าเรียนทุกวันพุธ
    5. การตรวจสุขภาพนักเรียน
    6. จัดซื้ออุปกรณ์ออกกำลังกายเพิ้มเติม
    7. การปรับปรุงห้องพยาบาล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต
    1. นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพทุกคน
    2. นักเรียนได้รับการทดสอบสมรรถภาพทางกายอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง 3. นักเรียนที่อ้วนได้รับการแก้ไข 100 %
    4. นักเรียนที่อ้วนได้รับการออกตอนเช้าทุกวันพุธและออก กำลังกายด้วยการปั่นจักรยาน
    5. ห้องพยาบาลให้ได้มาตรฐาน สวยงาม สะอาดและ ส่งเสริมความรู้ทั่วไป

    ผลลัพท์
    1. โรงเรียนมีสารสนเทศ ด้านสุขภาพนักเรียน 100%
    2. นักเรียนที่มีปัญหาด้าน สมรถภาพทางกายได้รับการแก้ไข 100 %
    3. จำนวนนักเรียนที่เป็นโรคอ้วนลดลงอย่างน้อย 7 %
    4. โรงเรียนมีห้องพยาบาลได้ผ่านมาตรฐาน
    ปีการศึกษา 2559 ภาคเรียนที่ 2 เมื่อเปรียบเทียบ ปรากฎว่า 1. เตี้ย ลดลง 0.22
    2. ผอม ลดลง 0.71 3. อ้วน  เพิ่มขึ้น 1.23 4. อ้วน-เริ่มอ้วน เพิ่มขึ้น 1.37

     

    110 857

    34. อบรมผู้ปกครองสำหรับนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินมาตราฐาน

    วันที่ 9 มกราคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.การชั่งน้ำหนัก -วัดส่วนสูง โดยครูประจำชั้นแล้วแปรผล

    2.การบันทึกสุขภาพโดยครูประจำชั้น

    3.ทำหนังสือเชิญผู้ปกครองและนักเรียนที่มีปัญหาทุพโภชนาการเกิน (อ้วน)เข้ารับการอบรม

    4.ทำหนังสือเรียนเชิญพยาบาลอนามัยศูนย์สาธารณสุข 68 สะพานสูงให้ความรู้แก่ผู้ปกครองและนักเรียนที่มีปัญหาทุพโภชนาการเกิน (อ้วน)

    5.พยาบาลอนามัยศูนย์สาธารณสุข 68 สะพานสูงให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหาร การดูแล รักษาสุขภาพ
    6.เลี้ยงอาหารว่างและอาหารกลางวันผู้ปกครอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต
    1. นักเรียน จำนวน 828 คน ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ภาค เรียนละ 2 ครั้ง
    2. โรงเรียนมีสารสนเทศด้าน สุขภาพนักเรียน ร้อย100 3. ผู้ปกครองและนักเรียนที่มี ปัญหาทุพโภชนาการจำนวน 97 คนได้รับ ความรู้เกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหาร การดูแล รักษาสุขภาพ

    ผลลัพท์
    1.นักเรียนที่มีน้ำหนัก ไม่ได้มาตรฐานได้รับการ ช่วยเหลือ ด้วยวิธีการ ต่าง ๆ มีโครงการเด็กไทยไร้พุง

    2.นักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูงได้เกณฑ์มาตรฐานมากขึ้น
    3.นักเรียนที่มีปัญหาได้รับการช่วยเหลือ

    4.นักเรียนที่มีปัญหาทุพโภชนาการได้รับการแก้ไข สถิตินักเรียนที่มีปัญหา ทุพโภชนาการ ลดน้อยลง

     

    112 206

    35. ติดตามภาวะโภชนาการนักเรียน

    วันที่ 9 มกราคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

    1. ชั่งนำหนัก-วัดส่วนสูงนักเรียนทุกคนบันทึกในสมุดบันทึกน้ำหนัก-วัดส่วนสูงภาคเรียนล 2 ครั้ง
    2. นำข้อมูลน้ำหนัก-ส่วนสูงไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย
    3. บันทึกรายชื่อนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (อ้วน)และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน(ผอม)
    4. นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (อ้วน)และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน(ผอม)ทำกิจกรรมเด็กไทยไร้พุง
    5. ให้ความรู้ผู้ปกครอง นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (อ้วน)และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน(ผอม)ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต

    1. นักเรียนจำนวน 828 คน ชั่งน้ำหนัก-วัดส่วนสูงภาคเรียนละ 2 ครั้ง
    2. นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (อ้วน)และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน(ผอม) จำนวน 97 คนกิจกรรมเด็กไทยไร้พุง
    3. ผู้ปกครอง นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (อ้วน)และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน(ผอม) จนวน 97 คนประชุมปรึกษาหาแนวทางแก้ไข

    ผลลัพธ์

    1. ได้รับทราบจำนวนนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (อ้วน)และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน(ผอม) ปีการศึกษา 2559 ภาคเรียนที่ 2 เมื่อเปรียบเทียบ ปรากฎว่า -  เตี้ย ลดลง 0.22 - -  ผอม ลดลง 0.71 -  อ้วน  เพิ่มขึ้น 1.23 -  อ้วน-เริ่มอ้วน เพิ่มขึ้น 1.37
    2. นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน (อ้วน)และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน(ผอม)ได้รับการช่วยเหลือเข้าร่วมกิจกรรมเด็กไทยไร้พุงเพื่อให้มีจำนวนลดน้อยลงและมีน้ำได้เกณฑ์มาตรฐาน
    3. ผู้ปกครอง และนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนการได้รับความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัตนในชีวิตประจำวัน การเลือกรับประทานอาหาร การดูแลสุขภาพ

     

    100 860

    36. ถอนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

    วันที่ 4 เมษายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ถอนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ถอนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

     

    2 2

    37. จัดทำรายงานปิดโครงการ งวด 2 พร้อมคืนดอกเบี้ย

    วันที่ 6 เมษายน 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

      จัดทำรายงานปิดโครงการ งวด 2 พร้อมคืนดอกเบี้ย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดทำรายงานปิดโครงการ งวด 2 พร้อมคืนดอกเบี้ย

     

    1 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนสารอาหารและการพัฒนาภาวะโภชนาการและสุขภาพระยะยาว
    ตัวชี้วัด : นักเรียนทำเกษตรปลอดสารพิษได้ผลผลิตสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักเรียนได้รับประทานอาหารปลอดภัยมีสารอาหารครบถ้วนทำให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการสมวัย นักเรียนได้รับกินผัก – ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวัน เฉลี่ย ผัก วันละประมาณ40 – 100 กรัมอนุบาล3ช้อน (50 กรัม) ประถม 4 ช้อน (70กรัม)ผลไม้ (อนุบาล ½ ส่วน ประถม1ส่วน ) ต่อมื้อต่อคน
    1. แหล่งผลิตวัตถุดิบด้ายเกษตร เช่น ไข่ไก่ ผักสวยครัว เก็ดนางฟ้า ต้นอ่อนทานตะวัน ถั่วงอก ปลาดุกผลิตที่ได้ส่งผ่านสหกรณ์โรงเรียนเป็นวัตถุดิบส่งต่อยอดสู่โครงการอาหารกลางวันเพื่อประกอบอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน
    2. นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้เพิ่มขึ้นทั้งการบริโภคที่โรงเรียนและที่บ้าน
    3. ประเมินจากรายการอาหารกลางวันที่จัด และประเมินจากปริมาณการตักอาหารและการบริโภคของนักเรียนและเอกสารการจัดซื้อวัตถุดิบ
    2 เพื่อสร้างกระบวนการประเมิน ติดตามและเฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน
    ตัวชี้วัด : เกิดกระบวนการประเมิน ติดตามเฝ้าระวังแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน ส่งผลให้ภาวะโภชนาการของนักเรียนลดลงนักเรียนเจริญเติบโตสมวัยโดยมี ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกิน7% ภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกิน7% ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ไม่เกิน7%
    1. ชั่งน้ำหนัก - วัดส่่วนสูงนักเรียนภาคเรียนละ 2 ครั้ง ประมวลผลตามโปรแกรมคำนวณภาวโภขชนาการ สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
    2. นักเรียนเจริญเติบโตสมวัยโดยมี ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกิน7% ภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกิน7% ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ไม่เกิน7%
    3. นักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนทำกิจกรรมโครงการเด็กไทยไร้พุง
    4. ดูความเปลี่ยนแปลงภาะวะโภชนาการก่อน-หลังดำเนินการจากการเฝ้าระวังโดยการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงแปรผลเปรียบเทียบ
    3 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนตามแนวการดำเนินงานความสำเร็จของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร
    ตัวชี้วัด : ชุมชน/หน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเกษตรการจัดการบริการอาหาร และโภชนาการ

    การประเมินการมีส่วนร่่วมของชุมชน/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาการเกษตรการจัดการบริการอาหาร และโภชนาการโดยให้ความและแนะนำด้านการเกษตร ได้แก่ 1. ชุมชนหวังหนับอุทิศ 2. ชุมชนสุเหร่าซีรอ หมู 8 3. ฝ่ายพัฒนาชุมชน เขตสะพานสูง 4. ฝ่ายสิงแวดล้อม เขตสะพานสูง 5. กรมประมง 6. ศูนย์ยริการสาธารณสูข 68 สะพานสูง 7. ตณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนสุเหร่าซีรอ(ราษฎร์สามัคคี)

    -

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนสารอาหารและการพัฒนาภาวะโภชนาการและสุขภาพระยะยาว (2) เพื่อสร้างกระบวนการประเมิน ติดตามและเฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน (3) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนตามแนวการดำเนินงานความสำเร็จของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี)

    รหัสโครงการ ศรร.1233-117 รหัสสัญญา 58-00-2265-ก.16 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    ผักออแคนิคบนอาคารเรียนที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

    เนื่องจากโรงเรียนมีพื้นที่น้อยจึงใช้บริเวณหน้าระเบียงอาคารเรียนในการปลูกผักออ์แคนิค โดยใช้ท่อพีวีซีในการเพาะปลูกและมีแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรในโรงเรียน จัดเป็นฐานการเรียนรู้จำนวน 8 ฐานได้แก่ - ฐานเรียนรู้การเพาะถั่วงอก -ฐานเรียนรู้เพาะต้นอ่อนทานตะวัน - ฐานเรียนรู้การปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ - ฐานเรียนรู้การเลี้ยงไก่ไข่ - ฐานเรียนรู้พืชสมุนไพร -ฐานเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุก -ฐานเรียนรู้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ -ฐานเรียนรู้การทำนาข้าว - ฐานเรียนรู้เกษตรปลอดสารพิษ 2. แบ่งนักเรียนแต่ละสายชั้นรับผิดชอบ ดูแลผลิตของแต่ละฐาน 3. นักเรียนนำผลผลิตที่ได้ของแต่ละฐานเรียนรู้ส่งสหกรณ์โรงเรียนเพื่อต่อยอดเข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน 4.นักเรียนนำผลิตบางส่วนจำหน่ายแก่ครู บุคคลากรและผู้ปกครองในช่วงเย็น 5. เป็นแหล่งเรียนบูรณาการทักษะชีวิตลดเวลาเรียนเพิ่มเวลาเรียนรู้ 5หลักฐานจากรูปภาพและบัญชีรายรับจ่ายกิจกรรมด้านเกษครในโรงเรียน หลักฐาน เอกสารแนวทางการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม/ภาพประกอบ

    1. ขยายผลเครือข่ายโรงเรียนและชุมชน
    2. นำผลิตบางส่วนส่งร้านค้าในชุมชน
    3. จัดตลาดนัดจำหน่ายแก่ผู้ปกครองช่วงหลังเลิกเรียน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    สหกรณ์โรงเรียนส่งเสริมการขาย

    กระบวนการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในกิจกรรมสหกรณืและมีการส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกทักษะอาชีพเสริมด้วยการทำขนมที่มีประโยชน์ส่งสหกรณ์ในชั่วโมงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ที่ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้การเลือกขนมเข้าสหกรณ์และมีทักษะการบริหารจัดการสหกรณ์ นอกจากนี้มีการขายผลิตผลทางการเกษตรและส่งต่อโครงการอาหารกลางวัน จากการระดมทุน หุ้นสหกรณ์ ของนักเรียน ครูและบุคคลากรในโรงเรียน โดยมีนักเรียนเป็นคณะกรรมการรับผิดขอบหน้าที่ต่าง ๆลงปฏิบัติจริงมีครูเป็นที่ปรึกษาบริหารจัดการในทุกเรื่องร่วมกันเช่นปันผลกำไรให้แก่สมาชิกเมื่อสิ้นปีการศึกษา และพัฒนาความรู้ด้านสหกรณ์แปรรูปผลผลิตจากภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ความรู้นักเรียนในการแปรรูปผลผลิตด้านการเกษตร ได้แก่ การทำกล้วยฉายทำสลัดโรล หลักฐานผลผลิตของนักเรียน บัญชีรายบรั-รายจ่ายของสหกรณ์ รูปภาพ

    1. ให้ผู้ปกครองนักเรียนทำขนมมาส่งให้กับสหกรณ์โรงเรียน
    2. ให้ผู้ปกครองนำผลผลิตด้านการเกษตรมาส่งให้กับสหกรณโรงเรียน 3.สร้างขนม OTOP ของโรงเรียนขยายผลสู่ชุมชนในประเพณีงานต่าง ๆ เช่นงานแต่งงาน งานทำบุญ
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    เรียนรู้ความต้องการอาหารแต่ละวัยจากอาหารกลางวัน(นักเรียนป.5-ม.3)

    กระบวนการสร้างการเรียนรู้ด้านโภชนาการให้กับนักเรียนเรื่องความต้องการและการรับประทานอาหารแต่ละมื้อที่เหมาะสมกับช่วงวัย และให้รู้จักควบคุมปริมาณอาหารที่เหมาะสมกับตนเองโดยไม่ต้องใช้มาตรการบังคับในเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ ให้นักเรียนตักข้าวและกับข้าวด้วยตนเองในระยะแรกจะมีครูคอยแนะนำการตักจนนักเรียนสามารถตักได้ตามมาตรฐานครูจะคอยดูแลให้นักเรียนตักเอง ซึ่งรายการอาหารครูโภชนาการดำเนินการลงข้อมูลรายการอาหารกลางวันหมุนเวียนรายเดือนโดยใช้โปรแกรมTSL(Thai school lunch)และ จัดทำอาหารตามรายการอาหาร และใช้วัตถุดิบของเกษตรในโรงเรียนและท้องถิ่นตลอดจนมีการอบรมแม่ครัวเรื่องสุขาภิบาลอาหาร อบรมนักเรียน อย.น้อยในการตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและอบรมนักเรียน แม่ครัว ครู ในการตักอาหารตามปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสมตามหลักโภชนาการทั้งนี้รายการอาหารเน้นผักเนื้อสัตวืไม่ติดมันและผลไม้ หลักฐาน รายการอาหาร รูปภาพ

    1. บูรณาการกับครูสอนวิชาคอมพิวเตอร์แนะนำให้นักเรียนจัดรายการอาหารหมุนเวียน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    จักรยานเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายและลดอ้วนลดพุง

    นำจักรยานเก่าๆที่ไม่ใช้แล้วซ่อมและพ่วงสายพานกับมอเตอร์แล้วต่อสายยางเข้าแปลงเกษตรให้นักเรียนที่มีภาวะอ้วนปั่นออกกำลังกายและรดน้ำผักควบคู่เป็นแรงจูงใจให้นักเรียนออกกำลังกายส่วนหนึ่งนอกเหนือกิจกรรมทางกายอย่างอื่นที่ทางโรงเรียนจัดให้ซึ่งการเฝ้าระวังทางโภชนาการมีการ จัดทำฐานข้อมูลน้ำหนักส่วนสุงสมรรถภาพทางกายของนักเรียนและการแปรผลภาวะโภชนาการและนำข้อมูลไปใช้ในการแก้ปัญหาเด็กอ้วนโดยจัดกิจกรรมออกกำลังกายตอนเช้าก่อนเข้าห้องเรียน และทำกิจกรรมโครงการเด็กไทยไร้พุง ติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียนกลุ่มเสี่่ยงอย่างต่อเนื่อง หลักฐาน รูปภาพเอกสารโครงการ/สรุปผลการดำเนินงาน

    จัดกิจกรรมการออกกำลังกายรูปแบบอื่น ๆ เพื่อลดจำนวนเด็กกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    น้ำยาจากพี่ใจสู่น้องป้องกันโรค

    จากปัญหาของโรคติดต่อบางชนิดที่สามารถป้องกันได้เพียงการล้างมือบ่อยๆ ล้างมืออย่างถูกวิธี จึงได้มีการจัดกิจกรรมพัฒนาสุขนิสัยและส่งเสริมสุขภาพอนามัยโดยใช้น้ำยาเอกนประสงค์และให้นักเรียนรุ่นพี่เป็นแกนนำสื่อสารให้น้องและลงมือปฏิบัติจริงในการการทำน้ำยาล้างมือ ล้างจานอเนกประสงค์ จากสมุนไพรมะนาวและสับปะรด ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้คือ หั่นสับปะรดหรือมะนาวเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่หม้อตั้งไฟต้มให้เละจากนั้น กรองน้ำสับปะรดหรือน้ำมะนาวด้วยผ้าขาวบางหรือตะแกรงตาถี่ ๆแล้วนำมาผสมเกลือกับเอ็น 70 ในถังกวนไปทางเดียวกันให้เข้ากันจนขาวข้น ค่อย ๆ เติมน้ำสับปะรดหรือน้ำมะนาวคนให้เข้ากัน เติมแต่งสีสรรด้วยสีผสมอาหารคนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 1 คืนเพื่อให้ฟองยุบ กรองใส่ขวดนำไปล้างจานได้และล้างมือมีการรณรงค์และใช้ล้างมือโดยรุ่นพี่มัธยมศึกษาจัดกิจกรรมและดูแลให้น้องๆได้ใช้ หลักฐานเอกสารการจัดทำน้ำยา กิจกรรมรณรงค์/ภาพประกอบ

    1. จัดตลาดนัดจำหน่ายแก่ผู้ปกครองช่วงหลังเลิกเรียน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    โรงเรียนปลอดขยะ

    ให้นักรียนคัดแยกขยะจากในห้องเรียนเช่นกระดาษขาว กระดาษสี ขวดน้ำ นำมาส่งขายที่ธนาคารขยะและเงินที่ได้ก็จะนำไปพัฒนาห้องเรียน และด้านล่างของอาคารก็จะมีถังสำหรับแยกขยะสำหรับขยะ 4 ประเภทใด้แก่ขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป ขยะอันตราย และขยะรีไซเคิล เพื่อลดปริมาณขยะในโรงเรียนและเพื่อให้นักเรียนเรียนรู้การคัดแยกและการใช้ประโยชน์จากขยะที่ไม่ใช้แล้วซึ่งธนาคารขยะดำเนินการโดยนักเรียนส่วนขยะอินทรีย์นำไปทำน้ำหมักชีวะภาพ

    1. จัดตลาดนัดจำหน่ายปุ๋ยน้ำชีวภาพจากมะนาว และสับปะรด มะกรูดแก่ผู้ปกครองช่วงหลังเลิกเรียน 2.ทำแกสชีวะภาพจากขยะอินทรีย์ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    โรงเรียนสุเหร่าซีรอ (ราษฎร์สามัคคี) จังหวัด กรุงเทพมหานคร

    รหัสโครงการ ศรร.1233-117

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายธีระพร ทองสาด )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด