ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

โรงเรียนบ้านยางงาม


“ โรงเรียนบ้านยางงาม ”

หมู่ที่ 10 ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นายอาจินต์ สุขศรีสังข์

ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านยางงาม

ที่อยู่ หมู่ที่ 10 ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ ศรร.1412-114 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-ต.3

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2016 ถึง 30 เมษายน 2017


กิตติกรรมประกาศ

"โรงเรียนบ้านยางงาม จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 10 ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนบ้านยางงาม ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนบ้านยางงาม



บทคัดย่อ

โครงการ " โรงเรียนบ้านยางงาม " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 10 ตำบลท่าช้าง อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ ศรร.1412-114 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก โรงเรียนบ้านยางงาม เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 144 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน ๘ องค์ประกอบคือ
๑. การเกษตรในโรงเรียน
๒. สหกรณ์นักเรียน
๓. การจัดการบริหารของโรงเรียน
๔. การติดตามภาวะโภชนาการ
๕. การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน
๖. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
๗. การจัดบริการสุขภาพ ๘. การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย

โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณะสำคัญใน ๔ ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๗-๒๕๕๘) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น ๕๔๔ โรงเรียนจากทั่วประเทศ

สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ ๖-๑๒ ปี จำนวน ๑,๔๙๒,๐๘๖ คน ใน ๗๖ จังหวัด ของกรมอนามัย ปี ๒๕๕๕ พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ ๑๒.๕ เตี้ยร้อยละ๑๖.๘ และระบุว่านักเรียนอายุ ๖-๑๒ ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ ๕๑.๖ ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี ๒๕๔๔พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน ๑.๒ ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน ๒๒๓,๒๘๘ คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน ๕๙๐,๐๘๗ คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน๒๕๘,๑๔๙ คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ๑) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ ๖๐ กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ ๔๐๐ กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ ๖๗.๔ นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย ๕-๗ ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย ๓ ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง ๑๐ ช้อนชา และ ๒) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนบ้านยางงามจึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ ๑ เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่งในปีที่ ๑ ได้ดำเนินการดังต่อไปนี้ (สรุปผลการดำเนินงาน ของโครงการฯ ปีที่ ๑ พร้อมสถานการณ์ด้านอาหารและโภชนาการของเด็กนักเรียน ก่อน-หลัง เข้าร่วมโครงการ และกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จที่เห็นผลผลิต ผลลัพธ์ หรือนวัตกรรม อย่างเป็นรูปธรรม ตามข้อมูลในใบสมัครส่วนที่ ๓) จากสถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนโรงเรียนบ้านยางงาม ปี ๒๕๕๗ พบว่านักเรียนมีภาวะโภชนาการ ดังนี้ อ้วนร้อยละ ๑๕.๙๐ผอมร้อยละ ๑๔.๔๐สมส่วน ร้อยละ ๖๙.๗๐ปี ๒๕๕๘ อ้วนร้อยละ ๑๐.๖๕ผอมร้อยละ ๑๐.๖๓สมส่วน ร้อยละ ๗๘.๗๒ จากการดำเนินการเด็กไทยแก้มใส ชุมนุมส่งเสริมสุขภาพ โครงการอาหารกลางวัน อาหารเสริมนมทำให้ภาวะโภชนาการของนักเรียนดีขึ้น เด็กอ้วนน้อยลง -๕.๒๕ เด็กผอมน้อยลง -๓.๗๗ เด็กสมส่วนมากขึ้น ๘.๘๒โดยภาพรวม โรงเรียนบ้านยางงามได้แก้ปัญหา จนบรรลุตามเป้าหมายของโครงการแล้วโดยใช้โครงการเด็กไทยแก้มใส ซึ่งโรงเรียนได้มีกิจกรรมต่างๆ เช่น การเพาะเห็ด การเลี้ยงปลาดุก การปลูกผลไม้ การปลูกผักปลอดสารพิษ การปลูกพืชไร้ดิน Hydroponics การทำปุ๋ยหมักจุลินทรีย์แห้งและน้ำ โดยมีชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดี มีสุขนิสัยที่พึงประสงค์ มีสมรรถภาพทางกายเหมาะสมตามวัย
  2. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการเกษตรและการดำเนินกิจการสหกรณ์ สามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้
  3. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนตามแนวทางการดำเนินงานความสำเร็จของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการพระราชดำริฯ”สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. เด็กนักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัย มีอารมณ์และสติปัญญาที่ดีขึ้น รวมทั้งมีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง
    2. โรงเรียนมีรูปแบบลดปัญหาโภชนาการและสุขภาพของเด็กนักเรียนลงได้ มีความรู้และแนวทางในการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็กนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
    3. พ่อแม่ผู้ปกครองและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาเด็กนักเรียนในด้านต่างๆ ช่วยสร้างเสริมความอบอุ่นและความเข้มแข็งให้กับครอบครัวและชุมชน ตลอดจนเกิดความยั่งยืนในการดำเนินงาน
    4. ชุมชนมีความตระหนักรู้และตื่นตัวในการจัดการด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของเด็กนักเรียน

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. การปลูกผักปลอดสารพิษ

    วันที่ 6 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การจัดกิจกรรม 1.การให้ความรู้ 1. ครูนำเสนอความหมายของ การปลูกพืชผักสวนครัว หน้ากระดาน 2.แบ่งกลุ่มนักเรียนตามความสมัครใจ กลุ่มละ 5 – 6 คน
    3. ครูให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มระดมความคิดเพื่อบอกความสำคัญของการปลูกผักสวนครัว 4. นักเรียนสำรวจผักสวนครัวในท้องถิ่น ที่สามารถนำไปปลูกได้ แล้วเขียนสรุปเป็นผังความคิด 5. ครูให้นักเรียนทำใบงานเรื่อง ความหมายและความสำคัญของการปลูกผักสวนครัว 2. การเตรียมดินปลูกผักปลอดสารพิษ 1. วิธีการเตรียมดิน การเตรียมดิน หมายถึง การปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการ ปลูกพืชแต่ละชนิด การเตรียมดินนั้นมี 2 อย่าง คือ การเตรียมดินแปลงเพาะเพื่อเพาะกล้า และ การเตรียมดินเพื่อปลูก การเตรียมดินเพื่อเพาะกล้าจะต้องเตรียมดินให้ละเอียดมากกว่า และต้องดูแลมากกว่าการเตรียมดินเพื่อปลูกพืช วิธีการเตรียมดินมีขั้นตอนดังนี้ 1.1 กำจัดวัชพืช โดยเก็บเศษวัสดุต่างๆออกจากหน้าดินให้หมด แล้วใช้จอบถาก หรือมีดฟันหญ้า ถ้าวัชพืชอยู่ลึกต้องใช้เสียมหรือพลั่วมือขุดออก 1.2 กำหนดพื้นที่ปลูก สำหรับแปลงปลูกผักต้องใช้ไม้ปัก 4 มุม โดยวัดความกว้างยาวได้ตามต้องการ 1.3 ขุดดินบริเวณที่กำหนดไว้ ถ้าเป็นแปลงผักควรขุดดินลึกประมาณ 15 เซนติเมตร พลิกดินด้านล่างขึ้นมาด้านบน ตากไว้ให้แห้ง 2-3 วัน แล้วจึงย่อยดินให้ขนาดเล็กลง และเก็บเศษวัชพืชที่ยัง ค้างอยู่ในดินออกทิ้ง 1.4 ตกแต่งร่องให้เป็นรูปทรงตามที่กำหนด พรวนดินอีกครั้ง ถ้าดินเป็นกรดใส่ปูนขาว โรยบางๆผสมคลุกเคล้าพร้อมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ทิ้งไว้อย่างน้อย 1 สัปดาห์
    3. การปลูกผักปลอดสารพิษ 1.เตรียมเมล็ดพันธ์ที่จะลงปลูกให้นักเรียนได้ลงมือทำ 2.ครูให้นักเรียนปลูกผักปลอดสารพิษ 3.นักเรียนดูแลรักษาพืชผักที่ปลูก 4.นักเรียนเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้จากการปลูก นำส่งโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนและเสริมสร้างรายได้แก่นักเรียนและจำหน่ายไปยังตลาดนัดนักเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนนำผลผลิตขายผ่านสหกรณ์ให้กับโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน/นักเรียนมีความรู้ ทักษะในการปลูกผักปลอดสารพิษร้อยละ 100

     

    44 44

    2. การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

    วันที่ 20 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การจัดกิจกรรม 1.ครูอธิบายการปลูกพืชไร้ดินและเชิญวิทยากรที่มีความรู้ในการปลูกผักไฮโดรโปนิค วิทยากรอธิบายวิธีการปลูกพืชไร้ดินแบบ Hydroponics ตามขั้นตอนดังนี้ 1.เตรียมฟองน้ำที่ใช้โดยการผ่าแบ่งให้เหมาะสมกับรางปลูก ใช้ มีดคัตเตอร์ กรีดฟองน้ำเป็นเครื่องหมายคูณ ความลึกของรอยประมาณ 2-3 มิลลิเมตร 2.ใส่เมล็ดลงไปในรอยกรีด ประมาณ 2-3 เมล็ด นำไปใส่ในกระบะเพาะ รดน้ำให้ชุ่มแต่ห้ามไม่ให้ระดับน้ำสูงเกินไปจนท่วมเมล็ดเพราะ เมล็ดจะไม่งอกและเน่าในที่สุด 3.นำผ้าขาวบางหรือผ้าที่ไม่หนามากนักมาคลุมที่กระบะเพาะ เพื่อเป็นการรักษาความชื้น ทิ้งไว้ 3-4 วัน แต่ต้องมีการเปิดดูทุกๆ วัน 4.เมื่อต้นกล้าที่เพาะไว้เริ่มจะแข็งแรงหรือมีอายุได้ประมาณ 5-7 วัน ให้เปิดผ้าออก แล้วนำต้นกล้าออกจากที่ร่มเพื่อมารับแสงแดด 2-3วัน ก็จะได้ต้นกล้าที่สามารถลงในรางปลูกได้ 5.ย้ายต้นกล้าลงในรางปลูก ให้ฟองน้ำ จมลงในในระดับน้ำเพียงครึ่งหนึ่งของทั้งหมดเพื่อให้รากของต้นพืชได้มีการเจริญเติมโต หาอาหารเองตามธรรมชาติ โดยมีสารละลายธาตุอาหารไหลผ่านรากตลอดเวลา 6.ให้ธาตุอาหารตามความเข้มข้นที่เหมาะสม ต่อความต้องการของพืชชนิดนั้น และตามที่ผลิตภัณฑ์สารอาหารนั้นกำหนด 7.หมั่นดูแลรักษาทุกวัน สังเกตความต้องการสารอาหารของต้นพืชจากสีของลำต้นและสีของใบ ตามแต่ลักษณะของพืชชนิดนั้นๆ
    8.ครูให้นักเรียนปลูกพืชไร้ดินแบบ Hydroponics 9.นักเรียนดูแลรักษาพืชผักที่ปลูก 10.นักเรียนเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้จากการปลูก นำส่งโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนและเสริมสร้างรายได้แก่นักเรียนและจำหน่ายไปยังตลาดนัดนักเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนนำผลผลิตขายผ่านสหกรณ์ให้กับโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน/นักเรียนมีความรู้ ทักษะในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

     

    20 21

    3. ค่ายเยาวชนสิ่งแวดล้อม

    วันที่ 5 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) วันที่ 20 กันยายน 2559 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ. โรงเรียนบ้านยางงาม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา

    เวลา 08.00 – 09.00 น. ลงทะเบียน 09.00 –09.30 น. พิธีเปิด การประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) และมอบเกียรติบัตรให้กับแกนนำนักเรียน
    Zero Waste School (โดย นายอาจินต์ สุขศรีสังข์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางงาม) 09.30 – 10.30 น. นโยบายและแนวทางการดำเนินการโรงเรียนปลอดขยะ
    (Zero Waste School) 10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 10.45 – 12.00 น. กิจกรรมรู้จัก คัด แยก ตามแนวทางการดำเนินการโรงเรียนปลอดขยะ
    (Zero Waste School)
    12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. กิจกรรมฐานความรู้ โรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) 1. กิจกรรมอนุบาล 1-2 1.1. หนูน้อยพอเพียง ชั้นอนุบาล 1 1.2. กระดาษนี้มีคุณค่า หนูจ๋ามาแยกกัน ชั้นอนุบาล 2 2. กิจกรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 2.1. “แกะ ตัด ล้าง เก็บ”ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 2.2. ประดิษฐ์ คืนร่าง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3. กิจกรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 2.1. แยกขยะ ลดมลพิษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2.2. ประดิษฐ์ คืนร่าง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2.3. บิงโก คัดแยกขยะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง 15.15 – 16.30 น. กิจกรรมฐานความรู้ โรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School)(ต่อ) 16.30 น. ปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการโรงเรียนปลอดขยะ
    (Zero Waste School) (โดย นายอาจินต์ สุขศรีสังข์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางงาม)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมและมีจิตสำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อม

     

    71 71

    4. ประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้

    วันที่ 10 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำป้ายจุดประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ดังนี้ 1.ขั้นตอนการปลูกผักปลอดสารพิษ 2.การปลูกผักไฮโดรโปนิค 3.การกำจัดยุงลาย 4.การลด ละ เลิกใช้โฟม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนได้รับความรู้โดยศึกษษข้อมูลจากป้ายประชาสัมพันธ์ที่จัดขึ้นในโรงเรียน

     

    146 146

    5. ปลูกผักและผลไม้ปลอดสารพิษ

    วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนโรงเรียนบ้านยางงามสามารถปลูกผักและผลไม่ปลอดสารพิษร้อยละ 100

     

    72 72

    6. การเลี้ยงปลาดุก ครั้งที่ 2

    วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมอุปกรณ์ 1.บ่อปูนซีเมนต์ 2.ปูน ทราย หิน 3.อาหารสำหรับเลี้ยงปลาดุก 4.ลูกปลาดุก 70-80 ตัว ขั้นตอนที่ 2 การเลี้ยง 1.นำท่อปูนที่มีรอยคราบผักบุ้ง หรือบ่อปูนที่ไม่มีกรดไม่มีด่าง ใส่น้ำให้มีความสูง 10 เซนติเมตร (ช่วงปลาขนาดเล็ก เพิ่งนำมาปล่อย) แล้วเติมน้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะ 2.นำปลาดุกมาแช่น้ำในบ่อปูนทั้งถุง แล้วค่อยๆเปิดปากถุงให้ปลาว่ายออกมาเอง 3.วันแรกที่นำปลามาปล่อยไม่ต้องให้กินอาหาร 5.การให้อาหาร ปลา 1 ตัวให้อาหาร 5 เม็ด/เมื้อ ในช่วงปลาเล็กให้อาหารวันละ 2 เมื้อ เช้า-เย็น ปลาอายุ 1 เดือนครึ่งให้อาหารปลาขนาดกลาง โดยให้อาหารวันละ 1 ครั้ง ให้ปลากินตอนเย็น ขั้นตอนที่ 3 การจำหน่าย 1.ก่อนจะจำหน่าย 2 วัน ให้นำดินลูกรังสีแดงหรือซังข้าวมาแช่ไว้ในบ่อ จะทำให้ปลาดุกมีสีเหลืองสวย ขายได้ราคาดี 2.ปลาดุก 3 เดือนครึ่ง จำนวน 70 ตัว จะมีน้ำหนัก 14-15 กิโลกรัม หรือประมาณ 4-5 ตัว/กิโลกรัม จำหน่ายได้กิโลกรัมละ 60-70 บาท 3.ต้นทุนอาหารกิโลกรัมละ 19-20 บาท หมายเหตุ ต้นทุนครั้งแรก 1 ชุด 430 บาท น้ำที่ถ่ายทิ้งจากบ่อปลาสามารถนำมารดต้นไม้ พืชผักสวนครัว เป็นปุ๋ยอย่างดี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนมีความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาดุก และสามารถนำไปต่อยอดความรู้ได้ด้วยตนเอง

     

    21 0

    7. การจัดทำปุ๋ยหมัก

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เศษอาหารเป็นขยะหรือของเสียจากครัวเรือนและสถานประกอบการ ที่คนส่วนใหญ่ละเลยถึงคุณค่าไม่มีใครเหลียวแล และอยากที่จะทิ้งไปให้ไกลๆตัวโดยเร็ว เพราะเพียงแค่ทิ้งไว้ข้ามคืนมันก็จะส่งกลิ่นเหม็นรัญจวนใจได้ที่ทีเดียว การทิ้งเศษอาหารลงในถังขยะรวมกับขยะประเภทอื่นๆที่พอจะนำกลับไปรีไซเคิลได้ เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว หรือโลหะ จะเป็นการเร่งให้ภาวะโลกร้อนเป็นไปอย่างรุนแรงและรวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะแทนที่เราจะนำขยะดังกล่าวกลับมารีไซเคิลได้ง่ายๆ กลับต้องใช้แรงงาน เวลา พลังงาน และทรัพยากร ในการจัดการมากขึ้น และเจ้าขยะเศษอาหารก็บูดเน่าเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ อีกทั้งเร่งให้จุลินทรีย์กลุ่มเป็นโทษทำลายสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เกิดกลิ่นเหม็น แมลงวัน แมลงหวี่และหนูมากขึ้น เกิดภาวะน้ำเน่าเสีย เราน่าจะช่วยกันนำเศษอาหารมาทำน้ำหมักชีวภาพสำหรับใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันกัน ซึ่งมีวิธีการทำและใช้อุปกรณ์ที่หาได้ง่าย ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ดังนี้


    ส่วนผสม1. ขยะเศษอาหาร หรือเปลือกผัก-ผลไม้ทุกชนิด3กก. 2. กากน้ำตาล1กก. 3. น้ำสะอาด10ลิตร 4. หัวเชื้อจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ ประมาณ 1/2แก้วน้ำ

    วิธีทำ
    นำขยะเศษอาหารใส่ในถังพลาสติก (ถ้าชิ้นใหญ่ ควรสับให้เล็กลง) ใส่กากน้ำตาลคลุกเคล้าให้ทั่ว
    เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ คนให้เข้ากันแล้วปิดฝาถังให้สนิท ยังไม่ต้องใส่น้ำ หมักไว้ 7 วัน จึงเปิดฝา เติมน้ำ 10 ลิตร คนให้เข้ากัน แล้วหมักต่อไปนาน 15-30 วัน จึงนำน้ำหมักมาใช้ได้
    ประโยชน์
    -ใช้ราดลงในโถส้วม สัปดาห์ละ 1-2 แก้ว จะช่วยดับกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ ห้องส้วม ทำให้ส้วมไม่เต็มเร็ว -ใช้เทลงท่อระบายน้ำทิ้งเป็นประจำ จะช่วยขจัดคราบไขมันที่อุดตันท่อน้ำได้ดี -ใช้เทลงในท่อระบายน้ำเป็นประจำ จะช่วยลดกลื่นเหม็นจากน้ำเน่า -ใช้ลดกลิ่นเหม็นจากกองขยะ โดยผสมน้ำหมักชีวภาพอัตราส่วน 10 c.c.ต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร ฉีดพ่น ไปบนกองขยะเป็นประจำ
    -ใช้ผสมน้ำรดต้นไม้ การใช้น้ำหมักฯกับต้นไม้ จะต้องหมักไว้นานอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อให้กากน้ำตาลสลายตัวจนสิ้นสุดกระบวนการไม่เช่นนั้นแล้วต้นพืชอาจได้รับพิษจากกากน้ำตาลที่ยังไม่สลายตัว การใช้น้ำหมักชีวภาพรดน้ำต้นไม้ ทำโดยผสมน้ำหมักชีวภาพ 1 c.c.ต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร รดให้พืชหรือดินเป็นประจำ จะช่วยส่งเสริมให้พืชเจริญเติบโตแข็งแรง มีภูมิต้านทานสูง ใช้ทุกวันได้ แต่ห้ามใช้ในอัตราส่วนที่เข้มข้นกว่าที่แนะนำ เพราะน้ำหมักชีวภาพมีฮอร์โมนพืชบางตัว ถ้าใช้ในอัตราส่วนที่เข้มข้นเกินไป พืชจะแคระแกรนหรือตายได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนในโรงเรียน นักเรียนเครือข่าย ครู ผู้ปกครอง ทำปุ๋ยหมักชีวภาพได้

     

    56 83

    8. ไฮโดรโปนิก ครั้งที่ 2

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การจัดกิจกรรม จัดอบรมให้ความรู้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านยางาามและนักเรียนเครือข่าย 1.ในภาคเช้าเชิญนักเรียนเครือข่ายและนักเรียนโรงเรียนบ้านยางงามให้ความรู้เบื้องต้นเรื่องการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ภาคบ่ายครูนำนักเรียนไปศึกษาดูงานเรื่องการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ณ ฟาร์มไฮโดรโปนิกส์พวงชมพูเพื่อศึกษาวิธีการเพิ่มผลผลิตของการปลูก การดูแลรักษา โดยวิทยากรที่มีความรู้ในการปลูกผักไฮโดรโปนิค วิทยากรอธิบายวิธีการปลูกพืชไร้ดินแบบ Hydroponics ตามขั้นตอนดังนี้ 1.เตรียมฟองน้ำที่ใช้โดยการผ่าแบ่งให้เหมาะสมกับรางปลูก ใช้ มีดคัตเตอร์ กรีดฟองน้ำเป็นเครื่องหมายคูณ ความลึกของรอยประมาณ 2-3 มิลลิเมตร 2.ใส่เมล็ดลงไปในรอยกรีด ประมาณ 2-3 เมล็ด นำไปใส่ในกระบะเพาะ รดน้ำให้ชุ่มแต่ห้ามไม่ให้ระดับน้ำสูงเกินไปจนท่วมเมล็ดเพราะ เมล็ดจะไม่งอกและเน่าในที่สุด 3.นำผ้าขาวบางหรือผ้าที่ไม่หนามากนักมาคลุมที่กระบะเพาะ เพื่อเป็นการรักษาความชื้น ทิ้งไว้ 3-4 วัน แต่ต้องมีการเปิดดูทุกๆ วัน 4.เมื่อต้นกล้าที่เพาะไว้เริ่มจะแข็งแรงหรือมีอายุได้ประมาณ 5-7 วัน ให้เปิดผ้าออก แล้วนำต้นกล้าออกจากที่ร่มเพื่อมารับแสงแดด 2-3วัน ก็จะได้ต้นกล้าที่สามารถลงในรางปลูกได้ 5.ย้ายต้นกล้าลงในรางปลูก ให้ฟองน้ำ จมลงในในระดับน้ำเพียงครึ่งหนึ่งของทั้งหมดเพื่อให้รากของต้นพืชได้มีการเจริญเติมโต หาอาหารเองตามธรรมชาติ โดยมีสารละลายธาตุอาหารไหลผ่านรากตลอดเวลา 6.ให้ธาตุอาหารตามความเข้มข้นที่เหมาะสม ต่อความต้องการของพืชชนิดนั้น และตามที่ผลิตภัณฑ์สารอาหารนั้นกำหนด 7.หมั่นดูแลรักษาทุกวัน สังเกตความต้องการสารอาหารของต้นพืชจากสีของลำต้นและสีของใบ ตามแต่ลักษณะของพืชชนิดนั้นๆ 8.ครูให้นักเรียนปลูกพืชไร้ดินแบบ Hydroponics 9.นักเรียนดูแลรักษาพืชผักที่ปลูก 10.นักเรียนเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้จากการปลูก นำส่งโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนและเสริมสร้างรายได้แก่นักเรียนและจำหน่ายไปยังตลาดนัดนักเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนในโรงเรียนบ้านยางามและนักเรียนเครือข่ายได้รับความรู้เรื่องการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกร้อยละ100

     

    88 85

    9. อบรมเชื้อราไตรโคเดอมาร์

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการทำเชื้อราไตรโคเดอมาร์ให้แก่ นักเรียนเครือข่าย นักเรียนในโรงเรียน ครู ผู้ปกครองในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าเป็นเชื้อราชั้นสูง มีประโยชน์ช่วยลดกิจกรรมของเชื้อโรคพืช ลดประมาณเชื้อโรคพืช ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตพืช นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความต้านทานโรคของพืช
    การผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าชนิดสดมีวิธีการดังนี้ -ใช้ปลายข้าว 3 ส่วน น้ำสะอาด 2 ส่วน โดยหุงด้วยหม้อหุงข้าว -ตักข้าวสุกขณะยังร้อนใส่ถุงพลาสติก ขนาด 250 กรัม/ถุง แล้วกดข้าวให้เป็นแผ่นแบนและรีดอากาศออกแล้วพับปากถุง -ใส่หัวเชื้อขณะข้าวยังอุ่นอยู่ โดยเขย่า 4-5 ครั้ง แล้วรัดปากถุงให้แน่นพร้อมขยำข้าวในถุงเบาๆ เพื่อให้ผงเชื้อกระจายคลุกกับข้าวให้ทั่ว -รวบปากถุงและใช้เข็มแทงรอบๆ ถุงแล้วกดข้าวในถุงให้แน่นแบบแผ่กระจายแบนราบ แล้วดึงถุงเพื่อให้อากาศเข้าไปในถุง -นำถุงไปวางในที่มีแสงธรรมชาติอย่างน้อย 10-12 ช.ม./วัน  เมื่อได้ 2 วันให้ขยำข้าวในถุงเบาๆ แล้วกดให้ข้าวแบนราบเช่นเดิม แล้วดึงถุงพลาสติกให้โป่งขึ้นด้วย และบ่มเชื้อต่ออีก 4-5 วัน ก็จะปรากฏเชื้อสีเขียวขึ้นหนาแน่นซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทันที หรือเก็บไว้ในตู้เย็นเพื่อไว้ใช้ต่อไปได้
    วิธีใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า -ใช้ผสมกับปุ๋ยหมัก โดยใช้หัวเชื้อ 1 ก.ก. ต่อ รำละเอียด 4 ก.ก. ต่อปุ๋ยหมัก 100  ก.ก. -ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าผสมกับน้ำฉีดพ่นส่วนต่างๆของพืชเพื่อป้องกันโรคต่างๆ ในอัตราเชื้อรา 1 ก.ก.ผสมน้ำ 200 ลิตร ข้อดีของการขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าชนิดสดใช้เอง -ช่วยลดต้นทุนการผลิตและลดการใช้สารเคมี -เป็นการกำจัดโรคพืชโดยไม่ทำลายระบบนิเวศน์ -เป็นการทำการเกษตรแบบพอเพียงเพราะเกษตรกรสามารถผลิตใช้ได้เองอย่างต่อเนื่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนเครือข่าย นักเรียนในโรงเรียนบ้านยางงาม ครู ผู้ปกครองและชุมชนใกล้เคียงได้รับความรู้ สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ร้อยละ 100

     

    105 105

    10. การเพาะเห็ดครั้งที่ 2

    วันที่ 9 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก เห็ดที่นิยมเพาะในถุงพลาสติกส่วนมาก ได้แก่ เห็ดสกุลนางรม(เช่น นางฟ้า นางรม ภูฏาน เป๋าฮื้อ นางนวล ฮังการี) เห็ดหูหนู เห็ดหอมเห็ดตีนแรด เห็ดหลินจือ เห็ดขอนขาว เห็ดกระด้าง เห็ดยานางิ เป็นต้น เห็ดเหล่านี้สามารถเพาะได้บนวัสดุหลายชนิด โดยเฉพาะขี้เลื่อย หรือใช้อาหารหมักจากฟาง

    วัสดุและอุปกรณ์ 1. อาหารเพาะ 2. หัวเชื้อเห็ด 3. ถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 7 x 11 นิ้ว หรือ 9 x 13 4. คอพลาสติก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 – 1.5 นิ้ว 5. ฝ้าย หรือสำลี ยางรัด 6. หม้อนึ่งไม่อัดความดัน หรือหม้อนึ่งความดัน 7. โรงเรือนหรือสถานที่ บ่มเส้นใย และเปิดดอก วิธีการเพาะ 1. บรรจุอาหารเพาะลงในถุงพลาสติกทนร้อน กดให้แน่นตึง สูงประมาณ 2/3 ของถุง 2. รวบปากถุงบีบอากาศออกสวมคอพลาสติกหรือไม้ไผ่ แล้วพับปากถุงพาดลงมา รัดยางให้แน่น อุดด้วยสำลี หุ้ม ทับด้วยกระดาษหรือ ฝาครอบพลาสติก 3. นำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยถังนึ่งไม่อัดความดัน หรือใช้หม้อนึ่งความดันอุณหภูมิ 90 – 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ทิ้งไว้ให้ถุงเย็น 4. นำถุงวัสดุออกมาใส่เชื้อจากหัวเชื้อเห็ดที่เลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่าง ถุงละ ประมาณ 10 – 15 เมล็ด ก็เพียงพอ (โดยเขย่าเมล็ดข้าวฟ่างให้กระจายออก) เปิดและปิดจุกสำลีโดยเร็ว โดยปฏิบัติในที่สะอาดมิดชิดไม่มีลมโกรก 5. นำไปวางในที่สำหรับบ่มเส้นใย มีอุณหภูมิตามที่เห็ดแต่ละชนิดต้องการ ไม่จำเป็นต้องมีแสง ไม่ต้องให้น้ำที่ก้อนเชื้อจนเส้นใยเห็ดเริ่มรวมตัวกันเพื่อเจริญเป็นดอกเห็ด นำไปเปิดถุงให้ออกดอกต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนเพาะเห็ดได้ร้อยละ 100 

     

    14 0

    11. ประชาสัมพันธ์แผล่งเรียนรู้ครั้งที่ 2

    วันที่ 3 เมษายน 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดนิทรรศการแหล่งเรียนโครงการเด็กไทยแก้มใสให้แก่นักเรียนเครือข่าย นักเรียนในโรงเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียนตลอดจนผู้ปกครอง ชุมชนใกล้เคียง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียนได้รับความรู้ร้อยละ 100

     

    168 168

    12. คืนดอกเบี้ย เพื่อปิดโครงการ

    วันที่ 3 เมษายน 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คืนดอกเบี้ย เพื่อปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คืนดอกเบี้ย เพื่อปิดโครงการ

     

    0 0

    13. ถอนเงินเปิดบัญชี

    วันที่ 3 เมษายน 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ถอนเงินเปิดบัญชี

     

    0 0

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดี มีสุขนิสัยที่พึงประสงค์ มีสมรรถภาพทางกายเหมาะสมตามวัย
    ตัวชี้วัด : นักเรียนมีการเจริญเติบโตสมวัย ร้อยละ 90 นักเรียนมีสุขนิสัยที่พึงประสงค์ร้อยละ 90 นักเรียนมีสมรรถภาพทางกายผ่านเกณฑ์ร้อยละ 90

     

    2 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการเกษตรและการดำเนินกิจการสหกรณ์ สามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้
    ตัวชี้วัด : มีผลผลิตทางการเกษตร ้ช่น ผัก ปลาดุก เห็นนางฟ้า สนับสสนุนโครงการอาหารกลางวันอย่างต่อเนื่อง นักเรียนได้กินผักผลไม้มื้อกลางวันเฉลี่ยนวันละ 40-100กรัม/มื้อ/คน นักเรัยนทุกคนมีความรู้ ทักษะในการปลูกผักเพาะเห็นนางฟ้า เลี้ยงปลาดุก การปลูกผลไม้ นักเรียนร้อยละ 80 มีความรู้ทักษะกระบวนการสหกรณ์นักเรียน

     

    3 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนตามแนวทางการดำเนินงานความสำเร็จของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการพระราชดำริฯ”สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
    ตัวชี้วัด : ผู้ปกครองนักเรียนมีส่วนร่วมในโครงการร้อยละ 80 หน่วยงานองค์กรณ์ต่าง ๆ ในชุมชนทุกหน่วย ให้การสนับสนุนช่วยเหลือในการพัฒนานักเรียน ครู ผู้ปกครองและแม่ครัว

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดี มีสุขนิสัยที่พึงประสงค์ มีสมรรถภาพทางกายเหมาะสมตามวัย (2) เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการเกษตรและการดำเนินกิจการสหกรณ์ สามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้ (3) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนตามแนวทางการดำเนินงานความสำเร็จของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการพระราชดำริฯ”สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

    ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนบ้านยางงาม

    รหัสโครงการ ศรร.1412-114 รหัสสัญญา 58-00-2265-ต.3 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

    วันที่เริ่มประเมิน

    1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    (ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    1. การเกษตรในโรงเรียน

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    2. สหกรณ์นักเรียน

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    9. อื่น ๆ

     

     

     

    2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

    1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

     

    2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

     

    3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

     

    4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

     

    5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

     

     

     

    5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

     

     

     

    3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

    สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

    ภาวะ2558 1/12558 1/22558 2/12558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/22560 1/12560 1/22560 2/12560 2/22561 1/12561 1/22561 2/12561 2/2
    เตี้ย 4.41 4.41% 4.41 4.41% 3.03 3.03% 3.03 3.03% 4.55 4.55% 4.55 4.55% 4.55 4.55% 3.68 3.68% 3.82 3.82% 3.82 3.82% 3.82 3.82% 3.82 3.82% 0.00 0.00% 3.15 3.15% 5.34 5.34% 5.34 5.34%
    เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 8.82 8.82% 8.82 8.82% 6.06 6.06% 6.06 6.06% 8.33 8.33% 8.33 8.33% 8.33 8.33% 7.35 7.35% 3.82 3.82% 6.11 6.11% 9.16 9.16% 9.16 9.16% 4.69 4.69% 7.87 7.87% 8.40 8.40% 8.40 8.40%
    ผอม 6.62 6.62% 6.62 6.62% 3.79 3.79% 3.79 3.79% 8.33 8.33% 8.33 8.33% 8.33 8.33% 4.41 4.41% 4.58 4.58% 4.58 4.58% 2.29 2.29% 2.29 2.29% 0.78 0.78% 3.15 3.15% 0.00 0.00% 0.00 0.00%
    ผอม+ค่อนข้างผอม 15.44 15.44% 15.44 15.44% 10.61 10.61% 10.61 10.61% 8.33 8.33% 18.94 18.94% 18.94 18.94% 16.18 16.18% 4.58 4.58% 15.27 15.27% 3.82 3.82% 3.82 3.82% 0.78 0.78% 8.66 8.66% 12.98 12.98% 12.98 12.98%
    อ้วน 5.15 5.15% 3.68 3.68% 4.55 4.55% 4.55 4.55% 6.06 6.06% 6.06 6.06% 6.06 6.06% 5.88 5.88% 3.05 3.05% 3.05 3.05% 7.63 7.63% 7.63 7.63% 0.00 0.00% 4.72 4.72% 3.82 3.82% 3.82 3.82%
    เริ่มอ้วน+อ้วน 6.62% 6.62% 5.88% 5.88% 9.85% 9.85% 9.85% 9.85% 6.06% 6.06% 8.33% 8.33% 8.33% 8.33% 8.82% 8.82% 3.05% 3.05% 5.34% 5.34% 9.16% 9.16% 9.16% 9.16% 7.81% 7.81% 9.45% 9.45% 9.16% 9.16% 9.16% 9.16%
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดี มีสุขนิสัยที่พึงประสงค์ มีสมรรถภาพทางกายเหมาะสมตามวัย (2) เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการเกษตรและการดำเนินกิจการสหกรณ์ สามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันได้ (3) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนตามแนวทางการดำเนินงานความสำเร็จของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการพระราชดำริฯ”สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

    กิจกรรมหลักคือ (1) การปรับปรุงภาวะโภชนาการของนักเรียน (2) ปรับปรุงพัฒนาผลผลิตด้านการเกษตร (3) พัฒนากิจกรรมสหกรณ์ (4) สร้างเสริมสมรรถภาพทางกาย (5) นักเรียนมีสุขนิสัยที่พึงประสงค์ (6) การพัฒนาศักยภาพผู้เกี่ยวข้องโครงการ (7) พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ ประชาสัมพันธ์ (8) การจัดการเรียนรู้บูรณาการด้านการเกษตร

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) การปลูกผักปลอดสารพิษ (2) การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ (3) ปลูกผักและผลไม้ปลอดสารพิษ (4) การเลี้ยงปลาดุก ครั้งที่ 2 (5) ไฮโดรโปนิก ครั้งที่ 2 (6) อบรมเชื้อราไตรโคเดอมาร์ (7) การเพาะเห็ดครั้งที่ 2 (8) คืนดอกเบี้ย เพื่อปิดโครงการ (9) ถอนเงินเปิดบัญชี (10) ค่ายเยาวชนสิ่งแวดล้อม (11) ประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ (12) ประชาสัมพันธ์แผล่งเรียนรู้ครั้งที่ 2 (13) การจัดทำปุ๋ยหมัก

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    โรงเรียนบ้านยางงาม จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ ศรร.1412-114

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายอาจินต์ สุขศรีสังข์ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด