ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

assignment
บันทึกกิจกรรม
ถอนเงินเปิดบัญชี3 เมษายน 2560
3
เมษายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย นายอาจินต์ สุขศรีสังข์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ถอนเงินเปิดบัญชี

คืนดอกเบี้ย เพื่อปิดโครงการ3 เมษายน 2560
3
เมษายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย วิลาวัณย์(ฟ้า)
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

คืนดอกเบี้ย เพื่อปิดโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คืนดอกเบี้ย เพื่อปิดโครงการ

ประชาสัมพันธ์แผล่งเรียนรู้ครั้งที่ 23 เมษายน 2560
3
เมษายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย นภาลัย อยุ่ดี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดนิทรรศการแหล่งเรียนโครงการเด็กไทยแก้มใสให้แก่นักเรียนเครือข่าย นักเรียนในโรงเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียนตลอดจนผู้ปกครอง ชุมชนใกล้เคียง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียนได้รับความรู้ร้อยละ 100

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 168 คน จากที่ตั้งไว้ 168 คน
ประกอบด้วย
การเพาะเห็ดครั้งที่ 29 มีนาคม 2560
9
มีนาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย นภาลัย อยุ่ดี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก เห็ดที่นิยมเพาะในถุงพลาสติกส่วนมาก ได้แก่ เห็ดสกุลนางรม(เช่น นางฟ้า นางรม ภูฏาน เป๋าฮื้อ นางนวล ฮังการี) เห็ดหูหนู เห็ดหอมเห็ดตีนแรด เห็ดหลินจือ เห็ดขอนขาว เห็ดกระด้าง เห็ดยานางิ เป็นต้น เห็ดเหล่านี้สามารถเพาะได้บนวัสดุหลายชนิด โดยเฉพาะขี้เลื่อย หรือใช้อาหารหมักจากฟาง

วัสดุและอุปกรณ์ 1. อาหารเพาะ 2. หัวเชื้อเห็ด 3. ถุงพลาสติกทนร้อน ขนาด 7 x 11 นิ้ว หรือ 9 x 13 4. คอพลาสติก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 – 1.5 นิ้ว 5. ฝ้าย หรือสำลี ยางรัด 6. หม้อนึ่งไม่อัดความดัน หรือหม้อนึ่งความดัน 7. โรงเรือนหรือสถานที่ บ่มเส้นใย และเปิดดอก วิธีการเพาะ 1. บรรจุอาหารเพาะลงในถุงพลาสติกทนร้อน กดให้แน่นตึง สูงประมาณ 2/3 ของถุง 2. รวบปากถุงบีบอากาศออกสวมคอพลาสติกหรือไม้ไผ่ แล้วพับปากถุงพาดลงมา รัดยางให้แน่น อุดด้วยสำลี หุ้ม ทับด้วยกระดาษหรือ ฝาครอบพลาสติก 3. นำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยถังนึ่งไม่อัดความดัน หรือใช้หม้อนึ่งความดันอุณหภูมิ 90 – 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง ทิ้งไว้ให้ถุงเย็น 4. นำถุงวัสดุออกมาใส่เชื้อจากหัวเชื้อเห็ดที่เลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่าง ถุงละ ประมาณ 10 – 15 เมล็ด ก็เพียงพอ (โดยเขย่าเมล็ดข้าวฟ่างให้กระจายออก) เปิดและปิดจุกสำลีโดยเร็ว โดยปฏิบัติในที่สะอาดมิดชิดไม่มีลมโกรก 5. นำไปวางในที่สำหรับบ่มเส้นใย มีอุณหภูมิตามที่เห็ดแต่ละชนิดต้องการ ไม่จำเป็นต้องมีแสง ไม่ต้องให้น้ำที่ก้อนเชื้อจนเส้นใยเห็ดเริ่มรวมตัวกันเพื่อเจริญเป็นดอกเห็ด นำไปเปิดถุงให้ออกดอกต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นักเรียนเพาะเห็ดได้ร้อยละ 100 

อบรมเชื้อราไตรโคเดอมาร์20 กุมภาพันธ์ 2560
20
กุมภาพันธ์ 2560รายงานจากพื้นที่ โดย นภาลัย อยุ่ดี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการทำเชื้อราไตรโคเดอมาร์ให้แก่ นักเรียนเครือข่าย นักเรียนในโรงเรียน ครู ผู้ปกครองในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าเป็นเชื้อราชั้นสูง มีประโยชน์ช่วยลดกิจกรรมของเชื้อโรคพืช ลดประมาณเชื้อโรคพืช ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตพืช นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความต้านทานโรคของพืช
การผลิตขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าชนิดสดมีวิธีการดังนี้ -ใช้ปลายข้าว 3 ส่วน น้ำสะอาด 2 ส่วน โดยหุงด้วยหม้อหุงข้าว -ตักข้าวสุกขณะยังร้อนใส่ถุงพลาสติก ขนาด 250 กรัม/ถุง แล้วกดข้าวให้เป็นแผ่นแบนและรีดอากาศออกแล้วพับปากถุง -ใส่หัวเชื้อขณะข้าวยังอุ่นอยู่ โดยเขย่า 4-5 ครั้ง แล้วรัดปากถุงให้แน่นพร้อมขยำข้าวในถุงเบาๆ เพื่อให้ผงเชื้อกระจายคลุกกับข้าวให้ทั่ว -รวบปากถุงและใช้เข็มแทงรอบๆ ถุงแล้วกดข้าวในถุงให้แน่นแบบแผ่กระจายแบนราบ แล้วดึงถุงเพื่อให้อากาศเข้าไปในถุง -นำถุงไปวางในที่มีแสงธรรมชาติอย่างน้อย 10-12 ช.ม./วัน  เมื่อได้ 2 วันให้ขยำข้าวในถุงเบาๆ แล้วกดให้ข้าวแบนราบเช่นเดิม แล้วดึงถุงพลาสติกให้โป่งขึ้นด้วย และบ่มเชื้อต่ออีก 4-5 วัน ก็จะปรากฏเชื้อสีเขียวขึ้นหนาแน่นซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทันที หรือเก็บไว้ในตู้เย็นเพื่อไว้ใช้ต่อไปได้
วิธีใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า -ใช้ผสมกับปุ๋ยหมัก โดยใช้หัวเชื้อ 1 ก.ก. ต่อ รำละเอียด 4 ก.ก. ต่อปุ๋ยหมัก 100  ก.ก. -ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าผสมกับน้ำฉีดพ่นส่วนต่างๆของพืชเพื่อป้องกันโรคต่างๆ ในอัตราเชื้อรา 1 ก.ก.ผสมน้ำ 200 ลิตร ข้อดีของการขยายเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าชนิดสดใช้เอง -ช่วยลดต้นทุนการผลิตและลดการใช้สารเคมี -เป็นการกำจัดโรคพืชโดยไม่ทำลายระบบนิเวศน์ -เป็นการทำการเกษตรแบบพอเพียงเพราะเกษตรกรสามารถผลิตใช้ได้เองอย่างต่อเนื่อง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นักเรียนเครือข่าย นักเรียนในโรงเรียนบ้านยางงาม ครู ผู้ปกครองและชุมชนใกล้เคียงได้รับความรู้ สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ร้อยละ 100

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 105 คน จากที่ตั้งไว้ 105 คน
ประกอบด้วย
ไฮโดรโปนิก ครั้งที่ 220 กุมภาพันธ์ 2560
20
กุมภาพันธ์ 2560รายงานจากพื้นที่ โดย นภาลัย อยุ่ดี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การจัดกิจกรรม จัดอบรมให้ความรู้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านยางาามและนักเรียนเครือข่าย 1.ในภาคเช้าเชิญนักเรียนเครือข่ายและนักเรียนโรงเรียนบ้านยางงามให้ความรู้เบื้องต้นเรื่องการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ภาคบ่ายครูนำนักเรียนไปศึกษาดูงานเรื่องการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ณ ฟาร์มไฮโดรโปนิกส์พวงชมพูเพื่อศึกษาวิธีการเพิ่มผลผลิตของการปลูก การดูแลรักษา โดยวิทยากรที่มีความรู้ในการปลูกผักไฮโดรโปนิค วิทยากรอธิบายวิธีการปลูกพืชไร้ดินแบบ Hydroponics ตามขั้นตอนดังนี้ 1.เตรียมฟองน้ำที่ใช้โดยการผ่าแบ่งให้เหมาะสมกับรางปลูก ใช้ มีดคัตเตอร์ กรีดฟองน้ำเป็นเครื่องหมายคูณ ความลึกของรอยประมาณ 2-3 มิลลิเมตร 2.ใส่เมล็ดลงไปในรอยกรีด ประมาณ 2-3 เมล็ด นำไปใส่ในกระบะเพาะ รดน้ำให้ชุ่มแต่ห้ามไม่ให้ระดับน้ำสูงเกินไปจนท่วมเมล็ดเพราะ เมล็ดจะไม่งอกและเน่าในที่สุด 3.นำผ้าขาวบางหรือผ้าที่ไม่หนามากนักมาคลุมที่กระบะเพาะ เพื่อเป็นการรักษาความชื้น ทิ้งไว้ 3-4 วัน แต่ต้องมีการเปิดดูทุกๆ วัน 4.เมื่อต้นกล้าที่เพาะไว้เริ่มจะแข็งแรงหรือมีอายุได้ประมาณ 5-7 วัน ให้เปิดผ้าออก แล้วนำต้นกล้าออกจากที่ร่มเพื่อมารับแสงแดด 2-3วัน ก็จะได้ต้นกล้าที่สามารถลงในรางปลูกได้ 5.ย้ายต้นกล้าลงในรางปลูก ให้ฟองน้ำ จมลงในในระดับน้ำเพียงครึ่งหนึ่งของทั้งหมดเพื่อให้รากของต้นพืชได้มีการเจริญเติมโต หาอาหารเองตามธรรมชาติ โดยมีสารละลายธาตุอาหารไหลผ่านรากตลอดเวลา 6.ให้ธาตุอาหารตามความเข้มข้นที่เหมาะสม ต่อความต้องการของพืชชนิดนั้น และตามที่ผลิตภัณฑ์สารอาหารนั้นกำหนด 7.หมั่นดูแลรักษาทุกวัน สังเกตความต้องการสารอาหารของต้นพืชจากสีของลำต้นและสีของใบ ตามแต่ลักษณะของพืชชนิดนั้นๆ 8.ครูให้นักเรียนปลูกพืชไร้ดินแบบ Hydroponics 9.นักเรียนดูแลรักษาพืชผักที่ปลูก 10.นักเรียนเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้จากการปลูก นำส่งโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนและเสริมสร้างรายได้แก่นักเรียนและจำหน่ายไปยังตลาดนัดนักเรียน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นักเรียนในโรงเรียนบ้านยางามและนักเรียนเครือข่ายได้รับความรู้เรื่องการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกร้อยละ100

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 85 คน จากที่ตั้งไว้ 88 คน
ประกอบด้วย
การจัดทำปุ๋ยหมัก20 กุมภาพันธ์ 2560
20
กุมภาพันธ์ 2560รายงานจากพื้นที่ โดย นภาลัย อยุ่ดี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เศษอาหารเป็นขยะหรือของเสียจากครัวเรือนและสถานประกอบการ ที่คนส่วนใหญ่ละเลยถึงคุณค่าไม่มีใครเหลียวแล และอยากที่จะทิ้งไปให้ไกลๆตัวโดยเร็ว เพราะเพียงแค่ทิ้งไว้ข้ามคืนมันก็จะส่งกลิ่นเหม็นรัญจวนใจได้ที่ทีเดียว การทิ้งเศษอาหารลงในถังขยะรวมกับขยะประเภทอื่นๆที่พอจะนำกลับไปรีไซเคิลได้ เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว หรือโลหะ จะเป็นการเร่งให้ภาวะโลกร้อนเป็นไปอย่างรุนแรงและรวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะแทนที่เราจะนำขยะดังกล่าวกลับมารีไซเคิลได้ง่ายๆ กลับต้องใช้แรงงาน เวลา พลังงาน และทรัพยากร ในการจัดการมากขึ้น และเจ้าขยะเศษอาหารก็บูดเน่าเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ อีกทั้งเร่งให้จุลินทรีย์กลุ่มเป็นโทษทำลายสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เกิดกลิ่นเหม็น แมลงวัน แมลงหวี่และหนูมากขึ้น เกิดภาวะน้ำเน่าเสีย เราน่าจะช่วยกันนำเศษอาหารมาทำน้ำหมักชีวภาพสำหรับใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันกัน ซึ่งมีวิธีการทำและใช้อุปกรณ์ที่หาได้ง่าย ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ดังนี้


ส่วนผสม1. ขยะเศษอาหาร หรือเปลือกผัก-ผลไม้ทุกชนิด3กก. 2. กากน้ำตาล1กก. 3. น้ำสะอาด10ลิตร 4. หัวเชื้อจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ ประมาณ 1/2แก้วน้ำ

วิธีทำ
นำขยะเศษอาหารใส่ในถังพลาสติก (ถ้าชิ้นใหญ่ ควรสับให้เล็กลง) ใส่กากน้ำตาลคลุกเคล้าให้ทั่ว
เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ คนให้เข้ากันแล้วปิดฝาถังให้สนิท ยังไม่ต้องใส่น้ำ หมักไว้ 7 วัน จึงเปิดฝา เติมน้ำ 10 ลิตร คนให้เข้ากัน แล้วหมักต่อไปนาน 15-30 วัน จึงนำน้ำหมักมาใช้ได้
ประโยชน์
-ใช้ราดลงในโถส้วม สัปดาห์ละ 1-2 แก้ว จะช่วยดับกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ ห้องส้วม ทำให้ส้วมไม่เต็มเร็ว -ใช้เทลงท่อระบายน้ำทิ้งเป็นประจำ จะช่วยขจัดคราบไขมันที่อุดตันท่อน้ำได้ดี -ใช้เทลงในท่อระบายน้ำเป็นประจำ จะช่วยลดกลื่นเหม็นจากน้ำเน่า -ใช้ลดกลิ่นเหม็นจากกองขยะ โดยผสมน้ำหมักชีวภาพอัตราส่วน 10 c.c.ต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร ฉีดพ่น ไปบนกองขยะเป็นประจำ
-ใช้ผสมน้ำรดต้นไม้ การใช้น้ำหมักฯกับต้นไม้ จะต้องหมักไว้นานอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อให้กากน้ำตาลสลายตัวจนสิ้นสุดกระบวนการไม่เช่นนั้นแล้วต้นพืชอาจได้รับพิษจากกากน้ำตาลที่ยังไม่สลายตัว การใช้น้ำหมักชีวภาพรดน้ำต้นไม้ ทำโดยผสมน้ำหมักชีวภาพ 1 c.c.ต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร รดให้พืชหรือดินเป็นประจำ จะช่วยส่งเสริมให้พืชเจริญเติบโตแข็งแรง มีภูมิต้านทานสูง ใช้ทุกวันได้ แต่ห้ามใช้ในอัตราส่วนที่เข้มข้นกว่าที่แนะนำ เพราะน้ำหมักชีวภาพมีฮอร์โมนพืชบางตัว ถ้าใช้ในอัตราส่วนที่เข้มข้นเกินไป พืชจะแคระแกรนหรือตายได้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นักเรียนในโรงเรียน นักเรียนเครือข่าย ครู ผู้ปกครอง ทำปุ๋ยหมักชีวภาพได้

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 83 คน จากที่ตั้งไว้ 56 คน
ประกอบด้วย
การเลี้ยงปลาดุก ครั้งที่ 217 กุมภาพันธ์ 2560
17
กุมภาพันธ์ 2560รายงานจากพื้นที่ โดย นภาลัย อยุ่ดี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมอุปกรณ์ 1.บ่อปูนซีเมนต์ 2.ปูน ทราย หิน 3.อาหารสำหรับเลี้ยงปลาดุก 4.ลูกปลาดุก 70-80 ตัว ขั้นตอนที่ 2 การเลี้ยง 1.นำท่อปูนที่มีรอยคราบผักบุ้ง หรือบ่อปูนที่ไม่มีกรดไม่มีด่าง ใส่น้ำให้มีความสูง 10 เซนติเมตร (ช่วงปลาขนาดเล็ก เพิ่งนำมาปล่อย) แล้วเติมน้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะ 2.นำปลาดุกมาแช่น้ำในบ่อปูนทั้งถุง แล้วค่อยๆเปิดปากถุงให้ปลาว่ายออกมาเอง 3.วันแรกที่นำปลามาปล่อยไม่ต้องให้กินอาหาร 5.การให้อาหาร ปลา 1 ตัวให้อาหาร 5 เม็ด/เมื้อ ในช่วงปลาเล็กให้อาหารวันละ 2 เมื้อ เช้า-เย็น ปลาอายุ 1 เดือนครึ่งให้อาหารปลาขนาดกลาง โดยให้อาหารวันละ 1 ครั้ง ให้ปลากินตอนเย็น ขั้นตอนที่ 3 การจำหน่าย 1.ก่อนจะจำหน่าย 2 วัน ให้นำดินลูกรังสีแดงหรือซังข้าวมาแช่ไว้ในบ่อ จะทำให้ปลาดุกมีสีเหลืองสวย ขายได้ราคาดี 2.ปลาดุก 3 เดือนครึ่ง จำนวน 70 ตัว จะมีน้ำหนัก 14-15 กิโลกรัม หรือประมาณ 4-5 ตัว/กิโลกรัม จำหน่ายได้กิโลกรัมละ 60-70 บาท 3.ต้นทุนอาหารกิโลกรัมละ 19-20 บาท หมายเหตุ ต้นทุนครั้งแรก 1 ชุด 430 บาท น้ำที่ถ่ายทิ้งจากบ่อปลาสามารถนำมารดต้นไม้ พืชผักสวนครัว เป็นปุ๋ยอย่างดี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นักเรียนมีความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาดุก และสามารถนำไปต่อยอดความรู้ได้ด้วยตนเอง

ปลูกผักและผลไม้ปลอดสารพิษ6 กุมภาพันธ์ 2560
6
กุมภาพันธ์ 2560รายงานจากพื้นที่ โดย นภาลัย อยุ่ดี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นักเรียนโรงเรียนบ้านยางงามสามารถปลูกผักและผลไม่ปลอดสารพิษร้อยละ 100

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 72 คน จากที่ตั้งไว้ 72 คน
ประกอบด้วย
ประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้10 ตุลาคม 2559
10
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นภาลัย อยุ่ดี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำป้ายจุดประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ดังนี้ 1.ขั้นตอนการปลูกผักปลอดสารพิษ 2.การปลูกผักไฮโดรโปนิค 3.การกำจัดยุงลาย 4.การลด ละ เลิกใช้โฟม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นักเรียนได้รับความรู้โดยศึกษษข้อมูลจากป้ายประชาสัมพันธ์ที่จัดขึ้นในโรงเรียน

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 146 คน จากที่ตั้งไว้ 146 คน
ประกอบด้วย
ค่ายเยาวชนสิ่งแวดล้อม5 กันยายน 2559
5
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นภาลัย อยุ่ดี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) วันที่ 20 กันยายน 2559 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ. โรงเรียนบ้านยางงาม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา

เวลา 08.00 – 09.00 น. ลงทะเบียน 09.00 –09.30 น. พิธีเปิด การประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) และมอบเกียรติบัตรให้กับแกนนำนักเรียน
Zero Waste School (โดย นายอาจินต์ สุขศรีสังข์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางงาม) 09.30 – 10.30 น. นโยบายและแนวทางการดำเนินการโรงเรียนปลอดขยะ
(Zero Waste School) 10.30 – 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง 10.45 – 12.00 น. กิจกรรมรู้จัก คัด แยก ตามแนวทางการดำเนินการโรงเรียนปลอดขยะ
(Zero Waste School)
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. กิจกรรมฐานความรู้ โรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) 1. กิจกรรมอนุบาล 1-2 1.1. หนูน้อยพอเพียง ชั้นอนุบาล 1 1.2. กระดาษนี้มีคุณค่า หนูจ๋ามาแยกกัน ชั้นอนุบาล 2 2. กิจกรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 2.1. “แกะ ตัด ล้าง เก็บ”ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 2.2. ประดิษฐ์ คืนร่าง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3. กิจกรรมชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 2.1. แยกขยะ ลดมลพิษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2.2. ประดิษฐ์ คืนร่าง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2.3. บิงโก คัดแยกขยะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง 15.15 – 16.30 น. กิจกรรมฐานความรู้ โรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School)(ต่อ) 16.30 น. ปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการโรงเรียนปลอดขยะ
(Zero Waste School) (โดย นายอาจินต์ สุขศรีสังข์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านยางงาม)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมและมีจิตสำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อม

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 71 คน จากที่ตั้งไว้ 71 คน
ประกอบด้วย
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์20 มิถุนายน 2559
20
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นภาลัย อยุ่ดี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การจัดกิจกรรม 1.ครูอธิบายการปลูกพืชไร้ดินและเชิญวิทยากรที่มีความรู้ในการปลูกผักไฮโดรโปนิค วิทยากรอธิบายวิธีการปลูกพืชไร้ดินแบบ Hydroponics ตามขั้นตอนดังนี้ 1.เตรียมฟองน้ำที่ใช้โดยการผ่าแบ่งให้เหมาะสมกับรางปลูก ใช้ มีดคัตเตอร์ กรีดฟองน้ำเป็นเครื่องหมายคูณ ความลึกของรอยประมาณ 2-3 มิลลิเมตร 2.ใส่เมล็ดลงไปในรอยกรีด ประมาณ 2-3 เมล็ด นำไปใส่ในกระบะเพาะ รดน้ำให้ชุ่มแต่ห้ามไม่ให้ระดับน้ำสูงเกินไปจนท่วมเมล็ดเพราะ เมล็ดจะไม่งอกและเน่าในที่สุด 3.นำผ้าขาวบางหรือผ้าที่ไม่หนามากนักมาคลุมที่กระบะเพาะ เพื่อเป็นการรักษาความชื้น ทิ้งไว้ 3-4 วัน แต่ต้องมีการเปิดดูทุกๆ วัน 4.เมื่อต้นกล้าที่เพาะไว้เริ่มจะแข็งแรงหรือมีอายุได้ประมาณ 5-7 วัน ให้เปิดผ้าออก แล้วนำต้นกล้าออกจากที่ร่มเพื่อมารับแสงแดด 2-3วัน ก็จะได้ต้นกล้าที่สามารถลงในรางปลูกได้ 5.ย้ายต้นกล้าลงในรางปลูก ให้ฟองน้ำ จมลงในในระดับน้ำเพียงครึ่งหนึ่งของทั้งหมดเพื่อให้รากของต้นพืชได้มีการเจริญเติมโต หาอาหารเองตามธรรมชาติ โดยมีสารละลายธาตุอาหารไหลผ่านรากตลอดเวลา 6.ให้ธาตุอาหารตามความเข้มข้นที่เหมาะสม ต่อความต้องการของพืชชนิดนั้น และตามที่ผลิตภัณฑ์สารอาหารนั้นกำหนด 7.หมั่นดูแลรักษาทุกวัน สังเกตความต้องการสารอาหารของต้นพืชจากสีของลำต้นและสีของใบ ตามแต่ลักษณะของพืชชนิดนั้นๆ
8.ครูให้นักเรียนปลูกพืชไร้ดินแบบ Hydroponics 9.นักเรียนดูแลรักษาพืชผักที่ปลูก 10.นักเรียนเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้จากการปลูก นำส่งโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนและเสริมสร้างรายได้แก่นักเรียนและจำหน่ายไปยังตลาดนัดนักเรียน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นักเรียนนำผลผลิตขายผ่านสหกรณ์ให้กับโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน/นักเรียนมีความรู้ ทักษะในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 21 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
การปลูกผักปลอดสารพิษ6 มิถุนายน 2559
6
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นภาลัย อยุ่ดี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การจัดกิจกรรม 1.การให้ความรู้ 1. ครูนำเสนอความหมายของ การปลูกพืชผักสวนครัว หน้ากระดาน 2.แบ่งกลุ่มนักเรียนตามความสมัครใจ กลุ่มละ 5 – 6 คน
3. ครูให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มระดมความคิดเพื่อบอกความสำคัญของการปลูกผักสวนครัว 4. นักเรียนสำรวจผักสวนครัวในท้องถิ่น ที่สามารถนำไปปลูกได้ แล้วเขียนสรุปเป็นผังความคิด 5. ครูให้นักเรียนทำใบงานเรื่อง ความหมายและความสำคัญของการปลูกผักสวนครัว 2. การเตรียมดินปลูกผักปลอดสารพิษ 1. วิธีการเตรียมดิน การเตรียมดิน หมายถึง การปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการ ปลูกพืชแต่ละชนิด การเตรียมดินนั้นมี 2 อย่าง คือ การเตรียมดินแปลงเพาะเพื่อเพาะกล้า และ การเตรียมดินเพื่อปลูก การเตรียมดินเพื่อเพาะกล้าจะต้องเตรียมดินให้ละเอียดมากกว่า และต้องดูแลมากกว่าการเตรียมดินเพื่อปลูกพืช วิธีการเตรียมดินมีขั้นตอนดังนี้ 1.1 กำจัดวัชพืช โดยเก็บเศษวัสดุต่างๆออกจากหน้าดินให้หมด แล้วใช้จอบถาก หรือมีดฟันหญ้า ถ้าวัชพืชอยู่ลึกต้องใช้เสียมหรือพลั่วมือขุดออก 1.2 กำหนดพื้นที่ปลูก สำหรับแปลงปลูกผักต้องใช้ไม้ปัก 4 มุม โดยวัดความกว้างยาวได้ตามต้องการ 1.3 ขุดดินบริเวณที่กำหนดไว้ ถ้าเป็นแปลงผักควรขุดดินลึกประมาณ 15 เซนติเมตร พลิกดินด้านล่างขึ้นมาด้านบน ตากไว้ให้แห้ง 2-3 วัน แล้วจึงย่อยดินให้ขนาดเล็กลง และเก็บเศษวัชพืชที่ยัง ค้างอยู่ในดินออกทิ้ง 1.4 ตกแต่งร่องให้เป็นรูปทรงตามที่กำหนด พรวนดินอีกครั้ง ถ้าดินเป็นกรดใส่ปูนขาว โรยบางๆผสมคลุกเคล้าพร้อมปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ทิ้งไว้อย่างน้อย 1 สัปดาห์
3. การปลูกผักปลอดสารพิษ 1.เตรียมเมล็ดพันธ์ที่จะลงปลูกให้นักเรียนได้ลงมือทำ 2.ครูให้นักเรียนปลูกผักปลอดสารพิษ 3.นักเรียนดูแลรักษาพืชผักที่ปลูก 4.นักเรียนเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้จากการปลูก นำส่งโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนและเสริมสร้างรายได้แก่นักเรียนและจำหน่ายไปยังตลาดนัดนักเรียน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นักเรียนนำผลผลิตขายผ่านสหกรณ์ให้กับโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน/นักเรียนมีความรู้ ทักษะในการปลูกผักปลอดสารพิษร้อยละ 100

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 44 คน จากที่ตั้งไว้ 44 คน
ประกอบด้วย