รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านหนองสองพี่น้อง
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง.เขต2
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 100,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาตา แก้วเซ่ง
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นางโสพิศ เหม่นแก้ว
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นาวสาวภัชชนก ชูช่วยสุวรรณ
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นางดุษฎีสงสงข์
ที่ปรึกษาโครงการ 1 นางสุวิมล ว่องวรานนท์
ที่ปรึกษาโครงการ 2 นางบังอร รองวัง
ที่ปรึกษาโครงการ 3 นางสุทธิรา ถิ่นชาญ
ผู้ประสานงานภาค วิลาวัณย์ สวัสดีนฤนาท(ฟ้า)
หลักการและเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน ๘ องค์ประกอบคือ ๑) การเกษตรในโรงเรียน ๒) สหกรณ์นักเรียน ๓) การจัดการบริหารของโรงเรียน ๔) การติดตามภาวะโภชนาการ ๕) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน ๖) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ ๗) การจัดบริการสุขภาพและ๘) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน ๔ ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๕๙) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น ๕๔๔โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ ๖ – ๑๒ ปี จำนวน ๑,๔๙๒,๐๘๙ คน ใน ๗๖ จังหวัด ของกรมอนามัย ปี ๒๕๕๕ พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ ๑๒.๕ เตี้ยร้อยละ ๑๖.๘ และระบุว่านักเรียนอายุ ๖ – ๑๒ ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ ๕๑.๖ ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี ๒๕๕๖พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน ๑.๒ ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน ๒๒๓,๒๘๘ คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน ๕๙๐,๐๘๗ คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน ๒๕๘,๑๔๙ คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญ คือ๑) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ ๖๐ กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ ๔๐๐ กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ ๖๗.๔ นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย ๕ – ๗ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย ๓ ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง ๑๐ช้อนชา และ๒) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียน บ้านหนองสองพี่น้อง จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ ๑ เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่งในปีที่ ๑ ได้ดำเนินการดังต่อไปนี้ โรงเรียนบ้านหนองสองพี่น้องตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ชานเมือง นักเรียนส่วนใหญ่มีฐานะและสภาพครอบครัวค่อนข้างยากจน นักเรียนได้รับประทานอาหารในแต่ละวันไม่ครบ ๕ หมู่ ซึ่งนักเรียนจำนวนมากไม่ชอบทานผัก และจะเหลือผักเป็นจำนวนมากทุกวัน ทางโรงเรียนได้ตระหนักถึงปัญหาภาวะโภชนาการในส่วนนี้ เนื่องจากการเลือกรับประทานอาหารทำให้นักเรียนมีภาวะทุพโภชนาการไม่สมส่วนมีร่างกายเตี้ย ผอมหรืออ้วน มีสาเหตุมาจากการเลือกรับประทานอาหารที่ผิด จากปัญหาดังกล่าวทำให้ทางโรงเรียนสมัครเข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใส เพื่อต้องการให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดี มีร่างกายแข็งแรงและรูปร่างสมส่วน เพราะการที่นักเรียนจะสามารถเรียนหนังสือได้ดีนั้น ต้องมีสุขภาพกายที่แข็งแรง สมบูรณ์เสียก่อนโดยโรงเรียนได้จัดกิจกรรมทั้ง ๘ องค์ประกอบ

กรอบแนวคิด

ดำเนินงานด้านการบริหารจัดการอาหารโภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรโดยการปลูกฝังค่านิยมในการรับประทานผักผลไม้ และเด็กนักเรียนมีพฤติกรรมบริโภคผักและผลไม้ปลอดภัยอย่างเพียงพอในมื้อกลางวันอย่างน้อยวันละ ๑๕๐-๒๐๐ กรัม ต่อคน และได้รับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการเหมาะสมตามวัยและภาวะสุขภาพการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะและปลอดภัยมีการจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัยโดยจัดทำกิจกรรมหนึ่งผักผลไม้ที่ฉันชอบ รวมการติดตามภาวะโภชนาการ : ภาวะทุพโภชนาการมีแนวโน้มลดลง น้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วนในเด็ก มี สัดส่วนลดลง ดังนั้น โรงเรียนบ้านหนองสองพี่น้องจึงได้เสนอแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสจากปีที่๑โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องอย่างยั่งยืน ตามผลที่คาดหวังของโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 181
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 19
ผู้ปกครอง 11
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 211211
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 0
อสม. 0
ชุมชน 0
ผู้นำศาสนา 8
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 0
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 0
อื่น ๆ 0
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 8
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. การจัดบริการอาหารของโรงเรียนโดยการปลูกฝังค่านิยมในการรับประทานผัก ผลไม้และเด็กนักเรียนมีพฤติกรรมบริโภคผักและผลไม้ปลอดภัยอย่างเพียงพอในมื้อกลางวันอย่างน้อยวันละ ๑๕๐-๒๐๐ กรัม ต่อคน และได้รับประทานอาหารถูกหลักโภชนาการเหมาะสมตามวัยและภาวะสุขภาพ
  2. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย
  3. การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัยโดยจัดทำกิจกรรมหนึ่งผักผลไม้ที่ฉันชอบ
  4. การติดตามภาวะโภชนาการ:ภาวะทุพโภชนาการมีแนวโน้มลดลง น้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วนในเด็ก มีสัดส่วนลดลง ๔.๑ เริ่มอ้วน+อ้วน อย่างน้อยร้อยละ ๐.๕ ต่อปี หรือไม่เกินร้อยละ ๑๐ ต่อปี
    ๔.๒ ผอม อย่างน้อยร้อยละ ๐.๕ ต่อปี หรือไม่เกินร้อยละ ๗ ต่อปี ๔.๓ เตี้ย อย่างน้อยร้อยละ ๐.๕ ต่อปี หรือไม่เกินร้อยละ ๕ ต่อปี
เป้าหมายภาวะโภชนาการ

เพื่อพัฒนาโรงเรียนบ้านหนองสองพี่น้องให้เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน ผู้ปกครองและโรงเรียนในเขตพื้นที่อำเภอห้วยยอดจำนวน ๕ โรงเรียน ประกอบด้วย ๑.โรงเรียนวัดกาญจณาบริรักษ์ ๒.โรงเรียนวัดศรีรัตนาราม ๓.โรงเรียนบ้านห้วยน้ำเย็น ๔.โรงเรียนบ้านควนเลียบ ๕.โรงเรียนวัดห้วยนาง(วันครู ๒๕๐๑)ในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยการน้อมนำรูปแบบที่ดี “ด้านเกษตร การจัดการอาหาร โภชนาการและสุขภาพนักเรียน แบบบูรณาการภายในปี ๒๕๖๐ ๗.๒ วัตถุประสงค์เฉพาะ ๑. ผู้ปกครอง และคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลภาวะสุขภาพของนักเรียน สร้างความยั่งยืนในการดำเนินงาน
๒. การพัฒนาคุณภาพอาหารเพื่อลดปัญหาโภชนาการของนักเรียนและมีแนวทางส่งเสริมสุขภาพ นักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch ๓. พัฒนาครูและบุคลากรด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการที่เชื่อมโยงเกษตร-อาหาร-โภชนาการ-สุขภาพ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครู ผู้ปกครอง ชุมชน และโรงเรียนในเครือข่าย ๗.๓ ตัวชี้วัด ๑.นักเรียนเจริญเติบโตสมวัย โดยมี ๑.๑ ร้อยละของเด็กนักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกินร้อยละ๗ ๑.๒ ร้อยละของเด็กนักเรียนที่มีภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกินร้อยละ๗ ๑.๓ ร้อยละของเด็กนักเรียนค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ไม่เกินร้อยละ๗

๒.นักเรียนได้กินผัก-ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้น ในมื้อกลางวัน เฉลี่ย
๒.๑ ผักวันละ ประมาณ40-100กรัม(อนุบาล 3 ช้อน (50กรัม) ประถม 4 ช้อน (70 กรัม) และมัธยม 5 ช้อน(90 กรัม)) ๒.๒ ผลไม้ (อนุบาล ½ ส่วน ประถม 1 ส่วน)ต่อมื้อต่อคน

ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล

ดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสส่งผลให้เกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียนซึ่งนักเรียนสามารถนำทุกกิจกรรมมาเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันได้แก่การปลูกผัก เลี้ยงปลาดุก เพาะเห็ด โดยนำผลผลิตที่ได้มาประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียน ตลอดจนการจัดกิจกรรมลดน้ำหนักและส่งเสริมการออกกำลังกาย สำหรับนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการเพื่อให้มีน้ำหนักและรูปร่างที่สมส่วน เป็นต้น และจากผลดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสในปีที่ ๑ ผลปรากฏว่า ก่อนเข้าร่วมโครงการ นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองสองพี่น้อง มีร่างกายสมส่วนคิดเป็นร้อยละ ๗๕.๔๒
หลังเข้าร่วมโครงการ นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองสองพี่น้อง มีร่างกายสมส่วนคิดเป็นร้อยละ๘๐.๐๘ เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ๔.๖๖ เพราะโรงเรียนบ้านหนองสองพี่น้องยึดแนวทางที่ว่า“สุขภาพดีผลการเรียนดีมีจิตสาธารณะ”ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้จะนำไปสู่การเรียนที่มีความสุข เพราะเป้าหมายที่สำคัญที่สุด คือ ตัวนักเรียน เพื่อให้เป็นทั้ง คนเก่ง คนดี และมีความสุข
ทางโรงเรียนบ้านหนองสองพี่น้องรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใสรุ่นที่ ๑ทางโรงเรียนเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการนี้จะสามารถช่วยพัฒนาสุขภาพกายและคุณภาพชีวิตที่ดีของนักเรียน ครู และขยายผลไปยังผู้ปกครองเพื่อช่วยในการปลูกฝังนักเรียนที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

พื้นที่ตั้งโรงเรียน 166 หมู่ที่ 5 ถนนเพชรเกษม ตำบลหนองช้างแล่น อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.8484939004621,99.590985058167place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 40,000.00
2 1 ต.ค. 2559 6 เม.ย. 2560 1 ต.ค. 2559 6 เม.ย. 2560 55,000.00
3 7 เม.ย. 2560 30 เม.ย. 2560 5,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้ปกครอง และคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลภาวะสุขภาพของนักเรียน สร้างความยั่งยืนในการดำเนินงาน

ผู้ปกครอง และคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลภาวะสุขภาพของนักเรียน สร้างความยั่งยืนในการดำเนินงาน

2 การพัฒนาคุณภาพอาหารเพื่อลดปัญหาโภชนาการของนักเรียนและมีแนวทางส่งเสริมสุขภาพ นักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch

โรงเรียนใช้โปรแกรม Thai School Lunch ในจัดอาหารกลางวัน เพื่อลดปัญหาโภชนาการของนักเรียนและมีแนวทางส่งเสริมสุขภาพ อย่างมีประสิทธิภาพ

3 พัฒนาครูและบุคลากรด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการที่เชื่อมโยงเกษตร-อาหาร-โภชนาการ-สุขภาพ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครู ผู้ปกครอง ชุมชน และโรงเรียนในเครือข่าย

ครูและบุคลากรมีการพัฒนาด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการที่เชื่อมโยงเกษตร-อาหาร-โภชนาการ-สุขภาพ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครู ผู้ปกครอง ชุมชน และโรงเรียนในเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
29 ก.ค. 59 เฝ้าระวังและติดตาามภาวะโภชนาการและสมรรถภาพทางกายนักเรียน 0 1,550.00 1,550.00 more_vert
2 ส.ค. 59 กิจกรรมย่อยLet Me In SN School 0 1,930.00 1,930.00 more_vert
29 ส.ค. 59 แปรรูปอาหาร 0 7,740.00 7,750.00 more_vert
30 ส.ค. 59 อบรมเชิงปฎิบัติการการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน 219 11,890.00 11,890.00 more_vert
20 ก.ย. 59 อบรมพัฒนาสุขนิสัยและส่งเสริมสุขภาพ 0 5,790.00 5,790.00 more_vert
21 ก.ย. 59 พัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 0 2,500.00 2,500.00 more_vert
21 ก.ย. 59 อบรมเชิงปฏิบัติการการตรวจสุขภาพนักเรียน 0 7,340.00 7,340.00 more_vert
31 ต.ค. 59 ประชุมติดตามการจัดทำรายงานศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส งวดที่ 1 0 6,000.00 2,750.00 more_vert
21 ธ.ค. 59 พัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน2 0 10,000.00 10,000.00 more_vert
3 ก.พ. 60 เฝ้าระวังและติดตาามภาวะโภชนาการและสมรรถภาพทางกายนักเรียน ครั้งที่ 2 55 5,790.00 5,800.00 more_vert
10 ก.พ. 60 อบรมสร้างความรู้ความเข้าใจ “อนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน” 55 6,110.00 6,120.00 more_vert
15 ก.พ. 60 อบรมพัฒนาศักยภาพแม่ครัว ผู้ปกครอง แกนนำนักเรียน 35 4,000.00 5,580.00 more_vert
16 ก.พ. 60 ประชุมอบรมสหกรณ์นักเรียน 55 7,340.00 7,350.00 more_vert
18 ก.พ. 60 กิจกรรมย่อยการผลิตสื่อและนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ ด้านเกษตร สหกรณ์โภชนาการ และสุขภาพ 55 7,340.00 7,350.00 more_vert
19 ก.พ. 60 อบรมการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการและกิจกรรมที่สอดคล้องกับโครงการเด็กไทยแก้มใส 55 7,340.00 7,350.00 more_vert
21 ก.พ. 60 กิจกรรมการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสนับสนุนการจัดกิจกรรมเรียนรู้ด้านเกษตร สหกรณ์ โภชนาการ และสุขภาพ 55 7,340.00 7,350.00 more_vert
1 เม.ย. 60 คืนดอกเบี้ย เพื่อปิดโครงการ 0 0.00 31.91 more_vert
3 เม.ย. 60 ประชุมติดตามการจัดทำรายงานศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส งวดที่ 2 0 0.00 1,600.00 more_vert
รวม 584 100,000.00 18 100,031.91

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2559 17:03 น.