ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

โรงเรียนบ้านบาโงย จ.ยะลา


“ โรงเรียนบ้านบาโงย จ.ยะลา ”

59 ม.4 ตำบลบาโงย อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

หัวหน้าโครงการ
นางรัตนา ดำทองเสน

ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านบาโงย จ.ยะลา

ที่อยู่ 59 ม.4 ตำบลบาโงย อำเภอรามัน จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ ศรร.1411-111 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-ต.18

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2016 ถึง 30 เมษายน 2017


กิตติกรรมประกาศ

"โรงเรียนบ้านบาโงย จ.ยะลา จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน 59 ม.4 ตำบลบาโงย อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนบ้านบาโงย จ.ยะลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนบ้านบาโงย จ.ยะลา



บทคัดย่อ

โครงการ " โรงเรียนบ้านบาโงย จ.ยะลา " ดำเนินการในพื้นที่ 59 ม.4 ตำบลบาโงย อำเภอรามัน จังหวัดยะลา รหัสโครงการ ศรร.1411-111 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 80,000.00 บาท จาก โรงเรียนบ้านบาโงย จ.ยะลา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 113 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ

1) การเกษตรในโรงเรียน

2) สหกรณ์นักเรียน

3) การจัดบริหารอาหารของโรงเรียน

4) การติดตามภาวะโภชนาการ

5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน

6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

7) การจัดบริการสุขภาพ และ

8.) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ

สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น

จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนบ้านบาโงยจึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการของนักเรียนในระยะยาว
  2. เพื่อสร้างกระบวนการ ประเมินติดตาม และเฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน
  3. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. โรงเรียนมีการบริหารจัดการ ด้านส่งเสริมสุขภาพนักเรียนที่เป็นระบบ และมีประสิทธิภาพสู่การแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการของนักเรียน
    2. นักเรียนมีสุขภาพดี เติบโตสมวัยมีอารมณ์ สติปัญญาที่ดีขึ้น มีทักษะชีวิตที่ดี สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง
    3. พ่อแม่ ผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านอาหารและสุขภาวะของนักเรียนที่ดี
    4. ชุมชนและสังคม มีความตระหนักรู้ ให้ความสำคัญกับการจัดการสิ่งแวดล้อมด้านอาหารและโภชนาการทีี่เอื้อต่อสุขภาพของเด็กวัยเรียน
    5. ผู้นำท้องถิ่นและภาคีเครือข่ายให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนในพื้นที่

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมคณะกรรมการและภาคีเครือข่าย

    วันที่ 27 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ชี้แจงรายละเอียดโครงการ 2.เปิดโอกาสให้หน่วยงานและชุมชนร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แสดงความคิดเห็น 3.แต่งตั้งคณะกรรมการภาคีเครือข่ายและแกนนำผู้ปกครอง 4.ทุกภาคส่วนพร้อมให้ความร่วมมือและสนับสนุนโครงการอย่างเต็มศักยภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทุกภาคส่วนรับทราบเกี่ยวกับโครงการ  มีความรู้ความเข้าใจและพร้อมให้ความร่วมมือและสนับสนุนโครงการอย่างเต็มศักยภาพ

     

    44 67

    2. ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้แกนนำนักเรียนและครู

    วันที่ 31 พฤษภาคม 2016 เวลา 07:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมวางแผนกำหนดการเดินทาง จัดทำหนังสือขออนุญาติการเดินทาง เดินทางตามกำหนดการ ศึกษาเรียนรู้การดำเนินงานโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสจากโรงเรียนต้นแบบสำนักสงฆ์ศรีวิจัย เช่น ศึกษานวัตกรรมเครื่องปิ้งไข่  การทำนำ้หมักชีวภาพใช้งานอเนกประสงค์ การทำถ่านจากเปลือกทุเรียน และเรียนรู้ทางเกษตรพอเพียง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิตนักเรียนจำนวน35คนครูและบุคลากรจำนวน 15คน ได้ศึกษาดูงานการดำเนินงานเด็กไทยแก้มใสผลลัพธ์ คณะครู นักเรียน และกรรมการสถานศึกษา ได้รับความรู้นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน และศึกษาวิธีการจัดทำนวัตกรรมเป็นของโีรงเรียน คณะครูนักเรียนเกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันในการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใส สรุปผลที่ได้จากการดูงาน 1.ได้นวัตกรรมการทำเตาชีวมวลมาใช้ในการจัดทำในโครงการอาหารกลางวันเพื่อประหยัดพลังงาน 2.ได้เรียนรู้การจัดการระบบสหกรณ์มาใช้ในโรงเรียน 3. ครูและบุคลากรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการดำเนินงา่นโครงการศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส4. นักเรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกการเป็นผู้นำ 5.คณะกรรมการสถานศึกษาได้นำแนวคิดไปบูรณาการเกษตรพอเพียงสู่ชุมชน

     

    56 50

    3. อบรมเชิงปฏิบัติการความรู้เกี่ยวกับ 8 องค์ประกอบ

    วันที่ 2 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.อบรมเชิงปฏิบัติการจากหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ ได้แก่ สำนักงานเกษตรสำนักงานที่ดินสำนักงานปศุสัตว์กรมชลประทานสกย.ธกส. และวิทยาท้องถิ่น 2.นักเรียนและผู้ปกครองลงมือปฏิบัติฐานการเรียนรู้ 10 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่
    2.1 ฐานการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดยะลา

    2.2 ฐานปุ๋ย

    2.3 ฐานการทำนา

    2.4 ฐานน้ำ

    2.5 ฐานดิน

    2.6 ฐานบัญชีรายรับ-รายจ่าย

    2.7 ฐานอาหารสัตว์

    2.8 ฐานการเลี้ยงปลา

    2.9 ฐานนวัตกรรมแอร์แว

    2.10 ฐานการเพาะปลูก

    3.ครู นักเรียนและผู้ปกครองมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 4.ให้การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และดินสำหรับปลูกพืชให้กับผู้ร่วมอบรมเพื่อนำไปขยายผลสู่ชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต- นักเรียน ครูและผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจใน 8 องค์ประกอบ ผลลัพธฺ -1.นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้และทักษะในการปฏิบัติผ่านประสบการณ์จริง และสามารถต่อยอดการเรียนรู้สู่โรงเรียนและชุมชนอย่างยั่งยืน 2.สามารถนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับบริบทของโรงเรียน 3.ได้รับสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และดินสำหรับปลูกพืชให้กับผู้ร่วมอบรมเพื่อนำไปขยายผลสู่ชุมชน

     

    79 83

    4. การเพาะเห็ดนางฟ้า

    วันที่ 25 มิถุนายน 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.เตรียมโรงเรือนเพาะเห็ด2. จัดเรียงก้อนเชื้อเห็ดบนชั้นวาง 3.แบ่งนักเรียนรับผิดชอบในการดูแลเห็ด4. เก็บผลผลิตเข้าสู่สหกรณ์นักเรียนและจำหน่ายสู่โครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต มีวัตถุดิบที่ปลอดสารพิษเข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน ผลลัพธ์ 1.นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น 2.นักเรียนได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษ

     

    117 0

    5. อาหารเช้าเพื่อนักเรียนทุพโภชนาการ

    วันที่ 25 กรกฎาคม 2016 เวลา 07:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.จ้างแม่ครัวประกอบอาหารเช้า 2.นักเรียนรับประทานอาหารเช้าเวลา 07.30-08.00 น. ทุกวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต  -นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าทุกคนทุกวัน ผลลัพธ์ - นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น

     

    44 104

    6. รับการนิเทศติดตามการดำเนินโครงการ

    วันที่ 7 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การเยี่ยมติดตามโครงการโดยลงพื้นที่โรงเรียนบ้านบาโงย เพิื่อประเมินผลการจัดกิจกรรม ศรร.เด็กไทยแก้มใส ได้แก่ การเกษตรในโรงเรียน  สหกรณ์นักเรียน การบริการอาหารกลางวัน การใช้เครื่องมือในการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงที่ได้มาตรฐาน และติดตามการลงข้อมูลในระบบติดตามออนไลน์ ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต- โครงการที่ดำเนินการมีความสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ ผลลัพธ์- ได้รับคำแนะนำในการดำเนินงานโครงการ - ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้

     

    13 147

    7. เก็บเกี่ยวผลิตผลทางการเกษตร

    วันที่ 19 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.เตรียมอุปกรณ์สำหรับเก็บเกี่ยว 2.เก็บเกี่ยวพืชผัก 3.นำเข้าสู่สหกรณ์โรงเรียน 4.สหกรณ์จำหน่ายเข้าสู่โครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนและบุคลากรได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษ 2.โรงเรียนมีวัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวัน ตามโปรแกรม ThaiSchoolLunch

     

    117 117

    8. การประชุมสัญจรโรงเรียนต้นแบบศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใส ครั้งที่ 1-2

    วันที่ 13 ตุลาคม 2016 เวลา 07:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดทำและบันทึกกิจกรรมรายงานผ่านระบบออนไลน์ รายกิจกรรมและแนวทางการเขียนสรุปรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต - ได้จัดทำรายงานทุกกิจกรรมที่ดำเนินการแล้วผ่านระบบออนไลน์

    ผลลัพธ์ - ได้เรียนรู้และสามารถดำเนินการจัดทำรายงานผ่านระบบออนไลน์

     

    2 3

    9. เกมสื่อสร้างสรรค์พัฒนาทักษะเด็กไทยแก้มใส

    วันที่ 6 ธันวาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ประชุมวางแผนจัดทำกิจกรรม -ทำหนังสือเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง -ดำเนินงานตามกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2559 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 -ออกแบบกิจกรรม สื่อประเภทต่างๆ -ลงมือปฏิบัติ ตามกระบวนการ นำเสนอ สรุปรายงานผล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.โรงเรียนมืสื้่อและกิจกรรมฝึกทักษะนักเรียนทั้งทางด้านร่างกาย สมองและความรู้และความคิดสร้างสรรค์ 2.นักเรีนได้ใช้อวัยวะต่างๆในการทำกิจกรรม ฝึกปฏิบัตื
    3.นักเรียนมีความรู้ด้านต่างๆ เช่น โภชนาการ  ภาษา  และ การใช้สัญลักษญ์ ต่างๆ

     

    117 184

    10. การผลิตวัตถุดิบอาหารสำหรับใช้ในการจัดอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน

    วันที่ 20 ธันวาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ประชุมวางแผน ชี้แจงกิจกรรม ที่จะดำเนินการ -จัดหา วัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินกิจกรรม -ดำเนินการตามกิจกรรมที่กำหนด -สรุปรายงานการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -มีวัตถุดิบในการผลิต จัดทำอาหาร ได้แก่ เห็ด  ไก่  ปลา  ผักสวนครัว และผลไม้ ชนิดต่าง -มีวัตถุดิบอาหารในการจัดอาหารกลางวัน และอาหารเช้า สำหรับนักเรียนที่หลากหลาย มีประโยชน์ และปลอดสารพิษ -นักเรียนได้เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริงในการทำกิจกรรมเกษตร อาหาร แลโภชนาการ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน -ได้รับความรู้จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยตรง เช่น  ความรู้เรื่องการเลี้ยง ปลา  ไก่  จากปศุสัตว์และประมง
    -มีความรู้ในเรื่องอาหารและโภชนาการจาก -มีความรู้เรื่องการใช้วัสดุอุปกรณ์ในการทำการเกษตร อาหาร และโภชนาการ ที่ถูกต้องและปลอดภัย -มีแหล่งเรียนรู้ให้แก่นักเรียน ครู ผู้ปกครอง รวมทั้งชุมชน

     

    113 22

    11. จัดทำรายการอาหารโดยใช้โปรแกรม TSL

    วันที่ 9 มกราคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมชี้แจงวางแผนการดำเนินงาน -วางแผนจัดทำเมนูอาหารตามโปรแกรม TSL -จัดทำเมนูอาหารหมุนเวียน 2 สัปดาห์ -จัดพิมพ์และรวบรวมเป็นรูปเล่ม -เขียนรายการอาหารที่ได้บนกระดานเมนูเป็นประจำสัปดาห์ -สรุปรายงานการใช้โปรแกรม TSL

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีโปรแกรมอาหารในการคำณวนปริมาณวัสถถุดิบและค่าใช้จ่ายในการทำอาหารกลางวัน มีเมนูอาหารที่มึคุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลาย ให้กับนักเรียนอย่างเหมาะสมกับวัย


     

    0 13

    12. วางแผนการจัดการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันที่สอดคล้องกับเมนูตามโปรแกรม TSL

    วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมชี้แจงการดำเนินกิจกรรม มอบหมายหน้าที่ครูผู้รับผิดชอบ ร่วมวางแผน จัดหา จัดเตรียม ตามวัตถุดิบที่ต้องการ ประสานความช่วยเหลือหน่วยงานในชุมชน สร้างเครือข่ายในชุมชนเพื่อเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบร่วมกัน ดำเนินกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย สรุปรายงานผลการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีวัตถุดิบท่ีสอดคล้องกับการจัดเมนูอาหารตามโปรแกรม TSL มีเครือข่ายชุมชนช่วยหาวัตถุดิบอีกทางหนึ่ง มีแหล่งผลิตวัตถุดิบที่หลากหลายสามารถนำมาจัดทำเป็นเมนูอาหารกลางวันได้อย่างไม่ขาด

     

    0 39

    13. ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามและประเมินผลรายกิจกรรม

    วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมชี้แจงการดำเนินกิจกรรม ร่วมประเมินสรุป การดำเนินกิจกรรม วิเคราะห์ภาวะสถานการณ์ต่อการจัดกิจกรรมต่างๆ เสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา สรุปรายงานผลการดำเนินกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการประชุมหารือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้วิเคราะห์ แก้ปัญหาในกิจกรรมที่่ประสบปัญหา แลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินกิจกรรมในแต่ละกิจกรรม ได้รับแก้ไขและปรับปรุงการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น

     

    13 135

    14. การจัดนิทรรศการแสดงผลงาน

    วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมชี้แจงกิจกรรมการดำเนินงาน วางแผนการดำเนินงานที่ได้รับมอบหมาย ดำเนินกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย สรุปรายงานผลการจัดกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีผู้เข้าร่วมงานนิทรรศการ เผยแพร่ผลงานและการดำเนินงานแก่ชุมชนและหน่วยงานใกล้เคียง
    เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีทรรศการเผยแพร่ผลงานและการดำเนินงานแ่ชุมชนและหน่วยงานใกล้เคียง มีเครือข่ายการดำเนินงานเด็กไทยแก้มใสเพิ่มขึ้น

     

    113 238

    15. อบรมแม่ครัวและแกนนำผู้ปกครอง

    วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.จัดทำหนังสือเชิญแกนนำผู้ปกครองและวิทยากร 2.ดำเนินกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ -อบรมให้ความรู้แก่แกนนำผู้ปกครองนักเรียนในเรื่องการจัดทำอาหารตามหลักโภชนาการ -แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการทำอาหารคาว อาหารหวานและเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ตามสุขอนามัย -นำเสนอผลงานแต่ละกลุ่ม 3.สรุปกิจกรรมการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. จัดตั้งแกนนำกลุ่มผู้ปกครองเครือข่ายเด็กไทยแก้มใส 2.แม่ครัวและแกนนำผู้ปกครองมีการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำอาหารตามหลักโภชนาการ 3.แม่ครัวและแกนนำผู้ปกครองมีทักษะในการปฏิบัติจริง

     

    32 35

    16. ปลูกผักไฮโดรพอนิกส์

    วันที่ 1 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.เตรียมโรงเรือนไฮโดรพอนิกส์ 2.เตรียมวัสดุที่ใช้ในการปลูก 3.ปลูก 4.เก็บเกี่ยวผลผลิต

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต  มีผักไฮโดรพอนิกส์ป้อนสู่สหกรณ์โรงเรียน และจำหน่ายให้กับโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน ผลลัพธ์  นักเรียนได้รับประทานผักที่มีประโยชน์

     

    117 117

    17. คืนเงินดอกเบี้ยธนาคาร

    วันที่ 30 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คืนดอกเบี้ยโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้คืนเงินดอกเบี้ยให้โครงการเด็กไทยแก้มใสจำนวน 23.39บาท

     

    3 3

    18. การประชุมสัญจรโรงเรียนต้นแบบศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใส ครั้งที่ 3

    วันที่ 4 เมษายน 2017 เวลา 07:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    บันทึก/แก้ไขข้อมูลและเอกสารทางการเงินให้ถูกต้องตามแนวทางของสสส.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต - ได้จัดทำรายงานทุกกิจกรรมที่ดำเนินการแล้วผ่านระบบออนไลน์ ผลลัพธ์ - ได้เรียนรู้และสามารถดำเนินการจัดทำรายงานผ่านระบบออนไลน์

     

    3 3

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการของนักเรียนในระยะยาว
    ตัวชี้วัด : 1.ร้อยละของนักเรียนที่มีภาวะทุกโภชนาการลดลง นักเรียนมีภาวะอ้วนไม่เกินร้อยละ 5 นักเรียนมีภาวะผอม ลดลงจากเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ต่อปี นักเรียนมีภาวะเตี้ย ลดลงจากเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ต่อปี 2.มีรูปแบบการดำเนินงานแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการของนักเรียน

    นักเรียนมีภาวะโภชนการที่ดีขึ้น โดยมีภาวะเตี้ย ลดลงอย่างต่อเนื่อง

    2 เพื่อสร้างกระบวนการ ประเมินติดตาม และเฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน
    ตัวชี้วัด : 1. เด็กนักเรียนทั้งหมดได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการที่มีคุณภาพ (ดดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนและครอบครัว) 2.มีการจัดรายการอาหารกลางวันของเรียนให้มีปริมาณพลังงาน และสารอาหารครบถ้วนหรืออย่างน้อยร้อยละ 70 ของความต้องการ นักเรียนทุกคน -ได้รับเนื้อสัตว์ไม่น้อยกว่า 2ช้อนกินข้าว ต่อมื้อ -ได้บริโภคผักไม่น้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ(อนุบาล 50กรัม,ประถมศึกษา 70กรัม)

    นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น ได้รับการดูแลจากครอบครัวและโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ นักเรียนได้รับอาหารกลางวันท่ีมีประโยชน์ตามเมนูโปรแกรมTHL

    3 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียน
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของชุมชนมีส่วนร่วมในการคิด ทำและสนับสนุนการดำเนินงานในการพัฒนาเด็กบาโงย

    ชุมชนมีส่วนร่วมและให้การสนับสนุนการดำเนินงานการพัฒนานักเรียนและโรงเรียนอย่างมีศักยภาพ

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการของนักเรียนในระยะยาว (2) เพื่อสร้างกระบวนการ ประเมินติดตาม และเฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน (3) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียน

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

    ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนบ้านบาโงย จ.ยะลา

    รหัสโครงการ ศรร.1411-111 รหัสสัญญา 58-00-2265-ต.18 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

    วันที่เริ่มประเมิน

    1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    (ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    1. การเกษตรในโรงเรียน

    กิจกรรมผลผลิตทางการเกษตรเพื่อโครงการอาหารกลางวัน -กิจกรรมทางการเกษตร - จักรยานสูบน้ำประหยัดพลังงาน -ปุ๋ย EM น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ปุ๋ยแห้ง การทำปุ๋ยหมัก
    ฯลฯ

    การปลูกผักให้มีประสิทธิภาพและเพื่อให้มีผลผลิตทางการเกษตรที่หลากหลายเพิ่มขึ้น อีกทั้งเป็นการเสริมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนจึงนำวิธีการแนวใหม่มาใช้ในการปลูกพืชผักนั่นคือการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ คือการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน เป็นวิธีการใหม่ในการปลูกพืช โดยเฉพาะการปลูกผักและพืชที่เป็นอาหาร เนื่องจากเป็นการประหยัดพื้นที่และไม่ปนเปื้อนกับสารเคมีต่างๆ ในดินทำให้ได้พืชผักที่สะอาดเป็นอาหาร - หลักฐานการทำกิจกรรม ได้แก่ รูปถ่าย รายงานโครงการ และแปลงเกษตรในโรงเรียน

    -การแบ่งพื้นที่ปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่ของโรงเรียนมุ่งประโยชน์ทั้งเป็นไม้ผลเป็นร่มเงาและเป็นที่จัดกิจกรรมของนักเรียนมีระเบียบสวยงามเหมาะสมกับท้องถิ่นและฤดูกาลมีการวางแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับความต้องการผลผลิตในการสนับสนุนกิจกรรมอาหารกลางวันของโรงเรียนและการบริหารผลผลิตให้มีคุณภาพพร้อมทั้งการจัดทำบันทึกการดำเนินกิจกรรมบัญชีรับ - จ่ายให้เป็นปัจจุบัน -ประเมินผลตามระยะที่กำหนดในแผนกิจกรรมเพื่อพัฒนางานแก้ปัญหาได้ทันเหตุการณ์ -จัดบูรณาการกิจกรรมเข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียน -รายงานผลการดำเนินงานแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบตามปฏิทินการปฏิบัติงาน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    2. สหกรณ์นักเรียน
    • กิจกรรมร้านค้า
    • กิจกรรมออมทรัพย์
    • กิจกรรมส่งเสริมการผลิต

    จัดทำเอกสารต่างๆสำหรับการดำเนินงานสหกรณ์ จัดซื้ออุปกรณ์ชุดผลิตน้ำยาล้างจานเพื่อไว้ใช้และจำหน่ายตลอดทั้งปี จัดทำวัสดุบรรจุผลิตภัณฑ์ มีผลผลิตจากการเกษตรจำหน่ายสู่โครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนและชุมชน

    จัดทำวัสดุบรรจุผลิตภัณฑ์ มีผลผลิตจากการเกษตรจำหน่ายสู่โครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนและชุมชน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

    กิจกรรมอาหารปลอดภัย

    ๑.ปลูกผักกินเอง ๒.สหกรณ์โรงเรียนจำหน่ายอาหาร ที่เป็นประโยชน์ให้แก่นักเรียน ๓.โรงเรียนจัดเมนูเพื่อสุขภาพ ๔.เจ้าหน้าที่อนามัยมาให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารตาม ๕. การใช้โปรแกรม Thai SchoolLunce ๖.การบูรณาการเรื่องอาหารและโภชนาการเข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้

    ๑.นักเรียนสามารถทำอาหารเพื่อสุขภาพและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพเพื่อหารายได้ ๒.การประชาสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการเรียนรู้เรื่องอาหารและโภชนาการตามช่องทางต่างๆ

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

    กิจกรรมเฝ้าระวังทางโภชนาการและทดสอบสมรรถภาพนักเรียน

    ๑.จัดทำกิจกรรมเฝ้าระวังทางโภชนาการ และติดตามการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงทุก ๒ เดือน เพื่อประเมินความก้าวหน้า
    ๒.การทดสอบสมรรถภาพทางกาย ตามเกณฑ์ของกรมพลศึกษา หรือการกีฬาแห่งประเทศไทย ปีละ ๑ ครั้ง

    ๑) การแก้ไขนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ โรงเรียนได้ดำเนินการให้อาหารเสริม (นม) อาหารเช้า เพิ่มเติมในเวลาเช้าและได้รับอาหารเสริม (นม) ก่อนกลับบ้าน ให้นักเรียนได้รับประทานทุกวันและทุกคน อีกทั้งการส่งเสริมรับประทานอาหารให้ครบ ๕ หมู่ ที่มีประโยชน์หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลมหรือขนมกรุบกรอบ ๒.การเฝ้าระวังทางโภชนาการ และติดตามการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงโดยการใช้โปรแกรมINMU - Thaigrowth ของสำนักโภชนาการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

    กิจกรรมพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน

    จัดหาทำป้ายนิเทศ/ป้ายความรู้ต่างๆ -ป้ายเกี่ยวกับอาหารหลัก๕ หมู่ -ป้ายมารยาทในการรับประทานอาหารและป้ายโภชนาการสมวัย -ฝึกสุขนิสัยมารยาทในการรับประทานอาหารของนักเรียน

    -มีป้ายนิเทศและป้ายความรู้ที่พัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน -พัฒนาความรู้และทักษะสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน-ส่งเสริมให้นักเรียนมีการพัฒนาสุขนิสัยด้านต่างๆตามหลักสุขบัญญัติ ๑๐ ประการ และการพัฒนาสุขนิสัยพึงประสงค์

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

    กิจกรรมปรับปรุงภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน - การจัดการดูแลสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ - การพัฒนาลักษณะนิสัยให้ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดยั่งยืน -การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติในโรงเรียน

    การสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สะอาด ปลอดภัย และ มีสุขลักษณะที่ดี ตามหลักสุขาภิบาลเพื่อความปลอดภัยและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในโรงเรียน ได้ดำเนินกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการกิจกรรมโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สะอาด ปลอดภัย และ มีสุขลักษณะที่ดี ตามหลักสุขาภิบาล

    ๑.การพัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ได้มาตรฐาน ๒.มีที่รับขยะถูกหลักสุขาภิบาล ๓. การสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และให้เป็นแหล่งเรียนรู้

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

    กิจกรรมการจัดบริการสุขภาพในโรงเรียน - การปฐมพยาบาล - การจัดห้องพยาบาล - การตรวจพยาธิ - การตรวจสุขภาพอื่น

    -จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และเวชภัณฑ์ ยา ไว้บริการแก่ผู้รับบริการ -ประสานความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่อนามัยที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จัดบริการสาธารณสุขด้านต่างๆ -การช่วยเหลือแก้ไขอาการเจ็บป่วยในเบื้องต้นอย่างเหมาะสม และส่งต่อในรายที่ต้องรักษาอย่างเร่งด่วน -การอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลและการดูแลสุขภาพ -จัดซื้ออุปกรณ์ชุดผลิตน้ำยาล้างจานเพื่อไว้ใช้และจำหน่ายตลอดทั้งปี

    -มีห้องพยาบาลและเวชภัณฑ์ยาไว้บริการแก่ผู้มารับบริการอย่างเพียงพอ ได้มาตรฐาน -การดูแลและแก้ไขด้านสาธารสุขต่างๆจากเจ้าหน้าที่อนามัยที่เกี่ยวข้อง

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

    กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านเกษตร โภชนาการ และสุขภาพ ๑.การจัดกิจกรรมอบรมการทำ ไข่เค็มยุวเกษตรหมอดิน การทำน้ำหมักชีวภาพ ๒. การศึกษาดูงานศูนย์ศึกษาพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราขดำริ ๓.การอบรมนักเรียนแกนนำส่งเสริมสุขภาพและอย.น้อย

    โรงเรียนจัดให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ด้านเกษตร โภชนาการ และสุขภาพ

    ๑.การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในด้านโภชนาการและอาหารที่ปลอดภัยด้านความรู้และการปฏิบัติของนักเรียน ๒.ลดปัญหาที่มีผลกระทบต่อการศึกษาเล่าเรียนและส่งเสริมให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    9. อื่น ๆ

    กิจกรรมการมีส่วนร่วมและเครือข่าย

    การจัดตั้งชมรมสุขภาพหรือมีนักเรียนแกนนำในการร่วมกันดำเนินกิจกรรมพัฒนาสุขภาพในโรงเรียน เช่น ชุมนุมกีฬาชุมนุมแอโรบิค ชุมนุมอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเป็นต้น เพื่อเป็นการรณรงค์ให้นักเรียนรักการออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง -การจัดกิจกรรมด้านสุขอนามัยในโรงเรียน นักเรียนแกนนำด้านสาธารณสุข มีส่วนร่วมในการจัดดำเนินกิจกรรมพัฒนา สุขภาพในโรงเรียน -การดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม

    -พัฒนากิจกรรมด้านสุขภาพที่เกิดจากการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน เครือข่ายด้านสุขภาพระหว่างโรงเรียนกับกลุ่มโรงเรียน/ชุมชน/ท้องถิ่น/หน่วยงานภายนอก -แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพ การจัดตั้งเครือข่ายโรงเรียนด้านสุขภาพและเครือข่ายโครงการเด็กไทยแก้มใส

    2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

    1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

    1.จัดตั้งชมรมหรือมีนักเรียนแกนนำในการร่วมกันดำเนินกิจกรรมในโรงเรียน 2.นักเรียนเป็นสมาชิกชมรมหรือเครือข่ายกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ 3.มีโครงการ/กิจกรรมที่เกิดจากการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน 4.มีเครือข่ายระหว่างโรงเรียนกับกลุ่มโรงเรียน/ชุมชน/ท้องถิ่น หน่วยงานภายนอก 5.มีการจัดตั้งเครือข่ายโรงเรียน 6.มีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น บุคคล องค์ความรู้ สื่อการเรียนรู้ แหล่งความรู้ ฯลฯ ในการดำเนินงาน 7.มีการระดมทรัพยากรหรืองบประมาณจากภายนอกเพื่อพัฒนาการดำเนินงาน

    • หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระหว่างทำกิจกรรม ได้แก่ เกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ ประมงอำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ รพ.สต. สสจ. และ สสอ.

    2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

    โรงเรียนมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ บรรยากาศและสภาพแวดล้อมอย่างสมำ่เสมอ เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม ร่มรื่นน่าอยู่และมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้และเอื้อต่อการพัฒนา โรงเรียนมีสภาพภูมิทัศน์และบรรยากาศภายนอกภายในบริเวณโรงเรียนมีการจัดบรรยากาศอาคารเรียนทั้งภายนอกและภายในห้องเรียน มีห้องพิเศษต่าง ๆตลอดจนการจัดบรรยากาศห้องสุขาหรือห้องน้ำ ห้องส้วมและโรงครัว/โรงอาหาร สามารถให้บริการในด้านอาคารสถานที่และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ แก่นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนจนเกิดเป็นเอกลักษณ์ที่ว่า โรงเรียนสะอาดบรรยากาศน่าอยู่

    3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

    การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนบ้านบาโงย ยึดหลักการบริหารแบบการมีส่วนร่วมลงมือกระทำ ดังเช่นปณิธานของผู้อำนวยการที่ว่า “ต้องน้อมนำ ทำให้ดูชูให้เห็นเป็นให้ได้”มีคุณธรรมจริยธรรม คือ ความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ มีส่วนร่วมต่องานในหน้าที่ของตน เน้นการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาแบบผลสัมฤทธิ์ โดยอาศัยหลักยุทธศาสตร์พระราชทาน ที่ว่า เข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา อีกทั้งมีนวัตกรรมรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพ โดยใช้ BANGOI MODELซึ่งประกอบด้วย การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (B = Based on SBM) การปฏิบัติและการปรับปรุงแก้ไขงาน ปฏิบัติงานโดยใช้แนวปฏิบัติตามวงจรของเดมมิ่ง PDCA (A : Action) การทำงานให้เป็นปัจจุบันและทันสมัย ปฏิบัติงานโดยใช้หลัก ๕ ส. คือ สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะและสร้างนิสัย (N : Nowaday) การนำหลักธรรมาภิบาลมาปรับใช้ คือ นิติธรรม คุณธรรมความโปร่งใส มีส่วนร่วม รับผิดชอบและความคุ้มค่า (G : Good Governance)การตอบสนองต่อความต้องการโดยใช้หลักการตลาดมาปรับใช้ คือ การควบคุมคุณภาพการสื่อสารการมีส่วนร่วมและการประสานความร่วมมือ (O : Ondemand) และสร้างความเป็นอัตลักษณ์และมีเอกลักษณ์ของโรงเรียน (I : Identity)

    4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

    เริ่มต้นจากสร้างความตระหนัก สร้างแรงบันดาลใจให้ครู ร่วมคิดร่วมทำ ร่วมวางแผน ร่วมกันคิดวิเคราะห์เพื่อรวมปัญหาและพิชิตวิกฤตที่เกิดขึ้น คือ การพัฒนานักเรียนให้ความรู้ควบคู่คุณธรรม ให้มีใจรัก มีจิตอาสา มีส่วนร่วมคิดร่วมทำด้วยใจ ทุกคนร่วมมือร่วมใจช่วยกันระดมสมอง กลั่นกรองความคิด ช่วยกันสกัดมาเป็นองค์ความรู้ขยายผลสู่นักเรียนและชุมชน ในการดำเนินงานของโรงเรียนทุกครั้ง จะต้อง คำนึงถึงความพร้อมและความปลอดภัยของผู้เกี่ยวข้องทุกคน ให้มีทักษะที่ดี แก้ปัญหาได้อย่างมีสติเพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง โดยการปฏิบัติและการปรับปรุงแก้ไขงาน การทำงานให้เป็นปัจจุบันและทันสมัย ปฏิบัติงานโดยใช้หลัก ๕ ส. คือ สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะและสร้างนิสัย รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนครูและบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียน นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีอุปนิสัยพอเพียง เป็นคนดีมีคุณธรรม รวมทั้งทักษะชีวิตพร้อมที่จะก้าวออกไปสู่สังคมต่อไป ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพของครู นักเรียน และแม่ครัวให้มีความพร้อมที่จะใช้ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน คุณภาพของโรงเรียนและขยายผลสู่ชุมชนต่อไป

    5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

    การใช้นวัตกรรมเทคนิคTEAM กำลังสอง คือ การทำงานร่วมกันระหว่างทีมโรงเรียนกับทีมของชุมชน ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน มีส่วนรับผิดชอบร่วมกัน ซึ่งการปฏิบัติงานร่วมกับบุคลากรในโรงเรียน มาใช้ในการบริหารจัดการศึกษา เพื่อกระจายหน้าที่ ความรับผิดชอบของการปฏิบัติงานได้อย่างทั่วถึง อีกทั้งให้สอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น โดยการการปรับทัศนคติ มุมมอง แนวคิดในแง่บวก สร้างความคุ้นเคย และความประทับให้กับผู้อื่น จะส่งผลให้เราทำงานอย่างมีความสุขและพร้อมที่จะรับมือกับปัญหาต่าง ๆ วางแผนการทำงาน หรือตัดสินปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ ให้ความช่วยเหลือและช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการทำงานแก่เพื่อนร่วมงาน อาศัยความร่วมมือกัน ความสามัคคี ความรักใคร่ปรองดองกัน ให้อภัยซึ่งกันและกัน มีความประนีประนอมต่อกัน ทำให้สามารถลดความตึงเครียด หรือความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นระหว่างกันได้มีการสื่อสารที่ดีซึ่งก็เป็นผลดีในการทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น และถือเป็นพฤติกรรมที่สำคัญสำหรับการทำงานร่วมกับผู้อื่น หากการสื่อสารมีประสิทธิภาพก็สามารถลดปัญหา หรือข้อขัดแย้งในการทำงานลงได้ ในการดำเนินงานนำไปสู่การปฏิบัติด้วยการกำหนดโครงการ/กิจกรรม ตามแผนงาน มีการรายงานผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมทุกครั้งเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจหรือสิ้นปีการศึกษา มีการนำผลการประเมิน ข้อเสนอแนะไปใช้ปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

    ผักกวางตุ้ง ผักคะน้าผักบุ้งอย่างละ 2 แปลงผักสลัด 2 แปลง และผลไม้ ได้แก่ มะละกอ10 ต้นส้มโอ1 ต้น

    แบบบันทึกการเก็บเกี่ยวผลผลิตของผัก

    เพิ่มผลผลิตให้เพิ่มขี้นและหลากหลายโดยใช้นวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

    ไก่เนื้อ 25 ตัว

    แบบบันทึกผลผลิตทางการเกษตร(ไก่เนื้อ) แบบบันทุึกผลผลิตทางการเกษตร(ไข่)

    เพิ่มผลผลิตให้เพิ่มขี้นและหลากหลายโดยใช้นวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

    ปลาดุก 800 ตัวปลาทับทิม 300 ตัว ปลาหมอ 100 ตัว

    แบบบันทึกผลผลิตทางการเกษตร(ปลา)

    เพิ่มผลผลิตให้เพิ่มขี้นและหลากหลายโดยใช้นวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

    ทำอาหารเช้าให้กับนักเรียนทุกคน104 คน ทุกวัน

    ภาพถ่าย และบัญชีงบประมาณ

    จัดให้มีอาหารเช้าสำหรับนักเรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อลดภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน

    5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

    มีการจัดเมนูอาหารตามโปรแกรม TSL

    เมนูหมุนเวียน 15 วัน ตามโปรแกรม TSL

    โรงเรียนสามารถจัดเมนูอาหารตามโปรแกรม TSL ได้ 100%

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    มีการจัดเมนูอาหารตามโปรแกรม TSL

    เมนูหมุนเวียน 15 วัน ตามโปรแกรม TSL

    โรงเรียนสามารถจัดเมนูอาหารตามโปรแกรม TSL ได้ 100%

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

    โรงเรียนได้แบ่งเมล็ดพันธุ๋ผักชนิดต่างๆ ให้นำไปปลูกที่บ้าน โดยโรงเรียนรับซื้อจากนักเรียน

    บันทึกการแจกจ่ายเมล็ดพันธุ์ผัก รูปถ่าย

    ชุมชนมีผักปลอดสารพิษรับประทานเองในครัวเรือน และสามรถป้อนเข้าสู่สหกรณ์โรงเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

    การทำน้ำยาล้างจานและปุ๋ยน้ำชีวภาพ

    ภาพถ่าย และผลิตภัณฑ์

    ใช้ในโรงเรียนและสามารถขยายต่อสู่ชุมชน

    4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

    80 %ใช้วัตถุดิบเหมือนใน โปรแกรม TSL และ20 % ใช้วัตถุดิบที่ใกล้เคียง

    เมนู อาหารกลางวันของโรงเรียน

    โรงเรียนสามารถจัดเมนูอาหารตามโปรแกรม TSL ได้ 100%

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

    โรงเรียนได้ติดตามภาวะโภชนการของนักเรียนโดยให้นักเรียนชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเทอมละ 2 ครั้ง

    แบบบันทึกน้ำหนักส่วนสูง

    ร่วมกับ จนท.อนามัย ติดตามนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนการ เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาต่อไปอย่างต่อเนื่อง

    3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

    สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

    ภาวะ2558 1/22558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/22560 1/12560 1/22560 2/12560 2/22561 1/12561 1/22561 2/12561 2/22562 1/12562 1/22562 2/12562 2/22563 1/12563 1/22563 2/1
    เตี้ย 10.20 10.20% 14.29 14.29% 10.58 10.58% 13.46 13.46% 9.62 9.62% 8.65 8.65% 10.78 10.78% 4.90 4.90% 4.67 4.67% 9.26 9.26% 11.43 11.43% 11.65 11.65% 11.88 11.88% 14.85 14.85% 10.31 10.31% 9.28 9.28% 9.00 9.00% 10.00 10.00% 13.00 13.00% 10.89 10.89% 11.00 11.00%
    เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 27.55 27.55% 32.65 32.65% 24.04 24.04% 29.81 29.81% 26.92 26.92% 25.00 25.00% 27.45 27.45% 21.57 21.57% 22.43 22.43% 23.15 23.15% 26.67 26.67% 23.30 23.30% 23.76 23.76% 25.74 25.74% 22.68 22.68% 19.59 19.59% 20.00 20.00% 18.00 18.00% 31.00 31.00% 21.78 21.78% 21.00 21.00%
    ผอม 21.43 21.43% 13.27 13.27% 25.96 25.96% 18.27 18.27% 16.35 16.35% 16.35 16.35% 7.84 7.84% 9.80 9.80% 11.21 11.21% 6.48 6.48% 7.62 7.62% 3.88 3.88% 5.94 5.94% 2.97 2.97% 9.28 9.28% 6.19 6.19% 4.00 4.00% 3.00 3.00% 4.95 4.95% 4.95 4.95% 2.00 2.00%
    ผอม+ค่อนข้างผอม 31.63 31.63% 21.43 21.43% 42.31 42.31% 25.96 25.96% 25.96 25.96% 22.12 22.12% 14.71 14.71% 21.57 21.57% 20.56 20.56% 15.74 15.74% 19.05 19.05% 14.56 14.56% 14.85 14.85% 9.90 9.90% 21.65 21.65% 13.40 13.40% 12.00 12.00% 13.00 13.00% 15.84 15.84% 16.83 16.83% 12.00 12.00%
    อ้วน 0.00 0.00% 0.00 0.00% 0.96 0.96% 0.96 0.96% 0.96 0.96% 0.96 0.96% 1.96 1.96% 1.96 1.96% 0.93 0.93% 1.85 1.85% 1.90 1.90% 1.94 1.94% 0.99 0.99% 1.98 1.98% 1.03 1.03% 1.03 1.03% 2.00 2.00% 1.00 1.00% 0.99 0.99% 0.00 0.00% 1.00 1.00%
    เริ่มอ้วน+อ้วน 0.00% 0.00% 0.00% 0.00% 0.96% 0.96% 0.96% 0.96% 1.92% 1.92% 2.88% 2.88% 2.94% 2.94% 2.94% 2.94% 4.67% 4.67% 3.70% 3.70% 3.81% 3.81% 5.83% 5.83% 2.97% 2.97% 4.95% 4.95% 4.12% 4.12% 5.15% 5.15% 7.00% 7.00% 7.00% 7.00% 8.91% 8.91% 7.92% 7.92% 7.00% 7.00%
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

    มีนักเรียนภาวะเริ่มอ้วนหรืออ้วนคงที่

    บันทึกการชั่งน้ำหนักและส่วนสูง

    การแนะนำ อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ปกครองในการทำอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

    นักเรียนมีภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

    บันทึกการชั่งน้ำหนักและส่วนสูง

    การแนะนำ อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ปกครองในการทำอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

    ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

    บันทึกการชั่งน้ำหนักและส่วนสูง

    การแนะนำ อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ปกครองในการทำอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

    มี โดยให้นักเรียนที่มีภาวะอ้วนให้ออกกำลังกายและทานอาหารที่พอเหมาะจำกัดปริมาณการทานอาหาร

    กิจกรรมการออกกำลังกายการเล่นกีฬา

    การแนะนำ อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ปกครองในการทำอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

    โรงเรียนได้ให้คำแนะนำกับผู้ปกครองในการดูแลนักเรียน และให้ผู้ปกครองเข้ารับการอบรม

    กิจกรรมประชุมผู้ปกครอง กิจกรรมอบรมแกนนำผู้ปกครองและแม่ครัว

    การแนะนำ อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนและผู้ปกครองในการทำอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

    1.จัดตั้งชมรมหรือมีนักเรียนแกนนำในการร่วมกันดำเนินกิจกรรมในโรงเรียน 2.นักเรียนเป็นสมาชิกชมรมหรือเครือข่ายกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ 3.มีโครงการ/กิจกรรมที่เกิดจากการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน 4.มีเครือข่ายระหว่างโรงเรียนกับกลุ่มโรงเรียน/ชุมชน/ท้องถิ่น หน่วยงานภายนอก 5.มีการจัดตั้งเครือข่ายโรงเรียน 6.มีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น บุคคล องค์ความรู้ สื่อการเรียนรู้ แหล่งความรู้ ฯลฯ ในการดำเนินงาน 7.มีการระดมทรัพยากรหรืองบประมาณจากภายนอกเพื่อพัฒนาการดำเนินงาน

    • หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระหว่างทำกิจกรรม ได้แก่ เกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ ประมงอำเภอ ปศุสัตว์อำเภอ รพ.สต. สสจ. และ สสอ.

    หมายเหตุ *

    • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    โรงเรียนบ้านบาโงย จ.ยะลา จังหวัด ยะลา

    รหัสโครงการ ศรร.1411-111

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางรัตนา ดำทองเสน )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด