ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

โรงเรียนบ้านนา


“ โรงเรียนบ้านนา ”

ม.6 ต.บ้านนา อ.กะเปอร์ จ.ระนอง

หัวหน้าโครงการ
นางสุภาวดี นาควิเชียร

ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านนา

ที่อยู่ ม.6 ต.บ้านนา อ.กะเปอร์ จ.ระนอง จังหวัด ระนอง

รหัสโครงการ ศรร.1412-100 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-ต.7

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2016 ถึง 30 เมษายน 2017


กิตติกรรมประกาศ

"โรงเรียนบ้านนา จังหวัดระนอง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ม.6 ต.บ้านนา อ.กะเปอร์ จ.ระนอง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนบ้านนา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนบ้านนา



บทคัดย่อ

โครงการ " โรงเรียนบ้านนา " ดำเนินการในพื้นที่ ม.6 ต.บ้านนา อ.กะเปอร์ จ.ระนอง รหัสโครงการ ศรร.1412-100 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก โรงเรียนบ้านนา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 288 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณะสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยะศึกษา หัตถศึกษาและ จริยะศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียน บ้านนา จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อสร้างกระบวนการ ประเมิน ติดตาม เฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน
  2. เพื่อพัฒนาโรงเรียนตามแนวทางการดำเนินงานของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร เพื่อพัฒนาสุขภาพของนักเรียน ตามโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
  3. เพื่อขยายผลโครงการศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสสู่โรงเรียนเครือข่ายจำนวน 4 โรงเรียน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. นักเรียนมีสุขภาพดี
    2. ผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมส่งเสริมสนับสนุุน การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในโครงการเด็กไทยแก้มใสให้บรรลุผลสำเร็จ
    3. เกิดความยั่งยืนของโครงการ

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. กิจกรรมการปลูกพืช/ผักสวนครัว

    วันที่ 6 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ครูที่รับผิดชอบให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชผักสวนครัวแก่นักเรียน
    2. เตรียมพื้นที่สำหรับปลูก โดยทำเป็นกระบะยาวจากก้อนอิฐ
    3. เตรียมดินใส่ปุ๋ย
    4. จัดซื้อเมล็ดพันธุ์ผัก พันธุ์พืช การปลูกผักสวนครัว ชนิดต่างๆ เช่น มะเขือเปราะ มะเขือยาว พริก ผักบุ้ง กวางตุ้ง คะน้า ตะไคร้ ผักหวาน ชะอม
    5. นักเรียนลงมือปฏิบัติปลูกผัก และบำรุงดูแล
    6. เก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดสารพิษ ให้กับสหกรณ์นักเรียน เพื่อนำส่งโครงการอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.โรงเรียนมีผลผลิตทางการเกษตรโดยมีส่วนร่วมของนักเรียน ชุมชน
    2. นักเรียนได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษ

     

    246 294

    2. กิจกรรมการแลกเปลี่ยนรู้กับโรงเรียนเครือข่าย / ขุมชน / องค์กรอื่น ๆ

    วันที่ 9 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชี้แจงการดำเนินงาน ของศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครู ผู้ปกครอง ชุมชน พร้อมกันเดินหน้าตามนโยบายเด็กไทยแก้มใส

     

    45 285

    3. กิจกรรมการเพาะเห็ดนางฟ้า

    วันที่ 20 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ให้ความรู้ความเข้าใจกับนักเรียนเรื่องการดูแลรักษา การปฏิบัติในการเพาะเห็ด การเก็บผลผลิต
    2. ฝึกให้นักเรียนมีความรับผิดชอบ เห็นคุณค่าของงานอาชีพที่สุจริต เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปพัฒนาการประกอบอาชีพหรือรายได้เสริม
    3. นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจกับผลิตจากการปฏิบัติสามารถนำไปสนับสนุนกิจกรรมโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน เพื่อแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีวัตถุดิบเพื่อทำอาหารกลางวันจากกิจกรรมทั้งหมดแบบบูรณาการอย่างต่อเนื่อง
    2. สามารถสร้างผลผลิตเกษตรด้านพืชและสัตว์ สนับสนุนกิจกรรมโครงการอาหารกลางวัน เพียงพอกับความต้องการกับจำนวนนักเรียน
    3. พัฒนาให้ความรู้ครู นักเรียนผู้ปกครองและบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ส่งเสริมสนับสนุนและเห็นความสำคัญด้านอาหารและโภชนาการอย่างยั่งยืน
    4. นักเรียนมีความรู้ในเรื่องการดูแลรักษา การปฏิบัติในการเพาะเห็ด การเก็บผลผลิต
    5. นักเรียนได้ฝึกทักษะอาชีพและมีรายได้ระหว่างเรียน นักเรียนมีความรับผิดชอบ
    6. นำเห็ดที่ได้ไปสนับสนุนกิจกรรมโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน

     

    58 58

    4. กิจกรรมการเลี้ยงไก่พันธ์เนื้อ

    วันที่ 21 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่เนื้อกับนักเรียนกลุ่มที่รับผิดชอบ 2.เตรียมโรงเรือนสำหรับเลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อ 3.จัดซื้อวัสดุอุปกรณต่างๆถาดอาหาร ถาดใสน้ำ 4.จัดซื้อพันธ์ไก่เนื้อ 5.นักเรียนให้อาหาร และดูแลรักษาความสะอาดของโรงเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้ไก่พันธุ์เนื้อที่มีความแข็งแรง
    2. สามารถนำผลผลิตที่ได้ ส่งให้สหกรณ์นักเรียน เพื่อส่งเข้าสู่โครงการอาหารกลางวัน
    3. นักเรียนได้รู้จักกิจกรรมฐานการเรียนรู้แต่ละฐานตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส
    4. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส
    5. นักเรียนได้มีความรู้ มีทักษะ ลำดับขั้นตอน กระบวนการทำงานตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส

     

    18 18

    5. กิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่

    วันที่ 1 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ฝึกการเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ (เลี้ยงไก่ไข่)
    2. มีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ฝึกความรับผิดชอบ และนำผลผลิตขายให้สหกรณ์นักเรียน นำสู่โครงการอาหารกลางวัน
    3. จัดซื้อไก่ไข่ อายุ 16-18 สัปดาห์ จำนวน 100 ตัว งบประมาณ 17,500 บาท
    4. จัดซื้ออาหาร 30 กระสอบ งบประมาณ 15,000 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ครูผู้รับผิดชอบจัดซื้อไก่ไข่ สำหรับเลี้ยง
    2. นักเรียนที่รับผิดชอบ เข้าไปดูแลทำความสะอาด
    3. นักเรียนที่รับผิดชอบเก็บไข่ที่ได้ ทำบัญชีรายรับรายจ่าย
    4. นำผลผลิตขายให้สหกรณ์นักเรียน นำสู่โครงการอาหารกลางวัน

     

    15 15

    6. กิจกรรมอบรมผู้ปกครองนักเรียนนักเรียนที่มีภาวะอ้วน ผอมและ เตี้ย

    วันที่ 24 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. อบรมให้ความรู้กับนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ และผู้ปกครองของนักเรียน
    2. ร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนมีความรู้  เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่ถูกตามหลักโภชนาการ และรู้จักปรับปรุง เปลี่ยแปลงตัวเอง

     

    43 43

    7. สหกรณ์นักเรียน

    วันที่ 28 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ


    1. ให้ความรู้ความเข้าใจกับนักเรียนเรื่่องสหกรณ์นักเรียน 2.. ฝึกให้นักเรียนมีความรับผิดชอบ
    2. ฝึกให้นักเรียนรู้จักการทำงานที่เป็นระบบ
    3. สหกรณ์นักเรียน รับซื้อผลผลิตต่างๆ ที่มีอยู่ในโรงงเรียน มีจำหน่ายให้กับโครงการอาหารกลางวัน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. โรงเรียนมีสหกรณ์นักเรียนที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการนักเรียนและมีสมาชิก 235 คน
    2. กิจกรรมร้านค้า มีการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นไข่ไก่ ผักต่างๆ จำหน่ายให้กับโครงการอาหารกลางวัน
    3. กิจกรรมออมทรัพยื มีการรับออมทรัพย์จากนักเรียนในโรงเรียน

     

    22 47

    8. การเลี้ยงเป็ดพันธุ์ท้องถิ่นบ้านนา

    วันที่ 10 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ครูผู้ดูแลมอบหมายให้นักเรียนทำหน้าที่
    2. นักเรียน ดูแลเก็บไข่เป็ด ให้อาหาร  ทุกวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นักเรียนมีความรู้เรื่องเป็ดท้องถิ่นพันธุ์บ้านนา
    2. มีไข่เป็ดไว้บริโภคเป็นอาหารกลางวัน

     

    30 25

    9. กิจกรรม รายงานปิดงวดการเงิน ครั้งที่ 1

    วันที่ 12 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เดินทางจาก โรงเรียนบ้านนา จังหวัดระนอง ถึง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี
    2. รายงานเอกสารการเงิน งวดที่ 1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เอกสารการเงินได้รับการตรวจสอบ

     

    2 2

    10. การเลี้ยงปลาดุก

    วันที่ 27 ธันวาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดซื้อพันธุ์ปลาดุกมาเลี้ยงในบ่อซีเมนต์
    2. มอบหมายให้นักเรียนที่รับผิดชอบดูแล
    3. เมื่อปลาดุกโตพอที่จะรับผระทานได้ จะนำส่งสหกรณ์นักเรียน เพื่อส่งต่ออาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการเลี้ยงปลาดุก 2.รู้จักการจัดการวางแผนในการทำงาน 3. มีอาหารกลางวัน จากผลผลิตในโรงเรียนเอง

     

    23 12

    11. การเลี้ยงเห็ดนางฟ้าครั้งที่ 2

    วันที่ 27 มกราคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

      1. ประชุมคณะครูที่ปรึกษา 2.แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ 3.เสนอกรรมการสถานศึกษาเห็นชอบและเสนอแนะ 4.ดำเนินการตามกิจกรรม - สำรวจพื้นที่ - ปรับปรุงโรงเรียน - แบ่งกลุ่มนักเรียนตามกลุ่มสนใจ - ดำเนินการจัดการดูแลและจำหน่ายผลผลิต 5. ประเมินผลเมื่อสิ้นสุดกิจกรรม 6. สรุปวิเคราะห์รายงานผล 7. นำเสนอคณะกรรมการสถานศึกษา คณะครูวิเคราะห์ วิพากย์ให้ข้อเสนอแนะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เพื่อขยายผลโครงการศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสสู่โรงเรียนเครือข่ายจำนวน 4 โรงเรียน 2.เพื่อพัฒนาโรงเรียนตามแนวทางการดำเนินงานของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร เพื่อพัฒนาสุขภาพของนักเรียน ตามโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

     

    58 0

    12. กิจกรรมปลูกพืช ปลูกผัก ครั้งที่ 2

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ครูที่รับผิดชอบให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชผักสวนครัวแก่นักเรียน 2.เตรียมพื้นที่สำหรับปลูก โดยทำเป็นกระบะยาวจากก้อนอิฐ 3.เตรียมดินใส่ปุ๋ย 4.จัดซื้อเมล็ดพันธุ์ผัก พันธุ์พืช การปลูกผักสวนครัว ชนิดต่างๆ เช่น มะเขือเปราะ มะเขือยาว พริก ผักบุ้ง กวางตุ้ง คะน้า ตะไคร้ ผักหวาน ชะอม 5.นักเรียนลงมือปฏิบัติปลูกผัก และบำรุงดูแล 6.เก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดสารพิษ ให้กับสหกรณ์นักเรียน เพื่อนำส่งโครงการอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส (ศรร.) มีวัตถุดิบเพื่อทำอาหารกลางวันจากกิจกรรมทั้งหมดแบบบูรณาการอย่างต่อเนื่อง 2.สามารถสร้างผลผลิตเกษตรด้านพืชและสัตว์ สนับสนุนกิจกรรมโครงการอาหารกลางวัน เพียงพอกับความต้องการกับจำนวนนักเรียน 3.พัฒนาให้ความรู้ครู นักเรียนผู้ปกครองและบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ส่งเสริมสนับสนุนและเห็นความสำคัญด้านอาหารและโภชนาการอย่างยั่งยืน

     

    235 235

    13. กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการเด็กไทยแก้มใส

    วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. การแจ้งในที่ประชุมครูผู้ปกครอง
    2. จัดบอร์ดไวนิล ให้ความรู้ ในโรงอาคาร และห้องศูนย์การเรียนรู้
    3. ครูนำนักเรียนไปศึกษา หาความรู้ ตามจุดต่างๆ ที่เป็นแหล่งเรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียน ครู ชุมชน เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการเด็กไทยแก้มใส

     

    237 238

    14. กิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ครั้งที่ 2

    วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ฝึกการเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ (เลี้ยงไก่ไข่) 2.มีการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ฝึกความรับผิดชอบ และนำผลผลิตขายให้สหกรณ์นักเรียน นำสู่โครงการอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส (ศรร.) มีวัตถุดิบเพื่อทำอาหารกลางวันจากกิจกรรมทั้งหมดแบบบูรณาการอย่างต่อเนื่อง
    2. สามารถสร้างผลผลิตเกษตรด้านพืชและสัตว์ สนับสนุนกิจกรรมโครงการอาหารกลางวัน เพียงพอกับความต้องการกับจำนวนนักเรียน
    3. พัฒนาให้ความรู้ครู นักเรียนผู้ปกครองและบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ส่งเสริมสนับสนุนและเห็นความสำคัญด้านอาหารและโภชนาการอย่างยั่งยืน

     

    22 17

    15. กิจกรรมการอบรมแม่ครัว/แม่ค้า นักเรียนแกนนำ ผู้ปกครอง ThaiSchoolLunch

    วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. แจ้งให้นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ทราบเกี่ยวกับกำหนดวันเวลาในการอบรม
    2. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดรายการอาหารที่เหมาะสม โดยใช้โปรแกรมThai school lunch

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียน ครู ผู้ปกครอง แม่ค้า แม่ครัว มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดรายการอาหารที่เหมาะสมและถูกหลักโภชนาการ

     

    57 55

    16. คืนดอกเบี้ย เพื่อปิดโครงการ

    วันที่ 3 เมษายน 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คืนดอกเบี้ย เพื่อปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คืนดอกเบี้ย เพื่อปิดโครงการ

     

    0 2

    17. กิจกรรมรายงานการเงินปิดงวดโครงการ งวด 2

    วันที่ 3 เมษายน 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการจัดทำรายงานสรุปการเงินปิดโครงการงวดที่ 2 และรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ แบบออนไลน์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดทำรายงานให้เป็นระบบและลงในระบบออนไลน์ให้ถูกต้อง และตรวจเอกสารการเงิน ให้ถูกต้องเรียบร้อย

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อสร้างกระบวนการ ประเมิน ติดตาม เฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน
    ตัวชี้วัด : 1.โรงเรียนนำ Thai School Lunch Program มาวางแผนปรุง ประกอบอาหารกลางวันถูกหลักโภชนาการ สุขาภิบาลและปลอดภัย 2.โรงเรียน ผู้ปกครองและชุมชนเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีด้านอาหารแก่นักเรียนตามหลักโภชนาการอย่างต่อเนื่องทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน 3. โรงเรียนจัดทำโครงการแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนให้เป็นรูปธรรมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง 4. นักเรียนทุกคนต้องมีภาวะผอม อ้วน เตี้ย ของช่วงอายุไม่เกิน ร้อยละ 5 ตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย
    1. โรงเรียนได้จัดอาหารตามโปรแกรม โดยใช้เมนูหมุนเวียน 1 เดือน
    2. โรงเรียนได้ขยายผลให้ผู้ปกครอง แม่ค้า แม่ครัว ในการจัดอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ
    3. โรงเรียนมีการจัดโครงการเต้นแอโรบิค เต้นตารางเก้าช่อง ในช่วงหลังเลิกเรียน พร้อมให้ความรู้เรื่องสุขภาพ แก่นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ
    4. โรงเรียนมีการติดตาม โดยมีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ภาคเรียนละ 2 ครั้ง มีการตรวจสุขภาพเป็นประจำ
    2 เพื่อพัฒนาโรงเรียนตามแนวทางการดำเนินงานของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร เพื่อพัฒนาสุขภาพของนักเรียน ตามโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
    ตัวชี้วัด : 1.โรงเรียนบริหารจัดการอาหาร โภชนาการและสุขภาพนักเรียนอย่างครบวงจร 2.โรงเรียนจัดกิจกรรมแบบบูรณาการครบ 8 องค์ประกอบ โรงเรียนเด็กไทยแก้มใส
    1. การจัดบริการอาหารกลางวัน
    2. การจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการในทุกกลุ่มสาระ
    3 เพื่อขยายผลโครงการศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสสู่โรงเรียนเครือข่ายจำนวน 4 โรงเรียน
    ตัวชี้วัด : 1. โรงเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ภาคีความร่วมมือต่าง ๆ ให้บริการแก่ผู้สนใจในศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส(ศรร.)อย่างมีคุณภาพ 2. ผู้ปกครอง ชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการด้านอาหารและสุขภาพของนักเรียน 3. ผู้ปกครอง ชุมชนมีส่วนในการเสริมสร้างภาวะโภชนาการที่ถูกต้องแก่นักเรียนทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน 4. ผู้ปกครอง ชุมชนให้ความร่วมมือ สนับสนุนการดำเนินงานทุกกิจกรรมจนเกิดความมั่นคงทางอาหารทั้งที่บ้านและโรงเรียน นักเรียนในศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสมีสุขภาวะที่ดี
    1. โรงเรียนมีการเปิดให้ผู้ที่มีความสนใจมาศึกษา เรียนรู้กิจกรรมทุกกิจกรรม
    2. โรงเรียนได้จัดอบรมให้ความรู้ ในการจัดบริการอาหารและสุขภาพให้กับผู้ปกครองและชุมชน
    3. ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการจัดอาหารที่ถูกหลักโภชนาการทั้งที่บ้านและโรงเรียน
    4. ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทุกกิจกรรมของโรงเรียน และร่วมแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพเพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพที่ดี

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างกระบวนการ ประเมิน ติดตาม เฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน (2) เพื่อพัฒนาโรงเรียนตามแนวทางการดำเนินงานของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร เพื่อพัฒนาสุขภาพของนักเรียน ตามโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง (3) เพื่อขยายผลโครงการศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสสู่โรงเรียนเครือข่ายจำนวน 4 โรงเรียน

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

    ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนบ้านนา

    รหัสโครงการ ศรร.1412-100 รหัสสัญญา 58-00-2265-ต.7 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

    วันที่เริ่มประเมิน

    1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    (ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    1. การเกษตรในโรงเรียน

    การทำเกษตรผสมผสาน

    1. มีการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และทำการประมง 2.กลุ่มยุวเกษตร จะเป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำแก่น้องๆที่รับผิดชอบแต่ละกิจกรรม

    การเลือกพืชที่เหมาะสม กับสภาพอากาศเพื่อให้เกิดผลผลิตที่มีคุณภาพ

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    2. สหกรณ์นักเรียน

     

    1. คณะกรรมการและสมาชิกสหกรณ์ประชุมวิเคราะห์รายรับรายจ่ายของสหกรณ์วิเคราะห์สินค้าที่นำเข้าขายในสหกรณ์โดยคำนึงถึงประโยชน์ของนักเรียนเป็นสำคัญ
    2. เมื่อสิ้นปีการศึกษา จะมีการปันผลกำไร ให้กับนักเรียน

    โรงเรียนจะตั้งภาคีเครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชน ให้นำผลผลิตที่เกิดจากชุมชนอย่างที่ปลอดสารพิษมาจำหน่ายให้แก่สหกรณ์นักเรียนเพื่อส่งต่อให้โครงการอาหารกลางวันมาซื้อไปจัดบริการอาหารกลางวันแก่นักเรียนที่มีคุณภาพ

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

    การใช้โปรแกรม thai school lunch ในการจัดรายการอาหารกลางวันแบบหมุนเวียน อย่างมีคุณภาพ

    โรงเรียนมีการจัดบริการอาหารกลางวันให้กับนักเรียน โดยใช้ โปรแกรม Thai School lunch ซึ่งเมนูอาหารมีการหมุนเวียนกันและทางโรงเรียนได้นำผลผลิตที่ทางโรงเรียนปลูกนำมาใ้ช้ประกอบอาหาร

    โรงเรียนจะพัฒนารูปแบบการจัดบริการอาหารกลางวันที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านโภชนาการ สุขาภิบาลอาหารและสุขภาพอนามัยนักเรียน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน
    1. โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
    2. กิจกรรมบริการสุขภาพอนามัยโรงเรียน
    1. การชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง ภาคเรียนละ 2 ครั้ง 2.การพัฒนานักเรียนที่มีปัญหาทุพภาวะโภชนาการของนักเรียน การออกกำลังกาย เต้นตารางเก้าช่องในทุกเย็น หลังเลิกเรียน
    1. จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ พัฒนาเครื่องมือในการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงให้ทันสมัย เพื่อความแม่นยำในการแปลผล
    2. ร่วมกันคิดกิจกรรมใหม่ๆ ที่สามารถแก้ปัญหานักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ
    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

    สุขภาพดี ชีวีมีสุข

    1. การให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพอนามัย
    2. การตรวจสุขภาพ ฟัน เล็บ เสื้อผ้า ทุกวัน
    3. การแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน
    4. การตรวจสุขภาพฟัน ตรวจสายตา โดย รพ.สต.

    การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพให้มากขึ้น

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

    กิจกรรมประกวดห้องเรียนสะอาด บริเวณสะอาด

    1. การแบ่งเขตบริเวณทำความสะอาดของแต่ละชั้น
    2. มีการตรวจสอบความเรียบร้อยโดยเจ้าหน้าที่สภานักเรียน
    3. ปลายภาคเรียนจะมีการมอบรางวัลให้กับห้องเรียนที่สะอาด และบริเวณต่างๆที่นักเรียนดูแลให้สะอาดอยู่ตลอดเวลา

    การปลูกฝังให้ทุกคนช่วยกันดูแลรักษาความสะอาด ไม่ใช่ให้เป็นหน้าที่ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

    พี่ดูแลน้องให้ความรู้ด้านสุขภาพให้กับนักเรียน ให้เรื่องของการตรวจฟัน

    จัดให้มีชมรมอ.ย. น้อยให้ความรู้ด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานที่นักเรียนต้องรู้และสามารถนำไปถ่ายทอดได้ปฏิบัติได้

    พัฒนาชมรมให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้นและสร้างขวัญกำลังใจให้การสนับสนุนอย่างใกล้ชิด

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

    การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง

    การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ งานเกษตร สหกรณื อาหารและโภชนาการและสุขภาพอนามัย ให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มสาระ

    มีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่เหมาะสมกับแต่ละระดับชั้น

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    9. อื่น ๆ

     

     

     

    2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

    1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

    1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาเข้ามาส่งเสริมให้ความรู้เรื่องสุขภาพอนามัย
    2. สำนักงานเกษตรอำเภอกะเปอร์ เข้ามาให้คำแนะนำในการปลูก การเลี้ยงสัตว์
    3. สำนักงานที่ดินจังหวัดระนอง เข้ามาแนะนำในการปรับปรุงดิน
    4. สำนักงานทรัพยากรสิ่งแวดล้อมจังหวัดระนอง เข้ามาให้ความรู้เรื่อง การคัดแยกขยะ และให้ไส้เดือนนำมาเพาะเลี้ยงเพื่อนำมูลไส้เดือนมาปรับปรุงคุณภาพของดิน

    2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

    โรงเรียนมีพื้นที่ว่างเปล่า่บริเวณรอบๆแต่มีปัญหาของดินที่ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูกเนื่องจากเป็นดินลูกรังแต่เนื่องจากโรงเรียนอยู่ในพื้นที่ชุมชนที่มีการทำเกษตรกรรม มีปราชญ์ชาวบ้าน หรือหมอดิน ที่มีความรู้ในการทำเกษตรผสมผสานสามารถถ่ายทอดความรู้ และการปฎิบัติร่วมกันกับโรงเรียนเพื่อนำไปสูการแก้ไขปัญหาดินเสื่อมเพื่อในอนาคตเนื้อที่ดังกล่าวสามารถนำมาปลูกผัก ผลไม้ เพื่อป้อนเข้าสู่โครงการอาหารกลางในโรงเรียยน

    3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

    1. กลุ่มยุวเกษตร
    2. เครือข่ายผู้ปกครอง
    3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความสำคัญในการพัฒนาโรงเรียน
    4. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เข้ามาให้ความรู้เรื่องสุขภาพ

    4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

    1. ครูผู้รับผิดชอบมารับความรู้จากการอบรมในโครงการ แล้วนำไปขยายผลให้ครู นักเรียน และแม่ครัว
    2. ศึกษาจากเอกสารและคู่มือด้วยตนเอง
    3. ฝึกปฏิบัติจริง

    5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

    1. ประชุมผู้ปกครอง ชี้แจงโครงการให้ทุกฝ่ายทราบ
    2. ผู้ปกครอง เข้ามาช่วยเหลือในการทำกิจกรรม เช่น การสร้างแปลงปลูกผัก
    3. ผู้ปกครอง เข้ามาส่วนร่วมในการอบรมการเพาะเห็ดนางฟ้า
    4. ผู้ปกครองเข้ามาช่วยทำตารางเก้าช่องไว้สำหรับให้นักเรียนเต้นออกกำลังกาย
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

    จัดซื้อวัตถุดิบจากชุมชนและตลาด เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน

    1. ใบจัดซื้อโครงการอาหารกลางวัน
    2. ชุมชนบ้านนา
    3. ตลาดเทศบาลอำเภอกะเปอร์

    1.การสร้างแปลงปลูกผักเพิ่มเติม 2. การปลูกผักหมุนเวียนที่หลากหลายตามฤดูกาล

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)
    1. มีการจัดการเลี้ยง ไก่ไข่ ประมาณ 100 ตัว ทำให้ได้ผลผลิตต่อสัปดาห์ 500 ฟองต่อสัปดาห์
    2. การเลี้ยงเป็ดบ้านนา มีการเลี้ยงทั้งหมด 40 ตัว เพื่อเก็บไข่เป็ด ได้ประมาณวันละ 20 ฟอง นำไปทำเป็นไข่เค็ม
    1. บัญชีการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรของสหกรณ์
    2. ใบจัดซื้อโครงการอาหารกลางวัน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

    มีการเลี้ยงปลาดุก ครั้งละ 1,500 ตัว ระยะเวลา 3 เดือน ก็สามารถส่งเข้าโครงการอาหารกลางวันได้ และให้ผลผลิต ประมาณ 300 กิโลกรัม จากนั้นก็จะมีการเลี้ยงหมุนเวียน

    1. บัญชีการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรของสหกรณ์
    2. ใบจัดซื้อโครงการอาหารกลางวัน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

     

     

     

    5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

    1.โรงเรียนมีการจัดบริการผักสุกทุกวัน พร้อมมีคุณครูคอยกำกับดูแลในระหว่างการรับประทานอาหาร 2. โรงเรียนมีการจัดบริการ ผลไม้ 2 วัน ในหนึ่งสัปดาห์

    ใบจัดซื้อโครงการอาหารกลางวัน

    โรงเรียนมีการปลูกกล้วย สับปะรด เพื่อให้นักเรียนสามารถรับประทานได้ทุกวัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    1.โรงเรียนมีการจัดบริการผักสุกทุกวัน พร้อมมีคุณครูคอยกำกับดูแลในระหว่างการรับประทานอาหาร 2. โรงเรียนมีการจัดบริการ ผลไม้ 2 วัน ในหนึ่งสัปดาห์

    ใบจัดซื้อโครงการอาหารกลางวัน

    โรงเรียนมีการปลูกกล้วย สับปะรด เพื่อให้นักเรียนสามารถรับประทานได้ทุกวัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    1.โรงเรียนมีการจัดบริการผักสุกทุกวัน พร้อมมีคุณครูคอยกำกับดูแลในระหว่างการรับประทานอาหาร 2. โรงเรียนมีการจัดบริการ ผลไม้ 2 วัน ในหนึ่งสัปดาห์

    ใบจัดซื้อโครงการอาหารกลางวัน

    โรงเรียนมีการปลูกกล้วย สับปะรด เพื่อให้นักเรียนสามารถรับประทานได้ทุกวัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน
    1. ชุมชนมีการปลูก ผักเหลียง ผักหวาน ซึ่งทางโรงเรียนมีการจัดซื้อ เพื่อนำมาประกอบอาหารกลางวัน

    ใบจัดซื้อโครงการอาหารกลางวัน

    การรวมกลุ่มของเครือข่ายผู้ปกครองเพื่อปลูกผลผลิตที่ปลอดสารพิษของส่งในกับโรงเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

    มีการใช้โปรแกรม Thai school lunch แบบหมุนเวียนรายเดือน

    ใบจัดซื้อรายการอาหารกลางวัน

    แม่ครัวต้องมีความชำนาญในการใช้โปรแกรม Thai school lunch

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่
    1. มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ภาคเรียนละ 2 ครั้ง
    2. มีการอบรมนักเรียนที่มีภาวะ อ้วน ผอม
    3. มีการออกกำลังกาย เต้นแอโรบิค เต้นตารางเก้าช่อง ทุกเย็น หลังเลิกเรียน

    สมุดบันทึกการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง

    1. การให้ผู้ปกครองเข้ามาร่วมแก้ไข
    2. ให้ความรู้กับผู้ปกครองเพื่อให้ตระหนักถึงปัญหาและหาแนวทางแก้ไขร่วมกับโรงเรียน
    3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

    สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

    ภาวะ2558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/22560 1/12560 1/22560 2/12560 2/22561 1/12561 1/22561 2/12561 2/22562 1/12562 1/22562 2/12563 1/12563 1/2
    เตี้ย 7.30 7.30% 7.59 7.59% 7.34 7.34% 6.88 6.88% 3.69 3.69% 4.37 4.37% 5.75 5.75% 6.33 6.33% 5.07 5.07% 9.05 9.05% 8.85 8.85% 7.41 7.41% 4.28 4.28% 4.74 4.74% 5.18 5.18% 5.18 5.18% 4.95 4.95% 4.41 4.41%
    เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 7.30 7.30% 15.18 15.18% 13.30 13.30% 11.93 11.93% 7.37 7.37% 12.66 12.66% 15.93 15.93% 18.55 18.55% 17.05 17.05% 19.10 19.10% 20.31 20.31% 15.34 15.34% 11.23 11.23% 13.74 13.74% 14.51 14.51% 12.44 12.44% 11.39 11.39% 10.29 10.29%
    ผอม 6.87 6.87% 8.04 8.04% 6.88 6.88% 5.91 5.91% 2.78 2.78% 4.37 4.37% 4.44 4.44% 4.55 4.55% 4.63 4.63% 5.53 5.53% 2.60 2.60% 2.12 2.12% 4.81 4.81% 3.85 3.85% 2.08 2.08% 3.13 3.13% 4.46 4.46% 2.96 2.96%
    ผอม+ค่อนข้างผอม 6.87 6.87% 18.30 18.30% 13.30 13.30% 11.82 11.82% 9.72 9.72% 15.72 15.72% 12.00 12.00% 11.36 11.36% 11.11 11.11% 12.06 12.06% 9.38 9.38% 8.99 8.99% 10.70 10.70% 9.13 9.13% 10.42 10.42% 8.33 8.33% 9.41 9.41% 8.87 8.87%
    อ้วน 5.15 5.15% 2.68 2.68% 2.29 2.29% 2.27 2.27% 1.39 1.39% 3.93 3.93% 4.00 4.00% 4.55 4.55% 2.78 2.78% 4.02 4.02% 6.25 6.25% 6.88 6.88% 5.35 5.35% 3.85 3.85% 3.13 3.13% 2.60 2.60% 6.44 6.44% 5.42 5.42%
    เริ่มอ้วน+อ้วน 5.58% 5.58% 6.70% 6.70% 5.50% 5.50% 5.45% 5.45% 4.63% 4.63% 9.61% 9.61% 9.33% 9.33% 10.91% 10.91% 10.19% 10.19% 12.56% 12.56% 13.02% 13.02% 13.23% 13.23% 11.23% 11.23% 10.58% 10.58% 9.90% 9.90% 9.90% 9.90% 14.85% 14.85% 14.29% 14.29%
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง
    1. การติดตามแก้ปัญหาและให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง
    2. การออกกำลังกาย เต้นแอโรบิค
    3. การควบคุมปริมาณอาหารให้เหมาะสมในแต่ละมือ
    1. แบบบันทึกการชั่งน้ำหนัก
    2. ทะเบียนนักเรียนอ้วน

    การติดตามอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ต้องดูแล ช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องมีกิจกรรมที่ต้องดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง
    1. การติดตามแก้ปัญหาและให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง
    2. การกินอาหารให้เหมาะสม
    3. การรับประทานอาหารเสริม เช่นนม และไข่ไก่
    1. แบบบันทึกการชั่งน้ำหนัก
    2. ทะเบียนนักเรียนผอม

    การติดตามอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ต้องดูแล ช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องมีกิจกรรมที่ต้องดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง
    1. การติดตามแก้ปัญหาและให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง
    2. การออกกำลังกาย เต้นแอโรบิค
    3. การควบคุมปริมาณอาหารให้เหมาะสมในแต่ละมือ
    4. การให้อาหารเสริม (นม)
    1. แบบบันทึกการชั่งน้ำหนัก
    2. ทะเบียนนักเรียนเตี้ย

    ต้องดูแล ช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องมีกิจกรรมที่ต้องดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

    มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง สำหรับนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ในทุกๆ เดือน เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลง

    1. ทะเบียน นักเรียนที่มีภาวะ อ้วน ผอม เตี้ย

    การแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับภาวะทุพโภชนาการ ของนักเรียนแต่ละกลุ่ม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

    เชฺิญผู้ปกครองนักเรียน เข้ามารับฟังและหาแนวทางแก้ไขสำหรับนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ

    การอบรมผู้ปกครองนักเรียนนักเรียนที่มีภาวะอ้วน ผอมและ เตี้ย

    1. สร้างความตระหนักให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจถึงผลเสียของภาวะทุพโภชนาการ
    2. โรงเรียนมีการติดตามทั้งที่บ้านและโรงเรียน
    3. กระตุ้นให้เห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหา
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

    1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาเข้ามาส่งเสริมให้ความรู้เรื่องสุขภาพอนามัย
    2. สำนักงานเกษตรอำเภอกะเปอร์ เข้ามาให้คำแนะนำในการปลูก การเลี้ยงสัตว์
    3. สำนักงานที่ดินจังหวัดระนอง เข้ามาแนะนำในการปรับปรุงดิน
    4. สำนักงานทรัพยากรสิ่งแวดล้อมจังหวัดระนอง เข้ามาให้ความรู้เรื่อง การคัดแยกขยะ และให้ไส้เดือนนำมาเพาะเลี้ยงเพื่อนำมูลไส้เดือนมาปรับปรุงคุณภาพของดิน

    หมายเหตุ *

    • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    โรงเรียนบ้านนา จังหวัด ระนอง

    รหัสโครงการ ศรร.1412-100

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสุภาวดี นาควิเชียร )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด