ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านทุ่งรักชัยพัฒน์
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 100,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางแสงเดือน วรรณรัตน์
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นางสาวพัชรพร อ่อนจิตต์
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นางเยาวลักษณ์ เพ็ญศิริ
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นายวีศักดิ์ชัย ภูพูล
ที่ปรึกษาโครงการ 1 สพป.พังงา
ที่ปรึกษาโครงการ 2 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพังงา
ที่ปรึกษาโครงการ 3 สสจ.พังงา
ผู้ประสานงานภาค นางสาววิลาวัณย์ สวัสดีนฤนาท
หลักการและเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณะสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา พลศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ

สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น

จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนบ้านทุ่งรักชัยพัฒน์ จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมรากุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

กรอบแนวคิด

จากปัญหาภาวะโภชนาการทั้งขาดและเกินของนักเรียน จึงได้ จัดทำโครงการเด็กไทยแก้มใสในโรงเรียนขึ้น
เพื่อลดปัญหาโภชนาการและสุขภาพของนักเรียน มีความรู้ และแนวทางในการจัดการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่องยังยืน โดย พัฒนาเป็นโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใสสู่ศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส (รุ่นที่ 1 พ.ศ. 2558-2559) โรงเรียนใช้หลักการ 4 ประการ คือ 1. เด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง 2. สถานศึกษาเป็นฐานของการพัฒนา 3. การมีส่วนร่วมของชุมชน และ 4. ความร่วมมือของหน่วยงานในการถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี ให้กับครูและชุมชน เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีลักษณะอันพึงประสงค์ของโครงการ โดยโรงเรียนจัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้ 9 ฐานกิจกรรม โดยสหกรณ์เป็นฐานในการดำเนินกิจกรรมทั้ง 9 ฐาน เพื่อบูรณาการใน 8 องค์ประกอบ องค์ประกอบที่ 1.เกษตรในโรงเรียน โรงเรียนได้จัดกิจกรรมฐานเห็ดน่ารู้ ฐานเลี้ยงปลาดุก ฐานไก่ไข่ ฐานผักปลอดสารพิษ ฐานพืชสวนผสมผสาน ฐานพืชสมุนไพร องค์ประกอบที่ 2.สหกรณ์นักเรียน ประกอบด้วย การส่งเสริมการผลิตนักเรียนทุกคนได้เรียนรู้และเข้าใจถึงกระบวนการผลิตของแต่ละฐานการเรียนรู้ จากการที่นักเรียนได้เรียนฐานการเรียนรู้แต่ละฐานแล้วก็จะได้ผลผลิตออกมาตลอดปีการศึกษา ผลผลิตดังกล่าวทางโรงเรียนจะนำผลผลิตผ่านระบบสหกรณ์สู่โครงการอาหารกลางวัน และเมื่อผลผลิตมีมากพอเราก็จะประชาสัมพันธ์ขายสู่ชุมชนใกล้เคียงโดยผ่านระบบสหกรณ์นักเรียนและบางฐานการเรียนรู้เราก็ได้แปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เช่น ฐานปลาดุกแปรรูปเป็นปลาดุกตากแห้ง ฐานสมุนไพรแปรรูปเป็นน้ำยาล้างจาน และน้ำยาล้างห้องน้ำ เน้นการมีส่วนร่วม สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการผลิตเพราะเราหมุนเรียนเรียนฐานการเรียนรู้ครบทั้ง 9 ฐานการเรียนรู้และชุมชนก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตด้วยคือในวันสำคัญต่างๆผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนใกล้เคียงได้เข้ามาช่วยเหลือทางโรงเรียนเรา เช่น การยกแปลงผัก การสร้างคอกไก่ การตัดหญ้าบริเวณแปลงผักเป็นต้น เพราะทางโรงเรียนของเราไม่มีนักการภารโรง ทางชุมชนก็เข้ามามีส่วนร่วมกับทางโรงเรียนตลอด กิจกรรมร้านค้า กิจกรรมร้านค้าเมื่อนักเรียนได้ผลิตผลต่างๆ จากทั้ง 9 ฐาน ทุกๆฐานก็จะส่งต่อมายังกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้าเพื่อส่งเข้าโครงการอาหารกลางวันให้โรงอาหารได้ทำอาหารให้นักเรียนรับประทานและถ้าผลผลิตของเรามีมากพอเราก็จะส่งขายให้กับชุมชนบริเวณใกล้เคียง

การปฏิบัติงานในร้านสหกรณ์นักเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสหกรณ์โดยการปฏิบัติจริง นอกจากจะเป็นการฝึกทักษะการเรียนรู้ระบบสหกรณ์แล้ว ยังส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอีกทางหนึ่งด้วยเพื่อให้ผู้เรียนได้มีความรับผิดชอบ มีนิสัยไม่ฟุ่มเฟือยรู้จักการประหยัดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการปฏิบัติงานในร้านสหกรณ์นักเรียนได้มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในแต่ละวันเพื่อฝึกนิสัย ความรับผิดชอบ ความเสียสละ และการพัฒนาตนเองให้กับนักเรียน การบูรณาการกิจกรรมร้านค้าสู่การเรียนรู้โรงเรียนบ้านทุ่งรักชัยพัฒน์ ได้มีการบูรณาการหลักสูตรการเรียนรู้เรื่องการสหกรณ์ไว้กับทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เช่น วิชาภาษาไทยนักเรียนได้เรียนรู้ในเรื่องของการบันทึกรายงานการประชุม วิชาคณิตศาสตร์ นักเรียนได้เรียนรู้ในเรื่องของการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย วิชาสังคมนักเรียนได้เรียนรู้ในหน่วยของเรื่องสหกรณ์ วิชาภาษาอังกฤษนักเรียนได้เรียนรู้ในส่วนของคำศัพท์ชื่อสินค้าที่จัดจำหน่ายในร้านค้า โดยมีการประเมินความรู้ความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้นักเรียนได้จัดทำใบงานในเรื่องที่นักเรียนได้เรียนรู้และทำความเข้าใจ โรงเรียน ได้ร่วมกับสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพังงาจัดทำตารางการสอนเรื่องการสหกรณ์โดยให้เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพังงาได้เข้ามาให้ความรู้แก่นักเรียนอย่างต่อเนื่องและมีการทดสอบและประเมินผลก่อนเรียนและหลังเรียนเพื่อทดสอบความเข้าใจของนักเรียน และกิจกรรมออมทรัพย์ กิจกรรมการออมเป็นอีกหนึ่งในกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ซึ่งการปลูกฝังการออมให้กับนักเรียนเป็นสิ่งที่ดี เพราะเราจะได้มีเงินเก็บและมีเงินใช้จ่ายในยามจำเป็นเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระผู้ปกครองอีกทางหนึ่ง โรงเรียนบ้านทุ่งรักชัยพัฒน์ จึงเข้าร่วมโครงการออมทรัพย์ออมความดีเฉลิมพระเกียรติกับสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพังงาเพื่อเป็นการเพาะปลูกต้นกล้าการออมตั้งแต่ยังวัยเยาว์ ซึ่งนักเรียนเป็นสมาชิกสหกรณ์ 100% และสมาชิกทุกคนได้เข้าร่วมกิจกรรมออมทรัพย์ทุกคน องค์ประกอบที่ 3 การจัดบริการอาหารกลางวัน โดยนักเรียนได้รับประทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ซึ่งเป็นอาหารปลอดภัย ใช้เครื่องปรุงที่ผสมไอโอดีน องค์ประกอบที่ 4 การติดตามภาวะโภชนาการ สมรรถภาพทางกาย โดยครูและนักเรียนแกนนำ ชั่งน้ำหนักและส่วนสูงของนักเรียนเดือนละครั้ง เพื่อช่วยเหลือนักเรียนให้มีภาวะโภชนาการสมวัย และมีการวัดสมรรถภาพทางกายของนักเรียน ภาคเรียนละหนึ่งครั้ง องค์ประกอบที่ 5 การพัฒนาสุขนิสัย และการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน โดยโรงเรียนจัดกิจกรรมชุมนุม อย.น้อย ชุมนุมเหา ชุมนุมเด็กไทยฟันดี และส่งเสริมการออกกำลังกายก่อนกลับบ้าน องค์ประกอบที่ 6 การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน โรงเรียนจัดให้มีชุมนุมสุขาน่าใช้ มีการแบ่งความรับผิดชอบในการทำความสะอาดอาคารเรียนและบริเวณโรงเรียน โรงอาหาร และมีกิจกรรมฐานธนาคารขยะ ซึ่งมีการคัดแยกขยะ ขยะสด ทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ ส่วนขยะแห้ง ทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ ในฐานปุ๋ยชีวภาพ องค์ประกอบที่ 7 จัดบริการสุขภาพนักเรียน โดยเบื้องต้นโรงเรียนจะตรวจความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้า มีการจัดห้องพยาบาลไว้เพื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้น มีการจัดทำโครงการตรวจหนอนพยาธิ และมีการรณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก โดยร่วมกับ รพ.สต.บ้านทุ่งรักชัยพัฒน์ การตรวจฟันของนักเรียน ภาคเรียนละ 1 ครั้ง และองค์ประกอบที่ 8 การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เกษตร โภชนาการ และสุขภาพ โรงเรียนได้จัดกิจรรมบูรณาการใน 8 กลุ่มสาระ

ดังนั้นโรงเรียนบ้านทุ่งรักชัยพัฒน์จึงได้เสนอแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสจากปีที่ 1 โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องอย่างยั่งยืน ตามผลที่คาดหวังของโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 151
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 18
ผู้ปกครอง 120
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 289289
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 7
อสม. 9
ชุมชน 50
ผู้นำศาสนา 35
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 20
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 30
อื่น ๆ 4
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 155
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กนักเรียนมีสุขภาพดี เติบโตสมวัย มีอารมณ์สติปัญญาที่ดีขึ้น มีทักษะชีวิตสามารถนำไปใช้ได้จริง
  2. โรงเรียนมีรูปแบบลดปัญหาทุพโภชนาการของนักเรียน
  3. พ่อแม่/ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดูแลภาวะสุขภาพของนักเรียน จัดสิ่งแวดล้อมอาหาร
  4. เกิดกระแสตื่นตัวในชุมชน / สังคม ให้ความสำคัญกับอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของเด็กวัยเรียน
เป้าหมายภาวะโภชนาการ
  1. นักเรียนเจริญเติบโตสมวัย โดยมี
    • ภาวะเริ่มอ้วน และอ้วนไม่เกิน 5 %
    • ภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกิน 5 %
    • ภาวะค่อนข้างเตี้ย และเตี้ย ไม่เกิน 5 %ดูส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ (กรณีที่ภาวะโภชนาการไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กาหนดให้ลดลงจากเดิมไม่น้อยกว่า 0.5 ต่อปี)
  2. นักเรียนได้กินผัก-ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้น ในมื้อกลางวัน เฉลี่ย
    • ผักวันละ ประมาณ40-100กรัม(อนุบาล 3 ช้อน (50กรัม) ประถม 4 ช้อน (70 กรัม) และมัธยม 5 ช้อน (90 กรัม))
    • ผลไม้ (อนุบาล ½ ส่วน ประถม 1 ส่วน)ต่อมื้อต่อคน
  3. ระดับความสาเร็จของ โรงเรียน ชุมชน ในการพัฒนาด้านการจัดการอาหาร โภชนาการ สุขภาพดูน้าหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง
ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล
  1. พัฒนากิจกรรมฐานการเรียนรู้เพื่อความยั่งยืนโดยจัดในกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
  2. พัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้เกิดพฤติกรรมที่ถาวรด้าน อาหาร โภชนาการ สุขภาพ สุขาภิบาลและสุขอนามัย
  3. พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
พื้นที่ตั้งโรงเรียน 30 หมู่ที่ 6 ตำบลแม่นางขาว อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
ละติจูด-ลองจิจูด 9.2129985634071,98.370130955925place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 40,000.00
2 1 ต.ค. 2559 6 เม.ย. 2560 1 ต.ค. 2559 30 เม.ย. 2560 55,000.00
3 7 เม.ย. 2560 30 เม.ย. 2560 5,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีความรู้และทักษะด้านการเกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการ และสุขภาพ

นักเรียนมีความรู้และทักษะด้านการเกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการ และสุขภาพ ร้อยละ80

2 เพื่อพัฒนาให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการสมวัย สุขภาพดี แข็งแรง
  1. นักเรียนเจริญเติบโตสมวัย โดยมี • ภาวะเริ่มอ้วน และอ้วนไม่เกิน ร้อยละ 5 • ภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกิน ร้อยละ 5 • ภาวะค่อนข้างเตี้ย และเตี้ย ไม่เกิน ร้อยละ 5 ดูส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ
  2. มีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์ร้อยละ 100 ของนักเรียนปกติ
3 เพื่อพัฒนานักเรียน บุคลากร ผู้ปกครองในโรงเรียน และโรงเรียนเครือข่ายในด้านอาหารโภชนาการ สุขาภิบาลอาหารและสุขอนามัย

นักเรียน บุคลากร และผู้ปกครองในโรงเรียน และโรงเรียนเครือข่าย มีการพัฒนาในด้านอาหารโภชนาการ สุขาภิบาลอาหารและสุขอนามัย ร้อยละ 80 ของเป้าหมายการพัฒนา

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมหลัก

ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 59มิ.ย. 59ก.ค. 59ส.ค. 59ก.ย. 59ต.ค. 59พ.ย. 59ธ.ค. 59ม.ค. 60ก.พ. 60มี.ค. 60เม.ย. 60
1 การเกษตรในโรงเรียน 42,300.00                         more_vert
2 สหกรณ์ในโรงเรียน 13,800.00                         more_vert
3 การจัดบริการอาหารกลางวัน ตามมาตรฐานโภชนาการ 10,000.00                         more_vert
4 การพัฒนาสุขนิสัยและส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน 27,900.00                         more_vert
5 ประชุมสัญจร 6,000.00                         more_vert
รวม 100,000.00

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
2-5 พ.ค. 59 ขุมพอเพียงเลี้ยงชีพได้ 330 0.00 0.00 more_vert
6 พ.ค. 59 ประชุมชี้แจงโครงการครั้งที่ 1 263 0.00 0.00 more_vert
10-12 พ.ค. 59 การพัฒนาศักยภาพบุคลากร โปรแกรม Thai School Lunch 2 0.00 0.00 more_vert
10-11 มิ.ย. 59 พัฒนาบุคลากรการเขียนแผนบูรณาการ 30 8,800.00 8,800.00 more_vert
11 ส.ค. 59 พ่อแม่ปลูกลูกรักษา 330 20,000.00 20,000.00 more_vert
18 ส.ค. 59 การเรียนรู้ฐานเห็ดน่ารู้ 100 13,500.00 13,500.00 more_vert
13 ต.ค. 59 ประชุมสัญจร ครั้งที่1 4 6,000.00 3,000.00 more_vert
13 ต.ค. 59 กิจกรรมเรียนรู้สหกรณ์ 324 0.00 0.00 more_vert
11 ม.ค. 60 โภชนาการสมวัย 129 6,950.00 6,950.00 more_vert
6 มี.ค. 60 ธนาคารขยะ 157 6,700.00 6,700.00 more_vert
10 มี.ค. 60-2 ธ.ค. 43 ปรับปรุงแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ 308 3,350.00 3,350.00 more_vert
10 มี.ค. 60 กิจกรรมการบริโภคอย่างชาญฉลาด 124 7,200.00 7,200.00 more_vert
13 มี.ค. 60 สหกรณ์น่ารู้ 144 6,350.00 6,350.00 more_vert
14 มี.ค. 60 ค่ายสหกรณ์ 158 7,450.00 7,450.00 more_vert
15 มี.ค. 60 ปุ๋ยชีวภาพ 162 13,700.00 13,700.00 more_vert
4 เม.ย. 60 คืนดอกเบี้ยธนาคาร 2 0.00 38.73 more_vert
4 เม.ย. 60 ถอนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร 2 0.00 500.00 more_vert
4 เม.ย. 60 ประชุมสัญจร ครั้งที่2 0 0.00 3,000.00 more_vert
รวม 1,390 100,000.00 18 100,538.73

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2559 16:55 น.