ชื่อโรงเรียน | โรงเรียนบ้านข่อย | ||||||||||||||||||||||||||||||
สังกัด | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 | ||||||||||||||||||||||||||||||
โรงเรียนเครือข่าย | view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย | ||||||||||||||||||||||||||||||
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) | 80,000.00 บาท | ||||||||||||||||||||||||||||||
งบประมาณสมทบจากราชการ | 0.00 บาท | ||||||||||||||||||||||||||||||
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น | 0.00 บาท | ||||||||||||||||||||||||||||||
งบประมาณสมทบจากเอกชน | 0.00 บาท | ||||||||||||||||||||||||||||||
งบประมาณสมทบจากชุมชน | 0.00 บาท | ||||||||||||||||||||||||||||||
รวมงบประมาณทั้งหมด | 80,000.00 บาท | ||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายปัญญาวีเวหา | ||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 | นายสิทธิชัยชุบไธสง | ||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 | นางดวงจันทร์กัณหา | ||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 | นายปฐมพงษ์ อรุณโรจน์ | ||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ปรึกษาโครงการ 1 | นางสาวนิศานาถ จ่าไธสง | ||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ปรึกษาโครงการ 2 | นางสาวนิศานาถ จ่าไธสง | ||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ปรึกษาโครงการ 3 | นายพีระพรรณ์ ฉาบไธสง | ||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ประสานงานภาค | นายธนา เวชากุล,นายสุชิน คเณสุข | ||||||||||||||||||||||||||||||
หลักการและเหตุผล | สรุปผลดำเนินงาน ก่อนเข้าร่วมโครงการนักเรียนได้รับนำอาหารมารับประทานที่โรงเรียน ผลขอภาวะโภชนาการของนักเรียนสรุปว่านักเรียนมีภาวะอ้วน 13 คน เนื่องจากไม่มีโครงการอาหารกลางวันเนื่องจากขาดแคลนงบประมาณสนับสนุน นักเรียนมีภาวะฟันพุจากการรับประทานอาหาร ภาวะโภชนาการไม่ดีเท่าที่ควร และนักเรียนบางคนมีเหาจึงต้องได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วน จากการเข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสปีที่ 1 โรงเรียนบ้านข่อยได้น้อมนำแนวทางการดำเนินงานด้านบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียน โดยมีกิจกรรมเกษตรในโรงเรียน ร้อยละ 90 ได้มีส่วนร่วมจัดทำการเกษตรปลอดสารพิษ ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และการประมงนำผลผลิตที่ได้เข้าสู้โครงการเพื่อจัดทำอาหารกลางวันนักเรียนได้รับอาหารที่มีคุณค่าและปลอดภัยจากสารพิษเป็นการฝึกอาชีพให้กับนักเรียนเพื่อไปใช้ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากโรงเรียนมีที่สาธารณะประโยชน์ที่ใช้ในการทำนาปลูกข้าว มีพื้นที่จำนวน 6 ไร่ ซึ่งได้ผลผลิต ประมาณ 4-5 ตัน/ปี และโรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากการบริจาคข้าวเปลือกของผู้ปกครองนักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่บริการ อีกทั้งยังได้มาจากผู้ปกครองที่ขอใช้บริเวณโรงเรียนเป็นที่ตากข้าว ทำให้โรงเรียนมีข้าวเปลือกรวมแล้วประมาณ 150-160 กระสอบ หรือประมาณ8 ตัน/ปีโรงเรียนได้จัดสรรข้าวเปลือกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งนำเข้าโครงการอาหารกลางวันเด็กนักเรียน อีกส่วนนำไปจำหน่ายเพื่อนำทุนมาใช้ในการจัดซื้อวัตถุดิบเครื่องปรุงในการประกอบอาหาร “นวัตกรรมที่ใช้ร้อยละ 100 คือการปลูกพืชโดยใช้สารชีวภาพ มีการผลิตปุ๋ยชีวภาพ ทำน้ำหมักชีวภาพ เพื่อลดสารเคมีและลดต้นทุนการผลิต” สหกรณ์นักเรียนรับผลผลิตจากภาคการเกษตรมาจัดจำหน่ายให้กับโรงอาหารเพื่อเป็นการปันผลคืนกำไรให้กับกลุ่มการเกษตรในรูปสมาชิกสหกรณ์ ร้อยละ 90 เป็นสมาชิกสหกรณ์ และร้อยละ 100 ไม่จัดจำหน่ายอาหารสินค้า หวาน มัน เค็ม และน้ำอัดลมเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียนและ ป้องกันโรคต่างที่มาจากการกิน เช่น โรคอ้วน โรคขาดสารอาหาร ฝึกให้เด็กมีระเบียบวินัยในการกินรู้ประโยชน์รู้โทษของการกิน ส่งเสริมการออมทรัพย์ของเด็ก ส่งเสริมความรู้ทางด้านประกอบอาชีพให้เด็กรู้จักทำบัญชีรายรับจ่ายฝึกวินัยในการใช้จ่ายอยู่งอย่างพอเพียงตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จัดบริการอาหารให้กับนักเรียนอย่างเพียงพอต่อความต้องการของเด็กโดยร้อยละ 90 ใช้โปรแกรมอาหาร Thai school lunch จัดห้องครัวที่สะอาดถูกหลักอนามัย ดูแลการปรุงและประกอบอาหารให้ถูกต้องตามหลักภาวะโภชนาการใช้นวัตกรรมคือ “การใส่เกลือไอโอดีนแทนน้ำปรุงรส น้ำตาลแทนผงปรุงรส”ดูแลกำกับการรับประทานอาหารของนักเรียน โดยแยกกลุ่มนักเรียนที่มีภาวะอ้วน ผอมมาดูแลเรื่องการรับประทานอาหารเป็นพิเศษเพื่อควบคุมอาหารให้กับเด็กกลุ่มนี้มีการเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการทดสอบสมรรถภาพของนักเรียน มีการตรวจสุขภาพประจำภาคเรียนดูแลสุขภาพของนักเรียนร้อยละ 90 นักเรียนออกกำลังกายสัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 60 นาทีได้รับการดูแลตรวจสุภาพประจำภาคเรียนและมีการประเมินตนเองของนักเรียน โรงเรียนมีการบริการน้ำที่สะอาดได้มาตรฐานตามคุณภาพมาตรฐานน้ำดื่มสะอาดในโรงเรียนเพื่อใช้ในการบริโภคและอุปโภคมีที่ล้างมือ ที่แปรงฟัน ห้องน้ำที่สะอาดถูกสุขลักษณะ การกำจัดขยะที่ปลอดภัยลดมลพิษทางอากาศ รณรงค์ป้องกันอุบัติภัยโรงเรียนติดตามตรวจสุขภาพและมีการตรวจสุขภาพอนามัยของนักเรียนประจำภาคเรียนภาคเรียนละ 1 ครั้งจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล โดยมีการตรวจฟัน การตรวจเหา การตรวจการได้ยิน การตรวจสายตาการจัดการเรียนรู้ด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพ ร้อยละ 100 โรงเรียนได้จัดทำแผนการเรียนรู้ประจำชั้นเรียน ประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ได้เรียนรู้ทั้งในชั้นเรียนการลงมือปฏิบัติจริงและโดยผ่านการอบรมหน้าเสาธง การอบรมภาคกลางวัน จากการอบรมครูแกนนำของนักเรียนจากการตรวจสุขภาพนักเรียนด้วยตนเอง |
||||||||||||||||||||||||||||||
กรอบแนวคิด | เพื่อให้ผู้เรียนซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดได้รับโอกาส ได้รับการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัยที่ดีโดยมีโภชนาการสมวัย มีผลการเรียนที่ดี มีจิตสาธารณะ เพื่อให้คุณธรรมดังกล่าวส่งผลต่อครอบครัว ชุมชน สังคมที่มีสุขภาพอนามัยที่ดี และมีความเป็นอยู่อย่างมีความสุข โรงเรียนขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุผลด้วย8 องค์ประกอบที่สำคัญ ประกอบด้วย 1.เกษตรในโรงเรียนดำเนินการให้ครบวงจรและยั่งยืนทั้งพืชและสัตว์แบบปลอดสารพิษ 2.สหกรณ์นักเรียน (สหกรณ์ร้านค้า ออมทรัพย์)เพื่อการเรียนรู้และนำผลผลิตสู่ระบบสหกรณ์ 3.การบริการอาหาร โดยบริการอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามหลักโภชนาการถูกสุขลักษณะมีมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร 4.การติดตามภาวะโภชนาการ สมรรถภาพทางกายและสุขภาพนักเรียน จัดทำระบบข้อมูลด้วยICT และสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อประเมินด้านโภชนาการ สมรรถภาพทางกาย 5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน 6.การพัฒนาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อการพัฒนาสุขภาพอนามัยสะอาดปลอดภัย 7. การบริการสุขภาพด้วยการดูแลรักษาสุขภาพเบื้องต้นของโรงเรียนและโดยหน่วยงานเครือข่ายด้านสาธารณสุข
8. การเรียนรู้แบบบูรณาการด้านเกษตร โภชนาการ สุขภาพ สหกรณ์ฯลฯ ด้วยการพัฒนาหลักสูตร แผนการเรียนรู้แหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จากกรอบแนวคิดหลักเชื่อว่าโรงเรียนจะสามารถบรรลุเป้าหมายข้างต้นอย่างยั่งยืน
ดังนั้โรงเรียนจึงได้เสนอแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสจากปีที่1โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องอย่างยั่งยืน ตามผลที่คาดหวังของโครงการ
สิ่งที่โรงเรียนมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนให้เกิดความต่อเนื่องอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่โรงเรียนอื่นๆมีอะไรบ้าง ( โปรดอธิบาย – ความยาวอาจมากกว่า
1 หน้ากระดาษ ) |
||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
|
||||||||||||||||||||||||||||||
เป้าหมายภาวะโภชนาการ | นักเรียนเจริญเติบโตสมวัยโดยมี ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกิน7% ภาวะผอม ไม่เกิน2% ภาวะเตี้ย ไม่เกิน4% ดูส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ(กรณีที่ภาวะโภชนาการไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดให้ลดลงจากเดิมไม่น้อยกว่า 0.5 ต่อปี) นักเรียนได้กินผัก – ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวัน เฉลี่ยผัก วันละประมาณ20 กรัมอนุบาล 2ช้อน (20 กรัม) ประถม 4 ช้อน (40 กรัม) ผลไม้ (อนุบาล1/2 ส่วนประถม 1 ส่วน) ต่อมื้อต่อคน |
||||||||||||||||||||||||||||||
ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล | 1.เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จ จะมีการดำเนินการต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไร 2.ระบุวิธีการขยายผลจากการดำเนินโครงการ และชุมชน หรือผู้อื่นจะใช้ประโยชน์จากผลของโครงการนี้อย่างไร กิจกรรมที่ดำเนินการชุมชนมีส่วนร่วมเป็นเบื้องต้นอยู่แล้ว โรงเรียนจะใช้เป็นฐานการเรียนรู้ด้านสุขภาพ เกษตรฯลฯเพื่อถ่ายทอดสู่ชุมชน โรงเรียนจะอำนวยความสะดวกพื้นฐานบริการชุมชน เช่นเป็นศูนย์กลางด้านพันธุ์พืช ผัก สัตว์ต่างๆ ในส่วนของโรงเรียนได้พยายามขยายผลโดยการประชาสัมพันธ์ และโรงเรียนเป็นแหล่งศึกษาดูงาน |
||||||||||||||||||||||||||||||
พื้นที่ตั้งโรงเรียน | หมู่ 5 ตำบลบ้านจาน อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ | ||||||||||||||||||||||||||||||
ละติจูด-ลองจิจูด | 15.570127852694,102.85134315491place |
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อสร้างความตระหนักและภารกิจหน้าที่เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียนชุมชนและหน่วยงานสนับสนุนโครงการเด็กไทยแก้มใสทั้งระบบ มีองค์กรจากภายนอกเข้าร่วมโครงการ อย่างน้อย 2 หน่วยงาน |
||
2 | เพื่อปรับปรุงพัฒนาสหกรณ์นักเรียน และให้นักเรียนรู้จักการออม นักเรียนโรงเรียนบ้าข่อยอย่างน้อยร้อละ 90 สามารถจัดทำบัญชีสหกรณ์นักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
||
3 | เพื่อส่งเสริมปัจจัยในการผลิตทางด้านการเกษตรทั้งในและนอกโรงเรียน นักเรียนร้อยละ 95 ได้รับความรู้จากการทำการเกษตรในโรงเรียน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ และผลผลิตที่ได้จากการทำเกษตรในโรงเรียนนำเข้าสู่โครงการกลางวันโดยผ่านสหกรณ์โรงเรียน ร้อยละ 100 |
||
4 | เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกโรงเรียนให้ถูกสุขอนามัย นักเรียนทุกคนมีความรู้เรื่องโภชนาการและสุขภาพที่ดี สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้ |
กิจกรรมหลัก
กิจกรรมหลัก
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | พ.ค. 59 | มิ.ย. 59 | ก.ค. 59 | ส.ค. 59 | ก.ย. 59 | ต.ค. 59 | พ.ย. 59 | ธ.ค. 59 | ม.ค. 60 | ก.พ. 60 | มี.ค. 60 | เม.ย. 60 | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | คลังอาหาร | 20,000.00 | more_vert |
||||||||||||
2 | สหกรณ์นักเรียน | 1,000.00 | more_vert |
||||||||||||
3 | จัดบริการอาหาร | 10,000.00 | more_vert |
||||||||||||
4 | การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน | 25,000.00 | more_vert |
||||||||||||
5 | กำรพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน | 4,000.00 | more_vert |
||||||||||||
6 | การรจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ด้านการเกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพ | 20,000.00 | more_vert |
||||||||||||
7 | บริหารจัดการโครงการ | 0.00 | more_vert |
||||||||||||
รวม | 80,000.00 |
กิจกรรมย่อย
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
2-6 พ.ค. 59 | จัดหาพันธุ์ไก่ไข่ | 2 | 20,500.00 | ✔ | 20,500.00 | |
2-6 พ.ค. 59 | ปรับปรุงซ่อมแซมเล้าไก่ | 8 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
6 พ.ค. 59 | จัดอบรมสัมมนา พัฒนาบุคลากร การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการด้าน การเกษตร สหกรณ์ อาหารโภชนาการและสุขภาพ | 182 | 6,000.00 | ✔ | 6,000.00 | |
9-13 พ.ค. 59 | ปรับปรุงแปลงเกษตร | 92 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
16 พ.ค. 59-17 มิ.ย. 59 | เพาะปลูกผักสวนครัว | 49 | 5,000.00 | ✔ | 5,000.00 | |
16 พ.ค. 59-30 เม.ย. 60 | เลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ | 92 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
6-10 มิ.ย. 59 | ประชุมชี้แจงโครงการศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส | 98 | 9,000.00 | ✔ | 9,000.00 | |
20-24 มิ.ย. 59 | จัดหาพันธุ์ปลาน้ำจืด | 4 | 20,000.00 | ✔ | 20,000.00 | |
28-30 มิ.ย. 59 | จัดหาอาหารปลาน้ำจืด | 2 | 5,500.00 | ✔ | 5,500.00 | |
25 ต.ค. 59 | ตรวจโครงการฯ รายงานความก้าวหน้าและรายงานการเงิน งวด1 | 2 | 0.00 | - | ||
25 ต.ค. 59-28 ก.พ. 60 | จัดกิจกรรมออกกำลังกายทุกวันพุธ | 111 | 0.00 | - | ||
2 ม.ค. 60-24 ก.พ. 60 | ส่งเสริมงานศิลปะนักเรียนเพื่อฝึกสมาธิในการทำงาน | 92 | 3,000.00 | - | ||
6-10 มี.ค. 60 | ปรับปรุงซ่อมแซมระบบน้ำการเกษตร | 62 | 20,000.00 | ✔ | 20,000.00 | |
23 มี.ค. 60 | คืนดอกเบี้ยปิดโครงการ | 0 | 0.00 | - | ||
23 มี.ค. 60 | ตรวจโครงการฯ รายงานความก้าวหน้าและรายงานการเงิน งวด2 | 2 | 0.00 | - | ||
รวม | 514 | 89,000.00 | 10 | 86,000.00 |
ไฟล์เอกสาร
โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2559 14:33 น.