ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

โรงเรียนรัฐประชาวิทยาคาร


“ โรงเรียนรัฐประชาวิทยาคาร ”

130 หมู่ 7 ตำบลดงกลาง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด

หัวหน้าโครงการ
นายศักดิ์อนันต์ ยาวไธสง

ชื่อโครงการ โรงเรียนรัฐประชาวิทยาคาร

ที่อยู่ 130 หมู่ 7 ตำบลดงกลาง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัด ร้อยเอ็ด

รหัสโครงการ ศรร.1312-053 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-อ.7

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2016 ถึง 30 เมษายน 2017


กิตติกรรมประกาศ

"โรงเรียนรัฐประชาวิทยาคาร จังหวัดร้อยเอ็ด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน 130 หมู่ 7 ตำบลดงกลาง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนรัฐประชาวิทยาคาร ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนรัฐประชาวิทยาคาร



บทคัดย่อ

โครงการ " โรงเรียนรัฐประชาวิทยาคาร " ดำเนินการในพื้นที่ 130 หมู่ 7 ตำบลดงกลาง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด รหัสโครงการ ศรร.1312-053 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 105,000.00 บาท จาก โรงเรียนรัฐประชาวิทยาคาร เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 223 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณะสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนรัฐประชาวิทยาคารจึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนตามแนวทางการดำเนินงานความสำเร็จของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร
  2. เพื่อส่งเสริมปัจจัยในการผลิตทางด้านการเกษตร ที่ส่งผลให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัยและหลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวันที่เหมาะสมตามวัยโดยใช้เมนู Thai school lunch
  3. เพื่อสร้างกระบวนการ ประเมิน ติดตาม เฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน
  4. เพื่อขยายผลโครงการศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสสู่โรงเรียนเครือข่ายธรรมฐิติญาณ จำนวน 10 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านดงกลาง โรงเรียนบ้านหัวนาคำโรงเรียนสหคามวิทยาคารโรงเรียนบ้านหนองหิน โรงเรียนบ้านค้อขุดจอก โรงเรียนบ้านสวนมอญหนองบั่ว โรงเรียนบ้านอีโคตร โรงเรียนราชสารสุธีอนุสรณ์ โรงเรียนบ้านอีง่อง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. นักเรียน และผู้ปกครองมีความรู้ในเรื่องการบริโภคอาหารที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีโภชนาการเจริญเติบโตสมวัย ได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าต่อสุขภาพ สะอาด ปลอดภัย
    2. บุคลากรในโรงเรียนได้รับการอบรมพัฒนาศักยภาพ ด้านการจัดการอาหารและโภชนาการ แบบครบวงจร
    3. โรงเรียนได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ต่อไป

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมผู้ปกครอง นักเรียน

    วันที่ 19 พฤษภาคม 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เสนอผู้บริหารขอดำเนินกิจกรรม
    • แจ้งผู้มีส่วนร่วม สนับสนุน ผู้ปกครองนักเรียน เพื่อเข้าร่วมประชุมประกาศนโยบาย
    • จัดเตรียมเอกสาร สถานที่
    • ผู้อำนวยการโรงเรียนนายศักดิ์อนันต์ ยาวไธสงผู้รับผิดชอบโครงการได้ดำเนินการประกาศนโยบาย โดยมีผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรอำเภอจตุรพักตรพิมานผู้อำนวยการโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน สมาชิกสภาจังหวัดร้อยเอ็ดผู้นำชุมชน ผู้ปกครองนักเรียนคณะครู เข้าร่วมรับฟัง
    • นางศิรมุขอันทะโคตรผู้ดูแลโครงการ ได้พูดคุยเรื่อง การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการและสมรรถภาพทางกายของนักเรียน การจัดบริการสุขภาพอนามัย
    • นางประจิตจันทะสิงห์ ผู้ดูแลระบบออนไลน์ ได้พูดคุยเรื่อง การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะการจัดการเรียนรู้ระบบสหกรณ์
    • นางเทียนสว่างมูลศรีผู้รับผิดชอบด้านการเงินและด้านการจัดบริการอาหารกลางวัน ได้พูดคุยเรื่อง การจัดบริการอาหารกลางวันตามโปรแกรม TSL
    • ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรอำเภอจตุรพักตรพิมานสมาชิกสภาจังหวัดร้อยเอ็ด พูดคุยกับผู้ปกครองคณะครู นักเรียน มีประเด็นในการพูดคุยเรื่องสถานการณ์ปัจจุบันของชุมชนการดูแลตัวเอง (สำหรับนักเรียน) การดูแลลูกหลาน(สำหรับผู้ปกครอง) ให้ห่างไกลจากสารเสพติดการช่วยกันรักษาสมบัติของส่วนรวม
    • ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน ได้พูดคุยเรื่อง สถานการณ์เรื่องโรคต่างๆในปัจจุบัน การดูแลรักษาสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัวการเลือกรับประทานที่มีผลต่อสุขภาพสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียน
    • สมาชิกสภาจังหวัดร้อยเอ็ด (นายคำสีสืบเมืองซ้าย) ได้พูดคุยเรื่องการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

      ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรอำเภอจตุรพักตรพิมาน  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน สมาชิกสภาจังหวัดร้อยเอ็ด  ผู้ปกครอง  นักเรียน เข้าใจนโยบายโครงการศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใส และผู้ปกครอง นักเรียนมีความยินดีที่โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการ และยินดีที่จะให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนในทุกๆเรื่อง  หน่วยงานต่างๆที่เข้าร่วมรับฟังประกาศนโยบายมีความยินดี ชื่นชมกับกิจกรรมที่โรงเรียนได้จัด ผลที่เกิดขึ้นหลังจากรับฟังการชี้แจงประกาศนโยบาย - ผู้ปกครองให้การสนับสนุนจัดทำกองทุนข้าวเปลือก  โดยมีความเห็นว่า โรงเรียนเป็นโรงเรียนขยายโอกาส มีงบประมาณน้อย เพราะงบประมาณสนับสนุนอาหารกลางวันได้จากระดับ อนุบาล 1 ถึง ป.6 นักเรียนจาก ม.1 - ม.3 ไม่มีงบประมาณอาหารกลางวันให้ ถ้าจะจัดเมนูอาหารอย่างมีคุณภาพตามโปรแกรม TSL ต้องมีงบประมาณเพิ่ม ทางผู้ปกครองก็เลยจัดตั้งโครงการกองทุนข้าวเปลือกให้กับทางโรงเรียน - นักเรียนและผู้ปกครอง ปลูกผักเพิ่มเพื่อนำมาจัดทำเมนูอาหารกลางวันโรงเรียน - หลังจากที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพตนเองจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน  ผู้ปกครอง นักเรียน มีความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น - ตัวแทนสมาชิกสภาจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ให้การสนับสนุนโดยแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาดูแลกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน

     

    74 185

    2. หนูน้อยนักประชาสัมพันธ์ ครั้งที่ 1

    วันที่ 1 มิถุนายน 2016 เวลา 17:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ขออนุมัติผู้บริหารในการดำเนินกิจกรรม
    • ประสานงานกับผู้นำชุมชนในการใช้เครื่องขยายเสียงในการประชาสัมพันธ์
    • นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เป็นตัวแทนแต่ละหมู่บ้านรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามกิจกรรมของศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใสสู่ชุมชน เป็นระยะ  โดยการอ่านเสียงตามสายในหมู่บ้านในเขตบริการทั้ง 4 หมู่บ้านทุกวันจันทร์  เพื่อฝึกให้นักเรียนกล้าแสดงออก  เพิ่มทักษะการอ่าน  ให้ความรู้ด้านโภชนาการ อาหารปลอดภัยและรายงานความก้าวหน้าของโครงการให้ชุมชนได้รับรู้อย่างทั่วถึง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชุมชนในเขตบริการทั้ง 4 หมู่บ้านได้รับข่าวสารความรู้ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการดำเนินโครงการศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใส
    • ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมกิจกรรมกองทุนข้าวเปลือกโดยการบริจาคข้าวเปลือกเพื่อจัดเมนูอาหารกลางวันตามโปรแกรม TSL มีการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ตามแผนการจัดเมนูอาหารกลางวัน เพื่อให้วัตถุดิบเพียงพอต่อการจัดเมนูอาหารกลางวันนักเรียนร่วมบริจาคหน่อกล้วยเพื่อมาปลูกตามกิจกรรมเพิ่มปริมาณการปลูกกล้วยน้ำว้า

     

    50 124

    3. จัดทำป้ายการจัดเมนูอาหารกลางวันที่มีคุณภาพตามโปรแกรม TSL

    วันที่ 2 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดทำป้ายไวนิลรูปแบบการจัดชุดสำรับอาหารกลางวันหมุนเวียน 5 วันทำการต่อสัปดาห์ (จันทร์-ศุกร์)  ขนาด  2  * 3  เมตร  จำนวน 1 แผ่น
    • จัดทำป้ายมาตรฐานอาหารกลางวันโรงเรียนไทย สำหรับเด็กไทยแต่ละวัยใน 1 สัปดาห์ (ปริมาณและความถี่ของอาหารกลุ่มต่างๆ ที่จัดเสิร์ฟเป็นอาหารกลางวันและอาหารเสริมระหว่างมื้อ) ขนาด 2  * 3  เมตร  จำนวน 1 แผ่น  ติดไว้ที่หน้าโรงอาหาร 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนครู แม่ครัว ได้รับความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการจัดชุดสำรับอาหารกลางวันหมุนเวียน 5 วันทำการต่อสัปดาห์และความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานอาหารกลางวันโรงเรียนไทย สำหรับเด็กไทยแต่ละวัยใน 1 สัปดาห์ (ปริมาณและความถี่ของอาหารกลุ่มต่างๆ ที่จัดเสิร์ฟเป็นอาหารกลางวันและอาหารเสริมระหว่างมื้อ) สามารถนำไปใช้ในการจัดเมนูสำหรับตัวเองและคนในครอบครัว - ทางโรงเรียนได้จัดทำเมนูอาหารตามโปรแกรม TSLตามวัยของนักเรียน เช่นเมนูระดับอนุบาล วันที่ อาหาร
    15/09/59 - ข้าวสวยขาว 90 กรัม 1.5 ทัพพี
    - ฝรั่ง 1/2 ผลส่วนที่กินได้124 กรัม
    - นมสด ยูเอชที รสจืด
    - น้ำพริกกะปิ ปลาทูทอด (เผ็ดน้อย) ผักจิ้ม (ปลาทู 1/2 ตัวกลาง)
    - ไก่ทอดกระเทียมพริกไทย 2 ช้อนกินข้าว
    เมนูวัยประถม วันที่ อาหาร 15/09/59- ข้าวสวยขาว 150 กรัม2.5 ทัพพี - มะม่วงแก้วสุก 1/2 ผล ส่วนที่กินได้ 80 กรัม - นมสด ยูเอชที รสจืด 200 ml - ส้มตำไทย ผักสด - ไก่ทอดกระเทียม ผักเคียง

     

    226 226

    4. ติดตามเยี่ยมบ้านนักเรียนที่มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการ

    วันที่ 15 มิถุนายน 2016 เวลา 16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เสนอขออนุมัติผู้บริหารในการกิจกรรม
    • ประสานงานถึง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงกลาง เพื่อขอความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม.ประจำหมู่บ้าน
    • แจ้งผู้ปกครองนักเรียน ที่มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์และต่ำกว่าเกณฑ์
    • คณะทำงานที่ประกอบด้วย ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูประจำชั้นอสม.ประจำหมู่บ้านเจ้าหน้าสาธารณสุขตำบลดงกลางออกเยี่ยมบ้านนักเรียนรายบุคคลตามหนังสือที่แจ้ง พร้อมทั้งให้ความรู้
    • ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านนักเรียนที่มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการ จำนวน30 คน และได้พูดคุยกับผู้ปกครองนักเรียน ทำให้ทราบปัญหาหลายๆ อย่าง เช่นนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ชอบดื่มน้ำอัดลมขนมกรุบกรอบในเวลาหลังเลิกเรียนและวันหยุดและไม่ชอบออกกำลังกาย แต่บางคนก็มีปัญหาด้านสุขภาพเรื่องโรคอ้วน ไปหาหมอรักษาแต่ก็ยังไม่ลดนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์มีสาเหตุมาจากการไม่ชอบดื่มนมไม่ค่อยกินข้าว
    • ผู้ปกครองเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอสม.ประจำหมู่บ้าน คณะครู ประชุม เพื่อหารือการแก้ปัญหาร่วมกัน
    • ติดตามผลการเปลี่ยนแปลงต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้ปกครองและครูทราบปัญหาการที่นักเรียนมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ มาจากสาเหตุทางด้านกรรมพันธุ์การกินอาหารว่างบ่อยๆในช่วงวันหยุดและปิดภาคเรียนนักเรียนไม่ค่อยออกกำลังกาย พอกินอาหารว่างเสร็จก็นอนดูโทรทัศน์เล่นเกมส์
    • ผู้ปกครองได้รับความรู้ และมีความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์และต่ำกว่าเกณฑ์
    • ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการควบคุม ดูแลเมนูอาหารการออกกำลังกาย ให้กับนักเรียนอย่างใกล้ชิด
    • นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น

     

    46 93

    5. ร่างกายสมส่วน เชิญชวนมาออกกำลังกาย

    วันที่ 29 มิถุนายน 2016 เวลา 16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เสนอขออนุมัติผู้บริหารในการดำเนินกิจกรรม
    • แจ้งนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
    • จัดเตรียมอุปกรณ์ประกอบการออกกำลังกาย
    • ทำหนังสือประสานงานวิทยากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้และผู้นำการออกกำลังกาย
    • ดำเนินการตามกิจกรรมโดยวิทยากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาให้ความรู้กับนักเรียน และในช่วงหลังเลิกเรียนทุกๆวัน วิทยากรผู้นำการออกกำลังกายจะนำนักเรียนออกกำลังกายวันละ 45 นาที กิจกรรมที่ทำ คือ เล่นฮุลาฮูป และกระโดดเชือก และออกกำลังกายทั่วไป
    • ติดตาม ประเมินผลการทำกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความกระตือรือล้นในการร่วมกิจกรรมทุกวันนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์มีน้ำหนักลดลง สุขภาพดีขึ้นผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการทำกิจกรรมมาก ในบางวันก็จะมีผู้ปกครองมาร่วมทำกิจกรรมด้วย

     

    55 45

    6. อบรมครูและบุคลากรแม่ครัวตัวแทนผู้ปกครองแกนนำนักเรียน

    วันที่ 30 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ขออนุมัติผู้บริหารเพื่อจัดกิจกรรม
    • แจ้งตัวแทนผู้ปกครองผู้นำนักเรียนแม่ครัว คณะครู เข้ารับการอบรม
    • ดำเนินการอบรมการจัดทำเมนูอาหารตามโปรแกรม TSL
    • ประเมินผลการดำเนินงานการจัดกิจกรรมอบรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครู ตัวแทนผู้ปกครอง  ตัวแทนนักเรียนมีความรู้เรื่องคุณภาพการจัดเมนูอาหารมากขึ้น นักเรียน แม่ครัวและผู้ปกครองบางส่วนสามารถจัดทำรายการอาหารตามโปรแกรม TSL ได้  และได้นำความรู้เกี่ยวกับการจัดเมนูอาหารไปเผยแพร่ให้กับเพื่อนบ้านเพื่อจัดเมนูอาหารเช้าให้กับนักเรียนได้รับประทานก่อนมาโรงเรียน 

     

    34 50

    7. เพิ่มปริมาณการปลูกกล้วยน้ำหว้า

    วันที่ 11 สิงหาคม 2016 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เสนอผู้บริหารเพื่อขออนุมัติทำกิจกรรม
    • แจ้งนักเรียน ผู้ปกครอง ขอความร่วมมือในการบริจาคพันธุ์กล้วยน้ำว้า
    • นักเรียน ผู้ปกครอง ร่วมกิจกรรมวันแม่ที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น เสร็จแล้วก็ช่วยกันปลูกกล้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีต้นกล้วยน้ำหว้าในโรงเรียน จำนวน 40 ต้น โรงเรียนมีปริมาณต้นกล้วยเพิ่มมากขึ้นนักเรียนที่ปลูกต้นกล้วยรับผิดชอบดูแลต้นกล้วยให้เจริญเติบโตและมีผลผลิต
    • กล้วยน้ำหว้าสามารถนำมาเป็นวัตถุดิบของเมนูอาหารกลางวันได้ในภาคเรียนต่อไป

     

    101 101

    8. ประชุมรายงานงวดที่ 1 เพื่อเบิกงวดที่ 2

    วันที่ 20 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นางเทียนสว่าง  มูลศรี และนางศิรมุข  อันทะโคตร  เข้าเข้าประชุมการจัดทำรายงานการเงินงวดที่1 เพื่อรับงบประมาณงวดที่ 2 ที่โรงแรมเจริญธานี  จ.ขอนแก่น 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบด้านการเงินมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดทำรายงานงวด และสามารถส่งรายงานงวดที่ 1 ได้สำเร็จและได้รับการการโอนเงินงวดที่ 2 อย่างเรียบร้อย

     

    2 0

    9. หนูน้อยนักประชาสัมพันธ์ครั้งที่ 2

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นักเรียนประจำหมู่บ้านในเขตบริการได้ไปประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการทุกๆวันจันทร์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียนได้ฝึกทักษะการอ่าน  ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในความสามารถของบุตรหลาน  ชุมชนได้รับทราบข่าวสารการดำเนินงานของโครงการศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใสโรงเรียนรัฐประชาวิทยาคาร  และได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว

     

    144 44

    10. ทางเลือกใหม่ มั่นใจ ปลอดภัย ไร้สารพิษ

    วันที่ 23 ธันวาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเลี้ยงไส้เดือนพันธุ์ AF ซึงเป็นพันธุ์ที่มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของโรงเรียน โดยกลุ่มผู้เลี้ยงไส้เดือนบ้านไฟเลี้ยว จ.ร้อยเอ็ด มาเป็นวิทยากรในการอบรม  โดยให้ความรู้  รายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับไส้เดือน วิธีการเตรียมเบดดิ้ง วิธีการดูแล และวิธีการนำมูลไส้เดือนไปใช้ พร้อมกับให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียน  ครู บุคลากร มีความรู้เรื่องไส้เดือน  สามารถเลี้ยงไส้เดือน และมีมูลไส้เดือนไว้สำหรับใช้ในกิจกรรมเกษตรในโรงเรียน

     

    48 56

    11. เสริมคุณค่าอาหารด้วยไข่

    วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    อบรมการสร้างโรงเรือนการเลี้ยงไก่ไข่ โดยให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติสร้างโรงเรือนเอง สำนักงานปศุสัตว์อำเภอจัดอบรมครู บุคลากร  นักเรียน ในการเลี้ยงไก่ไข่เสริมไอโอดีนในโรงเรียน  กลุ่มนักเรียนที่รับผิดชอบกิจกรรมได้ซื้อแม่พันธุ์ไก่พร้อมไข่ จำนวน 200 ตัวมาเลี้ยง และได้ดุูแลไก่พันธุ์ไข่ จนมีผลผลิตจำหน่ายให้สหกรณ์โรงเรียนเพื่อเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเลี้ยงไก่ไข่มีผลผลิตโดยเฉลี่ยวันละ 85 ฟอง โดยได้จำหน่ายไข่ไก่ผ่านระบบสหกรณ์โรงเรียนเพื่อเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวัน  ทำให้นักเรียนได้รับประทานไข่เฉลี่ย 2 ฟอง/สัปดาห์ ครบตามสัดส่วนที่กำหนด

     

    231 235

    12. แจ้งข่าว เล่าสู่

    วันที่ 16 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เชิญผู้บริหาร  ครู นักเรียน ในโรงเรียนเครือข่าย 11 โรงเรียน เข้าร่วมงานแจ้งข่าว เล่าสู่ โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทุกโรงเรียนในเครือข่ายมาเข้าร่วมกิจกรรมครบทุกโรงเรียน  ทำพิธีเปิดและบรรยายพิเศษความเป็นมาของโครงการโดย นายศักดิ์อนันต์  ยาวไธสง ผู้รับผิดชอบโครงการ  ชมกิจกรรมการแสดงของนักเรียนโรงเรียนรัฐประชาวิทยคาร 3 รายการ บรรยายการดำเนินโครงการจนประสบความสำเร็จโดย นางศิรมุข  อันทะโคตร ผู้ดูแลโครงการ บรรยายการจัดบริการอาหารกลางวันโดยใช้โปรแกรม TSL โดย นางเทียนสว่าง  มูลศรี  ผู้รับผิดชอบงานโภชนาการ  รับประทานอาหารว่างและอาหารกลางวัน ในช่วงบ่ายได้มีการเยี่ยมชมห้องเรียนต่างๆ และนิทรรศการเกี่ยวกับการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส และ ร่วมกันสรุปแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงาน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    บุคลากรในโรงเรียนเครือข่ายมีความสนใจในโครงการและจะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ดำเนินงานในโรงเรียนต่อไป

     

    25 40

    13. ประชุมการจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 20 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครูผู้ดูแลโครงการและผู้รับผิดชอบการเงิน เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำรายงานสรุปการเงินปิดโครงการ (ง2)และรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ (ส.3) แบบออนไลน์  โดยวิทยากรได้ตรวจเอกสารการเงินงวดที่2 และงวดที่ 3 และได้ลงข่อมูลในระบบออนไลน์อย่างเรียบร้อย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เอกสารการเงินได้รับการตรวจสอบความถูกต้องและลงข้อมูลในระบบออนไลน์อย่างเรียบร้อย

     

    2 2

    14. คืนดอกเบี้ยโครงการ

    วันที่ 21 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ครูผู้รับผิดชอบการเงินโครงการและผู้รับผิดชอบโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนรัฐประชาวิทยาคารได้ดำเนินการคืนเงินดอกเบี้ยโครงการ จำนวนเงิน 43.82 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • โครงการได้รับเงินดอกเบี้ยคืน จำนวน 43.82 บาท

     

    0 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนตามแนวทางการดำเนินงานความสำเร็จของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร
    ตัวชี้วัด : - โรงเรียนมีการพัฒนาคุณภาพอาหาร ขนม นม และเครื่องดื่มตามมาตรฐานโภชนาการ ถูกหลักสุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัยที่ดีขึ้น - โรงเรียนมีการจัดปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาพฤติกรรมโภชนาการที่พึงประสงค์ การออกกำลังกายที่เหมาะสมตามวัย และลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง

    โรงเรียนได้พัฒนาคุณภาพอาหารตามหลักโภชนาการ มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาพฤติกรรมบริโภคอาหาร

    2 เพื่อส่งเสริมปัจจัยในการผลิตทางด้านการเกษตร ที่ส่งผลให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัยและหลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวันที่เหมาะสมตามวัยโดยใช้เมนู Thai school lunch
    ตัวชี้วัด : - โรงเรียนมีการนำโปรแกรม Thai School Lunch เข้ามาใข้ในการกำหนดเมนูอาหารกลางวัน - โรงเรียนนำผลผลิตทางการเกษตรมนำมาประกอบอาหารกลางวัน 80 % ของผลผลิตในชุมชนและโรงเรียน

    โรงเรียนได้นำโปรแกรม Thai School Lunch เข้ามาใข้ในการกำหนดเมนูอาหารกลางวันและมีการนำเอาผลผลิตทางการเกษตรมนำมาประกอบอาหารกลางวัน 80 %

    3 เพื่อสร้างกระบวนการ ประเมิน ติดตาม เฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน
    ตัวชี้วัด : - นักเรียนมีสุขภาพดี เติบโตสมวัย มีอารมณ์สติปัญญาที่ดีขึ้น มีทักษะชีวิตที่สามารถนำไปใช้จริง - ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ไม่เกิน 7% ภาวะค่อนข้างผอมและผอม ไม่เกิน 7% ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ไม่เกิน 7%

    นักเรียนมีสุขภาพดี เติบโตสมวัย มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน7.46 ภาวะค่อนข้างผอมและผอม 0.50 ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย 0.51

    4 เพื่อขยายผลโครงการศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสสู่โรงเรียนเครือข่ายธรรมฐิติญาณ จำนวน 10 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านดงกลาง โรงเรียนบ้านหัวนาคำโรงเรียนสหคามวิทยาคารโรงเรียนบ้านหนองหิน โรงเรียนบ้านค้อขุดจอก โรงเรียนบ้านสวนมอญหนองบั่ว โรงเรียนบ้านอีโคตร โรงเรียนราชสารสุธีอนุสรณ์ โรงเรียนบ้านอีง่อง
    ตัวชี้วัด : ขยายผลไปสู่โรงเรียนในเครือข่าย 10 โรงเรียน

    โรงเรียนได้ขยายผลไปสู่โรงเรียนเครือข่ายครบ 100 %

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการพัฒนาโรงเรียนตามแนวทางการดำเนินงานความสำเร็จของการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร (2) เพื่อส่งเสริมปัจจัยในการผลิตทางด้านการเกษตร ที่ส่งผลให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัยและหลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวันที่เหมาะสมตามวัยโดยใช้เมนู Thai school lunch (3) เพื่อสร้างกระบวนการ ประเมิน ติดตาม เฝ้าระวังและแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน (4) เพื่อขยายผลโครงการศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสสู่โรงเรียนเครือข่ายธรรมฐิติญาณ จำนวน 10 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านดงกลาง โรงเรียนบ้านหัวนาคำโรงเรียนสหคามวิทยาคารโรงเรียนบ้านหนองหิน โรงเรียนบ้านค้อขุดจอก โรงเรียนบ้านสวนมอญหนองบั่ว โรงเรียนบ้านอีโคตร โรงเรียนราชสารสุธีอนุสรณ์ โรงเรียนบ้านอีง่อง

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

    ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนรัฐประชาวิทยาคาร

    รหัสโครงการ ศรร.1312-053 รหัสสัญญา 58-00-2265-อ.7 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

    วันที่เริ่มประเมิน

    1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    (ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    1. การเกษตรในโรงเรียน

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    2. สหกรณ์นักเรียน

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

    หนูน้อยนักประชาสัมพันธ์

    • ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง แปรผล ภาคเรียนละ 2 ครั้ง
    • แจ้งผลการประเมินภาวะโภชนาการถึงผู้ปกครอง
    • ติดตามเยี่ยมบ้านนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ
    • ประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่าง ครู นักเรียนที่มีปัญหาเรื่องภาวะโภชนการ และผู้ปกครองของนักเรียนที่มีปัญหา
    • จัดกิจกรรมแก้ปัญหาให้กับนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ
    • หนูน้อยนักประชาสัมพันธ์ แจ้งข่าวสารการจัดเมนูอาหารในชุมชน

    ออกติดตามเยี่ยมบ้านนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการในช่วงปิดภาคเรียน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน
    • การแปรงฟันอย่างเป็นระบบ 25 จุด
    • ย้อมคราบจุลินทรีย์จากดอกอัญชัญ
    • ยาสีฟันจากใบข่อย

    โรงเรียนมีการรวมกลุ่มการพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน เรื่องฟัน โดยจัดตั้งเครือข่ายจตุพักตรพิมานสุขสันต์ ฟันแข็งแรง โดยในกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายแต่ละโรงเรียนจะใช้นวัตกรรมร่วมกัน คือ

    1. การแปรงฟันแบบขยับปัดอย่างเป็นระบบ 25 จุด
    2. ย้อมคราบจุลินทรีย์จากดอกอัญชัญ
    3. การทำยาสีฟันจากใบข่อย ทำให้นักเรียนในโรงเรียนเครือข่ายมีสุขภาพช่องปากที่สะอาด แข็งแรงส่งผลให้โรงเรียนเครือข่ายจตุรพักตรพิมานสุขสันต์ ฟันแข็งแรงเป็นเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดียอดเยี่ยมระดับประเทศ

    นำนวัตกรรมไปเผยแพร่ไปสู่กลุ่มเครือข่ายอื่นและหน่วยงานอื่นๆ ต่อไป

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    9. อื่น ๆ

     

     

     

    2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

    1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

    หน่วยงานภาคีเครือข่ายให้ความร่วมมือในการสนับสนุนงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์
    - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงกลาง จัดอบรม ให้ความรู้ตรวจสุขภาพนักเรียนและรักษานักเรียนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ - องค์การบริหารส่วนตำบลดงกลาง มอบวัสดุ อุปกรณ์

    2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

    สภาพแวดล้อมของชุมชนชาวชนบทที่ไม่แออัดอยู่กลางทุ่งนาที่มีอากาศบริสุทธิ์

    3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

    การร่วมกันแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากของนักเรียน

    4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

    ครู นักเรียน และแม่ครัว มีความรู้ในการจัดอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพช่องปาก

    5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

    ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการช่วยดูแลสุขภาพฟันนักเรียนเมื่อยู่ที่บ้าน โดยจะให้ผู้ปกครองและ อสม. ประจำบ้าน ช่วยกำกับติดตามการแปรงฟันของนักเรียนในตอนเช้า ก่อนเข้านอน และในวันหยุด ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดจำหน่ายอาหารว่างตามร้านค้า โดยเจ้าหน้าที่จากโรงพยาาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงกลางจะนำทีม อสม. อสม.น้อย (นักเรียน) มาให้ความรู้ในการจัดร้านค้าตามฉลาก เขียว เหลือง แดง เพื่อให้นักเรียนได้เลือกรับประทานอาหารว่างที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

    โรงเรียนได้มีการปลูกผักในโรงเรียนในปริมาณที่เพียงพอต่อการนำมาเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหาร ถ้าในเมนูอาหารที่ไม่มีผักในโรงเรียนเป็นวัตถุดิบทางโรงเรียนจะรับซื้อจากชุมชน

    บัญชีรับ-จ่ายงานเกษตร แปลงผักในโรงเรียน

    เพิ่มปริมาณการปลูกผักให้มีหลายชนิดโดยใช้พื้นที่จากสวนหย่อมในโรงเรียน จะทำให้ได้ปริมาณผักเพิ่มมากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

    โรงเรียนได้เลี้ยงสัตว์ คือ -เลี้ยงไก่ไข่ จำนวน100ตัวได้จำนวนไข่ไก่เฉลี่ยวันละ 85 ฟอง -เลี้ยงไก่เนื้อจำนวน 100 ตัว

    บัญชีกิจกรรมเลี้ยงไก่ รูปภาพ ตามกิจกรรมเสริมคุณค่าทางอาหารด้วยไข่

    เลี้ยงไก่รุ่นต่อไปจะเลี้ยงไก่ไข่เสริมไอโอดีน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

    โรงเรียนขุดบ่อเลี้ยงปลาในพื้นที่ 1 ไร่ และได้ปล่อยพันธุ์ปลากินพืชโดยมีปลานิล 7,200 ตัว ปลาตะเพียน 6,400 ตัว ปลายี่สกเทศ 2,600 ตัว ปลากะโห้ 1,000 ตัวปลาจาระเม็ด 1,600 ตัว โดยให้อาหารปลาจากฟางข้าวและผักต่างๆ ซึ่งทำให้มีปลามาจำหน่ายผ่านสหกรณ์นักเรียนในปริมาณที่เพียงพอต่อการจัดเมนูอาหาร

    บัญชีกิจกรรมเลี้ยงสัตว์ รูปภาพตามกิจกรรม แจ้งข่าวเล่าสู่

    เพิ่มชนิดของปลาให้มากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

     

     

    หางบประมาณเพื่อจัดอาหารเช้าให้กับนักเรียน

    5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

    เด็กอนุบาลจำนวน 40 คน ได้รับประทานผักและผลไม้ในปริมาณที่เพียงพอทุกวัน โดยจะจัดเมนูอาหารให้มีปริมาณผัก ผลไม้ ที่เพียงพอ และได้ปลูกฝังการกินผักให้กับเด็กอนุบาลโดยให้มีแปลงผักหน้าห้องอนุบาล ให้เด็กๆได้ดูแล

    เมนูอาหาร รูปภาพแปลงผัก ตามกิจกรรมแจ้งข่าว เล่าสู่

    ให้เด็กได้เป็นคนเลือกชนิดของผักที่จะปลูกเอง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    นักเรียนระดับประถมได้รับประทานผักและผลไม้ในปริมาณที่เพียงพอทุกวัน โดยจะจัดเมนูอาหารให้มีปริมาณผัก ผลไม้ ที่เพียงพอ แปลงผักในโรงเรียนจะมีแปลงผักย่อยสำหรับนักเรียนแต่ละชั้นปลูกและรับผิดชอบเอง โดยจะนำมารับประทานกับส้มตำเป็นอาหารว่างในบางวัน และนักเรียนแต่ละคนจะมีผักในดวงใจปลูกที่บ้าน โดยจะมีการสำรวจว่า นักเรียนชอบรับประทานผักชนิดไหนมากที่สุด และก็จะให้นักเรียนปลูกผักในดวงใจไว้ที่บ้าน อย่างน้อยคนละ 1 ชนิด

    มนูอาหาร รูปภาพแปลงผัก ตามกิจกรรมแจ้งข่าว เล่าสู่

    ให้นักเรียนคิดเมนูอาหารว่างที่ประกอบด้วย ผัก ผลไม้ที่นักเรียนชอบทาน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    นักเรียนระดับประถมได้รับประทานผักและผลไม้ในปริมาณที่เพียงพอทุกวัน โดยจะจัดเมนูอาหารให้มีปริมาณผัก ผลไม้ ที่เพียงพอ แปลงผักในโรงเรียนจะมีแปลงผักย่อยสำหรับนักเรียนแต่ละชั้นปลูกและรับผิดชอบเอง โดยจะนำมารับประทานกับส้มตำเป็นอาหารว่างในบางวัน และนักเรียนแต่ละคนจะมีผักในดวงใจปลูกที่บ้าน โดยจะมีการสำรวจว่า นักเรียนชอบรับประทานผักชนิดไหนมากที่สุด และก็จะให้นักเรียนปลูกผักในดวงใจไว้ที่บ้าน อย่างน้อยคนละ 1 ชนิด

    มนูอาหาร รูปภาพแปลงผัก ตามกิจกรรมแจ้งข่าว เล่าสู่

    ให้นักเรียนคิดเมนูอาหารว่างที่ประกอบด้วย ผัก ผลไม้ที่นักเรียนชอบทาน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

    สำหรับเมนูอาหารที่โรงเรียนจัด ถ้าเป็นเมนูที่ต้องใช้ผักที่โรงเรียนไม่มี จะไปขอซื้อจากชุมชน ซึ่งชุมชนจะไ้ด้รับข่าวสารการจัดเมนูอาหารกลางวันจากกิจกรรมนักประชาสัมพันธ์น้อย

     

    ให้ผู้ปกครองร่วมคิดเมนูอาหารร่วมกับทางโรงเรียนและวางแผนจัดหาแหล่งผลิตอาหาร

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

    มีการจัดเมนูอาหารล่วงหน้าโดยใช้โปรแกรมThai School Lunch

     

    ให้นักเรียนและผู้ปกครองได้จัดทำเมนูอาหารโดยใช้โปรแกรมThai School Lunch

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

    ครูประจำชั้นได้มีการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง แปรผล ภาคเรียนละ 2 ครั้ง
    ครั้งที่ 1 เดือนพฤษภาคม ครั้งที่ 2 เดือนสิงหาคม ครั้งที่3 พฤศจิกายน ครั้งที่ 4 เดือนกุมภาพันธ์ พร้อมกับบันทึกข้อมูลอย่างครบถ้วน

    สถานการณ์ภาวะโภชนาการ

    มีการติดตามภาวะโภชนาการด้วยตนเองในทุกๆเดือน

    3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

    สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

    ภาวะ2558 2/22559 1/12559 2/12559 2/2
    เตี้ย 0.98 0.98% 1.50 1.50% 1.50 1.50% 0.51 0.51%
    เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 4.88 4.88% 4.00 4.00% 4.00 4.00% 3.55 3.55%
    ผอม 1.46 1.46% 3.00 3.00% 0.50 0.50% 0.50 0.50%
    ผอม+ค่อนข้างผอม 7.32 7.32% 4.50 4.50% 3.50 3.50% 2.49 2.49%
    อ้วน 6.83 6.83% 7.50 7.50% 7.00 7.00% 6.97 6.97%
    เริ่มอ้วน+อ้วน 9.27% 9.27% 10.00% 10.00% 8.50% 8.50% 7.46% 7.46%
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

    โรงเรียนมีการแก้ปัญหานักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ โดยใช้กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านนักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนโดยร่วมมือกับภาคีเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงกลาง ออกติดตามเยี่ยมบ้านนักเรียนที่มีปัญหารายบุคคลทำความเข้าใจ ให้ความรู้กับผู้ปกครองนักเรียนเรื่องการบริโภคอาหารกิจกรรมร่างกายสมส่วน เชิญชวนมาออกกำลังกาย โดยในทุกๆวันหลังเลิกเรียนจะมีวิทยากรนำนักเรียนออกกำลังกายวันละ 45 นาที พร้อมทั้งการควบคุมอาหาร ซึ่งทำให้นักเรียนมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

    สถานการณ์ภาวะโภชนาการ ปี 2558- ปี 2559

    มีการติดตามภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่อง จากครู ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.ประจำบ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

    โรงเรียนมีการแก้ปัญหานักเรียนที่มีภาวะโภชนาการภาวะค่อนข้างผอมและผอม โดยมีการติดตามเยี่ยมบ้านรายบุคคล ให้ความรู้กับผู้ปกครองในการจัดเมนูอาหารเสริมให้กับนักเรียน

    สถานการณ์ภาวะโภชนาการ ปี 2558- ปี 2559

    มีการติดตามภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่อง จากครู ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.ประจำบ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

    โรงเรียนมีการแก้ปัญหานักเรียนที่มีภาวะโภชนาการภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย โดยมีการติดตามเยี่ยมบ้านนักเรียนที่มีปัญหารายบุคคล ให้ความรู้กับผู้ปกครองในการจัดเมนูอาหารเสริม กิจกรรมการออกกำลังกายให้กับนักเรียนที่โรงเรียนจะจัดมุมออกกำลังกายสำหรับเด็กที่มีภาวะเตี้ย เช่น ดื่มอาหารเสริมนม กิจกรรมเชือกกระโดด บาร์โหน

    สถานการณ์ภาวะโภชนาการ ปี 2558- ปี 2559

    มีการติดตามภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่อง จากครู ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.ประจำบ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

    มีการติดตามเยี่ยมบ้าน เพื่อรับฟังสภาพปัญหาและแก้ปัญหาร่วมกับผู้ปกครอง มีกิจกรรมเสริมรายบุคคล นักเรียนอ้วนได้รับการควบคุมอาหาร ให้ความรู้ออกกำลังกาย นักเรียนผอมและเตี้ยได้รับอาหารเสริม กิจกรรมออกกำลังกาย และนักเรียนประเมินภาวะโภชนาการได้ด้วยตนเอง

    รูปภาพตามกิจกรรม ร่างกายสมส่วนเชิญชวนมาออกกำลังกาย กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้านนักเรียนที่มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการ

    มีการติดตามภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่อง จากครู ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.ประจำบ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

    ทางโรงเรียนได้มีการประชุมผู้ปกครองนักเรียนที่มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการ และได้ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงกลางติดตามเยี่ยมบ้านนักเรียนรายบุคคล พูดคุยปัญหาและหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ประชุมกลุ่มเพื่อติดตามผลการแก้ไขปัญหา

    • รูปภาพ ตามกิจกรรม ติดตามเยี่ยมบ้านนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ

    มีการติดตามภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่อง จากครู ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.ประจำบ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

    หน่วยงานภาคีเครือข่ายให้ความร่วมมือในการสนับสนุนงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์
    - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงกลาง จัดอบรม ให้ความรู้ตรวจสุขภาพนักเรียนและรักษานักเรียนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ - องค์การบริหารส่วนตำบลดงกลาง มอบวัสดุ อุปกรณ์

    หมายเหตุ *

    • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    โรงเรียนรัฐประชาวิทยาคาร จังหวัด ร้อยเอ็ด

    รหัสโครงการ ศรร.1312-053

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายศักดิ์อนันต์ ยาวไธสง )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด