ชื่อโรงเรียน | โรงเรียนรัฐประชาวิทยาคาร |
สังกัด | ?? |
หน่วยงานต้นสังกัด | ?? |
ที่อยู่โรงเรียน | 130 หมู่ที่ 7 ตำบลดงกลาง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด |
จำนวนนักเรียน | 201 คน |
ช่วงชั้น | อนุบาล,ประถม,มัธยมต้น |
ผู้อำนวยการ | นายศักดิ์อนันต์ ยาวไธสง |
ครูผู้รับผิดชอบ | นางศิรมุขอันทะโคตร |
-ครูผู้รับผิดชอบการเงินโครงการและผู้รับผิดชอบโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนรัฐประชาวิทยาคารได้ดำเนินการคืนเงินดอกเบี้ยโครงการ จำนวนเงิน 43.82 บาท
- โครงการได้รับเงินดอกเบี้ยคืน จำนวน 43.82 บาท
ครูผู้ดูแลโครงการและผู้รับผิดชอบการเงิน เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำรายงานสรุปการเงินปิดโครงการ (ง2)และรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ (ส.3) แบบออนไลน์ โดยวิทยากรได้ตรวจเอกสารการเงินงวดที่2 และงวดที่ 3 และได้ลงข่อมูลในระบบออนไลน์อย่างเรียบร้อย
เอกสารการเงินได้รับการตรวจสอบความถูกต้องและลงข้อมูลในระบบออนไลน์อย่างเรียบร้อย
เชิญผู้บริหาร ครู นักเรียน ในโรงเรียนเครือข่าย 11 โรงเรียน เข้าร่วมงานแจ้งข่าว เล่าสู่ โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทุกโรงเรียนในเครือข่ายมาเข้าร่วมกิจกรรมครบทุกโรงเรียน ทำพิธีเปิดและบรรยายพิเศษความเป็นมาของโครงการโดย นายศักดิ์อนันต์ ยาวไธสง ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมกิจกรรมการแสดงของนักเรียนโรงเรียนรัฐประชาวิทยคาร 3 รายการ บรรยายการดำเนินโครงการจนประสบความสำเร็จโดย นางศิรมุข อันทะโคตร ผู้ดูแลโครงการ บรรยายการจัดบริการอาหารกลางวันโดยใช้โปรแกรม TSL โดย นางเทียนสว่าง มูลศรี ผู้รับผิดชอบงานโภชนาการ รับประทานอาหารว่างและอาหารกลางวัน ในช่วงบ่ายได้มีการเยี่ยมชมห้องเรียนต่างๆ และนิทรรศการเกี่ยวกับการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส และ ร่วมกันสรุปแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินงาน
บุคลากรในโรงเรียนเครือข่ายมีความสนใจในโครงการและจะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ดำเนินงานในโรงเรียนต่อไป
อบรมการสร้างโรงเรือนการเลี้ยงไก่ไข่ โดยให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติสร้างโรงเรือนเอง สำนักงานปศุสัตว์อำเภอจัดอบรมครู บุคลากร นักเรียน ในการเลี้ยงไก่ไข่เสริมไอโอดีนในโรงเรียน กลุ่มนักเรียนที่รับผิดชอบกิจกรรมได้ซื้อแม่พันธุ์ไก่พร้อมไข่ จำนวน 200 ตัวมาเลี้ยง และได้ดุูแลไก่พันธุ์ไข่ จนมีผลผลิตจำหน่ายให้สหกรณ์โรงเรียนเพื่อเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวัน
กลุ่มเลี้ยงไก่ไข่มีผลผลิตโดยเฉลี่ยวันละ 85 ฟอง โดยได้จำหน่ายไข่ไก่ผ่านระบบสหกรณ์โรงเรียนเพื่อเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวัน ทำให้นักเรียนได้รับประทานไข่เฉลี่ย 2 ฟอง/สัปดาห์ ครบตามสัดส่วนที่กำหนด
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเลี้ยงไส้เดือนพันธุ์ AF ซึงเป็นพันธุ์ที่มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของโรงเรียน โดยกลุ่มผู้เลี้ยงไส้เดือนบ้านไฟเลี้ยว จ.ร้อยเอ็ด มาเป็นวิทยากรในการอบรม โดยให้ความรู้ รายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับไส้เดือน วิธีการเตรียมเบดดิ้ง วิธีการดูแล และวิธีการนำมูลไส้เดือนไปใช้ พร้อมกับให้นักเรียนลงมือปฏิบัติ
นักเรียน ครู บุคลากร มีความรู้เรื่องไส้เดือน สามารถเลี้ยงไส้เดือน และมีมูลไส้เดือนไว้สำหรับใช้ในกิจกรรมเกษตรในโรงเรียน
นักเรียนประจำหมู่บ้านในเขตบริการได้ไปประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการทุกๆวันจันทร์
นักเรียนได้ฝึกทักษะการอ่าน ผู้ปกครองมีความพึงพอใจในความสามารถของบุตรหลาน ชุมชนได้รับทราบข่าวสารการดำเนินงานของโครงการศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใสโรงเรียนรัฐประชาวิทยาคาร และได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว
นางเทียนสว่าง มูลศรี และนางศิรมุข อันทะโคตร เข้าเข้าประชุมการจัดทำรายงานการเงินงวดที่1 เพื่อรับงบประมาณงวดที่ 2 ที่โรงแรมเจริญธานี จ.ขอนแก่น
ผู้รับผิดชอบด้านการเงินมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดทำรายงานงวด และสามารถส่งรายงานงวดที่ 1 ได้สำเร็จและได้รับการการโอนเงินงวดที่ 2 อย่างเรียบร้อย
- เสนอผู้บริหารเพื่อขออนุมัติทำกิจกรรม
- แจ้งนักเรียน ผู้ปกครอง ขอความร่วมมือในการบริจาคพันธุ์กล้วยน้ำว้า
- นักเรียน ผู้ปกครอง ร่วมกิจกรรมวันแม่ที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น เสร็จแล้วก็ช่วยกันปลูกกล้วย
- มีต้นกล้วยน้ำหว้าในโรงเรียน จำนวน 40 ต้น โรงเรียนมีปริมาณต้นกล้วยเพิ่มมากขึ้นนักเรียนที่ปลูกต้นกล้วยรับผิดชอบดูแลต้นกล้วยให้เจริญเติบโตและมีผลผลิต
- กล้วยน้ำหว้าสามารถนำมาเป็นวัตถุดิบของเมนูอาหารกลางวันได้ในภาคเรียนต่อไป
- ขออนุมัติผู้บริหารเพื่อจัดกิจกรรม
- แจ้งตัวแทนผู้ปกครองผู้นำนักเรียนแม่ครัว คณะครู เข้ารับการอบรม
- ดำเนินการอบรมการจัดทำเมนูอาหารตามโปรแกรม TSL
- ประเมินผลการดำเนินงานการจัดกิจกรรมอบรม
ครู ตัวแทนผู้ปกครอง ตัวแทนนักเรียนมีความรู้เรื่องคุณภาพการจัดเมนูอาหารมากขึ้น นักเรียน แม่ครัวและผู้ปกครองบางส่วนสามารถจัดทำรายการอาหารตามโปรแกรม TSL ได้ และได้นำความรู้เกี่ยวกับการจัดเมนูอาหารไปเผยแพร่ให้กับเพื่อนบ้านเพื่อจัดเมนูอาหารเช้าให้กับนักเรียนได้รับประทานก่อนมาโรงเรียน
- เสนอขออนุมัติผู้บริหารในการดำเนินกิจกรรม
- แจ้งนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
- จัดเตรียมอุปกรณ์ประกอบการออกกำลังกาย
- ทำหนังสือประสานงานวิทยากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้และผู้นำการออกกำลังกาย
- ดำเนินการตามกิจกรรมโดยวิทยากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาให้ความรู้กับนักเรียน และในช่วงหลังเลิกเรียนทุกๆวัน วิทยากรผู้นำการออกกำลังกายจะนำนักเรียนออกกำลังกายวันละ 45 นาที กิจกรรมที่ทำ คือ เล่นฮุลาฮูป และกระโดดเชือก และออกกำลังกายทั่วไป
- ติดตาม ประเมินผลการทำกิจกรรม
นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความกระตือรือล้นในการร่วมกิจกรรมทุกวันนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์มีน้ำหนักลดลง สุขภาพดีขึ้นผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการทำกิจกรรมมาก ในบางวันก็จะมีผู้ปกครองมาร่วมทำกิจกรรมด้วย
- เสนอขออนุมัติผู้บริหารในการกิจกรรม
- ประสานงานถึง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงกลาง เพื่อขอความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม.ประจำหมู่บ้าน
- แจ้งผู้ปกครองนักเรียน ที่มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์และต่ำกว่าเกณฑ์
- คณะทำงานที่ประกอบด้วย ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูประจำชั้นอสม.ประจำหมู่บ้านเจ้าหน้าสาธารณสุขตำบลดงกลางออกเยี่ยมบ้านนักเรียนรายบุคคลตามหนังสือที่แจ้ง พร้อมทั้งให้ความรู้
- ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านนักเรียนที่มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการ จำนวน30 คน และได้พูดคุยกับผู้ปกครองนักเรียน ทำให้ทราบปัญหาหลายๆ อย่าง เช่นนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ชอบดื่มน้ำอัดลมขนมกรุบกรอบในเวลาหลังเลิกเรียนและวันหยุดและไม่ชอบออกกำลังกาย แต่บางคนก็มีปัญหาด้านสุขภาพเรื่องโรคอ้วน ไปหาหมอรักษาแต่ก็ยังไม่ลดนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์มีสาเหตุมาจากการไม่ชอบดื่มนมไม่ค่อยกินข้าว
- ผู้ปกครองเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอสม.ประจำหมู่บ้าน คณะครู ประชุม เพื่อหารือการแก้ปัญหาร่วมกัน
- ติดตามผลการเปลี่ยนแปลงต่อไป
- ผู้ปกครองและครูทราบปัญหาการที่นักเรียนมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ มาจากสาเหตุทางด้านกรรมพันธุ์การกินอาหารว่างบ่อยๆในช่วงวันหยุดและปิดภาคเรียนนักเรียนไม่ค่อยออกกำลังกาย พอกินอาหารว่างเสร็จก็นอนดูโทรทัศน์เล่นเกมส์
- ผู้ปกครองได้รับความรู้ และมีความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์และต่ำกว่าเกณฑ์
- ผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการควบคุม ดูแลเมนูอาหารการออกกำลังกาย ให้กับนักเรียนอย่างใกล้ชิด
- นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
- จัดทำป้ายไวนิลรูปแบบการจัดชุดสำรับอาหารกลางวันหมุนเวียน 5 วันทำการต่อสัปดาห์ (จันทร์-ศุกร์) ขนาด 2 * 3 เมตร จำนวน 1 แผ่น
- จัดทำป้ายมาตรฐานอาหารกลางวันโรงเรียนไทย สำหรับเด็กไทยแต่ละวัยใน 1 สัปดาห์ (ปริมาณและความถี่ของอาหารกลุ่มต่างๆ ที่จัดเสิร์ฟเป็นอาหารกลางวันและอาหารเสริมระหว่างมื้อ) ขนาด 2 * 3 เมตร จำนวน 1 แผ่น ติดไว้ที่หน้าโรงอาหาร
นักเรียนครู แม่ครัว ได้รับความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการจัดชุดสำรับอาหารกลางวันหมุนเวียน 5 วันทำการต่อสัปดาห์และความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานอาหารกลางวันโรงเรียนไทย สำหรับเด็กไทยแต่ละวัยใน 1 สัปดาห์ (ปริมาณและความถี่ของอาหารกลุ่มต่างๆ ที่จัดเสิร์ฟเป็นอาหารกลางวันและอาหารเสริมระหว่างมื้อ) สามารถนำไปใช้ในการจัดเมนูสำหรับตัวเองและคนในครอบครัว
- ทางโรงเรียนได้จัดทำเมนูอาหารตามโปรแกรม TSLตามวัยของนักเรียน เช่นเมนูระดับอนุบาล
วันที่ อาหาร
15/09/59 - ข้าวสวยขาว 90 กรัม 1.5 ทัพพี
- ฝรั่ง 1/2 ผลส่วนที่กินได้124 กรัม
- นมสด ยูเอชที รสจืด
- น้ำพริกกะปิ ปลาทูทอด (เผ็ดน้อย) ผักจิ้ม (ปลาทู 1/2 ตัวกลาง)
- ไก่ทอดกระเทียมพริกไทย 2 ช้อนกินข้าว
เมนูวัยประถม
วันที่ อาหาร
15/09/59- ข้าวสวยขาว 150 กรัม2.5 ทัพพี
- มะม่วงแก้วสุก 1/2 ผล ส่วนที่กินได้ 80 กรัม
- นมสด ยูเอชที รสจืด 200 ml
- ส้มตำไทย ผักสด
- ไก่ทอดกระเทียม ผักเคียง
- ขออนุมัติผู้บริหารในการดำเนินกิจกรรม
- ประสานงานกับผู้นำชุมชนในการใช้เครื่องขยายเสียงในการประชาสัมพันธ์
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เป็นตัวแทนแต่ละหมู่บ้านรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามกิจกรรมของศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใสสู่ชุมชน เป็นระยะ โดยการอ่านเสียงตามสายในหมู่บ้านในเขตบริการทั้ง 4 หมู่บ้านทุกวันจันทร์ เพื่อฝึกให้นักเรียนกล้าแสดงออก เพิ่มทักษะการอ่าน ให้ความรู้ด้านโภชนาการ อาหารปลอดภัยและรายงานความก้าวหน้าของโครงการให้ชุมชนได้รับรู้อย่างทั่วถึง
- ชุมชนในเขตบริการทั้ง 4 หมู่บ้านได้รับข่าวสารความรู้ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการดำเนินโครงการศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใส
- ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมกิจกรรมกองทุนข้าวเปลือกโดยการบริจาคข้าวเปลือกเพื่อจัดเมนูอาหารกลางวันตามโปรแกรม TSL มีการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ตามแผนการจัดเมนูอาหารกลางวัน เพื่อให้วัตถุดิบเพียงพอต่อการจัดเมนูอาหารกลางวันนักเรียนร่วมบริจาคหน่อกล้วยเพื่อมาปลูกตามกิจกรรมเพิ่มปริมาณการปลูกกล้วยน้ำว้า
- เสนอผู้บริหารขอดำเนินกิจกรรม
- แจ้งผู้มีส่วนร่วม สนับสนุน ผู้ปกครองนักเรียน เพื่อเข้าร่วมประชุมประกาศนโยบาย
- จัดเตรียมเอกสาร สถานที่
- ผู้อำนวยการโรงเรียนนายศักดิ์อนันต์ ยาวไธสงผู้รับผิดชอบโครงการได้ดำเนินการประกาศนโยบาย โดยมีผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรอำเภอจตุรพักตรพิมานผู้อำนวยการโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน สมาชิกสภาจังหวัดร้อยเอ็ดผู้นำชุมชน ผู้ปกครองนักเรียนคณะครู เข้าร่วมรับฟัง
- นางศิรมุขอันทะโคตรผู้ดูแลโครงการ ได้พูดคุยเรื่อง การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการและสมรรถภาพทางกายของนักเรียน การจัดบริการสุขภาพอนามัย
- นางประจิตจันทะสิงห์ ผู้ดูแลระบบออนไลน์ ได้พูดคุยเรื่อง การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะการจัดการเรียนรู้ระบบสหกรณ์
- นางเทียนสว่างมูลศรีผู้รับผิดชอบด้านการเงินและด้านการจัดบริการอาหารกลางวัน ได้พูดคุยเรื่อง การจัดบริการอาหารกลางวันตามโปรแกรม TSL
- ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรอำเภอจตุรพักตรพิมานสมาชิกสภาจังหวัดร้อยเอ็ด พูดคุยกับผู้ปกครองคณะครู นักเรียน มีประเด็นในการพูดคุยเรื่องสถานการณ์ปัจจุบันของชุมชนการดูแลตัวเอง (สำหรับนักเรียน) การดูแลลูกหลาน(สำหรับผู้ปกครอง) ให้ห่างไกลจากสารเสพติดการช่วยกันรักษาสมบัติของส่วนรวม
- ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน ได้พูดคุยเรื่อง สถานการณ์เรื่องโรคต่างๆในปัจจุบัน การดูแลรักษาสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัวการเลือกรับประทานที่มีผลต่อสุขภาพสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียน
- สมาชิกสภาจังหวัดร้อยเอ็ด (นายคำสีสืบเมืองซ้าย) ได้พูดคุยเรื่องการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
ผู้กำกับสถานีตำรวจภูธรอำเภอจตุรพักตรพิมาน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน สมาชิกสภาจังหวัดร้อยเอ็ด ผู้ปกครอง นักเรียน เข้าใจนโยบายโครงการศูนย์การเรียนรู้เด็กไทยแก้มใส และผู้ปกครอง นักเรียนมีความยินดีที่โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการ และยินดีที่จะให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนในทุกๆเรื่อง หน่วยงานต่างๆที่เข้าร่วมรับฟังประกาศนโยบายมีความยินดี ชื่นชมกับกิจกรรมที่โรงเรียนได้จัด ผลที่เกิดขึ้นหลังจากรับฟังการชี้แจงประกาศนโยบาย - ผู้ปกครองให้การสนับสนุนจัดทำกองทุนข้าวเปลือก โดยมีความเห็นว่า โรงเรียนเป็นโรงเรียนขยายโอกาส มีงบประมาณน้อย เพราะงบประมาณสนับสนุนอาหารกลางวันได้จากระดับ อนุบาล 1 ถึง ป.6 นักเรียนจาก ม.1 - ม.3 ไม่มีงบประมาณอาหารกลางวันให้ ถ้าจะจัดเมนูอาหารอย่างมีคุณภาพตามโปรแกรม TSL ต้องมีงบประมาณเพิ่ม ทางผู้ปกครองก็เลยจัดตั้งโครงการกองทุนข้าวเปลือกให้กับทางโรงเรียน - นักเรียนและผู้ปกครอง ปลูกผักเพิ่มเพื่อนำมาจัดทำเมนูอาหารกลางวันโรงเรียน - หลังจากที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพตนเองจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน ผู้ปกครอง นักเรียน มีความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น - ตัวแทนสมาชิกสภาจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ให้การสนับสนุนโดยแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาดูแลกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน