รายละเอียดโครงการ
ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบ้านหนองไผ่ล้อม
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2
โรงเรียนเครือข่าย view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) 100,000.00 บาท
งบประมาณสมทบจากราชการ 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากเอกชน 0.00 บาท
งบประมาณสมทบจากชุมชน 0.00 บาท
รวมงบประมาณทั้งหมด 100,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผอ.วุฒิพงษ์ วงษ์ชู
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 นางถาวร อินทรจำปา
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 นางศิริสุข ผดุงโชค
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 นายวีระพล ศรีสะอาด
ที่ปรึกษาโครงการ 1 นางแน่งน้อย ธูปแช่ม
ที่ปรึกษาโครงการ 2 พัฒนาที่ดิน จ.ชัยภูมิ
ที่ปรึกษาโครงการ 3 องค์การบริหารส่วนตำบลนาหนองทุ่ม
ผู้ประสานงานภาค นายธนา เวชากุล
หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2 ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น

สถานการณ์ปัญหาการบริโภคอาหารและโภชนาการภายในโรงเรียนบ้านหนองไผ่ล้อม โดยภาพรวม นักเรียนไม่นิยมบริโภคผักและการจัดทำอาหารกลางวันไม่สามารถดำเนินการให้ครบอาหารหลัก5หมู่ส่งผลให้นักเรียนบางคนยังมีน้ำหนักส่วนสูง ไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานคิดเป็นร้อยละ17.86 บทเรียนความสำเร็จในการจัดการปัญหาด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพนักเรียนที่ผ่านมาโรงเรียนได้ดำเนินการอย่างไร และผลลัพธ์เป็น เช่นไร โรงเรียนได้ดำเนินการตามโครงการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงโดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนในระดับชั้นป.4 - 6ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่จำนวน50ตัวเลี้ยงปลาดุกปีละ800ตัวเลี้ยงกบปีละ500ตัวปลูกผักสวนครัว24แปลง ผลจากการดำเนินการทำให้โรงเรียนได้ผลผลิตทุกกิจกรรมนำมาใช้ในการประกอบอาหารตามโครงการอาหารกลางวันครบอาหารหลัก5หมู่ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องยั่งยืนโรงเรียนบ้านหนองไผ่ล้อม จึงได้จัดทำโครงการโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใส ขึ้น โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติและพัฒนาสู่โรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใส เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้กินอิ่มอย่างมีคุณภาพ แก้มใส โภชนาการสมวัย สุขภาพแข็งแรง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี เติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

กรอบแนวคิด

ปัจจัย

  1. ผู้บริหาร ครู กรรมการสถานศึกษานักเรียน
  2. งบประมาณ
  3. วัสดุอุปกรณ์
  4. การบริหารจัดการ

กระบวนการ

  1. กิจกรรมการเลี้ยงไก่ พันธุ์ไข่
  2. กิจกรรมการเลี้ยงปลาดุก
  3. กิจกรรมการเลี้ยงกบ
  4. กิจกรรมการเพาะเห็ด
  5. กิจกรรมการปลูกผักสวนครัว

ผลผลิต

  1. นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์
  2. นักเรียนมีน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐาน
  3. นักเรียนได้รับอาหารหลัก 5 หมู่
กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก
นักเรียน 182
ครู/บุคลากรในโรงเรียน 12
ผู้ปกครอง 100
รวมกลุ่มเป้าหมายหลัก 294294
ผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน
กรรมการสถานศึกษา 0
อสม. 0
ชุมชน 0
ผู้นำศาสนา 35
ท้องถิ่น เช่น เทศบาล, อบต., อบจ. 0
หน่วยงานรัฐ เช่น สสจ., สสอ., รพ.สต., สนง.เกษตร, สนอ.ปศุสัตว์, สนง.ประมง, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน 0
อื่น ๆ 0
รวมผู้มีส่วนร่วม/ผู้สนับสนุน 35
ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองไผ่ล้อม ได้กินอิ่มอย่างมีคุณภาพ ปลอดสารเคมี แก้มใสโภชนาการสมวัย บริโภคถูกต้องตามหลักโภชนาการ

  2. นักเรียนโรงเรียนบ้านข่อย มีภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง การเจริญเติบโต ของร่างกายเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน

  3. นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองไผ่ล้อม มีทัศนะที่ดีและตระหนักรับรู้ในหน้าที่รับผิดชอบ ตามที่ได้รับมอบหมาย นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองไผ่ล้อม มีจิตสาธารณะและมีคุณภาพที่ดี เติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนา ประเทศชาติต่อไป

เป้าหมายภาวะโภชนาการ
  1. มีองค์กรความร่วมมือจากชุมชนและภายนอกเข้าร่วมโครงการ

  2. นักเรียนสามารถจัดทำบัญชีสหกรณ์นักเรียน

  3. ผลผลิตทางการเกษตร นักเรียนมีความรู้และเข้าใจในการเกษตร

  4. นักเรียนมีความรู้เรื่องโภชนาการและสุขภาพที่ดี สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล

โรงเรียนได้ดำเนินการโครงการเด็กไทยแก้มใส ภายใต้โครงการเศรษฐกิจพอเพียงเคียงคู่ประชาธิปไตย ซึ่งมีกิจกรรม ย่อยหลายกิจกรรมเช่น โครงการเพาะเห็ดนางฟ้าโครงการเลี้ยงไก่พื้นเมือง โครงการเลี้ยงเป็ดเทศ โครงการเลี้ยงไก่พันธ์ไข่โครงการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซิเมนต์ และการปลูกพืชผักในที่ว่าง ในกระถางในโรงเรียนเพื่อโครงการอาหารกลางวัน นั้น ทางโรงเรียนได้แต่งตั้งครูและนักเรียนที่รับผิดชอบแต่ละโครงการ มีการรายงานผลให้ทางผู้บริหารได้ทราบภายในวันที่ 5 ของเดือนทุกเดือนและผู้บริหารได้ดำเนินการนิเทศติดตามด้วยการสังเกตและสอบถามเป็นระยะ จากการนิเทศติดตามพบว่าทุกโครงการได้ดำเนินการได้เป็นอย่างดี สามารถนำผลผลิตที่ได้ไปจำหน่ายเข้าโครงการอาหารกลางวัน ส่วนที่เหลือจำหน่ายในชุมชน มีรายได้ จัดทำบัญชีรับจ่ายอย่างชัดเจนและเป็นปัจจุบัน

พื้นที่ตั้งโรงเรียน หมู่ 5 บ้าหนองไผ่ล้อม ตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ
ละติจูด-ลองจิจูด 16.046349617295,102.16997087002place
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 2 พ.ค. 2559 30 ก.ย. 2559 40,000.00
2 1 ต.ค. 2559 28 ก.พ. 2560 1 ต.ค. 2559 30 มี.ค. 2560 55,000.00
3 1 มี.ค. 2560 30 เม.ย. 2560 5,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความตระหนักและภารกิจหน้าที่เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียนชุมชนและหน่วยงานสนับสนุนโครงการเด็กไทยแก้มใสทั้งระบบ

มีองค์กรความร่วมมือจากชุมชนและภายนอกเข้าร่วมโครงการ

2 เพื่อปรับปรุงพัฒนาสหกรณ์นักเรียน และให้นักเรียนรู้จักการออม

นักเรียนสามารถจัดทำบัญชีสหกรณ์นักเรียน

3 เพื่อส่งเสริมปัจจัยในการผลิตทางด้านการเกษตรทั้งในและนอกโรงเรียน

ผลผลิตทางการเกษตร นักเรียนมีความรู้และเข้าใจในการเกษตร

4 เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกโรงเรียนให้ถูกสุขอนามัย

นักเรียนมีความรู้เรื่องโภชนาการและสุขภาพที่ดี สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

กิจกรรมหลัก

กิจกรรมย่อย

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
16 พ.ค. 59 - 30 พ.ย. 59 กิจกรรมที่ 5 การเลี้ยงเป็ด 194 8,000.00 14,000.00 more_vert
16 พ.ค. 59 - 30 พ.ย. 59 กิจกรรมที่ 1 เกษตรในโรงเรียน 194 10,818.00 11,600.00 more_vert
16 พ.ค. 59 - 30 พ.ย. 59 กิจกรรมที่ 3 การเพาะเห็ด 194 6,750.00 0.00 more_vert
16 พ.ค. 59 - 30 พ.ย. 59 กิจกรรมที่ 6 เกษตรปลอดสารพิษ 194 10,000.00 0.00 more_vert
16 พ.ค. 59 กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ 329 10,950.00 21,350.00 more_vert
16 พ.ค. 59 - 30 พ.ย. 59 กิจกรรมที่ 8 กิจกรรม อย.น้อย 194 5,275.00 600.00 more_vert
16 พ.ค. 59 - 30 พ.ย. 59 กิจกรรมที่ 9 กิจกรรมแพทย์แผนไทย 194 7,275.00 600.00 more_vert
16 พ.ค. 59 - 30 พ.ย. 59 กิจกรรมที่ 10 กิจกรรมสหกรณ์ 194 3,000.00 0.00 more_vert
25 พ.ค. 59 กิจกรรมที่ 4 การเลี้ยงปลาดุก 329 6,740.00 0.00 more_vert
2 ก.ย. 59 การพัฒนาศักยภาพบุคลากร 2 4,792.00 7,450.00 more_vert
16 - 17 ก.ย. 59 กิจกรรมที่ 2การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน 329 26,400.00 10,000.00 more_vert
21 มี.ค. 60 ไก่ไข่ 222 0.00 16,400.00 more_vert
21 มี.ค. 60 คืนดอกเบี้ยเพื่อปิดโครงการ 2 0.00 42.26 more_vert
รวม 2,571 100,000.00 13 82,042.26

ไฟล์เอกสาร

โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2559 13:58 น.