ชื่อโรงเรียน | โรงเรียนบ้านหนองไผ่ล้อม |
สังกัด | ?? |
หน่วยงานต้นสังกัด | ?? |
ที่อยู่โรงเรียน | หมู่ที่ 5 ตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ |
จำนวนนักเรียน | 182 คน |
ช่วงชั้น | อนุบาล,ประถม |
ผู้อำนวยการ | ผอ.วุฒิพงษ์ วงษ์ชู |
ครูผู้รับผิดชอบ | นางถาวร อินทรจำปา |
นักเรียนเข้าร่วม กิจกรรมได้ลงมือในการปฏิบัติจริง ในการเลี้ยงปลาดุกตั้งแต่ขั้นตอน
-การเตรียมสถานที่
-ทำความสะอาดบ่อ
-ใส่ดินในบ่อ
-ใส่น้ำและพืชน้ำธรรมชาติ
-ปล่อยปลา
-การให้อาหาร
-การดูแลปลา
-การสังเกตการณ์เกิดโรค
-การจับปลา
ทุกขั้นตอนนักเรียนได้ปฏิบัติอย่างถูกวิธีและได้จับปลาดุกเพื่อใช้เป็นอาหารกลางวันในโครงการอาหารกลางวัน
ในการเลี้ยงปลาดุกครั้งนี้ นักเรียนสามารถเลี้ยงปลาดุกได้ถูกต้องรวมทั้งมีความสุขในการปฏิบัติ
- ได้ปลาดุกเพื่อใช้เป็นอาหารกลางวันในโครงการอาหารกลางวัน
- นักเรียนมีความรู้ด้านอาชีพ
- นักเรียนมีความรู้ด้านอาชีพการเลี้ยงปลา
- นักเรียนเกิดทักษะในการบริหารจัดการ และการทำงานเพื่อส่วนรวม
คืนดอกเบี้ยเพื่อปิดโครงการ
คืนดอกเบี้ยเพื่อปิดโครงการ
รู กรรมการสถานศึกษาฯ ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงาน รับทราบ นโยบาย แนวปฏิบัติของการขับเคลื่อนโครงการฯ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ได้เข้าร่วมกิจกรรมเกษตรปลอดสารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กิจกรรมให้ความรู้ความเข้าใจและการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติตนเอง การทำงาน การนำเนินชีวิตในสังคม การให้ความรู้ด้านการเกษตรแบบปลอดสารเคมีโดยใช้ระบบชีวภาพทั้งระบบ แบ่งเป็นการประมง การเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืชผักสวนครัว การปฏิบัติ การขายจุลินทรีย์EM การทำปุ๋ยหมัก การตอนและชำกิ่งมะนาว การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงเป็ดเนื้อ การปลูกสวนครัวและปลูกผัก
ผู้เข้าอบรมให้ความสนใจในการเข้าร่วมรับการอบรม ได้รับความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การเกษตรปลอดสารพิษ ผู้เข้าอบรมได้ร่วมลงมือปฏิบัติจริงในกิจกรรมด้านการเกษตร สามารถปฏิบัติได้ตามกิจกรรมที่กำหนดและเสนอแนวทางเพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ในครอบครัว ชุมชนได้ ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชนพร้อมให้ความร่วมมือช่วยเหลือโรงเรียนในการขับเคลื่อนเพื่อให้โรงเรียนสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืน สู่การพึ่งพาตนเองได้
ไก่ไข่
ขั้นตอนการดำเนินการ
1. ประชุมวางแผนการดำเนินงานแต่งตั้งผู้รับผิดชอบ
2. จัดทำโรงเรือนเพาะเห็ด
3. จัดซื้อก้อนเชื้อเห็ด
4. จัดผู้รับผิดชอบเพาะเห็ดนางฟ้า
5. ดำเนินการเพาะเห็ด ดูแลเอาใจใส่รดน้ำ เก็บผลผลิต โดยนักเรียนในชุมนุม และ ครูผู้รับผิดชอบ
1.นักเรียนได้เรียนรู้โดยการฝึกปฏิบัติจริง 2.นักเรียนมีความรู้ประสบการณ์ในการนำไปพัฒนาประกอบอาชีพ 3.นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจและรู้จักประหยัด 4.นักเรียนได้อาหารกลางวันในโครงการอาหารกลางวันโรงเรียน
กระบวนการ ปฎิบัติกิจกรรม
1.กิจกรรมการปลูกพืชผัก
2.กิจกรรมการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่
3.กิจกรรมการเลี้ยงปลา
นักเรียนได้รับประทานผักปลอดสารพิษ นักเรียนได้รู้วิธีปลูกผักสวนครัวได้ถูกวิธี นักเรียนได้รับโปรตีนจากอาหารที่ทำจากไข่ไก่เพียงพอ นักเรียนได้รู้วิธีเลี้ยงปลากินพืช นักเรียนรู้จักวิธีเลี้ยงไก่พันธ์ุไข่ นักเรียนได้บริโภคเนื้อปลา
1.จัดหาอุปกรณ์ 2.การเลือกพันธุ์เป็ด 3.การจัดหาอาหารเป็ด 4.วิธีการเลี้ยงและดูแลเป็ด 5.การป้องกันโรคในเป็ด 6.วิธีการเก็บไข่เป็ดจำหน่าย
- นักเรียนมีความสามารถในการเลี้ยงเป็ดและสามารถนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน
- นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย
- นักเรียนสามารถผลิตไข่เป็ดจำหน่ายและสนับสนุนโครงการอาหารกลางวัน
1.จัดหาอุปกรณ์ 2.การเลือกพันธุ์ไก่ไข่ 3.การจัดหาอาหาร 4.วิธีการเลี้ยงดูแลไก่ 5.การป้องกันโรคไก่ไข่ 6.วิธีการเก็บไข่ไก่จำหน่าย
- นักเรียนมีความสามารถในการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่และสามารถนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน
- นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย
- นักเรียนสามารถผลิตไข่ไก่จำหน่ายและสนับสนุนโครงการอาหารกลางวัน
อบรมโครงการเด็กไทยแก้มใส เพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ภายใต้การบูรณาการงานใน 8 กิจกรรม ได้แก่ 1) เกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดบริการอาหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการนักเรียน 5) การพัฒนาสุขนิสัยนักเรียน 6) การพัฒนางานอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพในโรงเรียน และ การเรียนรู้เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย เพื่อนำไปสู่การปฎิบัติอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้นักเรียนพัฒนา ใน 8 กิจกรรม ได้แก่
1) เกษตรในโรงเรียน
2) สหกรณ์นักเรียน
3) การจัดบริการอาหารของโรงเรียน
4) การติดตามภาวะโภชนาการนักเรียน
5) การพัฒนาสุขนิสัยนักเรียน
6) การพัฒนางานอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ
7) การจัดบริการสุขภาพในโรงเรียน
8) การเรียนรู้เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย
- ประชุมคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง ในการวางแผนการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย
1.1 แผนการประชาสัมพันธ์ และขั้นตอนการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย 1.2 ขั้นตอนรายละเอียดกิจกรรมดำเนินการ ที่สอดคล้องตามสภาวะของสุขภาพ 1.3 การวางแผนติดตามการประเมินผล- ดำเนินการตามแผนงานโครงการ 2.1 นักเรียนได้เรียนรู้ด้านการแพทย์แผนไทย 2.2 เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยและเผยแพร่ในชุมชน
- สรุปผลการดำเนินการ
นักเรียนสามารถดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยอาศัยการนำเอาองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกรวมถึงการนำเอาธรรมชาติรอบตัวมาใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ เช่นการรักษาโรคด้วยสมุนไพร การออกกำลังกายด้วยกายบริหารฤๅษีดัดตน การนวด อบ และประคบด้วยสมุนไพร การรับประทานอาหารตามหลักธรรมชาติบำบัด การทำสมาธิบำบัด การฝึกโยคะเพื่อสุขภาพ เป็นต้น
โรงเรียนบ้านหนองไผ่ล้อม จึงเห็นความสำคัญของการคุ้มครองผู้บริโภค จึงได้จัดตั้งชมรม อย.น้อยขึ้นในโรงเรียน และได้จัดกิจกรรม อย.น้อย เพื่อเป็นการให้ความรู้เบื้องต้นเรื่องความปลอดภัยของอาหาร การตระหนักในความสำคัญของความปลอดภัยของอาหาร การรู้จักปกป้องตนเอง รู้จักการเลือก สังเกต หรือทดสอบและรู้จักปฏิเสธอาหารที่ไม่ปลอดภัย จึงเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝนตั้งแต่เด็กเพื่อให้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ตลอดไปอย่างยั่งยืน
ภาพรวมของโครงการ 1) นักเรียนทุกคน มีความรู้ และความเข้าใจ ถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค 2) นักเรียนทุกคนสามารถปฏิบัติและเลือกซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและปลอดภัยใน ชีวิตประจำวัน 3) นักเรียนสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่น ตลอดจนมีเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคทั้งในโรงเรียนและชุมชน
ครู กรรมการสถานศึกษาฯ ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงาน รับทราบ นโยบาย แนวปฏิบัติของการขับเคลื่อนโครงการฯ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ได้เข้าร่วมกิจกรรมค่าย ครู นร. ชุมขน โรงเรียนเครือข่ายเข้าร่วมกิจกรรมอบรม ปี
นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชนกลุ่มเป้าหมายให้ความร่วมมือในการร่วมกิจกรรม สามารถดำเนินการตามกิจกรรมที่กำหนด นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชนกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ด้านสุขภาพอนามัย และมีผลลงานกลุ่มในการกำหนดแนวดำเนินการเพื่อพัฒนาสุขภาพอนามัย สู่วิถีสุขภาพได้ ได้รับความร่วมมือจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นไปตามวัตถุประสงค์
การดำเนินงานกิจกรรม 1.ประชุมวางแผนการดำเนินงาน 2.แต่งตั้งคณะกรรมการ 3.จัดทำเอกสารชี้แจงหลักการของสหกรณ์ 4.ดำเนินงานตามโครงการ 5.กำกับ ติดตามผล 6.ประเมินผลและรายงานผล
1.นักเรียนมีความรู้พื้นฐานเรื่องสหกรณ์และฝึกให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง
2.นักเรียนมีการวางแผนในการใช้จ่าย
3.ให้นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย