ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก (กองทัพบกอุปถัมภ์)


“ โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก (กองทัพบกอุปถัมภ์) ”

132 หมู่ที่9 ตำบลตาวัง อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ 32230

หัวหน้าโครงการ
นายสุพจน์ บุญแย้ม

ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก (กองทัพบกอุปถัมภ์)

ที่อยู่ 132 หมู่ที่9 ตำบลตาวัง อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ 32230 จังหวัด สุรินทร์

รหัสโครงการ ศรร.1311-073 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-อ.27

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2016 ถึง 30 เมษายน 2017


กิตติกรรมประกาศ

"โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก (กองทัพบกอุปถัมภ์) จังหวัดสุรินทร์" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน 132 หมู่ที่9 ตำบลตาวัง อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ 32230

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก (กองทัพบกอุปถัมภ์) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก (กองทัพบกอุปถัมภ์)



บทคัดย่อ

โครงการ " โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก (กองทัพบกอุปถัมภ์) " ดำเนินการในพื้นที่ 132 หมู่ที่9 ตำบลตาวัง อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ 32230 รหัสโครงการ ศรร.1311-073 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 80,000.00 บาท จาก โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก (กองทัพบกอุปถัมภ์) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 97 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก(กองทัพบกอุปถัมภ์)จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมและสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานอื่นในการสนับสนุนโครงการเด็กไทยแก้มใส
  2. เพื่อส่งเสริมปัจจัยในการผลิตทางด้านการเกษตร ปศุสัตว์ และประมง ทั้งในและนอกโรงเรียน สู่โครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
  3. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะด้านการเกษตรและสหกรณ์
  4. เพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียนและการจัดการอาหารสำหรับนักเรียน
  5. เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม อาคารสถานที่ ให้ถูกสุขลักษณะ และปลอดภัย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. เด็กนักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัย มีอารมณ์และสติปัญญาที่ดีขึ้น รวมทั้งมีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง
    2. โรงเรียนมีรูปแบบลดปัญหาโภชนาการและสุขภาพของเด็กนักเรียนลงได้ มีความรู้และแนวทางในการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็กนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
    3. พ่อแม่ ผู้ปกครองและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนาเด็กนักเรียนในด้านต่างๆ ช่วยสร้างเสริมความอบอุ่นและความเข้มแข็งให้กับครอบครัวและชุมชน ตลอดจนเกิดความยั่งยืนในการดำเนินงาน
    4. ชุมชนมีความตระหนัรู้และตื่นตัวในการจัดการด้านอาหาร โภชนาการและสุขภาพของนักเรียน

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. กิจกรรมอบรมพัฒนาบุคลากรโปรแกรม TSL

    วันที่ 27 เมษายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ครูจำนวน 2 คน เข้ารับการอบรมพัฒนาศักยภาพ ด้านการใช้โปรแกรม Thai School Lunch และระบบเฝ้าระวังโภชนาการ(ที่กรุงเทพฯ)
    2. ครูจำนวน 1 คน และแม่ครัว ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาคุณภาพอาหารกลางวันในโรงเรียน  (สพป.สุรินทร์ เขต 3 จัดวันที่ 31 กรกฎาคม  2559)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. บุคลากรที่ดูแลโครงการฯ ได้เข้ารับการอบรมโรงเรียนละ 2 คน
    2. บุคลากรสามารถใช้โปรแกรม TSLในการวางแผนจัดบริการอาหารกลางวันได้อย่างถูกต้อง

     

    2 2

    2. ประชุมผู้ปกครองและชุมชน อบรม สร้างความเข้าใจและจัดทำแผนปฏิบัติการ

    วันที่ 16 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดกิจกรรมประชุมครู ผู้ปกครองนักเรียน ร่วมประกาศนโยบาย ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2559 ณ โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก(กองทัพบกอุปถัมภ์)
    2. จัดกิจกรรมศึกษา แลกเปลี่ยนรู้ การดำเนินโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส กิจกรรมการเกษตรและกิจกรรมสหกรณ์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม  2559  ที่โรงเรียนบ้านโคกจำเริญ สพป.สุรินทร์เขต 3 สหกรณ์ผกาสะเร็น  และตลาดน้ำราชมงคล 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ครู ผู้ปกครอง และชุมชนรับทราบแนวทางปฏิบัติของโครงการเด็กไทยแก้มใส
    2. ครู ผู้ปกครอง และชุมชน ร่วมจัดทำแผนปฏิบัติงาน จำนวน 50 คน
    3. ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานเข้าใจนโยบายและร่วมจัดทำคู่มือปฏิบัติงานโครงการเด็กไทยแก้มใส
    4. ครู ผู้ปกครอง และชุมชนร่วมจัดทำคู่มือกิจกรรม แก้มใสใส่ใจสุขภาพเด็ก และสร้างเครือข่ายชุมชนแก้มใส
    5. ครูผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน มีความเข้าใจในนโยบายและแนวปฏิบัติการดำเนินโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสมากขึ้น โดยมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมดังนี้
          - การส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรในชุมชนเพื่อนำ่สู่โครงการอาหารกลางวันโรงเรียน
          - การมีส่วนร่วมในการพัฒนา ปรับปรุงบริบทโรงเรียน
          - การดูแล ส่งเสริมสุขภาพ บุตรหลาน

     

    64 70

    3. กิจกรรม การตรวจรับรองคุณภาพน้ำและการปรับปรุงคุณภาพน้ำดื่ม เทอมที่ 1 ปีการศึกษา 2559

    วันที่ 16 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการตรวจเครื่องกรองน้ำดื่ม โดยเปลี่ยนไส้กรอง ทำความสะอาด เทอมละ 1 ครั้ง
    1. ปรับปรุงเครื่องกรองน้ำดื่มโดยเปลี่ยนใส้กรองเครืองกรองน้ำดื่มทุกๆเทอม
    2. จัดทำระบบน้ำดื่มสะอาด บริการนักเรียนและคร บุคลากรในโรงเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียนได้ดื่มน้ำดื่มที่สะอาด ปลอดภัย
    2. โรงเรียนมีจุดบริการนำ้ดื่มสะอาด 1 จุด สำหรับบริการนักเรียน และครู อย่างเพียงพอ

     

    106 103

    4. กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพอาหารว่างและกลางวัน เทอมที่ 1 ปีการศึกษา 2559

    วันที่ 16 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. โรงเรียนจัดทำรายการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนโดยใช้โปรแกรม TCL
    2. โรงเรียนจัดอาหารโดยส่งครู และแม่ครัวเข้ารับการอบรมด้านการจัดรายการอาหาร และการปรุงอาหารกลางวันที่ถูกสุขลักษณะ
    3. ครูทุกคน และแม่ครัว ตักอาหารให้นักเรียนตามปริมาณและสัดส่วน ที่นักเรียนต้องการ
    4. โรงเรียนมีการกำกับ ติดตาม การประกอบอาหารของแม่ครัวอย่างใกล้ชิด
    5. โรงเรียนจัดอาหารว่าง ผลไม้ และเครื่องดื่มได้มาตรฐาน โดยในสหกรณ์โรงเรียนไม่ขายน้ำอัดลมและเครื่องดื่มที่มีรสหวาน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. โรงเรียนจัดทำรายการอาหารกลางวันล่วงหน้า อย่างน้อย 1 เดือน โดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch ตามมาตรฐานโภชนาการซึ่งสอดคล้องกับภาวะสุขภาพและผลผลิตทางการเกษตร ปศุสัตว์ ในโรงเรียน
    2. แม่ครัวโรงเรียนมีการปรุงอาหารถูกหลักโภชนาการ สุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัย
    3. ครูทุกคนตักอาหารให้นักเรียนตามปริมาณและสัดส่วนความต้องการของนักเรียนแต่ละคนและทันเวลา โดยเด็กอ้วน และผอม และน้ำหนักปกติ จะตักอาหารให้ไม่เท่ากัน เพื่อแก้ไขภาวะโภชนาการของนักเรียนรายคน
    4. โรงเรียนจัดอาหารว่าง ผลไม้ ขนม เครื่องดื่มได้มาตรฐานโภชนาการ
    5. นักเรียนไม่เกิดโรคระบาดของอาหารเป็นพิษ ุ6. ผลจากการดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน จากการเก็บข้อมูลพบว่า     - เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน 2559  มีนักเรียนที่มีภาวะค่อนข้างผอมและผอม จำนวน 16 คน มีจำนวนคนคงที่ แต่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 9 คน สำหรับนักเรียนที่มีภาวะผอม ก็มีพัฒนาด้านนำ้หนักมาเป็นค่อนข้างผอม แต่ยังต้องเสริมพัฒนาต่อไป
          - เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน 2559  มีนักเรียนที่มีภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย จากจำนวน 1ุ6 คน ลดลงเหลือ 14 คน
          - เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน 2559  มีนักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน จากจำนวน 1ุ1 คน ลดลงเหลือ 10 คน

     

    149 156

    5. กิจกรรม5 ส. ในโรงเรียน เทอมที่ 1 ปีการศึกษา 2559

    วันที่ 16 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนร่วมพัฒนาบริบท อาคารสถานที่ในโรงเรียน
    2. โรงเรียนให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง เพื่อนำไปปฏิบัติที่บ้าน
    3. นักเรียนทุกคนร่วมกันทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนทุกวัน
    4. ครูและนักเรียนร่วมกันพัฒนาห้องเรียนของตนเองให้สะอาด ปลอดภัยต่อสุขภาพของนักเรียน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. อาคารสถานที่ บริเวณรอบโรงเรียน และสิ่งแวดล้อม ในโรงเรียน สะอาด ปลอดภัย น่าอยู่ น่าเรียน
    2. นักเรียนให้ความร่วมมือทำกิจกรรมเสียสละ เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น ความสะอาดบริเวณโรงเรียน ชุมชน ดูแลและใช้ส้วมให้ถูกสุขลักษณะ ทิ้งขยะในที่รองรับ และใช้ของอย่างประหยัด
    3. นักเรียนมีความสุขในการเรียน
    4. นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยบ่อย

     

    152 158

    6. กิจกรรมเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการและสมรรถภาพทางกายนักเรียน เทอมที่ 1 ปีการศึกษา 2559

    วันที่ 16 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. โรงเรียนมีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงของนักเรียน และประเมินภาวะโภชนาการของนักเรียน คัดกรองนักเรียนแต่ละกลุ่ม และดำเนินการแก้ไข พัฒนานักเรียน จำนวนนักเรียนที่ได้รับการตรวจ 94 คน ในระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถม 6
    2. โรงเรียนมีการส่งเสริมสมรรถภาพทางกายนักเรียน โดยจัดกิจกรรมออกกำลังกายทุกวันพฤหัสบดี กิจกรรมการเล่นก๊ฬาและการแข่งขันกีฬาสี
    3. ครูประจำชั้นดำเนินการทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียน อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.  นักเรียนจำนวน 94  คน พบว่า
      - มีนักเรียนมีน้ำหนักอยู้ในเกณฑ์ปกติ...67...คน มีภาวะคอนข้างผอมและผอม...17....คน เริ่มอ้วนและอ้วน...10..คน
      - มีส่วนสูงตามเกณฑ์.....80.......คน  ตค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย.......14..... 3. นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีสมรรถภาพทางกายเหมาะสมตามวัย โดยในปลายเทอมที่ 1 ปีการศึกษา 2559 มีนักเรียนที่ทดสอบสมรรถภาพทางกายทั้งสิ้น 92 คน มีสมรรถภาพทางกายตามวัย จำนวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ  89.13 สำหรับนักเรียนที่ไม่ได้รับการทดสอบ คือ ด.ญ.กรรณิกา  แรงทอง (พิการด้านร่างกาย) และ ด.ช. รัชชานนท์  บุบพิ (ผ่าตัดลิ้นหัวใจรั่ว)
    4.ครูและผู้ปกครองรับทราบข้อมูลนำไปสู่การแก้ไข โดยการปรับเมนูอาหารกลางวัน และกิจกรรมออกกำลังกายที่เหมาะสมกับเด็ก

     

    105 199

    7. กิจกรรมธนาคารขยะ เทอมที่ 1 ปีการศึกษา 2559

    วันที่ 16 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นักเรียนมีการทำความสะอาดห้องเรียนและบริเวณโรงเรียนทุกครั้ง มีรายละเอียดดังนี้ (เช้า - เย็น) 1. นักเรียนแยกขยะในชั้นเรียนของตนเองก่อนนำทิ้ง 2. นักเรียนทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนตามเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ 3. นักเรียนนำขยะบางชนิดกลับมาใช้ประโยชน์อีก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นักเรียนชั้น อ. 1 - ป. 6 จำนวน 94 คน  มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง
    2. นักเรียนชั้น อ. 1 - ป. 6 จำนวน 94 คน  ทำความสะอาดบริเวณเขตพื้นที่รับผิดชอบตอนเช้าทุกวัน 3.  นักเรียนนำวิธีการคัดแยกขยะไปใช้ในครัวเรือนของตนเองและขยายผลไปยังเพื่อนบ้านใกล้เคียง
    3. นักเรียนเห็นคุณค่าของการแยกขยะ และนำวัสดุบางชนิดที่ใช้แล้วกลับมาใช้ประโยชน์อีก เช่น การทำตะกร้าจากกระดาษ  การทำกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก


     

    161 153

    8. ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ศึกษาดูงานการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์

    วันที่ 9 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. พานักเรียนที่เป็นแกนนำการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน จำนวน 11 คนครูจำนวน 9 น และผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 40 คน ศึกษาดูงานการดำเนินกิจกรรมสกรณ์ที่โรงเรียนบ้านโคกจำเริญ สพป.สุรินทร์ เขต 3 และสหกรณ์ผกาสะเร็น อ.ปราสาทในวันที่ 9 สิงหาคม 2559
    2. แกนนำนักเรียนดำเนินกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียน และมีนักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียนเป็นสมาชิก
    3. นักเรียนแกนนำดำเนินกิจกรรมสหกรณ์ออมทรัพย์ โดยมีนักเรียนทุกคนร่วมกิจกรรม
    4. นักเรียนแกนนำดำเนินกิจกรรมสหกรณ์การเกษตร ซึ่งมีผลผลิต ได้แก่ เห็ด พืชผัก ไข่เป็ด ไข่ไก่ และปลา
    5. โรงเรียนได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์และการสนับสนุนงบประมาณจากสกรณ์อำเภอบัวเชด 2,000 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. สหกรณ์นักเรียนจัดจำหน่ายเฉพาะผลผลิตทางการเกษตร ปศุสัตว์ และอุปกรณ์การเรียน (ปลอดนำ้อัดลมและขนมกรุบกรอบ)
    2. คณะกรรมการสหกรณ์ดำเนินกิจกรรมและจัดทำบัญชีต่างๆของสหกรณ์ตลอดปีการศึกษา
    3. มีคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียนที่จัดตั้งและดำเนินการโดยนักเรียน มีนักเรียนเป็นสมาชิกและมีวาระในการทำงานอย่างน้อย 1 ปีการศึกษา
    4. มีสมาชิกซึ่งประกอบด้วยนักเรียน และครู บุคลากรในโรงเรียน ปุัจจุบันมีจำนวนสมาชิก 74 คน คิดเป็นร้อยละ 71.84
    5. นักเรียนได้เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่มรียน มีความรู้ ความเข้าใจการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์มากขึ้นและสามารถนำมาขยายผลให้กับนักเรียนในโรงเรียนได้ ุ6. นักเรียนเข้าใจหลักการดำเนินงานของสหกรณ์ ฝึกความรอบคอบในการจัดทำบัญชี และฝึกอาชีพพื้นฐานการค้าขาย
    6. ครู มีความเข้าใจในกิจกรรมสหกรณ์ และสามารถนำมาบูรราการในการจัดการเรียนรู้ได้
    7. ผู้ปกครองมีความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์ของนักเรียน และให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

     

    97 146

    9. กิจกรรมตรวจสุขภาพนักเรียน เทอมที่ 1 ปีการศึกษา 2559

    วันที่ 24 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คณะเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.บ้านหนองโจงโลงออกตรวจสุขภาพนักเรียนและฉีดวัคชืน (วันทีี 24  ส.ค. 2559)
    2. หน่วยทัตกรรมจาก รพ.บัวเชด ออกบริการตรวจฟันและแนนำให้ความรู้เรื่องการดูแลฟัน (วันที่ 29 ส.ค. 2559)
    3. ครูเวรประจำวันตรวจความสะอาดร่างกายของนักเรียนทุกๆวัน
    4. ครูอนามัยและแกนนำนักเรียน วัดนำ้หนัก ส่วนสูง และแปรผลภาวะโภชนาการนักเรียนทุกๆเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.  นักเรียนทุกคนได้รับการตรวจร่างกายและการช่วยเหลือแก้ไขการเจ็บป่วยในเบื้องต้นอย่างเหมาะสม
    2. นักเรียนทุกคนได้รับการตรวจสุขภาพและตรวจฟันจากบุคากรสาธารณสุขและ รพ.บัวเชด สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพฟัน ได้รับการส่งต่อรักษาที่ โรงพยาบาลบัวเชด
    3. นักเรียนทุกคนรู้จักดูแลและใส่ใจความสะอาดของร่างกายและสุขภาพขอนตนเองดีขึ้น ทำให้ไม่เจ็บป่วยบ่อย และร่างกายมีภูมิต้านทาน 4. นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรงและมีภาวะโชนาการดีขึ้น สำหรับคนที่มีปัญหาก้ได้รับการแก้ไขปัญหา 5. ครูอนามัย ครูเวรประจำวัน ตรวจสุขภาพด้านต่างๆ ของนักเรียนเป็นประจำ 6.  นักเรียนเรียนรู้กระบวนการกลุ่ม ฝึกการเป็นผู้นำในการดูแลช่วยเหลือกัน

     

    100 108

    10. กิจกรรมเลี้ยงเป็ดไข่/ไก่ไข่

    วันที่ 26 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -โรงเรียนมีการเลี้ยงเป็ดไข่จำนวน  80  ตัว โดยมีกลุ่มนักเรียนแกนนำที่ดูแล จำนวน 5 คน ซึ่งมีหน้าที่ ดังนี้
      1. ผสมอาหารเป็ด โดยนำรำอ่อน ปลายข้าว และ หัวอาหารเป็ด ผสมกัน สัปดาห์หนึ่งใช้ประมาณ 4 กระสอบปุ๋ย   2. ดูและให้อาหารเป็ด เช้า-เย็น
      3. ทำความสะอาดคอกเป็ด เดือนละ 1 ครั้ง
      4. จัดเก็บผลผลิต และจำหน่ายให้สกรณ์ร้านค้าโรงเรียน ในราคาฟองละ 4 บาท   5. จัดทำบัญชี รายรับ-รายจ่าย การดำเนินกิจกรรมเลี้ยงเป็ดไข่ -โรงเรียนมีการเลี้ยงไก่ไข่  54  ตัว โดยมีกลุ่มนักเรียนแกนนำที่ดูแล จำนวน 5 คน ซึ่งมีหน้าที่ ดังนี้
      1. ดูและให้น้ำและอาหาร  เช้า- เที่ยง-เย็น
      2. ทำความสะอาดคอกเป็ด สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
      3. จัดเก็บผลผลิต และจำหน่ายให้สกรณ์ร้านค้าโรงเรียน ในราคาฟองละ 3.33 บาท   4. จัดทำบัญชี รายรับ-รายจ่าย การดำเนินกิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. โรงเรียนมีไข่เป็ดและไข่ไก่ เพื่อประกอบอาหารกลงวันสำหรับนักเรียน สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
    2. นักเรียนจัดทำการแปรรูปไข่เป็ด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับไข่เป็ด โดยทำเป็นไข่เค็ม ขายให้โครงการอาหารกลางวันนักเรียนนำไปประกอบอาหารกลางวัน
    3. นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และเพียงพอต่อความต้องการ
    4. มีผลผลิตไข่หมุนเวียนเพื่อประกอบอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน และมีรายได้หมุนเวียนในโรงเรียน
    5. ผลผลติสามารถกระจายสู่ชุมชน โดยผ่านสหกรณ์นักเรียน
    6. นักเรียนได้ฝึกทักษะอาชีพด้านการเลี้ยงสัตว์

     

    97 103

    11. กิจกรรมเพาะเห็ดนางฟ้า

    วันที่ 26 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • โรงเรียนมีการเพาะเห็ดในโรงเรือน 1 หลัง และขยายผลอีก 3 หลัง โดยเพาะเห็ดในแท้งค์นำ้เก่าที่ไม่ไช้แล้ว การดำเนินการมีดังนี้
          1. จัดสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดหลังที่ 1 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณและแรงงานจากทหารและชุมชน ในการร่วมสร้าง
          2. จัดซื้อก้อนเห็ดนางฟ้า 1,000 ก้อน ก้อนละ 7 บาท
          3. เพาะเห็ดนางฟ้าในโรงเรือน ดูแลรดนำ้ เช้า - เที่ยง - เย็น โดยแกนนำนักเรียน 4 คน
          4. จัดเก็บผลผลิตเช้า - เย็น เพื่อจำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวันโรงเรียนประกอบอาหาร ได้แก่ ต้มยำไก่  ผัดกะเพราหมูใส่เห็ด ลาบเห็ด ฯลฯ     5. นำผลผลิตกระจายสู่ชุมชน
          6. นำผลผลิตแปรรูปเป็นเห็ดทอดกรอบ จำหน่ายในโรงเรียนและชุมชน
          7. ขยายโรงเรือนเพาะเห็ดไปอีก 3 จุด คือ แท้งค์น้ำเก่า 3 ถัง
         

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. โรงเรียนมีเห็ดนางฟ้าเพื่อประกอบอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
    2. นักเรียนมีการแปรรูปเห็ด โดยทำเป็นเห็ดทอดกรอบ และแหนมเห็ด
    3. นักเรียนได้ฝึกทักษะอาชีพ
    4. นักเรียนได่รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอต่อความต้องการ
    5. โรงเรียนมีการนำผลผลิตกระจายสู่ชุมชน


     

    99 105

    12. กิจกรรมปลูกผักสวนครัว

    วันที่ 31 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ช่วงเวลาในการทำกิจกรรมปลูกผัก ตลอดปีการศึกษา
    1. โรงเรียนจัดพื้นที่ปลูกผักสวนครัวสำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง
    2. โรงเรียนจัดหาเมล็ดพันผัก สำหรับให้นักเรียนปลูก ได้แก่ คะน้า กวางตุ้ง ผักกาด  ผักบุ้ง ฟักทอง ข้าวโพด ผักชี ถั่ว มะเขือ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธ์ุผักจากนายอำเภอบัวเชด
    3. โรงเรียนจัดทำระบบน้ำ อำนวยความสะดวกแก่นักเรียนในการรดน้ำ
    4. หน่วยงานทหารสอนการทำปุ๋ยอินทรีย์แก่ผู้ปกครองและนักเรียน และนำปุ๋ยมาใช้ในการปลูกผักของนักเรียนและผู้ปกครอง ตลอดการทำกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นักเรียนมีทักษะในการปลูกผักและดูแลผักสวนครัว
    2. โรงเรียนมีผักสวนครัวเพื่อประกอบอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน ได้แก่ คะน้า กวางตุ้ง ผักกาด  ผักบุ้ง ฟักทอง ข้าวโพด ผักชี ถั่ว มะเขือ ฯลฯ
    3. โรงเรียนมีแผนการผลิตพืชผักที่สอดคล้องกับรายการอาหารกลางวันนักเรียน
    4. นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และเพียงพอต่อความต้องการ
    5. จัดจำหน่ายพืชผักสวนครัวผ่านสหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียน

     

    97 108

    13. กิจกรรม การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำรายงานศูนย์การเรียนรู้ ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส งวดที่ 1 และขอเบิกงวดที่ 2

    วันที่ 25 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ครู และบุคลากรจำนวน 2 คน เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ที่โรงแรมสุนีย์แกรนด์ จ.อุบลราชธานี ในวันที่ 25  ตุลาคม  2559 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ครูและบุคลากรในโรงเรียนจำนวน 2 คน เข้ารับการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ
    2. โรงเรียนมีการจัดทำสรุปรายงานโครงการที่ถูกต้อง สมบูรณ์ 

     

    2 2

    14. กิจกรรม การตรวจรับรองคุณภาพน้ำและการปรับปรุงคุณภาพน้ำดื่ม เทอมที่ 2 ปีการศึกษา 2559

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการตรวจเครื่องกรองน้ำดื่ม โดยเปลี่ยนไส้กรอง ทำความสะอาด เทอมละ 1 ครั้ง 1. ปรับปรุงเครื่องกรองน้ำดื่มโดยเปลี่ยนใส้กรองเครืองกรองน้ำดื่มทุกๆเทอม 2. จัดทำระบบน้ำดื่มสะอาด บริการนักเรียนและคร บุคลากรในโรงเรีย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต -ปรับปรุงคุณภาพน้ำดื่มให้สะอาดและเพียงพอกับนักเรียน ผลลัพธ์
    -นักเรียนและบุคลากรมีน้ำดื่มสะอาดไว้บริโภค

     

    103 103

    15. กิจกรรมธนาคารขยะ เทอมที่ 2 ปีการศึกษา 2559

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.นักเรียนมีการทำความสะอาดห้องเรียนและบริเวณโรงเรียนทุกครั้ง มีรายละเอียดดังนี้ (เช้า - เย็น)
    2. นักเรียนแยกขยะในชั้นเรียนของตนเองก่อนนำทิ้ง
    3. นักเรียนทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนตามเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ
    4. นักเรียนนำขยะบางชนิดกลับมาใช้ประโยชน์อีก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต
    1. นักเรียนมีการคัดแยกก่อนทิ้ง
    2. โรงเรียนมีวิธีกำจัดขยะได้ถูกวิธี 3. นักเรียนนำวิธีการคัดแยกขยะไปใช้ในชุมชน

    ผลลัพธ์
    1.ลดมลภาวะในโรงเรียน 2. นักเรียนเห็นคุณค่าของขยะ 3.โรงเรียน และชุมชนปลอดขยะ

     

    103 103

    16. กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพอาหารว่างและกลางวัน เทอมที่ 2

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. โรงเรียนจัดทำรายการอาหารกลางวันโดยใช้โปรแกรม TCL และจัดอาหารว่างทุกวัน โดยเน้นไปที่ผลไม้
    2. แม่ครัวปรุงอาหารที่ถูกสุขลักษณะ
      3.แม่ครัวครูเวรประจำวันนักเรียนแกนนำ ตักอาหารกลางวันบริการนักเรียนตามสัดส่วน ที่นักเรียนต้องการ
    3. สหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียนไม่จัดจำหน่ายขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. โรงเรียนจัดทำรายการอาหารล่วงหน้า อย่างน้อย 1 เดือน โดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch ตามมาตรฐานโภชนาการที่สอดคล้องกับภาวะสุขภาพและผลผลิตทางการเกษตรในโรงเรียนหรือชุมชน 2.แม่ครัวมีการปรุงประกอบอาหารถูกหลักโภชนาการ สุขาภิบาลอาหาร และอาหารปลอดภัย 3.มีการตักอาหารให้นักเรียนตามปริมาณและสัดส่วนของธงโภชนาการที่เหมาะสมกับวัย และทันเวลา 4.โรงเรียนจัดอาหารว่าง ขนม และเครื่องดื่มที่ได้มาตรฐานโภชนาการ 5.นักเรียนจำนวน94คน ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สะอาด ปลอดภัย ถูกหลักโภชนาการ และเพียงพอต่อความต้องการ ุ6. นักเรียนจำนวน 94 คน ไม่เกิดโรคระบาดของอาหารเป็นพิษ

     

    104 103

    17. กิจกรรมเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการและสมรรถภาพทางกายนักเรียน เทอมที่ 2

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. โรงเรียนมีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงของนักเรียน และประเมินภาวะโภชนาการของนักเรียน คัดกรองนักเรียนแต่ละกลุ่ม และดำเนินการแก้ไข พัฒนานักเรียนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
    2. โรงเรียนมีการส่งเสริมสมรรถภาพทางกายนักเรียน โดยจัดกิจกรรมออกกำลังกายทุกวันพฤหัสบดี กิจกรรมการเล่นก๊ฬาและการแข่งขันกีฬาสี
    3. ครูประจำชั้นดำเนินการทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียน อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง
    4. นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพและให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพจากบุคลากรสาธารณสุขหรือที่เกี่ยวข้อง ภาคเรียนละ 1 ครั้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนที่ภาวะเริ่มอ้วน อ้วน ผอม และเตี้ย ลดลง
    2. นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีสมรรถภาพทางกายเหมาะสมตามวัย
    3.โรงเรียนมีระบบการเฝ้าระวังการเจริญเติบโตและสมรรถภาพทางกายของนักเรียน 4. ครู ผู้ปกครอง ร่วมกันแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน
    5.นักเรียนชั้น อ.1 ป. 6 มีการเจริญเติบโตตามวัยมีภาวะเตี้ย ร้อยละ 2.20ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 8.80 ภาวะผอมและค่อนข้างผอม ร้อยละ 7.69 ุ6. นักเรียนชั้น ป. 1- ป. 6 ร้อยละ 93.05 มีสมรรถภาพทางกายผ่่านเกณฑ์
    - เครือข่ายผู้ปกครองมีความเข้มแข็งในการดำเนินงานแก้ปัญหา ภาวะโภชนาการของนักเรียน

     

    105 109

    18. กิจกรรม5 ส. ในโรงเรียน เทอมที่ 2ปีการศึกษา 2559

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    •  ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนร่วมพัฒนาบริบท อาคารสถานที่ในโรงเรียน
    •  โรงเรียนให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง เพื่อนำไปปฏิบัติที่บ้าน •  นักเรียนทุกคนร่วมกันทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนทุกวัน •  ครูและนักเรียนร่วมกันพัฒนาห้องเรียนของตนเองให้สะอาด ปลอดภัยต่อสุขภาพของนักเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต - อาคารสถานที่ บริเวณรอบโรงเรียน และสิ่งแวดล้อม ในโรงเรียน สะอาด ปลอดภัย
    น่าอยู่ น่าเรียน - นักเรียนให้ความร่วมมือทำกิจกรรมเสียสละ เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น ความสะอาดบริเวณโรงเรียน ชุมชน ดูแลและใช้ส้วมให้ถูกสุขลักษณะ ทิ้งขยะในที่รองรับ และใช้ของอย่างประหยัด ผลลัพธ์
    - นักเรียนมีความสุขในการเรียน
    - นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยบ่อย

     

    103 103

    19. กิจกรรมตรวจสุขภาพนักเรียน เทอมที่ 2 ปีการศึกษา 2559

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คณะเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.บ้านหนองโจงโลง และนักศึกษาฝึกประสบการณ์ ออกตรวจสุขภาพนักเรียน  (วันทีี 21  มีนาคม 25ุ60)
    2. คณะเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.บ้านหนองโจงโลง และนักศึกษาฝึกประสบการณ์ ให้ความรู้วัคซีนจมน้ำ  (วันทีี  17 มีนาคม 25ุ60)
    3. ครูเวรประจำวันตรวจความสะอาดร่างกายของนักเรียนทุกๆวัน
    4. ครูอนามัยและแกนนำนักเรียน วัดนำ้หนัก ส่วนสูง และแปรผลภาวะโภชนาการนักเรียนทุกๆเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1. นักเรียนได้รับการตรวจร่างกายและการช่วยเหลือแก้ไขการเจ็บป่วยในเบื้องต้นอย่างเหมาะสม
    2.นักเรียนได้รับการตรวจฟันจากบุคลากรสาธารณสุข 3.โรงเรียนมีแกนนำนักเรียนในการทำกิจกรรมส่งเสริม สุขภาพในโรงเรียน
    4. ครูอนามัย ครูเวรประจำวัน ตรวจสุขภาพด้านต่างๆ ของนักเรียนเป็นประจำ

    ผลลัพธ์
    1.นักเรียนชั้น อ.1 - ป. 6 จำนวน94คน รู้จักการดูแลสุขภาพและความสะอาดของร่ายกาย 2.นักเรียนเรียนรู้กระบวนการกลุ่ม ฝึกการเป็นผู้นำในการดูแลช่วยเหลือกัน
    3.นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย และร่างกายมีภูมิต้านทาน 4. นักเรียน ป.1-6 จำนวน71คน ได้เรียนรู้วิธีการดูแล ป้องกันตนเองจากการจมน้ำ

     

    105 103

    20. กิจกรรม ประชุมครูอาหารกลางวันและครูอนามัยในเครือข่ายวังสะเภา 10 โรงเรียน

    วันที่ 27 ธันวาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมครูอาหารกลางวัน และครูอนามัย ในอำเภอบัวเชด จำนวน23คน เมื่องวันที่ 27ธันวาคม2559 ณ โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก(กองทัพบกอุปถัมภ์) ต.ตาวังอ.บัวเชดจ.สุรินทร์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ตัวแทนครูที่รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวัน และครูอนามัย จำนวน20 คน เข้ารับการอบรม เกี่ยวกับการจัดอาหารกลางวันและการดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียนในโรงเรียนเด้กไทยแก้มใส 2.ตัวแทนครูที่รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวันและครูอนามัย เข้าใจการดำเนินกิจกรรมในโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส

     

    20 30

    21. เพาะเห็ดนางฟ้า ครั้งที่ 2

    วันที่ 17 มกราคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดซื้อก้อนเห็ดนางฟ้าจำนวน 1,300 ก้อน เพืื่อให้นักเรียนได้นำมาเพาะในโรงเรือน นำผลผลิตสู่โครงการอาหารกลางวันโรงเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.โรงเรียนมีเห็ดนางฟ้าเพื่อประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียนและการแปรรูปอาหาร 2.นักเรียนจัดทำการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตด้านการเกษตร และส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งสร้างนิสัยในการเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ 3.นักเรียนได้รับอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอต่อความต้องการ 4. นักเรียนได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ฝึกทักษะอาชีพและส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งสร้างนิสัยในการเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

     

    108 0

    22. เลี้ยงเป็ดไข่/ไก่ไข่

    วันที่ 2 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดซื้อแม่เป็ดไข่/ไก่ไข่ เพิ่มอีก ชนิดละจำนวน10ตัวเพื่อนำมาต่อยอดโครงการให้มีความยั่งยืน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. โรงเรียนมีไข่เป็ด/ไข่ไก่เพื่อประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
    2. โรงเรียนมีผลผลิตไข่หมุนเวียนเพื่อประกอบอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน
    3. นักเรียนจัดทำการแปรรูปไข่เป็ด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับไข่เป็ด โดยทำเป็นไข่เค็มสมุนไพร
    4. นักเรียนได้รับอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอต่อความต้องการ
    5. ลดต้นทุนการซื้อไข่เป็ด/ไข่ไก่และรายได้หมุนเวียนในโรงเรียน โดยในปีการศึกษา 2559 โครงการอาหารกลางวันโรงเรียนซื้อไ่ข่เป็ด/ไข่ไก่ จากกลุ่มผู้ผลิตในโรงเรียนจำนวน 13,724บาท
    6. นักเรียนได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและฝึกทักษะอาชีพ ึ7. โรงเรียนนำผลผลิตกระจายสู่ชุมชน ผ่านกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ซึ่งปีการศึกษา 2559 โรงเรียนมีรายได้จากการขายไข่เป็ด /ไข่ไก่ ให้สมาชิกสหกรณืทั่วไปในโรงเรียนและชุมชน จำนวน 42,955 บาท

     

    110 108

    23. จัดซื้อวัสดุดำเนินกิจกรรมสหกรณ์

    วันที่ 2 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดซื้อวัสดุดำเนินกิจกรรมเพื่อนำมาต่อยอดโครงการให้มีความยั่งยืน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สหกรณ์นักเรียนที่จัดจำหน่ายอุปกรณ์การเรียน อาหารว่าง และเครื่องดื่มมีคุณภาพได้มาตรฐานตามหลักโภชนาการ 2. นักเรียนดำเนินกิจกรรมและจัดทำบัญชีต่างๆของ กิจกรรมสหกรณ์ได้ 3. มีคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียนที่จัดตั้งและดำเนินการโดยนักเรียน มีนักเรียนเป็นสมาชิกและมีวาระในการทำงานอย่างน้อย 1 ปีการศึกษา 4. มีระบบรับสมัครสมาชิกด้วยความสมัครใจ เปิดกว้างสำหรับนักเรียนทุกคน และมีการเก็บค่าหุ้น 5. นักเรียนได้รับประทาน อาหารว่าง และเครื่องดื่มที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตามหลักโภชนาการ 6. นักเรียนเข้าใจหลักการดำเนินงานของสหกรณ์ ฝึกความรอบคอบในการจัดทำบัญชี และฝึกอาชีพพื้นฐานการค้าขาย
    7.นักเรียนได้เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่ม 8. ปัจจุบันสหกรณ์โรงเรียนมีสมาชิกดำเนินกิจกรรมจำนวน 83คน คิดเป็นร้อยละ 88.30 มีหุ้นในสหกรณ์ 3,610 บาท ดำเนินการแล้วปัจจุบันมีกำไรสุทธิ6,306บาท

     

    106 116

    24. กิจกรรมศูนย์การเรียนรู้เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย

    วันที่ 8 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. โรงเรียนจัดทำเอกสารประกอบการเรียนรู้ สำหรับให้นักเรียนได้เรียนรู้ เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย ได้ด้วยตนเอง
    2. โรงเรียนจัดทำแหล่งเรียนรู้ด้าน เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1. โรงเรียนจัดทำเอกสารประกอบการเรียนรู้ สำหรับให้นักเรียนได้เรียนรู้ เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย ได้ด้วยตนเอง
    2. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ด้าน เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย 3.นักเรียนมีความรู้ เจตคติ ทักษะ พฤติกรรมทางด้านการเกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการ และสุขภาพที่พึงประสงค์ ในเรื่อง การปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ เพื่อการบริโภคและหรือขาย

     

    164 165

    25. กิจกรรมเลี่้ยงปลาดุกในกระชัง

    วันที่ 8 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เลี่ยงปลาดุกในกระชัง จำนวน 2,800 ตัว 2.เลี้ยงปลากินพืชแบบธรรมชาติ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. นักเรียนร่วมกับครู มีการปล่อยพันธุ์ลูกปลาดุกบิ๊กอุย จำนวน 2800 ตัว ในบ่อเลี้ยงแบบกระชัง จำนวน 4กระชังและมีการแบ่งเวรนักเรียนชั้น ป.4-6 ในการให้อาหารปลาดุก และการดูแลบ่อเลี้ยง ซึ่งปลาดุกจะมีการเจริญเติบโต และใช้เวลาในการเลี้ยงดู เป็นเวลา 3เดือนซึ่งสามารถนำผลผลิตมาประกอบเป็นอาหารในโครงการอาหารกลางวันให้กับนักเรียน
    2. นักเรียนได้รับอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอต่อความต้องการ
    3. โรงเรียนมีปลาดุกเพื่อประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียน

     

    97 102

    26. กิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงาน

    วันที่ 8 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นักเรียนจัดทำป้ายถอดบทเรียนความรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเเพียง กิจกรรมตามโครงการเด็กไทยแก้มใส
    • โรงเรียนจัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักเรียนในโรงเรียน
    • โรงเรียนจัดแหล่งเรียนรู้ย่อย ไว้ตามจุดต่างๆ ในโรงเรียน
    • โรงเรียนจัดแสดงผลงานเมื่อสิ้นปีการศึกษา
    • โรงเรียนจัดทำเอกสารเผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มให้กับโรงเรียนในเครือข่าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. จัดนิทรรศการแสดงผลงานในโรงเรียน
    2. จัดแหล่งเรียนรู้ย่อย ไว้ตามจุดต่างๆ ในโรงเรียน
    3. จัดแสดงผลงานเมื่อสิ้นปีการศึกษา
    4. โรงเรียนจัดทำเอกสารเผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มให้กับโรงเรียนในเครือข่าย 5.ผู้ปกครองและชุมชน ทราบถึงผลการดำเนินโครงการเด็กไทยแก้มใส
    5. ครู นักเรียนที่มาศึกษาดูงาน รับรู้ เข้าใจการปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติโครงการเด็กไทยแก้มใส
    6. โรงเรียนในเครือข่ายได้รับความรู้จากคู่มือการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใส

     

    81 81

    27. ประชุมปิดงวด 2 พร้อมคืนดอกเบี้ย

    วันที่ 23 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำรายงานปิดงวด 2พร้อมคืนดอกเบี้ย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดทำรายงานปิดงวด 2พร้อมคืนดอกเบี้ย

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อส่งเสริมและสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานอื่นในการสนับสนุนโครงการเด็กไทยแก้มใส
    ตัวชี้วัด : 1.ครู ผู้ปกครอง และชุมชนรับทราบแนวทางปฏิบัติของโครงการเด็กไทยแก้มใส 2. โรงเรียนมีเครือข่่ายความร่วมมือในการดำเนินโครงการเด็กไทยแก้มใส
    1. ครู ผู้ปกครอง และชุมชนรับทราบแนวทางปฏิบัติของโครงการเด็กไทยแก้มใส
    2. โรงเรียนมีเครือข่่ายความร่วมมือในการดำเนินโครงการเด็กไทยแก้มใส
    2 เพื่อส่งเสริมปัจจัยในการผลิตทางด้านการเกษตร ปศุสัตว์ และประมง ทั้งในและนอกโรงเรียน สู่โครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
    ตัวชี้วัด : 1. มีผลผลิตทางเกษตรและเลี้ยงสัตว์ หรือประมง โดยการมีส่วนร่วมของนักเรียน ชุมชนและเครือข่ายในพื้นที่ 2. มีการนำผลผลิตทางการเกษตรปศุสัตว์และประมงไปใช้ในโครงการอาหารกลางวันนักเรียน
    1. โรงเรียนมีผลผลิตทางเกษตรและเลี้ยงสัตว์ หรือประมง โดยการมีส่วนร่วมของนักเรียน และชุมชน
    2. โรงเรียนนำผลผลิตทางการเกษตร ปศุสัตว์และประมง ได้แก่ ไข่เป็ด ไข่ไก่เห็ดปลาพืชผัก ไปใช้ในโครงการอาหารกลางวันนักเรียน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน
    3. ผลผลิตทางการเกษตร ปศุสัตว์และประมงสามารถกระจายสู่ชมชน จนมีความยั่งยืน
    3 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะด้านการเกษตรและสหกรณ์
    ตัวชี้วัด : 1.มีกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนที่มีนักเรียนเป็นสมาชิกและดำเนินการโดยนักเรียนและรับซื้อผลผลิตจากกิจกรรมเกษตรในโรงเรียนเพื่อขายให้กิจกรรมอาหารกลางวัน 2.สหกรณ์จำหน่ายอาหารว่างและเครื่องดื่มได้มาตรฐานโภชนาการ

    1.มีกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนที่มีนักเรียนเป็นสมาชิกและดำเนินการโดยนักเรียน มีสมาชิกทั้งหมด 85 คน คิดเป็นร้อยละ 90.41

    1. สหกรณ์รับซื้อผลผลิตจากกิจกรรมเกษตรในโรงเรียนเพื่อขายให้กิจกรรมอาหารกลางวันและชุมชน

    2. สหกรณ์จำหน่ายอาหารว่างและเครื่องดื่มได้มาตรฐานโภชนาการ โดยปลอดน้ำอัดลมและขนมกรุบกรอบ

    4 เพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียนและการจัดการอาหารสำหรับนักเรียน
    ตัวชี้วัด : 1. มีรายงานเฝ้าระวังการเจริญเติบโตและสมรรถภาพทางกายของนักเรียนทุกคน เทอมละ 1 ครั้ง 2. มีการบันทึกสุขภาพนักเรียนรายบุคคลและแบบประเมินพฤติกรรมสุขบัญญตัิแห่งชาติ 3. มีการฝึกปฏิบัติใช้ช้อนกลางล้างมือ ในช่วงเวลาการรับประทานอาหาร 4. นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพทุกคนเทอมละ 1 ครั้ง และให้การดุแลช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างเหมาะสม 5. มีระบบการช่วยเหลือการเจ็บป่วยเบื้องต้นอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันอันตรายร้ายแรงจนถึงเสียชีวิต ุ6. มีรายการอาหารหมุนเวียนราย 1 เดือน ตามมาตรฐานโภชนาการ(ใช้ Thai School Lunch Program) 7. ปรุง ประกอบอาหาร ถูกหลักโภชนาการ สุขาภิบาล และอาหารปลอดภัย 8. นักเรียนไดรับประทานอาหารตามปริมาณและสัดส่วนของมาตรฐานโภชนาการในทุกมื้อ
    1. โรงเรียนมีการรายงานเฝ้าระวังการเจริญเติบโตและสมรรถภาพทางกายของนักเรียนทุกคน เทอมละ 1 ครั้ง
    2. โรงเรียนมีการบันทึกสุขภาพนักเรียนรายบุคคลและแบบประเมินพฤติกรรมสุขบัญญตัิแห่งชาติ
    3. นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติใช้ช้อนกลาง การล้างมือ ในช่วงเวลาการรับประทานอาหาร
    4. นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพทุกคนเทอมละ 1 ครั้ง และให้การดุแลช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างเหมาะสม
    5. โรงเรียนมีระบบการช่วยเหลือการเจ็บป่วยเบื้องต้นอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันอันตรายร้ายแรงจนถึงเสียชีวิต ุ
    6. โรงเรียนมีรายการอาหารหมุนเวียนราย 1 เดือน ตามมาตรฐานโภชนาการ(ใช้ Thai School Lunch Program) และแม่ครัว ปรุง ประกอบอาหาร ถูกหลักโภชนาการ สุขาภิบาล และอาหารปลอดภัย ึ7. นักเรียนไดรับประทานอาหารตามปริมาณและสัดส่วนของมาตรฐานโภชนาการในทุกมื้อ
    5 เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม อาคารสถานที่ ให้ถูกสุขลักษณะ และปลอดภัย
    ตัวชี้วัด : 1.โรงเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาล อนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและมาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในโรงเรียน

    โรงเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาล อนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและมาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคในโรงเรียน

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมและสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานอื่นในการสนับสนุนโครงการเด็กไทยแก้มใส (2) เพื่อส่งเสริมปัจจัยในการผลิตทางด้านการเกษตร ปศุสัตว์ และประมง ทั้งในและนอกโรงเรียน สู่โครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน (3) เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะด้านการเกษตรและสหกรณ์ (4) เพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียนและการจัดการอาหารสำหรับนักเรียน (5) เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม อาคารสถานที่ ให้ถูกสุขลักษณะ และปลอดภัย

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

    ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก (กองทัพบกอุปถัมภ์)

    รหัสโครงการ ศรร.1311-073 รหัสสัญญา 58-00-2265-อ.27 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

    วันที่เริ่มประเมิน

    1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    (ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    1. การเกษตรในโรงเรียน

    การปลูกผักสวนครัวในท่อซีเมนต์

    เตรียมพื้นที่สำหรับปลูกผักให้เหมาะสม แล้วจัดวางท่อซีเมนต์ให้ระยะห่างพอประมาณที่เราต้องการ
    นำดินผสมกับปุ๋ยคอกเพื่อรองท่อ ให้บริเวณภายในท่อมีธาตุอาหาร วางแผน คัดเลือกพันธ์ุผักที่จะนำมาปลูก โดยนักเรียนเลือกผักบุ้งกวางตุ้ง คะน้า ผักชีจีนรดนำ้ให้ทั่วบ่อเพื่อให้ดินชุ่มชื้น หยอดเมล็ดพันธ์ผักลงในบ่อ ให้ห่างกันพอประมาณ ติดตั้งระบบน้ำสปริงเกอร์ให้มีวาล์วปิด-เปิด แล้วรดนำ้ทุกเช้า-เย็น ดูแลรักษาตลอดการเพาะปลูก เมื่อได้ผลผลิค นำผลผลิตที่ได้ขายให้สหกรณ์นักเรียนเพื่อนำไปประกอบอาหารกลางวัน

    โรงเรียนขยายท่อปลูกพืช และปลูกพืชให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึิน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    2. สหกรณ์นักเรียน

    กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ด้านการส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตเพืื่อจำหน่าย

    กิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ด้านการส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตเพื่อจำหน่าย เป็นการเพิ่มมุูลค่าผลผลิต และแก้ปัญหาผลผลิตที่มีอยู่มากเกินไป ได้แก่ ไข่เป็ด โดยนำมาทำเป็นไข่เค็มสมุนไพร ไข่เค็มต้มยำใช้วัตถุดิบที่มีในโรงเรียนและท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ใบเตยหอม ดอกอัญชัน โดย นักเรียนที่เป็นคณะกรรมการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์ นำไข่เป็ดที่รับซื้อจากกลุ่มผู้ผลิตในโรงเรียน มาทำโครงงานไข่เค็มสมุนไพร และไข่เค็มต้มยำ เสร็จแล้วจำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวันนักเรียน นำไปประกอบอาหารกลางวัน ในราคาฟองละ 6 บาท ซึ่งเพิ่มมูลค่าให้กับไข่เป็ด จากเดิมเพิ่มอีกฟองละ 2 บาท นอกจากนี้ ยังเป็นกิจกรรมที่ปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน การบันทึกรายรับ-รายจ่าย การคำนวณต้นทุน กำไร ขาดทุน ทำให้นักเรียนมีทักษะที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

    การพัฒนาเมนูอาหารจากไข่เค็ม สู่ชุมชน เช่น การทำไข่ดาวเค็ม ซึ่งชุมชนไม่เคยรู้มาก่อน โดยใช้ไข่เค็มที่มีอายุ 7 วัน รสชาติอร่อย นอกจากกนี้ ยังขยายสูตรการทำไข่เค็มสู่ชุมชน ทำให้ผู้ปกครองที่สนใจมาอุดหนุนไข่เป็ดที่โรงเรียนเพื่อนำไปทำไข่เค็มที่บ้าน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

    การจัดทำรายการอาหารตามโปรแกรมThai school lunch

    โรงเรียนมีการประชุมคณะครูและบุคลากร รวมผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเมนูอาหารกลางวันของโรงเรียน เพื่อกำหนดเมนูอาหารกลางวัน ล่วงหน้า 1 เดือน โดยคำนึงถึงวัตถุดิบที่มีอยู่ในกิจกรรมการเกษตร ปศุสัตว์ของโรงเรียนและในชุมชนเป็นหลัก เมื่อได้รายการอาหารเสร็จแล้ว นำมาคำนวณเข้ากับโปรแกรม Thai school lunch เพื่่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน จากนั้น โรงเรียนจัดทำกองทุนข้าวเปลือก โดยผู้ปกครองร่วมบริจาคข้าวเปลือกเทอมละ 1 กระสอบ เพื่อให้โรงเรียนนำมาสีเองโดยเครื่องสีข้าวโรงเรียน ซึ่งนักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรม และรำที่ได้ยังสามารถทำเป็นอาหารเป็ด หมูได้อีกด้วย

    ทางโรงเรียนได้ให้ความสำคัญกับการจัดบริการอาหารของโรงเรียนเป็นอย่างมาก จึงมีแนวคิดที่จัดอาหารเช้าสำหรับนักเรียนที่มีความขาดแคลน โดยจะสำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองในช่วงประชุมผู้ปกครอง ต้นภาคเรียนที่ 1/2560

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

    1.กิจกรรมเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียน 2.กิจกรรมการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียน

    แกนนำนักเรียนและครูอนามัย ทำการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของนักเรียนแล้วนำมาคำนวณกับโปรแกรมของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลจากนั้นคัดกรองนักเรียออกเป็นกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอ้วน เตี้ย และผอม ออกจากกลุ่มนักเรียนปกติ ติดตามภาวะการเจริญเติบโตของนักเรียนกลุ่มดังกล่าว โดยจัดรายการอาหารเสริมสำหรับกลุ่มผอมเพิ่มนมเป็นวัน 2 กล่อง สำหรับกลุ่มเตี้ย ส่วนกลุ่มอ้วนก็ควบคุมปริมาณอาหารของนักเรียน และจัดตารางการออกกำลังกายในช่วงชั่วโมง ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ และทำการชั่งนำ้หนักและวัดส่วนสูงเป็นระยะ 2. ครูประจำชั้นทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนทุกคน โดยทดสอบภาคเรียนละ 1 ครั้ง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาแปรผล เพื่อหาระดับสมรรถภาพทางกายของนักเรียน สำหรับคนที่ไม่ผ่านได้รับการพัฒนา จนมีสมรรถภาพทางกายดีขึ้น

    1.ติดตามนักเรียนกลุ่มที่มีภาวะทุพโภชนาการแล้วสร้างความเข้าใจ ความตระหนักกับนักเรียนและผู้ปกครองเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้วยกัน 2. โรงเรียนมีแนวทางที่จัดกิจกรรมเสริมพัฒนาสมรรถภาพทางกายก่อนทำการทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมทางร่างกาย และทำให้มีสรรถภาพทางกายดีขึ้น

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

    1.กิจกรรมการแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร 2. กิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขบัญญัติแห่งชาติ

    หลังรับประทานอาหารกลางวัน นักเรียนทุกคนจะแปรงฟันตรงสถานที่แปรงฟัน มีแกนนำนักเรียนสั่งให้แปรงพร้อมๆกันอย่างถูกวิธี จากนั้นก็จะมีการรายงานการตรวจการแปรงฟันของนักเรียนแต่ละชั้น มีการบันทึกผลการตรวจการแปรงฟัน สำหรับกิจกรรมการส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ โรงเรียนจัดทำป้ายสุขบัญญัติติดตามที่ต่างๆ ให้นักเรียนปฏิบัติ แกนนำนักเรียนสาธิตและให้ความรู้การปฏิบัติตามสุขบัญญัติ 10 ประการ โดยในปีนี้ โรงเรียนได้ส่งประกวดโรงเรียนสุขบัญญัติแห่งชาติระดับเขต 9 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1

    โรงเรียนได้ปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักวิธีการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองแล้วสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในกิจวัตรประจำวัน ใช้ในครอบครัว และแนะนำคนในชุมชนได้

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

    แบ่งเขตชั้นเรียนดูแลพื้นที่รับผิดชอบและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน

    แบ่งเขตชั้นเรียน ดูแลรับผิดชอบ ทำความสะอาดคลอบคลุมเขตพื้นที่โรงเรียน โดยมีนักเรียน ครูประจำชั้น ดูแลความสะอาด จัดการขยะ พัฒนาสิ่งแวดล้อม มีการรายงานผลการตรวจเขตพื้นที่รับผิดชอบทุกวัน โดยสภานักเรียน

    พัฒนาสิ่งแวดล้อมให้มีความยต่อเนื่อง ยั่งยืน เป็นต้นแบบ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ และดูงาน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

    กิจกรรมการตรวจสุขภาพของนักเรียนทุกคน

    1.การตรวจสุขภาพฟัน โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองโจงโลง และ รพ.บัวเชด 2.การตรวจวัดสายตาโดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองโจงโลง /นศ.ฝึกประสบการณ์ สาขาสาธารณสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์3.การตรวจเลือดเพื่อแก้ปัญหานักเรียนที่มีภาวะโลหิตจางโดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองโจงโลง

    โรงเรียนได้รับความร่วมมือด้วยดีจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในการตรวจสุขภาพของนักเรียนในเรื่องต่างๆ ซึ่งทางโรงเรียนจะดำเนินการอย่างนี้ต่อไป

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

    การถอดบทเรียนด้าน เกษตร ปศุสัตว์ อาหาร โภชนาการ สหกรณ์ตามหลักปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียง

    นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ดำเนินการถอดบทเรียนความรู้ที่ได้จากการดำเนินกิจกรรม ด้านเกษตร ปศุสัตว์ อาหาร โภชนาการ สหกรณ์ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข 4 มิติ โดยออกแบบทำลงบนผ้าด้ายดิบ และนำเสนอวันเปิดบ้านงานวิชาการของโรงเรียน Open House 31 มีนาคม2560

    โรงเรียนนำผลงานที่นักเรียนจัดทำ จัดแสดงไว้ในศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใสของโรงเรียนที่เป็นบ้านดิน เพื่อให้ชุมชน หรือผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    9. อื่น ๆ

    การทำบ้านดิน

    โรงเรียนได้รับความร่วมมือจากวิทยากรในท้องถิ่น พานักเรียนทำบ้านดิน เพื่อเป็นอาคารศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส ซึ่งนักเรียนได้ลงมือทำด้วยตนเอง ทำให้เกิดความรักและหวงแหน และอาคารบ้านดินที่สร้างขึ้น ก็เข้ากับบริบทของโรงเรียนที่เน้นนำวัสดุในท้องถิ่นและธรรมชาติ มาออกแบบ ตกแต่งเป็นแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน

    โรงเรียนได้รับการสนับสนุนจากชุมชนเป็นอย่างดี ทำให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆประสบความสำเร็จ

    2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

    1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองโจงโลง องค์การบริหารส่วนตำบลตาวัง โรงพยาบาลบัวเชด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบัวเชด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

    2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

    โรงเรียนได้พัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้สะอาด ปลอดภัย น่าอยู่ น่าเรียนดูแลอาคาร สถานที่ ห้องเรียน ห้องน้ำ ห้องส้วม ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และสะอาด จัดบริการอนามัยส่ิงแวดล้อมที่เหมาะสมและเพียงพอกับนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาบริเวณโดยรอบรั้วโรงเรียน ให้ปลอดภัย ทำแนวกันบริเวณที่เป็นจุดเสี่ยงต่อความปลอดภัยของนักเรียน มีบริเวณที่กำจัดขยะ มีการคัดแยกขยะก่อนที้ง มีบริการถังขยะตามจุดต่างๆ ปลูกฝังให้นักเรียนรับผิดชอบและช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดของโรงเรียน รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากชุมชนในการกำจัดขยะและการดูแลความสะอาดของชุมชนด้วย

    3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

    การสร้างทีมงานที่เข้มแข็ง โดยการนำของท่านผู้บริหารโรงเรียนและความร่วมมือร่วมใจกันของคณะครู/บุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและมีหน้าที่รับผิดชอบงานทุกๆ ด้าน และเข้าใจในจุดประสงค์และรายละเอียดของโครงการเหมือนกันทุกคน จากนั้นนำความรู้ที่ได้มาปฏิบัติ และถ่ายทอดให้กับนักเรียนรวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม และมีการสรุป ทบทวน สะท้อนผลการปฏิบัติงานเป็นระยะ ๆ เพื่ทราบปัญหา และหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน มีแกนนำนักเรียนในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนกิจกรรมจากผู้ปกครอง และชุมชน พร้อมทั้งพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์เรียนรู้ที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ในองค์ประกอบต่างๆ สู่หน่วยงานอื่นได้

    4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

    โรงเรียนได้มีการจัดประชุมคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้ทราบถึงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการ พร้อมทั้งทำความเข้าใจและถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เด็กนักเรียนโดยให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมทั้ง 8 องค์ประกอบ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ และเกิดทักษะในการปฏิบัติกิจกรรม และให้ความรู้แก่แม่ครัว โดยการอบรม ศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบ เพื่อให้สามารถนำมาปฏิบัติได้จริง

    5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

    โรงเรียนได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้ปกครองและชุมชน รวมถึงสาธารณสุขอำเภอบัวเชด และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองโจงโจงโลงโดยเร่ิ่มจากการจัดประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองและชุมชน และเปิดโอกาสใหู้้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกกรรมของโครงการ เช่น ระดมผู้ปกครองและชุมชนในการทำปุ๋ยหมัก เตรียมแปลงผักและร่วมกันปลูกผักสวนครัว รวมทั้งร่วมมือกันในการจัดภูมิทัศน์ของโรงเรียนให้ร่มรื่น น่าอยู่ น่าเรียน การสนับสนุนผลผลิตของโรงเรียน ได้แก่ ไข่เป็ด ไข่ไก่ เห็ด ซึ่งกิจกรรมต่างๆท่ี่ทางโรงเรียนนำเสนอได้รับความร่วมมือและได้รับความสนใจจากผู้ปกครองและชุมชนเป็นอย่างดี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

    โรงเรียนแบ่งพื้นที่การเกษตรออกเป็นส่วน ๆ แล้วมอบหมายให้นักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 ถึง ชั้น ป.6
    รับผิดชอบปลูกผักสวนครัว เมื่อได้ผลผลิตก็นำไปจำหน่ายให้สหกรณ์นักเรียนเพื่อนำสู่โครงการอาหารกลางวัน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้ปลูกผักในชุมชน ที่ปลูกผักแล้วส่งผลิตสู่โรงเรียน

    1. บัญชีรายรับ-รายจ่ายการปลูกผักของนักเรียน
    2. บัญชีรายรับ-รายจ่าย สหกรณ์นักเรียน
    3. รูปภาพกิจกรรม

    โรงเรียนจะจัดหาพื้นที่เพาะปลูกผักสวนครัวเพิ่มเพื่อให้ได้ผลผลิตที่เพียงพอต่อการนำไปประกอบอาหารกลางวัน และประชาสัมพนธ์กิจกรรม เพื่อรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรของผู้ปกครองและคนในชุมชนเพิ่มขึิน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

    1.เลี้ยงไก่ไข่ จำนวน 52 ตัว ให้ไข่วันละประมาณ 32 ฟอง ในหนึ่งสัปดาห์สามารถนำไปประกอบอาหารกลางวันได้อย่างน้อย 1 มื้อ 2. เลี้ยงเป็ดไข่ 90 ตัว ให้ไข่วันละประมาณ 45 ฟอง ในหนึ่งสัปดาห์สามารถนำมาประกอบอาหารกลางวันได้อย่างน้อย 1 มื้อ และยังแปรรูปเป็นไข่เค็มสมุนไพร ไข่เค็มต้มยำ จำหน่ายสู่โครงการอาหารกลางวันนักเรียนและชุมชน

    1. บัญชีการเก็บไข่ในแต่ละวัน
    2. บัญชีรายรับ-รายจ่ายกิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่และเป็ดไข่
    3. บัญชีรายรับ-รายจ่ายกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน
    4. รูปภาพกิจกรรม

    ่เนื่องจากโรงเรียนยังไม่มีผลผลิตอาหารโปรตีนประเภทเนื้อสัตว์ จึงมีนโยบายที่จะเลี้ยงไก่เนื้อพันธุ์พื้นเมืองและเลี้ยงหมู ซึ่งนำรายได้จากการเลี้ยงเป็ดไข่ ไก่ไข่ มาต่อยอดขยายผลในปีการศึกษาถัดไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

    โรงเรียนดำเนินการเลี้ยงปลาดุกในกระชัง จำนวน 5 กระชังเพื่อจำหน่ายผลผลิตสู่โครงการอาหารกลางวันนักเรียน

    รูปภาพกิจกรรม

    เนื่องจากการเลี้ยงปลาดุกในกระชัง มีค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารค่อนข้างสูง โรงเรียนจึงมีแนวคิดจะผลิตอาหารปลาดุกต้นทุนต่ำด้วยตนเอง โดยบูรณาการเรียนรู้ในคาบกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

     

     

     

    5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

    โรงเรียนจัดบริการอาหารกลางวันตามโปรแกรม Thai school lunch อาหารทุกมื้อที่เด็กรับประทานจะมีปริมาณผักและมีผลไม้อยู่ในสำรับอาหาร และเด็กทุกคนต้องกินให้หมด ทำให้เด็กได้รับประทานผักและผลไม้ในปริมาณที่เพียงพอ

    1. กิจกรรมจัดรายการอาหารตามโปรแกรม Thai school lunch
    2. ภาพการจัดกิจกรรมการบริการอาหารกลางวัน
    3. รายการอาหารเด็กอนุบาล 3-5 ปี

    โรงเรียนมีนโยบายให้นักเรียนทุกคนชอบการรับประทานผัก โดยสอดแทรกคุณค่าของผักขณะที่นักเรียนรับประทานอาหารส่วนผักที่นำประกอบอาหารส่วนใหญ่จะเป็นผักที่กนัเรียนปลูกเอง ทำให้นักเรียนมีความภูมิใจและรักที่จะกินผัก

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    โรงเรียนจัดบริการอาหารกลางวันตามโปรแกรม Thai school lunch อาหารทุกมื้อที่เด็กรับประทานจะมีปริมาณผักและมีผลไม้อยู่ในสำรับอาหาร และเด็กทุกคนต้องกินให้หมด ทำให้เด็กได้รับประทานผักและผลไม้ในปริมาณที่เพียงพอ

    1. กิจกรรมจัดรายการอาหารตามโปรแกรม Thai school lunch
    2. ภาพการจัดกิจกรรมการบริการอาหารกลางวัน
    3. รายการอาหารเด็กประถม 6-12 ปี

    โรงเรียนมีนโยบายให้นักเรียนทุกคนชอบการรับประทานผัก โดยสอดแทรกคุณค่าของผักขณะที่นักเรียนรับประทานอาหารส่วนผักที่นำประกอบอาหารส่วนใหญ่จะเป็นผักที่กนัเรียนปลูกเอง ทำให้นักเรียนมีความภูมิใจและรักที่จะกินผัก

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

    โรงเรียนได้ประชุมผู้ปกครองและคนในชุมชน เพื่อรับซื้อผลผลิตของคนในชุมชน โดยผลผลิตที่ได้ต้องปลอดสารพิษซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีและมีผู้ปกครองนำผลผลิตมาจำหน่ายให้กับโรงเรียน สำหรับผู้ปกครองที่ไม่มีพื้นที่สำหรับปลูก โรงเรียนก็จัดสรรพื้นที่ไว้ในโรงเรียนสำหรับให้ปลูก ให้ปุ๋ยมูลไก่ มีระบบน้ำอย่างเพียงพอ ซึ่งผลผลิตที่จำหน่ายแล้ว ก็แบ่งเป็นค่าไฟโรงเรียนบางส่วน

    1. บัญชีรายรับรายจ่ายของกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน
    2. รูปภาพการจำหน่ายผลผลิต

    พัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพือให้ชุมชนเห็นความสำคัญและตระหนักเกี่ยวกับการผลิตอาหารที่ปลอดภัย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

    โรงเรียนมีการประชุมครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อกำหนดรายการอาหาร และจัดทำรายการอาหารล่วงหน้า 1 เดือน โดยใช้โปรแกรม Thai school lunch ซึ่งอาหารในแต่ละวันจะมีสารอาหารครบ 5 หมู่ และจะมีผักและผลไม้ในสำรับอาหารมื้อนั้นๆด้วย

    1. รายการอาหาร 1 เดือน
    2. สำรับอาหารในแต่ละมื้อ
    3. ภาพกิจกรรมการจัดบริการอาหารกลางวัน
    1. ครูนำความรู้เรื่องการใช้โปรแกรม Thai school lunch ถ่ายทอดให้นักเรียน ชั้นป. 4-6 เพ่ื่อให้นักเรียนได้ฝึกจัดรายการอาหารที่มีคุณค่าด้วยตนเอง
    2. โรงเรียนนำเสนอความสำเร็จของการจัดรายการอาหาร โดยใช้โปรแกรม Thai school lunch สู่โรงเรียนในเครือข่าย เพื่อให้ทุกโรงเรียนในเครือข่ายใช้โปรแกรมจัดบริการอาหารกลางวันให้กับนักเรียน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

    แกนนำนักเรียนและครูอนามัย ทำการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงของนักเรียนทุกคน ภาคเรียนละ 2 ครั้ง และทำการแปลผลกับโปรแกรมของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล จากนั้นคัดกรองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ กลุ่มอ้วน เตี้ย ผอม เพื่อเฝ้าระวังเด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษ

    1. รายงานภาวะโภชนาการของนักเรียนรายคน/รายชั้น/ภาพรวมของโรงเรียน
    2. รายงานภาวะโภชนาการของเด็กกลุ่มอ้วน เตี้ย ผอม
    3. ภาพการจัดบริการอาหารกลางวันให้กับเด็กกลุ่มอ้วน เตี้ย ผอม

    โรงเรียนมีนโยบายที่จะลดจำนวนเด็กกลุ่มอ้วน เตี้ย ผอม ให้น้อยลง โดยการจัดบริการอาหารและจัดตารางการออกกกำลังกายให้กับเด็กกลุ่มดังกล่าว พร้อมทั้งทำความเข้าใจกับผู้ปกครองเพื่อให้ช่วยกันดูแลเอาใจใส่เด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษ

    3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

    สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

    ภาวะ2558 1/12558 1/22558 2/12558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/22560 1/12560 1/22560 2/12560 2/22561 1/12561 1/22561 2/12561 2/22562 1/12562 1/22562 2/1
    เตี้ย 5.75 5.75% 5.75 5.75% 6.82 6.82% 7.95 7.95% 4.26 4.26% 4.26 4.26% 2.13 2.13% 2.20 2.20% 3.30 3.30% 1.11 1.11% 2.20 2.20% 3.26 3.26% 2.15 2.15% 4.30 4.30% 4.35 4.35% 5.49 5.49% 5.88 5.88% 2.35 2.35% 2.35 2.35%
    เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 17.24 17.24% 17.24 17.24% 13.64 13.64% 13.64 13.64% 17.02 17.02% 13.83 13.83% 10.64 10.64% 9.89 9.89% 13.19 13.19% 14.44 14.44% 10.99 10.99% 13.04 13.04% 13.98 13.98% 11.83 11.83% 11.96 11.96% 12.09 12.09% 11.76 11.76% 9.41 9.41% 9.41 9.41%
    ผอม 11.49 11.49% 9.20 9.20% 6.82 6.82% 4.55 4.55% 4.26 4.26% 5.32 5.32% 1.06 1.06% 1.10 1.10% 15.38 15.38% 5.56 5.56% 7.69 7.69% 2.17 2.17% 16.13 16.13% 3.23 3.23% 4.35 4.35% 3.26 3.26% 0.00 0.00% 3.57 3.57% 2.35 2.35%
    ผอม+ค่อนข้างผอม 28.74 28.74% 24.14 24.14% 20.45 20.45% 17.05 17.05% 17.02 17.02% 17.02 17.02% 5.32 5.32% 5.49 5.49% 21.98 21.98% 13.33 13.33% 13.19 13.19% 10.87 10.87% 27.96 27.96% 9.68 9.68% 6.52 6.52% 13.04 13.04% 9.41 9.41% 8.33 8.33% 9.41 9.41%
    อ้วน 4.60 4.60% 4.60 4.60% 3.41 3.41% 3.41 3.41% 5.32 5.32% 4.26 4.26% 4.26 4.26% 4.40 4.40% 6.59 6.59% 7.78 7.78% 7.69 7.69% 5.43 5.43% 6.45 6.45% 5.38 5.38% 7.61 7.61% 7.61 7.61% 9.41 9.41% 9.52 9.52% 9.41 9.41%
    เริ่มอ้วน+อ้วน 4.60% 4.60% 4.60% 4.60% 6.82% 6.82% 6.82% 6.82% 11.70% 11.70% 10.64% 10.64% 9.57% 9.57% 8.79% 8.79% 13.19% 13.19% 12.22% 12.22% 9.89% 9.89% 10.87% 10.87% 15.05% 15.05% 13.98% 13.98% 13.04% 13.04% 9.78% 9.78% 15.29% 15.29% 15.48% 15.48% 15.29% 15.29%
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

    จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของนักเรียนทุกคนแล้วแปลผลโดยโปรแกรมของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล แล้วคัดกรองเด็กกลุ่มเร่ิมอ้วนและอ้วน เพื่อทำการจัดบริการอาหารและการออกกำลังกายเป็นพิเศษ จากการดำเนินการดังกล่าวพบว่าในภาคเรียนที่1/59 มีนักเรียนเริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 11.70 ในภาคเรียนท่ี 2/59 มีนักเรียนเริ่มอ้วนและอ้วนจำนวนร้อยละ 8.79ลดลง ร้อยละ 1.91

    1. รายงานภาวะโภชนาการของนักเรียนกลุ่มเริ่มอ้วนและอ้วน
    2. การจัดบริการอาหารกลางวันเด็กกลุ่มเริ่มอ้วนและอ้วน
    3. ภาพการจัดกิจกรรมให้เด็กกลุ่มเริ่มอ้วนและอ้วน

    โรงเรียนมีนโยบายที่จะลดจำนวนเด็กกลุ่มเริ่มอ้วนและอ้วนให้น้อยลงโดยการให้ความรู้กับเด็กและผู้ปกครองของเด็กโดยตรงเพื่อให้ช่วยดูและเด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

    จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของนักเรียนทุกคนแล้วแปลผลโดยโปรแกรมของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล แล้วคัดกรองเด็กกลุ่มค่อนข้างผอมและผอม เพื่อทำการจัดบริการอาหารและการออกกำลังกายเป็นพิเศษ จากการดำเนินการดังกล่าวพบว่า ในภาคเรียนที่1/59มีนักเรียนค่อยข้างผอมและผอม ร้อยละ 17.02 และในภาคเรียนท่ี 2/59 มีนักเรียนค่อนข้างผอมและผอม จำนวนร้อยละ 5.49ลดลง ร้อยละ 11.53

    1. รายงานภาวะโภชนาการของนักเรียนกลุ่มค่อนข้างผอมและผอม
    2. การจัดบริการอาหารกลางวันเด็กกลุ่มค่อนข้างผอมและผอม
    3. ภาพการจัดกิจกรรมให้เด็กกลุ่มค่อนข้างผอมและผอม

    โรงเรียนมีนโยบายที่จะลดจำนวนเด็กกลุ่มค่อนข้างผอมและผอมให้น้อยลงโดยการให้ความรู้กับเด็กและผู้ปกครองของเด็กโดยตรงเพื่อให้ช่วยดูและเด็กกลุ่มนี้เป็นพิเศษ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

    จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของนักเรียนทุกคนแล้วแปลผลโดยโปรแกรมของสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล แล้วคัดกรองเด็กกลุ่มค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย เพื่อทำการจัดบริการอาหารและการออกกำลังกายเป็นพิเศษ จากการดำเนินการดังกล่าวพบว่า ในภาคเรียนที่1/59 มีนักเรียนค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ร้อยละ17.02และในภาคเรียนท่ี 2/59 มีนักเรียนค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย ร้อยละ 9.89ลดลง ร้อยละ 7.13

    1. รายงานภาวะโภชนาการของนักเรียนกลุ่มค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย
      1. การจัดบริการอาหารกลางวันเด็กกลุ่มค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย
    2. ภาพการจัดกิจกรรมให้เด็กกลุ่มค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย

    โรงเรียนมีรายชื่อนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ทั้ง 3 กลุ่ม และมีนโยบายที่จะลดจำนวนของเด็กกลุ่มดังกล่าวลง โดยการขอความร่วมมือกับนักเรียนและผู้ปกครองให้เอาใจใส่เด็กเป็นพิเศษ สำหรับเด็กที่มีภาวะเตี้ยและผอมทางโรงเรียนได้จัดบริการเพิ่มนมให้เป็นวันละ 2 กล่อง และเพิ่มการออกกำลังประเภท โหนราว กระโดดเชือก

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร
    1. ดำเนินการคัดกรองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการออกเป็นกลุ่ม คือ กลุ่มเด็กอ้วน เตี้ย และผอม
    2. แยกเด็กกลุ่มดังกล่าวเพื่อจัดบริการอาหารกลางวันเป็นพิเศษ
    3. จัดกิจกรรมการออกกำลังกายเพิ่มจากเด็กปกติ ในชั่วโมง ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
    4. บันทึกผลการชั่งนำ้หนักและวัดส่วนสูงของเด็กกลุ่มดังกล่าวเป็นรายบุคคล และฝึกให้นักเรียนดูกราฟการเจริญเติบโตของตนเอง ทำให้นักเรียนเห็นพัฒนาการด้านน้ำหนักส่วนสูงของตนเอง
    1. รายชื่อนักเรียนกลุ่มอ้วน เตี้ย และผอม
    2. รายงานภาวะโภชนาการเด็กกลุ่มอ้วน เตี้ย และผอม
    3. ภาพการจัดบริการอาหารกลางวันเด็กกลุ่มอ้วน เตี้ยและผอม
    4. ตารางการออกกำลังกายในชั่วโมง ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

    โรงเรียนมีรายชื่อนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ทั้ง 3 กลุ่ม และมีนโยบายที่จะลดจำนวนของเด็กกลุ่มดังกล่าวลง โดยการขอความร่วมมือกับนักเรียนและผู้ปกครองให้เอาใจใส่เด็กเป็นพิเศษ สำหรับเด็กที่มีภาวะเตี้ยและผอมทางโรงเรียนได้จัดบริการเพิ่มนมให้เป็นวันละ 2 กล่อง และเพิ่มการออกกำลังประเภท โหนราว กระโดดเชือก

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร
    1. มีการจัดประชุมผู้ปกครองของนักเรียนกลุ่มอ้วน เตี้ย ผอม เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับเรื่องภาวะโภชนาการของลูกหลานตนเอง ซึ่งจะช่วยปรับพฤติกรรมการกินของบุตรหลานตนเองมากขึ้น
    2. รับฟังปัญหาของผู้ปกครองของนักเรียนโดยคัดแยกเป็นรายกรณี
    3. ให้คำแนะนำและช่วยแก้ไขปัญหาของนักเรียนและผู้ปกครองเป็นรายๆไป
    1. รายชื่อนักเรียนและผู้ปกครองที่เข้าร่วมการอบรม
    2. รายชื่อนักเรียนที่มีปัญหา
    3. ภาพการจัดการอบรมผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ 4.ภาพการเยี่ยมบ้านเด็กและผู้ปกครองรายบุคคล

    ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ปกครองของนักเรียนกลุ่มดังกล่าวตระหนักและให้ความสำคัญกับปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็กดูแลเอาใจและพยายามปรับพฤติกรรมการการกิน และการออกกำลังกายของนักเรียนกลุ่มดังกล่าวเป็นพิเศษ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

    การแก้ปัญานักเรียนที่มีภาวะโรคโลหิตจาง

    จากปัญหาภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนพบว่าส่วนหนึ่งเกิดจากนักเรียนที่มีภาวะโลหิตจางด้วย ดังนั้นโรงเรียนโดยการช่วยเหลือของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จึงได้ดำเนินการตรวจเลือดเพื่อหานักเรียนที่มีภาวะโลหิตจาง พบนักเรียนที่มีภาวะโลหิตจาง10คน ซึ่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้จัดยาเสริมธาตุเหล็กให้นักเรียนกลุ่มดังกล่าวรับประทาน หลังอาหารเที่ยงทุกวัน ส่วนนักเรียนที่ไม่มีภาวะโลหิตจางจะให้รับประทานสัปดาห์ 1 วัน เพื่อเป็นการป้องกัน

    โรงเรียนจะดำเนินการป้องกันนักเรียนที่มีภาวะโลหิตจางต่อไป โดยขอความร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในการตรวจเลือดนักเรียนเป็นระย

    5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองโจงโลง องค์การบริหารส่วนตำบลตาวัง โรงพยาบาลบัวเชด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบัวเชด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

    หมายเหตุ *

    • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก (กองทัพบกอุปถัมภ์) จังหวัด สุรินทร์

    รหัสโครงการ ศรร.1311-073

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายสุพจน์ บุญแย้ม )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด