ชื่อโรงเรียน | โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก (กองทัพบกอุปถัมภ์) |
สังกัด | ?? |
หน่วยงานต้นสังกัด | ?? |
ที่อยู่โรงเรียน | 132 หมู่ที่ 9 ตำบลตาวัง อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ 32230 |
จำนวนนักเรียน | 85 คน |
ช่วงชั้น | อนุบาล,ประถม |
ผู้อำนวยการ | นายสุพจน์ บุญแย้ม |
ครูผู้รับผิดชอบ | ว่าที่ ร.ต.ณัฐิวุฒิ โสภากุ |
จัดทำรายงานปิดงวด 2พร้อมคืนดอกเบี้ย
จัดทำรายงานปิดงวด 2พร้อมคืนดอกเบี้ย
- นักเรียนจัดทำป้ายถอดบทเรียนความรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเเพียง กิจกรรมตามโครงการเด็กไทยแก้มใส
- โรงเรียนจัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักเรียนในโรงเรียน
- โรงเรียนจัดแหล่งเรียนรู้ย่อย ไว้ตามจุดต่างๆ ในโรงเรียน
- โรงเรียนจัดแสดงผลงานเมื่อสิ้นปีการศึกษา
- โรงเรียนจัดทำเอกสารเผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มให้กับโรงเรียนในเครือข่าย
- จัดนิทรรศการแสดงผลงานในโรงเรียน
- จัดแหล่งเรียนรู้ย่อย ไว้ตามจุดต่างๆ ในโรงเรียน
- จัดแสดงผลงานเมื่อสิ้นปีการศึกษา
- โรงเรียนจัดทำเอกสารเผยแพร่ผลการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มให้กับโรงเรียนในเครือข่าย 5.ผู้ปกครองและชุมชน ทราบถึงผลการดำเนินโครงการเด็กไทยแก้มใส
- ครู นักเรียนที่มาศึกษาดูงาน รับรู้ เข้าใจการปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติโครงการเด็กไทยแก้มใส
- โรงเรียนในเครือข่ายได้รับความรู้จากคู่มือการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใส
- เลี่ยงปลาดุกในกระชัง จำนวน 2,800 ตัว 2.เลี้ยงปลากินพืชแบบธรรมชาติ
- นักเรียนร่วมกับครู มีการปล่อยพันธุ์ลูกปลาดุกบิ๊กอุย จำนวน 2800 ตัว ในบ่อเลี้ยงแบบกระชัง จำนวน 4กระชังและมีการแบ่งเวรนักเรียนชั้น ป.4-6 ในการให้อาหารปลาดุก และการดูแลบ่อเลี้ยง ซึ่งปลาดุกจะมีการเจริญเติบโต และใช้เวลาในการเลี้ยงดู เป็นเวลา 3เดือนซึ่งสามารถนำผลผลิตมาประกอบเป็นอาหารในโครงการอาหารกลางวันให้กับนักเรียน
- นักเรียนได้รับอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอต่อความต้องการ
- โรงเรียนมีปลาดุกเพื่อประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียน
- โรงเรียนจัดทำเอกสารประกอบการเรียนรู้ สำหรับให้นักเรียนได้เรียนรู้ เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย ได้ด้วยตนเอง
- โรงเรียนจัดทำแหล่งเรียนรู้ด้าน เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย
ผลผลิต
1. โรงเรียนจัดทำเอกสารประกอบการเรียนรู้ สำหรับให้นักเรียนได้เรียนรู้ เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย ได้ด้วยตนเอง
2. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ด้าน เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย
3.นักเรียนมีความรู้ เจตคติ ทักษะ พฤติกรรมทางด้านการเกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการ และสุขภาพที่พึงประสงค์ ในเรื่อง การปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ เพื่อการบริโภคและหรือขาย
จัดซื้อวัสดุดำเนินกิจกรรมเพื่อนำมาต่อยอดโครงการให้มีความยั่งยืน
1.สหกรณ์นักเรียนที่จัดจำหน่ายอุปกรณ์การเรียน อาหารว่าง และเครื่องดื่มมีคุณภาพได้มาตรฐานตามหลักโภชนาการ
2. นักเรียนดำเนินกิจกรรมและจัดทำบัญชีต่างๆของ กิจกรรมสหกรณ์ได้
3. มีคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียนที่จัดตั้งและดำเนินการโดยนักเรียน มีนักเรียนเป็นสมาชิกและมีวาระในการทำงานอย่างน้อย 1 ปีการศึกษา
4. มีระบบรับสมัครสมาชิกด้วยความสมัครใจ เปิดกว้างสำหรับนักเรียนทุกคน และมีการเก็บค่าหุ้น
5. นักเรียนได้รับประทาน อาหารว่าง และเครื่องดื่มที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตามหลักโภชนาการ
6. นักเรียนเข้าใจหลักการดำเนินงานของสหกรณ์ ฝึกความรอบคอบในการจัดทำบัญชี และฝึกอาชีพพื้นฐานการค้าขาย
7.นักเรียนได้เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่ม
8. ปัจจุบันสหกรณ์โรงเรียนมีสมาชิกดำเนินกิจกรรมจำนวน 83คน คิดเป็นร้อยละ 88.30 มีหุ้นในสหกรณ์ 3,610 บาท ดำเนินการแล้วปัจจุบันมีกำไรสุทธิ6,306บาท
จัดซื้อแม่เป็ดไข่/ไก่ไข่ เพิ่มอีก ชนิดละจำนวน10ตัวเพื่อนำมาต่อยอดโครงการให้มีความยั่งยืน
- โรงเรียนมีไข่เป็ด/ไข่ไก่เพื่อประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
- โรงเรียนมีผลผลิตไข่หมุนเวียนเพื่อประกอบอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน
- นักเรียนจัดทำการแปรรูปไข่เป็ด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับไข่เป็ด โดยทำเป็นไข่เค็มสมุนไพร
- นักเรียนได้รับอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอต่อความต้องการ
- ลดต้นทุนการซื้อไข่เป็ด/ไข่ไก่และรายได้หมุนเวียนในโรงเรียน โดยในปีการศึกษา 2559 โครงการอาหารกลางวันโรงเรียนซื้อไ่ข่เป็ด/ไข่ไก่ จากกลุ่มผู้ผลิตในโรงเรียนจำนวน 13,724บาท
- นักเรียนได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและฝึกทักษะอาชีพ ึ7. โรงเรียนนำผลผลิตกระจายสู่ชุมชน ผ่านกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ซึ่งปีการศึกษา 2559 โรงเรียนมีรายได้จากการขายไข่เป็ด /ไข่ไก่ ให้สมาชิกสหกรณืทั่วไปในโรงเรียนและชุมชน จำนวน 42,955 บาท
จัดซื้อก้อนเห็ดนางฟ้าจำนวน 1,300 ก้อน เพืื่อให้นักเรียนได้นำมาเพาะในโรงเรือน นำผลผลิตสู่โครงการอาหารกลางวันโรงเรียน
1.โรงเรียนมีเห็ดนางฟ้าเพื่อประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียนและการแปรรูปอาหาร 2.นักเรียนจัดทำการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตด้านการเกษตร และส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งสร้างนิสัยในการเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ 3.นักเรียนได้รับอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอต่อความต้องการ 4. นักเรียนได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ฝึกทักษะอาชีพและส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งสร้างนิสัยในการเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
จัดประชุมครูอาหารกลางวัน และครูอนามัย ในอำเภอบัวเชด จำนวน23คน เมื่องวันที่ 27ธันวาคม2559 ณ โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก(กองทัพบกอุปถัมภ์) ต.ตาวังอ.บัวเชดจ.สุรินทร์
1.ตัวแทนครูที่รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวัน และครูอนามัย จำนวน20 คน เข้ารับการอบรม เกี่ยวกับการจัดอาหารกลางวันและการดูแลสุขภาพเด็กวัยเรียนในโรงเรียนเด้กไทยแก้มใส 2.ตัวแทนครูที่รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวันและครูอนามัย เข้าใจการดำเนินกิจกรรมในโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส
- คณะเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.บ้านหนองโจงโลง และนักศึกษาฝึกประสบการณ์ ออกตรวจสุขภาพนักเรียน (วันทีี 21 มีนาคม 25ุ60)
- คณะเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.บ้านหนองโจงโลง และนักศึกษาฝึกประสบการณ์ ให้ความรู้วัคซีนจมน้ำ (วันทีี 17 มีนาคม 25ุ60)
- ครูเวรประจำวันตรวจความสะอาดร่างกายของนักเรียนทุกๆวัน
- ครูอนามัยและแกนนำนักเรียน วัดนำ้หนัก ส่วนสูง และแปรผลภาวะโภชนาการนักเรียนทุกๆเดือน
ผลผลิต
1. นักเรียนได้รับการตรวจร่างกายและการช่วยเหลือแก้ไขการเจ็บป่วยในเบื้องต้นอย่างเหมาะสม
2.นักเรียนได้รับการตรวจฟันจากบุคลากรสาธารณสุข
3.โรงเรียนมีแกนนำนักเรียนในการทำกิจกรรมส่งเสริม
สุขภาพในโรงเรียน
4. ครูอนามัย ครูเวรประจำวัน ตรวจสุขภาพด้านต่างๆ ของนักเรียนเป็นประจำ
ผลลัพธ์
1.นักเรียนชั้น อ.1 - ป. 6 จำนวน94คน รู้จักการดูแลสุขภาพและความสะอาดของร่ายกาย
2.นักเรียนเรียนรู้กระบวนการกลุ่ม ฝึกการเป็นผู้นำในการดูแลช่วยเหลือกัน
3.นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย และร่างกายมีภูมิต้านทาน
4. นักเรียน ป.1-6 จำนวน71คน ได้เรียนรู้วิธีการดูแล ป้องกันตนเองจากการจมน้ำ
1.นักเรียนมีการทำความสะอาดห้องเรียนและบริเวณโรงเรียนทุกครั้ง มีรายละเอียดดังนี้ (เช้า - เย็น)
2. นักเรียนแยกขยะในชั้นเรียนของตนเองก่อนนำทิ้ง
3. นักเรียนทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนตามเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ
4. นักเรียนนำขยะบางชนิดกลับมาใช้ประโยชน์อีก
ผลผลิต
1. นักเรียนมีการคัดแยกก่อนทิ้ง
2. โรงเรียนมีวิธีกำจัดขยะได้ถูกวิธี
3. นักเรียนนำวิธีการคัดแยกขยะไปใช้ในชุมชน
ผลลัพธ์
1.ลดมลภาวะในโรงเรียน
2. นักเรียนเห็นคุณค่าของขยะ
3.โรงเรียน และชุมชนปลอดขยะ
• ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนร่วมพัฒนาบริบท อาคารสถานที่ในโรงเรียน
• โรงเรียนให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง เพื่อนำไปปฏิบัติที่บ้าน
• นักเรียนทุกคนร่วมกันทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนทุกวัน
• ครูและนักเรียนร่วมกันพัฒนาห้องเรียนของตนเองให้สะอาด ปลอดภัยต่อสุขภาพของนักเรียน
ผลผลิต
- อาคารสถานที่ บริเวณรอบโรงเรียน และสิ่งแวดล้อม ในโรงเรียน สะอาด ปลอดภัย
น่าอยู่ น่าเรียน
- นักเรียนให้ความร่วมมือทำกิจกรรมเสียสละ เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น ความสะอาดบริเวณโรงเรียน ชุมชน ดูแลและใช้ส้วมให้ถูกสุขลักษณะ ทิ้งขยะในที่รองรับ และใช้ของอย่างประหยัด
ผลลัพธ์
- นักเรียนมีความสุขในการเรียน
- นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยบ่อย
มีการตรวจเครื่องกรองน้ำดื่ม โดยเปลี่ยนไส้กรอง ทำความสะอาด เทอมละ 1 ครั้ง 1. ปรับปรุงเครื่องกรองน้ำดื่มโดยเปลี่ยนใส้กรองเครืองกรองน้ำดื่มทุกๆเทอม 2. จัดทำระบบน้ำดื่มสะอาด บริการนักเรียนและคร บุคลากรในโรงเรีย
ผลผลิต
-ปรับปรุงคุณภาพน้ำดื่มให้สะอาดและเพียงพอกับนักเรียน
ผลลัพธ์
-นักเรียนและบุคลากรมีน้ำดื่มสะอาดไว้บริโภค
- โรงเรียนมีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงของนักเรียน และประเมินภาวะโภชนาการของนักเรียน คัดกรองนักเรียนแต่ละกลุ่ม และดำเนินการแก้ไข พัฒนานักเรียนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
- โรงเรียนมีการส่งเสริมสมรรถภาพทางกายนักเรียน โดยจัดกิจกรรมออกกำลังกายทุกวันพฤหัสบดี กิจกรรมการเล่นก๊ฬาและการแข่งขันกีฬาสี
- ครูประจำชั้นดำเนินการทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียน อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง
- นักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพและให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพจากบุคลากรสาธารณสุขหรือที่เกี่ยวข้อง ภาคเรียนละ 1 ครั้
1.นักเรียนที่ภาวะเริ่มอ้วน อ้วน ผอม และเตี้ย ลดลง
2. นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีสมรรถภาพทางกายเหมาะสมตามวัย
3.โรงเรียนมีระบบการเฝ้าระวังการเจริญเติบโตและสมรรถภาพทางกายของนักเรียน
4. ครู ผู้ปกครอง ร่วมกันแก้ปัญหาภาวะโภชนาการของนักเรียน
5.นักเรียนชั้น อ.1 ป. 6 มีการเจริญเติบโตตามวัยมีภาวะเตี้ย ร้อยละ 2.20ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 8.80 ภาวะผอมและค่อนข้างผอม ร้อยละ 7.69
ุ6. นักเรียนชั้น ป. 1- ป. 6 ร้อยละ 93.05 มีสมรรถภาพทางกายผ่่านเกณฑ์
- เครือข่ายผู้ปกครองมีความเข้มแข็งในการดำเนินงานแก้ปัญหา
ภาวะโภชนาการของนักเรียน
- โรงเรียนจัดทำรายการอาหารกลางวันโดยใช้โปรแกรม TCL และจัดอาหารว่างทุกวัน โดยเน้นไปที่ผลไม้
- แม่ครัวปรุงอาหารที่ถูกสุขลักษณะ
3.แม่ครัวครูเวรประจำวันนักเรียนแกนนำ ตักอาหารกลางวันบริการนักเรียนตามสัดส่วน ที่นักเรียนต้องการ - สหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียนไม่จัดจำหน่ายขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลม
- โรงเรียนจัดทำรายการอาหารล่วงหน้า อย่างน้อย 1 เดือน โดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch ตามมาตรฐานโภชนาการที่สอดคล้องกับภาวะสุขภาพและผลผลิตทางการเกษตรในโรงเรียนหรือชุมชน 2.แม่ครัวมีการปรุงประกอบอาหารถูกหลักโภชนาการ สุขาภิบาลอาหาร และอาหารปลอดภัย 3.มีการตักอาหารให้นักเรียนตามปริมาณและสัดส่วนของธงโภชนาการที่เหมาะสมกับวัย และทันเวลา 4.โรงเรียนจัดอาหารว่าง ขนม และเครื่องดื่มที่ได้มาตรฐานโภชนาการ 5.นักเรียนจำนวน94คน ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สะอาด ปลอดภัย ถูกหลักโภชนาการ และเพียงพอต่อความต้องการ ุ6. นักเรียนจำนวน 94 คน ไม่เกิดโรคระบาดของอาหารเป็นพิษ
ครู และบุคลากรจำนวน 2 คน เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ที่โรงแรมสุนีย์แกรนด์ จ.อุบลราชธานี ในวันที่ 25 ตุลาคม 2559
- ครูและบุคลากรในโรงเรียนจำนวน 2 คน เข้ารับการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ
- โรงเรียนมีการจัดทำสรุปรายงานโครงการที่ถูกต้อง สมบูรณ์
- ช่วงเวลาในการทำกิจกรรมปลูกผัก ตลอดปีการศึกษา
- โรงเรียนจัดพื้นที่ปลูกผักสวนครัวสำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง
- โรงเรียนจัดหาเมล็ดพันผัก สำหรับให้นักเรียนปลูก ได้แก่ คะน้า กวางตุ้ง ผักกาด ผักบุ้ง ฟักทอง ข้าวโพด ผักชี ถั่ว มะเขือ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธ์ุผักจากนายอำเภอบัวเชด
- โรงเรียนจัดทำระบบน้ำ อำนวยความสะดวกแก่นักเรียนในการรดน้ำ
- หน่วยงานทหารสอนการทำปุ๋ยอินทรีย์แก่ผู้ปกครองและนักเรียน และนำปุ๋ยมาใช้ในการปลูกผักของนักเรียนและผู้ปกครอง ตลอดการทำกิจกรรม
- นักเรียนมีทักษะในการปลูกผักและดูแลผักสวนครัว
- โรงเรียนมีผักสวนครัวเพื่อประกอบอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน ได้แก่ คะน้า กวางตุ้ง ผักกาด ผักบุ้ง ฟักทอง ข้าวโพด ผักชี ถั่ว มะเขือ ฯลฯ
- โรงเรียนมีแผนการผลิตพืชผักที่สอดคล้องกับรายการอาหารกลางวันนักเรียน
- นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และเพียงพอต่อความต้องการ
- จัดจำหน่ายพืชผักสวนครัวผ่านสหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียน
- โรงเรียนมีการเพาะเห็ดในโรงเรือน 1 หลัง และขยายผลอีก 3 หลัง โดยเพาะเห็ดในแท้งค์นำ้เก่าที่ไม่ไช้แล้ว การดำเนินการมีดังนี้
1. จัดสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดหลังที่ 1 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณและแรงงานจากทหารและชุมชน ในการร่วมสร้าง
2. จัดซื้อก้อนเห็ดนางฟ้า 1,000 ก้อน ก้อนละ 7 บาท
3. เพาะเห็ดนางฟ้าในโรงเรือน ดูแลรดนำ้ เช้า - เที่ยง - เย็น โดยแกนนำนักเรียน 4 คน
4. จัดเก็บผลผลิตเช้า - เย็น เพื่อจำหน่ายให้โครงการอาหารกลางวันโรงเรียนประกอบอาหาร ได้แก่ ต้มยำไก่ ผัดกะเพราหมูใส่เห็ด ลาบเห็ด ฯลฯ 5. นำผลผลิตกระจายสู่ชุมชน
6. นำผลผลิตแปรรูปเป็นเห็ดทอดกรอบ จำหน่ายในโรงเรียนและชุมชน
7. ขยายโรงเรือนเพาะเห็ดไปอีก 3 จุด คือ แท้งค์น้ำเก่า 3 ถัง
- โรงเรียนมีเห็ดนางฟ้าเพื่อประกอบอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- นักเรียนมีการแปรรูปเห็ด โดยทำเป็นเห็ดทอดกรอบ และแหนมเห็ด
- นักเรียนได้ฝึกทักษะอาชีพ
- นักเรียนได่รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอต่อความต้องการ
- โรงเรียนมีการนำผลผลิตกระจายสู่ชุมชน
- คณะเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.บ้านหนองโจงโลงออกตรวจสุขภาพนักเรียนและฉีดวัคชืน (วันทีี 24 ส.ค. 2559)
- หน่วยทัตกรรมจาก รพ.บัวเชด ออกบริการตรวจฟันและแนนำให้ความรู้เรื่องการดูแลฟัน (วันที่ 29 ส.ค. 2559)
- ครูเวรประจำวันตรวจความสะอาดร่างกายของนักเรียนทุกๆวัน
- ครูอนามัยและแกนนำนักเรียน วัดนำ้หนัก ส่วนสูง และแปรผลภาวะโภชนาการนักเรียนทุกๆเดือน
1. นักเรียนทุกคนได้รับการตรวจร่างกายและการช่วยเหลือแก้ไขการเจ็บป่วยในเบื้องต้นอย่างเหมาะสม
2. นักเรียนทุกคนได้รับการตรวจสุขภาพและตรวจฟันจากบุคากรสาธารณสุขและ รพ.บัวเชด สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพฟัน ได้รับการส่งต่อรักษาที่ โรงพยาบาลบัวเชด
3. นักเรียนทุกคนรู้จักดูแลและใส่ใจความสะอาดของร่างกายและสุขภาพขอนตนเองดีขึ้น ทำให้ไม่เจ็บป่วยบ่อย และร่างกายมีภูมิต้านทาน
4. นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรงและมีภาวะโชนาการดีขึ้น สำหรับคนที่มีปัญหาก้ได้รับการแก้ไขปัญหา
5. ครูอนามัย ครูเวรประจำวัน ตรวจสุขภาพด้านต่างๆ ของนักเรียนเป็นประจำ
6. นักเรียนเรียนรู้กระบวนการกลุ่ม ฝึกการเป็นผู้นำในการดูแลช่วยเหลือกัน
-โรงเรียนมีการเลี้ยงเป็ดไข่จำนวน 80 ตัว โดยมีกลุ่มนักเรียนแกนนำที่ดูแล จำนวน 5 คน ซึ่งมีหน้าที่ ดังนี้
1. ผสมอาหารเป็ด โดยนำรำอ่อน ปลายข้าว และ หัวอาหารเป็ด ผสมกัน สัปดาห์หนึ่งใช้ประมาณ 4 กระสอบปุ๋ย
2. ดูและให้อาหารเป็ด เช้า-เย็น
3. ทำความสะอาดคอกเป็ด เดือนละ 1 ครั้ง
4. จัดเก็บผลผลิต และจำหน่ายให้สกรณ์ร้านค้าโรงเรียน ในราคาฟองละ 4 บาท
5. จัดทำบัญชี รายรับ-รายจ่าย การดำเนินกิจกรรมเลี้ยงเป็ดไข่
-โรงเรียนมีการเลี้ยงไก่ไข่ 54 ตัว โดยมีกลุ่มนักเรียนแกนนำที่ดูแล จำนวน 5 คน ซึ่งมีหน้าที่ ดังนี้
1. ดูและให้น้ำและอาหาร เช้า- เที่ยง-เย็น
2. ทำความสะอาดคอกเป็ด สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
3. จัดเก็บผลผลิต และจำหน่ายให้สกรณ์ร้านค้าโรงเรียน ในราคาฟองละ 3.33 บาท
4. จัดทำบัญชี รายรับ-รายจ่าย การดำเนินกิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่
- โรงเรียนมีไข่เป็ดและไข่ไก่ เพื่อประกอบอาหารกลงวันสำหรับนักเรียน สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
- นักเรียนจัดทำการแปรรูปไข่เป็ด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับไข่เป็ด โดยทำเป็นไข่เค็ม ขายให้โครงการอาหารกลางวันนักเรียนนำไปประกอบอาหารกลางวัน
- นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และเพียงพอต่อความต้องการ
- มีผลผลิตไข่หมุนเวียนเพื่อประกอบอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน และมีรายได้หมุนเวียนในโรงเรียน
- ผลผลติสามารถกระจายสู่ชุมชน โดยผ่านสหกรณ์นักเรียน
- นักเรียนได้ฝึกทักษะอาชีพด้านการเลี้ยงสัตว์
นักเรียนมีการทำความสะอาดห้องเรียนและบริเวณโรงเรียนทุกครั้ง มีรายละเอียดดังนี้ (เช้า - เย็น) 1. นักเรียนแยกขยะในชั้นเรียนของตนเองก่อนนำทิ้ง 2. นักเรียนทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนตามเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ 3. นักเรียนนำขยะบางชนิดกลับมาใช้ประโยชน์อีก
- นักเรียนชั้น อ. 1 - ป. 6 จำนวน 94 คน มีการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง
- นักเรียนชั้น อ. 1 - ป. 6 จำนวน 94 คน ทำความสะอาดบริเวณเขตพื้นที่รับผิดชอบตอนเช้าทุกวัน 3. นักเรียนนำวิธีการคัดแยกขยะไปใช้ในครัวเรือนของตนเองและขยายผลไปยังเพื่อนบ้านใกล้เคียง
- นักเรียนเห็นคุณค่าของการแยกขยะ และนำวัสดุบางชนิดที่ใช้แล้วกลับมาใช้ประโยชน์อีก เช่น การทำตะกร้าจากกระดาษ การทำกระถางต้นไม้จากขวดพลาสติก
- พานักเรียนที่เป็นแกนนำการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน จำนวน 11 คนครูจำนวน 9 น และผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 40 คน ศึกษาดูงานการดำเนินกิจกรรมสกรณ์ที่โรงเรียนบ้านโคกจำเริญ สพป.สุรินทร์ เขต 3 และสหกรณ์ผกาสะเร็น อ.ปราสาทในวันที่ 9 สิงหาคม 2559
- แกนนำนักเรียนดำเนินกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียน และมีนักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียนเป็นสมาชิก
- นักเรียนแกนนำดำเนินกิจกรรมสหกรณ์ออมทรัพย์ โดยมีนักเรียนทุกคนร่วมกิจกรรม
- นักเรียนแกนนำดำเนินกิจกรรมสหกรณ์การเกษตร ซึ่งมีผลผลิต ได้แก่ เห็ด พืชผัก ไข่เป็ด ไข่ไก่ และปลา
- โรงเรียนได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์และการสนับสนุนงบประมาณจากสกรณ์อำเภอบัวเชด 2,000 บาท
- สหกรณ์นักเรียนจัดจำหน่ายเฉพาะผลผลิตทางการเกษตร ปศุสัตว์ และอุปกรณ์การเรียน (ปลอดนำ้อัดลมและขนมกรุบกรอบ)
- คณะกรรมการสหกรณ์ดำเนินกิจกรรมและจัดทำบัญชีต่างๆของสหกรณ์ตลอดปีการศึกษา
- มีคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียนที่จัดตั้งและดำเนินการโดยนักเรียน มีนักเรียนเป็นสมาชิกและมีวาระในการทำงานอย่างน้อย 1 ปีการศึกษา
- มีสมาชิกซึ่งประกอบด้วยนักเรียน และครู บุคลากรในโรงเรียน ปุัจจุบันมีจำนวนสมาชิก 74 คน คิดเป็นร้อยละ 71.84
- นักเรียนได้เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่มรียน มีความรู้ ความเข้าใจการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์มากขึ้นและสามารถนำมาขยายผลให้กับนักเรียนในโรงเรียนได้
ุ6. นักเรียนเข้าใจหลักการดำเนินงานของสหกรณ์ ฝึกความรอบคอบในการจัดทำบัญชี และฝึกอาชีพพื้นฐานการค้าขาย
- ครู มีความเข้าใจในกิจกรรมสหกรณ์ และสามารถนำมาบูรราการในการจัดการเรียนรู้ได้
- ผู้ปกครองมีความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์ของนักเรียน และให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมสหกรณ์อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น
มีการตรวจเครื่องกรองน้ำดื่ม โดยเปลี่ยนไส้กรอง ทำความสะอาด เทอมละ 1 ครั้ง
1. ปรับปรุงเครื่องกรองน้ำดื่มโดยเปลี่ยนใส้กรองเครืองกรองน้ำดื่มทุกๆเทอม
2. จัดทำระบบน้ำดื่มสะอาด บริการนักเรียนและคร บุคลากรในโรงเรียน
- นักเรียน ครูและบุคลากรในโรงเรียนได้ดื่มน้ำดื่มที่สะอาด ปลอดภัย
- โรงเรียนมีจุดบริการนำ้ดื่มสะอาด 1 จุด สำหรับบริการนักเรียน และครู อย่างเพียงพอ
- โรงเรียนมีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงของนักเรียน และประเมินภาวะโภชนาการของนักเรียน คัดกรองนักเรียนแต่ละกลุ่ม และดำเนินการแก้ไข พัฒนานักเรียน จำนวนนักเรียนที่ได้รับการตรวจ 94 คน ในระดับชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถม 6
- โรงเรียนมีการส่งเสริมสมรรถภาพทางกายนักเรียน โดยจัดกิจกรรมออกกำลังกายทุกวันพฤหัสบดี กิจกรรมการเล่นก๊ฬาและการแข่งขันกีฬาสี
- ครูประจำชั้นดำเนินการทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียน อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง
1. นักเรียนจำนวน 94 คน พบว่า
- มีนักเรียนมีน้ำหนักอยู้ในเกณฑ์ปกติ...67...คน มีภาวะคอนข้างผอมและผอม...17....คน เริ่มอ้วนและอ้วน...10..คน
- มีส่วนสูงตามเกณฑ์.....80.......คน ตค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย.......14.....
3. นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีสมรรถภาพทางกายเหมาะสมตามวัย โดยในปลายเทอมที่ 1 ปีการศึกษา 2559 มีนักเรียนที่ทดสอบสมรรถภาพทางกายทั้งสิ้น 92 คน มีสมรรถภาพทางกายตามวัย จำนวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 89.13 สำหรับนักเรียนที่ไม่ได้รับการทดสอบ คือ ด.ญ.กรรณิกา แรงทอง (พิการด้านร่างกาย) และ ด.ช. รัชชานนท์ บุบพิ (ผ่าตัดลิ้นหัวใจรั่ว)
4.ครูและผู้ปกครองรับทราบข้อมูลนำไปสู่การแก้ไข โดยการปรับเมนูอาหารกลางวัน และกิจกรรมออกกำลังกายที่เหมาะสมกับเด็ก
- ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนร่วมพัฒนาบริบท อาคารสถานที่ในโรงเรียน
- โรงเรียนให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง เพื่อนำไปปฏิบัติที่บ้าน
- นักเรียนทุกคนร่วมกันทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนทุกวัน
- ครูและนักเรียนร่วมกันพัฒนาห้องเรียนของตนเองให้สะอาด ปลอดภัยต่อสุขภาพของนักเรียน
- อาคารสถานที่ บริเวณรอบโรงเรียน และสิ่งแวดล้อม ในโรงเรียน สะอาด ปลอดภัย น่าอยู่ น่าเรียน
- นักเรียนให้ความร่วมมือทำกิจกรรมเสียสละ เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น ความสะอาดบริเวณโรงเรียน ชุมชน ดูแลและใช้ส้วมให้ถูกสุขลักษณะ ทิ้งขยะในที่รองรับ และใช้ของอย่างประหยัด
- นักเรียนมีความสุขในการเรียน
- นักเรียนมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วยบ่อย
- โรงเรียนจัดทำรายการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนโดยใช้โปรแกรม TCL
- โรงเรียนจัดอาหารโดยส่งครู และแม่ครัวเข้ารับการอบรมด้านการจัดรายการอาหาร และการปรุงอาหารกลางวันที่ถูกสุขลักษณะ
- ครูทุกคน และแม่ครัว ตักอาหารให้นักเรียนตามปริมาณและสัดส่วน ที่นักเรียนต้องการ
- โรงเรียนมีการกำกับ ติดตาม การประกอบอาหารของแม่ครัวอย่างใกล้ชิด
- โรงเรียนจัดอาหารว่าง ผลไม้ และเครื่องดื่มได้มาตรฐาน โดยในสหกรณ์โรงเรียนไม่ขายน้ำอัดลมและเครื่องดื่มที่มีรสหวาน
- โรงเรียนจัดทำรายการอาหารกลางวันล่วงหน้า อย่างน้อย 1 เดือน โดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch ตามมาตรฐานโภชนาการซึ่งสอดคล้องกับภาวะสุขภาพและผลผลิตทางการเกษตร ปศุสัตว์ ในโรงเรียน
- แม่ครัวโรงเรียนมีการปรุงอาหารถูกหลักโภชนาการ สุขาภิบาลอาหารและอาหารปลอดภัย
- ครูทุกคนตักอาหารให้นักเรียนตามปริมาณและสัดส่วนความต้องการของนักเรียนแต่ละคนและทันเวลา โดยเด็กอ้วน และผอม และน้ำหนักปกติ จะตักอาหารให้ไม่เท่ากัน เพื่อแก้ไขภาวะโภชนาการของนักเรียนรายคน
- โรงเรียนจัดอาหารว่าง ผลไม้ ขนม เครื่องดื่มได้มาตรฐานโภชนาการ
- นักเรียนไม่เกิดโรคระบาดของอาหารเป็นพิษ
ุ6. ผลจากการดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน จากการเก็บข้อมูลพบว่า
- เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน 2559 มีนักเรียนที่มีภาวะค่อนข้างผอมและผอม จำนวน 16 คน มีจำนวนคนคงที่ แต่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 9 คน สำหรับนักเรียนที่มีภาวะผอม ก็มีพัฒนาด้านนำ้หนักมาเป็นค่อนข้างผอม แต่ยังต้องเสริมพัฒนาต่อไป
- เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน 2559 มีนักเรียนที่มีภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย จากจำนวน 1ุ6 คน ลดลงเหลือ 14 คน
- เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน 2559 มีนักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน จากจำนวน 1ุ1 คน ลดลงเหลือ 10 คน
- จัดกิจกรรมประชุมครู ผู้ปกครองนักเรียน ร่วมประกาศนโยบาย ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส เมื่อวันที่ 16 พ.ค. 2559 ณ โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก(กองทัพบกอุปถัมภ์)
- จัดกิจกรรมศึกษา แลกเปลี่ยนรู้ การดำเนินโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส กิจกรรมการเกษตรและกิจกรรมสหกรณ์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2559 ที่โรงเรียนบ้านโคกจำเริญ สพป.สุรินทร์เขต 3 สหกรณ์ผกาสะเร็น และตลาดน้ำราชมงคล
- ครู ผู้ปกครอง และชุมชนรับทราบแนวทางปฏิบัติของโครงการเด็กไทยแก้มใส
- ครู ผู้ปกครอง และชุมชน ร่วมจัดทำแผนปฏิบัติงาน จำนวน 50 คน
- ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานเข้าใจนโยบายและร่วมจัดทำคู่มือปฏิบัติงานโครงการเด็กไทยแก้มใส
- ครู ผู้ปกครอง และชุมชนร่วมจัดทำคู่มือกิจกรรม แก้มใสใส่ใจสุขภาพเด็ก และสร้างเครือข่ายชุมชนแก้มใส
- ครูผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน มีความเข้าใจในนโยบายและแนวปฏิบัติการดำเนินโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสมากขึ้น โดยมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมดังนี้
- การส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรในชุมชนเพื่อนำ่สู่โครงการอาหารกลางวันโรงเรียน
- การมีส่วนร่วมในการพัฒนา ปรับปรุงบริบทโรงเรียน
- การดูแล ส่งเสริมสุขภาพ บุตรหลาน
- ครูจำนวน 2 คน เข้ารับการอบรมพัฒนาศักยภาพ ด้านการใช้โปรแกรม Thai School Lunch และระบบเฝ้าระวังโภชนาการ(ที่กรุงเทพฯ)
- ครูจำนวน 1 คน และแม่ครัว ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาคุณภาพอาหารกลางวันในโรงเรียน (สพป.สุรินทร์ เขต 3 จัดวันที่ 31 กรกฎาคม 2559)
- บุคลากรที่ดูแลโครงการฯ ได้เข้ารับการอบรมโรงเรียนละ 2 คน
- บุคลากรสามารถใช้โปรแกรม TSLในการวางแผนจัดบริการอาหารกลางวันได้อย่างถูกต้อง