แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

โรงเรียนบ้านวังยาววิทยายน


“ โรงเรียนบ้านวังยาววิทยายน ”

หมู่ 1 ตำบลวังยาวอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 44140

หัวหน้าโครงการ
นายนิคม ไวบรรเทา

ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านวังยาววิทยายน

ที่อยู่ หมู่ 1 ตำบลวังยาวอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 44140 จังหวัด มหาสารคาม

รหัสโครงการ ศรร.1313-052 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-อ.6

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2559 ถึง 30 เมษายน 2560


กิตติกรรมประกาศ

"โรงเรียนบ้านวังยาววิทยายน จังหวัดมหาสารคาม" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ 1 ตำบลวังยาวอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 44140

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนบ้านวังยาววิทยายน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนบ้านวังยาววิทยายน



บทคัดย่อ

โครงการ " โรงเรียนบ้านวังยาววิทยายน " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ 1 ตำบลวังยาวอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 44140 รหัสโครงการ ศรร.1313-052 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 120,000.00 บาท จาก โรงเรียนบ้านวังยาววิทยายน เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 669 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ

สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัย มีอารมณ์และสติปัญญาที่ดีขึ้น รวมทั้งมีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
  2. เพื่อให้โรงเรียนเป็นต้นแบบเด็กไทยแก้มใส มีรูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหาร โภชนาการและสุขภาพของเด็กนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. เพื่อสร้างพลังภาคีเครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของเด็กนักเรียนมีความเข้มแข็ง และเกิดความยั่งยืน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. เด็กนักเรียนมีสุขภาพดี เติบโตสมวัย มีอารมณ์สติปัญญาที่ดีขึ้น มีทักษะชีวิตสามารถนำไปใช้ได้จริง
    2. โรงเรียนมีรูปแบบลดปัญหาทุพโภชนาการของนักเรียน
    3. พ่อแม่/ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดูแลภาวะสุขภาพของนักเรียน จัดสิ่งแวดล้อมอาหาร
    4. เกิดกระแสตื่นตัวในชุมชน / สังคม ให้ความสำคัญกับอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของเด็กวัยเรียน

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. จัดตั้งชมรมของนักเรียน ได้แก่ ชมรมกีฬานันทนาการ ชมรม To be number one ชมรมเพื่อนใจวัยรุ่น ชมรมดนตรี นาฏศิลป์ ชมรมสุขาน่าใช้ อย.น้อย

    วันที่ 23 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. วันที่ 20 พฤษภาคม 2559 ประชุมคณะครูวางแผนชี้แจง และมอบหมายหน้าที่จัดตั้งชมรมของนักเรียน

    2. วันที่ 23 พฤษภาคม 2559 ประชุมจัดตั้งชมรมของนักเรียนโดยผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าวเปิดประชุมและชี้แจงวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งชมรมของนักเรียน เพื่อให้เด็กเกิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละชมรม ชมรมกีฬานันทนาการ ชมรม To be number one ชมรมเพื่อนใจวัยรุ่น ชมรมดนตรี นาฏศิลป์ ชมรมสุขาน่าใช้ อย.น้อย และกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน 15 กิจกรรม เช่น กลุ่มที่ 1 หนังสือเล่มเล็ก  กลุ่มที่ 2 เล่านิทาน  กลุ่มที่ 3 สืบค้นข้อมูล  กลุ่มที่ 4 สรภัญญะสู่การอ่าน  กลุ่มที่ 5 ผญาอีสานสืบสานรักการอ่าน  กลุ่มที่ 6 ปั้นดินให้เป็นดาว  กลุ่มที่ 7  วรรณกรรมท้ายรถ  กลุ่มที่ 8 บทกลอนที่หนูรัก  กลุ่มที่ 9 ถอดบทเรียนพอเพียง  กลุ่มที่ 10 อาชีพดีที่หนูรัก  กลุ่มที่ 11 คณิตคิดสนุก  กลุ่มที่ 12 วางทุกงานอ่านทุกคน  กลุ่มที่ 13  สุขบัญญัติสู่นิสัยการอ่าน  กลุ่มที่ 14 ขับขานประสานเสียง  กลุ่มที่ 15 อ่านตามรอยพ่อ

    3. รับสมัครนักเรียนแกนนำ และนักเรียนที่มีความสนใจกิจกรรมของชมรมต่างๆที่จัดขึ้นในลักษณะพี่สอนน้อง

    4. มีนักเรียนที่มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมของชมรม จำนวน 323 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1. นักเรียนจำนวน 323 คน สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมชมรมที่จัดขึ้น ได้แก่ ชมรมกีฬานันทนาการ ชมรม To be number one ชมรมเพื่อนใจวัยรุ่น ชมรมดนตรี นาฏศิลป์ ชมรมสุขาน่าใช้ อย.น้อย และกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน 15 กิจกรรม เช่น กลุ่มที่ 1 หนังสือเล่มเล็ก  กลุ่มที่ 2 เล่านิทาน  กลุ่มที่ 3 สืบค้นข้อมูล  กลุ่มที่ 4 สรภัญญะสู่การอ่าน  กลุ่มที่ 5 ผญาอีสานสืบสานรักการอ่าน  กลุ่มที่ 6 ปั้นดินให้เป็นดาว  กลุ่มที่ 7  วรรณกรรมท้ายรถ  กลุ่มที่ 8 บทกลอนที่หนูรัก  กลุ่มที่ 9 ถอดบทเรียนพอเพียง  กลุ่มที่ 10 อาชีพดีที่หนูรัก  กลุ่มที่ 11 คณิตคิดสนุก  กลุ่มที่ 12 วางทุกงานอ่านทุกคน  กลุ่มที่ 13  สุขบัญญัติสู่นิสัยการอ่าน  กลุ่มที่ 14 ขับขานประสานเสียง  กลุ่มที่ 15 อ่านตามรอยพ่อ

    ผลลัพธ์ 1. นักเรียนมีส่วนร่วมในการร่วมกิจกรรมชมรมของโรงเรียน นำไปสู่การมีพติกรรมที่เหมาะสมตามช่วงวัย 2. นักเรียนมีความรู้ ทักษะในแต่ละชมรม เช่น ดนตรีนาฏศิลป์ และทักษะการอ่าน 3. นักเรียนมีความสามัคคี กล้าแสดงออก ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น

     

    717 567

    2. การทำน้ำดื่มสมุนไพร

    วันที่ 1 มิถุนายน 2559 เวลา 14:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรที่มีในท้องถิ่น คุณค่าประโยชน์และความนิยมในการชื่นชอบสมุนไพรของนักเรียนและชุมชน
    2. จัดทำโครงงานเสนอต่อที่ประชุม
    3. ทำน้ำดื่มสมุนไพร เพื่อเป็นอาหารว่างตอน 10.30 น. ให้กับนักเรียนทุกคนในโรงเรียนได้ดื่มโดยใช้สูตรหวานน้อย น้ำตาลไม่เกิน 5% ทุกวันพุธ และพฤหัสบดี ทุกสัปดาห์
    4. 15 ก.ค. 59 ทำแบบสรุปสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนทุกคน
    5. ขยายผลถ่ายทอดความรู้วิธีทำน้ำดื่มสมุนไพร โดยการแจกแผ่นพับสูตรน้ำดื่มสมุนไพรให้กับนักเรียนและชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต นักเรียนจำนวน 323 คน ได้ดื่มน้ำสมุนไพรสัปดาห์ละ 2 วัน และสามารถนำสูตรกลับไปทำดื่มเองที่บ้านได้

    ผลลัพธ์ 1. นักเรียนทุกคนได้ดื่มน้ำสมุนไพร และพึงพอใจที่ได้ดื่มอยู่ในระดับ ดี 2. นักเรียนได้รับความรู้ และสามารถทำน้ำสมุนไพรดื่มเองที่บ้านได้

     

    404 391

    3. ปลูกข้าวอินทรีย์

    วันที่ 15 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สำรวจศึกษาพันธ์ุข้าวที่เหมาะสมกับการปลูกในท้องถิ่น
    2. ประชุมวางแผนการทำนาตามขั้นตอน
    3. ไถกลบรอบที่ 1 เพื่อตากดิน 7 วัน ให้หญ้าและวัชพืชตาย
    4. ไถกลบรอบที่ 2 เสร็จแล้วหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว
    5. ติดตามดูแล สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ใส่ปุ๋ย
    6. เก็บเกี่ยวและทำการตำข้าว เพื่อทำเป็นข้าวซ้อมมือและแบ่งบางส่วนไปสีเป็นข้าวกล้อง และนำจำหน่ายที่ร้านสหกรณ์โรงเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลลิต นักเรียน จำนวน 56 คน ได้ทำนาข้าว

    ผลลัพธ์ 1. นักเรียนรู้และเข้าใจหลักการทำนาข้าว 2. นักเรียนรู้และเข้าใจการเพิ่มมูลค่าของข้าวให้มีประโยชน์ และมีคุณค่าขึ้นจากแบบที่ชุมชนผลิตเอง และไม่ใช่สารเคมี ปุ๋ยเคมี

     

    112 87

    4. ปลูกผักปลอดสารพิษ

    วันที่ 20 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สำรวจพันธุ์ผักที่มีในท้องถิ่น และความต้องการบริโภคผักของนักเรียน
    2. ประชุมวางแผนกำหนดตามขั้นตอน
    3. เตรียมดิน พรวนดินโรยปูนขาว ตากดิน 3 วัน
    4. หว่านเมล็ดพันธุ์ผัก
    5. ดูแลรักษา รดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช
    6. เก็บผลผลิตที่ได้จำหน่ายให้กับสหกรณ์โรงเรียน และผู้ปกครองในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต นักเรียน จำนวน 323 คน ได้ปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเอง และนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเผยแพร่สู่ชุมชน

    ผลลัพธ์ 1. นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ 2. พัฒนาทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
    3. ฝึกการทำงานทักษะทางอาชีพอยู่อย่างพอเพียง 4. ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม (เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน)

     

    519 506

    5. การเลี้ยงเป็ด

    วันที่ 8 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมวางแผนโครงการต่อเนื่อง และดำเนินการตามแผน
    2. ซื้ออาหารเป็ด และรำข้าว เพื่อนำมาผสมกับเศษอาหารจากโรงอาหารเพื่อเป็นอาหารเป็ด วันละ 1 มื้อ
    3. เก็บไข่เป็ดทุกวันจำหน่ายกับสหกรณ์โรงเรียนเพื่อโรงอาหารซื้อไปประกอบอาหารกลางวัน และขายให้กับผู้ปกครองได้บริโภคไข่เป็ด สด ใหม่ทุกวัน
    4. มูลเป็ดนำมาตากแดดเพื่อทำเป็นปุ๋ยใส่ผัก และต้นไม้ ไม้ดอกไม้ประดับในบริเวณโรงเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต นักเรียน จำนวน 56 คน ได้ฝึกการเลี้ยงเป็ด และหลักการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

    ผลลัพธ์ 1. นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงเป็ด 2. ฝึกการทำงานทักษะทางอาชีพอยู่อย่างพอเพียง  และทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม 3. เป็นการกำจัดขยะเศษอาหารจากโรงอาหารได้อย่างถูกต้องตามวิธีการ Re Use
    4. มีปุ๋ยมูลเป็ดไว้ใส่ดอกไม้ประดับอย่างเพียงพอ

     

    72 72

    6. ทักษะอาชีพ การทำขนมอบ

    วันที่ 18 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดทำโครงงานเสนอต่อที่ประชุม
    2. จัดทำและดำเนินงานตามแผนที่วางไว้
    3. ศึกษาขั้นตอน และวิธีการทำขนมให้เข้าใจ และปฏิบัติตามขั้นตอน
    4. นำขนมที่ได้จำหน่ายร้านสหกรณ์โรงเรียน และจัดทำเป็นอาหารว่างให้กับนักเรียนสัปดาห์ละ 1 วัน
    5. สำรวจสอบถามความพึงพอใจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต นักเรียนจำนวน 95 บาท ได้ฝึกปฏิบัติการทำขนมอบ

    ผลลัพธ์ 1. นักเรียนได้รับความรู้ และฝึกปฏิบัติการทำขนมอบ 2. พัฒนาทักษะด้านกระบวนการคิด และการทำงานเป็นกลุ่ม 3. ฝึกการทำงานทักษะทางอาชีพ 4. ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม (สามัคคี เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน)

     

    104 102

    7. ทำพรมเช็ดเท้า

    วันที่ 9 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดทำโครงงานอาชีพเสนอต่อที่ประชุม
    2. จัดทำและดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ และให้เชิญวิทยากรในท้องถิ่นมาให้ความรู้ และสอนวิธีการทอพรมเช็ดเท้า
    3. ทำการทอพรมในชั่วโมง "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้"
    4. นำผลงานที่ได้มอบให้ห้องเรียน และห้องต่างๆ ทุกห้องในโรงเรียนได้มีพรมเช็ดเท้าใช้
    5. นำพรมเช็ดเท้าไปถวายให้วัด อบต. และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังยาวได้มีพรมเช็ดเท้าใช้ และจัดจำหน่ายในราคาผืนละ 20 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต นักเรียนจำนวน 56 คน รู้เข้าใจและสามารถทอพรมเช็ดเท้าได้ และมีจิตสาธารณะนำพรมเช็ดเท้าที่ทำได้บริการห้องเรียน และสถานที่ต่างๆ ในชุมชนได้

    ผลลัพธ์ 1. นักเรียนได้ความรู้ เข้าใจและสามารถทอพรมเช็ดเท้าได้ 2. นักเรียนสามารถทำงานเป็นกลุ่ม มีทักษะกระบวนการคิด ทักษะการทำงานเป็นกลุ่มเกิดความสามัคคี 3. ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และฝึกเป็นผู้มีจิตศาสธารณะ เพื่อจะอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข

     

    95 86

    8. โครงการอบรมพัฒนาบุคลากรครู นักเรียน แกนนำชุมชน แม่ครัว

    วันที่ 25 สิงหาคม 2559 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ค่าอาหาร - อบรมพัฒนาบุคลากร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง แกนนำชุมชน แม่ครัว แนะนำโครงการ   อาหารว่าง 1 มื้อ สำหรับนักเรียน ครู ผู้ปกครอง แกนนำชุมชน แม่ครัว รวม 240 คน คนละ 25 บาท  รวมเป็นเงิน 6,000 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง แกนนำชุมชน แม่ครัว ได้รับการอบรมพัฒนาศักยภาพอย่างน้อย 2 ครั้ง ผลลัพธ์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง แกนนำชุมชน แม่ครัวมีศักยภาพในการดำเนินการอย่างเต็มศักยภาพ

     

    240 739

    9. การทำเครื่องนวดเพื่อสุขภาพจากลูกกอล์ฟ

    วันที่ 9 กันยายน 2559 เวลา 14:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ และความต้องการของผู้ปกครอง
    2. จัดทำโครงงานเสนอต่อที่ประชุมโรงเรียนเพื่อจัดเข้าในกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยให้นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 -3มีส่วนร่วมในการเลือกกิจกรรมที่ตนสนใจ
    3. ขั้นศึกษาเรียนรู้ตามฐานการประดิษฐ์ไม้นวดเพื่อสุขภาพ ขั้นตอนและวิธีการทำ
    4. ขั้นการอบรมด้านความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการนวดเพื่อสุขภาพ เชิญวิทยากรและผู้มีความรู้เรื่องการนวดมาอบรมให้ความรู้แก่นักเรียน
    5. ขั้นดำเนินการออกพื้นที่ การออกพื้นที่ให้บริการแก่ชุมชนโดยใช้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเป็นสถานที่ในการฝึกประสบการณ์ด้านการนวด
    6. ขยายผล การถ่ายทอดให้ความรู้กับนักเรียนกลุ่มสนใจในระดับชั้นอื่นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต นักเรียน จำนวน 56 คน ได้ฝึกปฏิบัติการสุขภาพอนามัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจัดทำเครื่องนวดเพื่อสุขภาพจากลูกกอล์ฟเผยแพร่สู่ชุมชน

    ผลลัพธ์ 1. นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยในด้านการนวดเพื่อสุขภาพ 2. พัฒนาทักษะด้านกระบวนการคิด และการทำงานเป็นกลุ่ม 3. ฝึกการทำงานทักษะทางอาชีพทรัพย์สินทางปัญญาอยู่อย่างพอเพียง 4. ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม (มีวินัยซื่อสัตย์สุจริตเสียสละอดทนมุ่งมั่นในการทำงานกตัญญู)

     

    443 123

    10. จัดทำรายงานปิดโครงการ งวด1

    วันที่ 20 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้จัดการโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส นางจงกลนี  วิทยารุ่งเรืองศรี ชี้แจงหลักการดำเนินโครงการเด็กไทยแก้มใสและการจัดทำรายงาน งวดที่ 1
    2. จัดทำรายงานข้อมูลในระบบเว็บไซต์ http://www.dekthaikamsai.com
    3. จัดทำรายงานการเงิน ง.1 ส.1
    4. ตรวจสอบเอกสารการเงินค่าใช้จ่าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต บุคลากรโรงเรียน 2 ท่าน ได้เข้าร่วมจัดทำโครงการเด็กไทยแก้มใสและการจัดทำรายงาน งวดที่ 1

    ผลลัพธ์ มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำรายงานในระบบระบบเว็บไซต์ http://www.dekthaikamsai.com

     

    2 2

    11. แปรรูปอาหารท้องถิ่น การทำมะขามแก้ว

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดทำโครงงานเสนอต่อที่ประชุม
    2. จัดทำและดำเนินงานตามแผนที่วางไว้
    3. ศึกษาขั้นตอน และวิธีการทำมะขามแก้วให้เข้าใจ และปฏิบัติตามขั้นตอน
    4. นำมะขามแก้วที่ได้จำหน่ายร้านสหกรณ์โรงเรียน
    5. สำรวจสอบถามความพึงพอใจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต นักเรียนจำนวน 95 คน ได้ฝึกปฏิบัติการทำมะขามแก้ว ผลลัพธ์
    1. นักเรียนได้รับความรู้ และฝึกปฏิบัติการทำมะขามแก้ว
    2. พัฒนาทักษะด้านกระบวนการคิด และการทำงานเป็นกลุ่ม
    3. ฝึกการทำงานทักษะทางอาชีพ
    4. ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม (สามัคคี เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน)

     

    164 142

    12. ประสานชุมชนนำผลผลิตเกษตรอินทรีย์(ข้าว ผัก ผลไม้) สู่อาหารกลางวันโรงเรียน

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.จัดทำโครงการเสนอต่อที่ประชุม 2.สร้างพลังเครือข่ายชุมชนในการขับเคลื่อน สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน นำผลผลิตเกษตรอินทรีย์ (ข้าว ผัก ผลไม้) สู่อาหารกลางวัน 1. สร้างความสนับสนุนของชุมชนและท้องถิ่น ผู้บริหารโรงเรียนประชุมชี้แจงแก่ ครู นักเรียน และออกประชาคม ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนและประชาชนในเขตบริการโรงเรียนทั้ง8 หมู่บ้าน คือบ้านวังยาว หมู่ 1 , 7 , 12บ้านหนองโน หมู่ 2 , 8 บ้านหนองโสน หมู่ 9 , บ้านขอนขว้าง หมู่ 3 และบ้านโนนเจริญ หมู่ 6 จำนวนครอบครัว997 ครัวเรือน
    2. จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาคณะกรรมการสถานศึกษาสรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาจำนวน17คน จากผู้นำชุมชน และผู้ที่สนใจ โดยคณะกรรมการชุดนี้จะทำงานร่วมกับโรงเรียน 3.ดำเนินงานตามแผนที่วางไว้
    4. จัดซื้อผลผลิตเกษตรอินทรีย์ (ข้าว ผัก ผลไม้) สู่อาหารกลางวันโรงเรียน 5. สำรวจสอบถามความพึงพอใจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน สร้างพลังเครือข่ายชุมชนในการขับเคลื่อน สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน นำผลผลิตเกษตรอินทรีย์ (ข้าว ผัก ผลไม้) สู่อาหารกลางวัน

    ผลลัพธ์ 1. นักเรียนได้บริโภคผลผลิตเกษตรอินทรีย์ (ข้าว ผัก ผลไม้) ปลอดสารพิษจากเครือข่ายชุมชนสู่อาหารกลางวัน 2. โรงเรียนได้ขยายเครือข่ายสู่ชุมชน จำนวน 8 หมู่บ้าน ในการสนับสนุนการมีส่วนร่วมด้านโภชนาการ

     

    730 693

    13. การจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม กิจกรรม วังยาวรวมพลังช่วยกันแยก ช่วยลด หมดปัญหาขยะ”

    วันที่ 7 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดทำโครงงานเสนอต่อที่ประชุม
    2. จัดทำและดำเนินงานตามแผนที่วางไว้
    3. ศึกษาขั้นตอน และวิธีการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม กิจกรรม "วังยาวรวมพลังช่วยกันแยก  ช่วยลด  หมดปัญหาขยะ" ให้เข้าใจ
    4. ปฏิบัติตามขั้นตอนการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม กิจกรรม "วังยาวรวมพลังช่วยกันแยก  ช่วยลด  หมดปัญหาขยะ"
    5. สำรวจสอบถามความพึงพอใจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน  ได้เรียนรู้ และฝึกปฏิบัติการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม กิจกรรม "วังยาวรวมพลังช่วยกันแยก  ช่วยลด  หมดปัญหาขยะ"

    ผลผลิต นักเรียนจำนวน 323 คน ได้ฝึกปฏิบัติการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม กิจกรรม "วังยาวรวมพลังช่วยกันแยก  ช่วยลด  หมดปัญหาขยะ" ผลลัพธ์
    ทำให้ปริมาณขยะลดลงอย่างเห็นได้ชัด  บริเวณโรงเรียนและรอบ ๆ  โรงเรียนสะอาด  ร่มรื่น  น่าอยู่น่าเรียน  นักเรียนเกิดความตระหนักเรื่องขยะ  มีระเบียบวินัยในการทิ้งขยะ  ตลอดจนเกิดองค์ความรู้เรื่องการบริหารจัดการขยะความรู้ความเข้าใจเรื่องการป้องกันแก้ไข  จากภาวะมลพิษอื่น ๆ  ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ  และส่งผลให้เกิดความสามัคคี  ความเข้าใจตรงกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชน  และหน่วยงาน  องค์กรในเขตบริการของโรงเรียน

    ผลการดำเนินงานโครงการ 1. โครงการ”วังยาวรวมพลังช่วยกันแยก  ช่วยลด  หมดปัญหาขยะ” ภายใต้โครงการ  โรงเรียนสิ่งแวดล้อมระดับทอง
        มีกิจกรรมดังนี้ 1. โรงเรียนวังยาวสวย..ด้วยพลังชาวขาวม่วง 2. ขยะทองคำ 3. วิชาสิ่งแวดล้อมบูรณาการวิชาการ 4. สามัคคีพร้อมใจ..สู่บ้านของเรา..อยู่อย่างพอเพียง  ที่..เพียงพอ 5. ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพ่อหลวงไทย 6. ร้อยเรียง..บอกเล่าเก้าสิบ 7.วิถีชีวิตเพื่อสุขภาพ 2. ครู บุคลากรในโรงเรียน นักเรียน และชุมชน มีความพึงพอใจในกิจกรรม  ระดับมากที่สุด

     

    689 0

    14. การจัดทำบัญชีนักเรียน ระบบสหกรณ์ ธนาคารโรงเรียน

    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดทำโครงการเสนอต่อที่ประชุม
    2. จัดทำและดำเนินงานตามแผนที่วางไว้
    3. ศึกษาขั้นตอน และวิธีการจัดทำบัญชีนักเรียน การเรียนรู้ระบบสหกรณ์ระบบธนาคารโรงเรียนให้เข้าใจ และปฏิบัติตามขั้นตอน
    4. ซื้อวัสดุประกอบการอบรมจัดทำบัญชีนักเรียน การเรียนรู้ระบบสหกรณ์ระบบธนาคารโรงเรียน
    5. สำรวจสอบถามความพึงพอใจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน  ได้เรียนรู้ และฝึกปฏิบัติการจัดทำบัญชีนักเรียน การเรียนรู้ระบบสหกรณ์  มีธนาคารโรงเรียน

    ผลผลิต นักเรียนจำนวน 150 คน ได้ฝึกปฏิบัติการจัดทำบัญชีนักเรียน การเรียนรู้ระบบสหกรณ์  มีธนาคารโรงเรียน ผลลัพธ์
    1. นักเรียนได้รับความรู้ และฝึกปฏิบัติการจัดทำบัญชีนักเรียน การเรียนรู้ระบบสหกรณ์  มีธนาคารโรงเรียน 2. พัฒนาทักษะด้านกระบวนการคิด และการทำงานเป็นกลุ่ม
    3. ฝึกการทำงานทักษะอาชีพ ระบบสหกรณ์ และธนาคารโรงเรียน 4. ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม (ประหยัด อดออม สามัคคี เสียสละ อดทน มุ่งมั่นในการทำงาน)

     

    163 163

    15. การทำน้ำยาล้างจานสูตรสมุนไพร

    วันที่ 12 ธันวาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดทำโครงงานเสนอต่อที่ประชุม
    2. จัดทำและดำเนินงานตามแผนที่วางไว้
    3. ศึกษาขั้นตอน และวิธีการทำน้ำยาล้างจาน สูตรสมุนไพรโดยใช้มะกรูด ให้เข้าใจ และปฏิบัติตามขั้นตอน
    4. นำน้ำยาล้างจาน สูตรสมุนไพรที่ได้ไปใช้เป็นน้ำยาล้างจานที่ปลอดสารพิษให้กับโรงอาหาร
    5. สำรวจสอบถามความพึงพอใจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น


    นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน  ได้เรียนรู้วิถีไทยตามรอยพระยุคลบาท และฝึกปฏิบัติการทำน้ำยาล้างจาน สูตรสมุนไพรโดยใช้มะกรูดหรืออัญชัญ ผลผลิต นักเรียน จำนวน 56 คน ได้ฝึกการเลี้ยงเป็ด และหลักการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผลลัพธ์
    1. นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับการทำน้ำยาล้างจานสูตรสมุนไพร
    2. ฝึกการทำงานทักษะทางอาชีพอยู่อย่างพอเพียง  และทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
    3. ได้น้ำยาล้างจานที่ปลอดสารพิษให้กับโรงอาหาร

     

    96 86

    16. เลี้ยงปลาดุก

    วันที่ 1 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมวางแผนโครงการต่อเนื่อง และดำเนินการตามแผน
    2. ซื้ออาหารปลาดุก  เพื่อนำมาผสมกับเศษอาหารจากโรงอาหารเพื่อเป็นอาหารปลาดุก วันละ 1 มื้อ
    3. จับปลาดุกเพื่อประกอบเป็นอาหารกลางวันนักเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต นักเรียน จำนวน 95 คน ได้ฝึกการเลี้ยงปลาดุก และหลักการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผลลัพธ์
    1. นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาดุก
    2. ฝึกการทำงานทักษะทางอาชีพอยู่อย่างพอเพียง  และทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม
    3. เป็นการกำจัดขยะเศษอาหารจากโรงอาหารได้อย่างถูกต้องตามวิธีการ Re Use

     

    160 145

    17. เลี้ยงไก่ไข่

    วันที่ 1 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมวางแผนโครงการต่อเนื่อง และดำเนินการตามแผน
    2. ซื้ออาหารไก่ไข่ เพื่อนำมาเป็นอาหารไก่ไข่ วันละ 2 มื้อ
    3. เก็บไข่ไก่ทุกวัน เพื่อจำหน่ายกับสหกรณ์โรงเรียนเพื่อโรงอาหารซื้อไปประกอบอาหารกลางวัน และขายให้กับผู้ปกครองได้บริโภคไข่ไก่ สด ใหม่ทุกวัน
    4. มูลไก่นำมาตากแดดเพื่อทำเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพใส่ผัก ,นาข้าว, ต้นมะละกอ  และไม้ดอกไม้ประดับในบริเวณโรงเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียน ครู ผู้ปกครอง ชุมชน  ได้เรียนรู้ และฝึกปฏิบัติการเกษตร การสหกรณ์ การจัดการอาหารที่ดี ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม ผลผลิต
    นักเรียน จำนวน 323 คน ได้ฝึกการเลี้ยงไก่ไข่ และหลักการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผลลัพธ์
    1. นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ไข่
    2. นักเรียนได้รับประทานไข่ไก่สดใหม่ สัปดาห์ละ 4-5 ฟอง
    3. ฝึกการทำงานทักษะทางอาชีพอยู่อย่างพอเพียง  และทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม 4. มีปุ๋ยมูลไก่ไว้ใส่ผัก ,นาข้าว, ต้นมะละกอ  และไม้ดอกไม้ประดับในบริเวณโรงเรียนอย่างเพียงพอ ถ้าเหลือได้แจกจ่ายให้ผู้ปกครองนักเรียน

     

    492 477

    18. จัดนิทรรศการแสดงผลงาน

    วันที่ 1 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดนิทรรศการแสดงผลงานในเขตพื้นที่หรือในอำเภอโกสุมพิสัย 1. เพื่อขยายเครือข่ายสู่โรงเรียนในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาวังยาวเขวาไร่ดอนกลาง ทั้ง 13 โรงเรียน และเป็นแหล่งเรียนรู้กับโรงเรียนอื่นๆ 2. เพื่อสร้างความตระหนักและภารกิจหน้าที่เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียนชุมชน และหน่วยงานสนับสนุนโครงการเด็กไทยแก้มใสทั้งระบบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต : จัดนิทรรศการแสดงผลงานในในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาวังยาวเขวาไร่ดอนกลาง ทั้ง 13 โรงเรียน และเขตพื้นที่ประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 ผลลัพธ์ : แสดงผลงานเผยแพร่โครงการให้เป็นที่รู้จักกับสาธารณะชนในในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาวังยาวเขวาไร่ดอนกลาง ทั้ง 13 โรงเรียน และเขตพื้นที่ประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 ภาคีร่วมสนับสนุน :
    1. ครูและนักเรียน ในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาวังยาวเขวาไร่ดอนกลาง ทั้ง 13 โรงเรียน และเขตพื้นที่ประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 2. ครูและนักเรียน 4 จังหวัด (ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด) ในศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 3. โรงพยาบาลโกสุมพิสัย และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม

     

    775 775

    19. จัดบริการอาหารกลางวันตามหลักโภชนาการ

    วันที่ 2 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. โรงเรียนมีนโยบายไม่จัดและจำหน่ายอาหารว่าง หรือขนมที่มีไขมันสูง และรสเค็มจัดเพราะอาหารว่างที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ ไขมันสูง และรสเค็มจัด มีผลเสียต่อการเจริญเติบโตของเด็ก เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เป็นผลให้เด็กมีภาวะอ้วน มีความเสี่ยงต่อโรคไต โรคความดันโลหิตสูง ดังนั้น โรงเรียนต้องไม่จัดและจำหน่ายอาหารว่างหรือขนมที่มีไขมันสูง และรสเค็มจัด เป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากองค์ประกอบที่ 7  โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย โดยมี  แผนดำเนินงานดังนี้
                      1.  สำรวจอาหารว่างที่จัดบริการ/จำหน่ายในโรงเรียน 2.  ตรวจสอบปริมาณไขมันและโซเดียม หากมีปริมาณเกินที่กำหนดแสดงว่า มีไขมันสูงและรสเค็มจัด โดยมีเกณฑ์ดังนี้ 3.  อาหารที่ปรุงโดยใช้น้ำมันมากเกิน 3.25 กรัมต่อมื้อ หรือมากกว่าครึ่งช้อนชา (น้ำมัน 1 ช้อนชา หนัก 5 กรัม)  หรืออาหารทอดด้วยน้ำมันท่วม 4.  อาหารที่มีปริมาณโซเดียมระบุในฉลากโภชนาการเกินร้อยละ 4  ของปริมาณโซเดียมที่แนะนำใน 1 วัน (ปริมาณโซเดียมที่ได้รับไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน)  ต่อการบริโภค 1 ครั้ง หรือปริมาณโซเดียมเกิน 100 มิลลิกรัมต่อครั้ง  หรือมีเกลือเกิน  0.25  กรัม                 5.  หากพบอาหารว่างที่มีไขมันและโซเดียมเกินกำหนด ได้ทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการ/ร้านค้าเปลี่ยนเป็นอาหารว่างชนิดอื่นแทน  และอธิบายให้นักเรียนทราบถึงอันตรายจากการบริโภคอาหารดังกล่าว
    2. จัดสำรับอาหารกลางวันตามหลักโภชนาการ ด้วยโปรแกรม Thai School Lunch

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต จัดสำรับอาหารกลางวันครบ 5 หมู่ ตามหลักโภชนาการ ด้วยโปรแกรม Thai School Lunch ทุกวัน

    ผลลัพธ์ 1. นักเรียนทุนคนได้รับประทานอาหารกลางวันอย่างเพียงและถูกสุขลักษณะ 2. นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวัน และอาหารว่าง 2 มื้อ ตามหลักโภชนาการ ด้วยโปรแกรม Thai School Lunch ทุกวัน 3. นักเรียนทุกคนมีภาวะโภชนาการที่ดี

     

    567 550

    20. คืนเงินดอกเบี้ยธนาคารเพื่อปิดโครงการ

    วันที่ 20 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้คืนดอกเบี้ยธนาคารให้กับโครงการ

     

    0 0

    21. ถอนเงินเปิดบัญชี

    วันที่ 21 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ถอนเงินเปิดบัญชี

     

    0 0

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัย มีอารมณ์และสติปัญญาที่ดีขึ้น รวมทั้งมีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
    ตัวชี้วัด : 1. ภาวะอ้วน ผอม ไม่เกิน ไม่เกิน 7 % (ทั้งนี้ดูตามเกณฑ์ของโรงเรียนเป็นหลัก) ภาวะเตี้ย ไม่เกิน 7 % 2. เด็กมีการปรับพฤติกรรมการกิน โดยกินผักและผลไม้ เฉลี่ยในมื้อกลางวันประมาณ 40-100 กรัม (อาจดูตามเกณฑ์ของแต่ละโรงเรียน ที่แยกเป็น ช่วงอนุบาล และ ช่วงปฐม) 3. มีการนำโปรแกรม Thai school lunch มาใช้ในการกำหนดเมนูอาหารกลางวัน 4. มีกระบวนการติดตาม ประเมินสุขภาวะของนักเรียน โดยเด็กและเยาวชน ครู และผู้ปกครอง ร่วมกัน

    1.มีภาวะอ้วน ผอม ไม่เกิน 7% และภาวะเตี้ย ไม่เกิน 7% 2.เด็กมีพฤติกรรมการกินผักผลไม้ เฉลี่ยในมื้อกลางวัน อนุบาล 3 ช้อนกินข้าว (ประถม 4ช้อนกินข้าวมัธยม 5 ช้อนกินข้าว1. ภาวะอ้วน ผอม ไม่เกิน ไม่เกิน 7 % (ทั้งนี้ดูตามเกณฑ์ของโรงเรียนเป็นหลัก) ภาวะเตี้ย ไม่เกิน 7 % 2. เด็กมีการปรับพฤติกรรมการกิน โดยกินผักและผลไม้ เฉลี่ยในมื้อกลางวันประมาณ 40-100 กรัม (อาจดูตามเกณฑ์ของแต่ละโรงเรียน ที่แยกเป็น ช่วงอนุบาล และ ช่วงปฐม) 3. มีการนำโปรแกรม Thai school lunch มาใช้ในการกำหนดเมนูอาหารกลางวัน 4. มีกระบวนการติดตาม ประเมินสุขภาวะของนักเรียน โดยเด็กและเยาวชน ครู และผู้ปกครอง ร่วมกัน

    2 เพื่อให้โรงเรียนเป็นต้นแบบเด็กไทยแก้มใส มีรูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหาร โภชนาการและสุขภาพของเด็กนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    ตัวชี้วัด : 1. เด็กมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินผักและผลไม้เพิ่มขึ้น เฉลี่ยประมาณ 40-100 กรัม ในมื้ออาหารเย็น และอาหารว่าง (ติตตามผลโดยครูและผู้ปกครอง) 2. นักเรียนประมาณ 80% มีพฤติกรรมสุขภาวะที่ดี ได้แก่ การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร มีการแปรงฟันหลังทานอาหาร รวมทั้งแปรงฟันก่อนเข้านอน และมีการคัดแยกขยะก่อนทิ้งลงถัง 3. ทางโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมออกกำลังกาย ก่อนเลิกเรียน (อาจจะเน้นที่เด็กมีภาวะอ้วนเป็นพิเศษ)
    1. เด็กมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินผักและผลไม้เพิ่มขึ้น เฉลี่ยประมาณ 40-100 กรัม ในมื้ออาหารเย็น และอาหารว่าง (ติตตามผลโดยครูและผู้ปกครอง)
    2. นักเรียนประมาณ 80% มีพฤติกรรมสุขภาวะที่ดี ได้แก่ การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร มีการแปรงฟันหลังทานอาหาร รวมทั้งแปรงฟันก่อนเข้านอน และมีการคัดแยกขยะก่อนทิ้งลงถัง
    3. ทางโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมออกกำลังกาย ก่อนเลิกเรียน (อาจจะเน้นที่เด็กมีภาวะอ้วนเป็นพิเศษ)
    3 เพื่อสร้างพลังภาคีเครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของเด็กนักเรียนมีความเข้มแข็ง และเกิดความยั่งยืน
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80 ของผู้ปกครอง ชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของเด็กนักเรียน

    ร้อยละ 80 ของผู้ปกครอง ชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของเด็กนักเรียน

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัย มีอารมณ์และสติปัญญาที่ดีขึ้น รวมทั้งมีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ (2) เพื่อให้โรงเรียนเป็นต้นแบบเด็กไทยแก้มใส มีรูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหาร โภชนาการและสุขภาพของเด็กนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (3) เพื่อสร้างพลังภาคีเครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของเด็กนักเรียนมีความเข้มแข็ง และเกิดความยั่งยืน

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านวังยาววิทยายน

    รหัสโครงการ ศรร.1313-052 รหัสสัญญา 58-00-2265-อ.6 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    กิจกรรมเกษตรผสมผสานพึ่งพิง

    เมื่่่่อก่อนนี้ โรงเรียนบ้านวังยาววิทยายน ซื้ออาหารจากตลาด 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งผักและเนื้อสัตว์ย่อมมีสารเคมีปะปนมา จึงมีแนวคิดในการปลูกผักและเลี้ยงสัตว์กินเองเพื่อให้ปลอดภัยจากสารพิษ โดยได้ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ผ่านการเรียนรู้บูรณาการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ได้แก่
    - การเลี้ยงไก่ไข่ 200 ตัว - การเลี้ยงปลาดุก
    - การเลี้ยงเป็ดบาบารี (กำจัดเศษอาหารกลางวัน) -การปลูกข้าวอินทรีย์ แล้วสีข้าวกินเองโดยโรงสีข้าวขนาดเล็กของโรงเรียนและกระเดื่องตำข้าว วันละ 20 กก. - การปลูกผักสวนครัว เช่น ผักบุ้ง ผักกาด หอม กล้วย ชะพลู มะละกอ เตยหอม เพาะเห็ดฟาง ซึ่งผลผลิตที่ได้สหกรณ์รับซื้อ และขายต่อไปยังโรงอาหารเพื่อประกอบเป็นอาหารกลางวัน ส่วนที่เหลือขายให้ชุมชนไว้บริโภคในราคาถูก นอกจากนั้นยังได้รับความร่วมมือจากชุมชนคือวิทยากรด้านการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์

    ขยายผลการผลิตทั้งการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์เพิ่ม โดยสร้างเครือข่ายชุมชนมามีส่วนร่วมในมากขึ้น เพื่อผลิตอาหารปลอดสารเคมีให้นักเรียนได้ทานครบ 100 เปอร์เซ็นต์โดยการเลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงปลา ปลูกผักไฮโดรโปนิกและออแกรนิก

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    สหกรณ์ตามรอยพระยุคลบาท

    โรงเรียนบ้านวังยาววิทยายน มีงานดำเนินกิจกรรมสหกรณ์ตามรอยพระยุคลบาท โดยกิจกรรมสหกรณ์ร้านค้าของนักเรียนโรงเรียนบ้านวังยาววิทยายนจัดเพื่อส่งเสริมให้สมาชิกได้รู้จักการฝึกบันทึกบัญชี การบันทึกการประชุมและฝึกจำหน่ายสินค้าโดยการปิดบัญชีและประชุมคณะกรรมการเป็นประจำทุกเดือน เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะสามารถนำไปบูรณาการกับการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ เมื่อสิ้นสุดโครงการสมาชิกทุกคนจะได้รับเงินปันผล เฉลี่ยคืน ดอกเบี้ยเงินรับฝากทุกปี สหกรณ์ร้านค้าโรงเรียนบ้านวังยาววิทยายน ได้ดำเนินงานในรูปแบบกิจกรรมร้านค้าควบคู่ไปกับกิจกรรมออมทรัพย์และกิจกรรมการผลิตผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเป็นการสนองงานตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงมีพระราชกระแสให้โรงเรียนมีการจัดทำโครงการสหกรณ์เจ้าฟ้าพัฒนาเด็กไทยเพื่อสร้างรากฐานในการประกอบอาชีพ รู้จักการรวมกลุ่มกันทำงาน และมีนิสัยรักการจดบันทึกบัญชี รูปแบบการจัดกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน ๑.โรงเรียนได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมและบูรณาการร่วมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆอีกทั้งจัดในชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้โดยมีการจัดกิจกรรมต่างๆนอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนโดยเน้นการปฏิบัติจริงของนักเรียนดังต่อไปนี้ -กิจกรรมสหกรณ์ร้านค้า -กิจกรรมออมทรัพย์ -กิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ -กิจกรรมการเลี้ยงเป็ด -กิจกรรมประมงโรงเรียน -กิจกรรมการปลูกพืชผัก -กิจกรรมปลูกข้าวอินทรีย์โรงสีข้าว -กิจกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ๒.ส่งเสริมการให้นักเรียนรู้จักวิธีการจัดทำบัญชีรับ-จ่ายในทุกกิจกรรม ๓.จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีสหกรณ์โดยได้รับความร่วมมือจากวิทยากรจากสำนักสหกรณ์จังหวัดมหาสารคามให้กับนักเรียน สหกรณ์ร้านค้าและสหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นบูรณาการการเรียนรู้โดยนักเรียนได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริง ทั้งการซื้อการขายการจัดทำบัญชี สินค้าที่สหกรณ์รับซื้อและจำหน่าย ได้แก่เครื่องเขียน อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบ เน้นผลผลิตทางการเกษตร ข้าว ผัก ผลไม้ นำ้ดื่มสมุนไพร นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการออมทรัพย์ของนักเรียน ซึ่งทั้งหมดนี้ดำเนินในรูปคณะกรรมการของนักเรียน ได้เรียนรู้แลฝึกปฏิบัติจริงมีวิทยากรจากสหกรณ์จังหวัดเป็นพี่เลี้ยงคอยสนับสนุน ผลลัพธ์นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้และเรียนร่วมในการทำงานด้วยการปฏิบัติจริงด้านกระบวนการผลิตการจำหน่าย การออม และการจัดทำระบบบัญชีรับ – จ่ายแบบง่ายในรูปแบบสหกรณ์อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างยั่งยืน

    ขยายเครือข่ายสู่ชุมชนเพิ่มขึ้นโดยการดึงชุมชนมาเป็นสมาชิก และให้การสนับสนุนทั้งวิชาการและงบประมาณรับซื้อผลผลิตจากชุมชน โดยเฉพาะข้าว เป็นการสนองนโยบายรัฐบาลในการช่วยเหลือชาวนาอีกทางหนึ่งด้วย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    กิจกรรมอาหารว่างและอาหารกลางวัน

    โรงเรียนบ้านวังยาวิทยายน มีการจัดอาหารว่างให้กับนักเรียน 2 มื้อ เช้า เวลา 10.30 น. น้ำเต้าฮู้ น้ำสมุนไพร นึ่งฟักทอง มัน ผลไม้ตามฤดูการหมุนเวียนสับเปลี่ยนกันไป บ่าย 14.30 ดื่มนม ส่วนอาหารกลางวัน จัดทำรายการอาหารหมุนเวียนอย่างน้อย 1 เดือนตามมาตรฐานโภชนาการ (โดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch) ที่สอดคล้องกับผลผลิตทางการเกษตรของโรงเรียน โดยอบรมผู้นำนักเรียนเป็นผู้ดำเนินการในการลงข้อมูล รายการอาหารหมุนเวียนอย่างน้อย 1 เดือนตามมาตรฐานโภชนาการ (โดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch) นักเรียนแกนนำรับผิดชอบจัดทำรายการอาหารกลางวัน เสนอรายการอาหารกลางวันต่อครูผู้รับผิดชอบเพื่อครวจสอบความถูกต้อง ลงรายการอาหารหมุนเวียนอย่างน้อย 1 เดือนตามมาตรฐานโภชนาการ (โดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch)ที่สอดคล้องกับผลผลิตทางการเกษตรของโรงเรียน นำรายการวัตถุดิบที่ต้องซื้อไปให้แม่ครัว จัดประกอบอาหารตามเมนูที่วางไว้ มีเมนูเสริมคือไข่ต้มจากผลผลิตของโรงเรียน และส้มตำแบบบุปเฟ่ต์วันจันทร์ พุธ ศุกร์ เพื่อเสริมปริมาณการกินผัก ตักอาหารตามปริมาณและสัดส่วนของโภชนาการที่เหมาะสมกับวัย นักเรียนท่องบทพิจารณาอาหาร รับประทานอาหาร ล้าง-เก็บภาชนะสำรวจความพึงพอใจนักเรียน ผู้ปกครองที่มีส่วนได้เสีย

    ขยายผลการจัดทำอาหารว่างและอาหารกลางวันกับโรงเรียนอื่นภายในเขตพื่้นที่การศึกษา เพื่่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันนอกจากนั้นจะพัฒนาต่อยอดอาหารแบบครบวงจร

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    การดำเนินโครงงาน พี่สอนน้องOnebyOneเรื่องฟันสวยด้วยมือเรา

    1.เป็นการเรียนรู้เรื่องของสุขภาพในช่องปากให้กับนักเรียนเพื่อนักเรียนจะได้พัฒนาทักษะการดูแลรักษาสุขภาพในช่องปากให้มากขึ้น 2.รู้และปฏิบัติการแปรงฟันที่ถูกวิธี 3.วัดระดับความรู้พื้นฐานในเรื่องของสุขภาพในช่องปาก 4.ศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ

    จะพัฒนาต่อจากที่เป็นพี่สอนน้องแบบตัวต่อตัว พัฒนาเป็นรูปเล่มในรูปแบบหนังสือเล่มเล็ก ที่ส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติในโรงเรียน
    -พื้นที่ฉันทศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง -ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติบูรณาการสู่นิสัยสุขบัญญัติ -สนามเด็กเล่นสร้างปัญญา (BBL) ตามรอยพระยุคลบาท -สุขาภิบาลโรงอาหาร -สุขาภิบาลห้องน้ำห้องส้วม

    1.จัดสรรพื้นที่ในโรงเรียนเพื่อเป็นที่ปลูกผัก เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงเป็ด เลี้ยงปลาดุก ปลูกข้าว 2.จัดระบบบริการห้องสมุด โดยใช้กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เพื่อบูรณาการสุขบัญญัติสู่นิสัยรักการอ่าน 3.มีสนามเด็กเล่นและสระว่ายน้ำ เพื่อพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา และฝึกว่ายน้ำช่วยชีวิต 4.มีโรงอาหารและห้องน้ำห้องส้วมที่ถูกสุขบัญญัติ

    1.จัดสรรพื้นที่ในโรงเรียนเพื่อเศรษฐกิจพอเพียงให้เพียงพอและสมบูรณ์ 2.พัฒนาระบบอินเตอร์เน็ตในห้องสืบค้นและมีห้องสมุดเสียง 3.มีสนามเด็กเล่นที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา 4.ใช้โปรแกรม Thai School Lunch ในการคำนวณการประกอบอาหารและสั่งซื้อวัตถุดิบได้ตามโปรแกรม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    โรงเรียนบ้านวังยาววิทยายน จังหวัด มหาสารคาม

    รหัสโครงการ ศรร.1313-052

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายนิคม ไวบรรเทา )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด