ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง


“ โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง ”

2/36 หมู่ที่ 14 ถนน มิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

หัวหน้าโครงการ
นางเนื่องนิตย์ พาลี

ชื่อโครงการ โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง

ที่อยู่ 2/36 หมู่ที่ 14 ถนน มิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น จังหวัด ขอนแก่น

รหัสโครงการ ศรร.1322-048 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-อ.2

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2016 ถึง 30 เมษายน 2017


กิตติกรรมประกาศ

"โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง จังหวัดขอนแก่น" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน 2/36 หมู่ที่ 14 ถนน มิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง



บทคัดย่อ

โครงการ " โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง " ดำเนินการในพื้นที่ 2/36 หมู่ที่ 14 ถนน มิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น รหัสโครงการ ศรร.1322-048 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 230 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวงจึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่งในปีที่ 1 ได้ดำเนินการดังต่อไปนี้ การดำเนินโครงการเด็กไทยแก้มใสปีที่ผ่านมาโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง ได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเรื่องเกษตรสหกรณ์อาหาร โภชนาการ และสุขภาพ โดยจัดให้มีกิจกรรมดังนี้ 1. กิจกรรมเกษตรในโรงเรียน จัดให้มีกิจกรรมปลูกผัก เพาะเห็ด และ การเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ไข่ ปลา กบเป็นต้น โดยเน้นให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม พร้อมจัดกระบวนการเรียนรู้ทั้งทฤษฎี และการลงมือปฏิบัติจริง 2. กิจกรรมสงเสริมสหกรณ์โรงเรียนฝึกให้นักเรียนรู้จักการจัดการสหกรณ์เพื่อเกิดทักษะในการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงส่งเสริมให้สมาชิกรู้จักการประหยัดทรัพย์ ด้วยการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการช่วยตัวเองให้อยู่ดีกินดี อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้เงินโดยประหยัด และรู้จักเรื่องการลงทุน อันเป็นแนวทางในการดำรงชีพต่อไปมีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านการเกษตร ให้นักเรียนนำผลผลิตที่ได้จากการเกษตรมาจำหน่ายที่สหกรณ์ โรงเรียน หรือจัดเป็นตลาดนัดในโรงเรียนเพื่อจำหน่ายสินค้า เช่น ผักปลอดสารพิษ ไข่ไก่ เห็ดตลอดจนสินค้าที่ได้จากการแปรรูปอาหารโดยให้นักเรียนได้เรียนรู้กลไกลการตลาด และการคำนวณต้นทุนและกำไร 3. กิจกรรมด้านอาหาร และโภชนาการ - กิจกรรมอิ่มอุ่นโรงเรียนได้จัดให้นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้า เพื่อให้เกิดความพร้อม และมีสมาธิในการเรียนรู้ได้ดี ช่วยให้ผู้ปกครองได้รับประทานอาหารเช้าเช่นกัน เพื่อเป็นการช่วยเหลือในเบื้องต้น ให้กับผู้ปกครองที่ขาดแคลนได้รับประทานอาหารเช้าฟรี เป็นสนับสนุนนโยบายคนขอนแก่นไม่ทอดทิ้งกันโดยจัดให้มีรายการอาหารที่หลากหลาย และนำผลิตผลที่ได้จากกลุ่มงานทักษะอาชีพมาใช้ในการประกอบอาหาร - กิจกรรมอาหารกลางวันการจัดอาหารกลางวันในโรงเรียนที่มีนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษา เป็นสิ่งสำคัญมากเพราะเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตในทุกด้านคือทั้งด้านร่างกายอารมณ์และสังคมโรงเรียนจึงได้จัดทำโครงการอาหารกลางวันตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่6เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง อีกทั้งยังมีการดื่มนมทุกวันก่อนเข้าเรียนในช่วงบ่าย - กิจกรรมเรียนรู้การประกอบอาหารนักเรียนได้นำเอาผลิตผลทางการเกษตรของโรงเรียน เช่น ผัก ไข่เห็ด กล้วยเป็นต้น นำมาแปรรูป หรือประกอบอาหาร โดยเน้นให้เด็กตระหนักและเห็นคุณค่าด้านการบริโภคที่ถูกสุขลักษณะ 4. กิจกรรมอนามัยในโรงเรียน - กิจกรรมแปรงฟันนักเรียนทุกคนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารกลางวัน และดื่มนมทุกๆ วัน ปฏิบัติจน เป็นวิถีอีกทั้งมีการตรวจสุขภาพฟันอยู่เป็นประจำมีการคัดกรองนักเรียนกลุ่มที่มีฟันผุ และส่งต่อการรักษาไปยังศูนย์แพทย์ต่อไป - กิจกรรมตรวจสุขภาพ นักเรียนได้การตรวจสุขภาพมีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการ ดูแลความสะอาดด้านร่างกายอย่างสม่ำเสมอ - กิจกรรมการใช้ห้องน้ำ มีการปรับปรุงห้องน้ำให้ถูกสุขลักษณะ และฝึกวิธีการใช้ห้องน้ำ
ตลอดจนการรักษาความสะอาดเพื่อป้องกันเชื้อโรคเช่นล้างมือทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำ - กิจกรรมทดสอบสมรรถนะทางกายมีการทดสอบสมรรถนะทางกายของผู้เรียนในทุกระดับชั้น โดยมีการท สอบ ภาคเรียนละ 1 ครั้ง มีกิจกรรมที่ใช้ในการทดสอบ เช่น กระโดดไกล การงอตัว การวิ่งเก็บของ การวิ่งจับเวลา เป็นต้น เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาและส่งเสริมให้นักเรียนมีสมรรถนะทางกายที่ดีต่อไป
จากบทเรียนความสำเร็จเบื้องต้นที่ผ่านมา โรงเรียนก็ยังถือว่าต้องดำเนินการพัฒนาและแก้ปัญหาต่อไปโดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจร มาปฏิบัติและพัฒนาสู่โรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใส เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้กินอิ่มอย่างมีคุณภาพ แก้มใส โภชนาการสมวัย สุขภาพแข็งแรง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี เติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อดำเนินกิจกรรมกระบวนการเรียนการสอนเกี่ยวกับการเกษตรในโรงเรียน นำผลผลิตที่ได้สู่สหกรณ์นักเรียนและโครงการอาหารกลางวัน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 อย่างยั่งยืน
  2. จัดกิจกรรมออมทรัพย์ในงานสหกรณ์นักเรียนเพื่อสนองหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีจำนวนนักเรียนออมทรัพย์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
  3. เพื่อติดตามภาวะโภชนาการเฝ้าระวังแก้ไขนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการและพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียนในการปฏิบัติตนให้มีสุขนิสัยที่ดีด้วยตนเอง (มีจำนวนนักเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 10 )

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. นักเรียนเกิดความตระหนักที่จะดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองรู้จักเลือกรับประทานอาหารที่เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย
    2. ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องโภชนาการสามารถให้คำแนะนำและดูแลสุขภาพนักเรียนได้
    3. เกิดความร่วมมือกับชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน
    4. โรงเรียนสามารถดำเนินการจัดการอาหารในโรงเรียนได้อย่างยั่งยืนประสบความสำเร็จ

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมผู้ปกครองและตัวแทนชุมชน ชี้แจงโครงการเด็กไทยแก้มใส

    วันที่ 9 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมผู้ปกครองเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการเด็กไทยแก้มใส พูดถึงที่มาและความสำคัญของโครงการ การดำเนินงานในปีที่ผ่านมา และแนวทางการดำเนินงานในปีที่ 2

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้ปกครองมีความเจตคติที่ดีต่อโครงการเด็กไทยแก้มใน และได้ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการและการมีส่วนร่วมในโครงการ มีการสำรวจความต้องการ และกิจกรรมที่จะร่วมพัฒนากับทางโรงเรียน มีผู็ปกครองให้ความสนใจในเรื่องการเกษตร เช่นการปลูกผักปลอดสารพิษ การทำปุ๋ยหมัก โดยใช้พื้นที่ของโรงเรียนเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้

     

    14 99

    2. การแบ่งเขตพื้นที่รักษาความสะอาดภายในบริเวณโรงเรียน

    วันที่ 16 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการทำความสะอาด แบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบตั้งแต่ระดับชั้น อนุบาล ถึง ชั้น ป.6 และแบ่งเขตรับผิดให้ครูทุกท่าน เพื่อทำกิจกรรมร่วมกับนักเรียน มีการจัดทำป้ายเพื่อบอกเขตพื้นที่รับผิดชอบที่ชัดเจน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นักเรียน และครูทุกคน มีพื้นที่ในความรับผิดชอบ และช่วยกันรักษาความสะอาดในทุกๆเช้าก่อนเข้าแถว เป็นการปลูกฝังให้เกิดความรัก ความสามัคคี และรู้จักหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ทำบ่อยจนกลายเป็นกิจวัตร

     

    259 259

    3. การออมทรัพย์ และการดำเนินงานสหกรณ์โดยนักเรียน

    วันที่ 16 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แต่ตั้งคณะกรรมการดำเนินกิจกรรมจัดทำสมุดบัญชีเงินฝากสำหรับนักเรียน วางแผนการจัดทำระบบฝากเงินออมทรัพย์ นักเรียนได้ออมทรัพย์ทุกวัน พร้อมรับสมุดบัญชีเงินฝากกลับไปแจ้งผู้ปกครองให้รับทราบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะกรรมการตรวจรับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทุกเดือน
    • นักเรียนทุกคนมีสมุดบัญชีเงินฝาก และมีการบันทึกรายการฝากเงิน พร้อมสรุปยอดเงินฝากเป็นรายเดือน รายปี
    • มีคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียนที่จัดตั้งและดำเนินการโดยนักเรียน
    • ระบบรับสมัครสมาชิกด้วยความสมัครใจ เปิดกว้างสำหรับนักเรียนทุกคน และมีการเก็บค่าหุ้น
    • มีบัญชีรายรับ – รายจ่าย ประจำวัน บัญชีสินค้า บัญชีสมาชิก และมีสรุปบัญชี

     

    270 0

    4. การส่งเสริมสุขภาพฟันแลัทันตกรรมในช่องปาก

    วันที่ 16 พฤษภาคม 2016 เวลา 12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดหาอุปกรณ์สำหรับการแปรงฟัน
    2. แบ่งเขตพื้นที่ในการแปรงฟัน จัดให้นักเรียนแปรงฟังทุกคนหลังรับประทานอาหารกลางวัน
    3. โดยมีครูคอยตรวจความสะอาดในช่องปากอีกครั้งเพื่อคัดกรองนักเรียนที่มีปัญหาเรื่องฟันผุ
    4. ติดต่อประสานกับแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม มาตรวจ และรักษาในลำดับต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นักเรียนทุกคนได้รับอุปกรณ์แก้มน้ำ แปรงสีฟัน และยาสีฟันทุกคน
    • นักเรียนทุกคนแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร โดยมีคุณครูประจำชั้นคอยดูแลตามเขตพื้นที่แปรงฟัน
    • คุณครูมีการตรวจความสะอาดหลังจากแปรงฟัน เดือนละ 1 ครั้ง
    • มีการส่งต่อนักเรียนในกลุ่มที่มีปัญหาด้านทันตกรรม ให้กับทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม มาตรวจ และรักษาในลำดับต่อไป

     

    270 270

    5. การจัดทำเมนูอาหารกลางวันด้วยโปรแกรม Thai School Lunch

    วันที่ 16 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ใช้โปรแกรม Thai School Lunchในการจัดทำ เมนูอาหารกลางวัน
    • จัดบอร์ดเมนูอาหารโดยมีการเปลี่ยนเมนูอาหารทุกสัปดาห์
    • จัดป้ายประชาสัมพันธ์องค์ความรู้เกี่ยวกับธงโภชนาการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้เมนูอาหารกลางวันเป็นรายสัปดาห์ ที่ได้จากโปรแกรม Thai School Lunch ทำให้นักเรียนได้รับประทานอาหาร ที่มีคุณค่าทางโภชนากรที่ สมบูรณ์
    2. มีบอร์ดเมนูอาหารแจ้งเป็นรายสัปดาห์ โดยมีการเปลี่ยนเมนูอาหารทุกสัปดาห์
    3. มีป้ายองค์ความรู้เกี่ยวกับธงโภชนาการ และอาหารหลัก 5 หมู่ เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญ และนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

     

    245 245

    6. อบรมเรื่องสุขภาพและโภชนาการที่ดี

    วันที่ 16 มิถุนายน 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะการณ์เจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กในวัยเรียนจากวิทยากร  ร่วมกันวิเคราะห์ผลการติดตามการเฝ้าระวังน้ำหนัก ส่วนสูง เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ครั้งที่ 1    โภชนากรให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดอาหารสำหรับเด็กในวัยเรียนตามมาตรฐานโภชนาการ เพื่อแก้ไขปัญหากลุ่ม  เด็กที่มีน้ำหนักส่วนสูงเกินเกณฑ์ และต่ำกว่าเกณฑ์  ฝึกปฏิบัติการจัดอาหารสำหรับเด็กในวัยเรียนตามมาตรฐาน ติมตามติดตามการเฝ้าระวังน้ำหนัก ส่วนสูง ของนักเรียนที่มีน้ำหนักส่วนสูงเกินเกณฑ์ และต่ำกว่าเกณฑ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. แม่ครัว บุคลากร ผู้ปกครอง และนักเรียน มีความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของโภชนาการและสุขภาพอนามัยเด็กในวัยเรียน
    2. แม่ครัว บุคลากร ผู้ปกครอง และนักเรียน มีความพึงพอใจในการอบรมโภชนาการและสุขภาพอนามัยเด็กในวัยเรียน และสามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    3. ผู้ปกครอง กลุ่มแกนนำ ให้ความร่วมมือ กับทางโรงเรียน ในการติดตามเผ้าระวังวังน้ำหนัก ส่วนสูง เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ของนักเรียน
    4. มีการสรุป และติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

     

    35 80

    7. ฝาก-ถอนเงินเปิดบัญชี จำนวน 500 บาท

    วันที่ 17 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ฝาก-ถอนเงินเปิดบัญชี จำนวน 500 บาท

     

    0 0

    8. การคัดแยกขยะในโรงเรียนและชุมชน

    วันที่ 10 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วางแผนการดำเนินงาน ประชุมพูดคุยสร้างความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรม
    • จัดทำธนาคารขยะในโรงเรียน ชุมชนหนองแวงตราชู 2 และชุมชนหนองแวงตราชู 4
    • จัดตั้งกลุ่มแกนนำนักรบสิ่งแวดล้อมในการดำเนินกิจกรรม
    • มีการคัดแยกขยะทุกเช้า และชั่งน้ำหนักขยะในห้องเรียนทุกเย็น เพื่อบันทึกสถิติปริมาณขยะในแต่ละวัน
    • นำขยะที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ไปประยุกต์ใช้ หรือทำสิ่งประดิษฐ์
    • ธนาคารขยะจัดจำหน่ายขยะที่คัดแยกทุกสัปดาห์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นักเรียน  ครู บุคลากรทางการศึกษา และชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลด  การคัดแยกขยะ  และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

    • นักเรียน  ครู  และบุคลากรทางการศึกษา  ตระหนักถึงความสำคัญของการลด  การคัดแยกขยะ  และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ และนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งให้ความร่วมมือในการจัดการขยะโรงเรียนให้ปลอดขยะ

    • สร้างรายได้เสริมให้กับผู้ปกครองและชุมชน
    • สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชนสะอาดปลอดขยะ

     

    261 259

    9. อบรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

    วันที่ 12 พฤศจิกายน 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม และเปิดการอบรม 2.วิทยากรให้ความรู้การผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง เพื่อปรับปรุง บํารุงดิน  การผลิตและใช้ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อเพิ่มธาตุอาหารพืช  การผลิตและใช้น้ําหมักชีวภาพ สารบําบัดน้ําเสียและขจัดกลิ่นเหม็น 3.สาธิตและการฝึกปฏิบัติโดย     - การผลิตปุ๋ยหมัก โดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.1     - การขยายเชื้อปุ๋ยชีวภาพ พด.12     - การผลิตน้ําหมักชีวภาพ สารบําบัดน้ําเสียและขจัดกลิ่นเหม็น โดยใช้สารเร่งซุปเปอร์พด.2/พด.6
        - การผลิตปุ๋ยหมักจากน้ำนม โดยใช้กากน้ำตาล 4. สรุปและเปลี่ยนประเด็นข้อซักถาม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ประชาชน ผู้สนใจทั่วไป ชุมชน เกษตรกร นักเรียนและนักศึกษา ได้รับความรู้ความเข้าใจการ ผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ น้ําหมักชีวภาพ สารบําบัดน้ําเสียและขจัดกลิ่นเหม็น ที่ผลิตจาก ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์พด.ของกรมพัฒนาที่ดิน
    2. ได้เครือข่ายการใช้จุลินทรีย์พด. ของกรมพัฒนาที่ดิน
    3. เพื่อนําผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์พด. ไปใช้เป็นปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ลดการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีทางการเกษตร ลดต้นทุนการผลิต และรักษาสิ่งแวดล้อม

     

    44 52

    10. การปลูกผักปลอดสารพิษ

    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ศึกษาดูงานการปลูกผักปลอดสารพิษที่ อ.ซำสูง จ.ขอนแก่น
    • แบ่งกลุ่มนักเรียนที่รับผิดชอบ และวางแผนกระบวรการปลูกผัก โดยมีการแบ่งเวรในแต่ละกลุ่ม
    • ดูแลรดน้ำ พรวนดิน เก็บผลผลิตส่งให้กับสหกรณ์ เพื่อจำหน่ายให้กับโครงการอาหารกลางวัน
    • ผู้ปกครองที่สนใจปลูกผักปลอดสารพิษ สามารถนำผลผลิตที่ได้มาจำหน่ายผ่านสหกรณ์โรงเรียน สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ปกครอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นักเรียนและบุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการปลูกผักปลอดสารพิษ
    • นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้กลับไปประยุกต์ใช้ที่บ้าน ปลูกผักปลอดสารพิษร่วมกับผู้ปกครอง
    • นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง
    • ผู้ปกครองที่ว่างงานมีรายได้ขากการปลูกผักปลอดสารพิษมาจำหน่ายให้กับสหกรณ์โรงเรียน

     

    275 260

    11. สหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียน

    วันที่ 1 ธันวาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รับสมัครสมาชิกในการจัดจำหน่าย และดำเนินงานระบบสหกรณ์ในโรงเเรียน
    • ศึกษาดูงานการจัดการระบบสหกรณ์ที่ยั่งยืนครบวงจร
    • จัดเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ในระบบการทำงาน
    • นักเรียนฝึกปฏิบัติการบริหารระบบสหกรณ์โรงเรียนโดยมีครูเป็นที่ปรึกษา
    • มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบตามเวรประจำวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดระบบสหกรณ์ ที่เกิดแรงบรรดาลใจในการทำงานจากการไปศึกษาดูงาน
    • นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
    • นักเรียนสามารถปฏิบัติการจัดจำหน่าย การจัดทำบัญชี สามารถกำหนดราคาที่เกิดจากการคิดคำนวณต้นทุน และกำไร

     

    38 38

    12. การปลูกพืชไร้ดิน

    วันที่ 12 ธันวาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สำรวจความต้องการของผู้เรียน
    • เขียนโครงการ/เสนอโครงการ
    • ประชุมชี้แจงคณะครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
    • ขออนุมัติจัดซื้ออุปกรณ์ในการปลูกพืชไร้ดิน -  ประสานวิทยากรให้ความรู้การปลูกพืชไร้ดิน
    • เรียนรู้ความรู้พื้นฐานการปลูกพืชไร้ดิน
    • ปฏิบัติการปลูกพืชไร้ดินและการบำรุงรักษา
    • การนำไปประยุกต์ใช้สู่การสร้างอาชีพและรายได้
    • นิเทศ ติดตาม กำกับ
    • ประเมินผลโครงการ/รายงานผลการดำเนินงาน
    • สรุปผลการปฏิบัติงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นักเรียนค้นหาศักยภาพของตนเองในการเรียนรู้ทักษะด้านวิชาการสู่งานอาชีพ
    • นักเรียนมีทักษะในการปฏิบัติและกระบวนการปลูกพืชไร้ดิน โดยใช้ความรู้ด้านวิชาการมา บูรณาการให้เกิดทักษะอาชีพ และสร้างรายได้
    • มีเจตคติที่ดีต่อวิชาที่ตนเองมีความถนัดและสนใจ  มีคุณธรรม จริยธรรม  ความ สามัคคีในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มและสามารถที่จะทำได้ร่วมกับผู้อื่น

     

    30 30

    13. ศึกษาดูงานศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

    วันที่ 20 มกราคม 2017 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ
    • ประชุมกลุ่มชี้แจงและจัดเตรียมรูปแบบกิจกรรมอบรม
    • จัดเตรียมกลุ่มกระบวนการและวิทยากรมวลชนสัมพันธ์และออกแบบกิจกรรม
    • เข้าเรียนรู้ศึกษาดูงานตามฐานการเรียนรู้ ได้แก่ ฐานความรู้พื้นฐานการทำการเกษตร ฐานการปลูกผักปลอดสารพิษ ฐานการทำปุ๋ยหมักชัวภาพ ฐานการจัดระบบจำหน่ายผลผลิตผ่านสหกรณ์ชุมชน
    • สรุปองค์ความรู้ที่ได้ และวางแผนการนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้ปกครอง  นักเรียน บุคลากร และตัวแทนชุมชน มีความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง
    • ผู้ปกครอง  นักเรียน บุคลากร และตัวแทนชุมชน ได้เข้าร่วมศึกษาดูงานเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
    • เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของนักเรียน และชุมชนอย่างยั่งยืน

     

    50 48

    14. ถอนเงินดอกเบี้ย จำนวน 38.47 บาท

    วันที่ 24 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ถอนเงินดอกเบี้ย จำนวน 38.47 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ถอนเงินดอกเบี้ย จำนวน 38.47 บาท

     

    0 0

    15. เฝ้าระวังน้ำหนัก ส่วนสูง เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ

    วันที่ 31 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ภาคเรียนละ 2 ครั้ง
    • ประมวลผลภาวะโภชนาการ และคัดกรองเด็กนักเรียนที่มีน้ำหนัก ส่วนสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ มีจำนวน 27 คน
    • จัดกระบวนพัฒนาเด็กนักเรียนให้มีน้ำหนัก ส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย การควบคุมอาหารตามความจำเป็น ส่งเสริมการเล่นกีฬา
    • จัดอบรมให้ความรู้แก่ครู แม่ครัว และผู้ปกครอง เข้าใจหลักการจัดอาหารตามโภชนาการที่ถูกต้อง
    • ติดตามผลภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ครู แม่ครัว และผู้ปกครอง เข้าใจหลักการจัดอาหารตามโภชนาการที่ถูกต้อง
    • นักเรียนที่มีน้ำหนัก ส่วนสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ มีจำนวน 27 คน ได้รับการดูแลด้วยกระบวนการต่างๆของทางโรงเรียนอย่างเหมาะสม
    • ผลการติดตามภาวะโภชนาการของโรงเรียน จากกลุ่มเด็กจำนวน 27 คน มีผลดังนี้     นักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วน และอ้วน เดิมมีจำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 4.43  มีจำนวนลดลงเหลือ 6 คน คิดเป็นร้อยละ 3.8
          นักเรียนที่มีภาวะผอม เดิมมีจำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 12.66 มีจำนวนลดลงเหลือ 16 คน คิดเป็นร้อยละ 10.13

     

    20 50

    16. การบริการสุขภาพในโรงเรียน

    วันที่ 31 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ควบคุมป้องกัน ปรับปรุงสิ่งที่เข้าสู่ร่างกายให้ปลอดภัยจากเชื้อโรคและสารพิษ เช่น น้ำ ขยะ ส้วม
    • นึกถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นภายในโรงเรียน ครูสามารถควบคุมและป้องกันได้ เช่น สนามเด็กเล่น สระน้ำหรือเครื่องเล่นภายในโรงเรียน
    • ดูแลเกี่ยวกับน้ำดื่มน้ำใช้ตลอดจนภาชนะใส่น้ำดื่มให้เพียงพอ
    • จัดห้องน้ำมีความสะอาด เพียงพอกับจำนวนนักเรียน
    • การกำจัดสิ่งปฏิกูล กำจัดขยะ น้ำโสโครกอันเป็นแหล่งเพาะพันธุ์แลงและสัตว์นำโรค
    • การจัดห้องเรียน ดูแลเกี่ยวกับการถ่ายเทอากาศ ความร้อน แสงสว่าง การจัดโต๊ะ เก้าอี้ และความปลอดภัยของตัวอาคาร
    • การจัดห้องพยาบาลให้ถูกสุขลักษณะและจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ที่เหมาะสม
    • ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ และสวยงาม
    • ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักดูแลเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มให้สะอาดปราศจากเชื้อโรค

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องตามลำดับความเร่งด่วน
    • นักเรียนได้รับความช่วยเหลือที่ถูกต้องโดยการติดต่อกับตัวเด็ก ผู้ปกครอง และหน่วยบริการสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
    • มีการป้องกันอุบัติเหตุ การปฐมพยาบาลนักเรียนที่ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บไข้ได้ป่วยเล็ก ๆ น้อยๆ ในโรงเรียน
    • นักเรียนได้รับการแนะ หรือการแนะแนวเกี่ยวกับสุขภาพ
    • นักเรียนส่งเสริมสุขภาพ และจัดสวัสดิการของนักเรียนให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

     

    238 238

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อดำเนินกิจกรรมกระบวนการเรียนการสอนเกี่ยวกับการเกษตรในโรงเรียน นำผลผลิตที่ได้สู่สหกรณ์นักเรียนและโครงการอาหารกลางวัน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 อย่างยั่งยืน
    ตัวชี้วัด : มีผลผลิตด้านการเกษตร ด้านผักปลอดสารพิษการเลี้ยงสัตว์สนับสนุนอาหารกลางวันได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ70

     

    2 จัดกิจกรรมออมทรัพย์ในงานสหกรณ์นักเรียนเพื่อสนองหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีจำนวนนักเรียนออมทรัพย์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
    ตัวชี้วัด : นักเรียนทุกระดับชั้นได้มีการเรียนรู้และรู้จักการออมได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

     

    3 เพื่อติดตามภาวะโภชนาการเฝ้าระวังแก้ไขนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการและพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียนในการปฏิบัติตนให้มีสุขนิสัยที่ดีด้วยตนเอง (มีจำนวนนักเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 10 )
    ตัวชี้วัด : นักเรียนทุกระดับชั้นได้เรียนรู้เรื่อง สุขภาพอนามัย และมีสุขนิสัยที่ดีในด้านสุขภาพด้วยตนเอง

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อดำเนินกิจกรรมกระบวนการเรียนการสอนเกี่ยวกับการเกษตรในโรงเรียน นำผลผลิตที่ได้สู่สหกรณ์นักเรียนและโครงการอาหารกลางวัน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 อย่างยั่งยืน (2) จัดกิจกรรมออมทรัพย์ในงานสหกรณ์นักเรียนเพื่อสนองหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีจำนวนนักเรียนออมทรัพย์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 (3) เพื่อติดตามภาวะโภชนาการเฝ้าระวังแก้ไขนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการและพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียนในการปฏิบัติตนให้มีสุขนิสัยที่ดีด้วยตนเอง (มีจำนวนนักเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 10 )

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

    ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง

    รหัสโครงการ ศรร.1322-048 รหัสสัญญา 58-00-2265-อ.2 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

    วันที่เริ่มประเมิน

    1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    (ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    1. การเกษตรในโรงเรียน

    การปลูกผักปลอดสารพิษ

    ให้นักเรียนแต่ละชั้นเรียนรับผิดชอบในการปลูกผักปลอดสารพิษที่ใช้ในการประกอบอาหารกลางวัน เพื่อนำผลผลิตที่ได้ส่งให้สหกรณ์โรงเรียน และจำหน่ายต่อให้กับโครงการอาหารกลางวัน เพื่อนำไปประกอบอาหารให้แก่นักเรียน

    ขยายการดำเนินการปลูกผักปลอดสารพิษสู่ชุมชน เพื่อให้ผู้ปกครองและชุมชนเป็นผู้ผลิตผักปลอดสารพิษ เพิ่มจากผลผลิตของโรงเรียน มาจำหน่ายให้กับโรงเรียน โดยให้โรงเรียนบริหารจัดการรับผลิตจากชุมชนผ่านสหกรณ์โรงเรียนตามรายการเมนูอาหารกลางวันของโรงเรียน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    2. สหกรณ์นักเรียน

    การออมทรัพย์นักเรียน

    นักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงชั้น ป.6 มีการออมทรัพย์ทุกคน โดยให้ครูประจำชั้นรับฝากเงินทุกวัน และให้นำส่งฝ่ายการเงินของโรงเรียนทุกสิ้นเดือนเพื่อนำเงินฝากส่งเข้าธนาคารทุกเดือน และมีข้อแม้ว่านักเรียนจะถอนได้ก็ต่อเมื่อสำเร็จการศึกษา หรือย้ายสถานศึกษา เพื่อให้นักเรียนใช้เป็นทุนในการศึกษาต่อ ช่วยลดภาระผู้ปกครองได้บางส่วน

    จัดทำธนาคารในโรงเรียน เพื่อเป็นการจำลองสาขาของธนาคารไว้ในโรงเรียน และเปิดโอกาสให้นักเรียนเป็นผู้ดำเนินการธนาคารด้วยตนเอง ภายใต้การดูแลของธนาคาร ที่ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การทำงานที่เหมือนจริง ในรูปแบบของสถาบันการเงินให้กับนักเรียน และพัฒนาต่อยอดให้เด็กมีนิสัยรักการออม

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

    กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (PBL)

    1.สร้างแรงบรรดาลใจการเรียนรู้จากสภาพปัญหา สิ่งแวดล้อมรอบตัว และชุมชน มาวิเคราะห์เกิดเป็นหน่วยการเรียนรู้ ตามกรอมมาตรฐานการเรียนรู้แต่ละช่วงชั้น 2.นักเรียนออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ โดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ
    3. วางแผนการเรียนรู้ เป็นปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์ วิเคราะห์ชิ้นงาน และภาระงาน ให้สอดคล้องกับเรื่องที่เรียน 4. นักเรียนลงมือปฏิบัติเรียนรู้ตามแผนกิจกรรมที่วางไว้ 5. สรุปองค์ความรู้หลังเรียนทุกสัปดาห์ 6. เมื่อเรียนรู้ครบตามแผน แต่ละชั้นเรียนจะนำเสนอกิจกรรมผ่านนิทรรศการแสดงผลงานนักเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 7. ครูทำหน้าที่วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

    จัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ (PBL) ที่เน้นให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ให้เกิดเป็นนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ได้จริง

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    9. อื่น ๆ

     

     

     

    2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

    1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

    1.การเกษตรในโรงเรียน ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย ดังนี้ - หน่วยงานต้นสังกัด เทศบาลนครขอนแก่น ให้งบประมาณในการจัดโครงการเรียนรู้นอกห้องเรียน
    - สถานีพัฒนาที่ดิน จ.ขอนแก่น สนับสนุนแหล่งเรียนรู้ วิทยากรในการให้ความรู้ในเรื่องการจัดทำปุ๋ยและการปรับปรุงดินให้มีปประสิทธิภาพ
    - สำนักงานเกษตร อ.ซำสูง จ.ขอนแก่น สนับสนุนวิทยากรในการและเป็นแหล่งเรียนรู้ในการปลูกผักปลอดสารพิษ
    - ชุมชนหนองแวงตราชู ให้ความร่วมมือเข้าร่วมกิจกรรมของทางโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง 2. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย ดังนี้ - เทศบาลนครขอนแก่น ให้การสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาบบุคลากร - โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์เป็นวิทยากรณ์ในการให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบฐุรณาการ (PBL)

    2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

    • มีพื้นที่ และแหล่งน้ำในการทำการเกษตรที่เพียงพอ
    • ความเข้มแข็งของผู้บริหาร ครู บุคลากร และชุมชน
    • มีภาคีเครือข่ายหลายหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนในการขับเคลื่อนโครงการ

    3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

    • กระบวนการสร้างวิถีชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC)
    • การบริหารจัดการโดยให้ทุกคนมีส่วนร่วม
    • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับภาคีเครื่องข่าย และชุมชน

    4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

    ครู นักเรียน และแม่ครัว มีส่วนร่วมในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน จัดอบรมให้ความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจ และกำหนดทิศทางการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน

    5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

    • มีการประชุมผู้ปกครองอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง
    • จัดกระบวนการเรียนรู้ถอดประสบการการเรียนรู้ร่วมกันปีละ 1 ครั้ง
    • ขยายแนวทางการดำเนินงานโครงการสู่ชุมชน โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

    การเลี้บงไก่ไข่

    ภาพถ่ายการดำเนินการเลี้ยงไก่ และบันทึกการเก็บผลผลิตไข่ในแต่ละวัน

    • เพิ่มปริมาณในการเลี้ยงไก่ไข่ เพื่อเพิมผลผลิต
    • มอบพันธุ์ไก่ให้กับนักเรียนที่มีสภาวะผอม ให้กลับไปเลี้ยงที่บ้าน เพื่อเก็บเก็บไว้รับประทานได้ทุกวัน
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

    จัดทำโครงการอิ่มท้องมื้อเช้า ไว้บริการให้กับนักเรียนทุกๆเช้า เริ่มให้บริการเวลา 07.00-08.00 น. เมนูอาหารเช้า เช่น ข้าวต้มหมู โจ๊กไก่ ข้าวต้มปลา หรือข้าวผัด

    ภาพถ่าย และสมุดลงชื่อบันทึกการรับประทานอาหารทุกวันมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

    จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา นักเรียนที่รับประทานอาหารเช้าส่วนใหญ่จะมีสมาธิ และสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ดีกว่าเด็กที่ไม่กินอาหารเช้า ดังนั้นจึงเน้นให้เรียนทุกคนได้รับประทานอาหารเช้าที่ส่งผลดีต่อทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิต และพลังสมองดีขึ้น

    5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

    มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง พร้อมวิเคราะห์ผลด้วยโปรแกรมติดตามภาวะโภชนาการ ของ ม.มหิดล

    บันทึกข้อมูลภาวะโภนาการในระบบติดตามออนไลน์ และแฟ้มเอกบันทึกภาวะโภชนาการตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

    นำข้อมูลนักเรียนกลุ่มที่มีภาวะโภชนาการไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ต้องมีการติดตามภาวะโภชนาการอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

    3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

    สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

    ภาวะ2558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/22560 1/12560 2/22561 1/12561 2/22562 1/1
    เตี้ย 0.54 0.54% 4.64 4.64% 2.52 2.52% 1.90 1.90% 1.90 1.90% 5.04 5.04% 1.02 1.02% 4.65 4.65% 3.94 3.94% 9.32 9.32%
    เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 4.89 4.89% 9.27 9.27% 7.55 7.55% 6.33 6.33% 4.43 4.43% 15.11 15.11% 5.10 5.10% 15.50 15.50% 9.45 9.45% 17.80 17.80%
    ผอม 3.26 3.26% 8.61 8.61% 13.21 13.21% 12.66 12.66% 10.13 10.13% 14.29 14.29% 3.06 3.06% 4.55 4.55% 2.36 2.36% 4.24 4.24%
    ผอม+ค่อนข้างผอม 9.24 9.24% 15.89 15.89% 22.01 22.01% 24.05 24.05% 18.99 18.99% 27.14 27.14% 8.16 8.16% 10.61 10.61% 9.45 9.45% 15.25 15.25%
    อ้วน 2.17 2.17% 4.64 4.64% 0.63 0.63% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 2.14 2.14% 2.04 2.04% 3.03 3.03% 3.94 3.94% 1.69 1.69%
    เริ่มอ้วน+อ้วน 4.89% 4.89% 9.27% 9.27% 6.29% 6.29% 4.43% 4.43% 3.80% 3.80% 12.14% 12.14% 11.22% 11.22% 9.09% 9.09% 7.09% 7.09% 6.78% 6.78%
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

    1.การเกษตรในโรงเรียน ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย ดังนี้ - หน่วยงานต้นสังกัด เทศบาลนครขอนแก่น ให้งบประมาณในการจัดโครงการเรียนรู้นอกห้องเรียน
    - สถานีพัฒนาที่ดิน จ.ขอนแก่น สนับสนุนแหล่งเรียนรู้ วิทยากรในการให้ความรู้ในเรื่องการจัดทำปุ๋ยและการปรับปรุงดินให้มีปประสิทธิภาพ
    - สำนักงานเกษตร อ.ซำสูง จ.ขอนแก่น สนับสนุนวิทยากรในการและเป็นแหล่งเรียนรู้ในการปลูกผักปลอดสารพิษ
    - ชุมชนหนองแวงตราชู ให้ความร่วมมือเข้าร่วมกิจกรรมของทางโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง 2. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย ดังนี้ - เทศบาลนครขอนแก่น ให้การสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาบบุคลากร - โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์เป็นวิทยากรณ์ในการให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบฐุรณาการ (PBL)

    หมายเหตุ *

    • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง จังหวัด ขอนแก่น

    รหัสโครงการ ศรร.1322-048

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางเนื่องนิตย์ พาลี )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด