ชื่อโรงเรียน | โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองแวง |
สังกัด | องค์กรปกครองท้องถิ่น |
หน่วยงานต้นสังกัด | เทศบาลนครขอนแก่น |
ที่อยู่โรงเรียน | 2/36 หมู่ที่ 14 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000 |
จำนวนนักเรียน | 88 คน |
ช่วงชั้น | อนุบาล,ประถม |
ผู้อำนวยการ | นางวาสนา แม้นญาติ |
ครูผู้รับผิดชอบ | นางสาวพจมาน ชาภักดี |
- ควบคุมป้องกัน ปรับปรุงสิ่งที่เข้าสู่ร่างกายให้ปลอดภัยจากเชื้อโรคและสารพิษ เช่น น้ำ ขยะ ส้วม
- นึกถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นภายในโรงเรียน ครูสามารถควบคุมและป้องกันได้ เช่น สนามเด็กเล่น สระน้ำหรือเครื่องเล่นภายในโรงเรียน
- ดูแลเกี่ยวกับน้ำดื่มน้ำใช้ตลอดจนภาชนะใส่น้ำดื่มให้เพียงพอ
- จัดห้องน้ำมีความสะอาด เพียงพอกับจำนวนนักเรียน
- การกำจัดสิ่งปฏิกูล กำจัดขยะ น้ำโสโครกอันเป็นแหล่งเพาะพันธุ์แลงและสัตว์นำโรค
- การจัดห้องเรียน ดูแลเกี่ยวกับการถ่ายเทอากาศ ความร้อน แสงสว่าง การจัดโต๊ะ เก้าอี้ และความปลอดภัยของตัวอาคาร
- การจัดห้องพยาบาลให้ถูกสุขลักษณะและจัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ที่เหมาะสม
- ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ และสวยงาม
- ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักดูแลเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มให้สะอาดปราศจากเชื้อโรค
- ช่วยเหลือนักเรียนที่มีความบกพร่องตามลำดับความเร่งด่วน
- นักเรียนได้รับความช่วยเหลือที่ถูกต้องโดยการติดต่อกับตัวเด็ก ผู้ปกครอง และหน่วยบริการสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
- มีการป้องกันอุบัติเหตุ การปฐมพยาบาลนักเรียนที่ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บไข้ได้ป่วยเล็ก ๆ น้อยๆ ในโรงเรียน
- นักเรียนได้รับการแนะ หรือการแนะแนวเกี่ยวกับสุขภาพ
- นักเรียนส่งเสริมสุขภาพ และจัดสวัสดิการของนักเรียนให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
- ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ภาคเรียนละ 2 ครั้ง
- ประมวลผลภาวะโภชนาการ และคัดกรองเด็กนักเรียนที่มีน้ำหนัก ส่วนสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ มีจำนวน 27 คน
- จัดกระบวนพัฒนาเด็กนักเรียนให้มีน้ำหนัก ส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย การควบคุมอาหารตามความจำเป็น ส่งเสริมการเล่นกีฬา
- จัดอบรมให้ความรู้แก่ครู แม่ครัว และผู้ปกครอง เข้าใจหลักการจัดอาหารตามโภชนาการที่ถูกต้อง
- ติดตามผลภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่อง
- ครู แม่ครัว และผู้ปกครอง เข้าใจหลักการจัดอาหารตามโภชนาการที่ถูกต้อง
- นักเรียนที่มีน้ำหนัก ส่วนสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ มีจำนวน 27 คน ได้รับการดูแลด้วยกระบวนการต่างๆของทางโรงเรียนอย่างเหมาะสม
- ผลการติดตามภาวะโภชนาการของโรงเรียน จากกลุ่มเด็กจำนวน 27 คน มีผลดังนี้
นักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วน และอ้วน เดิมมีจำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 4.43 มีจำนวนลดลงเหลือ 6 คน คิดเป็นร้อยละ 3.8
นักเรียนที่มีภาวะผอม เดิมมีจำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 12.66 มีจำนวนลดลงเหลือ 16 คน คิดเป็นร้อยละ 10.13
ถอนเงินดอกเบี้ย จำนวน 38.47 บาท
ถอนเงินดอกเบี้ย จำนวน 38.47 บาท
ฝาก-ถอนเงินเปิดบัญชี จำนวน 500 บาท
- จัดทำโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ
- ประชุมกลุ่มชี้แจงและจัดเตรียมรูปแบบกิจกรรมอบรม
- จัดเตรียมกลุ่มกระบวนการและวิทยากรมวลชนสัมพันธ์และออกแบบกิจกรรม
- เข้าเรียนรู้ศึกษาดูงานตามฐานการเรียนรู้ ได้แก่ ฐานความรู้พื้นฐานการทำการเกษตร ฐานการปลูกผักปลอดสารพิษ ฐานการทำปุ๋ยหมักชัวภาพ ฐานการจัดระบบจำหน่ายผลผลิตผ่านสหกรณ์ชุมชน
- สรุปองค์ความรู้ที่ได้ และวางแผนการนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน
- ผู้ปกครอง นักเรียน บุคลากร และตัวแทนชุมชน มีความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง
- ผู้ปกครอง นักเรียน บุคลากร และตัวแทนชุมชน ได้เข้าร่วมศึกษาดูงานเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของนักเรียน และชุมชนอย่างยั่งยืน
- สำรวจความต้องการของผู้เรียน
- เขียนโครงการ/เสนอโครงการ
- ประชุมชี้แจงคณะครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ขออนุมัติจัดซื้ออุปกรณ์ในการปลูกพืชไร้ดิน - ประสานวิทยากรให้ความรู้การปลูกพืชไร้ดิน
- เรียนรู้ความรู้พื้นฐานการปลูกพืชไร้ดิน
- ปฏิบัติการปลูกพืชไร้ดินและการบำรุงรักษา
- การนำไปประยุกต์ใช้สู่การสร้างอาชีพและรายได้
- นิเทศ ติดตาม กำกับ
- ประเมินผลโครงการ/รายงานผลการดำเนินงาน
- สรุปผลการปฏิบัติงาน
- นักเรียนค้นหาศักยภาพของตนเองในการเรียนรู้ทักษะด้านวิชาการสู่งานอาชีพ
- นักเรียนมีทักษะในการปฏิบัติและกระบวนการปลูกพืชไร้ดิน โดยใช้ความรู้ด้านวิชาการมา บูรณาการให้เกิดทักษะอาชีพ และสร้างรายได้
- มีเจตคติที่ดีต่อวิชาที่ตนเองมีความถนัดและสนใจ มีคุณธรรม จริยธรรม ความ สามัคคีในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มและสามารถที่จะทำได้ร่วมกับผู้อื่น
- รับสมัครสมาชิกในการจัดจำหน่าย และดำเนินงานระบบสหกรณ์ในโรงเเรียน
- ศึกษาดูงานการจัดการระบบสหกรณ์ที่ยั่งยืนครบวงจร
- จัดเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ในระบบการทำงาน
- นักเรียนฝึกปฏิบัติการบริหารระบบสหกรณ์โรงเรียนโดยมีครูเป็นที่ปรึกษา
- มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบตามเวรประจำวัน
- นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดระบบสหกรณ์ ที่เกิดแรงบรรดาลใจในการทำงานจากการไปศึกษาดูงาน
- นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
- นักเรียนสามารถปฏิบัติการจัดจำหน่าย การจัดทำบัญชี สามารถกำหนดราคาที่เกิดจากการคิดคำนวณต้นทุน และกำไร
- ศึกษาดูงานการปลูกผักปลอดสารพิษที่ อ.ซำสูง จ.ขอนแก่น
- แบ่งกลุ่มนักเรียนที่รับผิดชอบ และวางแผนกระบวรการปลูกผัก โดยมีการแบ่งเวรในแต่ละกลุ่ม
- ดูแลรดน้ำ พรวนดิน เก็บผลผลิตส่งให้กับสหกรณ์ เพื่อจำหน่ายให้กับโครงการอาหารกลางวัน
- ผู้ปกครองที่สนใจปลูกผักปลอดสารพิษ สามารถนำผลผลิตที่ได้มาจำหน่ายผ่านสหกรณ์โรงเรียน สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ปกครอง
- นักเรียนและบุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการปลูกผักปลอดสารพิษ
- นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้กลับไปประยุกต์ใช้ที่บ้าน ปลูกผักปลอดสารพิษร่วมกับผู้ปกครอง
- นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง
- ผู้ปกครองที่ว่างงานมีรายได้ขากการปลูกผักปลอดสารพิษมาจำหน่ายให้กับสหกรณ์โรงเรียน
1.ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม และเปิดการอบรม
2.วิทยากรให้ความรู้การผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง เพื่อปรับปรุง
บํารุงดิน การผลิตและใช้ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อเพิ่มธาตุอาหารพืช การผลิตและใช้น้ําหมักชีวภาพ สารบําบัดน้ําเสียและขจัดกลิ่นเหม็น
3.สาธิตและการฝึกปฏิบัติโดย
- การผลิตปุ๋ยหมัก โดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.1
- การขยายเชื้อปุ๋ยชีวภาพ พด.12
- การผลิตน้ําหมักชีวภาพ สารบําบัดน้ําเสียและขจัดกลิ่นเหม็น โดยใช้สารเร่งซุปเปอร์พด.2/พด.6
- การผลิตปุ๋ยหมักจากน้ำนม โดยใช้กากน้ำตาล
4. สรุปและเปลี่ยนประเด็นข้อซักถาม
- ประชาชน ผู้สนใจทั่วไป ชุมชน เกษตรกร นักเรียนและนักศึกษา ได้รับความรู้ความเข้าใจการ ผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ น้ําหมักชีวภาพ สารบําบัดน้ําเสียและขจัดกลิ่นเหม็น ที่ผลิตจาก ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์พด.ของกรมพัฒนาที่ดิน
- ได้เครือข่ายการใช้จุลินทรีย์พด. ของกรมพัฒนาที่ดิน
- เพื่อนําผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์พด. ไปใช้เป็นปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ลดการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีทางการเกษตร ลดต้นทุนการผลิต และรักษาสิ่งแวดล้อม
- วางแผนการดำเนินงาน ประชุมพูดคุยสร้างความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรม
- จัดทำธนาคารขยะในโรงเรียน ชุมชนหนองแวงตราชู 2 และชุมชนหนองแวงตราชู 4
- จัดตั้งกลุ่มแกนนำนักรบสิ่งแวดล้อมในการดำเนินกิจกรรม
- มีการคัดแยกขยะทุกเช้า และชั่งน้ำหนักขยะในห้องเรียนทุกเย็น เพื่อบันทึกสถิติปริมาณขยะในแต่ละวัน
- นำขยะที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ไปประยุกต์ใช้ หรือทำสิ่งประดิษฐ์
- ธนาคารขยะจัดจำหน่ายขยะที่คัดแยกทุกสัปดาห์
นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลด การคัดแยกขยะ และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ตระหนักถึงความสำคัญของการลด การคัดแยกขยะ และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ และนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งให้ความร่วมมือในการจัดการขยะโรงเรียนให้ปลอดขยะ
- สร้างรายได้เสริมให้กับผู้ปกครองและชุมชน
- สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชนสะอาดปลอดขยะ
- ใช้โปรแกรม Thai School Lunchในการจัดทำ เมนูอาหารกลางวัน
- จัดบอร์ดเมนูอาหารโดยมีการเปลี่ยนเมนูอาหารทุกสัปดาห์
- จัดป้ายประชาสัมพันธ์องค์ความรู้เกี่ยวกับธงโภชนาการ
- ได้เมนูอาหารกลางวันเป็นรายสัปดาห์ ที่ได้จากโปรแกรม Thai School Lunch ทำให้นักเรียนได้รับประทานอาหาร ที่มีคุณค่าทางโภชนากรที่ สมบูรณ์
- มีบอร์ดเมนูอาหารแจ้งเป็นรายสัปดาห์ โดยมีการเปลี่ยนเมนูอาหารทุกสัปดาห์
- มีป้ายองค์ความรู้เกี่ยวกับธงโภชนาการ และอาหารหลัก 5 หมู่ เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญ และนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
จัดอบรมให้ความรู้เรื่องภาวะการณ์เจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กในวัยเรียนจากวิทยากร ร่วมกันวิเคราะห์ผลการติดตามการเฝ้าระวังน้ำหนัก ส่วนสูง เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ครั้งที่ 1 โภชนากรให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดอาหารสำหรับเด็กในวัยเรียนตามมาตรฐานโภชนาการ เพื่อแก้ไขปัญหากลุ่ม เด็กที่มีน้ำหนักส่วนสูงเกินเกณฑ์ และต่ำกว่าเกณฑ์ ฝึกปฏิบัติการจัดอาหารสำหรับเด็กในวัยเรียนตามมาตรฐาน ติมตามติดตามการเฝ้าระวังน้ำหนัก ส่วนสูง ของนักเรียนที่มีน้ำหนักส่วนสูงเกินเกณฑ์ และต่ำกว่าเกณฑ์
- แม่ครัว บุคลากร ผู้ปกครอง และนักเรียน มีความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของโภชนาการและสุขภาพอนามัยเด็กในวัยเรียน
- แม่ครัว บุคลากร ผู้ปกครอง และนักเรียน มีความพึงพอใจในการอบรมโภชนาการและสุขภาพอนามัยเด็กในวัยเรียน และสามารถนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- ผู้ปกครอง กลุ่มแกนนำ ให้ความร่วมมือ กับทางโรงเรียน ในการติดตามเผ้าระวังวังน้ำหนัก ส่วนสูง เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ของนักเรียน
- มีการสรุป และติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
- จัดหาอุปกรณ์สำหรับการแปรงฟัน
- แบ่งเขตพื้นที่ในการแปรงฟัน จัดให้นักเรียนแปรงฟังทุกคนหลังรับประทานอาหารกลางวัน
- โดยมีครูคอยตรวจความสะอาดในช่องปากอีกครั้งเพื่อคัดกรองนักเรียนที่มีปัญหาเรื่องฟันผุ
- ติดต่อประสานกับแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม มาตรวจ และรักษาในลำดับต่อไป
- นักเรียนทุกคนได้รับอุปกรณ์แก้มน้ำ แปรงสีฟัน และยาสีฟันทุกคน
- นักเรียนทุกคนแปรงฟันหลังรับประทานอาหาร โดยมีคุณครูประจำชั้นคอยดูแลตามเขตพื้นที่แปรงฟัน
- คุณครูมีการตรวจความสะอาดหลังจากแปรงฟัน เดือนละ 1 ครั้ง
- มีการส่งต่อนักเรียนในกลุ่มที่มีปัญหาด้านทันตกรรม ให้กับทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม มาตรวจ และรักษาในลำดับต่อไป
จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการทำความสะอาด แบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบตั้งแต่ระดับชั้น อนุบาล ถึง ชั้น ป.6 และแบ่งเขตรับผิดให้ครูทุกท่าน เพื่อทำกิจกรรมร่วมกับนักเรียน มีการจัดทำป้ายเพื่อบอกเขตพื้นที่รับผิดชอบที่ชัดเจน
นักเรียน และครูทุกคน มีพื้นที่ในความรับผิดชอบ และช่วยกันรักษาความสะอาดในทุกๆเช้าก่อนเข้าแถว เป็นการปลูกฝังให้เกิดความรัก ความสามัคคี และรู้จักหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ทำบ่อยจนกลายเป็นกิจวัตร
แต่ตั้งคณะกรรมการดำเนินกิจกรรมจัดทำสมุดบัญชีเงินฝากสำหรับนักเรียน วางแผนการจัดทำระบบฝากเงินออมทรัพย์ นักเรียนได้ออมทรัพย์ทุกวัน พร้อมรับสมุดบัญชีเงินฝากกลับไปแจ้งผู้ปกครองให้รับทราบ
- คณะกรรมการตรวจรับบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทุกเดือน
- นักเรียนทุกคนมีสมุดบัญชีเงินฝาก และมีการบันทึกรายการฝากเงิน พร้อมสรุปยอดเงินฝากเป็นรายเดือน รายปี
- มีคณะกรรมการสหกรณ์นักเรียนที่จัดตั้งและดำเนินการโดยนักเรียน
- ระบบรับสมัครสมาชิกด้วยความสมัครใจ เปิดกว้างสำหรับนักเรียนทุกคน และมีการเก็บค่าหุ้น
- มีบัญชีรายรับ – รายจ่าย ประจำวัน บัญชีสินค้า บัญชีสมาชิก และมีสรุปบัญชี
ประชุมผู้ปกครองเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการเด็กไทยแก้มใส พูดถึงที่มาและความสำคัญของโครงการ การดำเนินงานในปีที่ผ่านมา และแนวทางการดำเนินงานในปีที่ 2
ผู้ปกครองมีความเจตคติที่ดีต่อโครงการเด็กไทยแก้มใน และได้ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการและการมีส่วนร่วมในโครงการ มีการสำรวจความต้องการ และกิจกรรมที่จะร่วมพัฒนากับทางโรงเรียน มีผู็ปกครองให้ความสนใจในเรื่องการเกษตร เช่นการปลูกผักปลอดสารพิษ การทำปุ๋ยหมัก โดยใช้พื้นที่ของโรงเรียนเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้