โรงเรียนบ้านผาเวียง

สร้างองค์ความรู้ร่วม โรงเรียน บ้าน ชุมชน11 สิงหาคม 2562
11
สิงหาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวภัทรมน ใจยะมี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

29 กรกฎาคม 2562 ครูผู้รับผิดชอบโครงการเชิญคณะครูตัวแทน โรงเรียนเครือข่าย และตัวแทนหมู่บ้านประชุมวางแผนการจัดทำกิจกรรมเพื่อสร้างองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างโรงเรียนบ้าน ชุมชน (ครั้งที่1)
5 สิงหาคม 2562 ครูผู้รับผิดชอบโครงการเชิญคณะครูตัวแทน โรงเรียนเครือข่าย และตัวแทนหมู่บ้านประชุมเพื่อกำหนดวันจัดกิจกรรมและการเตรียมสถานที่จัดกิจกรรม (ครั้งที่2)
6 สิงหาคม 2562 เชิญตัวแทนชุมชน นักเรียนแกนนำ ครูแกนนำจากโรงเรียนเครือข่ายเข้าร่วมกิจกรรมการอบรม
7 สิงหาคม 2562 เชิญวิทยากรผู้ให้ความรู้จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และเกษตรอำเภอศรีสัชนาลัย
9 สิงหาคม 2562 คณะกรรมการฝ่ายจัดเตรียมสถานที่จัดเตรียมสถานที่การอบรม
11 สิงหาคม 2562 จัดกิจกรรมการอบรม สร้างองค์ความรู้ร่วม โรงเรียน บ้าน ชุมชน โดยมีหัวข้อการอบรม - "การสร้างเสริมโภชนาการในเด็กวัยเรียน"โดย นายธนากร เกื้อกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่สิน - "การสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีในโรงเรียนและชุมชน" โดย นางรินลดา เกื้อกูล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่สิน - "เกษตรปลอดสารสู่อาหารปลอดภัยในโรงเรียน" โดย นายปฏิวัติ วงศ์รัตนธรรม เกษตรอำเภอศรีสัชนาลัย - การแบ่งกลุ่มเพื่อเสวนาในหัวข้อ “แนวทางการร่วมกันสร้างเสริมโภชนาการ สุขภาวะ และอาหารปลอดภัยในโรงเรียนเครือข่าย” - การนำสนอแนวทางแต่ละกลุ่ม - กล่าวสรุปกิจกกรม
30 สิงหาคม 2562 ติดตามผลการดำเนินโครงการครั้งที่ 1
30 กันยายน 2562 ติดตามผลการดำเนินโครงการครั้งที่ 2
30 ตุลาคม 2562 ติดตามผลการดำเนินโครงการครั้งที่ 3

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้เกิดแกนนำที่จะได้นำความรู้ที่ได้รับจาการอบรมคือ วิธีการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาของเด็กวัยเรียนและการสร้างพฤติกรรมเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดี รวมไปถึงวิธีการปลูกผักปลอดสารไปเผยแพร่ต่อ เช่นแกนนำชุมชนจะนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ต่อให้ผู้ปกครองและคนในชุมชนรวมถึงครอบครัวตนเองและครอบครัวอื่นๆต่อไป แกนนำครูและนักเรียนในโงเรียนเครือข่ายจะนำความรู้ไปเผยแพร่ให้คนอื่นๆในโรงเรียนเครือข่ายเช่นเดียวกัน จึงทำให้เกิดผลผลิต (Output) คือ
1.นักเรียนและผู้ปกครองของโรงเรียนเครือข่ายได้รับความรู้เรื่อง โภชนาการ และการการจัดเกษตรปลอดภัย 2.ผู้ปกครองของครอบครัวต้นแบบจัดเมนูอาหารที่มีคุณภาพตามมาตรฐานโภชนาการ และเกิด ผลลัพธ์ (Outcome) คือ 1. นักเรียนและผู้ปกครองของโรงเรียนเครือข่ายมีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการ การจัดการเกษตรปลอดภัย และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน 2. นักเรียนได้กินอาหารที่มีคุณภาพถูกหลักโภชนาการครบ 3 มื้อ เมื่อผลลัพธ์ที่ได้เกิดกับตัวนักเรียนเองนักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้นตามลำดับทำให้แกนนำทุกฝ่าย และผู้ปกครองนักเรียนเกิดความพึงพอใจ แกนนำและชุมชนจึงมีแผนงานในการรวมกลุ่มเพื่อช่วยกันปลูกผักปลอดสารส่งขายให้แก่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ รวมถึงการเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือโรงเรียนในการทำเกษตรปลอดสารในโรงเรียนทำให้โรงเรียนเครือข่ายที่เข้าร่วมกิจกรรมมีผักปลอดสารมาประกอบอาหารกลางวันให้นักเรียนรับประทาน รวมไปถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่บ้านผู้ปกครองจะทราบหลักการจัดอาหารให้ลูกหลานกินให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการมากที่สุดเท่าที่ผู้ปกครองจะทำได้ แผนงานต่อไปคือการขยายผลและกระจายความรู้ไปยังโรงเรียน ละชุมชนที่ยังไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม