ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

โรงเรียนบ้านผาเวียง


“ โรงเรียนบ้านผาเวียง ”

หมู่ 3 ตำบลแม่สิน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย64130

หัวหน้าโครงการ
นายอินทร์ถา อุดมวัฒนกูล

ชื่อโครงการ โรงเรียนบ้านผาเวียง

ที่อยู่ หมู่ 3 ตำบลแม่สิน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย64130 จังหวัด สุโขทัย

รหัสโครงการ ศรร.1113-025 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-น.25

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2019 ถึง 30 พฤศจิกายน 2017


กิตติกรรมประกาศ

"โรงเรียนบ้านผาเวียง จังหวัดสุโขทัย" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ 3 ตำบลแม่สิน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย64130

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนบ้านผาเวียง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนบ้านผาเวียง



บทคัดย่อ

โครงการ " โรงเรียนบ้านผาเวียง " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ 3 ตำบลแม่สิน อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย64130 รหัสโครงการ ศรร.1113-025 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2019 - 30 พฤศจิกายน 2017 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 45,000.00 บาท จาก โรงเรียนบ้านผาเวียง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 616 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของโรงเรียนบ้านผาเวียงจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ ๖ - ๑๘ ปี จำนวน๒๘๔ คน ในภาคเรียนที่ ๑ ปี ๒๕๕๘ พบว่านักเรียนที่มีภาวะผอม จำนวน๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๑๖ นักเรียนที่มีภาวะอ้วน จำนวน๑๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๔.๙๒ นักเรียนที่มีภาวะเตี้ย จำนวน๑๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๘๗ และนักเรียนอายุ ๖ – ๑๘ ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน จำนวน๒๔๖ คน เฉลี่ยร้อยละ ๘๖.๖๑
สถานการณ์ปัญหาการบริโภคอาหารและโภชนาการภายในโรงเรียนบ้านผาเวียงโดยภาพรวม นักเรียนมีอัตราการบริโภคผัก ผลไม้ในอัตราที่ต่ำมาก การบริโภคอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ ไม่เหมาะสมกับวัยนักเรียนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจ ด้านโภชนาการ เลือกกินแต่อาหารที่ตัวเองชอบและยังมีวัฒนธรรมการกินอาหารที่ผิดๆเช่น ชอบกินอาหารหมักดอง ดื่มน้ำอัดลมขนมกรุบกรอบน้ำหวานและลูกอม เป็นต้น แม่ครัวยังขาดทักษะความชำนาญในการตักอาหารอีกทั้งนักเรียนยังมีพื้นฐานอนามัยส่วนบุคคล ไม่สะอาด เพราะติดนิสัยจากครอบครัวที่มีฐานะยากจนขาดการดูแลเอาใจใส่วิถีชีวิตปัจจุบันมีความสะดวกสบายขึ้นมีเครื่องทุ่นแรงและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกทำให้เด็กมีกิจกรรมการออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวน้อยลง ทำให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ขาดเกณฑ์และเกินเกณฑ์ และในส่วนของโรงเรียนเองก็มีพื้นที่สำหรับทำการเกษตรไม่เพียงพอในการผลิตวัตถุดิบเพื่อนำมาประกอบอาหารให้กับนักเรียน สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอส่งผลให้นักเรียนมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนบ้านผาเวียง จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสในด้านการเกษตร ด้าน การจัดการอาหาร โภชนาการและสุขภาพนักเรียนอย่างครบวงจร
  2. เพื่อพัฒนาครู นักเรียน ให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้เกี่ยวกับสหกรณ์และนำไปสู่การปฏิบัติได้
  3. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ มีทักษะในการทำงานมีทัศนคติที่ดีทางการเกษตรผสมผสาน และ สามารถผลิตวัตถุดิบสำหรับโครงการอาหารกลางวัน
  4. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานระหว่างโรงเรียน ชุมชน และผู้ปกครอง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. สร้างองค์ความรู้ร่วม โรงเรียน บ้าน ชุมชน
  2. เด็กผาเวียงวิถีบริโภคดี ชีวีมีสุข
  3. ข้อมูลภาวะโภชนาการโรงเรียนบ้านผาเวียง (โรงเรียนแม่ข่าย)
  4. ข้อมูลภาวะโภชนาการโรงเรียนบ้านโป่งตีนตั่ง (โรงเรียนเครือข่าย)
  5. ข้อมูลภาวะโภชนาการโรงเรียนบ้านร้องตลาด(ประชานุเคราะห์) (โรงเรียนเครือข่าย)

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. โรงเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสในด้านการเกษตรด้านการจัดการอาหาร โภชนาการ และสุขภาพอย่างครบวงจร
  2. ครู นักเรียนมีความรู้ และทักษะในการเรียนรู้เกี่ยวกับสหกรณ์นำไปสู่การปฏิบัติได้
  3. นักเรียนมีความรู้มีทักษะในการทำงาน มีทัศนคติที่ดีทางการเกษตรผสมผสาน ผลิตวัตถุดิบสำหรับโครงการ อาหารกลางวันได้
  4. ชุมชนมีความรู้และตื่นตัวในการจัดการด้านอาหารโภชนาการและสุขภาพของนักเรียน

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปรับปรุงศูนย์การเรียนรู้ดานการเกษตร เศรษฐกิจพอเพียง

วันที่ 20 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ปรับปรุงศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง รายละเอียดกิจกรรม นักเรียน ครู ร่วมกับชุมชน ได้ซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนต่างๆในแหล่งเรียนรู้ ตลอดจนปรับภูมิทัศน์ในแหล่งการเรียนรู้ให้สะดวกและเหมาะสมกับผู้ใช้อีกด้วย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • แหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรได้มีการพัฒนาและจัดเป็นระบบและเป็นสัดส่วนมากขึ้น
  • แหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรมีบรรยากาศดีและน่าสนใจมากขึ้น

 

702 71

2. สร้างภาคีเครือข่ายกับชุมชน(ช่วยป้อนวัตถุดิบสู่โรงอาหารโดยผ่านระบบสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียน)

วันที่ 30 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สร้างภาคีเครือข่ายกับชุมชน ช่วยป้อนวัตถุดิบสู่โรงอาหารโดยผ่านระบบสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียน รายละเอียดกิจกรรม นำกลุ่มตัวแทนนักเรียนในแต่ละช่วงชั้นไปเรียนรู้งานเกษตรในชุมชน นักเรียนตัวแทนนำมาเผยแพร่สู่เพื่อนนักเรียนในโรงเรียน ชี้แจงและขอความร่วมมือกับชุมชนในการส่งวัตถุดิบให้กับโรงเรียน 

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ชุมชนได้มีร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการดำเนินกิจกรรมแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตร
  • ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตวัตถุดิบเพื่อใช้ในการประกอบอาหารกลางวันอย่างเพียงพอ

 

702 105

3. เลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง (ให้ความรู้กับนักเรียน และนักเรียนลงมือปฏิบัติจริง ตลอดจนจัดจำหน่าย)

วันที่ 15 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง แม่พันธุ์พ่อพันธุ์จำนวน 5 คู่ รายละเอียดกิจกรรมให้ความรู้นักเรียนในการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง นักเรียนเลี้ยง และดูแลไก่พันธุ์พื้นเมือง ตลอดจนนำไก่ไปจำหน่ายให้กับโรงอาหารโดยผ่านระบบสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียนการจัดทำรายรับรายจ่ายต่างๆในกิจกรรมการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง 

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  - นักเรียนได้เรียนรู้ และได้ลงมือปฏิบัติจริงในการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมือง โดยใช้พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์  จำนวน  4 คู่ - นักเรียนมีความรู้ และสามารถเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองได้
- มีไก่เพียงพอสำหรับจำหน่ายให้กับโรงอาหารโดยผ่านร้านค้าสหกรณ์การเกษตรในโรงเรียน และนักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารที่มีเนื้อไก่เป็นส่วนประกอบ

 

702 52

4. ปลูกผักสวนครัว (ให้ความรู้กับนักเรียน และนักเรียนลงมือปฏิบัติจริง ตลอดจนจัดจำหน่าย)

วันที่ 15 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ปลูกผักสวนครัว อาทิ ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักบุ้งจีน ผักชี ฯลฯ รายละเอียดกิจกรรม ให้ความรู้นักเรียนในปลูกผัก และดูแลรักษา ตลอดจนการเก็บผลผลิต นักเรียนปลูก ดูแล และนำผักไปจำหน่ายให้กับโรงอาหารโดยผ่านระบบสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียน การจัดทำรายรับรายจ่ายต่างๆในกิจกรรมการปลูกผักสวนครัว 

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • นักเรียนได้เรียนรู้ และได้ลงมือปฏิบัติจริงในการปลูกผักสวนครัว
  • นักเรียนมีความรู้ และสามารถปลูกผักสวนครัวได้
  • มีผักสวนครัวเพียงพอสำหรับจำหน่ายให้กับโรงอาหารโดยผ่านร้านค้าสหกรณ์การเกษตรในโรงเรียน และนักเรียนทุกคนได้รับประทานผักทุกวัน

 

702 40

5. เพาะเห็ดนางฟ้า (ให้ความรู้กับนักเรียน และนักเรียนลงมือปฎิบัติจริง ตลอดจนจัดจำหน่าย)

วันที่ 23 มิถุนายน 2016 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน จำนวน 400 ก้อน รายละเอียดกิจกรรมให้ความรู้นักเรียนในการเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน และดูแลรักษา ตลอดจนการเก็บผลผลิต(ดอกเห็ด) นักเรียนดูแลเห็ดนางฟ้านางฟ้าภูฐาน และนำดอกเห็ดไปจำหน่ายให้กับโรงอาหารโดยผ่านระบบสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียน การจัดทำรายรับรายจ่ายต่างๆในกิจกรรมการเพาะเห็ดนางฟ้าภูฐาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • นักเรียนได้เรียนรู้ และได้ลงมือปฏิบัติจริงในการเพาะเห็ดนางฟ้า จำนวน 400 ก้อน
  • นักเรียนมีความรู้ และสามารถเพาะเห็ดนางฟ้าได้
  • มีเห็ดนางฟ้าเพียงพอสำหรับจำหน่ายให้กับโรงอาหารโดยผ่านร้านค้าสหกรณ์การเกษตรในโรงเรียน และนักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารที่มีเห็ดนางฟ้าเป็นส่วนประกอบ

 

702 41

6. ผลิตน้ำยาเอนกประสงค์(น้ำยาล้างจาน/น้ำยาล้างห้องน้ำ) (ให้ความรู้กับนักเรียน และนักเรียนลงมือปฏิบัติ ตลอดจนจัดจำหน่าย)

วันที่ 10 สิงหาคม 2016 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผลิตน้ำยาเอนกประสงค์ อาทิ น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาถูพื้น ฯลฯ รายละเอียดกิจกรรมให้ความรู้นักเรียนในการผลิตน้ำยาเอนกประสงค์ ตลอดจนการบรรจุผลิตภัณฑ์ลงในบรรจุภัณฑ์ นักเรียนนำน้ำยาเอนกประสงค์ไปจำหน่ายให้กับโรงเรียนโดยผ่านระบบสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียน การจัดทำรายรับรายจ่ายต่างๆในกิจกรรมการผลิต

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-นักเรียนได้เรียนรู้ และได้ลงมือปฏิบัติจริงในการทำน้ำยาล้างจาน และน้ำยาล้างห้องน้ำ - นักเรียนได้รับความรู้ และสามารถทำน้ำยาล้างจาน และน้ำยาล้างห้องน้ำได้ - จำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กับร้านค้าสหกรณ์ในโรงเรียน

 

702 41

7. เลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ (ให้ความรู้กับนักเรียน และนักเรียนลงมือปฏิบัติจริง ตลอดจนจัดจำหน่าย)

วันที่ 2 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-จัดอบรมให้ความรู้นักเรียนในการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ -  เตรียมสถานที่ในการเลี้ยงไก่พันธ์ไข่
- การจัดทำรายรับรายจ่ายต่างๆในกิจกรรมการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  เลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ จำนวน 40 ตัว รายละเอียดกิจกรรมให้ความรู้นักเรียนในการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ นักเรียนเลี้ยง และดูแลไก่พันธุ์ไข่ ตลอดจนนำไข่ไปจำหน่ายให้กับโรงอาหารโดยผ่านระบบสหกรณ์นักเรียนในโรงเรียน การจัดทำรายรับรายจ่ายต่างๆในกิจกรรมการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่

 

702 21

8. ปรับปรุงร้านค้าสหกรณ์โรงเรียนบ้านผาเวียงและจัดทำไวนิลเกี่ยวกับสหกรณ์

วันที่ 2 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. จัดทำป้ายไวนิลเกี่ยวกับสหกรณ์/ปรับปรุงบริเวณสหกรณ์ร้านค้า
  2. จัดทำระบบเอกสารสหกรณ์ให้ถูกต้องเป็นปัจจุบัน
  3. ดำเนินการรับซื้อ - ขายวัสดุเพื่ออาหารกลางวัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-โรงเรียนบ้านผาเวียง มีวัตถุดิบเพื่อทำอาหารกลางวันจากกิจกรรมทั้งหมดแบบบูรณาการอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับหลักการของสหกรณ์นักเรียน และสามารถผลิตอาหารเพื่อสุขภาพออกจำหน่ายแก่สมาชิกสหกรณ์ได้ นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียนและจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่ายได้ถูกต้อง -โรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครอง ร่วมมือกันดำเนินงานตามกิจกรรม ให้เกิดรายได้ และอาชีพ และนำหลักการของสหกรณ์ไปใช้ในชีวิตจริงได้

 

24 24

9. อบรมให้ความรู้เรื่องสหกรณ์ แก่ครูนักเรียน คณะทำงานสหกรณ์

วันที่ 9 ตุลาคม 2016 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. เชิญวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์  จาก สนง.เกษตรและสหกรณ์สุโขทัย
  2. ฝึกปฏิบัติในการทำบัญชี รายรับ - รายจ่่่ายของสหกรณ์ และงานสหกรณ์อื่นๆ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับระบบของสหกรณ์ การจัดทำบัญชี รายรับ รายจ่าย -นักเรียนที่เป็นคณะกรรมการนำความรู้ที่ได้มาปฏิบัติงานในการดำเนินงานสหกรณ์ได้

 

24 154

10. อบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากร

วันที่ 31 ตุลาคม 2016 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

-ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำรายงานศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสงวดที่ 1 ขอเบิกเงินที่ 2  ณ  โรงแรมเดอะปาร์ค เชียงใหม่ 

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • จัดทำรายงานศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสงวดที่ 1 ขอเบิกเงินที่ 2   

 

28 2

11. กิจกรรมส้วมสุขสันต์

วันที่ 26 ธันวาคม 2016 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  -ปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของห้องน้ำห้องส้วม -ประกวดมอบรางวัลส้วมสุขสันต์
-กิจกรรมจิตอาสาผาเวียง
-.การพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมและอาคาร ในสถานศึกษา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ครู นักเรียน ได้มีห้องน้ำที่สะอาดใช้ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ มีระบบการจัดการน้ำดื่ม น้ำใช้ที่ได้มาตรฐาน มีสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ถูกสุขลักษณะ

ผลลัพท์ : โรงเรียนมีระบบสุขาภิบาลที่ถูกสุขลักษณะ

 

405 0

12. กิจกรรมออกกำลังกายเป็นประจำ

วันที่ 3 มกราคม 2017 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมกีฬาสี กีฬาเครือข่าย -การเต้นแอโรบิก -การปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพ -การจัดกิจกรรมBBLก่อนเข้าเรียน -กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ครู นักเรียน ผู้ปกครองได้รับความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะการดูแลสุขภาพ

 

362 0

13. ประชุมคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งรับผิดชอบโครงการ/จัดทำหลักสูตรบูรณาการกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

วันที่ 4 มกราคม 2017 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประชุมทำความเข้าใจคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้ง/วางแผนดำเนินการ 2. ดำเนินการจัดทำหลักสูตรบูรณาการกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กับกิจการสหกรณ์นักเรียน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  ครู นักเรียน คณะทำงานได้มีความรู้ และจัดทำหลักสูตรบูรณาการกลุ่มสาระสังคมศึกษาฯในเรื่องสหกรณ์ มีสหกรณ์การเกษตรนักเรียนในการรับและจำหน่ายวัตถุดิบจากกิจกรรมแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร

ผลลัพท์ : โรงเรียนมีการดำเนินงานด้านสหกรณ์การเกษตรนักเรียนอย่างเป็นระบบ และคณะทำงานมีความรู้ในการดำเนินงาน

 

13 0

14. กิจกรรมการติดตามและการเฝ้าระวังสุขภาพอนามัย การเจริญเติบโต

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

-การชั่งน้ำหนักและววัดส่วนสูง -การใช้โปรแกรมเฝ้าระวังฯ -การตรวจสุขภาพทุกภาคเรียน -การประเมินสุขภาพเด็กทุกภาคเรียน -กิจกรรมส่งเสริมกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ -กิจกรรมแปรงฟันหลังอาหาร -การทดสอบสมรรถภาพทางกาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ครู นักเรียน ผู้ปกครองได้รับความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะการดูแลสุขภาพ

 

377 406

15. กิจกรรมจิตอาสาผาเวียง

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ได้จัดทำกรงคัดแยกขยะ เพื่อจัดการขยะในโรงเรียน เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและความสะอาดในบริเวณโรงอาหาร และการจัดระบบน้ำดื่มให้กับนักเรียน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ครู นักเรียน ได้มีห้องน้ำที่สะอาดใช้ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ มีระบบการจัดการน้ำดื่ม น้ำใช้ที่ได้มาตรฐาน มีสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ถูกสุขลักษณะ

ผลลัพท์ : โรงเรียนมีระบบสุขาภิบาลที่ถูกสุขลักษณะ

 

502 0

16. กิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการเด็กไทยแก้มใส

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานแต่ละกิจกรรมในโครงการเด็กไทยแก้มใส - เว็บไซต์ - แผ่นพับ - ป้ายไวนิล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ครูมีการจัดทำแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการกิจกรรมด้านการเกษตร สหกรณ์ โภชนาการและสุขภาพ

ผลลัพท์ : ครู นักเรียน ชุมชน รู้และเข้าใจการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใส

 

702 0

17. บูรณาการกิจกรรมโครงการเด็กไทยแก้มใสเข้ากับหลักสูตรสถานศึกษส

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

: ประชุมคณะครู จัดทำแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ครูมีการจัดทำแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการกิจกรรมด้านการเกษตร สหกรณ์ โภชนาการและสุขภาพ

ผลลัพท์ : ครู นักเรียน ชุมชน รู้และเข้าใจการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใส

 

25 0

18. จัดทำรายการอาหารหมุนเวียนในแต่ละเดือนตามโปรแกรม Thai School Lunch

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำเมนูอาหารในแต่ละวัน - ทำป้ายไวนิลเกี่ยวกับเมนูอาหารของแต่วัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ครูผู้รับผิดชอบสามารถจัดบริการอาหารกลางให้ได้ปริมาณและสัดส่วนที่ถูกต้องตามมาตรฐาน นักเรียนได้รับปริมาณอาหารตามสัดส่วนที่ถูกต้อง

ผลลัพท์ : นักเรียนได้่รับประทานอาหารที่มีคุณค่าต่อสุขภาพ มีน้ำหนักดี ได้สัดส่วนตามเกณฑ์มาตรฐาน

 

274 0

19. อมรมให้ความรู้ด้านภาวะโภชนาการ การเฝ้าระวังและภาวะติดตามภาวะโภชนาการเด็ก การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การรใช้ยาและเวชภัณฑ์ รู้จักยาสามัญประจำบ้าน

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ทำป้ายไวนิลเกี่ยบกับสุขภาพอนามัย 2. วิทยากรจาก รพ.สต.บ้านสะท้อให้ความรู้แก่ ครู นักเรียน 3. จัดทำระบบเอกสารด้านสุขภาพอนามัย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ครู นักเรียน ผู้ปกครองได้รับความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะการดูแลสุขภาพ

ผลลัพท์ : ครู นักเรียน ผู้ปกครองมีสุขภาพพลานามัยที่ดี

 

402 0

20. พัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมและอาคารในสถานศึกษา (โรงอาหาร)

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  ปรับปรุงโต๊ะอาหาร - จัดทำป้ายโภชนาการ - ปรับปรุงปลั๊กไฟ หลอดไฟ - จัดทำที่เก็บวัสดุงานครัวในห้องประกอบอาหาร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ครู นักเรียน ได้มีห้องน้ำที่สะอาดใช้ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ มีระบบการจัดการน้ำดื่ม น้ำใช้ที่ได้มาตรฐาน มีสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ถูกสุขลักษณะ

ผลลัพท์ : โรงเรียนมีระบบสุขาภิบาลที่ถูกสุขลักษณะ

 

402 0

21. อบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการอาหารหมุนเวียนและพัฒนาศักยภาพบุคลากร

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

บันทึกข้อความขออนุมัติใช้งบประมาณที่กำหนดไว้จัดซื้อถาดหลุมสำหรับนักเรียนเนื่องจากบุคลากรได้รับการอบรมร่วมกับ สพป.สท.2แล้ว จึงขออนุม้ติซื้อถาดหลุมเพื่อให้นักเรียนได้รับบริการอาหารกลางวันอย่างถูกสุขลักษณะและก่อให้เกิดสุขภาพที่ดีแก่นักเรียนต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ครูผู้รับผิดชอบสามารถจัดบริการอาหารกลางให้ได้ปริมาณและสัดส่วนที่ถูกต้องตามมาตรฐาน นักเรียนได้รับปริมาณอาหารตามสัดส่วนที่ถูกต้อง

ผลลัพท์ : นักเรียนได้่รับประทานอาหารที่มีคุณค่าต่อสุขภาพ มีน้ำหนักดี ได้สัดส่วนตามเกณฑ์มาตรฐานและนักเรียนได้รับบริการอาหารกลางวันอย่างถูกสุขลักษณะและก่อให้เกิดสุขภาพที่ดีต่อไป

 

405 404

22. กิจกรรมหมอน้อย

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

-เก็บข้อมูลด้านสุขภาพ สมรรถภาพของนักเรียน -การประกวดเด็กดีมีสุขภาพดี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ครู นักเรียน ผู้ปกครองได้รับความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะการดูแลสุขภาพ

ผลลัพท์ : ครู นักเรียน ผู้ปกครองมีสุขภาพพลานามัยที่ดี

 

402 0

23. กิจกรรมประกวดหนูน้อยสุขภาพดี น้ำหนักดี ได้เกณฑ์มาตราฐาน

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • จัดทำป้ายไวนิลกิจกรรมประกวดหนูน้อยสุขภาพสุขภาพดี - จัดทำอาหาร - จัดทำเกียรติบัตร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ครูผู้รับผิดชอบสามารถจัดบริการอาหารกลางให้ได้ปริมาณและสัดส่วนที่ถูกต้องตามมาตรฐาน นักเรียนได้รับปริมาณอาหารตามสัดส่วนที่ถูกต้อง

ผลลัพท์ : นักเรียนได้่รับประทานอาหารที่มีคุณค่าต่อสุขภาพ มีน้ำหนักดี ได้สัดส่วนตามเกณฑ์มาตรฐาน

 

276 0

24. คืนดอกเบี้ยในบัญชี เพื่อปิดโครงการ

วันที่ 31 มีนาคม 2017 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คืนดอกเบี้ยธนาคาร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คืนดอกเบี้ยธนาคารจำนวน 39.98 บาท

 

3 2

25. สร้างองค์ความรู้ร่วม โรงเรียน บ้าน ชุมชน

วันที่ 11 สิงหาคม 2019

กิจกรรมที่ทำ

29 กรกฎาคม 2562 ครูผู้รับผิดชอบโครงการเชิญคณะครูตัวแทน โรงเรียนเครือข่าย และตัวแทนหมู่บ้านประชุมวางแผนการจัดทำกิจกรรมเพื่อสร้างองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างโรงเรียนบ้าน ชุมชน (ครั้งที่1)
5 สิงหาคม 2562 ครูผู้รับผิดชอบโครงการเชิญคณะครูตัวแทน โรงเรียนเครือข่าย และตัวแทนหมู่บ้านประชุมเพื่อกำหนดวันจัดกิจกรรมและการเตรียมสถานที่จัดกิจกรรม (ครั้งที่2)
6 สิงหาคม 2562 เชิญตัวแทนชุมชน นักเรียนแกนนำ ครูแกนนำจากโรงเรียนเครือข่ายเข้าร่วมกิจกรรมการอบรม
7 สิงหาคม 2562 เชิญวิทยากรผู้ให้ความรู้จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และเกษตรอำเภอศรีสัชนาลัย
9 สิงหาคม 2562 คณะกรรมการฝ่ายจัดเตรียมสถานที่จัดเตรียมสถานที่การอบรม
11 สิงหาคม 2562 จัดกิจกรรมการอบรม สร้างองค์ความรู้ร่วม โรงเรียน บ้าน ชุมชน โดยมีหัวข้อการอบรม - "การสร้างเสริมโภชนาการในเด็กวัยเรียน"โดย นายธนากร เกื้อกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่สิน - "การสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีในโรงเรียนและชุมชน" โดย นางรินลดา เกื้อกูล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่สิน - "เกษตรปลอดสารสู่อาหารปลอดภัยในโรงเรียน" โดย นายปฏิวัติ วงศ์รัตนธรรม เกษตรอำเภอศรีสัชนาลัย - การแบ่งกลุ่มเพื่อเสวนาในหัวข้อ “แนวทางการร่วมกันสร้างเสริมโภชนาการ สุขภาวะ และอาหารปลอดภัยในโรงเรียนเครือข่าย” - การนำสนอแนวทางแต่ละกลุ่ม - กล่าวสรุปกิจกกรม
30 สิงหาคม 2562 ติดตามผลการดำเนินโครงการครั้งที่ 1
30 กันยายน 2562 ติดตามผลการดำเนินโครงการครั้งที่ 2
30 ตุลาคม 2562 ติดตามผลการดำเนินโครงการครั้งที่ 3

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้เกิดแกนนำที่จะได้นำความรู้ที่ได้รับจาการอบรมคือ วิธีการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาของเด็กวัยเรียนและการสร้างพฤติกรรมเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดี รวมไปถึงวิธีการปลูกผักปลอดสารไปเผยแพร่ต่อ เช่นแกนนำชุมชนจะนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ต่อให้ผู้ปกครองและคนในชุมชนรวมถึงครอบครัวตนเองและครอบครัวอื่นๆต่อไป แกนนำครูและนักเรียนในโงเรียนเครือข่ายจะนำความรู้ไปเผยแพร่ให้คนอื่นๆในโรงเรียนเครือข่ายเช่นเดียวกัน จึงทำให้เกิดผลผลิต (Output) คือ
1.นักเรียนและผู้ปกครองของโรงเรียนเครือข่ายได้รับความรู้เรื่อง โภชนาการ และการการจัดเกษตรปลอดภัย 2.ผู้ปกครองของครอบครัวต้นแบบจัดเมนูอาหารที่มีคุณภาพตามมาตรฐานโภชนาการ และเกิด ผลลัพธ์ (Outcome) คือ 1. นักเรียนและผู้ปกครองของโรงเรียนเครือข่ายมีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการ การจัดการเกษตรปลอดภัย และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน 2. นักเรียนได้กินอาหารที่มีคุณภาพถูกหลักโภชนาการครบ 3 มื้อ เมื่อผลลัพธ์ที่ได้เกิดกับตัวนักเรียนเองนักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้นตามลำดับทำให้แกนนำทุกฝ่าย และผู้ปกครองนักเรียนเกิดความพึงพอใจ แกนนำและชุมชนจึงมีแผนงานในการรวมกลุ่มเพื่อช่วยกันปลูกผักปลอดสารส่งขายให้แก่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ รวมถึงการเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือโรงเรียนในการทำเกษตรปลอดสารในโรงเรียนทำให้โรงเรียนเครือข่ายที่เข้าร่วมกิจกรรมมีผักปลอดสารมาประกอบอาหารกลางวันให้นักเรียนรับประทาน รวมไปถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่บ้านผู้ปกครองจะทราบหลักการจัดอาหารให้ลูกหลานกินให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการมากที่สุดเท่าที่ผู้ปกครองจะทำได้ แผนงานต่อไปคือการขยายผลและกระจายความรู้ไปยังโรงเรียน ละชุมชนที่ยังไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม

 

0 0

26. เด็กผาเวียงวิถีบริโภคดี ชีวีมีสุข

วันที่ 17 สิงหาคม 2019

กิจกรรมที่ทำ

13 สิงหาคม 2562 ครูผู้รับผิดชอบโครงการเชิญคณะครูโรงเรียนบ้านผาเวียงประชุมวางแผนการจัดทำกิจกรรมเด็กผาเวียงวิถีบริโภคดี ชีวีมีสุข
16 สิงหาคม 2562 จัดเตรียมสถานที่การอบรม ณ หอประชุมโรงเรียนบ้านผาเวียง
17 สิงหาคม 2562 จัดกิจกรรมการอบรม เด็กผาเวียง วิถีบริโภคดีชีวีมีสุข - “เด็กผาเวียงแก้มใส ใส่ใจอาหาร5หมู่” โดย นายณัฐวัฒน์ วรรณชัย ครูโรงเรียนบ้านผาเวียง - “ทานอย่างไร ให้ได้โภชนาการ” โดย นางสาวภัทรมน ใจยะมี ครูโรงเรียนบ้านผาเวียง - “เด็กผาเวียงแก้มใส เลือกทาน รู้ประโยชน์” โดยคณะครูโรงเรียนบ้านผาเวียง โดยกิจกรรมนี้จะแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 12 กลุ่ม จากนั้นกำหนดเมนูอาหารให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ให้นักเรียนวิเคราะห์เมนูอาหารที่กลุ่มได้รับ ว่ามีวัตถุดิบใดบ้าง และวัตถุดิบในเมนูอาหารมีสารอาหารใดและให้ประโยชน์แก่ร่างกายอย่างไร และให้ตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอแผนผังความคิด - เปิดโอกาสซักถามข้อสงสัย - กล่าวสรุปกิจกรรม
1 กันยายน 2562 ติดตามผลการดำเนินโครงการครั้งที่ 1
1 ตุลาคม 2562 ติดตามผลการดำเนินโครงการครั้งที่ 2
1 พฤศจิกายน 2562 ติดตามผลการดำเนินโครงการครั้งที่ 3

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้นักเรียนโรงเรียนบ้านผาเวียง มีความตระหนักในการรับประทานอาหาร โดยสังเกตได้ว่านักเรียนจะเลือกทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ และจะทานขนมกรุบกรอบลดลง และนักเรียนยังสามารถบอกได้อีกว่าอาหารที่ทานไปมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร
ผลผลิต (Output) จากการจัดกิจกรรมนี้คือ นักเรียนได้รับความรู้เรื่องภาวะทางโภชนาการที่ดี (สูง ดี สมส่วน) ผลลัพธ์ (Outcome) จากการจัดกิจกรรมนี้คือ
- นักเรียนมีความรู้เรื่องภาวะทางโภชนาการที่ดี (สูง ดี สมส่วน) - นักเรียนนำความรู้เรื่องภาวะโภชนาการที่ดีไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน - นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียนลดลง ผลผลิต และผลลัพธ์ที่ได้เป็นที่พอใจมากของคณะครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านผาเวียง จึงมีแผนต่อไปว่าครูและนักเรียนจะปฏิบัติเช่นนี้สม่ำเสมอ และจะช่วยกันนำความรู้ไปเผยแพร่ต่อไป

 

0 0

27. ข้อมูลภาวะโภชนาการโรงเรียนบ้านโป่งตีนตั่ง (โรงเรียนเครือข่าย)

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2020

กิจกรรมที่ทำ

ข้อมูลภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 - ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโป่งตีนตั่ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น

 

0 0

28. ข้อมูลภาวะโภชนาการโรงเรียนบ้านผาเวียง (โรงเรียนแม่ข่าย)

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2020

กิจกรรมที่ทำ

ภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นอนุบาล2 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านผาเวียง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นคือ นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น (สูง ดี สมส่วน) เพิ่มมากขึ้น

 

0 0

29. ข้อมูลภาวะโภชนาการโรงเรียนบ้านร้องตลาด(ประชานุเคราะห์) (โรงเรียนเครือข่าย)

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2020

กิจกรรมที่ทำ

ข้อมูลภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นอนุบาล 2 - ประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบ้านร้องตลาด(ประชานุเคราะห์)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น (สูง ดี สมส่วน0

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสในด้านการเกษตร ด้าน การจัดการอาหาร โภชนาการและสุขภาพนักเรียนอย่างครบวงจร
ตัวชี้วัด : 1. โรงเรียนมีรูปแบบกระบวนการทำงานด้านการเกษตร ด้าน การจัดการอาหาร โภชนาการและสุขภาพนักเรียนอย่างครบวงจรที่สามารถถ่ายทอดได้ 2. นักเรียน ครู บุคลากร ผู้ปกครองแกนนำ และโรงเรียนเครือข่ายร้อยละ 100 มีความรู้ความเข้าใจการดำเนินงานตามโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใสและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง

1.มีแหล่งผลิตวัตถุดิบด้านการเกษตร เช่น ไข่ไก่ ผัก เห็ด ไก่ ปลา ผ่านสหกรณ์การเกษตรนักเรียนเพื่อเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน

2.นักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรในโรงเรียนได้เกิดการเรียนรู้และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

2 เพื่อพัฒนาครู นักเรียน ให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้เกี่ยวกับสหกรณ์และนำไปสู่การปฏิบัติได้
ตัวชี้วัด : 1. เด็กมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินผักและผลไม้เพิ่มขึ้น เฉลี่ยประมาณ 40-100 กรัม ในมื้ออาหารเย็น และอาหารว่าง (ติตตามผลโดยครูและผู้ปกครอง) 2. นักเรียนประมาณ 80% มีพฤติกรรมสุขภาวะที่ดี ได้แก่ การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร มีการแปรงฟันหลังทานอาหาร รวมทั้งแปรงฟันก่อนเข้านอน และมีการคัดแยกขยะก่อนทิ้งลงถัง 3. ทางโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมออกกำลังกาย ก่อนเลิกเรียน (อาจจะเน้นที่เด็กมีภาวะอ้วนเป็นพิเศษ) 4. นักเรียนประมาณ 80 % ของจำนวนเด็กในโรงเรียน ให้ความร่วมมือทำกิจกรรมศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

1.นักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้เพิ่มขึ้น ทั้งการบริโภคในโรงเรียนและที่บ้าน 2.นักเรียนมีพฤติกรรมการล้างมือก่อนรับประทานอาหาร มีการแปรงฟันหลังทานอาหาร และก่อนเข้านอน ทั้งยังมีการทิ้งขยะได้ถูกประเภทตามที่ได้จัดทำถังแยกขยะไว้ให้

3.นักเรียนมีการออกกำลังกายตามกิจกรรม BBL ในตอนเช้าของทุกวัน

4.นักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมทุกคน

3 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ มีทักษะในการทำงานมีทัศนคติที่ดีทางการเกษตรผสมผสาน และ สามารถผลิตวัตถุดิบสำหรับโครงการอาหารกลางวัน
ตัวชี้วัด : นักเรียนมีความรู้ มีทักษะในการทำงานมีทัศนคติที่ดีทางการเกษตรผสมผสาน เข้าร่วมกิจกรรมทางการเกษตรในโรงเรียน สามารถผลิตวัตถุดิบสำหรับโครงการอาหารกลางวัน และสามารถนำความรู้ไปปฎิบัติที่บ้านได้

นักเรียนมีความรู้มีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน ด้านงานเกษตร และเข้าร่วมกิจกรรมการเกษตรอย่างมีความสุขแล้วนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติต่อยอดที่บ้านและมีวัตถุดิบเพื่อประกอบอาหารกลางวันให้กับนักเรียน

4 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานระหว่างโรงเรียน ชุมชน และผู้ปกครอง
ตัวชี้วัด : จำนวนกิจกรรมที่มีส่วนร่วมของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนเพิ่มขึ้น 40%

มีกิจกรรมของครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนที่ทำร่วมกันเพิ่มขึ้นหลายกิจกรรมเช่น ปรับปรุงศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตร การคัดแยกขยะในโรงเรียน การเฝ้าระวังเรื่องสุขภาพ ภาวะโภชนาการนักเรียน การเฝ้าระวังและร่วมขับขี่เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน และการให้ความรู้เรื่องความปลอดทางน้ำ

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสในด้านการเกษตร ด้าน การจัดการอาหาร โภชนาการและสุขภาพนักเรียนอย่างครบวงจร (2) เพื่อพัฒนาครู นักเรียน ให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้เกี่ยวกับสหกรณ์และนำไปสู่การปฏิบัติได้ (3) เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ มีทักษะในการทำงานมีทัศนคติที่ดีทางการเกษตรผสมผสาน และ สามารถผลิตวัตถุดิบสำหรับโครงการอาหารกลางวัน (4) เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานระหว่างโรงเรียน ชุมชน และผู้ปกครอง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) สร้างองค์ความรู้ร่วม โรงเรียน บ้าน ชุมชน (2) เด็กผาเวียงวิถีบริโภคดี ชีวีมีสุข (3) ข้อมูลภาวะโภชนาการโรงเรียนบ้านผาเวียง (โรงเรียนแม่ข่าย) (4) ข้อมูลภาวะโภชนาการโรงเรียนบ้านโป่งตีนตั่ง (โรงเรียนเครือข่าย) (5) ข้อมูลภาวะโภชนาการโรงเรียนบ้านร้องตลาด(ประชานุเคราะห์) (โรงเรียนเครือข่าย)

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนบ้านผาเวียง

รหัสโครงการ ศรร.1113-025 รหัสสัญญา 58-00-2265-น.25 ระยะเวลาโครงการ 1 พฤษภาคม 2019 - 30 พฤศจิกายน 2017

วันที่เริ่มประเมิน

1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

(ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
1. การเกษตรในโรงเรียน

การผลิตน้ำยาเอนกประสงค์

กิจกรรมให้ความรู้นักเรียนในการผลิตน้ำยาเอนกประสงค์ที่มี นักเรียนร่วมกันผลิตน้ำยาเอนกประสงค์ อาทิ น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาถูพื้น โดยวางขายผ่านร้านค้าสหกรณ์ ฯลฯ ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้านการตลาดการจัดทำรายรับ รายจ่าย ตลอดจนสามารถจำหน่ายให้กับชุมชนในราคาถูก และมีความปลอดภัย

1.ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมดำเนินติดต่อหาแหล่งรับซื้อน้ำยาเอนกประสงค์โดยเน้นที่โรงเรียนในเครือข่ายแม่สิน 9 โรงเรียน 2.กลุ่มนักเรียนผู้ผลิตน้ำยาเอนกประสงค์ดำเนินการผลิตน้ำยาเอนกประสงค์

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
2. สหกรณ์นักเรียน

 

 

 

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

 

 

 

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

 

 

 

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

 

 

 

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

 

 

 

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

 

 

 

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

 

 

 

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
9. อื่น ๆ

 

 

 

2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

ความร่วมมือของหน่วยงาน ได้แก่ ชุมชนบ้านผาเวียงโดยผู้ปกครองรับซื้อผลิตภัณฑ์ จากสหกรณ์นักเรียนซึ่งมีราคาถูกกว่าท้องตลาด ผู้บริหารมีนโยบายสนับสนุนการผลิตน้ำยาเอนกประสงค์ และประชาสัมพันธ์การจำหน่ายสินค้าแก่ชุมชนในการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ถูกกว่าท้องตลาดและมีความปลอดภัย นักเรียนกลุ่มผลิตน้ำยาเอนกประสงค์มีความสนใจและให้ความร่วมในการผลิตเป็นอย่างดีและนำส่งสหกรณ์นักเรียนเพื่อจำหน่ายในโรงเรียนและชุมชน รพ.สต.สะท้อ โดยเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำในเรื่องความปลอดภัยในการเลือกใช้น้ำยาที่นำมาผลิต

2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

เป็นชุมชนที่อยู่นอกเมือง การเดินทางไม่สะดวกการหาซื้อของใช้ต่างๆยากลำบากเมื่อโรงเรียนมีการผลิตน้ำยาเอนกประสงค์ จำหน่ายในโรงเรียนจึงทำให้สะดวกในการซื้อ และมีบริการส่งของถึงที่โดยนักเรียนที่เป็นคณะกรรมการ ทำให้ชุมชนได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัยและมีราคาถูก ตลอดจนได้สนับสนุนกิจกรรมของบุตรหลาน

3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

ความร่วมมือของคณะทำงานได้แก่ ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรม คณะครู นักเรียน ผู้บริหาร ชุมชน ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการทำงานเป็นอย่างดี

4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

-ประชุมให้ความรู้แก่ นักเรียน แม่ครัว ครูุเข้าร่วมอบรมในการร่วมกันผลิตภัณฑ์ส่งเข้าสหกรณ์ของโรงเรียน

5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

ผู้ปกครองแสดงความคิดเห็นและประเมินผลสำเร็จของงาน กลุ่มแม่บ้านรับซื้อผลิตภัณฑ์น้ำยาเอนกประสงค์จากสหกรณ์นักเรียน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

-มีผักเพียงพอในการประกอบอาหารกลางวันจำนวน 15 แปลงหลากหลายชนิด ทำให้ได้วัตถุดิบจำนวน 10-20 กิโลกรัมต่อวัน

-ผลไม้จัดซื้อตามฤดูกาลจากท้องตลาดและชุมชน 2 ครั้งต่อสัปดาห์

-มีเห็ดนางฟ้าในการประกอบอาหารเพียงพอ จำนวน 400 ก้อนทำให้มีวัตถุดิบที่เป็นดอกเห็ดส่งโครงการอาหารกลางวันเพื่อประกอบอาหารเมนูเห็ด 1 ครั้งต่อสัปดาห์ส่วนที่เหลือจำหน่ายให้แก่ ครู และชุมชน โดยผ่านสหกรณ์นักเรียน

รายการอาหารกลางวัน

จัดทำโครงการปลูกผลไม้ตามฤดูกาลในโรงเรียน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

โรงเรียนมีการเลี้ยงไก่พันธ์ไข่จากโครงการจำนวน 40 ตัวและได้รับสนับสนุนจากอบต.แม่สิน จำนวน 60 รวมเป็น 100 ตัว ทำให้ได้ผลผลิต ประมาณ 3 แผง ต่อวัน และนำส่งโครงการอาหารกลางวัน ครั้งละ 5-7 แผง โดยโรงอาหารมีการจัดทำเมนูไข่ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ทำให้มีไข่เพียงพอต่อการประกอบอาหารส่วนที่เหลือจำหน่ายให้แก่่ครูและชุมชน ผ่านสหกรณ์นักเรียน มีการเลี้ยงไก่พันธ์พื้นเมืองโดยจัดซื้อจำนวน 3 คู่และชุมชนให้การสนับสนุนพันธ์ลูกไก่ จำนวน 10 ตัว

รายการอาหารกลางวัน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

ได้รับการสนับสนุนพันธ์ปลาดุกจากประมงจังหวัดสุโขทัย จำนวน 2,000 ตัว โดยเลี้ยงแบ่งเป็น 2 บ่อ

ภาพถ่าย

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

 

 

 

5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

นักเรียนอนุบาลได้รับการบริโภคผัก 30 กรัมต่อวันและร้อยละ 80 รับประทานผักหมด โรงเรียนได้จัดผลไม้ให้นักเรียน 2 วันต่อสัปดาห์

เมนูอาหารกลางวัน

ครูมีการตรวจสอบการรับประทานอาหารของนักเรียนและให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในเรื่องการบริโภคผักและผลไม้ของนักเรียนให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม
  • นักเรียนระดับประถมศึกษาได้รับการบริโภคผักในปริมาณ 60 กรัม และร้อยละ 90 รับประทานอาหารหมด
  • โรงเรี่ยนมีการจัดผลไม้ให้นักเรียน 2 วันต่อสัปดาห์

เมนูอาหารกลางวัน

  • ครูมีการตรวจสอบการรับประทานอาหารของนักเรียนก่อนล้างภาชนะ

  • ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในเรื่องการบริโภคผักและผลไม้ที่ถูกต้อง เหมาะสม ตามหลักโภชนาการ เพื่อให้ผู้ปกครองได้เกิดความรู้และตระหนักในการประกอบอาหารให้กับบุตรหลาน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

โรงเรียนไม่ได้รับงบสนับสนุนจัดอาหารกลางวันกับนักเรียนกลุ่มนี้

โครงการอาหารกลางวัน

ให้ความรู้กับนักเรียนในการบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการและให้ความรู้แก่ผู้จำหน่ายอาหารให้กับนักเรียน โรงเรียนมีนโยบายจัดหาร้านจำหน่ายอาหารที่หลากหลาย เช่น ร้านจำหน่ายผลไม้ ร้านอาหารปรุงสุกที่ประกอบเมนูผัก

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

ชุมชนมีการนำผลผลิตประเภทส้มเขียวหวานและผักประเภทฟักทอง ฟักเขียว จำหน่ายให้กับสหกรณ์นักเรียน ทำให้นักเรียนได้บริโภคอาหารและผลไม้ที่ปลอดภัย

โครงการอาหารกลางวัน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

 

 

 

4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

จัดทำโปรแกรมเมนูอาหารกลางวัน เป็นรอบเดือนและส่งต่อให้แม่ครัวเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบเพื่อจัดทำเมนูอาหารกลางวัน

  • เว็บไซด์เด็กไทยแก้มใส
  • เมนูอาหารกลางวันของโรงเรียน

ให้ความรู้เพิ่มเติมในการจัดเมนูอาหารแก่แม่ครัวในโรงเรี่ยนและผู้เกี่ยวข้อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

มีการติดตาม ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงในช่วงแรกเดือนพฤษภาคมเปิดภาคเรียนที่ 1และในเดือนกันยายนก่อนปิดภาคเรียนที่ 1 และช่วงที่สองเดือนพฤศจิกายนเปิดภาคเรียนที่ 2 และเดือนกุมภาพันธ์ก่อนปิดภาคเรียนที่ 2นำข้อมูลมาวิเคราะห์ภาวะโภชนาการของนักเรียน รายบุคคล แล้วแจ้งครูผู้เกี่ยวข้อง ผู้ปกครองในการควบคุมอาหารสำหรับนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์และเสริมอาหาร นม สำหรับนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

เอกสารรายงานผลภาวะโภชนาการ

 

3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

ภาวะ2558 1/12558 1/22558 2/12558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/22560 1/1
เตี้ย 5.39 5.39% 6.21 6.21% 6.02 6.02% 6.42 6.42% 5.99 5.99% 6.33 6.33% 6.54 6.54% 5.21 5.21% 4.98 4.98%
เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 12.87 12.87% 12.43 12.43% 11.45 11.45% 12.84 12.84% 11.36 11.36% 12.03 12.03% 14.05 14.05% 11.07 11.07% 9.66 9.66%
ผอม 6.27 6.27% 2.66 2.66% 4.52 4.52% 2.76 2.76% 5.36 5.36% 4.78 4.78% 5.10 5.10% 3.19 3.19% 5.61 5.61%
ผอม+ค่อนข้างผอม 18.21 18.21% 7.69 7.69% 11.45 11.45% 7.98 7.98% 14.20 14.20% 12.10 12.10% 12.42 12.42% 7.67 7.67% 13.40 13.40%
อ้วน 4.18 4.18% 3.55 3.55% 3.31 3.31% 3.99 3.99% 4.10 4.10% 4.14 4.14% 3.18 3.18% 3.83 3.83% 3.74 3.74%
เริ่มอ้วน+อ้วน 8.96% 8.96% 11.54% 11.54% 6.93% 6.93% 12.27% 12.27% 8.52% 8.52% 7.32% 7.32% 7.96% 7.96% 7.67% 7.67% 7.79% 7.79%
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

ในช่วงภาคเรียนที่ 1 นักเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนคิดเป็นร้อยละ 8.51 ในช่วงภาคเรียนที่ 2 พบว่านักเรียนมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนคิดเป็นร้อยละ 8.22 ซึ่งลดลงจากเดิม ร้อยละ 0.29 จากผลที่นักเรียนมีภาวะโภชนาการดีขึ้นมาจากการใช้โปรแกรม Thai school Lunch และการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของนักเรียน

เอกสารรายงานภาวะโภชนาการนักเรียน

ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในเรื่องการรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมตามช่วงวัย

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

ในช่วงภาคเรียนที่ 1 นักเรียนที่มีภาวะค่อนข้างผอมและผอมคิดเป็นร้อยละ 14.19 ในช่วงภาคเรียนที่ 2 พบว่านักเรียนมีภาวะค่อนข้างผอมและผอมคิดเป็นร้อยละ 12.65 ซึ่งลดลงจากเดิม ร้อยละ 1.54 จากผลที่นักเรียนมีภาวะโภชนาการดีขึ้นมาจากการใช้โปรแกรม Thai school Lunch และการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของนักเรียน

เอกสารรายงานภาวะโภชนาการนักเรียน

ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในเรื่องการรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมตามช่วงวัย

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

ในช่วงภาคเรียนที่ 1 นักเรียนมีภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยวคิดเป็นร้อยละ 11.34 ในช่วงภาคเรียนที่ 2 พบว่านักเรียนมีภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ย คิดเป็นร้อยละ 13.59 ซึ่งเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ2.25จากผลที่นักเรียนมีภาวะโภชนาการในด้านส่วนสูงไม่พัฒนาขึ้นทางโรงเรียนจึงได้มีการเสริมอาหารประเภทนมให้กับนักเรียนในกลุ่มนี้

เอกสารรายงานภาวะโภชนาการ

ให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในเรื่องการรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมตามช่วงวัย

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

ติดตามวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนักนักเรียนกลุ่มที่มีภาวะทุพโภชนาการและติดตามเยี่ยมบ้านนักเรียนและให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในเรื่องการรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมตามช่วงวัย

เอกสารรายงานภาวะโภชนาการนักเรียน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

ครูแจ้งภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนให้ผู้ปกครองทราบและติดตามภาวะโภชนาของนักเรียนกลุ่มนี้

รายงานภาวะโภชนาการนักเรียน

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

 

 

 

5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

ความร่วมมือของหน่วยงาน ได้แก่ ชุมชนบ้านผาเวียงโดยผู้ปกครองรับซื้อผลิตภัณฑ์ จากสหกรณ์นักเรียนซึ่งมีราคาถูกกว่าท้องตลาด ผู้บริหารมีนโยบายสนับสนุนการผลิตน้ำยาเอนกประสงค์ และประชาสัมพันธ์การจำหน่ายสินค้าแก่ชุมชนในการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ถูกกว่าท้องตลาดและมีความปลอดภัย นักเรียนกลุ่มผลิตน้ำยาเอนกประสงค์มีความสนใจและให้ความร่วมในการผลิตเป็นอย่างดีและนำส่งสหกรณ์นักเรียนเพื่อจำหน่ายในโรงเรียนและชุมชน รพ.สต.สะท้อ โดยเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำในเรื่องความปลอดภัยในการเลือกใช้น้ำยาที่นำมาผลิต

หมายเหตุ *

  • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

โรงเรียนบ้านผาเวียง จังหวัด สุโขทัย

รหัสโครงการ ศรร.1113-025

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายอินทร์ถา อุดมวัฒนกูล )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด