ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

assignment
บันทึกกิจกรรม
คืนดอกเบี้ยโครงการ29 มีนาคม 2560
29
มีนาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ถอนดอกเบี้ยจากบัญชีโครงการ คืน สอส.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คืนดอกเบี้ยเงินโครงการเรียบร้อย

ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( ผักบุ้งจีน กวางตุ้ง โหระพา)6 มีนาคม 2560
6
มีนาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย ศรีเรือน ยิ้มศรีเจริญกิจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ครูที่รับผิดชอบโครงการ มอบหมายให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม โดยให้นักเรียนรับผิดชอบดูแลคนละ1กระถาง และขออาสาสมัครรับ 2 กระถางจำนวน 9 คน
  2. ครูที่รับผิดชอบพานักเรียนผสมดินสำหรับปลูกผัก โดยนำดินร่วน ผสมดินปุ๋ย แกลบ รดน้ำให้ชุ่ม
  3. โรยเมล็ดผักบุ้ง กระจายให้ทั่วกระถาง
  4. หมั่นดูแล กำจัดวัชพืช รดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น
  5. เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ ถอนผักบุ้ง นำไปล้าง นำไปจำหน่ายให้สหกรณ์โรงเรียน
  6. ผักบุ้งที่เหลือนำไปจำหน่ายให้ผู้ปกครอง
  7. มีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม ปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อจำหน่ายให้กับโรงเรียน จำนวน5คน คือ เด็กชายคุณากร แย้มบัว เด็กชายณัฐวุฒิ อิ่มคำ เด็กชายยุทธศักดิ์ อ่อนบัว เด็กชายวิษณะพงศ์ แสงชมภู และเด็กชายรณชัย ขำอ่วม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. นักเรียนรู้จักปรับปรุงแก้ไขผลการปฏิบัติกิจกรรม การปลูกผักปลอดสารพิษ จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ทำให้มีผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ
  2. นักเรียนและผู้ปกครอง ให้ความสนใจในกิจกรรมของโรงเรียนและนักเรียน
  3. นักเรียนรู้จักหารายได้ระหว่างเรียน โดยการชวนผู้ปกครองปลูกผักปลอดสารพิษรับประทานในครอบครัว และเหลือจำหน่ายให้กับโรงเรียน
  4. นักเรียนตระหนักในปัญหาสารพิษตกค้าง จากการจัดกิจกรรม "ชวนผู้ปกครองทำอาหาร" และ กิจกรรม "ดีเจทีน" ส่งสารความรู้ผ่านหอกระจายข่าวของโรงเรียนและชุมชน และนำความรู้มาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 45 คน จากที่ตั้งไว้ 22 คน
ประกอบด้วย
ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( ผักบุ้งจีน กะเพรา)1 มีนาคม 2560
1
มีนาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย ศรีเรือน ยิ้มศรีเจริญกิจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. แบ่งนักเรียนหว่านผักบุ้งจีนในวงบ่อ และปลูกกะเพราจากต้นกล้า
  2. นักเรียนแต่ละกลุ่่มดูแลรดน้ำ พรวนดิน กำจัดวัชพืช ใส่ปู่ยอินทรีย์
  3. เก็บผลผลิตส่งสหกรณ์โรงเรียน เพื่อจัดจำหน่ายให้ครูผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวันนักเรียน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ได้จากการปฏิบัติจริง
  2. นักเรียนมีความรัก ความสามัคคี ร่วมมือกันจนผลงานเป็นที่ปรากฏ
  3. นักเรียนภาคภูมิใจที่มีส่วนร่วม ในการผลิตผักปลอดสารพิษ ประกอบอาหารกลางวันของโรงเรียน
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 24 คน
ประกอบด้วย
เดินสายน้ำ ต้นมัลเบอร์รี่28 กุมภาพันธ์ 2560
28
กุมภาพันธ์ 2560รายงานจากพื้นที่ โดย ศรีเรือน ยิ้มศรีเจริญกิจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จ้างเหมาเดินสายน้ำรดต้นมัลเบอรี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การทำระบบให้น้ำต้นมัลเบอรี่ โดยเดินสายน้ำหยด เนื่องจากในฤดูแล้งทางโรงเรียนจะขาดน้ำสำหรับกิจกรรมการเกษตร ทำให้ประหยัดน้ำ และสะดวก ต้นไม้ได้รับน้ำอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ทำให้มัลเบอรี่เจริญเติบโต ให้ผลผลิตที่มากขึ้น

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 278 คน
ประกอบด้วย
จัดมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน16 กุมภาพันธ์ 2560
16
กุมภาพันธ์ 2560รายงานจากพื้นที่ โดย ศรีเรือน ยิ้มศรีเจริญกิจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ขุดดินวางท่อน้ำทิ้ง พีวีซี ขนาด 5 น้ิว
  2. ขุดดินวางวงบ่อซีเมนต์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร จำนวน 3 วง พร้อมฝาปิด
  3. ก่ออิฐ ฉาบปูน ปูกระเบื้องพื้นสำหรับวางหัวแก๊ส และจัดทำช่องเก็่บถังแก๊ส พร้อมประตูบานพับเหล็กดัด
  4. มีกุญแจล็อคประตูเก็บถังแก๊สป้องกันความปลอดภัย
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. โรงเรียนมีระบบการระบายน้ำทิ้ง ไปยังบ่อพัก ทำให้บริเวณสะอาด ปลอดภัย
  2. มีสถานที่ประกอบอาหารกลางวันที่ถูกสุขอนามัย มีตู้เก็บอุปกรณ์ ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยจากแมลงรบกวน
  3. มีสถานที่ทำความสะอาดภาชนะที่เพียงพอ และสถานที่จัดเก็บที่เพียงพอ
  4. นักเรียนมีสถานที่นั่งสำหรับรับประทานอาหารที่สะอาด และมีสุขนิสัยในการรับประทาน
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 278 คน จากที่ตั้งไว้ 44 คน
ประกอบด้วย
ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( ต้นหอม คะน้า)2 กุมภาพันธ์ 2560
2
กุมภาพันธ์ 2560รายงานจากพื้นที่ โดย ศรีเรือน ยิ้มศรีเจริญกิจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. แบ่งนักเรียนชายเตรียมแปลงเพื่อปลูกคะน้า
  2. นักเรียนหญิงผสมดินและปลูกหอมในกระถาง แบ่งกันรับผิดชอบ
  3. นักเรียนดูแล รดน้ำ พรวนดิน กำจัดวัชพืช
  4. นำผลผลิตที่ได้จำหน่ายผ่านสหกรณ์โรงเรียน นำไปประกอบอาหารกลางวัน และนำหอมที่เหลือไปจำหน่ายในชุมชน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผักปลอดสารพิษที่เกิดจากผลผลิตของนักเรียน มาประกอบการทำอาหารกลางวัน
  2. มีกลุ่มสนใจ ไปชวนผู้ปกครองปลูกผักปลอดสารพิษ ส่งขายให้กับโรงเรียน 3 ครอบครัว คือ ครอบครัวของเด็กชายนพดล เวียงนินท์ ครอบครัวของเด็กหญิงพิชราพร เดี่ยวบัวขาว และครอบครัวของเด็กชายยุทธศักดิ์ อ่อนบัว
  3. นักเร่ียนมีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
  4. นักเรียนมีความภาคภมูิใจในผลผลิตของตนเอง
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 31 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
เลี้ยงปลาดุกในวงบ่อ รุ่นที่ 29 มกราคม 2560
9
มกราคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย ศรีเรือน ยิ้มศรีเจริญกิจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ซื้อพันธ์ปลาดุก 400 ตัว และปล่อยปลาดุก จำนวน 11 บ่อ
  2. แบ่งนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดูแล ให้อาหาร เปลี่ยนน้ำ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จำหน่ายให้สหกรณ์โรงเรียนจำนวน 15 กิโลกรัม ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 900 บาท และนำไปประกอบอาหารกลางวันนักเรียน เมนู แกงสัมผักรวมใส่ปลาดุก
  2. จำหน่ายให้สหกรณ์โรงเรียนจำนวน 18 กิโลกรัม ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 1080 บาท และนำไปประกอบอาหารกลางวันนักเรียน เมนู ฉู่ฉี่ปลาดุกใส่มะเขือขาว
  3. จำหน่ายให้สหกรณ์โรงเรียนจำนวน 18 กิโลกรัม ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 1080 บาท และนำไปประกอบอาหารกลางวันนักเรียน เมนู แกงเผ็ดปลาดุุกใส่มะเขีอขาว
  4. จำหน่ายให้สหกรณ์โรงเรียนจำนวน 20 กิโลกรัม ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 1200 บาท และนำไปประกอบอาหารกลางวันนักเรียน เมนู ขนมจีนน้ำยาปลาดุก
  5. นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่า ตามหลักโภชนาการ
  6. นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีวินัยในตนเอง
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 21 คน จากที่ตั้งไว้ 18 คน
ประกอบด้วย
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพนักเรียนด้วยหลัก 4 อ.6 มกราคม 2560
6
มกราคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย ศรีเรือน ยิ้มศรีเจริญกิจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. จัดทำข้อมูล ความรู้ เอกสาร สำหรับประชาสัมพันธ์ กิจกรรมส่งเสริมสุขอนามัยนักเรียน
  2. ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้ โดยดีเจทีน ทุกวัน หลังรับประทานอาหารกลางวัน
  3. เชิญวิทยากรให้ความรู้ คณะครู และนักเรียน
  4. จัดกิจกรรมออกกำลังกาย
  5. จัดสถานที่ สำหรับน้ำดื่ม และล้างมือ เพื่ออนามัยของนักเรียน
  6. แต่งตั้ง อย. น้อย ตรวจสุขภาพ ร่างกาย เช่น ฟัน เหา เล็บมือ
  7. จัดกิจกรรมแปรงฟัน หลังรับประทานอาหาร
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้ปกครอง นักเรียน ชุมชน มีความรู้ความเข้าใจ เอาใจใส่ดูแลสุขอนามัยของบุตรหลาน และการประกอบอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ
  2. นักเรียนรู้จัดเลือกซื้ออาหารที่มีคุณค่า และมีประโยชน์ต่อร่างกาย
  3. นักเรียนรู้จักออกกำลังกาย เพื่อพัฒนาตนเอง
  4. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้เพื่อประโยชน์ต่อนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
  5. นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ได้รับการพัฒนาให้มีภาวะการเจริญเติบโตสมวัย
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 94 คน จากที่ตั้งไว้ 88 คน
ประกอบด้วย
ปลูกผักพื้นบ้าน (มะนาว)12 ธันวาคม 2559
12
ธันวาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ศรีเรือน ยิ้มศรีเจริญกิจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. สำรวจวงบ่อที่มีอยู่แล้ว ในบริเวณโรงเรียน ได้จำนวน 13 วง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร
  2. ซื้อดินปุ๋ย จำนวน 52 ถุง ๆ ล 50 บาท เป็นเงิน 2600 บาท
  3. ซื้อพันธ์ุมะนาว จำนวน 13 ต้น ๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 3250 บาท
  4. แบ่งนักเรียนรับผิดชอบปลูก ดูแล ต้นละ 2 คน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีต้นมะนาว สำหรับนำผลมาประกอบอาหารกลางวัน
  2. ต้นมะนาวเจริญเติบโตทุกต้น แต่ยังไม่มีผลผลิต
  3. นักเรียนมีความรับผิดชอบ มีวินัยในตนเอง
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 31 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
ดำเนินกิจกรรมการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่9 ธันวาคม 2559
9
ธันวาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ศรีเรือน ยิ้มศรีเจริญกิจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. เลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ จำนวน 240 ตัว
  2. มอบหมายภารกิจ การเลี้ยง ดูแล ให้อาหาร และน้ำ เก็บไข่ ทำความความสะอาด หมุนเวียนกันไปในแต่ละวัน
  3. ซื้ออาหารไก่ และแผงสำหรับใส่ไข่
  4. รายงานผลการเลี้ยงไก่ จำนวนไข่ในแต่ละวัน การจำหน่าย และการนำไข่ไปประกอบอาหารกลางวัน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ตั้งแต่เร่ิมเลี้ยงไก่ ปัจจุบันมีไก่ตายจำนวน 10 ตัว เหลือ 230 ตัว
  2. เก็บไข่ได้เฉลี่ยวันละ 200 ฟอง แยกเป็นขนาดต่าง ๆ ดังนี้ เบอร์ 0  เบอร์1 เบอร์ 2 เบอร์ 3 เบอร์ 4 เบอร์ 5 เบอร์ 6
  3. ราคาจำหน่ายตามท้องตลาด
  4. ซื้ออาหารไก่เพ่ิม จำนวน 20 กระสอบ ๆ ละ 380 บาท เป็นเงิน 7600 บาท
  5. ซื้อแผงสำหรับใส่ไข่ 30 แผง ๆ ละ 6 บาท เป็นเงิน 180 บาท 
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 59 คน จากที่ตั้งไว้ 62 คน
ประกอบด้วย
เพาะถั่วงอกเพื่ออาหารกลางวัน9 ธันวาคม 2559
9
ธันวาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ศรีเรือน ยิ้มศรีเจริญกิจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 5 คน รับผิดชอบเพาะถั่วงอก โดยทิ้งระยะห่าง กลุ่มละ 5  วัน
  2. กลุ่มที่ 1 เริ่มเพาะวันที่ 10 ธันวาคม  กลุ่มที่ 2 วันที่ 15 ธันวาคม  และกลุ่มที่ 3 วันที่ 20 ธันวาคม
  3. แต่ละกลุ่ม เพาะถั่วงอก กลุ่มละ 20 ตะกร้า
  4. นำถั่วงอกที่ได้ ไปจำหน่ายผ่านสหกรณ์โรงเรียน และนำไปประกอบอาหารกลางวัน ที่เหลือ แบ่งให้นักเรียนแต่ละกลุ่มไปประกอบอาหารรับประทานที่บ้าน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. แต่ละกลุ่มได้ถั่วงอกเป็นผลผลิตเฉลี่ย  10 กิโลกรัม
  2. จำหน่ายผ่านสหกรณ์โรงเรียนกิโลกรัมละ 15 บาท เป็นเงิน 150 บาท จากนั้น นำไปประกอบอาหารกลางวัน
  3. ถั่วงอกกลุ่มที่ 1 นำไปทำก๋วยเตี๋ยวน้ำ 4.ถั่วงอกกลุ่มที่ 2 นำไปทำก๋วยเตี๋ยวผัดไทย
  4. ถั่วงอกกลุ่มที่ 3 นำไปผัดใส่หมู และเลือดหมู
  5. แต่ละกลุ่ม ได้ถั่วงอกกลับไปประกอบอาหารที่บ้านทุกคน
  6. มีผู้ปกครองเข้ามาสนทนาซักถาม และเห็นความสำคัญของกิจกรรม จำนวน 3 คน และคิดว่าจะนำไปทดลองเพาะถั่วงอกเอง ถ้าได้ผลดี ก็จะนำไปจำหน่ายเป็นรายได้เสริม
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 21 คน จากที่ตั้งไว้ 18 คน
ประกอบด้วย
ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( ผักบุ้งจีน )2 ธันวาคม 2559
2
ธันวาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ศรีเรือน ยิ้มศรีเจริญกิจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ครูผู้รับผิดชอบ นำนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พรวนดิน ผสมดินปุ๋ย แกลบ และ แกลบดำ โดยมีนักเรียน ม. 2 ให้ความช่วยเหลือ
  2. ทิ้งดินฝึ่งแดด เพื่อฆ่าเชื้อโรค  1- 2 วัน
  3. หว่านเมล็ดผักบุ้ง นำฟางแห้งกลบเพื่อป้องกันความชื้น รดน้ำ
  4. แบ่งกลุ่มนักเรียนหมุนเวียนกันมารดน้ำ ดูแลกำจัดวัชพืช
  5. เมื่อผลผลิตเจริญเติบโตเต็มที่ เก็บและจำหน่ายผ่านสหกรณ์โรงเรียน จากนั้นนำไปประกอบอาหารกลางวัน
  6. ผลผลิตที่เกินความต้องการ มอบให้นักเรียนไปประกอบอาหารรับประทานที่บ้าน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. หว่านเมล็ดผักบุ้งในกระถาง จำนวน 43 กระถาง
  2. ได้ผลผลิตจำนวน 18 กิโลกรัม นำไปขายผ่านสหกรณ์โรงเรียน กิโลกรัมละ 20 บาท เป็นเงิน 360 บาท
  3. นำผักบุ้งไปประกอบอาหารกลางวัน
  4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความรับผิดชอบ มีวินัยในตนเอง
  5. ผู้ปกครองนักเรียนเร่ิ่มตระหนัก และเห็นความสำคัญของการปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเอง
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 34 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
เลี้ยงปลาดุกในวงบ่อ2 ธันวาคม 2559
2
ธันวาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ศรีเรือน ยิ้มศรีเจริญกิจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ครูที่รับผิดชอบกิจกรรมนำนักเรียนเตรียมวงบ่อ โดยล้างให้สะอาด และฝึ่งแดดให้แห้ง เพื่อฆ่าเชื้อโรค
  2. ครูที่รับผิดชอบอธิบายหลักการเลี้ยงปลา การดูแล การสังเกตอาการป่วยของปลา การเปลี่ยนน้ำปลา และการให้อาหาร
  3. ครูที่รับผิดชอบจัดซื้อพันธ์ุปลาและอาหาร
  4. ปล่อยปลา ดูแลตามขั้นตอน
  5. เมื่อเจริญเติบโต นำไปจำหน่ายให้สหกรณ์นักเรียน และนำไปประกอบอาหารกลางวัน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. นักเรียนมีความรับผิดชอบ มีวินัยในตนเอง
  2. นักเรียนมีอาหารประเภทโปรตีนที่ผลิตด้วยตนเอง เป็นอาหารกลางวัน
  3. นักเรียนได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม เป็นกระบวนการ รู้จักการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล
  4. นักเรียนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 18 คน
ประกอบด้วย
ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( บวบ ฟักทอง ผักบุ้งจีน ถั่วฝักยาว มะเขือ)18 พฤศจิกายน 2559
18
พฤศจิกายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ศรีเรือน ยิ้มศรีเจริญกิจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ขออนุญาตใช้วงบ่อที่ี่ไม่ใช้ปลูกต้นไม้ประดับ จากผู้บริหารโรงเรียน มาใช้ปลูกผักพื้นบ้านประเภทไม้เลื้อย เช่น ฟักทอง ฟักข้าว จำนวน 8 วง
  2. นักการ ฯ และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6 ร่วมกันผสมดิน แกลบดำ และปุ๋ยคอก แล้วตักใส่วงบ่อ
  3. นักการ ฯ จัดทำร้านให้ถั่วและฟักทอง ใช้เอ็นทำเป็นตาข่าย
  4. ครูบานเที่ยง ยอดคำ นำนักเรียนปลูกบวบ และฟักทองในวงบ่อ ส่วนบริเวณพื้นที่ว่าง หว่านผักกวางตุ้งใบ ต้นหอม เพื่อใช้พื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  5. แบ่งนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ออกเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อดูแลรับผิดชอบ ดูแลรดน้ำ พรวนดิน กำจัดวัชพืช และเก็บผลผลิตจำหน่ายให้สหกรณ์โรงเรียนเพื่อนำไปประกอบอาหารกลางวัน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้บวบ จำนวน 8 กิโลกรัม นำไปทำอาหารกลางวันให้นักเรียน เมนูผัดบวบใส่ไข่่ให้กับนักเรียน โดยผัดรวมกับผักกาดขาว
  2. นักเรียนมีทักษะการปลูกผักสวนครัว มีความภาคภูมิใจในผลงานที่ได้รับ
  3. นักเรียนได้รับประทานอาหารที่สะอาด และปลอดสารพิษ
  4. องค์กรท้องถ่ิน นำโดยนายสนาม กอนวงษ์ นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลพระเสด็จ เห็นความสำคัญในการปลูกผักสวนครัวสำหรับการประกอบอาหารกลางวัน จึงสนับสนุนกลุ่มเยาวชนไทยรัฐพระเสด็จ ร่วมโครงการจิตอาสาพัฒนาสุขภาพ เป็นพี่เลี้ยงให้กับน้อง ๆ ในโรงเรียนปลูกผักสวนครัวที่บ้านขึ้น
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 32 คน จากที่ตั้งไว้ 39 คน
ประกอบด้วย
เพาะถั่วงอกและต้นทานตะวันอ่อน14 พฤศจิกายน 2559
14
พฤศจิกายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ศรีเรือน ยิ้มศรีเจริญกิจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ครูที่รับผิดชอบจัดซื้อเมล็ดทานตะวัน จำนวน  4 กิโ่ลกรัม ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 600 บาท
  2. ซื้อเมล็ดถั่วเขียว 5 กิโลกรัม ๆ ละ 80 บาท  เป็นเงิน 400 บาท
  3. ซื้อปู่ยดิน 2 ถุง ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 100 บาท
  4. ซื้อขุยมะพร้าว 1 ถุง ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 25 บาท
  5. เพาะต้นทานตะวันอ่อน จำนวน 20 ตะกร้า
  6. เพาะถั่วงอก จำนวน 20 ตะกร้า
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้ต้นทานตะวันอ่อนจำนวน  5 กิโลกรัม นำไปจำหน่าย ให้สหกรณ์นักเรียน กิโลกรัมละ 150 บาทเป็นเงิน 750 บาท
  2. นำไปประกอบอาหารกลางวัน 3 กิโลกรัม อีก 2 กิโลกรัม แจกให้นักเรียนไปประกอบอาหารที่บ้าน
  3. ได้ถั่วงอกจำนวน ุ6 กิโลกรัม นำไปจำหน่ายผ่านสหกรณ์นักเรียนกิโลกรัมละ  20 บาท เป็นเงิน 120 บาท
  4. นำไปประกอบอาหารกลางวัน 4 กิโลกรัม อีก 2 กิโ่่ลกรัม แจกให้นักเรียนนำไปประกอบอาหารที่บ้าน
  5. นักเรียนที่ร่วมกิจกรรมมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย และรู้สึกภูมิใจที่เห็นผลสัมฤทธิ์ของตนเอง
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 33 คน จากที่ตั้งไว้ 18 คน
ประกอบด้วย
ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล (มะเขือ ถั่วฝักยาว บวบ ฟักทอง)10 พฤศจิกายน 2559
10
พฤศจิกายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ศรีเรือน ยิ้มศรีเจริญกิจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ขอความร่วมมือจากชุมชนสนับสนุนดินสำหรับแปลงเกษตรของโรงเรียนจำนวน 2 รถ เพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชผักสวนครัว
  2. เชิญชวน ผู้ปกครอง และนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม ปรับปรุงดิน เพื่อพร้อมเพาะปลูกพืชผักสวนครัว
  3. ดำเนินการซื้อดินปุ๋ย และ เมล็ดพันธ์ุผัก เช่น มะเขือ บวบ ถั่วฝักยาว ฟักทอง ให้เหมาะสมกับฤดูกาล และเพียงพอสำหรับประกอบอาหารกลางวัน
  4. แบ่งแปลงผักเป็นส่วน ๆ เช่น ส่วนของการปลูกมะเขือ ถั่วฝักยาว ฟักทอง บวบ ตามสภาพพื้นที่
  5. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อรับผิดชอบเพาะพันธ์ุผัก ปลูก ดูแลรักษา
  6. เก็บผลผลิตไปจำหน่ายให้สหกรณ์นักเรียน และนำไปประกอบอาหารกลางวัน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้รับการสนับสนุนจากนายสุก โอ่งอิน นำดินกลางนา มาบริจาคให้โรงเรียน 2 รถ
  2. มีนักการฯ นักเรียน ร่วมกันผสมดินปู่ย แกลบและปุ๋ยหมัก เพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะสม
  3. นักเรียนได้เรียนรู้ และมีทักษะ ขั้นตอน กระบวนการผลิต และจำหน่ายผลผลิตผ่านสหกรณ์นักเรียน
  4. นักเรียนรู้จักรับผิดชอบ และทำงานเป็นกลุ่ม
  5. นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่สะอาด ปลอดภัย
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 45 คน จากที่ตั้งไว้ 29 คน
ประกอบด้วย
ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล (กะหล่ำปลี ผักบุ้ง กวางตุ้ง )4 พฤศจิกายน 2559
4
พฤศจิกายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ศรีเรือน ยิ้มศรีเจริญกิจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ครูที่รับผิดชอบกิจกรรม สำรวจพื้นที่สำหรับเพาะปลูกผักตามฤดูกาล ตามสภาพพื้นที่ของโรงเรียน ซึ่งกะหล่ำปลี ปลูกในกระถางดินเผา ผักบุ้งจีน ปลูกในวงบ่อ ส่วนกวางตุ้งปลูกในแปลงเกษตร จำนวน 3 แปลง
  2. ครูจัดซื้อเมล็ดพันธ์ุผักทั้ง 3  ชนิด แบ่งนักเรียนเตรียมดิน ผสมปุ๋ย และหว่านผัก ดูแลจนเจริญเติบโต แยกต้นอ่อนปลูกในกระถาง
  3. รดน้ำ พรวนดิน กำจัดแมลงโดยนักเรียนที่แบ่งกลุ่มรับผิดชอบ
  4. นำผลผลิตไปจำหน่ายให้สหกรณ์ร้านค้า และนำไปประกอบอาหารกลางว้ันให้นักเรียน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จำหน่ายกะหล่ำปลี ให้สหกรณ์นักเรียน จำนวน 32  กิโลกรัม ๆ ละ 20  บาท เป็นเงิน 640 บาท และ นำไปประกอบอาหารกลางวัน
  2. จำหน่ายผักบุ้ง จำนวน 58  กิโลกรัม ๆ ละ 15 บาทเป็นเงิน 870 บาท และนำไปประกอบอาหารกลางวัน และแบ่งให้นักเรียนนำไปประกอบอาหารที่บ้าน
  3. นำผักกวางตุ้ัง ไปประกอบอาหารกลางวัน จำนวน 12  กิโลกรัม และแบ่งให้นักเรียนนำไปประกอบอาหารที่บ้านจำนวน 18 คน
คืนเงินเปิดบัญชีโครงการ18 ตุลาคม 2559
18
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย sirimon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ถอนเงินเปิดบัญชีโครงการคืนโรงเรียน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ถอนเงินเปิดบัญชีโครงการคืนโรงเรียนเรียบร้อย

เลี้ยงไก่พันธ์ุไข่8 กันยายน 2559
8
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ศรีเรือน ยิ้มศรีเจริญกิจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมชี้แจงคณะครุูเพื่อทราบวัตถุประสงค์ และแต่งตั้งผู้รับผิดชอบกิจกรรม
  2. คณะทำงานร่วมกันวางแผนกิจกรรม เช่น การกำหนดพื้นทีี่สร้างโรงเรือน ขนาดของโรงเรีือน การจ้างวานคณะสร้างโรงเรีอน
  3. กำหนดวัน เวลา และเตรียมวัสดุอุปกรณ์ สำหรับสร้างโรงเรือน
  4. ประสานงานผู้ค้าพันธ์ุไก่ไข่ สอบราคา
  5. ผู้รับผิดชอบกิจกรรมศึกษาหาความรู้เพ่ิมเติม ประชุมชี้แจงนักเรียนที่ร่วมรับผิดชอบ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้ปกครองนักเรียนหมุนเวียนกันร่วมสร้างโรงเรือน จนแล้วเสร็จ โดยใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์
  2. ได้รับงบประมาณสนับสนุนการเลี้ยงไก่เพิ่มเติมจากเงินกองทุนอาหารกลางวัน สพฐ. จัดซื้อไก่เพื่อร่วมโครงการศูนย์เรียนรู้โรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใส จำนวน 200 ตัว
  3. ครูผู้รับผิดชอบจัดซื้อ จัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับเลี้ยงไก่
  4. ประสานงานผู้ค้าพันธ์ุไก่ไข่ พร้อมจัดส่งประมาณปลายเดือน กรกฎาคม 2559
  5. นักเรียนที่ร่วมกิจกรรมการเลี้ยงไก่ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน34 คน มีคณะครู 5 คน ผู้ปกครองที่มีความรู้เรื่องการเลี้ยงไก่จำนวน 4 คน และบุคคลที่สนใจอีก 5 คน
  6. คณะครู และนักเรียนศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรุู้ต่าง ๆ เช่น ศึกษาจากแหล่งเลี้ยงไก่ของผู้ประกอบการ เอกสาร และสื่อต่าง ๆ เพื่อเตรียมพร้อมเลี้ยงไก่ต่อไป
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 48 คน จากที่ตั้งไว้ 39 คน
ประกอบด้วย
อบรมพัฒนาผู้ปกครอง และนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักต่ำและสูงกว่าเกณฑ์6 สิงหาคม 2559
6
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ศรีเรือน ยิ้มศรีเจริญกิจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ของนักเรียน ครั้งที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559
  2. วิเคราะห์น้ำหนัก ส่วนสูง เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มปกติ กลุ่มทุพโภชนาการ ที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์  และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
  3. ทำบันทึกเสนอผู้บริหารโรงเรียน ขอจัดอบรมผู้ปกครองและนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ และภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์
  4. กำหนดวันอบรม และทำหนังสือแจ้งผู้ปกครอง เชิญวิทยากร
  5. ประชุมชี้แจงคณะครูทุกคนเข้าร่วมกิจกรรม ตามวัน เวลา ที่กำหนดไว้
  6. จัดอบรม ให้ความรู้ผู้ปกครอง และนักเรียน  เรื่องการดูแลสุขภาพ ความสะอาด การประกอบอาหาร การรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับวัย อาหารที่ไม่ควรรับประทาน เป็นต้น
  7. ให้นักเรียนวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก เพื่อร่วมกันแนะนำ ช่วยเหลือนักเรียน
  8. ผู้ปกครอง กับ โรงเรียน สร้างข้อตกลงว่าด้วยการร่วมมือการดูแลให้บุตรหลานของตนเองรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ การส่งเสริมให้บุตรหลานออกกำลังกาย
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้ปกครอง และนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาวะนักเรียนให้รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ
  2. นักเรียนตระหนักในปัญหาสุขภาพของตนเอง และมีความตั้งใจแก้ไขปัญหาการรับประทานอาหารจุกจิก อาหารขยะ และอาหารที่ทำให้เกิดภาวะโรคอ้วน ภาวะทุพโภชนการ
  3. นักเรียนตั้งปณิธานในการดูแลตนเองด้านการออกกำลังกาย และการรับประทานอาหาร
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 110 คน จากที่ตั้งไว้ 110 คน
ประกอบด้วย
ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( ผักบุ้งจีน คะน้า กวางตุ้ง )20 มิถุนายน 2559
20
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ศรีเรือน ยิ้มศรีเจริญกิจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. การปลูกผักบุ้งในกระถาง จำนวน 80 กระถาง เป็นการประหยัดดินและปุ๋ย ง่ายและสะดวกต่อการดูแล
  2. นักเรียนที่ที่ร่วมกิจกรรมครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 21 คน
  3. แบ่งนักเรียนรับผิดชอบคนละ 4 กระถาง คอยดูแลรดน้ำ ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช
  4. มีคณะครูรับผิดชอบ 3 คน คือ นางบานเที่ยง ยอดคำ นายอโนทัย สนประเทศ และนางศรีเรือน ย้ิ้มศรีเจริญกิจ
  5. มีผู้ปกครองที่ประกอบอาชีพปลูกผักขายเข้าร่วมกิจกรรมด้วย 3 คน
  6. ครูและนักเรียนร่วมกันผสมดิน ปุ๋ย ใส่กระถาง
  7. โรยเมล็ดผักบุ้งกระถางละ 20-30 เมล็ด
  8. นักเรียนที่ได้รับแต่งตั้งรับผิดชอบดูแล จนเก็บผลผลิต
  9. นำไปประกอบอาหารกลางวัน ที่เหลือ นำไปจำหน่าย
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. นักเรียนเก็บผักบุ้งจำนวน 80 กระถาง ได้ผักบุ้ง 30 กิโลกรัม นำไปขายผ่านสหกรณ์โรงเรียน กิโลกรัมละ 20 บาท เป็นเงิน 600 บาท
  2. นำผักบุ้งไปประกอบอาหารกลางวันซึ่งเป็นก๋วยเตี๋ยว โดยใช้ร่วมกับถั่วงอกจำนวน 10 กิโลกรัม ที่เหลือ20 กิโลกรัม นำไปขาย ได้เงิน  400 บาท
  3. นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมรู้สึกสนุกสนาน ภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง ได้รับประทานปลอดสารพิษ และจะนำความรู้ไปประชาสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัวต่อไป
  4. รดน้ำ เช้า เย็น ดูแลวัชพืช เป็นเวลา 20 วัน
  5. เก็บผักบุ้ง ชั่งกิโล ขายผ่านระบบสหกรณ์โรงเรียน นำไปประกอบอาหารกลางวัน ที่เหลือนำไปจำหน่าย
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 27 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
ปลูกมัลเบอรี่20 มิถุนายน 2559
20
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ศรีเรือน ยิ้มศรีเจริญกิจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ครูรับผิดชอบสำรวจราคาพันธุ์ มัลเบอรี และจัดซื้อจำนวน 50 ต้น ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 4000 บาท
  2. ซื้อดินปุ๋ย 20 ถุง ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1000 บาท
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ครูสำรวจพื้นที่ในบริเวณโรงเรียนเพื่อปลูกมัลเบอรี วัดระยะห่างต้นละ 3.5 เมตร ทำเครื่องหมายไว้ให้พอกับจำนวนต้นมัลเบอรี
  2. ครูประชาสัมพันธ์นักเรียนในโรงเรียน และขออาสาสมัครนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม และประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวชุมชน เพื่อชี้แจและเชิญชวนผู้ปกครองร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
  3. กำหนดวัน เวลา ปฏิบัติกิจกรรมที่ชัดเจน แจ้งให้นักเรียนอาสาสมัครนำอุปกรณ์ เช่น จอบ เสียม บัวรดน้ำ มาจากบ้าน
  4. นำนักเรียนและผู้สนใจ ขุดหลุม ปลูกมัลเบอรี และใส่ปุ๋ย รดน้ำ ดูแล
  5. มีนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 24 คน
  6. มีศิษย์เก่า และผู้ปกครองมาร่วมกิจกรรม จำนวน 4 คน
  7. มีหน่วยงานจากศูนย์วิจัยหม่อนไหม จากจังหวัดแพร่ เข้ามาสนับสนุนพันธ์ุมัลเบอรีเพิ่มเติม และสนับสนุนวิทยากรให้ความรู้การแปรรูปผลผลิต และการนำไปประกอบอาหาร
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 36 คน จากที่ตั้งไว้ 28 คน
ประกอบด้วย
ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( คะน้า ผักบุ้งจีน กวางตุ้ง )10 มิถุนายน 2559
10
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ศรีเรือน ยิ้มศรีเจริญกิจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. การปลูกผักบุ้งในกระถาง จำนวน 60 กระถาง เป็นการประหยัดดินและปุ๋ย ง่ายและสะดวกต่อการดูแล
  2. นักเรียนที่ที่ร่วมกิจกรรมครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 27 คน มีคณะครูรับผิดชอบ 2 คน และมีผู้ปกครองที่ประกอบอาชีพปลูกผักขายเข้าร่วมกิจกรรมด้วย 3 คน
  3. ครูและนักเรียนร่วมกันผสมดิน ปุ๋ย ใส่กระถาง
  4. โรยเมล็ดผักบุ้งกระถางละ 20-30 เมล็ด
  5. รดน้ำ เช้า เย็น ดูแลวัชพืช เป็นเวลา 20 วัน
  6. เก็บผักบุ้ง ชั่งกิโล ขายผ่านระบบสหกรณ์โรงเรียน นำไปประกอบอาหารกลางวัน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. นักเรียนเก็บผักบุ้งจำนวน 50 กระถาง ได้ผักบุ้ง 20 กิโลกรัม นำไปขายผ่านสหกรณ์โรงเรียน กิโลกรัมละ 20 บาท เป็นเงิน 400 บาท
  2. นำผักบุ้งไปประกอบอาหารกลางวันซึ่งเป็นก๋วยเตี๋ยว โดยใช้ร่วมกับถั่วงอกจำนวน 8 กิโลกรัม ที่เหลือ12 กฺิโลกรัม นำไปขาย ได้เงิน240 บาท
  3. เมล็ดผักบุ้ง 1 ถุง ยังสามารถนำไปปลูกได้อีก 1 ครั้ง โดยใช้จำนวนกระถางเท่าจำนวนเดิม
  4. นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมรู้สึกสนุกสนาน ภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง ได้รับประทานปลอดสารพิษ และจะนำความรู้ไปประชาสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัวต่อไป
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 33 คน จากที่ตั้งไว้ 66 คน
ประกอบด้วย
เลี้ยงปลาดุกในวงบ่อ6 มิถุนายน 2559
6
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ศรีเรือน ยิ้มศรีเจริญกิจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. คณะครูที่รับผิดชอบวางแผนการเลี้ยงปลาดุก โดยแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มเวร ให้อาหารปลาตามปริมาณที่กำหนดให้ เปลี่ยนน้ำ ทำความสะอาดบ่อ
  2. ซื้อพันธ์ุปลาดุกรัสเซีย 800 ตัว ๆ ละ 3 บาท  เป็นเงิน 2400 บาท
  3. ซื้ออาหารปลาเล็ก 2 กระสอบ ๆ ละ 480 บาท เป็นเงิน 960 บาท
  4. ซื้ออาหารปลาโต 2 กระสอบ ๆ ละ 520 บาท เป็นเงิน 1040 บาท
  5. ซื้อตาข่ายปิดปากบ่อ 30 เมตร ๆ ละ  20 บาท เป็นเงิน 600 บาท
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีบ่อเลี้ยงปลาขนาด 1.20 เมตร จำนวน 8 บ่อ
  2. ปล่อยปลาบ่อละ 100 ตัว
  3. ดูแล ให้อาหารตามขนาด และเวลา
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 22 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
เพาะถั่วงอกและต้นทานตะวันอ่อน1 มิถุนายน 2559
1
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ศรีเรือน ยิ้มศรีเจริญกิจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ซื้อเมล็ดพันธ์ุทานตะวัน 2 ถุง ๆ ละ 150เป็นเงิน 300 บาท
  2. ซื้อปุ๋ยดิน 2 กระสอบ ๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน 100 บาท
  3. ซื้อตะกร้าพลาสติกสำหรับเพาะ 30 อัน ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน600 บาท
  4. ซื้อเมล็ดพันธ์ุถั่วเขียว 5 ถุง ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 400 บาท
  5. ขุยมะพร้าว 3 ถุง ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 75 บาท
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีนักเรียนอาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรม 34 คน
  2. มีเยาวชนตัวแทนกลุ่ม "ไทยรัฐ-พระเสด็จ" เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 2 คน
  3. ได้ต้นทานตะวันอ่อนจำนวน 8 กิโลกรัม นำไปประกอบอาหารกลางวันแทนถั่วงอก(ก๋วยเตี๊ยว) จำนวน 5 กิโลกรัม
  4. นำไปจำหน่ายผ่านระบบสหกรณ์  3 กิโลกรัม ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 450 บาท
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 39 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
ประชุมผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา19 พฤษภาคม 2559
19
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ศรีเรือน ยิ้มศรีเจริญกิจ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. นายสนาม กอนวงษ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลพระเสด็จ เป็น ประธานในพิธีการประชุมผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา ชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมพัฒนานักเรียนตามโครงการโรงต้นแบบเด็กไทยแก้มใส
  2. นายชัชวาลย์ เพ็ชร์แบน ผู้อำนวยการโรงเรียน ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ และขอความอนุเคราะห์ผู้ปกครองให้ความสนับสนุนโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนด้านสุขอนามัย ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาด้านสติปัญญา และด้านการเรียนรู้
  3. นายวิโรจน์ ใจแน่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชัยจุมพล และนางยุพิน ทิพปัญญาชัย เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชัยจุมพล ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักโภชนาการอาหาร สุขอนามัยส่วนตัว และความสำคัญในการพัฒนาการเจริญเติบโตของบุตรหลานให้สมวัย
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลชัยจุมพล ยินดี เป็นแหล่งเรียนรู้ และให้ความร่วมมือ
  2. ผู้ปกครองนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน จำนวน 27 คน และภาวะทุพโภชนาการจำนวน 12 คน ให้ความร่วมมือ นำบุตรหลานเข้าร่วมกิจกรรม ตามที่โรงเรียนกำหนดไว้
  3. "กลุ่มเยาวชนไทยรัฐ - พระเสด็จ" ยินดีร่วมกิจกรรม โดยทำหน้าที่เป็น "ดีเจ ทีน" ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องสุขภาวะ อาหาร ยา และหลักการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ที่เสียงตามสายตามหมู่บ้านและในโรงเรียน โดยกำหนดเวลา เดือนละ 2 ครั้ง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก เทศบาลตำบลพระเสด็จ 4.  คณะครู และ ผู้ปกครอง ให้ความร่วมมือด้านการดูแลเฝ้าระวังด้านการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการออกกำลังกาย
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 233 คน จากที่ตั้งไว้ 136 คน
ประกอบด้วย