แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์
รายงานฉบับสมบูรณ์
โรงเรียนอนุบาลไทยรัฐวิทยา5 (วัดตลิ่งต่ำ)
“ โรงเรียนอนุบาลไทยรัฐวิทยา5 (วัดตลิ่งต่ำ) ”
234 ม.8 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
หัวหน้าโครงการ
นายชัชวาลย์ เพ็ชร์แบน
ชื่อโครงการ โรงเรียนอนุบาลไทยรัฐวิทยา5 (วัดตลิ่งต่ำ)
ที่อยู่ 234 ม.8 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัด อุตรดิตถ์
รหัสโครงการ ศรร.1112-027 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-น.27
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2559 ถึง 30 เมษายน 2560
กิตติกรรมประกาศ
"โรงเรียนอนุบาลไทยรัฐวิทยา5 (วัดตลิ่งต่ำ) จังหวัดอุตรดิตถ์" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน 234 ม.8 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนอนุบาลไทยรัฐวิทยา5 (วัดตลิ่งต่ำ) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป
คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนอนุบาลไทยรัฐวิทยา5 (วัดตลิ่งต่ำ)
บทคัดย่อ
โครงการ " โรงเรียนอนุบาลไทยรัฐวิทยา5 (วัดตลิ่งต่ำ) " ดำเนินการในพื้นที่ 234 ม.8 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ รหัสโครงการ ศรร.1112-027 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก โรงเรียนอนุบาลไทยรัฐวิทยา5 (วัดตลิ่งต่ำ) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 327 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้
โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ
หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ
บทคัดย่อ
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
วัตถุประสงค์โครงการ
กิจกรรม/การดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมาย
ผลลัพธ์ที่ได้
การประเมินผล
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
เอกสารประกอบอื่นๆ
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาล จากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น
จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนอนุบาลไทยรัฐวิทยา ๕ (วัดตลิ่งต่ำ) จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใส ถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะ ที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สถานการณ์
วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อให้นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโภชนาการ Thai School lunch ส่งเสริมให้นักเรียนนำความรู้ไปเป็นแนวปฏิบัติตนในครอบครัว
- เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียน ผู้ปกครอง ครู ด้านดำเนินการเกษตร
- เพื่อพัฒนากิจกรรมจากโรงเรียนต้นแบบสู่ศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส และจัดอาหารกลางวันนักเรียนตามโปรแกรมโดยผ่านระบบสหกรณ์นักเรียนสู่ชุมชน
กิจกรรม/การดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจตระหนัก เห็นความสำคัญของหลักโภชนาการ และนำความรู้ไปเป็นแนวปฏิบัติตนในครอบครัว
- นักเรียน ผู้ปกครองครู มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะปฏิบัติการด้านการเกษตรปลอดสารพิษ และจัดระบบการลงทุนผ่านกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน และเผยแพร่สู่ชุมชน
- โรงเรียนพัฒนากิจกรรมอย่างเป็นระบบ ครบถ้วนสมบูรณ์ สามารถเป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ ผลผลิต* ผลผลิตที่ตั้งไว้ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง
1. ประชุมผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา
วันที่ 19 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 -15.00 น.กิจกรรมที่ทำ
- นายสนาม กอนวงษ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลพระเสด็จ เป็น ประธานในพิธีการประชุมผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา ชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมพัฒนานักเรียนตามโครงการโรงต้นแบบเด็กไทยแก้มใส
- นายชัชวาลย์ เพ็ชร์แบน ผู้อำนวยการโรงเรียน ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ และขอความอนุเคราะห์ผู้ปกครองให้ความสนับสนุนโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนด้านสุขอนามัย ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาด้านสติปัญญา และด้านการเรียนรู้
- นายวิโรจน์ ใจแน่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชัยจุมพล และนางยุพิน ทิพปัญญาชัย เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชัยจุมพล ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักโภชนาการอาหาร สุขอนามัยส่วนตัว และความสำคัญในการพัฒนาการเจริญเติบโตของบุตรหลานให้สมวัย
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลชัยจุมพล ยินดี เป็นแหล่งเรียนรู้ และให้ความร่วมมือ
- ผู้ปกครองนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน จำนวน 27 คน และภาวะทุพโภชนาการจำนวน 12 คน ให้ความร่วมมือ นำบุตรหลานเข้าร่วมกิจกรรม ตามที่โรงเรียนกำหนดไว้
- "กลุ่มเยาวชนไทยรัฐ - พระเสด็จ" ยินดีร่วมกิจกรรม โดยทำหน้าที่เป็น "ดีเจ ทีน" ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องสุขภาวะ อาหาร ยา และหลักการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ที่เสียงตามสายตามหมู่บ้านและในโรงเรียน โดยกำหนดเวลา เดือนละ 2 ครั้ง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก เทศบาลตำบลพระเสด็จ
4. คณะครู และ ผู้ปกครอง ให้ความร่วมมือด้านการดูแลเฝ้าระวังด้านการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการออกกำลังกาย
136
233
2. เพาะถั่วงอกและต้นทานตะวันอ่อน
วันที่ 1 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00-11.00 น.กิจกรรมที่ทำ
- ซื้อเมล็ดพันธ์ุทานตะวัน 2 ถุง ๆ ละ 150เป็นเงิน 300 บาท
- ซื้อปุ๋ยดิน 2 กระสอบ ๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน 100 บาท
- ซื้อตะกร้าพลาสติกสำหรับเพาะ 30 อัน ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน600 บาท
- ซื้อเมล็ดพันธ์ุถั่วเขียว 5 ถุง ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 400 บาท
- ขุยมะพร้าว 3 ถุง ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 75 บาท
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- มีนักเรียนอาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรม 34 คน
- มีเยาวชนตัวแทนกลุ่ม "ไทยรัฐ-พระเสด็จ" เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 2 คน
- ได้ต้นทานตะวันอ่อนจำนวน 8 กิโลกรัม นำไปประกอบอาหารกลางวันแทนถั่วงอก(ก๋วยเตี๊ยว) จำนวน 5 กิโลกรัม
- นำไปจำหน่ายผ่านระบบสหกรณ์ 3 กิโลกรัม ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 450 บาท
25
39
3. เลี้ยงปลาดุกในวงบ่อ
วันที่ 6 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- คณะครูที่รับผิดชอบวางแผนการเลี้ยงปลาดุก โดยแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มเวร ให้อาหารปลาตามปริมาณที่กำหนดให้ เปลี่ยนน้ำ ทำความสะอาดบ่อ
- ซื้อพันธ์ุปลาดุกรัสเซีย 800 ตัว ๆ ละ 3 บาท เป็นเงิน 2400 บาท
- ซื้ออาหารปลาเล็ก 2 กระสอบ ๆ ละ 480 บาท เป็นเงิน 960 บาท
- ซื้ออาหารปลาโต 2 กระสอบ ๆ ละ 520 บาท เป็นเงิน 1040 บาท
- ซื้อตาข่ายปิดปากบ่อ 30 เมตร ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 600 บาท
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- มีบ่อเลี้ยงปลาขนาด 1.20 เมตร จำนวน 8 บ่อ
- ปล่อยปลาบ่อละ 100 ตัว
- ดูแล ให้อาหารตามขนาด และเวลา
20
22
4. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( คะน้า ผักบุ้งจีน กวางตุ้ง )
วันที่ 10 มิถุนายน 2559 เวลา 13.00 -16.00 น.กิจกรรมที่ทำ
- การปลูกผักบุ้งในกระถาง จำนวน 60 กระถาง เป็นการประหยัดดินและปุ๋ย ง่ายและสะดวกต่อการดูแล
- นักเรียนที่ที่ร่วมกิจกรรมครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 27 คน มีคณะครูรับผิดชอบ 2 คน และมีผู้ปกครองที่ประกอบอาชีพปลูกผักขายเข้าร่วมกิจกรรมด้วย 3 คน
- ครูและนักเรียนร่วมกันผสมดิน ปุ๋ย ใส่กระถาง
- โรยเมล็ดผักบุ้งกระถางละ 20-30 เมล็ด
- รดน้ำ เช้า เย็น ดูแลวัชพืช เป็นเวลา 20 วัน
- เก็บผักบุ้ง ชั่งกิโล ขายผ่านระบบสหกรณ์โรงเรียน นำไปประกอบอาหารกลางวัน
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- นักเรียนเก็บผักบุ้งจำนวน 50 กระถาง ได้ผักบุ้ง 20 กิโลกรัม นำไปขายผ่านสหกรณ์โรงเรียน กิโลกรัมละ 20 บาท เป็นเงิน 400 บาท
- นำผักบุ้งไปประกอบอาหารกลางวันซึ่งเป็นก๋วยเตี๋ยว โดยใช้ร่วมกับถั่วงอกจำนวน 8 กิโลกรัม ที่เหลือ12 กฺิโลกรัม นำไปขาย ได้เงิน240 บาท
- เมล็ดผักบุ้ง 1 ถุง ยังสามารถนำไปปลูกได้อีก 1 ครั้ง โดยใช้จำนวนกระถางเท่าจำนวนเดิม
- นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมรู้สึกสนุกสนาน ภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง ได้รับประทานปลอดสารพิษ และจะนำความรู้ไปประชาสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัวต่อไป
66
33
5. ปลูกมัลเบอรี่
วันที่ 20 มิถุนายน 2559 เวลา 14.00-16.00 น. น.กิจกรรมที่ทำ
- ครูรับผิดชอบสำรวจราคาพันธุ์ มัลเบอรี และจัดซื้อจำนวน 50 ต้น ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 4000 บาท
- ซื้อดินปุ๋ย 20 ถุง ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1000 บาท
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- ครูสำรวจพื้นที่ในบริเวณโรงเรียนเพื่อปลูกมัลเบอรี วัดระยะห่างต้นละ 3.5 เมตร ทำเครื่องหมายไว้ให้พอกับจำนวนต้นมัลเบอรี
- ครูประชาสัมพันธ์นักเรียนในโรงเรียน และขออาสาสมัครนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม และประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าวชุมชน เพื่อชี้แจและเชิญชวนผู้ปกครองร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
- กำหนดวัน เวลา ปฏิบัติกิจกรรมที่ชัดเจน แจ้งให้นักเรียนอาสาสมัครนำอุปกรณ์ เช่น จอบ เสียม บัวรดน้ำ มาจากบ้าน
- นำนักเรียนและผู้สนใจ ขุดหลุม ปลูกมัลเบอรี และใส่ปุ๋ย รดน้ำ ดูแล
- มีนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 24 คน
- มีศิษย์เก่า และผู้ปกครองมาร่วมกิจกรรม จำนวน 4 คน
- มีหน่วยงานจากศูนย์วิจัยหม่อนไหม จากจังหวัดแพร่ เข้ามาสนับสนุนพันธ์ุมัลเบอรีเพิ่มเติม และสนับสนุนวิทยากรให้ความรู้การแปรรูปผลผลิต และการนำไปประกอบอาหาร
28
36
6. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( ผักบุ้งจีน คะน้า กวางตุ้ง )
วันที่ 20 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- การปลูกผักบุ้งในกระถาง จำนวน 80 กระถาง เป็นการประหยัดดินและปุ๋ย ง่ายและสะดวกต่อการดูแล
- นักเรียนที่ที่ร่วมกิจกรรมครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 21 คน
- แบ่งนักเรียนรับผิดชอบคนละ 4 กระถาง คอยดูแลรดน้ำ ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช
- มีคณะครูรับผิดชอบ 3 คน คือ นางบานเที่ยง ยอดคำ นายอโนทัย สนประเทศ และนางศรีเรือน ย้ิ้มศรีเจริญกิจ
- มีผู้ปกครองที่ประกอบอาชีพปลูกผักขายเข้าร่วมกิจกรรมด้วย 3 คน
- ครูและนักเรียนร่วมกันผสมดิน ปุ๋ย ใส่กระถาง
- โรยเมล็ดผักบุ้งกระถางละ 20-30 เมล็ด
- นักเรียนที่ได้รับแต่งตั้งรับผิดชอบดูแล จนเก็บผลผลิต
- นำไปประกอบอาหารกลางวัน ที่เหลือ นำไปจำหน่าย
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- นักเรียนเก็บผักบุ้งจำนวน 80 กระถาง ได้ผักบุ้ง 30 กิโลกรัม นำไปขายผ่านสหกรณ์โรงเรียน กิโลกรัมละ 20 บาท เป็นเงิน 600 บาท
- นำผักบุ้งไปประกอบอาหารกลางวันซึ่งเป็นก๋วยเตี๋ยว โดยใช้ร่วมกับถั่วงอกจำนวน 10 กิโลกรัม ที่เหลือ20 กิโลกรัม นำไปขาย ได้เงิน 400 บาท
- นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมรู้สึกสนุกสนาน ภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง ได้รับประทานปลอดสารพิษ และจะนำความรู้ไปประชาสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัวต่อไป
- รดน้ำ เช้า เย็น ดูแลวัชพืช เป็นเวลา 20 วัน
- เก็บผักบุ้ง ชั่งกิโล ขายผ่านระบบสหกรณ์โรงเรียน นำไปประกอบอาหารกลางวัน ที่เหลือนำไปจำหน่าย
30
27
7. อบรมพัฒนาผู้ปกครอง และนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักต่ำและสูงกว่าเกณฑ์
วันที่ 6 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น. น.กิจกรรมที่ทำ
- ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ของนักเรียน ครั้งที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559
- วิเคราะห์น้ำหนัก ส่วนสูง เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มปกติ กลุ่มทุพโภชนาการ ที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
- ทำบันทึกเสนอผู้บริหารโรงเรียน ขอจัดอบรมผู้ปกครองและนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ และภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์
- กำหนดวันอบรม และทำหนังสือแจ้งผู้ปกครอง เชิญวิทยากร
- ประชุมชี้แจงคณะครูทุกคนเข้าร่วมกิจกรรม ตามวัน เวลา ที่กำหนดไว้
- จัดอบรม ให้ความรู้ผู้ปกครอง และนักเรียน เรื่องการดูแลสุขภาพ ความสะอาด การประกอบอาหาร การรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับวัย อาหารที่ไม่ควรรับประทาน เป็นต้น
- ให้นักเรียนวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก เพื่อร่วมกันแนะนำ ช่วยเหลือนักเรียน
- ผู้ปกครอง กับ โรงเรียน สร้างข้อตกลงว่าด้วยการร่วมมือการดูแลให้บุตรหลานของตนเองรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ การส่งเสริมให้บุตรหลานออกกำลังกาย
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- ผู้ปกครอง และนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาวะนักเรียนให้รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ
- นักเรียนตระหนักในปัญหาสุขภาพของตนเอง และมีความตั้งใจแก้ไขปัญหาการรับประทานอาหารจุกจิก อาหารขยะ และอาหารที่ทำให้เกิดภาวะโรคอ้วน ภาวะทุพโภชนการ
- นักเรียนตั้งปณิธานในการดูแลตนเองด้านการออกกำลังกาย และการรับประทานอาหาร
110
110
8. เลี้ยงไก่พันธ์ุไข่
วันที่ 8 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- ประชุมชี้แจงคณะครุูเพื่อทราบวัตถุประสงค์ และแต่งตั้งผู้รับผิดชอบกิจกรรม
- คณะทำงานร่วมกันวางแผนกิจกรรม เช่น การกำหนดพื้นทีี่สร้างโรงเรือน ขนาดของโรงเรีือน การจ้างวานคณะสร้างโรงเรีอน
- กำหนดวัน เวลา และเตรียมวัสดุอุปกรณ์ สำหรับสร้างโรงเรือน
- ประสานงานผู้ค้าพันธ์ุไก่ไข่ สอบราคา
- ผู้รับผิดชอบกิจกรรมศึกษาหาความรู้เพ่ิมเติม ประชุมชี้แจงนักเรียนที่ร่วมรับผิดชอบ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- ผู้ปกครองนักเรียนหมุนเวียนกันร่วมสร้างโรงเรือน จนแล้วเสร็จ โดยใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์
- ได้รับงบประมาณสนับสนุนการเลี้ยงไก่เพิ่มเติมจากเงินกองทุนอาหารกลางวัน สพฐ. จัดซื้อไก่เพื่อร่วมโครงการศูนย์เรียนรู้โรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใส จำนวน 200 ตัว
- ครูผู้รับผิดชอบจัดซื้อ จัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับเลี้ยงไก่
- ประสานงานผู้ค้าพันธ์ุไก่ไข่ พร้อมจัดส่งประมาณปลายเดือน กรกฎาคม 2559
- นักเรียนที่ร่วมกิจกรรมการเลี้ยงไก่ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน34 คน มีคณะครู 5 คน ผู้ปกครองที่มีความรู้เรื่องการเลี้ยงไก่จำนวน 4 คน และบุคคลที่สนใจอีก 5 คน
- คณะครู และนักเรียนศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรุู้ต่าง ๆ เช่น ศึกษาจากแหล่งเลี้ยงไก่ของผู้ประกอบการ เอกสาร และสื่อต่าง ๆ เพื่อเตรียมพร้อมเลี้ยงไก่ต่อไป
39
48
9. คืนเงินเปิดบัญชีโครงการ
วันที่ 18 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ถอนเงินเปิดบัญชีโครงการคืนโรงเรียน
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ถอนเงินเปิดบัญชีโครงการคืนโรงเรียนเรียบร้อย
0
0
10. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล (กะหล่ำปลี ผักบุ้ง กวางตุ้ง )
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- ครูที่รับผิดชอบกิจกรรม สำรวจพื้นที่สำหรับเพาะปลูกผักตามฤดูกาล ตามสภาพพื้นที่ของโรงเรียน ซึ่งกะหล่ำปลี ปลูกในกระถางดินเผา ผักบุ้งจีน ปลูกในวงบ่อ ส่วนกวางตุ้งปลูกในแปลงเกษตร จำนวน 3 แปลง
- ครูจัดซื้อเมล็ดพันธ์ุผักทั้ง 3 ชนิด แบ่งนักเรียนเตรียมดิน ผสมปุ๋ย และหว่านผัก ดูแลจนเจริญเติบโต แยกต้นอ่อนปลูกในกระถาง
- รดน้ำ พรวนดิน กำจัดแมลงโดยนักเรียนที่แบ่งกลุ่มรับผิดชอบ
- นำผลผลิตไปจำหน่ายให้สหกรณ์ร้านค้า และนำไปประกอบอาหารกลางว้ันให้นักเรียน
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- จำหน่ายกะหล่ำปลี ให้สหกรณ์นักเรียน จำนวน 32 กิโลกรัม ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 640 บาท และ นำไปประกอบอาหารกลางวัน
- จำหน่ายผักบุ้ง จำนวน 58 กิโลกรัม ๆ ละ 15 บาทเป็นเงิน 870 บาท และนำไปประกอบอาหารกลางวัน และแบ่งให้นักเรียนนำไปประกอบอาหารที่บ้าน
- นำผักกวางตุ้ัง ไปประกอบอาหารกลางวัน จำนวน 12 กิโลกรัม และแบ่งให้นักเรียนนำไปประกอบอาหารที่บ้านจำนวน 18 คน
44
0
11. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล (มะเขือ ถั่วฝักยาว บวบ ฟักทอง)
วันที่ 10 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- ขอความร่วมมือจากชุมชนสนับสนุนดินสำหรับแปลงเกษตรของโรงเรียนจำนวน 2 รถ เพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชผักสวนครัว
- เชิญชวน ผู้ปกครอง และนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม ปรับปรุงดิน เพื่อพร้อมเพาะปลูกพืชผักสวนครัว
- ดำเนินการซื้อดินปุ๋ย และ เมล็ดพันธ์ุผัก เช่น มะเขือ บวบ ถั่วฝักยาว ฟักทอง ให้เหมาะสมกับฤดูกาล และเพียงพอสำหรับประกอบอาหารกลางวัน
- แบ่งแปลงผักเป็นส่วน ๆ เช่น ส่วนของการปลูกมะเขือ ถั่วฝักยาว ฟักทอง บวบ ตามสภาพพื้นที่
- แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อรับผิดชอบเพาะพันธ์ุผัก ปลูก ดูแลรักษา
- เก็บผลผลิตไปจำหน่ายให้สหกรณ์นักเรียน และนำไปประกอบอาหารกลางวัน
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- ได้รับการสนับสนุนจากนายสุก โอ่งอิน นำดินกลางนา มาบริจาคให้โรงเรียน 2 รถ
- มีนักการฯ นักเรียน ร่วมกันผสมดินปู่ย แกลบและปุ๋ยหมัก เพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะสม
- นักเรียนได้เรียนรู้ และมีทักษะ ขั้นตอน กระบวนการผลิต และจำหน่ายผลผลิตผ่านสหกรณ์นักเรียน
- นักเรียนรู้จักรับผิดชอบ และทำงานเป็นกลุ่ม
- นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่สะอาด ปลอดภัย
29
45
12. เพาะถั่วงอกและต้นทานตะวันอ่อน
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- ครูที่รับผิดชอบจัดซื้อเมล็ดทานตะวัน จำนวน 4 กิโ่ลกรัม ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 600 บาท
- ซื้อเมล็ดถั่วเขียว 5 กิโลกรัม ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 400 บาท
- ซื้อปู่ยดิน 2 ถุง ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 100 บาท
- ซื้อขุยมะพร้าว 1 ถุง ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 25 บาท
- เพาะต้นทานตะวันอ่อน จำนวน 20 ตะกร้า
- เพาะถั่วงอก จำนวน 20 ตะกร้า
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- ได้ต้นทานตะวันอ่อนจำนวน 5 กิโลกรัม นำไปจำหน่าย ให้สหกรณ์นักเรียน กิโลกรัมละ 150 บาทเป็นเงิน 750 บาท
- นำไปประกอบอาหารกลางวัน 3 กิโลกรัม อีก 2 กิโลกรัม แจกให้นักเรียนไปประกอบอาหารที่บ้าน
- ได้ถั่วงอกจำนวน ุ6 กิโลกรัม นำไปจำหน่ายผ่านสหกรณ์นักเรียนกิโลกรัมละ 20 บาท เป็นเงิน 120 บาท
- นำไปประกอบอาหารกลางวัน 4 กิโลกรัม อีก 2 กิโ่่ลกรัม แจกให้นักเรียนนำไปประกอบอาหารที่บ้าน
- นักเรียนที่ร่วมกิจกรรมมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย และรู้สึกภูมิใจที่เห็นผลสัมฤทธิ์ของตนเอง
18
33
13. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( บวบ ฟักทอง ผักบุ้งจีน ถั่วฝักยาว มะเขือ)
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- ขออนุญาตใช้วงบ่อที่ี่ไม่ใช้ปลูกต้นไม้ประดับ จากผู้บริหารโรงเรียน มาใช้ปลูกผักพื้นบ้านประเภทไม้เลื้อย เช่น ฟักทอง ฟักข้าว จำนวน 8 วง
- นักการ ฯ และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร่วมกันผสมดิน แกลบดำ และปุ๋ยคอก แล้วตักใส่วงบ่อ
- นักการ ฯ จัดทำร้านให้ถั่วและฟักทอง ใช้เอ็นทำเป็นตาข่าย
- ครูบานเที่ยง ยอดคำ นำนักเรียนปลูกบวบ และฟักทองในวงบ่อ ส่วนบริเวณพื้นที่ว่าง หว่านผักกวางตุ้งใบ ต้นหอม เพื่อใช้พื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- แบ่งนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ออกเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อดูแลรับผิดชอบ ดูแลรดน้ำ พรวนดิน กำจัดวัชพืช และเก็บผลผลิตจำหน่ายให้สหกรณ์โรงเรียนเพื่อนำไปประกอบอาหารกลางวัน
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- ได้บวบ จำนวน 8 กิโลกรัม นำไปทำอาหารกลางวันให้นักเรียน เมนูผัดบวบใส่ไข่่ให้กับนักเรียน โดยผัดรวมกับผักกาดขาว
- นักเรียนมีทักษะการปลูกผักสวนครัว มีความภาคภูมิใจในผลงานที่ได้รับ
- นักเรียนได้รับประทานอาหารที่สะอาด และปลอดสารพิษ
- องค์กรท้องถ่ิน นำโดยนายสนาม กอนวงษ์ นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลพระเสด็จ เห็นความสำคัญในการปลูกผักสวนครัวสำหรับการประกอบอาหารกลางวัน จึงสนับสนุนกลุ่มเยาวชนไทยรัฐพระเสด็จ ร่วมโครงการจิตอาสาพัฒนาสุขภาพ เป็นพี่เลี้ยงให้กับน้อง ๆ ในโรงเรียนปลูกผักสวนครัวที่บ้านขึ้น
39
32
14. เลี้ยงปลาดุกในวงบ่อ
วันที่ 2 ธันวาคม 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- ครูที่รับผิดชอบกิจกรรมนำนักเรียนเตรียมวงบ่อ โดยล้างให้สะอาด และฝึ่งแดดให้แห้ง เพื่อฆ่าเชื้อโรค
- ครูที่รับผิดชอบอธิบายหลักการเลี้ยงปลา การดูแล การสังเกตอาการป่วยของปลา การเปลี่ยนน้ำปลา และการให้อาหาร
- ครูที่รับผิดชอบจัดซื้อพันธ์ุปลาและอาหาร
- ปล่อยปลา ดูแลตามขั้นตอน
- เมื่อเจริญเติบโต นำไปจำหน่ายให้สหกรณ์นักเรียน และนำไปประกอบอาหารกลางวัน
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- นักเรียนมีความรับผิดชอบ มีวินัยในตนเอง
- นักเรียนมีอาหารประเภทโปรตีนที่ผลิตด้วยตนเอง เป็นอาหารกลางวัน
- นักเรียนได้ฝึกทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม เป็นกระบวนการ รู้จักการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล
- นักเรียนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
18
20
15. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( ผักบุ้งจีน )
วันที่ 2 ธันวาคม 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- ครูผู้รับผิดชอบ นำนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พรวนดิน ผสมดินปุ๋ย แกลบ และ แกลบดำ โดยมีนักเรียน ม. 2 ให้ความช่วยเหลือ
- ทิ้งดินฝึ่งแดด เพื่อฆ่าเชื้อโรค 1- 2 วัน
- หว่านเมล็ดผักบุ้ง นำฟางแห้งกลบเพื่อป้องกันความชื้น รดน้ำ
- แบ่งกลุ่มนักเรียนหมุนเวียนกันมารดน้ำ ดูแลกำจัดวัชพืช
- เมื่อผลผลิตเจริญเติบโตเต็มที่ เก็บและจำหน่ายผ่านสหกรณ์โรงเรียน จากนั้นนำไปประกอบอาหารกลางวัน
- ผลผลิตที่เกินความต้องการ มอบให้นักเรียนไปประกอบอาหารรับประทานที่บ้าน
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- หว่านเมล็ดผักบุ้งในกระถาง จำนวน 43 กระถาง
- ได้ผลผลิตจำนวน 18 กิโลกรัม นำไปขายผ่านสหกรณ์โรงเรียน กิโลกรัมละ 20 บาท เป็นเงิน 360 บาท
- นำผักบุ้งไปประกอบอาหารกลางวัน
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความรับผิดชอบ มีวินัยในตนเอง
- ผู้ปกครองนักเรียนเร่ิ่มตระหนัก และเห็นความสำคัญของการปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเอง
30
34
16. เพาะถั่วงอกเพื่ออาหารกลางวัน
วันที่ 9 ธันวาคม 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- ครูแบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 5 คน รับผิดชอบเพาะถั่วงอก โดยทิ้งระยะห่าง กลุ่มละ 5 วัน
- กลุ่มที่ 1 เริ่มเพาะวันที่ 10 ธันวาคม กลุ่มที่ 2 วันที่ 15 ธันวาคม และกลุ่มที่ 3 วันที่ 20 ธันวาคม
- แต่ละกลุ่ม เพาะถั่วงอก กลุ่มละ 20 ตะกร้า
- นำถั่วงอกที่ได้ ไปจำหน่ายผ่านสหกรณ์โรงเรียน และนำไปประกอบอาหารกลางวัน ที่เหลือ แบ่งให้นักเรียนแต่ละกลุ่มไปประกอบอาหารรับประทานที่บ้าน
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- แต่ละกลุ่มได้ถั่วงอกเป็นผลผลิตเฉลี่ย 10 กิโลกรัม
- จำหน่ายผ่านสหกรณ์โรงเรียนกิโลกรัมละ 15 บาท เป็นเงิน 150 บาท จากนั้น นำไปประกอบอาหารกลางวัน
- ถั่วงอกกลุ่มที่ 1 นำไปทำก๋วยเตี๋ยวน้ำ
4.ถั่วงอกกลุ่มที่ 2 นำไปทำก๋วยเตี๋ยวผัดไทย
- ถั่วงอกกลุ่มที่ 3 นำไปผัดใส่หมู และเลือดหมู
- แต่ละกลุ่ม ได้ถั่วงอกกลับไปประกอบอาหารที่บ้านทุกคน
- มีผู้ปกครองเข้ามาสนทนาซักถาม และเห็นความสำคัญของกิจกรรม จำนวน 3 คน และคิดว่าจะนำไปทดลองเพาะถั่วงอกเอง ถ้าได้ผลดี ก็จะนำไปจำหน่ายเป็นรายได้เสริม
18
21
17. ดำเนินกิจกรรมการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่
วันที่ 9 ธันวาคม 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- เลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ จำนวน 240 ตัว
- มอบหมายภารกิจ การเลี้ยง ดูแล ให้อาหาร และน้ำ เก็บไข่ ทำความความสะอาด หมุนเวียนกันไปในแต่ละวัน
- ซื้ออาหารไก่ และแผงสำหรับใส่ไข่
- รายงานผลการเลี้ยงไก่ จำนวนไข่ในแต่ละวัน การจำหน่าย และการนำไข่ไปประกอบอาหารกลางวัน
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- ตั้งแต่เร่ิมเลี้ยงไก่ ปัจจุบันมีไก่ตายจำนวน 10 ตัว เหลือ 230 ตัว
- เก็บไข่ได้เฉลี่ยวันละ 200 ฟอง แยกเป็นขนาดต่าง ๆ ดังนี้ เบอร์ 0 เบอร์1 เบอร์ 2 เบอร์ 3 เบอร์ 4 เบอร์ 5 เบอร์ 6
- ราคาจำหน่ายตามท้องตลาด
- ซื้ออาหารไก่เพ่ิม จำนวน 20 กระสอบ ๆ ละ 380 บาท เป็นเงิน 7600 บาท
- ซื้อแผงสำหรับใส่ไข่ 30 แผง ๆ ละ 6 บาท เป็นเงิน 180 บาท
62
59
18. ปลูกผักพื้นบ้าน (มะนาว)
วันที่ 12 ธันวาคม 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- สำรวจวงบ่อที่มีอยู่แล้ว ในบริเวณโรงเรียน ได้จำนวน 13 วง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร
- ซื้อดินปุ๋ย จำนวน 52 ถุง ๆ ล 50 บาท เป็นเงิน 2600 บาท
- ซื้อพันธ์ุมะนาว จำนวน 13 ต้น ๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 3250 บาท
- แบ่งนักเรียนรับผิดชอบปลูก ดูแล ต้นละ 2 คน
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- มีต้นมะนาว สำหรับนำผลมาประกอบอาหารกลางวัน
- ต้นมะนาวเจริญเติบโตทุกต้น แต่ยังไม่มีผลผลิต
- นักเรียนมีความรับผิดชอบ มีวินัยในตนเอง
30
31
19. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพนักเรียนด้วยหลัก 4 อ.
วันที่ 6 มกราคม 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- จัดทำข้อมูล ความรู้ เอกสาร สำหรับประชาสัมพันธ์ กิจกรรมส่งเสริมสุขอนามัยนักเรียน
- ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้ โดยดีเจทีน ทุกวัน หลังรับประทานอาหารกลางวัน
- เชิญวิทยากรให้ความรู้ คณะครู และนักเรียน
- จัดกิจกรรมออกกำลังกาย
- จัดสถานที่ สำหรับน้ำดื่ม และล้างมือ เพื่ออนามัยของนักเรียน
- แต่งตั้ง อย. น้อย ตรวจสุขภาพ ร่างกาย เช่น ฟัน เหา เล็บมือ
- จัดกิจกรรมแปรงฟัน หลังรับประทานอาหาร
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- ผู้ปกครอง นักเรียน ชุมชน มีความรู้ความเข้าใจ เอาใจใส่ดูแลสุขอนามัยของบุตรหลาน และการประกอบอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ
- นักเรียนรู้จัดเลือกซื้ออาหารที่มีคุณค่า และมีประโยชน์ต่อร่างกาย
- นักเรียนรู้จักออกกำลังกาย เพื่อพัฒนาตนเอง
- โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้เพื่อประโยชน์ต่อนักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
- นักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ และน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ได้รับการพัฒนาให้มีภาวะการเจริญเติบโตสมวัย
88
94
20. เลี้ยงปลาดุกในวงบ่อ รุ่นที่ 2
วันที่ 9 มกราคม 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- ซื้อพันธ์ปลาดุก 400 ตัว และปล่อยปลาดุก จำนวน 11 บ่อ
- แบ่งนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดูแล ให้อาหาร เปลี่ยนน้ำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- จำหน่ายให้สหกรณ์โรงเรียนจำนวน 15 กิโลกรัม ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 900 บาท และนำไปประกอบอาหารกลางวันนักเรียน เมนู แกงสัมผักรวมใส่ปลาดุก
- จำหน่ายให้สหกรณ์โรงเรียนจำนวน 18 กิโลกรัม ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 1080 บาท และนำไปประกอบอาหารกลางวันนักเรียน เมนู ฉู่ฉี่ปลาดุกใส่มะเขือขาว
- จำหน่ายให้สหกรณ์โรงเรียนจำนวน 18 กิโลกรัม ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 1080 บาท และนำไปประกอบอาหารกลางวันนักเรียน เมนู แกงเผ็ดปลาดุุกใส่มะเขีอขาว
- จำหน่ายให้สหกรณ์โรงเรียนจำนวน 20 กิโลกรัม ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 1200 บาท และนำไปประกอบอาหารกลางวันนักเรียน เมนู ขนมจีนน้ำยาปลาดุก
- นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่า ตามหลักโภชนาการ
- นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีวินัยในตนเอง
18
21
21. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( ต้นหอม คะน้า)
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- แบ่งนักเรียนชายเตรียมแปลงเพื่อปลูกคะน้า
- นักเรียนหญิงผสมดินและปลูกหอมในกระถาง แบ่งกันรับผิดชอบ
- นักเรียนดูแล รดน้ำ พรวนดิน กำจัดวัชพืช
- นำผลผลิตที่ได้จำหน่ายผ่านสหกรณ์โรงเรียน นำไปประกอบอาหารกลางวัน และนำหอมที่เหลือไปจำหน่ายในชุมชน
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- มีผักปลอดสารพิษที่เกิดจากผลผลิตของนักเรียน มาประกอบการทำอาหารกลางวัน
- มีกลุ่มสนใจ ไปชวนผู้ปกครองปลูกผักปลอดสารพิษ ส่งขายให้กับโรงเรียน 3 ครอบครัว คือ ครอบครัวของเด็กชายนพดล เวียงนินท์ ครอบครัวของเด็กหญิงพิชราพร เดี่ยวบัวขาว และครอบครัวของเด็กชายยุทธศักดิ์ อ่อนบัว
- นักเร่ียนมีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
- นักเรียนมีความภาคภมูิใจในผลผลิตของตนเอง
30
31
22. จัดมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- ขุดดินวางท่อน้ำทิ้ง พีวีซี ขนาด 5 น้ิว
- ขุดดินวางวงบ่อซีเมนต์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร จำนวน 3 วง พร้อมฝาปิด
- ก่ออิฐ ฉาบปูน ปูกระเบื้องพื้นสำหรับวางหัวแก๊ส และจัดทำช่องเก็่บถังแก๊ส พร้อมประตูบานพับเหล็กดัด
- มีกุญแจล็อคประตูเก็บถังแก๊สป้องกันความปลอดภัย
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- โรงเรียนมีระบบการระบายน้ำทิ้ง ไปยังบ่อพัก ทำให้บริเวณสะอาด ปลอดภัย
- มีสถานที่ประกอบอาหารกลางวันที่ถูกสุขอนามัย มีตู้เก็บอุปกรณ์ ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยจากแมลงรบกวน
- มีสถานที่ทำความสะอาดภาชนะที่เพียงพอ และสถานที่จัดเก็บที่เพียงพอ
- นักเรียนมีสถานที่นั่งสำหรับรับประทานอาหารที่สะอาด และมีสุขนิสัยในการรับประทาน
44
278
23. เดินสายน้ำ ต้นมัลเบอร์รี่
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
จ้างเหมาเดินสายน้ำรดต้นมัลเบอรี
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
การทำระบบให้น้ำต้นมัลเบอรี่ โดยเดินสายน้ำหยด เนื่องจากในฤดูแล้งทางโรงเรียนจะขาดน้ำสำหรับกิจกรรมการเกษตร ทำให้ประหยัดน้ำ และสะดวก ต้นไม้ได้รับน้ำอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ทำให้มัลเบอรี่เจริญเติบโต ให้ผลผลิตที่มากขึ้น
278
20
24. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( ผักบุ้งจีน กะเพรา)
วันที่ 1 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- แบ่งนักเรียนหว่านผักบุ้งจีนในวงบ่อ และปลูกกะเพราจากต้นกล้า
- นักเรียนแต่ละกลุ่่มดูแลรดน้ำ พรวนดิน กำจัดวัชพืช ใส่ปู่ยอินทรีย์
- เก็บผลผลิตส่งสหกรณ์โรงเรียน เพื่อจัดจำหน่ายให้ครูผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวันนักเรียน
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ได้จากการปฏิบัติจริง
- นักเรียนมีความรัก ความสามัคคี ร่วมมือกันจนผลงานเป็นที่ปรากฏ
- นักเรียนภาคภูมิใจที่มีส่วนร่วม ในการผลิตผักปลอดสารพิษ ประกอบอาหารกลางวันของโรงเรียน
24
30
25. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( ผักบุ้งจีน กวางตุ้ง โหระพา)
วันที่ 6 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- ครูที่รับผิดชอบโครงการ มอบหมายให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม โดยให้นักเรียนรับผิดชอบดูแลคนละ1กระถาง และขออาสาสมัครรับ 2 กระถางจำนวน 9 คน
- ครูที่รับผิดชอบพานักเรียนผสมดินสำหรับปลูกผัก โดยนำดินร่วน ผสมดินปุ๋ย แกลบ รดน้ำให้ชุ่ม
- โรยเมล็ดผักบุ้ง กระจายให้ทั่วกระถาง
- หมั่นดูแล กำจัดวัชพืช รดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น
- เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ ถอนผักบุ้ง นำไปล้าง นำไปจำหน่ายให้สหกรณ์โรงเรียน
- ผักบุ้งที่เหลือนำไปจำหน่ายให้ผู้ปกครอง
- มีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม ปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อจำหน่ายให้กับโรงเรียน จำนวน5คน คือ เด็กชายคุณากร แย้มบัว เด็กชายณัฐวุฒิ อิ่มคำ เด็กชายยุทธศักดิ์ อ่อนบัว เด็กชายวิษณะพงศ์ แสงชมภู และเด็กชายรณชัย ขำอ่วม
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- นักเรียนรู้จักปรับปรุงแก้ไขผลการปฏิบัติกิจกรรม การปลูกผักปลอดสารพิษ จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ทำให้มีผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ
- นักเรียนและผู้ปกครอง ให้ความสนใจในกิจกรรมของโรงเรียนและนักเรียน
- นักเรียนรู้จักหารายได้ระหว่างเรียน โดยการชวนผู้ปกครองปลูกผักปลอดสารพิษรับประทานในครอบครัว และเหลือจำหน่ายให้กับโรงเรียน
- นักเรียนตระหนักในปัญหาสารพิษตกค้าง จากการจัดกิจกรรม "ชวนผู้ปกครองทำอาหาร" และ กิจกรรม "ดีเจทีน" ส่งสารความรู้ผ่านหอกระจายข่าวของโรงเรียนและชุมชน และนำความรู้มาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
22
45
26. คืนดอกเบี้ยโครงการ
วันที่ 29 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ถอนดอกเบี้ยจากบัญชีโครงการ คืน สอส.
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
คืนดอกเบี้ยเงินโครงการเรียบร้อย
0
0
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม
ผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
ผลผลิตโครงการ
วัตถุประสงค์ สถานการณ์ เป้าหมาย ผลผลิต อธิบาย
1
เพื่อให้นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโภชนาการ Thai School lunch ส่งเสริมให้นักเรียนนำความรู้ไปเป็นแนวปฏิบัติตนในครอบครัว
ตัวชี้วัด : นักเรียน ผู้ปกครอง คณะครู ชุมชน มีความรู้ความเข้าใจการจัดการอาหารที่เหมาะสมตามหลักโภชนาการ และนำความรู้ไปปฏิบัติในครอบครัว
2
เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียน ผู้ปกครอง ครู ด้านดำเนินการเกษตร
ตัวชี้วัด : นักเรียน ผู้ปกครอง คณะครู สามารถปฏิบัติกิจกรรมด้านการเกษตรเกี่ยวกับการปลูกผักกินเอง ที่ปลอดสารพิษ สะอาด ปลอดภัย
3
เพื่อพัฒนากิจกรรมจากโรงเรียนต้นแบบสู่ศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส และจัดอาหารกลางวันนักเรียนตามโปรแกรมโดยผ่านระบบสหกรณ์นักเรียนสู่ชุมชน
ตัวชี้วัด : โรงเรียนมีกิจกรรมที่หลากหลาย ครบถ้วน เป็นระบบ เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่น และเป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้(คน) จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้(คน) จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
บทคัดย่อ*
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค สาเหตุ ข้อเสนอแนะ
ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ
โรงเรียนอนุบาลไทยรัฐวิทยา5 (วัดตลิ่งต่ำ) จังหวัด อุตรดิตถ์
รหัสโครงการ ศรร.1112-027
ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว
................................
( นายชัชวาลย์ เพ็ชร์แบน )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......
โรงเรียนอนุบาลไทยรัฐวิทยา5 (วัดตลิ่งต่ำ)
“ โรงเรียนอนุบาลไทยรัฐวิทยา5 (วัดตลิ่งต่ำ) ”
234 ม.8 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์หัวหน้าโครงการ
นายชัชวาลย์ เพ็ชร์แบน
ชื่อโครงการ โรงเรียนอนุบาลไทยรัฐวิทยา5 (วัดตลิ่งต่ำ)
ที่อยู่ 234 ม.8 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัด อุตรดิตถ์
รหัสโครงการ ศรร.1112-027 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-น.27
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2559 ถึง 30 เมษายน 2560
กิตติกรรมประกาศ
"โรงเรียนอนุบาลไทยรัฐวิทยา5 (วัดตลิ่งต่ำ) จังหวัดอุตรดิตถ์" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน 234 ม.8 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนอนุบาลไทยรัฐวิทยา5 (วัดตลิ่งต่ำ) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป
คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนอนุบาลไทยรัฐวิทยา5 (วัดตลิ่งต่ำ)
บทคัดย่อ
โครงการ " โรงเรียนอนุบาลไทยรัฐวิทยา5 (วัดตลิ่งต่ำ) " ดำเนินการในพื้นที่ 234 ม.8 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ รหัสโครงการ ศรร.1112-027 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก โรงเรียนอนุบาลไทยรัฐวิทยา5 (วัดตลิ่งต่ำ) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 327 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้
โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ
หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ | |
บทคัดย่อ | |
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล | |
วัตถุประสงค์โครงการ | |
กิจกรรม/การดำเนินงาน | |
กลุ่มเป้าหมาย | |
ผลลัพธ์ที่ได้ | |
การประเมินผล | |
ปัญหาและอุปสรรค | |
ข้อเสนอแนะ | |
เอกสารประกอบอื่นๆ |
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ
สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาล จากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น
จากสถานการณ์ดังกล่าว โรงเรียนอนุบาลไทยรัฐวิทยา ๕ (วัดตลิ่งต่ำ) จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใส ถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหาร และโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะ ที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สถานการณ์
วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อให้นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโภชนาการ Thai School lunch ส่งเสริมให้นักเรียนนำความรู้ไปเป็นแนวปฏิบัติตนในครอบครัว
- เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียน ผู้ปกครอง ครู ด้านดำเนินการเกษตร
- เพื่อพัฒนากิจกรรมจากโรงเรียนต้นแบบสู่ศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส และจัดอาหารกลางวันนักเรียนตามโปรแกรมโดยผ่านระบบสหกรณ์นักเรียนสู่ชุมชน
กิจกรรม/การดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้ |
---|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจตระหนัก เห็นความสำคัญของหลักโภชนาการ และนำความรู้ไปเป็นแนวปฏิบัติตนในครอบครัว
- นักเรียน ผู้ปกครองครู มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะปฏิบัติการด้านการเกษตรปลอดสารพิษ และจัดระบบการลงทุนผ่านกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน และเผยแพร่สู่ชุมชน
- โรงเรียนพัฒนากิจกรรมอย่างเป็นระบบ ครบถ้วนสมบูรณ์ สามารถเป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์** กิจกรรมของโครงการ | ผลผลิต* | |
---|---|---|
ผลผลิตที่ตั้งไว้ | ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง | |
1. ประชุมผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษา |
||
วันที่ 19 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 -15.00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
136 | 233 |
2. เพาะถั่วงอกและต้นทานตะวันอ่อน |
||
วันที่ 1 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00-11.00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
25 | 39 |
3. เลี้ยงปลาดุกในวงบ่อ |
||
วันที่ 6 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
20 | 22 |
4. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( คะน้า ผักบุ้งจีน กวางตุ้ง ) |
||
วันที่ 10 มิถุนายน 2559 เวลา 13.00 -16.00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
66 | 33 |
5. ปลูกมัลเบอรี่ |
||
วันที่ 20 มิถุนายน 2559 เวลา 14.00-16.00 น. น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
28 | 36 |
6. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( ผักบุ้งจีน คะน้า กวางตุ้ง ) |
||
วันที่ 20 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
30 | 27 |
7. อบรมพัฒนาผู้ปกครอง และนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักต่ำและสูงกว่าเกณฑ์ |
||
วันที่ 6 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น. น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
110 | 110 |
8. เลี้ยงไก่พันธ์ุไข่ |
||
วันที่ 8 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
39 | 48 |
9. คืนเงินเปิดบัญชีโครงการ |
||
วันที่ 18 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำถอนเงินเปิดบัญชีโครงการคืนโรงเรียน ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นถอนเงินเปิดบัญชีโครงการคืนโรงเรียนเรียบร้อย
|
0 | 0 |
10. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล (กะหล่ำปลี ผักบุ้ง กวางตุ้ง ) |
||
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
44 | 0 |
11. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล (มะเขือ ถั่วฝักยาว บวบ ฟักทอง) |
||
วันที่ 10 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
29 | 45 |
12. เพาะถั่วงอกและต้นทานตะวันอ่อน |
||
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
18 | 33 |
13. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( บวบ ฟักทอง ผักบุ้งจีน ถั่วฝักยาว มะเขือ) |
||
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
39 | 32 |
14. เลี้ยงปลาดุกในวงบ่อ |
||
วันที่ 2 ธันวาคม 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
18 | 20 |
15. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( ผักบุ้งจีน ) |
||
วันที่ 2 ธันวาคม 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
30 | 34 |
16. เพาะถั่วงอกเพื่ออาหารกลางวัน |
||
วันที่ 9 ธันวาคม 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
18 | 21 |
17. ดำเนินกิจกรรมการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ |
||
วันที่ 9 ธันวาคม 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
62 | 59 |
18. ปลูกผักพื้นบ้าน (มะนาว) |
||
วันที่ 12 ธันวาคม 2559 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
30 | 31 |
19. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพนักเรียนด้วยหลัก 4 อ. |
||
วันที่ 6 มกราคม 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
88 | 94 |
20. เลี้ยงปลาดุกในวงบ่อ รุ่นที่ 2 |
||
วันที่ 9 มกราคม 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
18 | 21 |
21. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( ต้นหอม คะน้า) |
||
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
30 | 31 |
22. จัดมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียน |
||
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
44 | 278 |
23. เดินสายน้ำ ต้นมัลเบอร์รี่ |
||
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำจ้างเหมาเดินสายน้ำรดต้นมัลเบอรี ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นการทำระบบให้น้ำต้นมัลเบอรี่ โดยเดินสายน้ำหยด เนื่องจากในฤดูแล้งทางโรงเรียนจะขาดน้ำสำหรับกิจกรรมการเกษตร ทำให้ประหยัดน้ำ และสะดวก ต้นไม้ได้รับน้ำอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ทำให้มัลเบอรี่เจริญเติบโต ให้ผลผลิตที่มากขึ้น
|
278 | 20 |
24. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( ผักบุ้งจีน กะเพรา) |
||
วันที่ 1 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
24 | 30 |
25. ปลูกผักพื้นบ้านตามฤดูกาล ( ผักบุ้งจีน กวางตุ้ง โหระพา) |
||
วันที่ 6 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
22 | 45 |
26. คืนดอกเบี้ยโครงการ |
||
วันที่ 29 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำถอนดอกเบี้ยจากบัญชีโครงการ คืน สอส. ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคืนดอกเบี้ยเงินโครงการเรียบร้อย
|
0 | 0 |
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม
ผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
ผลผลิตโครงการ
วัตถุประสงค์ | สถานการณ์ | เป้าหมาย | ผลผลิต | อธิบาย | |
---|---|---|---|---|---|
1 | เพื่อให้นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโภชนาการ Thai School lunch ส่งเสริมให้นักเรียนนำความรู้ไปเป็นแนวปฏิบัติตนในครอบครัว ตัวชี้วัด : นักเรียน ผู้ปกครอง คณะครู ชุมชน มีความรู้ความเข้าใจการจัดการอาหารที่เหมาะสมตามหลักโภชนาการ และนำความรู้ไปปฏิบัติในครอบครัว |
||||
2 | เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียน ผู้ปกครอง ครู ด้านดำเนินการเกษตร ตัวชี้วัด : นักเรียน ผู้ปกครอง คณะครู สามารถปฏิบัติกิจกรรมด้านการเกษตรเกี่ยวกับการปลูกผักกินเอง ที่ปลอดสารพิษ สะอาด ปลอดภัย |
||||
3 | เพื่อพัฒนากิจกรรมจากโรงเรียนต้นแบบสู่ศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส และจัดอาหารกลางวันนักเรียนตามโปรแกรมโดยผ่านระบบสหกรณ์นักเรียนสู่ชุมชน ตัวชี้วัด : โรงเรียนมีกิจกรรมที่หลากหลาย ครบถ้วน เป็นระบบ เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานอื่น และเป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส |
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | ||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
บทคัดย่อ*
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค | สาเหตุ | ข้อเสนอแนะ |
---|---|---|
ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ
โรงเรียนอนุบาลไทยรัฐวิทยา5 (วัดตลิ่งต่ำ) จังหวัด อุตรดิตถ์
รหัสโครงการ ศรร.1112-027
ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว
( นายชัชวาลย์ เพ็ชร์แบน )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......