ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

โรงเรียนวัดต้นไคร้


“ โรงเรียนวัดต้นไคร้ ”

182/2 ม.5 ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

หัวหน้าโครงการ
นายประสิทธิ์ อ้นจันทร์

ชื่อโครงการ โรงเรียนวัดต้นไคร้

ที่อยู่ 182/2 ม.5 ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ จังหวัด แพร่

รหัสโครงการ ศรร.1112-011 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2265-น.11

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2016 ถึง 30 เมษายน 2017


กิตติกรรมประกาศ

"โรงเรียนวัดต้นไคร้ จังหวัดแพร่" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน 182/2 ม.5 ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ โรงเรียนวัดต้นไคร้ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โรงเรียนวัดต้นไคร้



บทคัดย่อ

โครงการ " โรงเรียนวัดต้นไคร้ " ดำเนินการในพื้นที่ 182/2 ม.5 ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ รหัสโครงการ ศรร.1112-011 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก โรงเรียนวัดต้นไคร้ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 284 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทยจากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการนักเรียนอายุ 6-12 ปี จำนวน 1,492,089 คน ใน 76 จังหวัด ของกรมอนามัย ปี 2555 พบว่านักเรียนมีภาวะอ้วน ร้อยละ 12.5 เตี้ยร้อยละ 16.8 และระบุว่านักเรียนอายุ 6-12 ปี ที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน มีเพียง ร้อยละ 51.6 ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2544พบว่า เด็กไทยสัดส่วนไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 1.2ล้านคน จำแนกเป็นน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 223,288 คน น้ำหนักสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานจำนวน 590,087 คน และส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 258,149 คนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับสติปัญญาและคุณภาพชีวิตของเด็กไทยหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ1) การพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะการบริโภคผักน้อยกว่าปริมาณที่แนะนำ คือเฉลี่ยวันละ 60 กรัม (ปริมาณที่แนะนำวันละ 400 กรัม) กินขนมกรุบกรอบและเครื่องดื่มรสหวานจัดเกือบทุกวันหรือทุกวันสูงถึงร้อยละ 67.4 นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในช่วงวัยประถมศึกษาจะได้รับน้ำตาลจากเครื่องดื่มเฉลี่ย 5-7 ช้อนชา/วัน และน้ำตาลจากขนมกรุบกรอบเฉลี่ย 3 ช้อนชา/วันซึ่งปริมาณรวมในการบริโภคน้ำตาลของเด็กมากถึง 10 ช้อนชา และ2) สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพผลกระทบของการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาร่างกายและสติปัญญาที่ช้าไม่เป็นไปตามศักยภาพที่ควรจะเป็น จากสถานการณข้างต้นโรงเรียนวัดต้นไคร้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 ก็ประสบปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินงานและขับเคลื่อนงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ สุขภาวะนักเรียนรวมทั้งอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนมาโดยตลอดได้ดำเนินการพัฒนาบูรณาการองค์ความรู้ ด้านอาหารโภชนาการและสุขภาพนักเรียนมาอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นวิถีวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของโรงเรียนส่งผลให้นักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง มีความพร้อมสำหรับการเรียนรู้เป็นที่รับรู้โดยทั่วไป ดังปรากฏรางวัลที่โรงเรียนได้รับ ได้แก่ ได้รับการรับรองมาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร รางวัลชนะเลิศสุดยอดส้วมแห่งปี 2553 ได้รับการรับรองมาตรฐานโรงเรียน อย.น้อย ระดับดีมาก โรงเรียนส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ ระดับดีมาก รางวัลสถานศึกษาพอเพียงและที่สำคัญจากการส่งเสริมด้านสุขภาพดังกล่าว ส่งผลให้นักเรียนมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ O-net สูงกว่าระดับชาติและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษารวมทั้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครอง หน่วยงานต่างๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุน ร่วมมือและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานจัดการศึกษาในทุกด้านของโรงเรียน ด้วยความพร้อมในทุกๆด้านโรงเรียนวัดต้นไคร้จึงได้เข้าร่วมโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ ปีที่ 1 เพื่อน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ จากการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีมาปฏิบัติในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นซึ่งในปีที่ 1 ได้ดำเนินการจนประสบความสำเร็จนักเรียนมีความรู้และทักษะทางการเกษตร มีความภาคภูมิใจในผลผลิตที่ตนเองปลูกและได้นำไปเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหารกลางวันของโรงเรียน นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามหลักโภชนาการ ในด้านกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนมีความรู้และทักษะการดำเนินงานสหกรณ์ มีการจัดจำหน่ายสินค้าราคาประหยัด และผลผลิตทางการเกษตรของโรงเรียนรวมทั้งมีการจัดทำบัญชีรับจ่ายอย่างเป็นระบบและเป็นปัจจุบันมีการจัดทำรายการอาหารกลางวันที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการนักเรียนได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างครบถ้วน ส่งผลให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานนักเรียนทุกคนได้รับการทดสอบสมรรถภาพทางกาย มีสมรรถภาพทางกายอยู่ในเกณฑ์ดีมาก สุขภาวะทางโภชนาการอยู่ในเกณฑ์ดีมาก นักเรียนที่มีปัญหาได้รับการแก้ไขโรงเรียนมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพนักเรียนและพัฒนาสุขนิสัย เช่น การเต้นแอโรบิค การเล่นฮูลาฮูป การเล่นกีฬาตามความถนัด และให้ความรู้เรื่องการบริโภค รวมทั้งสามารถผลิตอุปกรณ์และสื่อส่งเสริมสุขภาพห้องส้วมของโรงเรียนมีความเพียงพอต่อการให้บริการมีคุณภาพได้มาตรฐาน HAS มีการจัดแยกสิ่งปฏิกูลอย่างเป็นระบบ บริเวณโดยรอบของโรงเรียนมีความสวยงาม ปลอดภัยนักเรียนได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้นจากผู้นำอนามัยนักเรียนเพื่อเป็นการคัดกรองก่อนได้รับการตรวจจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวมทั้งโรงเรียนมีแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการเกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย นำภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องเกษตรและอาหารมาจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น รวมทั้งมีการผลิตสื่อเสริมสร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับการเกษตรโภชนาการ และสุขภาพอนามัย ดังนั้น โรงเรียนวัดต้นไคร้จึงได้เสนอแผนการพัฒนาของโรงเรียนร่วมกับชุมชน เพื่อต่อยอดการดำเนินงานโครงการเด็กไทยแก้มใสจากปีที่1โดยมีปณิธานอย่างมุ่งมั่นในการเจริญรอยตามพระยุคลบาท สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการน้อมนำรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนอย่างครบวงจรมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนต่อยอดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและสุขภาพนักเรียนบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายต่อเนื่องอย่างยั่งยืน ตามผลที่คาดหวังของโครงการ

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ๑. เพื่อพัฒนาโรงเรียนวัดต้นไคร้ ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส
  2. ๒. เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนวัดต้นไคร้ทุกคนได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ถูกต้องตามหลักโภชนาการ มีสุขภาพอนามัยที่ดี มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามวัย
  3. ๓. เพื่อพัฒนานักเรียนโรงเรียนวัดต้นไคร้ให้มีความรู้ และทักษะด้านเกษตร สหกรณ์ อาหารโภชนาการและสุขภาพ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างยั่งยืน
  4. ๔. เพื่อพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนวัดต้นไคร้ให้มีศักยภาพด้านการจัดบริการอาหาร โภชนาการและสุขภาพ
  5. ๕. เพื่อให้ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานในท้องถิ่น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรื่องอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนร่วมกับโรงเรียน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. นักเรียนโรงเรียนวัดต้นไคร้ทุกคนได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ถูกต้องตามหลักโภชนาการ มีสุขภาพอนามัยที่ดี มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามวัย
    2. นักเรียนโรงเรียนวัดต้นไคร้มีความรู้ และทักษะด้านเกษตร สหกรณ์ อาหารโภชนาการและสุขภาพ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างยั่งยืน
    3. บุคลากรของโรงเรียนวัดต้นไคร้ได้รับการพัฒนามีศักยภาพด้านการจัดบริการอาหาร โภชนาการและสุขภาพ
    4. ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานในท้องถิ่น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรื่องอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียน

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมคณะทำงานเพื่อวางเเผนดำเนินงาน

    วันที่ 12 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะดำเนินงานผุ้มีส่วนเกี่ยวข้อง ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ สรุปทบทวนผลการดำเนินงานโครงการในปีที่ผ่านมา  พิจารณากิจกรรมที่จะดำเนินการในปี 2559

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต มีผู้เข้าประชุมประกอบด้วยผู้บริหาร  คณะครู บุลากรของโรงเรียนวัดต้นไคร้ จำนวน ๑๗  คน ผลลัพธ์ -ทีมงานมีความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาโรงเรียนเพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส -มีการสรุปประชุมแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบตามกิจกรรมทุกกิจกรรม

     

    17 17

    2. ประชุมผู้ปกครองชี้เเจงการดำเนินงานพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส

    วันที่ 18 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เชิญผู้ปกครองนักเรียน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน จำนวน 149 คน  เข้าร่วมประชุมชี้แจงการดำเนินงานพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสและมีการเปิดเวทีแสดงความคิดเห็นข้อเสนอแนะในการทำงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต -ผู้ปกครองเข้าร่วมประชุม จำนวน ๑๔๙ คน ผลลัพธ์ -ผู้ปกครองนักเรียน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน จำนวน 149 คน  มีความรู้ความเข้าใจในหลักการพัฒนาโรงเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส และพร้อมให้การสนับสนุน และร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆอย่างเต็มกำลังความสามารถ

     

    17 134

    3. ประชาสัมพันธ์การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส

    วันที่ 23 พฤษภาคม 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพัน์โครงการศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส จำนวน 1 แผ่น ติดไว้บริเวณหน้าโรงเรียน ประชุมชี้แจงผู้ปกครอง นักเรียนและเครือข่าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต -ผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน หน่วยงานในท้องถิ่นเข้าร่วม จำนวน  คน -จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ จำนวน  ๑ แผ่น ผลลัพธ์ -ผู้ปกครอง นักเรียน ภาคีเครือข่ายได้รับทราบนโยบายและแนวทางการจัดทำโครงการ ศรร.เด็กต้นไคร้แก้มใส -ผู้ปกครอง นักเรียน ภาคีเครือข่าย ร่วมเสนอแนะแนวทางการดำเนินงาน -ชุมชน ภาคีเครือข่ายมีความภาคภูมิใจกับการที่โรงเรียนได้รับการคัดเลือกให้จัดทำโครงการ ศรร.ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส

     

    149 296

    4. เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน เพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน

    วันที่ 30 มิถุนายน 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมชี้แจงการดำเนินงานเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน
    2. การดำเนินการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อจำหน่าให้สหกรณ์โรงเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต -เครือข่ายเกษตรอินทรีย์  จำนวน ๑๐ คนเข้าร่วมประชุมชี้แจงการดำเนินงาน

    ผลลัพธ์ - เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อจำหน่ายให้กับสหกรณ์โรงเรียน
    - โรงเรียนจัดทำอาหารกลางวันในโรงเรียนด้วยเมนูผักปลอดสารพิษ - นักเรียนวัดต้นไคร้ จำนวน 134 คน ได้รับประทานอาหารกลางวันจากเมนูปลูกผักปลอดสารพิษ


     

    3 10

    5. กิจกรรมอาหารสื่อรัก เมนูผักคุณแม่

    วันที่ 12 สิงหาคม 2016 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เชิญผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 134 คน เข้าร่วมกิจกรรม อาหารสื่อรัก เมนูผักคุณแม่ โดยคัดเลือกคุณแม่จำนวน 1 ท่านที่จัดเมนูอาหารผัก รสชาติอร่อยน่ารับประทานมาสาธิตการวิธีการทำ และผู้ปกครองร่วมชมนิทรรศการเมนูอาหารสื่อรัก เมนูผักคุณแม่ที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1. จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ด้านอาหารและโภชนาการ 2. เสวนาแลกเปลี่ยนความรู้การจัดเตรียมอาหารที่มีประโยชน์สำหรับบุตร จากคุณแม่ตัวอย่าง 3. สาธิตการทำเมนูอาหารสุขภาพจากผัก โดยคุณแม่ตัวอย่าง ผลลัพธ์ - ผู้ปกครองนักเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
    -ผู้ปกครองนำความรู้เรื่องเมนูอาหารผัก ที่ได้รับไปปรับใช้กับลูกได้รับประทานที่บ้าน

     

    149 285

    6. กิจกรรมเกษตรอินทรีย์เพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียน

    วันที่ 27 กันยายน 2016 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการให้ความรู้นักเรียนแกนนำเรื่องการเพาะเห็ดและการดูแลเฝ้าระวังและการเก็บเห็ด จำนวน ๑๐ คน จัดซื้อก้อนเชื้อเห็ดจำนวน 500 ก้อนเพื่อนำมาเพาะในโรงเห็ดของโรงเรียน  จัดนักเรียนรับผิดชอบรดน้ำ และเก็บผลผลิตออกจำหน่ายในแต่ละวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต -นักเรียนแกนนำจำนวน ๑๐ คนเข้าร่วมอบรมและดำเนินการเพาะเห็ด -มีการเพาะเห็ดจำนวน ๕๐๐ ก้อน -นักเรียน๑๓๕ คนร่วมเรียนรู้การเพาะเห็ด ผลลัพธ์ -นักเรียนวัดต้นไคร้ จำนวน 134 คน ได้รับประทานอาหารกลางวันเมนูเห็ด -นักเรียนมีความพึงพอใจต่อเมนูเห็ดที่จัดให้ -นักเรียนแกนนำมีความรู้และทักษะในการเพาะเห็ด จำนวน ๑๐ คน -นักเรียนมีความรู้ในการเพาะเห็ด ๑๓๕ คน

     

    149 285

    7. ศึกษาดูงานโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จด้านการจัดทำรายการอาหารโดยใช้ Thai School lunch Program

    วันที่ 30 กันยายน 2016 เวลา 07:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะครูแลบุคลากรในรงเรียนวัดต้นไคร้ จำนวน 17 คน  ศึกษาดูงานโรงเรียนบ้านหนองบัวแดง จ.เชียงราย  ซึ่งเป็นโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส  ดีเด่น  และจัดเมนูอาหารด้ว้ยโปรแกรม
    Thai School Lunch 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต - ผู้บริหาร  คณะครู บุลากรของโรงเรียนวัดต้นไคร้ จำนวน ๑๗  คนได้ศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบด้านการจัดเมนูอาหารกลางวันด้วยโปรแกรม Thai school lunch ผลลัพธ์ -นำโปรแกรม Thai school lunch มาจัดเมนูอาหารกลางวันให้กับนักเรียนในโรงเรียนทุกวัน -แม่ครัว จัดทำอาหารตามโปรแกรม  Thai school lunch

     

    17 17

    8. พัฒนาสหกรณ์นักเรียนสูศูนย์เรียนรู้เศรษฐศาสตร์ในโรงเรียน

    วันที่ 7 ตุลาคม 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปรับปรุงห้องสหกรณ์นักเรียนให้เป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐศาสตร์ในโรงเรียน โดยจัดทำป้ายนิทรรศการความรู้คู่เศรษฐศาสตร์ในโรงเรียน จัดทำระบบบัญชีสหกรณ์ให้เป็นปัจจุบัน  และซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อจำหน่ายให้กับนักเรียน คณะครู และผู้ปกครองนักเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต -มีห้องสหกรณ์ศูนย์เรียนรู้เศรษฐศาสตร์ในโรงเรียน -ห้องสหกรณ์เป็นที่แหล่งศึกษาดูงานของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายช่อแฮ ผลลัพธ์ -นักเรียนวัดต้นไคร้ จำนวน 134 คน เป็นสมาชิกสหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียน -นักเรียนเจ้าหน้าที่สหกรณ์ มีความรู้และทักษะในการบริหารจัดการสหกรณ์

     

    149 288

    9. เด็กต้นไคร้แก้มใส พลานามัยสมบูรณ์

    วันที่ 9 ธันวาคม 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง นักเรียนประจำเดือน
    2. เฝ้าระวัง แก้ปัญหา และส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน
    3. ตรวจสุขภาพนักเรียนประจำปี ภาคเรียนละ 1 ครั้ง
    4. ทดสอบสมรรถภาพทางกายนักเรียน
    5. จัดซื้อเวชภัณฑ์ยาเเละชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต -ครูอนามัยจัดซื้อยาเวชภัณฑ์ประจำห้องพยาบาล -ครูพลศึกษา จัดหาอุปกรณ์ออกกำลังกายให้แก่นักเรียน -ครูอนามัย และครูพลศึกษาตรวจสุขภาพ ทดสอบสมรรถภาพนักเรียนรายบุคคลทุกคน ผลลัพธ์ -นักเรียนวัดต้นไคร้ จำนวน 134 คน ได้รับการดสอบสมรรถภาพนักเรียนรายบุคคล -นำผลทางภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนมาวิเคราะห์เป็นรายบุคคล -ปรับพฤติกรรมการบริโภค  การออกกำลังกายแก่นักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ


     

    34 0

    10. สื่อสร้างสรรค์ นวัตกรรมเด็กต้นไคร้เเก้มใส

    วันที่ 20 ธันวาคม 2016 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ครูศึกษาตัวชี้วัดในกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ
    2. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้สอดแทรกเรื่องโภชนาการและธงโภชนาการลงในแผน
    3. นำไปจัดการเรียนรู้แก่นักเรียนแต่ละชั้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต - มีแผนการจัดการเรียนรู้สอดแทรกเรื่องโภชนาการและธงโภชนาการครบทั้ง 8 กลุ่มสาระครบทุกชั้นเรียน ผลลัพธ์ - คณะครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่่เป็นนวัตกรรมทั้ง 8 กลุ่มสาระทุกชั้นเรียน - นักเรียนได้รับความรู้เรื่องสารอาหารและธงโภชนาการ
    - เป็นต้นแบบอย่างให้กับโรงเรียนอื่นๆได้ศึกษาดูงานด้านแผนการจัดการเรียนรู้

     

    149 0

    11. เลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์

    วันที่ 20 มกราคม 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต - มีบ่อเลี้ยงปลาดุก  จำนวน ๑ บ่อ
    - นักเรียน แบ่งหน้าที่การรับผิดชอบ ด้านการดูแล และให้อาหารปลาดุก ผลลัพธ์ -นักเรียนมีความรับผิดชอบในการดูแลเลี้ยงปลาดุก -มีเมนูอาหารกลางวันที่ได้สารอาหารโปรตีนจากปลาดุก

     

    149 0

    12. กล้วย อาหารเสริมเพิ่มพลัง

    วันที่ 20 มกราคม 2017 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต - มีต้นกล้วย และกล้วยเป็นแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน ผลลัพธ์ -นักเรียน ๑๕ คนร่วมกันปลูกและดูแลต้นกล้วย -นักเรียนวัดต้นไคร้ จำนวน ๑๓๔ คน  ได้รับประทานผลไม้เป็นอาหารเสริม


     

    132 15

    13. เด็กต้นไคร้อิ่มท้อง สมองใส ด้วย Thai School Lunch Program

    วันที่ 31 มกราคม 2017 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ศึกษาดูงานโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จด้านจัดเมนูอาหารกลางวันด้วย Thai School Lunch Program
    2. นำ Thai School Lunch Program มาจัดเมนูอาหารกลางวันให้กับนักเรียนในโรงเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต - ใช้โปรแกรม Thai school lunch มาจัดเมนูอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน ผลลัพธ์
    - นักเรียนได้รับสารอาหารครบตามธงโภชนาการในมื้อกลางวัน - แสดงผลคุณค่าทางโภชนาการของเมนูอาหารเป็นรูปธรรม ได้ชัดเจน - เป็นโรงเรียนต้นแบบการใช้โปรแกรม Thai school lunch ให้โรงเรียนอื่นได้ศึกษาดูงาน


     

    149 0

    14. อบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรของโรงเรียนวัดต้นไคร้ด้านการจัดบริการอาหาร โภชนาการและสุขภาพ

    วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต -คณะทำงาน ครู เครือข่ายแกนนำผู้ปกครองนักเรียน  จำนวน 14 คน เข้ารับการอบรมพัฒนาศักยภาพด้นการจัดบริการอาหาร โภชนาการ ผลลัพธ์ -คณะทำงาน ครู เครือข่ายแกนนำผู้ปกครองนักเรียน มีความเข้าใจที่ได้รับจากวิทยากรไปใช้ประโยชน์กับเด็กนักเรียน -มีการนำความรู้ที่ได้รับไปปรับพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียนให้ถูกต้อง  เพื่อพัฒนาภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนให้สมวัย

     

    17 20

    15. ค่ายยุวเกษตร สหกรณ์ และโภชนาการ ตามรอยเบื้องพระยุคลบาทเจ้าฟ้านักโภชนาการ

    วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต -นักเรียนจำนวน ๑๓๕ คนเข้าร่วมอบรมค่ายยุวเกษตร สหกรณ์และโภชนาการ ผลลัพธ์ -นักเรียนได้รับความรู้ด้านการบริโภคอาหาร  การปรับพฤติกรรมการบริโภคให้ถูกต้อง -นักเรียนมีความสุขสนุกสนานในกิจกรรมภาคปฏิบัติเรื่องการเกษตร สหกรณ์และโภชนาการ

     

    90 112

    16. เวทีสาธารณะ เสวนา แลกเปลี่ยนความคิด และเเสดงผลงานการพัฒนาโรงเรียนวัดต้นไคร้สู่ศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส

    วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดเวทีสาธารณะ เสวนา แลกเปลี่ยนความคิด
    2. เเสดงผลงานการพัฒนาโรงเรียนวัดต้นไคร้สู่ศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต - คณะครู ผู้ปกครองนักเรียน เครือข่ายผู้ปกครองร่วมกันจัดเวทีสรุปผลการปฏิบัติงานโครงการ ผลลัพธ์ - รายงานสรุปผลกิจกรรมต่างๆที่ดำเนินการทั้งหมด

     

    149 0

    17. รายงานปิดโครงการและคืนดอกเบี้ย

    วันที่ 30 เมษายน 2017 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -

     

    0 3

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 ๑. เพื่อพัฒนาโรงเรียนวัดต้นไคร้ ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส
    ตัวชี้วัด : โรงเรียนวัดต้นไคร้เป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเด็กไทยแก้มใส

    การประเมินดูกิจกรรมที่ดำเนินการและประสบผลสำเร็จและเป็นแบบอย่างให้กับผู้อื่นดูผลการพัฒนามีความก้าวหน้าเอกสารการบริหารจัดการในแต่ละองค์ประกอบ

    2 ๒. เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนวัดต้นไคร้ทุกคนได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ถูกต้องตามหลักโภชนาการ มีสุขภาพอนามัยที่ดี มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามวัย
    ตัวชี้วัด : นักเรียนวัดต้นไคร้ ทุกคนได้รับประทานอาหารกลางวันที่ถูกหลักอนามัยถูกต้องตามหลักโภชนาการ

    ประเมินคุณภาพอาหารตามTSL และสภาพจริงของการจัดอาหาร สัมภาษณ์ หลักฐานการจัดซื้อวัตถุดิบในการปรุงอาหารแต่ละวันและความเปลี่ยนแปลงภาวะโภชนาการนักเรียน

    3 ๓. เพื่อพัฒนานักเรียนโรงเรียนวัดต้นไคร้ให้มีความรู้ และทักษะด้านเกษตร สหกรณ์ อาหารโภชนาการและสุขภาพ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างยั่งยืน
    ตัวชี้วัด : นักเรียนโรงเรียนวัดต้นไคร้มีความรู้ และทักษะด้านเกษตร สหกรณ์ อาหารโภชนาการและสุขภาพ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างยั่งยืน

    ประเมินจากการปฏิบัติจริงด้านการเกษตร สหกรณ์ อาหารและโภชนาการของโรงเรียน บุคลากร นักเรียนและผู้ปกครอง

    4 ๔. เพื่อพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนวัดต้นไคร้ให้มีศักยภาพด้านการจัดบริการอาหาร โภชนาการและสุขภาพ
    ตัวชี้วัด : บุคลากรของโรงเรียนวัดต้นไคร้มีศักยภาพด้านการจัดบริการอาหาร ตามมาตรฐานโภชนาการ โดยใช้ Thai School Lunch Program

    การจัดอาหารโดยใช้โปรแกรมTSL การเผยแพร่ให้ความรู้ในการใช้โปรแกรมTSLให้กับโรงเรียนเครือข่าย

    5 ๕. เพื่อให้ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานในท้องถิ่น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรื่องอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนร่วมกับโรงเรียน
    ตัวชี้วัด : ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานในท้องถิ่น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเพื่อดำเนินตามรอยพระราชดำริในเรื่องการจัดการอาหารให้แก่เด็กนักเรียน

    ประเมินความร่วมมือจากการเข้าร่วมกิจกรรม ประเมินความพึงพอใจ

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ๑. เพื่อพัฒนาโรงเรียนวัดต้นไคร้ ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส (2) ๒. เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนวัดต้นไคร้ทุกคนได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ถูกต้องตามหลักโภชนาการ มีสุขภาพอนามัยที่ดี มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามวัย (3) ๓. เพื่อพัฒนานักเรียนโรงเรียนวัดต้นไคร้ให้มีความรู้ และทักษะด้านเกษตร สหกรณ์ อาหารโภชนาการและสุขภาพ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างยั่งยืน (4) ๔. เพื่อพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนวัดต้นไคร้ให้มีศักยภาพด้านการจัดบริการอาหาร โภชนาการและสุขภาพ (5) ๕. เพื่อให้ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานในท้องถิ่น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรื่องอาหาร โภชนาการ และสุขภาพของนักเรียนร่วมกับโรงเรียน

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

    ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนวัดต้นไคร้

    รหัสโครงการ ศรร.1112-011 รหัสสัญญา 58-00-2265-น.11 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

    วันที่เริ่มประเมิน

    1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    (ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    1. การเกษตรในโรงเรียน

    "เกษตรชุมชนเพื่ออาหารกลางวันสู่เด็กต้นไคร้แก้มใส"

    กระบวนการมีการเสวนาหาแนวทางร่วมระหว่างโรงเรียน ชุมชน ผู้ปกครองปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อหาทางออกการทำเกษตรเพื่ออาหารกลางวันเนื่องจากโรงเรียนไม่มีพื้นที่การเกษตรให้นักเรียนได้เรียนรู้ จากเวทีเสวนาได้ข้อตกลงให้นักเรียนได้เรียนรู้ในการปลูกผักในกระถางพื้นที่ว่างเล็กน้อยในโรงเรียนและผักลอยฟ้า และให้ชุมชน ผู้ปกครองปลูกผักส่งอาหารกลางวันในโรงเรียนตามรายการอาหารที่ออกล่วงหน้าเป็นรายเดือนรวมทั้งให้นักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกับชุมชน แหล่งอ้างอิงสวนผักในชุมชน ภาพกิจกรรม เอกสารการจัดซื้อผักจากชุมชน การจัดเสวนา

    ประสานชุมชนขยายพื้นที่เกษตรเพื่อการเรียนรู้ให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านในเขตบริการของโรงเรียน

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    2. สหกรณ์นักเรียน

    การสหกรณ์ เถ้าแก่น้อยๆ

    กระบวนการบริหารจัดการโดยนักเรียนตั้งแต่การคิดวิเคราะห์การจัดจำหน่ายชนิดของสินค้า การนำเข้าสินค้าจากผลิตผลของโรงเรียนและชุมชน มีการทำบัญชีและปันผลซึ่งมีคณะกรรมการตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่๑ถึงประถมศึกษาปีที่๖ สรุปการทำบัญชีสหกรณ์ ภาพกิจกรรม เอกสารหลักฐาน

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

    การบริหารจัดการอาหารกลางวันเชื่อมโยงกับการเกษตร

    จัดรายการอาหารด้วยโปรแกรม Thai school lunch โดยออกไว้ล่วงหน้าจากนั้นวางแผนการเกษตรเพื่อตอบสนองรายการอาหารกลางวัน และสามารถเป็นศูนย์ต้นแบบให้กับโรงเรียนอื่่นๆ ได้ศึกษาดูงาน. เข้ารับการอบรมการใช้โปแกรม Thai school lunch เอกสารอ้างอิง บันทึกรายการอาหารเป็นประจำทุกวันและการจัดส่งผลิตผลทางการเกษตรจากชุมชนและผู้ปกครอง

    การบริการอาหารเช้าให้กับนักเรียนที่อยู่พื้นที่ห่างไกลไม่ได้กินอาหารเช้า

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

     

     

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

    กลุ่มกีฬาพัฒนาสู่แก้มใส

    มีการพัฒนาสุขนิสัยการดูแลสุขภาพตนเองด้านการออกกำลังกายโดยใช้ไลน์กลุ่มในการรวมตัวเพื่อออกกำลังกายเช่นเตะบอล เนื่องจากโรงเรียนไม่มีสนามที่กว้างพอมีการนัดกันออกกำลังกายที่โรงเรียนใกล้ๆโดยมีการนัดกันทางไลน์มีองค์ความรู้ใหม่ๆด้านสุขภาพครู นักเรียนในไลน์จะส่งกันทางกลุ่มไลน์

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

    ธนาคารขยะ

    มีการคัดแยกขยะร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชนและเทศบาลโดยการบริหารจัดการขยะตามหลัก 7R
    หลักฐานรูปภาพการจัดการ ะนาคารขยะในโรงเรียน

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

    เด็กต้นไคร้รักษ์สุขภาพ

    มีการพัฒนาสุขนิสัยการดูแลสุขภาพนักเรียนเป็นประจำ ตรวจสุขอนามัย ด้านความสะอาด ของนักเรียนเช่น ผม ,เล็บ, มือ ,ฟัน,หู ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงนักเรียนทุกๆเดือน ให้การดูแล คัดกรองการเจ็บป่วยและสงต่อ รพ.สต.หลักฐานการบันทึกการตรวจสุขภาพประจำห้องเรียน และบันทึกสุขภาพของห้องอนามัย

     

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

    จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โภชนาการและธงโภชนาการ เกษตร สอดแทรกทุก 8 กลุ่มสาระทุกชั้นปี

    1. ศึกษาตัวชี้วัดแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้
    2. จัดทำแผนการเรียนรู้สอดแทรกในแต่ละกลุ่มสาระ
    3. บันทึกผลหลังสอน

    นำแผนการเรียนรู้ด้านอื่นบูรณาการเข้ากลุ่มสาระ

    แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
    มีไม่มี
    9. อื่น ๆ

     

     

     

    2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

    1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

    1.ชุมชน 2. รพ.สต.ช่อแฮ 3.เทศบาลต.ช่อแฮ 4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต 1 5. สาธารณสุขจังหวัดแพร่ ชุมชนและเครือข่ายมีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์ สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆจนเกิดผลสำเร็จในแต่ละกิจกรรมที่ส่งผลให้การทำงายนโครงการแก้มใสนักเรียนได้รับบริการและการเรียนรู้ที่ดี

    2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

    ชุมชนในเขตพื้นที่บริการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อจำหน่ายแก่ตลาดดังนั้นภาคีเครือข่ายหลักจึงสามารถนำผักปลอดสารพิษมาจำหน่ายให้แก่โรงเรียนเพื่อเป็นอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนและเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียนอาหารที่ขายในชุมชนและโรงเรียนเป็นอาหาร ขนมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการ

    3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

    กระบวนการบริหารจัดการทำความเข้าใจร่วมกันเกิดความตระหนักเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างบุคลากรในโรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน และให้ความสำคัญภาวะทุพโภชนาการของเด็กนักเรียนซึ่งจะมีผลการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคนวางแผนร่วมกันแบ่งความรับผิดชอบและมีการประเมินผลเป็นระยะ เอกสารหลักฐาน ภาพประกอบการประชุมเสวนาเอกสารสรุปกิจกรรมต่างๆ

    4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

    กระบวนการเรียนรู้มีการอบรมให้ความรู้ สาธิตและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้ง ๘ องค์ประกอบ และมีการเรียนรู้จากชุมชนปราชญ์ชาวบ้านในการดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ

    5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

    ผู้ปกครองและชุมชนและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในพื้นที่ให้ความสำคัญและร่วมมือในการจัดทำโครงการต้นแบบเด็กไทยแก้มใสอย่างเต็มศักยภาพต้องแต่กระบวนการคิดวิเคราะห์วางแผนและร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

    พื้นที่โรงเรียนไม่สามารถผลิตได้เพียงพอแต่ใช้การเกษตรชุ่มชนเป็นพื้นที่เกษตรในปริมาณที่เพียงพอทุกวันการทำเกษตรลอยฟ้าและเกษตรกระถาง

    ภาพประกอบเอกสารการจัดทำเกษตรและซื้ออาหาร

    ขยายพื้นที่ไปชุมชนอื่นในเขตรับผิดชอบโรงเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

    เนื่องจากไม่มีพื้นที่แต่มีการบริหารจัดการซื้อจากแหล่งผลิตของชุมชน ผู้ปกครองและตลาดในชุมชน

     

    สนับสนุนให้ผู้ปกครองชุมชนเลี้ยงไก่ไข่ส่งโรงเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

    เลี้ยงปลาดุกและปลาทับทิมในบ่อซีเมนต์ที่มีพื้นที่ว่างเล็กน้อยแต่ไม่เพียงพอกับอาหารกลางวันตลอดปี

    ภาพการเลี้ยงปลาดุกและปลาทับทิม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

    มีการบริหารจัดการให้ชุมชนปรับอาหารที่ขายหน้าโรงเรียนในตอนเช้าจากขนมจีนซึ่งมีโปรตีนน้อยมากเป็นข้าวกับข้าวทุกวันโดยเปลี่ยนรายการอาหารทุกวัน

    ภาพอาหารเช้าที่เด็กกินหน้าโรงเรียน

    โรงเรียนจะจัดบริการอาหารเช้าให้กับนักเรียน

    5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

    จัดรายการอาหารตามTSL และมีครูคอยบริการให้นักเรียนได้รับประทานตามที่ให้บริการ มีการให้ความรู้ภาพประกอบที่โรงอาหาร

    รายการอาหาร ภาพประกอบ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    จัดรายการอาหารตามTSL และมีครูคอยบริการให้นักเรียนได้รับประทานตามที่ให้บริการ มีการให้ความรู้ภาพประกอบที่โรงอาหาร

    รายการอาหาร ภาพประกอบ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

    ไม่มีนักเรียนมัธยม

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

    มีการบริหารจัดการโดยให้พันธุ์ผักกับผู้ปกครองชุมชนไปปลูกผักปลอดสารพิษขายกับโครงการอาหารกลางวันและรายได้นำไปหมุนเวียนซื้อเมล็ดพันธุ์ผักปลูกใหม่ตามรายการอาหารที่โรงเรียนวางแผน

    ภาพแปลงผักชุมชนเอกสารหลักฐานการจัดซื้อ

    ขยายพื้นที่ปลูกผักปลอดสารพิษชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

    มีการจัดอาหารตามTSL และจัดซื้อวัตถุดิบตามจำนวนที่กำหนดมีเพียงวิธีการปรุงที่ปรับให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่

    รายการอาหาร ภาพประกอบ การจัดซื้อวัตถุดิบ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

    มีการชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงเทอมละ2ครั้งแต่กรณีเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการมีการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงทุกเดือนจากนั้นแปรผลวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาแจ้งผู้ปกครองผู้ที่เกี่ยวข้องวางแผนแก้ไขและส่งเสริมภาะวะทุพโภชนาการสรุปและประเมินผล

    สรุปผลภาวะโภชนาการภาพประกอบ โครงการรายละเอียดและสรุปผลการดำเนิน

     

    3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

    สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

    ภาวะ2558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/22560 1/12560 1/22560 2/12560 2/22561 1/12561 1/22561 2/12561 2/22562 1/12562 1/22562 2/1
    เตี้ย 3.01 3.01% 4.44 4.44% 3.70 3.70% 2.22 2.22% 11.11 11.11% 5.93 5.93% 6.67 6.67% 5.97 5.97% 6.72 6.72% 7.38 7.38% 7.38 7.38% 5.48 5.48% 5.52 5.52% 5.59 5.59% 6.25 6.25% 6.34 6.34%
    เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 7.52 7.52% 9.63 9.63% 9.63 9.63% 5.19 5.19% 26.67 26.67% 15.56 15.56% 15.56 15.56% 16.42 16.42% 15.67 15.67% 14.09 14.09% 18.12 18.12% 14.38 14.38% 14.48 14.48% 16.78 16.78% 17.36 17.36% 16.20 16.20%
    ผอม 12.78 12.78% 14.81 14.81% 14.07 14.07% 14.07 14.07% 9.63 9.63% 4.44 4.44% 3.70 3.70% 5.22 5.22% 1.49 1.49% 6.04 6.04% 5.37 5.37% 4.79 4.79% 9.66 9.66% 4.90 4.90% 4.17 4.17% 4.93 4.93%
    ผอม+ค่อนข้างผอม 21.80 21.80% 22.96 22.96% 25.19 25.19% 22.22 22.22% 20.74 20.74% 10.37 10.37% 8.89 8.89% 8.96 8.96% 10.45 10.45% 13.42 13.42% 11.41 11.41% 9.59 9.59% 18.62 18.62% 13.99 13.99% 12.50 12.50% 11.27 11.27%
    อ้วน 2.26 2.26% 3.70 3.70% 2.22 2.22% 2.22 2.22% 2.22 2.22% 5.93 5.93% 5.93 5.93% 5.97 5.97% 6.72 6.72% 10.07 10.07% 8.72 8.72% 8.90 8.90% 7.59 7.59% 4.90 4.90% 5.56 5.56% 6.34 6.34%
    เริ่มอ้วน+อ้วน 7.52% 7.52% 8.89% 8.89% 8.15% 8.15% 8.15% 8.15% 8.89% 8.89% 15.56% 15.56% 14.07% 14.07% 10.45% 10.45% 13.43% 13.43% 16.11% 16.11% 14.09% 14.09% 14.38% 14.38% 12.41% 12.41% 15.38% 15.38% 14.58% 14.58% 13.38% 13.38%
    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

    มีโครงการแก้ไขปัญหาโดยจัดการด้านอาหารและออกกำลังกายและรว่มมือกับผู้ปกครอง

    เอกสารโครงการภาพประกอบสรุปผลการดำเนินงาน

    วิเคราะห์ผลการดำเนินงานและข้อจำกัดที่ทำให้การดำเนินงานไม่เป็นไปตามคาดหวัง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

    มีโครงการแก้ไขปัญหาโดยจัดการด้านอาหารและการให้อาหารเริมและออกกำลังกายและรว่มมือกับผู้ปกครอง

    เอกสารโครงการภาพประกอบสรุปผลการดำเนินงาน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

    มีการเยี่ยมบ้านคนละ๒ครั้งและหาแนวทางร่วมกับผู้ปกครองในการแก้ไขปัญหา และมีการจัดทำไลน์กลุ่มเพื่อส่งข่าวสารและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

    ภาพกิจกรรมสรุปผลการเยี่ยมบ้าน ไลน์กลุ่ม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

    ผู้ปกครองร่วมวางแผนและจัดอาหารที่บ้านในการแก้ไขปัญหาตลอดจนการเฝ้าระวังพและส่งเสริมพฤติกรรมบริโภคของนักเรียนที่บ้านและมีการสื่อสารกับครู

    ไลน์กลุ่ม บันทึกการเยี่ยมบ้าน สมุดบันทึกที่ผู้ปกครองมีส่วนในการรับทราบและเสนอแนะ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

    1.ชุมชน 2. รพ.สต.ช่อแฮ 3.เทศบาลต.ช่อแฮ 4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแพร่ เขต 1 5. สาธารณสุขจังหวัดแพร่ ชุมชนและเครือข่ายมีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์ สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆจนเกิดผลสำเร็จในแต่ละกิจกรรมที่ส่งผลให้การทำงายนโครงการแก้มใสนักเรียนได้รับบริการและการเรียนรู้ที่ดี

    หมายเหตุ *

    • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    โรงเรียนวัดต้นไคร้ จังหวัด แพร่

    รหัสโครงการ ศรร.1112-011

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายประสิทธิ์ อ้นจันทร์ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด