ศูนย์เรียนรู้เด็กไทยแก้มใส

แบบฟอร์มการสังเคราะห์คุณค่าของโครงการ

ชื่อโครงการ โครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใส โรงเรียนบ้านห้วยสิงห์

รหัสโครงการ ศรร.1113-012 รหัสสัญญา 58-00-2265-น.12 ระยะเวลาโครงการ 2 พฤษภาคม 2016 - 30 เมษายน 2017

วันที่เริ่มประเมิน

1. นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

(ให้เลือกนวัตกรรมที่เกิดขึ้นในกิจกรรมตาม 8 องค์ประกอบ และอธิบายว่านวัตกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะขั้นตอนอย่างไร)

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
1. การเกษตรในโรงเรียน

การเลี้ยงหมูในหลุมคู่ภูมิปัญญาท้องถิ่น

-ประชุมครูนักเรียน เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและภาคีเครือข่าย
-จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำการเกษตร -ลักษณะการเลี้ยงหมูหลุมคู่ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามกิจกรรมที่ 6 โดยการทำคอกหมูหลุมจะแตกต่างจากคอกหมูโดยทั่วไป คือ นอกจากมีผนังกั้นคอกแล้ว ยังขุดหลุมให้ลึกลงไปประมาณ 70 เซนติเมตร แล้วนำวัสดุที่ย่อยสลายได้ใส่ลงไปทดแทนดินที่ขุดออกเช่นแกลบ และใส่จุลินทรีย์ลงไปเพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็นจากมูลของหมู ผนังกั้นคอกขึ้นอยู่กับเงินทุนที่ดำเนินการอาจจะใช้ไม้ไผ่ ไม้ระแนงารขุดหลุมขนาดของหลุมขึ้นอยู่กับจำนวนสุกรที่จะเลี้ยง โดยกำหนดให้สุกร 1 ตัวใช้พื้นที่เลี้ยงตั้งแต่เริ่มจนถึงขาย 1.2-1.5 ตารางเมตร การขุดหลุมจะขุดหลุมก่อนหรือหลังการสร้างโรงเรือนก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการทำงาน

ขยายกิจกรรม หรือเพิ่มเติมกิจกรรมให้หลากหลายขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรลงสู่อาหารกลางวันให้มีจำนวนเพียงพอกับจำนวนนักเรียนในโรงเรียน ขยายผลสู่โรงเรียนเครือข่าย และชุมชน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
2. สหกรณ์นักเรียน

การสะสมหุ้นสหกรณ์ในโรงเรียน โดยให้นักเรียนและบุคลากรได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมออมทรัพย์ โดยให้สะสมหุ้นตั้งแต่ 1 หุ้น จนถึง 100 หุ้น

-ระดมทุน หุ้นสหกรณ์ ของนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนให้มากขึ้นโดยให้นักเรียนและบุคลากรได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมออมทรัพย์ โดยให้สะสมหุ้นตั้งแต่ 1 หุ้น จนถึง 100 หุ้น -จัดคณะกรรมการสหกรณ์โรงเรียน ทั้งระดับประถมและมัธยม -นำสินค้ามาจำหน่ายในสหกรณ์โรงเรียนและลงรายการทุกครั้งที่จำหน่ายของ

ทำสหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียนให้เป็นสหกรณ์ร้านค้าของนักเรียน ให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมสหกรณ์ให้มากที่สุด

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
3. การบริหารจัดการอาหารของโรงเรียน

การนำเมนูอาหารในท้องถิ่นตามเทศกาลต่างๆเข้ามาบูรณาการกับเมนูอาหารในโปรแกรม Thai school louch เช่น การแกงแปจีซึ่งมีอยู่ในชุมชน แกงผักหวานใส่ไข่มดส้มซึ่งมีอยู่ในชุมชน

จัดการอาหารตามรายการอาหาร และใช้วัตถุดิบที่มีในโรงเรียนและท้องถิ่น -อบรมนักเรียนแกนนำในการตักอาหารตามปริมารและสัดส่วนที่เหมาะสมตามหลักโภชนาการ มีการอบรมแม่ครัวครูและนักเรียนแกนนำจัดทำเมนูอาหารสุขภาพ จัดทำป้ายอาหารสุขภาพ ประเมินภาวะโภชนาการนักเรียน

อยากให้ทุกโรงเรียนในเครือข่ายใช้โรแกรม Thai school louchและนำวัตถุดิบอาหารที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ ในการทำอาหารกลางวันให้นักเรียนรับประทาน เพื่อจะได้รับสารอาหารที่ถูกต้องและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ อีกทั้งยังเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
4. การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการ และสมรรถภาพทางกายนักเรียน

 

 

 

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
5. การพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน

สร้างแกนนำนักเรียน และส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการส่งเสริมการบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะและส่งเสริมการสร้างพฤติกรรมและค่านิยมการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและถูกหลักโภชนาการในโรงเรียน

อบรมให้ความรู้แก่นักเรียนแกนนำอบรมแม่ครัวด้านโภชนาการและให้นักเรียนแกนนำนำความรู้ไปขยายผลต่อไป

วางแผนดำเนินการต่อในปีการศึกษาและดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในปีการศึกษาต่อไป

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
6. การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ

กิจกรรมทำเวรกลุ่มสีสามารถทำให้นักเรียนพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้ถุกสุขลักษณะได้เป็นอย่างดี

การที่นักเรียนแบ่งกลุ่มทำเวรกลุ่มสีตามจุดต่างๆและได้หมุนเวียนกันไปทุกสัปดาห์ทำให้นักเรียนฝึกนิสัยและวินัยและมีจิตสาธาณะในกลุ่มทำให้โรงเรียนของเราน่าอยู่ และสะอาด

จะพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนที่สะอาด มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ต่อไปและฝึกฝนให้นักเรียนช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ถุกสุขลักษณะต่อไป

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
7. การจัดบริการสุขภาพนักเรียน

 

 

 

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
8. การจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัย

ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ชุด การปลูกพืชผักสวนครัว ได้แก่ ชุดที่ 1 เรื่องผักสวนครัวแบบกินหัวและราก ชุดที่ 2 พืชผักสวนครัวแบบกินใบ ชุดที่ 3 พืชผักสวนครัวแบบกินผล

จัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาเกษตร โดยใช้ ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ที่จัดทำขึ้นโดยครูประเจิดสุขสิงห์ ครูชำนาญการ สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (เกษตร) ซึ่งจะใช้เป็นเอกสารด้านนวัตกรรม เพื่อใช้ประเมินวิทยะฐานะ ชำนาญการพิเศษ วิชาเกษตร

อบรมให้ความรู้ในการจัดการเรียนรู้เกษตร สหกรณ์ อาหาร โภชนาการและสุขภาพอนามัยในโรงเรียน

แนวทางการดำเนินงาน (๘ แนวทางหลัก)ผลที่เกิดขึ้นกิจกรรมที่เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนลักษณะ/ขั้นตอน/รายละเอียด/หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง (บรรยาย)แนวทางการพัฒนาต่อ
มีไม่มี
9. อื่น ๆ

 

 

 

2. อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานสำเร็จ(นวัตกรรม)

1. หน่วยงานภาคีเครือข่าย

ทางโรงเรียนมีการสร้างภาคีเครือข่ายต่อภาครัฐหรือเอกชนที่มีส่วนร่วม สนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการศึกษา โดยเน้นการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับต่างๆ ตามแนวคิดพื้นฐานการพัฒนาแบบเครือข่ายมีส่วนร่วมจึงได้มี ตัวชี้วัดความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายเช่น มีเป้าหมายร่วมกันชัดเจน มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันมีการไหลเวียนข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่องมีนวัตกรรมที่เกิดจากการทำงานเครือข่าย และ มีการสรุปบทเรียนร่วมกันนอกจากนี้ในการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานหรือองค์กรอื่นในลักษณะของเครือข่ายย่อมขึ้นอยู่กับระดับของความร่วมมือคือ การประสานงาน การจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ร่วมมือปฏิบัติงานเป็น น้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อให้งานหรือกิจกรรมดำเนินไปอย่างราบรื่นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และนโยบายขององค์กรนั้นอย่างสมานฉันท์สร้างความร่วมมือ ความเต็มใจของแต่ละคนในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อไปสู่เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง ตามเป้าหมายขององค์การหรือหน่วยงานความร่วมมือการทำงานร่วมกัน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกลุ่ม และรับรู้ว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มตามโครงสร้างที่มีอยู่ในโรงเรียน รวมทั้งเข้าใจวัตถุประสงค์ของการทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ และผู้ปฏิบัติงาน ต่างก็เกิดความพอใจในการทำงานนั้นการมีส่วนร่วม มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีการแก้ปัญหา การร่วมกันกำหนดแผนงานใหม่ๆ เพื่อสร้างความยั่งยืนในความสัมพันธ์ของทุกฝ่ายที่เข้าร่วมดำเนินการ การมีส่วนร่วมก่อให้เกิดผลดีต่อการขับเคลื่อนองค์กรหรือเครือข่าย

2. สภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อ

โรงเรียนบ้านห้วยสิงห์มีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องน้ำโรงอาหารหอประชุม ครบทุกแห่ง สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงามมีความมั่นคงแข็งแรง และปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้พอเพียงกับจำนวนผู้เรียนและอยู่ในสภาพใช้การได้ดีทุกครั้งมีสภาพแวดล้อมสวยงามร่มรื่น และมีแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และจัดการแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประสานสัมพันธ์กับชุมชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการเป็นอยู่อย่างพอเพียง
โรงเรียนบ้านห้วยสิงห์มีการพัฒนา ปรับปรุง ดูแล รักษา อาคารสถานที่และจัดการสภาพแวดล้อมสำหรับการเรียนรู้อย่างเหมาะสมมีแผนงาน/โครงการ งบประมาณผู้รับผิดชอบในการปรับใช้อาคารสถานที่ สภาพแวดล้อมให้พร้อมใช้ มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ครู นักเรียนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม อาคาร สถานที่ ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ และชุมชนหน่วยงานอื่นได้ใช้ประโยชน์ และมีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุนการดูแลรักษา และพัฒนาอาคารสถานที่ สภาพแวดล้อมของสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ โรงเรียนบ้านห้วยสิงห์มีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ หรือฐานการเรียนรู้หรือกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียงภายในและภายนอกสถานศึกษาที่สอดคล้องกับภูมิสังคมของสถานศึกษามีการจัดการอย่างพอเพียง มีสื่อประกอบการเรียนรู้ ที่สามารถสื่อความหมายได้ถูกต้อง มีแผนการจัดการเรียนรู้มีกิจกรรมการเกษตรในโรงเรียน ได้แก่การทำนา ธนาคารขยะการเลี้ยงปลา การเลี้ยงหมูการทำปุ๋ยหมัก-ปุ๋ยชีวภาพการเพาะเห็ดนางฟ้าการทำน้ำหมักชีวภาพ การปลูกผักสวนครัวชนิดต่างๆ การเลี้ยงไก่ไข่
โรงเรียนบ้านห้วยสิงห์จัดหา/จัดทำ ผลิต/ใช้/เผยแพร่ สื่อและแหล่งเรียนรู้ ในสถานศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน เพื่อบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนการสอนมีการวางแผนการจัดประสบการณ์ และจัดสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการริเริ่มในการเรียนรู้และสำรวจสิ่งต่างๆ ด้วยความสะดวกและเหมาะสมทั้งต่อนักเรียนและต่อผู้ใหญ่ในการทำกิจกรรมต่างๆ และเหมาะกับบริบททางสังคมวัฒนธรรม และสถานการณ์อีกทั้งดูแลความปลอดภัยของนักเรียน และแนะนำนักเรียนในการทำสิ่งต่างๆ โดยการให้เด็กรับประสบการณ์ที่มีความเสี่ยงเหมาะสมภายขอบเขตที่นักเรียนสามารถทำได้ และ จัดตารางประจำวันให้มีช่วงเวลาของการทำกิจกรรมและช่วงเวลาของการพักผ่อนที่สมดุล โดยมีความต่อเนื่องของช่วงเวลาต่างๆ ในการเปลี่ยนกิจกรรมที่เป็นไปอย่างราบรื่นและมีการยืดหยุ่นเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆสถานศึกษาสะอาด เป็นระเบียบ ร่มรื่น ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและบุคลากรรวมถึงผู้เรียน มีการแบ่งปัน สามัคคี ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และพื้นฟูวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม อันเป็นประโยชน์ต่อ ชุมชน สังคมและประเทศชาติ อย่างต่อเนื่อง

3. กลไกที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนและทีมทำงาน

โรงเรียนบ้านห้วยสิงห์เป็นโรงเรียนขยายโอกาสขนาดใหญ่ มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 374 คน ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนที่เดินทางมาจากพื้นที่ห่างไกล ฉะนั้นทางโรงเรียนจึงมีลักษณะเป็นโรงเรียนพักนอนที่มีนักเรียนจำนวนมาก หลากหลายพื้นที่อยู่รวมกัน การดูแลในทุกๆเรื่องจึงเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของคณะครูและ ผู้บริหารที่ต้องมีความรู้ความสามารถในการดูแลเด็กนักนักเรียนดังกล่าวให้มีสุขภาพกายและใจให้สมบูรณ์พร้อมที่จะเผชิญกับโลกภายนอกได้อย่างสมบูรณ์ อาหารก็เป็นส่วนสำคัญในการเป็นต้นทุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งทางร่างกายให้มีความอุดมสมบูรณ์ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและจิตใจที่เข้มแข็งสามารถทนแรงเสียดทานและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ การดูแลเรื่องอาหารจึงเป็นหน้าที่ที่ทางโรงเรียนต้องรับผิดชอบโดยตรงนอกเหนือจากการได้รับสนับสนุนเงินกองทุนจากทางรัฐบาลส่วนหนึ่งแล้วนั้นซึ่งก็ไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน ทางคณะครู ผู้บริหารในโรงเรียนต้องร่วมกันในการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อใช้จ่ายในอาหารกลางวันจากหลากหลายที่

4. กระบวนการเรียนรู้ของครู นักเรียนและแม่ครัว

มีการเรียนรู้จากสื่อเทคโนโลยีต่างๆมีการนำความรู้มาปรับใช้ในโรงเรียนและการให้คำแนะนำจากคณะที่มาเยี่ยมโรงเรียนโดยโรงเรียนได้นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไขและเรียนรู้กระบวนการทำงานย่างสม่ำเสมอ

5. กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน

ผู้ปกครองและชุมชนบ้านห้วยสิงห์ให้ความสำคัญกับกิจกรรมต่างๆในโรงเรียน ในกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับชุมชน ผู้ใหญ่บ้านก็จะให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม เช่น การทอดผ้าป่า โรงเรียนก็จะเข้าไปช่วยเหลือชุมชน และในกิจกรรมของโรงเรียนโดยเฉพาะการทำการเกษตรไม่ว่าจะเป็น การเลี้ยงหมู ปลา ไก่ พืชผักหมุนเวียนและผักปลอดสารพิษ ผู้ปกครองและชุมชนจะเข้ามาช่วยเหลือเรื่องการให้ความรู้และสมทบทุนในการทำกิจกรรม รวมทั้งช่วยซื้อผลผลิตทางการเกษตรไปขายในชุมชน เช่น ไข่ไก่ ผักปลอดสารพิษ บางครั้งผู้ปกครองก็มาเลี้ยงอาหารเด็กนักเรียน บริจาคขนม ไอศครีมในช่วงเทศกาลต่างๆ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

3. ผลผลิตทางการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. มีชนิดและปริมาณของผักและผลไม้ที่ผลิตในโรงเรียนเพียงพอ

โรงเรียนมีการปลูกผัก หลายชนิด เช่น ผักกาด ผักบุ้ง ผักชี คะน้า มะเขือ บวบ เป็นต้น ซึ่งส่งต่อเข้าสู่โครงการอาหารกลางวันทั้งหมดมีปริมาณเพียงพอ

ผลผลิตทางการเกษตรที่ขายให้กับสหกรณ์โรงเรียน บัญชี รายรับ รายจ่าย ภาพรวมของการทำแปลงเกษตรในโรงเรียน

โรงเรียนจะปลูกผักและผลไม้หลายชนิดเพื่อให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้มากขึ้น การทำการเกษตรในโรงเรียนเป็นการเรียนรู้สู่การปฎิบัติจริง นักเรียนมีทักษะชีวิตและสามารถนำความรู้ไปใช้ในอนาคตได้

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ไก่ไข่/ไก่เนื้อ/เป็ด/หมู)

โรงเรียนมีการเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู ไก่พันธ์ไข่ ปลาน้ำจืด ซึ่งมีปริมาณเพียงพอต่อจำนวนนักเรียนในโรงเรียนแต่ละมื้อ อีกทั้งยังได้รับสารอาหารที่ครบ 5 หมู่

รูปภาพประกอบการทำกิจกรรม โรงเลี้ยงไก่ บ่อปลา เล้าหมูเป็นต้น ซึ่งทางโรงเรียนได้ทำกิจกรรมมาอย่างยาวนาน

โรงเรียนจะเลี้ยงสัตว์ต่างๆเพื่อเป็นอาหารโปรตีนที่ปลอดภัย และให้นักเรียนได้รับประทานอย่างคุ้มค่าและถูกหลักโภฃนาการ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. มีการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นอาหารโปรตีน (ปลา/กบ)

มีการเลี้ยงปลาน้ำจืด ในบ่อเลี้ยงปลาที่กว้าง รวมทั้งมีการเลี้ยงไก่พันธ์ไข่บนบ่อปลา

รูปภาพประกอบการทำกิจกรรม โครงการเลี้ยงปลาน้ำจืด ปลาที่ส่งขายให้กับสหกรณ์โรงเรียนและส่งต่อโครงการอาหารกลางวัน

โรงเรียนจะเลี้ยงปลาเพื่อเป็นอาหารโปรตีนที่ปลอดภัย และให้นักเรียนได้รับประทานอย่างคุ้มค่าและถูกหลักโภฃนาการและในอนาคตจะเลี้ยงปลาในจำนวนที่มากขึ้น เพื่อจะได้มีจำนวนเพียงพอที่จะจำหน่ายให้กับชุมชนเป็นรายได้อีกส่วนหนึ่ง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. โรงเรียนมีบริการอาหารเช้าหรือไม่

มีอาหารเช้าสำหรับเด็กนักเรียนพักนอน ซึ่งมีจำนวนเพียงพอต่อจำนวนนักเรียน

ข้อมูลการจัดสรรงบประมาณอาหารนักเรียนพักนอน

ถ้าโรงเรียนมีงบประมาณมากขึ้นโรงเรียนจะมีบริการอาหารเช้าให้กับนักเรียนบ้านที่เดินทางไป-กลับ เผื่อบางทีนักเรียนบางคนไม่ทันได้รับประทานอาหารเช้ามาโรงเรียน

5. มีการจัดบริการให้เด็กบริโภคผักและผลไม้ (ต้องได้บริโภคร้อยละ 50 ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน)
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.1. เด็กอนุบาล 3-5 ปี ควรได้รับผัก 30 กรัม(2 ข้อนโต๊ะ) ผลไม้ 100 กรัม

เด็กนักเรียนอนุบาลได้รับประทานผักและผลไม้ในปริมาณที่เพียงพอในแต่ละวัน

เมนูอาหารจากโปรแกรม Thai School Louch

อยากให้นักเรียนอนุบาลได้รับประทาน นม หลังทานข้าวและก่อนเลิกเรียนตอนเย็น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.2. เด็กประถม 6-12 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 60 กรัม(4 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

เด็กนักเรียนประถมได้รับประทานผักและผลไม้ในปริมาณที่เพียงพอในแต่ละวัน

เมนูอาหารจากโปรแกรม Thai School Louch

อยากให้นักเรียนได้รับประทาน นม หลังทานข้าวและก่อนเลิกเรียนตอนเย็น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5.3. เด็กมัธยม 13-18 ปี ควรได้รับผักไม่น้อยกว่า 90 กรัม(6 ช้อนโต๊ะ) ผลไม้ 200 กรัม

เด็กนักเรียนมัธยมได้รับประทานผักและผลไม้ในปริมาณที่เพียงพอในแต่ละวัน

เมนูอาหารจากโปรแกรม Thai School Louch

อยากให้นักเรียนได้รับประทาน นม หลังทานข้าวและก่อนเลิกเรียนตอนเย็น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชน

โรงเรียนมีความร่วมมือกับเครือข่ายที่เชื่อมโยงกับแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดสารพิษในชุมชนอย่าง 100 %

กิจกรรมต่างๆที่ทำร่วมกับชุมชน เช่น โครงการอบรมส่งเสริมสุขภาพ

อยากให้มีตลาดนัดชุมชนร่วมกับโรงเรียนในการขายผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดสารพิษและมีราคาถูกกว่าท้องตลาด

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

 

 

 

4. สถานการณ์การจัดบริการอาหารและโภชนาการของนักเรียน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. การใช้โปรแกรม Thai School Lunch ทำได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่

โรงเรียนมีการจัดเมนูอาหารโดยใช้โปรแกรม Thai School Lunch

ข้อมูลที่กรอกในโปรแกรม และปริ้นจาก โปรแกรมThai School Lunch เป็นรูปเล่ม

อยากให้โปรแกรม Thai School Lunch มีเมนูอาหารพื้นเมืองมากขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่

โรงเรียนมีการติดตามภาวะโภชนาการเทอมละ 2 ครั้ง คือ ต้นเทอมกับปลายเทอม เพื่อนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกัน

ข้อมูลออนไลน์ที่กรอกในระบบ

นักเรียนที่มีภาวะเสียงในด้านภาวะโภชนาการต่างๆคุณครูจะมีการติดตามและให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพให้เพิ่มขึ้น

3. เด็กนักเรียนมีภาวะโภชนาการเป็นไปตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการหรือไม่

สถานการณ์ภาวะโภชนาการนักเรียน (ปีการศึกษา)

ภาวะ2558 1/12558 1/22558 2/12558 2/22559 1/12559 1/22559 2/12559 2/22560 1/12560 1/22560 2/12560 2/22561 1/12561 1/22561 2/12561 2/2
เตี้ย 13.25 13.25% 10.74 10.74% 8.20 8.20% 13.25 13.25% 3.99 3.99% 2.49 2.49% 1.40 1.40% 0.84 0.84% 0.84 0.84% 0.28 0.28% 0.28 0.28% 0.28 0.28% 2.27 2.27% 2.27 2.27% 2.35 2.35% 2.35 2.35%
เตี้ย+ค่อนข้างเตี้ย 22.52 22.52% 20.55 20.55% 21.97 21.97% 22.52 22.52% 9.69 9.69% 6.08 6.08% 4.49 4.49% 3.37 3.37% 4.19 4.19% 2.51 2.51% 2.82 2.82% 2.23 2.23% 9.09 9.09% 9.09 9.09% 8.05 8.05% 8.05 8.05%
ผอม 1.99 1.99% 0.92 0.92% 0.96 0.96% 1.66 1.66% 1.14 1.14% 0.55 0.55% 1.12 1.12% 0.56 0.56% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 0.00 0.00% 0.97 0.97% 0.97 0.97% 0.67 0.67% 0.67 0.67%
ผอม+ค่อนข้างผอม 6.29 6.29% 5.50 5.50% 4.17 4.17% 5.96 5.96% 3.42 3.42% 1.66 1.66% 1.97 1.97% 1.69 1.69% 1.40 1.40% 0.56 0.56% 0.56 0.56% 0.56 0.56% 4.22 4.22% 4.22 4.22% 2.35 2.35% 2.35 2.35%
อ้วน 3.31 3.31% 1.83 1.83% 0.64 0.64% 2.32 2.32% 2.28 2.28% 1.94 1.94% 2.53 2.53% 2.53 2.53% 1.97 1.97% 1.69 1.69% 1.69 1.69% 1.12 1.12% 2.92 2.92% 2.92 2.92% 3.36 3.36% 3.36 3.36%
เริ่มอ้วน+อ้วน 6.95% 6.95% 5.81% 5.81% 2.88% 2.88% 5.30% 5.30% 3.99% 3.99% 3.05% 3.05% 3.93% 3.93% 3.65% 3.65% 2.81% 2.81% 2.81% 2.81% 2.81% 2.81% 2.80% 2.80% 6.17% 6.17% 6.17% 6.17% 7.38% 7.38% 7.38% 7.38%
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.1. ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

เนื่องจากครูช่วยกันดูแลเรื่องการกินอาหารของเด็ก มีการอบรมให้ความรู้ในเรื่องโภชนาการอาหารมากขึ้น ทำให้เด็กหันมาสนใจเรื่องการดูแลสุขภาพ ควบคุมอาหารทำให้ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนลดลง

รูปภาพประกอบกิจกรรม แบบบันทึกการชั่งน้ำหนัก

ทำให้เด็กที่อยู่ในเกณฑ์เริ่มอ้วนและอ้วนมีเปอร์เซ็นต์ลดลง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.2. ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องการดูแลสุขภาพมากขึ้นทำให้นักเรียนหันมาสนใจในการกินอาหารที่มีประโยชน์ นักเรียนที่อยู่ในเกณฑ์ผอมและค่อนข้างผอม โรงเรียนมีบริการให้ทานนมทุกวันและให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ทำให้ภาวะค่อนข้างผอมและผอมลดลง

รูปภาพประกอบกิจกรรม แบบบันทึกการชั่งน้ำหนัก

ทำให้เด็กที่อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างผอมและผอมมีเปอร์เซ็นต์ลดลง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3.3. ภาวะค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยลดลง

นักเรียนได้กินนมทุกวันทำให้เด้กมีการเจริญเติบโตดีขึ้นทำให้นักเรียนส่วนใหญ่มีภาวะสูงขึ้นตามเกณฑ์

รูปภาพประกอบกิจกรรม แบบบันทึกการวัดส่วนสูง

ทำให้เด็กที่อยู่เกณฑ์ค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยมีเปอร์เซ็นต์ลดลง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. โรงเรียนได้มีการเฝ้าระวังและมีกิจกรรมเสริมสำหรับเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ (ตามข้อ 3.1-3.3) เป็นรายบุคคลหรือไม่ อย่างไร

มีการทำกิจกรรมตามแบบฝึกที่ทาง สสส. ส่งมาให้ทางโรงเรียน และมีการเฝ้าระวังนักเรียนที่มีปัยหาทางด้านภาวะโภชนาการ

รูปภาพประกอบ

อยากให้ สาธารสุขอำเภอเข้ามาให้ความรู้และความเข้าใจเรื่อง การส่งเสริมสุขภาพและการดูแลโภชนาการอาหารของเด็กกับคณะครูในโรงเรียนและนักเรียนให้มากขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยหรือไม่อย่างไร

ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพของนักเรียนเป็นอย่างมากและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา เช่น การทำฝายชะลอน้ำในชุมชน ผู้ปกครองบางส่วนก็ให้ความร่วมมือกับชุมชนทำให้เกิดความรักและสามัคคีกันในชุมชน

การเข้าร่วมกิจกรรม รูปภาพประกอบ

ให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมมากขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

 

 

 

5. สรุปผล (บทคัดย่อ)*

ทางโรงเรียนมีการสร้างภาคีเครือข่ายต่อภาครัฐหรือเอกชนที่มีส่วนร่วม สนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการศึกษา โดยเน้นการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับต่างๆ ตามแนวคิดพื้นฐานการพัฒนาแบบเครือข่ายมีส่วนร่วมจึงได้มี ตัวชี้วัดความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายเช่น มีเป้าหมายร่วมกันชัดเจน มีระบบบริหารจัดการที่ดี มีกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันมีการไหลเวียนข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่องมีนวัตกรรมที่เกิดจากการทำงานเครือข่าย และ มีการสรุปบทเรียนร่วมกันนอกจากนี้ในการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานหรือองค์กรอื่นในลักษณะของเครือข่ายย่อมขึ้นอยู่กับระดับของความร่วมมือคือ การประสานงาน การจัดระเบียบวิธีการทำงาน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ร่วมมือปฏิบัติงานเป็น น้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อให้งานหรือกิจกรรมดำเนินไปอย่างราบรื่นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และนโยบายขององค์กรนั้นอย่างสมานฉันท์สร้างความร่วมมือ ความเต็มใจของแต่ละคนในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อไปสู่เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่ง ตามเป้าหมายขององค์การหรือหน่วยงานความร่วมมือการทำงานร่วมกัน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในกลุ่ม และรับรู้ว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มตามโครงสร้างที่มีอยู่ในโรงเรียน รวมทั้งเข้าใจวัตถุประสงค์ของการทำงานร่วมกัน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ และผู้ปฏิบัติงาน ต่างก็เกิดความพอใจในการทำงานนั้นการมีส่วนร่วม มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีการแก้ปัญหา การร่วมกันกำหนดแผนงานใหม่ๆ เพื่อสร้างความยั่งยืนในความสัมพันธ์ของทุกฝ่ายที่เข้าร่วมดำเนินการ การมีส่วนร่วมก่อให้เกิดผลดีต่อการขับเคลื่อนองค์กรหรือเครือข่าย

หมายเหตุ *

  • สรุปผล จะนำไปใส่ในบทคัดย่อของรายงานสรุปปิดโครงการ (ส.3)
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของสรุปผล ให้ลบข้อความในช่องสรุปผลทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh