ชื่อโรงเรียน | โรงเรียนบ้านลำแดง | ||||||||||||||||||||||||||||||
สังกัด | สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 | ||||||||||||||||||||||||||||||
โรงเรียนเครือข่าย | view_listรายชื่อโรงเรียนเครือข่าย | ||||||||||||||||||||||||||||||
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 2 พฤษภาคม 2559 - 30 เมษายน 2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||
งบประมาณจากโครงการ(สสส.) | 120,000.00 บาท | ||||||||||||||||||||||||||||||
งบประมาณสมทบจากราชการ | 0.00 บาท | ||||||||||||||||||||||||||||||
งบประมาณสมทบจากท้องถิ่น | 0.00 บาท | ||||||||||||||||||||||||||||||
งบประมาณสมทบจากเอกชน | 0.00 บาท | ||||||||||||||||||||||||||||||
งบประมาณสมทบจากชุมชน | 0.00 บาท | ||||||||||||||||||||||||||||||
รวมงบประมาณทั้งหมด | 120,000.00 บาท | ||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางชุลี รุ่งพานิช | ||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 1 | นางบุษบา ต่อสติ | ||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 2 | นางจำรูญศรี ฤทธิ์บัณฑิตย์ | ||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ 3 | นางวิภาวี แก่นลา | ||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ปรึกษาโครงการ 1 | ศูนย์อนามัยที่ 13 | ||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ปรึกษาโครงการ 2 | |||||||||||||||||||||||||||||||
ที่ปรึกษาโครงการ 3 | |||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ประสานงานภาค | นางสาวอุบลรัตน์ ขันธ์ทอง | ||||||||||||||||||||||||||||||
หลักการและเหตุผล | โครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ เกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร และ กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโรงเรียนในการน้อมนำแนวทางการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ การบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจรของโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไปปฏิบัติในการพัฒนาด้านเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพเด็กในโรงเรียน โดยน้อมนำกรอบแนวคิดและองค์ประกอบของการพัฒนาจากบทเรียนโรงเรียนในโครงการพระราชดำริใน 8 องค์ประกอบคือ 1) การเกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดการบริหารของโรงเรียน 4) การติดตามภาวะโภชนาการ 5) การพัฒนาสุขนิสัยของนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ 7) การจัดบริการสุขภาพ และ8) การจัดการเรียนรู้ : เกษตร โภชนาการ และสุขภาพอนามัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดคุณลักษณสำคัญใน 4 ประการตามแนวพระราชดำริ คือ มีพุทธศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและ จริยศึกษา มีภาวะโภชนาการดี สุขภาพแข็งแรง ไปพร้อมๆ กับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและคุณลักษณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มีเด็กเป็นศูนย์กลาง โดยเน้นให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง (Learning by doing) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ พัฒนาทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริงและพึ่งตนเองได้ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ต้องมีการบริหารจัดการแผนงานอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการ บริบทของชุมชน และวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งโครงการเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการในปีที่ 1 (พ.ศ.2557-2558) มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 544 โรงเรียนจากทั่วประเทศ จากการประเมินผลการดำเนินงานตามกิจกรรม/โครงการของคณะกรรมการและผู้เกี่ยวข้องพบว่า ผลที่เกิดขึ้นนักเรียนส่วนใหญ่มีสุขภาพกาย สุขนิสัยที่ดีขึ้นนักเรียนรู้จักดูแลสุขภาพร่างกายโดยมีสุขภาพปากและฟันดีขึ้นจากเดิมอย่างเห็นได้ชัดมีการออกกำลังกายตามความถนัดและความสนใจทุกเช้าและเย็นกีฬาที่เป็นที่ชื่นชอบของนักเรียนคือฟุตบอลบาสเก็ตบอล ปิงปอง กระโดดเชือกและเปตองนอกจากนี้นักเรียนยังมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกบริโภคดีขึ้นกว่าเดิม |
||||||||||||||||||||||||||||||
กรอบแนวคิด | โรงเรียนบ้านลำแดง จะดำเนินการโดยน้อมนำองค์ความรู้และรูปแบบที่ดีด้านการจัดการอาหาร โภชนาการ และสุขภาพนักเรียนอย่างครบวงจรสู่การปฏิบัติในโรงเรียนและชุมชนให้ครอบคลุมทั้ง 8 องค์ประกอบที่เชื่อมโยงและหนุนเสริมกัน ได้แก่ 1) เกษตรในโรงเรียน 2) สหกรณ์นักเรียน 3) การจัดบริการอาหาร 4) การติดตามภาวะโภชนาการและสมรรถภาพทางกาย 5) การพัฒนาสุขนิสัยนักเรียน 6) การพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน 7) การจัดบริการสุขภาพ และ |
||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
|
||||||||||||||||||||||||||||||
เป้าหมายภาวะโภชนาการ | 7.3.1นักเรียนเจริญเติบโตมี - ภาวะเริ่มอ้วนไม่เกิน 10 % หรือลดลงจากสถานะการณ์เดิม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 - ภาวะผอมไม่เกิน7 % หรือลดลงจากสถานะการณ์เดิม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 - ภาวะเตี้ยไม่เกิน 7 %หรือลดลงจากสถานะการณ์เดิม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2 7.3.2 นักเรียนได้กินผัก-ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวัน เฉลี่ย - ผักวันละประมาณ40-100 กรัม (อนุบาล 3 ช้อน (50 กรัม)) ประถม 4 ช้อน (70 กรัม) และมัธยม 5 ช้อน (90 กรัม)) - ผลไม้(อนุบาล ½ ส่วน ประถม 1 ส่วน) ต่อมื้อต่อคน 7.3.3 ระดับความสำเร็จของโรงเรียน ชุมชน ในการพัฒนาด้านการจัดการอาหาร โภชนาการ สุขภาพ อยู่ในระดับดีมาก |
||||||||||||||||||||||||||||||
ความต่อเนื่องยั่งยืนหรือแนวทางการขยายผล | แนวทางในการพัฒนาโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการโรงเรียนบ้านลำแดง มีดังนี้ 1. การกำหนดนโยบายและแผนปฏิบัติการประจำปีที่นำไปสู่เป้าหมาย โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรและเครือข่าย รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดนำรูปแบบการจัดการที่ดีด้านอาหาร โภชนาการและสุขภาพนักเรียนอย่างครบวงจรสู่การปฏิบัติ ใน 8 องค์ประกอบ โดยมีผลการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม 2. ประสานงานกับเครือข่ายทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการอาหาร โภชนาการ และสุขภาพ นักเรียนอย่างครบวงจร 3. จัดทำฐานข้อมูลด้านอาหาร โภชนาการ และสุขภาพที่ครอบคลุมตามมาตรฐานการเป็นโรงเรียนต้นแบบเด็กไทยแก้มใส รวมทั้งมีการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางานและสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ 4. กำหนดนโยบายให้นักเรียน ครู ร่วมกันดำเนินงานเกษตร เพื่อโครงการอาหารกลางวันและการเรียนรู้ของนักเรียน โดยเปิดโอกาสให้เครือข่ายผู้ปกครอง แกนนำชุมชน เกษตรกรตำบล และภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการเกษตรในโรงเรียน 5. จัดกิจกรรมสหกรณ์นักเรียนที่มีนักเรียนเป็นสมาชิก และดำเนินการโดยนักเรียน ในรูปแบบร้านค้า ส่งเสริมการผลิตและสหกรณ์ออมทรัพย์ 6. จัดกิจกรรมบริการอาหารนักเรียน โดยมีการจัดทำรายการอาหารหมุนเวียนอย่างน้อย 1 เดือน ที่สอดคล้องกับภาวะสุขภาพและผลผลิตทางการเกษตร ปศุสัตว์ และประมง ของโรงเรียนหรือชุมชน 7. มีการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการและสมรรถภาพทางกายนักเรียนทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การไหลเวียนโลหิต ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและอ่อนตัว มีการบันทึกข้อมูลอย่างต่อเนื่อง 8. มีกิจกรรมดำเนินการด้านพัฒนาสุขนิสัยและการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนอย่างเป็นรูปธรรม 9. มีการพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เหมาะสมและเพียงพอกับนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน และขยายผลสู่ชุมชน 10. มีการจัดกิจกรรมการให้บริการสุขภาพนักเรียนตามแนวทางที่กำหนด ภายใต้ความร่วมมือกับฝ่ายสาธารณสุขที่ดูแลโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง และให้การดูแลช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างเหมาะสม 11. จัดให้มีแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการและกิจกรรมที่สอดคล้องกับโครงการเด็กไทยแก้มใส(เกษตร สหกรณ์ โภชนาการ) ครบทุกระดับชั้นในระดับประถมศึกษา 12. มีการวัดระดับความสำเร็จจากการดำเนินงานพัฒนาโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการโรงเรียนบ้านลำแดง ครอบคลุมทั้งผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ จากการดำเนินงานของโรงเรียน 13. จัดระบบกำกับ ติดตาม และประเมินผล การพัฒนาโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการโรงเรียนตามแผนงานที่วางไว้ มีการสรุป รายงานผลการดำเนินการต่อผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้อง |
||||||||||||||||||||||||||||||
พื้นที่ตั้งโรงเรียน | ตำบลหันตะเภา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา | ||||||||||||||||||||||||||||||
ละติจูด-ลองจิจูด | 14.308508113654,100.75763225555place |
วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | . เพื่อนักเรียนมีสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกายเติบโตสมวัย มีอารมณ์และสติปัญญาที่ดีขึ้น รวมทั้งมีทักษะเพื่อการดำรงชีวิตที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง
2 นักเรียนได้กินผัก-ผลไม้หลากหลายเพิ่มขึ้นในมื้อกลางวัน เฉลี่ย - ผักวันละประมาณ 40-100 กรัม (อนุบาล 3 ช้อน (50 กรัม)) ประถม 4 ช้อน (70 กรัม) และมัธยม 5 ช้อน (90 กรัม)) - ผลไม้(อนุบาล ½ ส่วน ประถม 1 ส่วน) ต่อมื้อต่อคน |
||
2 | เพื่อค้นหารูปแบบลดปัญหาโภชนาการและสุขภาพของเด็กนักเรียนลงได้ มีความรู้และแนวทางในการจัดการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็กนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
|
||
3 | เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในคนในชุมชนในการดูแลภาวะสุขภาพของนักเรียนจากสิ่งแวดล้อมอาหารที่ดีต่อสุขภาพสร้างความยั่งยืนในการดำเนินงาน
|
||
4 | เพื่อสร้างสังคมให้มีความตระหนักรู้และตื่นตัวในการจัดการด้านอาหารและโภชนาการและสุขภาพของเด็กนักเรียน
|
กิจกรรมหลัก
กิจกรรมหลัก
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | พ.ค. 59 | มิ.ย. 59 | ก.ค. 59 | ส.ค. 59 | ก.ย. 59 | ต.ค. 59 | พ.ย. 59 | ธ.ค. 59 | ม.ค. 60 | ก.พ. 60 | มี.ค. 60 | เม.ย. 60 | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | เกษตรในโรงเรียน | 64,000.00 | more_vert |
||||||||||||
2 | สหกรณ์นักเรียน | 7,000.00 | more_vert |
||||||||||||
3 | ส่งเสริมสุขภาพอนามัยนักเรียน | 10,250.00 | more_vert |
||||||||||||
4 | การบริหารจัดการ | 9,750.00 | more_vert |
||||||||||||
5 | การแปรรูปผลผลิตและงานสนับสนุนการทำเกษตร | 13,000.00 | more_vert |
||||||||||||
6 | การพัฒนาอนามัยและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน | 12,000.00 | more_vert |
||||||||||||
7 | การจัดการเรียนรู้การเกษตร อาหาร โภชนาการและสุขภาพ | 4,000.00 | more_vert |
||||||||||||
รวม | 120,000.00 |
กิจกรรมย่อย
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
2-31 พ.ค. 59 | การปลูกพืชปลอดสารพิษตามฤดูกาล ครั้งที่ ๑ | 148 | 3,200.00 | ✔ | 3,200.00 | |
13 พ.ค. 59 | กิจกรรมประชุมครู ครั้งที่ 1 | 23 | 575.00 | ✔ | 575.00 | |
27 พ.ค. 59 | กิจกรรมประชุมผู้ปกครองนักเรียน ครั้งที่1 | 342 | 8,925.00 | ✔ | 8,925.00 | |
1-10 มิ.ย. 59 | การปลูกพืชปลอสารพิษตามฤดูกาล ครั้งที่ 2 | 408 | 3,800.00 | ✔ | 3,800.00 | |
5 มิ.ย. 59 | สวนมะนาวและสวนสมุนไพร ครั้งที่ ๑ | 25 | 2,800.00 | ✔ | 2,800.00 | |
1-31 ก.ค. 59 | เพาะเห็ด ครั้งที่ 1 | 35 | 7,200.00 | ✔ | 7,200.00 | |
26 ส.ค. 59 | กิจกรรมประชุมกรรมการสถานศึกษา ครั้งที 1 | 10 | 250.00 | ✔ | 250.00 | |
29 ส.ค. 59 | การเพาะเห็ด ครั้งที่2 | 32 | 270.00 | ✔ | 270.00 | |
6 ก.ย. 59 | กิจกรรมออมทรัพย์นักเรียน ครั้งที่ 1 | 402 | 690.00 | ✔ | 690.00 | |
20 ก.ย. 59 | กิจกรรมส่งเสริมอนามัยนักเรียน ครั้งที่ 1 | 244 | 10,250.00 | ✔ | 10,250.00 | |
17 พ.ย. 59 | ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำรายงานโครงการศูนย์เรียนรู้ต้นแบบโรงเรียนเด็กไทยแก้มใสงวดที่1 และขอเบิกเงินงวดที่ 2 | 2 | 576.00 | ✔ | 576.00 | |
21 พ.ย. 59-20 เม.ย. 60 | การปลูกพืชไฮโดรโฟนิกส์ ครั้งที่ ๑ | 35 | 9,600.00 | ✔ | 9,600.00 | |
12-31 ธ.ค. 59 | การขยายพันธุ์พืช | 86 | 9,160.00 | ✔ | 9,160.00 | |
19 ธ.ค. 59-28 ก.พ. 60 | กิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่ ครั้งที่ 1 | 4 | 12,890.00 | ✔ | 12,890.00 | |
19 ธ.ค. 59-2 มิ.ย. 60 | เลี้ยงปลาดุก ครั้งที่ 1 | 32 | 2,670.00 | ✔ | 2,670.00 | |
19-23 ธ.ค. 59 | การจัดตรายาง | 0 | 450.00 | ✔ | 450.00 | |
25 ธ.ค. 59 | การเลี้ยงไก่ไข่ ครั้งที่ 2 (ศึกษาดูงาน) | 42 | 8,900.00 | ✔ | 8,900.00 | |
1-31 ม.ค. 60 | แปรรูปผลผลิตฯ(กิจกรรมทำน้ำยาซักผ้า) | 60 | 11,110.00 | ✔ | 11,110.00 | |
16 ม.ค. 60-28 ก.พ. 60 | กิจกรรมการเลี้ยงไส้เดือน | 30 | 3,450.00 | ✔ | 3,450.00 | |
1 ก.พ. 60 | ปลูกพืชปลอดสารพิษตามฤดูกาล ครั้งที่ 2 | 0 | 5,920.00 | ✔ | 5,920.00 | |
13 ก.พ. 60-30 มี.ค. 60 | บัตรสมาชิกและงานทะเบียน | 12 | 1,995.00 | ✔ | 1,995.00 | |
27-28 ก.พ. 60 | การจัดการเรียนรู้การเกษตร อาหารโภชนาการและสุขภาพ | 77 | 3,550.00 | ✔ | 3,550.00 | |
6 มี.ค. 60 | จัดซื้ออาหารไก่ | 0 | 3,780.00 | ✔ | 3,780.00 | |
15 มี.ค. 60 | วัสดุทำปุ๋ยหมัก | 30 | 910.00 | ✔ | 910.00 | |
20-31 มี.ค. 60 | การจัดทำโครงงานแสดงผลงาน | 0 | 290.00 | ✔ | 290.00 | |
4 เม.ย. 60 | กิจกรรมการทำน้ำยาซักผ้า | 0 | 980.00 | ✔ | 980.00 | |
4 เม.ย. 60 | วัสดุบรรจุภัณฑ์ | 0 | 1,494.00 | ✔ | 1,494.00 | |
4 เม.ย. 60 | ออมทรัพย์ | 0 | 4,315.00 | ✔ | 4,315.00 | |
7 เม.ย. 60 | คืนดอกเบี้ยปิดโครงการ | 1 | 0.00 | ✔ | 23.16 | |
รวม | 1,899 | 120,000.00 | 29 | 120,023.16 |
ไฟล์เอกสาร
โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2559 09:32 น.